บทเรียน “โลก” ถอดสลักความขัดแย้ง “ไทย”
“อาดัม คาเฮน” ถอดบทเรียนวิกฤตความขัดแย้งโลก เสนอยุทธศาสตร์ “ห้องปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลง” เพื่อแก้ปัญหา ระบุ ต้องระดมความเห็นจากทุกฝ่ายผ่านการจำลองสถานการณ์อนาคต พร้อมแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ไม่ต้องเร่งรีบ เสนอแนวทาง “สานเสวนา” พูดด้วยความเข้าใจ ฟังด้วยความลึกซึ้ง ชู 2 ปัจจัยมูลเหตุ ผนึก “อำนาจ – ความรัก” เพื่อถอดชนวนการแตกหัก
เมื่อเวลา 14.00น. ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร มีการจัดงานเสวนาในหัวข้อ “เราจะส่งมอบประเทศไทยแบบไหนให้ลูกหลาน” โดยสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร บริษัทไทยประกันชีวิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน
นายอาดัม คาเฮน เปิดเผยว่า ตลอดการทำงาน 20 ปี เพื่อถอดบทเรียนความขัดแย้งจาก สถานการณ์ต่างๆ นั้น ได้พยายามหาคำตอบง่ายๆ จากคำถามหนึ่ง คือเราจะแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและมีความขัดแย้งที่สุดด้วยวิธีที่ สันติได้อย่างไร ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมามีการลองผิดถูกมาเป็นจำนวนมาก และได้พบกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ โดยสิ่งสำคัญที่ได้เรียนรู้คือ การทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ แล้วคะเนสถานการณ์อนาคตต่อไปว่าหลัง จากนี้อาจจะเกิดอะไรขึ้นได้อีกบ้าง ด้วยวิธีที่เรียกว่าห้องปฏิบัติการ เพื่อการเปลี่ยนแปลง
นายอาดัม กล่าวว่า ได้เริ่มทำงานในบริษัทเชลล์ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตน้ำมันรา ยใหญ่ โดยขณะที่ร่วมทำงานนั้นเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งกระทบต่อตลาดน้ำมันโดยตรง ทางบริษัทจึงกลับมาคิดว่าควรทำอะไร บางอย่างเพื่อตีความสถานการณ์และแก้ปัญหาอย่างสมเหตุสมผล ทั้งนี้ท้ายที่สุดแล้วได้ค้นพบว่าเราต้องตอบคำถามที่เจาะจงใน เรื่องราวต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเกณฑ์และความเกี่ยวโยงอย่างท้าทาย และแจ่มชัด
นายอาดัม กล่าวว่า จากนั้นได้เข้ามาแก้ปัญหาในแอฟริกาใต้ โดยประยุกต์จากแผนงานของเชลล์ ซึ่งสถานการณ์ในขณะนั้นมีความวุ่นวาย เกิดการจราจล กระทั่งคนในแอฟริกาใต้ตระหนักและกังวล ทั้งนี้การแก้ปัญหาในขณะนั้นมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา ประกอบด้วยทุกภาคส่วนในสังคม อาทิ นักวิชาการ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ นักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ซึ่งทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผิวขาว หรือผิวดำก็มาร่วมกันแก้ปัญหาผ่าน กระบวนการจำลองสถานการณ์ในอนาคต หรือที่เรียกว่า Scenarios
