การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 4
วันเสาร์ที่ 9 – วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2553
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 4
จัดโดย สถาบันอิศรา ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
และ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 9 – วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2553
ณ บ้านอัมพวารีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ความเป็นมา
ปี 2550 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีจุดประสงค์ที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่มวลสมาชิก และมีความหวังที่จะให้นักข่าวในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมกับสมาคมให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับว่าในสนามข่าวมีนักข่าวหน้าใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยความสัมพันธ์ของนักข่าวในพื้นที่ต่างเป็นไปในเชิงระนาบ ทำให้การแลกเปลี่ยนหรือพูดคุยเกี่ยวกับสาระสำคัญของวิชาชีพถูกหยิบยกมาพูดกันในวงแคบเท่านั้น
ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ของสมาคมฯ จึงเห็นควรที่จะเร่งจัดกิจกรรมให้นักข่าวในพื้นที่ได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวในสายงานเดียวกัน หรือระหว่างสายงาน นอกจากมีจุดประสงค์เพื่อให้นักข่าวเข้ามามีส่วนร่วมกันสมาคมฯมากขึ้นแล้วยังเล็งเห็นว่าการที่นักข่าวในพื้นที่ได้มาพบปะหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันจะนำไปสู่ความเกี่ยวดองทางความคิดต่อไป
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงใช้วิธีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักข่าวเป็นตัวเชื่อมในการสร้างความสัมพันธ์ในมวลหมู่นักข่าว โดยริเริ่ม “โครงการปั้นนักเขียนนักข่าว” ขึ้น ด้วยการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ และชำนาญในด้านการเขียน อาทิ นวนิยาย หรือเรื่องสั้น มาเป็นผู้อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักข่าวที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักข่าว และสามารถนำไปดัดแปลงให้ใช้ได้กับงานที่ทำอยู่ประจำ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยมีภารกิจหลักในการส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพ การสร้างหลักประกันทางด้านวิชาชีพของนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ตลอดจนงานด้านการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการนำเสนอข่าวสารสู่ประชาชน
ดังนั้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงมอบหมายให้ “สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย” จัดตั้งโดยสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบภารกิจในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ระหว่างวันที่ 15 – 16 กันยายน 2550 ณ คุ้มแม่น้ำท่าจีนหม่อมไฉไล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก มูลนิธิอิศรา อมันตกุล มูลนิธิแสงชัย สุนทรวัฒน์ และ กองทุนส่งเสริมจรรยาบรรณนักข่าว (อนุสรณ์ โชติ ทัศนียะเวช) โดยมีนักข่าวผ่านการอบรมโครงการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ดังกล่าว จำนวน 30 คน
ต่อมาในปี 2551 คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารสถาบันอิศรา เห็นชอบให้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 2 เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในการริเริ่มโครงการดังกล่าวต่อไป โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 21 ธันวาคม 2551 ณ ภูตะวันรีสอร์ท อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา ในการอบรมครั้งนี้มีนักข่าวผ่านการอบรมทั้งสิ้น 32 คน และในปี 2552 มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 3 อย่างต่อเนื่อง โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2552 ณ บ้านทิพย์สวนทอง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม มีนักข่าวผ่านการอบรมทั้งสิ้น 20 คน
ขณะเดียวกันโครงการนี้ยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในการเชิญนักเขียนที่มีความโดดเด่นและเชี่ยวชาญในด้านการสร้างสรรค์งานเขียน เพื่อเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านงานเขียนแก่นักข่าวผู้เข้าร่วมอบรมอันจะเป็นบันไดก้าวไปสู่การเป็นนักเขียนที่ดีต่อไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักข่าวในพื้นที่
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าอบรมไปพัฒนาการเขียนข่าว สารคดีเชิงข่าว รายงานพิเศษ หรือการเขียนรูปแบบอื่น ให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น
3) เพื่อให้นักข่าวสามารถพัฒนาตนเองเข้าไปสู่ถนนนักเขียนมากขึ้น
องค์กรร่วมจัด
1) สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
2) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
3) สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
4) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
ผู้เข้าร่วมการอบรม
นักข่าวไม่จำกัดสายงาน อายุ และสังกัด จำนวน 25-30 คน
ระยะเวลาจัดอบรม
วันเสาร์ที่ 9 – วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2553
สถานที่
บ้านอัมพวา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ ๔
จัดโดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
สนับสนุนโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
วันเสาร์ที่ ๙ – วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๓
ณ บ้านอัมพวารีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
วันเสาร์ที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๓
๗.๐๐ น. ออกเดินทาง จาก กทม.
