เสวนา “บทบาทสื่อมวลชนในการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง”

เสวนา “บทบาทสื่อมวลชนในการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง”

โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ (Media Monitor)

31 พญาไทบิลดิง้ ชัน้ 5 ห้อง 517-518 ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

www.mediamonitor.in.th

 

ได้รับการสนับสนุนจาก

สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ในสังคมที่แบ่งขั้ว และขัดแย้ง สื่อมวลชนแม้สื่อสาธารณะไม่เป็ นอิสระอย่างแท้จริง

บทบาทสังคมและสื่อมวลชนต่อการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตย ควรเป็นอย่างไร

จากการเสวนาเรื่อง “บทบาทสื่อมวลชนในการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง”

จัดโดย โครงการมีเดียมอนิเตอร์ มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา ร่วมกับ ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย มูลนิธิฟรีดริค

เอแบร์ท ประจำประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย สภา

วิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ที่ห้องประชุมเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ

วันที่ 27 กันยายน ที่ผ่านมา วงเสวนาร่วมกันวิเคราะห์สภาพสื่อและสังคมไทย พร้อมมีข้อเสนอเพื่อให้สื่อและ

สังคมร่วมกันพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตย

 

การเสวนาเริ่มด้วย ดร.เอือ้ จิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์ เสนอบทวิเคราะห์การ

ทำงานของสื่อมวลชน จากประสบการณ์การมอนิเตอร์ฟรีทีวีในการรายงานข่าวและเหตุการณ์การเลอื กตัง้ ในปี

2549, 2550 และ 2554 สรุปเฉพาะในส่วนที่พบว่าสื่อ “ยึดติดการทำงานใน 7 กรอบลักษณะ” คือ

1. fragmented คือรายงานข่าวการเมืองเป็นเหตุการณ์ย่อยๆ รายวัน ไม่สาวถึงสาเหตุหรือที่มาที่ไป

2. privatization/conflict ให้ความสาคัญกับ“คู่ความขัดแย้ง” ทาให้ประเด็นข่าวและสาระอื่นๆ ลดลง

3.dramatization นำเสนออย่างเสมือนละคร เน้นเร้าอารมณ์ การดึงดูดความน่าสนใจ

4. copycat/exclusive ทำงานอย่างเลียนแบบ/คัดลอก ไม่คิดประเด็นข่าวที่มีคุณค่าและแตกต่าง

5. pseudo public sphere ขาดการเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริง นำเสนอความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน ด้วยรูปแบบ Vox Pop เพียงสั้นๆ

6. un-professional ไม่ยึดมาตรฐาน-จรรยาบรรณวิชาชีพ มีการชี้นา/แทรกความคิดเห็น ขาดความแข็งแกร่งในความคิดและคำถาม ทาให้นักการเมืองกาหนดประเด็นข่าว สังคมไม่ได้คาตอบเชิงนโยบาย ขาดข่าวสืบสวน/เชิงลึก

7. partisan เลือกข้าง แบ่งฝ่าย ฝักใฝ่กลุ่มการเมือง มีอคติ ขาดความสมดุล ถูกถ้วน เป็นธรรม กลายเป็นเครื่องมือโจมตี-ต่อสู้ทางการเมือง

 

สื่อยังไม่ทำหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาความเป็นพลเมือง

นายมาร์ค ศักซาร์ ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ประจำประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย เป็นปมปัญหาจากอดีตสู่ปัจจุบัน ในอดีตการเมืองเป็นแบบแนวดิ่ง ส่วนปัจจุบัน การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ทาให้ระบบเดิมสึกกร่อน และยังไม่มีระบบใหม่รองรับ ในอนาคตการเมืองไทยยังต้องเผชิญกับวิกฤติเดิมๆ (Circle )

จึงต้องมีกระบวนการเพื่อประชาธิปไตย คือ 1.การวินิจฉัยสั่งการ- เช่น การแก้ไขผลประโยชน์ทับซ้อน การจัดสรรทรัพยากรฯ 2.การควบคุม - ผู้มีอานาจใช้อานาจเหมาะสมหรือไม่ ผิดกติกาหรือไม่ 3. ความชอบธรรม -ใครเป็นผู้กาหนดการใช้อานาจ กระบวนการแบบไหนเป็นที่ยอมรับ และ 4.การปรึกษาหารือ- ข้อตกลงการอยู่ร่วมกันในสังคม อะไรคือประเด็นสาคัญของสังคมในปัจจุบันและอนาคต

