สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยความร่วมมือกับกรมสรรพาวุธทหารบก จัดการอบรม “เตรียมพร้อมการทำข่าวใน สถานการณ์ความรุนแรง” เพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพ จากสื่อหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ ได้ เรียนรู้เรื่องอาวุธสงครามและระเบิด - การป้องกัน – การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้แก่สื่อมวลชน ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาวุธทุกชนิด ตลอดจน ประสิทธิภาพในการทำลายล้าง รวมไปถึงการจุดระเบิดชนิด ต่างๆ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวจา กอาวุธและระเบิดชนิดต่างๆ โดยจะจัดระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๗ - วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ แผนก ๕ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ข้อควรปฏิบัติ
๑. เป็นการอบรมเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น จึงไม่อนุญาตให้มีการทำข่าวเพื่อเผยแพร่ในทุกสื่อ
๒. การแต่งกายอยู่ในชุดที่เตรียมพร้อมเพื่อการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัต ิภาคสนาม และชุดสำหรับออกกำลังกาย
๓. ผู้เข้าอบรมจะต้องเตรียมของใช้ส่วนตัวและผ้าขนหนูไปเอง
๔. ระหว่างการอบรมจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางกองคลังแสง กรมสรรพาวุธอย่างเคร่งครัด
๕. ระหว่างการอบรมขอให้ฝากเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดไว้กับเจ้าหน้า และช่วงที่ลงพื้นที่สาธิตการทำลายกระสุนวัตถุระเบิด ไม่อนุญาตบันทึกภาพ และห้ามพกพาเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
๗. รายละเอียดการอบรม ห้ามการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบสื่อสารออนไลน์ทุกชนิด เช่น ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊คส์ หรือบีบี เป็น ต้น ทั้งก่อนและหลังการอบรม ( เพราะบางข้อมูลเป็นเรื่องละเอียดอ่อน )
(ดาวโหลดเอกสารโครงการจดหมายและกำหนดการ)
////////////////////////////////////////////////////////
ที่ สขนท. นว. ๑๖๑ /๑๑ /๒๕๕๓
๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓
เรื่อง ขอเชิญส่งนักข่าวเข้าร่วมการอบรม
เรียน บรรณาธิการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย โครงการอบรม “ เตรียมพร้อมการทำข่าวในสถานการณ์ความความรุนแรง”
เรียนรู้เรื่องอาวุธสงคราม กระสุนวัตถุระเบิด และการป้องกันตนเอง
ด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยความร่วมมือกับกรมสรรพาวุธทหารบก จะจัดการอบรม “เตรียมพร้อมการทำข่าวในสถานการณ์ความรุนแรง” เพื่อให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากสื่อหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ ได้เรียนรู้เรื่องอาวุธสงครามและระเบิด - การป้องกัน – การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้แก่สื่อมวลชนความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาวุธทุกชนิด ตลอดจนประสิทธิภาพในการทำลายล้าง รวมไปถึงการจุดระเบิดชนิดต่างๆ รวมทั้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวจากอาวุธและระเบิดชนิดต่างๆ โดยจะจัดระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๗ - วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ณ แผนก ๕ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ในการนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงเรียนมาเพื่อขอเชิญท่านส่งนักข่าวเข้าร่วมการอบรมจำนวนไม่เกิน ๒ คน (ค่าลงทะเบียนคนละ ๑,๐๐๐ บาท) โดยขอความกรุณาส่งชื่อนักข่าวที่สนใจเข้าร่วมการอบรมมายังสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โทร. ๐๒-๖๖๘-๙๔๒๒ โทรสาร. ๐๒-๖๖๘-๗๕๐๕ E-mail: reporter@inet.co.th ภายในวันอังคารที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๓
ทั้งนี้ขอให้ผู้เข้าอบรมศึกษาข้อควรปฏิบัติจำนวน ๗ ข้อ (แนบท้ายต่อจากกำหนดการ)ก่อนเข้าร่วมการอบรม
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับ
ความร่วมมือจากท่านในการส่งนักข่าวเข้ารวมอบรม และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถือ
(นายวีระศักดิ์ พงษ์อักษร) (นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์)
เลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เลขาธิการ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โครงการอบรม “ เตรียมพร้อมการทำข่าวในสถานการณ์ความความรุนแรง”
เรียนรู้เรื่องอาวุธสงคราม กระสุนวัตถุระเบิด และการป้องกันตนเอง
หลักการและเหตุผล