นายอดัม กล่าวว่า ขณะนั้นมีการตั้งคำถามกันว่าอะไรอาจจะเกิดขึ้นมาได้ บ้าง และจะจบประเด็นพิพาทตรงนี้ได้หรือไม่อย่างไร โดยในตอนนั้นมีการสรุปผลว่า หากเป็นรัฐบาลผิวขาวก็จะเป็นสถานการณ์นก กระจอกเทศ คือรัฐบาบาลจะมุดหัวลงไปในทราย ไม่ยอมฟังอะไร แต่สุดท้ายแล้วก็จะต้องโงหัวขึ้นมาและพบกับปัญหาในที่สุด
แต่หากเป็นรัฐบาลผิวดำ ก็จะกระทบต่อคนผิวขาว กระทบต่ออำนาจและเศรษฐกิจ ซึ่งหากพิจารณาโดยสภาพการณ์แล้วก็จะกลายเป็นเป็ดป่วย เป็ดที่ไม่พร้อม ขาหักปีกหัก ซึ่งจะเหมือนอิคะเริส เทพปกรณัมของกรีก ที่เอาปีกมาจากนกนางนวล แล้วติดปีกด้วยขี้ผึ้ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์ก็หลุดลงมา ไม่ประสบผลสำเร็จในที่สุด
“หากกระบวนการเปลี่ยนผ่านเร็วเกินไปก็จะไม่ได้ผล ถามว่าถ้ามีรัฐบาลแล้วจะยั่งยืนหรือไม่ เพราะตอนนี้รัฐบาลไม่สามารถจัดการ สถานการณ์ได้ และถ้าเอาเงินของคนรวยไปให้คนจน เอาเงินผิวขาวไปให้ผิวดำ ก็แก้ปัญหาไม่ยั่งยืน สุดท้ายทุกอย่างก็จะพังทะลายพินาศยับเยิน”นายอ ดัมกล่าว
นายอดัม กล่าวว่า การแก้ปัญหาของเมลสันแมนดาร่า มีทั้งคนคาดการณ์ว่าสำเร็จและผิดพลาด แต่สุดท้ายแล้วจะเห็นว่าความ สำเร็จที่เกิดขึ้น เริ่มมาจากการบินช้าๆ อย่างมีกระบวนการ เป็นการบรรลุผลช้าๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าคณะทำงานต่างๆ จะมีความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน แต่ก็สามารถร่วมทำงานในเชิงสร้างสรรค์กันได้
“มีการพูดเล่นๆ ในตอนนั้นว่า แอฟริกามีทางเลือกสำหรับแก้ปัญหา 2 ทาง 1.เชิงปฏิบัติ คือให้ทุกคนคุกเข่าอ้อนวอนให้เทวทูตมาช่วยแก้ปัญหา 2.เชิงปาฏิหาริย์ คือต้องหาทางเดินไปร่วมกัน ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือการ ทำงานในเชิงปาฏิหาริย์”นายอดัมกล่าว
นายอดัม กล่าวว่า หลักการแก้ปัญหานั้น เมื่อพูดถึงปัญหาที่ซับซ้อน จำเป็นต้องแก้ไขเชิงพลวัต คือแม้ว่าเหตุผลจะกระจัดกระจายแต่สุดท้ายก็ ยังเชื่อมโยงกันอยู่ ดังนั้นต้องค่อยๆ แก้ทีละอย่าง มองการแก้ปัญหาเป็นรายประเด็น แต่ใช้วิธีการแก้เป็นองค์รวม ส่วนความซับซ้อนเชิงสังคมที่เกิดความแตก ต่างระหว่างบุคคลและสถานการณ์ ต้องเข้าใจว่าไม่สามารถใช้กำลังมา แก้ไขได้ ต้องนำผู้ที่มีส่วนได้เสียเข้ามาด้วยการใช้กระบวนการการมีส่วน ร่วม
นายอดัม กล่าวว่า สถานการณ์ที่ไม่ซับซ้อนมากสามารถใช้ประสบการณ์จากอ ดีตมาศึกษาได้ แต่หากมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา รวมทั้งต้องร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ เพราะไม่มีใครสามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวคนเดียวได้
นายอดัม กล่าวว่า มีโอกาสได้เข้าไปร่วมแก้ปัญหาในประเทศกัวเตมารา ซึ่งมีสถานการณ์ความขัดแย้ง สงครามกลางเมือง ซึ่งหลังจากสถานการณ์สิ้นสุดลง หลายฝ่ายมีการพูดคุยกันว่าจะบูรณประเทศอย่างไร ซึ่งขณะนั้นมีการดึงทุกภาคส่วน ทั้ง ฝ่ายนักการเมือง ประชาชน นักวิชาการ ทหาร เข้ามาร่วมห้องปฏิบัติการเชิงสังคม มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อดำเนินกิจ กรมและแลกเปลี่ยนความรู้กัน