นอกจากนี้ สถาบันต่างๆ ควรมีบทบาทและทำหน้าที่ในกระบวนการประชาธิปไตย ที่สอดคล้องรองรับกัน เช่น ฝ่ายบริหาร รัฐบาล รัฐสภา ทำหน้าที่แนะนาความรู้ ระบบศาลยุติธรรมทำหน้าที่ควบคุมดูแลและติดตาม พรรคการเมือง องค์กรไม่แสวงหากาไร สหภาพ และสื่อ รณรงค์ โน้มน้าว สร้างแนวร่วม ฯ

สื่อจึงต้องมีบทบาทสาคัญ คือ ให้ข้อมูล แนะแนวทาง สร้างพื้นที่การปรึกษาหารือ และสะท้อนกลับการทำงานของภาครัฐ แต่ทุกวันนี้ สื่ออยู่ภายใต้แรงกดดันจากปัญหาภายใน คือ ขาดคุณภาพและศักยภาพ และปัญหาภายนอก เช่น แรงกดดันจากกฎหมาย อาทิ พ.ร.บ.หมิ่นสถาบัน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ การครอบงาจากการเมือง ธุรกิจ แรงกดดันทางเศรษฐกิจ และ การข่มขู่ การมีสื่อจานวนมาก ไม่ได้ประกันคุณภาพ คุณภาพสื่อที่ดีมาจากกรอบจริยธรรมและการควบคุมกันเอง

“สื่อมองไม่เห็นภาพใหญ่ของการเมืองทั้งระบบที่เชื่อมโยงพลเมือง สังคม ผลประโยชน์และการพัฒนาประเทศชาติ สื่อจึงเพียงนำเสนอเศษเสี้ยวชิ้นส่วนย่อยทางการเมือง มากว่าการเป็นเข็มทิศช่วยชี้นาประเทศ

ที่สาคัญ สื่อยังไม่ทำหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาความเป็นพลเมือง แก่สังคม”

 

สื่อต้องตระหนักในสิทธิเสรีภาพ ผู้บริหารสื่อต้องปกป้องและต่อสู้เพื่อคนทำงาน

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การเลือกตั้งเป็นกระบวนการเข้าสู่อานาจ แต่ขณะที่สังคมไทยมีความแตกแยกขัดแย้งสูง ทาให้สื่อวางตัวลาบาก จึงรายงานข่าวไปตามกระแสอารมณ์ของสังคมที่ถูกสร้างขึ้น ทั้งยังถูกละเมิดจากพรรคการเมือง หรือหน่วยงานรัฐด้วยกฎระเบียบบางอย่างระหว่างการเลือกตั้ง ที่ทาให้สื่อไม่สามารถทำงานบางอย่างได้ แต่สื่อกลับกลบทับปกปิดปัญหาเหล่านี้ หรืออาจไม่รู้ตัวว่าโดนละเมิดสิทธิในการรายงานข้อมูลข่าวสาร “สื่อยังอยู่ในวัฒนธรรมเซ็นเซอร์ตัวเอง ลิมิต(limit)หรือจากัดตัวเอง เพื่อลดความขัดแย้ง หรือ ยอมตกอยู่ในฐานอานาจเสียเอง”

สื่อต้องมีความกล้าหาญในการทำหน้าที่ให้ข้อมูลและเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้านการเมืองกับระบอบประชาธิปไตย ทั้งในสถานการณ์ก่อนเลือกตั้ง ระหว่างเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง สื่อต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของนโยบายพรรคการเมือง สื่อต้องทาให้ประชาชนเข้าใจบริบทการเมืองได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนและใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด สื่อต้องต่อสู้เพื่อสังคมมากกว่าทาเพื่อตัวเอง คานึงถึงความชอบธรรม สิทธิประโยชน์ และควรส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ คุ้มครองสื่อในฐานะ “สถาบัน” ไม่ใช่ “ปัจเจก” การต่อสู้เรื่องประชาธิปไตยควรเป็นการร่วมมือระหว่างสื่อมวลชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ประชาชน และต้องมีพลังมากกว่าการรู้เท่าทันสื่อ แต่ “สื่อต้องรู้เพื่อส่วนรวม ต้องตระหนักในสิทธิเสรีภาพของการนำเสนอข้อมูล ความคิดเห็น ผู้บริหารสื่อต้องปกป้องและต่อสู้เพื่อคนทำงาน”

