ประชุมใหญ่วิชาการสื่อสารมวลชนระดับชาติ ปี ๒๕๕๔
หัวข้อ “อนาคตสื่อไทย : ความท้าทายภายใต้ รัฐ ทุน และเทคโนโลยี”
พร้อมเปิดตัววารสารวิชาการ “อิศรา ปริทัศน์”
นายวิษณุพงษ์ หิญชีระนันท์ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และเครือข่ายนักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชน จะจัดประชุมใหญ่วิชาการสื่อสารมวลชนระดับชาติ หัวข้อ “อนาคตสื่อไทย : ความท้าทายภายใต้ รัฐ ทุน และเทคโนโลยี” ณ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา จังหวัดชลบุรี วันที่ ๑๘ – ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยมีกิจกรรมประกอบด้วยการนำเสนอผลงานทางวิชาการ การปาฐกถาพิเศษ และการอภิปรายทางวิชาการ
โดยมีผู้ส่งผลงานในรูปแบบของผลงานวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ หรือผลงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ เข้าร่วมนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย หัวข้อ ปัญหาเชิงจริยธรรมในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนบนทวิตเตอร์, ปรากฎการณ์หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษแจกฟรี “เดลี่ เอ็กซ์เพรส” , บทบาทของสื่อมวลชนกับการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทและละเมิดอำนาจศาล, การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ว่าด้วยเรื่องรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และเรื่องจริยธรรมของผู้เล่าข่าวรายการโทรทัศน์ ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังมีปาฐกถา ในหัวข้อ “อนาคตสื่อไทย ความท้าทายภายใต้ รัฐ ทุนและเทคโนโลยี” พร้อมกับการให้ผลการศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยเครือข่ายนักวิชาการ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสมาคมนักข่าวฯ
ในการประชุมครั้งนี้ จะมีการเปิดตัววารสารวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ “อิศรา ปริทัศน์” (Isra Media Review) โดยการสนับสนุนขององค์กรวิชาชีพสื่อทุกภาคส่วนขึ้น เพื่อรองรับผลงานทางวิชาการ กิจกรรมทางวิชาการร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ในการเป็นแหล่งกลางเผยแพร่งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา
ทั้งนี้ ทิศทางที่ชัดเจนของการจัดประชุมดังกล่าว เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัย ของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนประจำปี เป็นการเผยแพร่ความก้าวหน้าของความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนให้เป็นประโยชน์ เพื่อสะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการต่อประเด็นวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเพื่อเป็นการขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิชาการ และนักวิชาชีพสื่อมวลชนที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น
///////////////////////////////////////////////////
ประกาศรับผลงานวิชาการ (Call for Papers) งานประชุมใหญ่วิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน ปี ๒๕๕๔
เรื่อง การประกาศรับผลงานวิชาการ (Call for Papers)
ด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จะจัดงานประชุมใหญ่วิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชนระดับชาติ หัวข้อ “อนาคตสื่อไทย : ความท้าทายภายใต้รัฐ ทุน และเทคโนโลยี ” ขึ้น ระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๘ – วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ประจำปี ๒๕๕๔ และเพื่อสะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการต่อประเด็นวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
บัดนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เริ่มดำเนินการเปิดรับผลงานวิชาการ (Call for Papers) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันอังคารที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ รายละเอียดตามประกาศและหลักเกณฑ์การส่งผลงานตามที่แนบมา หรือที่ http://www.tja.or.th
-----------------------------------------------------------------------------------
รายละเอียด การประกาศรับผลงานวิชาการ (Call for Papers)
โครงการประชุมใหญ่วิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชน ระดับชาติ
หัวข้อ “อนาคตสื่อไทย : ความท้าทายภายใต้รัฐ ทุน และเทคโนโลยี ”
โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
วันเสาร์ที่ ๑๘ – วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๔
ณ .......................
..........................................