นายอดัม กล่าวว่า สิ่งจำเป็นในการแก้ปัญหาคือต้องหยั่งยานหรือรับรู้ เชิงลึกซึ้ง โดยเฉพาะกระบวนการฟังและการพูด ทั้งนี้หากเปลี่ยนวิธีการฟังก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตและผลการ ทำงานได้ ทั้งนี้การพูดอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือการพูดลักษณะดึงข้อมูลออกมาพูดซ้ำๆ ซึ่งก็จะไม่มีอะไรใหม่ และการอภิปราย ที่พัฒนาขึ้น แต่ก็เป็นการพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากพูด เท่านั้น และก็จะไม่ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่เช่นกัน
“สองวิธีนี้เป็นเพียงการผลิตซ้ำในสิ่งที่รู้อยู่แล้ว และจะได้สัจพจน์เดิมๆ ดังนั้นต้องปรับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งคือการสาน เสวนา ซึ่งไม่ใช่แค่บอกว่าตัวเองคิดอะไรอยู่ แต่ต้องพยายามอธิบายให้คนฟังเข้าใจว่า ทำไมถึงคิดแบบนี้ ความคิดเหล่านี้มาจากไหน ส่วนการฟังก็ต้องใส่ใจที่จะฟังใน ทุกรายละเอียด ไม่ใช่ฟังเพื่อตัดสินว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ต้องพยายามสร้างความเข้าใจว่าทำไมถึงคิดแบบนั้น”นายอดัมกล่าว
นายอดัม กล่าวว่า ที่สำคัญคือจำเป็นต้องสร้างผัสสะร่วมให้เกิดขึ้น เพราะเมื่อทุกฝ่ายเข้าใจร่วมกันก็จะรับรู้การเปลี่ยนแปลง เข้าใจโลก เป็นส่วนหนึ่งของโลก ซึ่งทำให้เปิดจิตเปิดใจเปิดโอกาสในการทำงานร่วม กันได้
นายอดัม กล่าวว่า แม้การสานเสวนาจะมีการพัฒนาขึ้น แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่นในกัวเตมารายังมีเอ็น จีโอที่ประกาศว่าจะไม่เข้าร่วมสานเสวนาอีกแล้ว เนื่องจากรัฐบาลพยายามกดดันให้ยุติการชุมนุมประท้วง นั่นเป็นเหตุให้จำเป็นต้องกลับมาคิดว่ายังมีอะไรผิดพลาดหรือนอก เหนือการสานเสวนาเพื่อยุติปัญหา
นายอดัม กล่าวว่า สิ่งที่พบคือปัจจัยมูลฐานสำหรับแก้ปัญหาต้องมี 2 ประการคือ 1.ด้านจิตใจ หรือ Love ซึ่งเป็นสิ่งช่วยเชื่อมประสานรอยร้าว ได้ดีที่สุด 2.พลังขับเคลื่อน หรือ Power ที่เป็นพลังขับเคลื่อนสรรพชีวิตให้ บรรลุผลสูงสุดได้ โดยทั้งสองส่วนต้องผลึกเข้ากัน ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้
“ความสันติและการรับมือกับประเด็นความซับซ้อนในสังคม จะเกิดขึ้นได้จากการบวนการแก้ไขอย่างเป็นระบบ การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การสานเสวนา การสร้างผัสะร่วม และการผนึกความรักและอำนาจเข้าร่วมกัน”นายอดัมกล่าว
นายอดัม กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งในประเทศไทยว่า เพิ่งมาถึงประเทศไทยเพียงสี่วัน และคิดว่าไม่ใช่เวลาเพียงพอจะเข้าใจ สถานการณ์ในเมืองไทยอย่างชัดแจ้ง คงไม่เหมาะที่จะวิเคราะห์หรือให้ คำแนะนำทั้งหมด แต่จากประสบการณ์จากที่อื่นๆ ได้ตั้งข้อสังเกตและคาดว่าสถานการณ์ของ ประเทศไทยมีความซับซ้อนในหลายๆ ด้าน และเพิ่มพูนขึ้นมา จนถึงตอนนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเหลืองหรือแดง แต่เป็นเรื่องความหลากหลาย เราต้องเข้าใจเรื่องตัวปัญหา ซึ่งความขัดแย้งระดับนี้ ไม่ใช่เรื่องที่ผู้คุมกำลัง ผู้มีอำนาจหรือนักวิชาการมาแก้ปัญหาได้ง่ายๆ แต่ต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา