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติของความขัดแย้งทางการเมืองที่ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นความขัดแย้งของผู้คนในสังคมไทย ส่งผลให้คนไทยในสังคมที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันต้องกลายเป็นความขัดแย้ง มีการแบ่งขั้ว เลือกข้าง แยกฝักฝ่ายอย่างชัดเจน จนนำไปสู่การใช้อาวุธสงครามชนิดต่างๆ เป็นเครื่องมือในการทำร้ายฝ่ายที่เห็นไม่ตรงกัน ไม่เว้นแม้แต่สื่อมวลชนที่ต้องทำหน้าที่ในการรายงานความเป็นไปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังหนีไม่พ้นที่ต้องเผชิญภาวะถูกคุกคามตกและตกเป้าหมายในการทำล้างอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ความสูญเสียชีวิตของผู้คนจากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง หรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ณ บริเวณถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและสี่แยกคอกวัว เมื่อวันที่ ๑๐ เม.ย.๒๕๕๓ หลังจากนั้นยังได้เกิดเหตุการณ์ที่มึการใช้อาวุธสงครามยิงถล่มใส่สถานที่สำคัญๆหลายแห่ง และนำมาซึ่งความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งของประเทศ ถือเป็นฝันร้ายของคนไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค.๒๕๕๓ ที่มีการเผาทำลายอาคารห้างสรรพสินค้าอีกหลายแห่ง ทำให้ประเทศไทยต้องกลายเป็นดินแดงที่ไม่ปลอดภัยในมุมมองจากคนทั่วโลก ุ
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า สื่อมวลชนที่ลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรายงานข่าวและภาพข่าวเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากความวุ่นวายทางการเมืองในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามีทั้งผู้สื่อข่าวและช่างภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้สื่อมวลชนจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การป้องกันตัวเองและรู้วิธีการเตรียมความพร้อมเบื้องต้นก่อนลงพื้นที่ทำงานข่าว
ในการนี้ ทางองค์กรวิชาชีพสื่อ ซึ่งประกอบด้วยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดโครงการอบรมเพื่อให้ความรู้ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานในเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องของอาวุธปืนทุกชนิดตลอดจนอาวุธสงคราม ระเบิดชนิดต่างๆ ว่า มีคุณลักษะและประสิทธิภาพในการทำลายล้างอย่างไร การป้องกันและวิธีการปกป้องเพื่อความปลอดภัยในสถานการณที่ต้องเผชิญกับการใช้อาวุธสงคราม ช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะเบื้องต้นในการปฐมพยาบาลหรือการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บ เพื่อประโยชน์ในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกแขนง
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของความสำคัญในการจัดทำโครงการอบรมในครั้งนี้ โดยเป็นความริเริ่มจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย เพื่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการยกระดับในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทย
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อช่วยสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้แก่สื่อมวลชน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาวุธทุกชนิด ตลอดจนประสิทธิภาพในการทำลายล้าง รวมไปถึงการจุดระเบิดชนิดต่างๆ
๒. เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวจากอาวุธและระเบิดชนิดต่างๆ
วิธีดำเนินการอบรม
การจัดทำโครงการฝึกอบรมทั้งข้อมูลทฤษฎีเบื้องต้นและการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริง เรียนรู้ผ่านการสาธิตการใช้อาวุธและระเบิดแต่ละชนิด ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน
สถานที่
แผนกที่ ๕ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
จำนวนผู้เข้าอบรม
มีการจำกัดจำนวนเพื่อประสิทธิภาพของผู้เข้ารับการอบรม รวม ๕๐ คน ได้แก่ ผู้สื่อข่าวและช่างภาพจากสื่อหนังสือพิมพ์ สถานีโทรทัศน์และวิทยุ องค์กรละไม่เกิน ๒ คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ช่วยสร้างองค์ความรู้ให้กับสื่อมวลชนในการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒. ช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการเรียนรู้วิธีป้องกันตัวจากอาวุธ-วัตถุระเบิดชนิดต่างๆ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โครงการอบรม “ เตรียมพร้อมการทำข่าวในสถานการณ์ความความรุนแรง”
เรียนรู้เรื่องอาวุธสงคราม กระสุนวัตถุระเบิด และการป้องกันตนเอง
ณ แผนกที่ ๕ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
วันศุกร์ที่ ๒๗ – วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๓
วันศุกร์ที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๓