การประชุมใหญ่วิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน ระดับชาติ หัวข้อ “อนาคตสื่อไทย : ความท้าทายภายใต้รัฐ ทุน และเทคโนโลยี ” เป็นการนำเสนอผลงานวิชาการที่อยู่ในขอบเขตเนื้อหาที่กำหนด ได้มาจากการพิจารณาผลงานที่นำเสนอให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคัดเลือก และจากผู้ที่คณะทำงานมีมติให้เชิญเข้าร่วมนำเสนอผลงาน
เนื้อหาหลัก
๑. ความขัดแย้งผลประโยชนผู้ผลิตเนื้อหา ผู้บริโภคสื่อกับทุนในธุรกิจสื่อ
๒. วิกฤตและโอกาสสื่อ ความอยู่รอดของคนข่าว
๓. การปฏิรูปสื่อภาคพลเมือง
๔. บทบาทสื่อกับเทคโนโลยีการรายงานข่าว
๕. สื่อใหม่ ทางเลือก ทางออกหรือทางตัน กับปัญหาจรรยาบรรณ วิชาชีพ
๖. สื่อสิ่งพิมพ์ โอกาสและการปรับตัว
๗. การรู้เท่าทันของผู้บริโภคสื่อใน กับช่องทางสื่อที่หลากหลาย
๘. รัฐกับความสัมพันธ์สื่อสารมวลชน
ลักษณะผลงานทางวิชาการ
ประกอบด้วยผลงานใน ๓ ลักษณะ ดังนี้
๑ ผลงานวิชาการ ที่เป็นผลงานวิจัย หรือผลงานที่มีลักษณะเทียบได้กับงานวิจัย
๒ ผลงานวิทยานิพนธ์
๓ ผลงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ
หลักเกณฑ์การพิจารณาผลงานทางวิชาการ
๑. ความครบถ้วนและคุณภาพของผลงานและบทคัดย่อ
๒. ความสำคัญของข้อมูลใหม่ ประเด็นใหม่ หรือการตีความใหม่ที่ไม่เคยนำเสนอที่ใดมาก่อน
๓. ผลงานที่นำเสนอในการประชุม ต้องดำเนินการมาในช่วงเวลาไม่นานเกินกว่า ๓ ปี
๔. ส่งตรงเวลาที่กำหนด
กำหนดการส่งผลงาน
เปิดรับบทคัดย่อผลงานวิชาการ ตั้งแต่วันนี้ – ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
รูปแบบการเขียนผลงานทางวิชาการ
๑. ชื่อเรื่อง (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
๒. ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
๓. บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) มีความยาวประมาณ ๑๕๐ คำ โดยจะต้องพิมพ์คำสำคัญ หรือ Keywords ด้วย
๔. เนื้อเรื่อง ประกอบด้วย (ส่วนนี้ปรับเปลี่ยนได้ตามลักษณะรูปแบบของผลงานวิชาการข้างบน)
๔.๑ ที่มาและความสำคัญของปัญหา
๔.๒ วัตถุประสงค์
๔.๓ ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๔ นิยามศัพท์
๔.๕ วิธีการศึกษา
๔.๖ ผลการศึกษา
๔.๗ ข้อจำกัด
๔.๘ ข้อเสนอแนะ
๕. การอ้างอิงใช้ระบบนามปี
๖. บรรณานุกรม
๗. ประวัติผู้เขียนโดยสังเขป
๘. ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และ E-mail address ที่สามารถติดต่อสะดวก
จำนวนหน้าของผลงานวิชาการ
เนื้อเรื่อง มีความยาวประมาณ ๗ – ๑๐ หน้ากระดาษเอ ๔
รูปแบบการพิมพ์
การพิมพ์ผลงานทางวิชาการควรพิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows ๒๐๐๐ ขึ้นไป ประมาณ ๒๖ บรรทัดต่อ ๑ หน้า ชนิดตัวอักษร Angsana New หรือ Angsana UPC ขนาดตัวอักษรเท่ากับ ๑๖ ปกติ ยกเว้นหัวข้อใช้ขนาด ๑๘ ตัวหนา และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบ (มุมบนขวา) ยกเว้นหน้าแรก
การนำส่งผลงาน
ส่งเป็นแผ่น CD จำนวน ๑ แผ่น ต่อ ๑ เรื่อง ภายในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยบนแผ่นให้ระบุชื่อของแฟ้มข้อมูล ชื่อเจ้าของผลงาน ชื่อหน่วยงานที่สังกัดอย่างชัดเจนมายัง
คุณเทียมใจ ทองเมือง ผู้จัดการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หรือ คุณพรศรินทร์ ศรีสวัสดิ์ ผู้ประสานงานโครงการความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย โทร ๐๘๗-๑๗๑๘๙๔๔ อีเมลล์ sreesawad@windowslive.com โทร ๐๒ – ๖๖๘๙๔๒๒ หรือ โทรสาร ๐๒ – ๖๖๘๗๕๐๕ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ๕๓๘/๑ ถนนสามเสน เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐
หมายเหตุ คณะทำงานจะไม่ส่งผลงานที่ไม่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาผลงานคืนให้ และคณะทำงานขอสงวนสิทธิการเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับหัวข้อผลงานวิชาการเป็นวิทยากรผู้แสดงความคิดเห็นในการนำเสนอด้วย
รูปแบบการนำเสนอผลงาน
เป็นการนำเสนอผลงานในห้องประชุมสัมมนารวม ตามลำดับหัวข้อในกำหนดการ
- ผู้นำเสนอผลงาน ๑๕ นาที วิทยากร ๑๐ นาที ซักถามจากผู้เข้าร่วมการประชุม ๓ นาที หัวข้อเรื่องละรวม ๓๐ นาที
- และมีนิทรรศการนำเสนอด้วยแผ่นป้ายประกอบในบริเวณงานการประชุม
การเผยแพร่ผลงาน
ผลงานที่ได้รับการพิจารณามี ๒ ระดับ
- การนำเสนอบนเวที และเป็นเอกสารประกอบ เจ้าของผลงานจะได้รับเกียรติบัตรจากผู้จัด ได้รับยกเว้นค่าลงทะเบียน และค่าเดินทาง
- การนำเสนอป้ายนิทรรศการ เจ้าของผลงานจะได้รับเกียรติบัตรจากผู้จัด และได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุม โดยได้รับการยกเว้นค่าลง ทะเบียน แต่ไม่รวมค่าเดินทางในส่วนมาขึ้นรถที่สมาคมฯ
หมายเหตุ ผลงานทั้งหมดจะได้เผยแพร่ที่เว็บไซต์สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ที่ http://www.tja.or.th