“วิธีแก้ไม่ใช่ใช้อำนาจหรือปราบปรามใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องพยายามสร้างสรรค์กระบวรการผ่านรัฐ โดยใช้ความรัก แต่ความรักก็ไม่ใช่แค่ยื่นดอกกุหลาบ แต่ต้องมีความรักเชิงสมานฉันท์ สร้างความเชื่อมโยง และบรรเทาประเด็นต่างๆ ได้ไม่น้อย นอกจากนี้ยังตองสร้างเอกภาพ ยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น” นายอดัมกล่าว
สุดท้ายอดัมสรุปผลการสัมมนาไว้ดังนี้
1.ทราบว่าพื้นฐานที่คิดว่าจะรู้สึกในช่วงการสนทนาเบื้องต้น คุณค่าหรือค่านิยมในการพิจารณาประเด็นต่างๆ เป็นเรื่องที่ดี ทราบถึงจุดเชื่อมโยงต่างๆ ได้คุยกับคนที่ไม่เคยได้คุยเลย ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากในการสานเสวนา ซึ่งถือเป็นจุดประสานระหว่างความ รักและพลังการขับเคลื่อน
2.สิ่งต่างๆ ไม่มีสูตรสำเร็จในการแก้ปัญหา จึงจำเป็นต้องศึกษาให้ละเอียดว่าการแก้ปัญหาใดสำเร็จหรือล้มเหลว และต้องสร้างการมีส่วนร่วม
3.การขยับพัฒนาการจนถึงขั้นสานเสวนา เป็นสิ่งที่เรียบง่าย แต่ไม่ง่าย ปริภูมิหรือทิศต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาด้วย จะสร้างปริภูมิอย่างไร หรือสร้างสมรรถนะอย่างไร
4.ถ้ามีคนไม่อยากคุยจะทำอย่างไร จำเป็นต้องหาวิธีการกระตุ้นให้คนพูด คุยมากกันขึ้น อย่างประเทศโคลัมเบีย ซึ่งมีกองโจรผิดกฎหมายมาก แต่ต้องให้เขาได้รับรู้ จึงได้มีการถ่ายทอดสด และมีการเปิดสายให้พูดคุย มีกองโจรโทรศัพท์เข้ามาถามว่าต้องหยุดยิงปืนด้วยหรือไม่ หากมีการร่วมสานเสวนา เราตอบไปว่า ไม่มีข้อตกลงเบื้องต้นใดๆ เพียงแต่ต้องการเข้ามาพูดคุยกัน ไม่ต้องหยุดยิงก็ได้
5.การแก้ปัญหาความซับซ้อนอย่างเป็นระบบ หากบอกว่าสิ่งนี้ถูก นอกเหนือจากนี้ผิด นั้นเป็นประเด็นที่สำคัญ ต้องดึงและมองหลากหลายส่วน ทั้งมุมรากหญ้าด้วย ต้องมองให้เห็นช้างทั้งตัวพร้อมๆ กัน ไม่ใช่มองส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้สื่อมวลชนยังช่วยผลักดัน ด้วย
6.ไม่เห็นด้วยเต็มที่กับประเด็นว่าต้องเสียสละผลประโยชน์ส่วนตัว เพราะประโยชน์ส่วนบุคคลไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่เราต้องทำงานด้วยอำนาจ และความรัก ดังนั้นเอกภาพที่ไม่เคารพเรื่องผลประโยชน์ส่วนบุคคลก็ไม่สม บูรณ์นัก
7.ต้องใช้เวลา เพราะไม่มีสิ่งวิเศษใดที่จะพัฒนาได้ทันที นั่นถือเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาอย่างน้อยๆ หลายเดือน อนาคตของประเทศไทยไม่ได้สร้างด้วยฝรั่ง 2 คน แต่มาจากที่ทุกคนที่จะคงเห็นคำตอบจากตัวของท่านเอง
///////////////////////