๑๔.๐๐ น ออกเดินทางจากกรมสรรพาวุธทหารบก ถ.ทหาร สะพานแดง กรุงเทพ
๑๖.๓๐ น เดินทางถึงแผนกที่ ๕ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
๑๖.๔๕ น รับฟังบรรยายการปฏิบัติตัวในระหว่างการเข้ารับการอบรม ฯ
๑๗๐๐ น กิจกรรมแนะนำตัวเพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เข้าอบรม
๑๘.๐๐ น ทำภารกิจส่วนตัว
๑๙.๐๐ น รับประทานอาหารเย็น ร่วมพูดคุย – แลกเปลี่ยนประสบการณ์ สร้างความคุ้นเคย
๒๑.๐๐ น พักผ่อนตามอัธยาศัย
วันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๓
๐๖.๐๐ น เดินออกกำลังกายเพื่อสูดโอโซนช่วยในการฟอกปอด
๐๗.๐๐ น รับประทานอาหารเช้า
๐๘.๓๐ น พิธีเปิดการอบรม
กล่าวต้อนรับ
พลโทเอกชัย วัชรประทีป เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก
กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดอบรม
คุณเสด็จ บุญนาค
อุปนายกฝ่ายสิทธิและเสรีภาพ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
กล่าวเปิดอบรม
คุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
๐๘.๔๕ น บรรยายเรื่อง บทบาทของทหารสรรพาวุธ
โดย พลโทเอกชัย วัชรประทีป เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก
๐๙.๔๕ น พักรับประทานอาหารว่าง
๑๐.๐๐ น ความรู้เรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ และการป้องกันตนเอง
บรรยายเกี่ยวกับอาวุธทุกชนิดที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ปืนพกพา และปืนชนิดต่างๆ เครื่องยิง อาวุธสงคราม ทั้ง อาร์พีจี และเอ็ม ๗๙ ตลอดจนการจุดระเบิดชนิดต่างๆ ว่ามีคุณลักษณะและ วิถีกระสุน อำนาจในการทำลายล้าง วิธีการสังเกต และขอบเขตระยะรัศมีของพื้นที่ในการหลบหลีก รวมทั้งอาวุธที่ใช้ในการชุมนุมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมา
โดย พันเอกชาญวิทย์ ราชธนบริบาล หัวหน้าวิชากระสุนและวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธ
๑๒.๐๐ น รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ น บรรยายความรู้เรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ (ต่อ)
โดย พันเอกชาญวิทย์ ราชธนบริบาล ผบ. หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด กรมสรรพาวุธพร้อมเจ้าหน้าที่
๑๔.๐๐ น เดินทางลงพื้นที่เรียนรู้ภาคสนาม ณ สนามทำลายวัตถุระเบิด
๑๔.๓๐ น ชมการสาธิตการทำลายล้างและการเก็บกู้กระสุนและวัตถุระเบิด
๑๗.๓๐ น เดินทางกลับเข้าสู่ที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย
๑๘.๓๐ น รับประทานอาหารเย็น
๑๙.๓๐ น บอกเล่าประสบการณ์ ข่าวในภาวะสงคราม และเปลี่ยนมุมมองสื่อกับทหาร
โดย นายสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษาองค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอท
นักข่าวมากประสบการณ์
ผู้เชี่ยวชาญจากกรมสรรพาวุธ
ดำเนินรายการโดย คุณก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุ ฯ
๒๑.๐๐น ฝึกสังเกตและฟังเสียงอาวุธ (ยามค่ำคืน)
๒๒.๐๐ น กลับเข้าสู่ที่พัก
วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๓
๐๖.๐๐ น นัดพร้อมเพรียงเดินออกกำลังกายเพื่อสูดโอโซนช่วยในการฟอกปอด
๐๗.๐๐ น รับประทานอาหารเช้า
๐๘.๓๐ น ออกเดินทางไปยังพื้นที่กังหันลมผลิตไฟฟ้า
๐๙.๐๐ น เยี่ยมชมรับฟังบรรยายเกี่ยวกับกังหันลมผลิตไฟฟ้า ชมพื้นที่โดยรอบ
๐๙.๔๕ น เดินทางกลับถึงแผนก ๕ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
๐๙.๔๕ น รับประทานอาหาว่าง
๑๐.๐๐ น ชมการแสดงสุนัขโชว์ สาธิตการตรวจทุ่นระเบิดและยาเสพติดโดยสุนัข
๑๑.๐๐ น ทดสอบความรู้จากการอบรม
๑๒.๐๐ น รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ น พิธีปิดการอบรม และถ่ายรูปร่วมกัน
๑๓.๓๐ น ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพ
ข้อควรปฏิบัติ
๑. เป็นการอบรมเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น จึงไม่อนุญาตให้มีการทำข่าวเพื่อเผยแพร่ในทุกสื่อ
๒. การแต่งกายอยู่ในชุดที่เตรียมพร้อมเพื่อการลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติภาคสนาม และชุดสำหรับออกกำลังกาย
๓. ผู้เข้าอบรมจะต้องเตรียมของใช้ส่วนตัวและผ้าขนหนูไปเอง
๔. ระหว่างการอบรมจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางกองคลังแสง กรมสรรพาวุธอย่างเคร่งครัด
๕. ระหว่างการอบรมขอให้ฝากเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดไว้กับเจ้าหน้า และช่วงที่ลงพื้นที่สาธิตการทำลายกระสุนวัตถุ
ระเบิด ไม่อนุญาตบันทึกภาพ และห้ามพกพาเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
๗. รายละเอียดการอบรม ห้ามการเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบสื่อสารออนไลน์ทุกชนิด เช่น ทวิตเตอร์ เฟซบุ๊คส์ หรือบีบี เป็นต้น ทั้งก่อนและหลังการอบรม ( เพราะบางข้อมูลเป็นเรื่องละเอียดอ่อน )