๘.๔๕ น. เดินทางถึงที่พัก
๙.๐๐ น. พิธีเปิดการอบรม
โดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด ( มหาชน)
๙.๑๕ น. ปาฐกถาพิเศษ “จากนักข่าวสู่นักเขียน”
โดย อัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนเรื่องสั้นรางวัลซีไรท์ "ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง"
๑๐.๐๐ น. พักอาหารว่าง
๑๐.๑๕ น. สนทนา “จากข้อมูลสู่เรื่องสั้น”
โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ เจ้าของผลงาน “คนสองแผ่นดิน” และ “ประชาธิปไตยเปื้อนเลือด”
นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ บรรณาธิการจุดประกายวรรณกรรม
๑๒.๐๐ น. อาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ น. กลวิธีการเขียน “เรื่องสั้น” รูปแบบต่างๆ
โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
๑๕.๐๐ น. อาหารว่าง
๑๕.๑๕ น. “พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักเขียนเรื่องสั้น”
ประชาคม ลุนาชัย นักเขียนรางวัลเซเว่นบุ๊คอะวอร์ด
เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรท์และเจ้าของผลงานเรื่องสั้น “เหมือนว่าเมื่อวานนี้เอง”
ดำเนินรายการ โดย วัสยศ งามขำ
๑๗.๐๐ น. ประเมินผลการสัมมนาประจำวัน
๑๘.๐๐ น. อาหารเย็น
๑๙.๐๐ น. เส้นทางสู่เรื่องสั้นซีไรต์
วัชระ สัจจะสารสิน นักเขียนรางวัลซีไรต์ ๒๕๕๑ “เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”
ไพลิน รุ้งรัตน์ ดำเนินรายการ
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๓
๘.๓๐ น. ทบทวนการสัมมนาวันแรกและแบ่งกลุ่ม
๙.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติ
๑๒.๐๐ น. อาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ น. เส้นทางสู่นักเขียนมืออาชีพ
โดย วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ “ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน” และ
“สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน”
๑๓.๔๕ น. วิจารณ์งานเขียนโดยวิทยากร
๑๕.๔๕ น. อาหารว่าง
๑๖.๐๐ น. พิธีมอบเกียรติบัตรและปิดการอบรม
๑๖.๓๐ น. เดินทางกลับ กทม. โดยสวัสดิภาพ
……………………………………………..
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 4
จัดโดย สถาบันอิศรา ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
และ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 9 – วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2553
ณ บ้านอัมพวารีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ความเป็นมา
ปี 2550 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีจุดประสงค์ที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในหมู่มวลสมาชิก และมีความหวังที่จะให้นักข่าวในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมกับสมาคมให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับว่าในสนามข่าวมีนักข่าวหน้าใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยความสัมพันธ์ของนักข่าวในพื้นที่ต่างเป็นไปในเชิงระนาบ ทำให้การแลกเปลี่ยนหรือพูดคุยเกี่ยวกับสาระสำคัญของวิชาชีพถูกหยิบยกมาพูดกันในวงแคบเท่านั้น
ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ของสมาคมฯ จึงเห็นควรที่จะเร่งจัดกิจกรรมให้นักข่าวในพื้นที่ได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวในสายงานเดียวกัน หรือระหว่างสายงาน นอกจากมีจุดประสงค์เพื่อให้นักข่าวเข้ามามีส่วนร่วมกันสมาคมฯมากขึ้นแล้วยังเล็งเห็นว่าการที่นักข่าวในพื้นที่ได้มาพบปะหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันจะนำไปสู่ความเกี่ยวดองทางความคิดต่อไป
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงใช้วิธีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักข่าวเป็นตัวเชื่อมในการสร้างความสัมพันธ์ในมวลหมู่นักข่าว โดยริเริ่ม “โครงการปั้นนักเขียนนักข่าว” ขึ้น ด้วยการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ และชำนาญในด้านการเขียน อาทิ นวนิยาย หรือเรื่องสั้น มาเป็นผู้อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักข่าวที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับนักข่าว และสามารถนำไปดัดแปลงให้ใช้ได้กับงานที่ทำอยู่ประจำ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยมีภารกิจหลักในการส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพ การสร้างหลักประกันทางด้านวิชาชีพของนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ตลอดจนงานด้านการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการนำเสนอข่าวสารสู่ประชาชน
ดังนั้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงมอบหมายให้ “สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย” จัดตั้งโดยสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบภารกิจในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ระหว่างวันที่ 15 – 16 กันยายน 2550 ณ คุ้มแม่น้ำท่าจีนหม่อมไฉไล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก มูลนิธิอิศรา อมันตกุล มูลนิธิแสงชัย สุนทรวัฒน์ และ กองทุนส่งเสริมจรรยาบรรณนักข่าว (อนุสรณ์ โชติ ทัศนียะเวช) โดยมีนักข่าวผ่านการอบรมโครงการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” ดังกล่าว จำนวน 30 คน
ต่อมาในปี 2551 คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการบริหารสถาบันอิศรา เห็นชอบให้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 2 เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ในการริเริ่มโครงการดังกล่าวต่อไป โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 21 ธันวาคม 2551 ณ ภูตะวันรีสอร์ท อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา ในการอบรมครั้งนี้มีนักข่าวผ่านการอบรมทั้งสิ้น 32 คน และในปี 2552 มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ 3 อย่างต่อเนื่อง โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2552 ณ บ้านทิพย์สวนทอง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม มีนักข่าวผ่านการอบรมทั้งสิ้น 20 คน
ขณะเดียวกันโครงการนี้ยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในการเชิญนักเขียนที่มีความโดดเด่นและเชี่ยวชาญในด้านการสร้างสรรค์งานเขียน เพื่อเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านงานเขียนแก่นักข่าวผู้เข้าร่วมอบรมอันจะเป็นบันไดก้าวไปสู่การเป็นนักเขียนที่ดีต่อไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักข่าวในพื้นที่
2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าอบรมไปพัฒนาการเขียนข่าว สารคดีเชิงข่าว รายงานพิเศษ หรือการเขียนรูปแบบอื่น ให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น
3) เพื่อให้นักข่าวสามารถพัฒนาตนเองเข้าไปสู่ถนนนักเขียนมากขึ้น
องค์กรร่วมจัด
1) สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
2) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
3) สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
4) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
ผู้เข้าร่วมการอบรม
นักข่าวไม่จำกัดสายงาน อายุ และสังกัด จำนวน 25-30 คน
ระยะเวลาจัดอบรม