อบรม “พัฒนาทักษะการจัดรายการวิทยุอย่างมืออาชีพ”
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะจัดอบรม“พัฒนาทักษะการจัดรายการวิทยุอย่างมืออาชีพ” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมศักยภาพให้กับผู้สื่อข่าว ซึ่งดำเนินการจัดรายการอยู่แล้ว และผู้สื่อข่าวรุ่นใหม่ที่สนใจเข้าร่วมจัดรายการได้ มีเวทีแสดงความคิดเห็น เรียนรู้และเข้ามามีส่วนร่วมผลิตรายการวิทยุ ถ่ายทอดจากประสบการณ์ทำงานของตนเอง และเพื่อเผยแพร่ความคิดเห็น จากการ “เล่าประสบการณ์” เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี และถูกต้องต่อสาธารณชน โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ ๑๐ – วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔ ณ อาคารวิทยพัฒนา ชั้น ๗ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยเนื้อหาในการอบรมประกอบด้วย ๑.คุณสมบัติการเป็นนักจัดรายการวิทยุที่ดีและประสบความสำเร็จ ๒.เทคนิคการจัดรายการวิทยุในรูปแบบต่าง ๆ ๓.บอกเล่าประสบการณ์กับจรรยาบรรณนักจัดรายการวิทยุ ๔.การเขียนบทวิทยุ ๕.ฝึกภาคปฏิบัติ การเขียนบทรายการสารคดีที่ประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์ การใช้ VOX POP และการใช้เสียงประกอบ และ ๖.ฝึกปฏิบัติจริง ผลิตรายการ “ช่วยกันคิดทิศทางข่าว”
ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เป็นนักจัดรายการวิทยุของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รายการ “ช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. เอฟเอ็ม ๑๐๐.๕ เมกะเฮิร์ต ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น.
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม
๑. มีประสบการณ์ทำงานทางด้านวิชาชีพสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ ไม่ต่ำกว่า ๓ ปี
สนใจสมัครด่วนภายใน วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ โทร ๐๒-๖๖๘-๙๔๒๒ หรือ
E-mail : sreesawad@windowslive.com อบรมฟรี ด่วนรับจำนวนจำกัด
กำหนดการอบรม
“พัฒนาทักษะการจัดรายการวิทยุอย่างมืออาชีพ”
วันเสาร์ที่ ๑๐ – อาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔
ณ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารวิทยพัฒนา ชั้น ๗
โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย
และ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔
๐๘.๓๐-๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน และเปิดการฝึกอบรม
๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น. เรื่อง คุณสมบัติการเป็นนักจัดรายการวิทยุที่ดีและประสบความสำเร็จ
โดย คุณสุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผู้จัดการสถานีวิทยุจุฬาฯ
๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๐.๔๕ – ๑๒.๐๐ น. เรื่อง เทคนิคการจัดรายการวิทยุในรูปแบบต่าง ๆ
โดย อาจารย์กรรณิการ์ โต๊ะมีนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๓.๔๕ น. เรื่อง บอกเล่าประสบการณ์กับจรรยาบรรณนักจัดรายการวิทยุ
คุณอรนุช อนุศักดิ์เสถียร อดีตผู้ผลิตรายการวิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทย
๑๓.๔๕ – ๑๕.๑๕ น. เรื่อง การเขียนบทวิทยุ
โดย ดร.สุภาพร โพธิ์แก้ว คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
๑๕.๑๕ – ๑๕.๓๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๕.๓๐ – ๑๙.๐๐ น. ฝึกภาคปฏิบัติ การเขียนบทรายการสารคดีที่ประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์การใช้ VOX POP และการใช้ เสียงประกอบ เพื่อให้รายการน่าสนใจ และนำมาผลิตห้องปฏิบัติการให้มีความยาวประมาณ ๑๕ นาที ให้แบ่งกลุ่มๆละ ๕ คน ๔ กลุ่ม
๑๙.๐๐– ๒๐.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น
๒๐.๐๐ – ๒๑.๐๐ น ระดมสมองออกแบบรายการวิทยุ “ ช่วยกันคิดทิศทางข่าว”
โดยทีมผู้ดำเนินรายการวิทยุช่วยกันคิดทิศทางข่าว
วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔
๐๘.๓๐ -๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ -๑๐.๔๕ น. นำเสนอผลงานโดยผู้เข้ารับการอบรมตามกลุ่ม และร่วมวิพากษ์ผลงาน
โดย ดร. สุภาพร โพธิ์แก้ว คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
อาจารย์กรรณิการ์ โต๊ะมีนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คุณอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ สื่อมวลชนและนักจัดรายการวิทยุ
๑๐.๔๕ – ๑๑.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติจริง ผลิตรายการ “ช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ความยาว ๕๐ นาที ตามทักษะที่ได้รับการ ฝึกปฏิบัติมาตลอดเวลา ๒ วัน จากห้องบันทึกเสียงสถานีวิทยุจุฬาฯส่งตรงไปยังสถานีวิทยุกระจายเสียง อสมท. FM ๑๐๐.๕ MHz.
๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. ประเมินผลวิทยุฝึกปฏิบัติจริง รายการ “ช่วยกันคิดทิศทางข่าว”
คำอธิบายรายวิชา
1. คุณสมบัติการเป็นนักจัดรายการวิทยุที่ดีและประสบความสำเร็จ
การเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงคุณสมบัติที่จำเป็นของนักจัดรายการวิทยุอย่างมีประสิทธิภาพ บนมาตรฐานทางจริยธรรมของนักวิทยุกระจายเสียง
2. เทคนิคการจัดรายการวิทยุในรูปแบบต่าง ๆ
เป็นการเรียนรู้การใช้เสียงของผู้พูด การใช้เสียงประกอบรายการ การเลือกประเด็นที่จะนำเสนอ และการผสมผสานองค์ประกอบของรายการวิทยุให้น่าสนใจและได้อรรถรส
3. บอกเล่าประสบการณ์กับจรรยาบรรณนักจัดรายการวิทยุ
เป็นการนำถ่ายทอดประสบการณ์จริงจากการจัดรายการวิทยุจากนักจัดรายการมืออาชีพ รวมทั้งการทำความเข้าใจกับกรอบและหลักจริยธรรมของนักจัดรายการวิทยุ
4. การเขียนบทวิทยุ
เป็นการเรียนรู้หลักและวิธีการเขียนบทวิทยุทั้งในแบบ Full Scrip และ Semi Full Scrip พร้อมทั้งทำความเข้าใจถึงบทบาท และหน้าที่ของบทวิทยุกระจายเสียง
โครงการอบรม “พัฒนาทักษะการจัดรายการวิทยุอย่างมืออาชีพ”
หลักการและเหตุผล
รายการวิทยุ “ช่วยกันคิดทิศทางข่าว” เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักข่าวไทยและบริษัท อสมท. จำกัด(มหาชน) เปิดโอกาสและพื้นที่ให้แก่ผู้สื่อข่าวรุ่นใหม่ จัดรายการออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. เอฟเอ็ม ๑๐๐.๕ เมกะเฮิร์ต ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น.เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ประสบการณ์ และความคิดเห็นระหว่างผู้สื่อข่าวกับผู้ฟัง ด้วยสื่อสารเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน โดยเฉพาะประเด็นและเรื่องราว ที่ไม่มีการนำเสนอผ่านสื่ออื่นๆ ให้สาธารณชนได้รับทราบ
ที่ผ่านมา รูปแบบในการจัดรายการวิทยุ จะดำเนินรายการโดยนักข่าวภาคสนามสัปดาห์ละ ๒ ท่าน มานั่งพูดคุยกันถึงประเด็นข่าวที่อยู่ในกระแสสังคมขณะนั้น และมีการสัมภาษณ์แหล่งข่าว ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข่าวที่เป็นนักการเมือง หรือแม้แต่นักข่าวภาคสนามด้วยกันที่ได้สัมผัสกับสถานการณ์ข่าวเชิงลึก มานำเสนอผ่านรายการวิทยุ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความน่าสนใจให้รายการวิทยุ
ทั้งนี้ ได้มีเสียงสะท้อนจากนักจัดรายการวิทยุถึงเรื่องเทคนิคและขั้นตอนการจัดรายการวิทยุ ที่ยังไม่มีความเป็นมืออาชีพมากนัก จึงอยากให้มีการจัดอบรมเรื่องนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพของนักจัดรายการวิทยุ ให้มีความเป็นมืออาชีพ รวมทั้งยังเป็นการสร้างความน่าสนใจของรายการวิทยุ ให้กับกลุ่มผู้ฟังที่มีอยู่เดิมได้ติดตามฟังรายการอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการขยายกลุ่มผู้ฟังให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
ดังนั้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ร่วมกับ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอบรม“พัฒนาทักษะการจัดรายการวิทยุอย่างมืออาชีพ” ขึ้นเพื่อเสริมศักยภาพให้กับนักจัดรายการวิทยุที่มีอยู่เดิม และ นอกจากนี้ยังได้เปิดรับสมัครนักข่าวรุ่นใหม่เข้าร่วมอบรม เพื่อสร้างเครือข่ายนักจัดรายการวิทยุ ให้กับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ฯ
วัตถุประสงค์
๑)เพื่อเสริมศักยภาพให้กับผู้สื่อข่าว ซึ่งดำเนินการจัดรายการอยู่แล้ว และผู้สื่อข่าวรุ่นใหม่ที่สนใจเข้าร่วมจัดรายการได้มีเวทีแสดงความคิดเห็น เรียนรู้และเข้ามามีส่วนร่วมผลิตรายการวิทยุ ถ่ายทอดจากประสบการณ์ทำงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
๒)เผยแพร่ความคิดเห็น จากการ “เล่าประสบการณ์” เพื่อสร้างความเข้าใจอันดี และถูกต้องต่อสาธารณชน
๓)เพื่อสร้างเครือข่ายนักจัดรายการวิทยุที่มีอยู่เดิมให้มากขึ้น โดยการเปิดรับนักข่าวรุ่นใหม่เข้าร่วมอบรม
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม
๑. นักจัดรายการวิทยุ “ช่วยกันคิดทิศทางข่าว”
๒. เปิดรับผู้สื่อข่าวใหม่ที่สนใจร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน ๑๐ – ๑๕ คน (มีประสบการณ์ทำงานทางด้านวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่ต่ำกว่า ๓ ปี )
วัน-เวลา-สถานที่
วันเสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๘.๓๐ - ๒๐.๐๐ น. ถึง วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๘.๓๐- ๑๕.๐๐ น. ณ อาคารวิทยพัฒนา ชั้น ๗ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
#