 

นักการเมืองรู้เท่าทันสื่อแต่สื่อไม่รู้เท่าทันนักการเมือง

นักวิชาการรัฐศาสตร์ รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ว่า ทุกวันนี้สื่อทำงานได้ต่ากว่ามาตรฐาน และ ขาดศักยภาพ เห็นด้วยกับมีเดียมอนิเตอร์ที่สรุปว่าสื่อรายงานข่าวการเมืองเป็นเรื่องบันเทิง สีสัน เล่นไปตามกระแส ไม่ให้ความรู้และไม่รายงานข่าวเชิงลึกถึงสาเหตุของปัญหา แต่การวิพากษ์สื่อ ต้องมีคาแนะนาที่เป็นรูปธรรมให้สื่อด้วย และการวัดความเป็นกลางของสื่อจากพื้นที่ เวลา อาจสร้างข้อถกเถียงได้

ปัญหาของสื่อไม่ใช่ความลาเอียงแต่เป็นเรื่องของ ‘ประสิทธิภาพและความสามารถในการทาข่าวและการนำเสนอข่าว’สื่อไม่สามารถนำเสนอประเด็นที่แหลมคม สื่อไม่กล้าตั้งข้อสังเกตและตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ที่ควรมีการค้นหาข้อเท็จจริง สื่อไม่กล้า”ปอกเปลือก” (dehumanize) นักการเมือง สื่อไม่ให้ความสาคัญกับการกาหนดวาระและทิศทางการพัฒนาประเทศ สื่อจึงไม่ได้ทำหน้าที่สร้างและขับเคลื่อนเพื่อคุณภาพประชาธิปไตย ในขณะที่การทำงานของสื่อมีข้อจากัดเรื่องเวลา ทุน นโยบายองค์กร และข้อจากัดที่เพิ่มขึ้น คือ แรงกดดันทางการเมือง การสื่อสารการตลาดของการเมือง กลยุทธ์ทางการเมือง กลุ่มกดดันทางการเมือง ประชาธิปไตย แต่ที่น่าผิดหวังคือ ไทยพีบีเอส เพราะไม่ได้จากัดด้วยทุน แต่กลับนำเสนอข่าวไม่ต่างไปจากช่องอื่น

“ปัจจุบันนักการเมืองรู้เท่าทันการทำงานของสื่อ แต่สื่อไม่รู้เท่าทันนักการเมือง โดยเฉพาะนักข่าวสมัยนี้” การพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตย ต้องมีองค์ประกอบ คือ ประชาชนมีความรู้ที่ไม่วัดเพียงระดับการศึกษา 2.สถาบันการเมืองมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 3.มีการวางเป้าหมายประเทศ และ 4.สื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนสังคมประชาธิปไตย

 

ก่อนที่จะให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ อาจจำเป็นให้สื่อรู้เท่าทันเกมทางการเมืองด้วย

นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ ผศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเมืองในวิกฤต สื่อไม่ได้เป็นปัจจัยเดียว มีระบบหัวคะแนน ความสัมพันธ์ในชุมชนท้องถิ่น ทาไมสื่อนำเสนอเรื่องการเมืองอย่างเป็นละคร(dramatization) หรือนำเสนอให้เป็นข่าวแนวบันเทิง (infortainment) มีหนังสือชื่อ Political Mind ที่สะท้อนให้เห็นว่านักการเมืองเข้าใจอารมณ์คน เพื่อสร้างการจูงใจ ให้ตนมีอัตลักษณ์ทางการเมือง เพราะการเลือกที่จะโหวต ไม่ได้ขึ้นอยู่กับหลักเหตุและผลเพียงอย่างเดียว ยังมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย พรรคการเมืองบางพรรคใช้เคเบิ้ลทีวีในการสื่อสารกับประชาชน ในช่วงก่อนการเลือกตั้งเคเบิ้ลทีวีได้รับความนิยมมากกว่าฟรีทีวีบางช่อง รวมถึงไทยพีบีเอสที่เป็นทีวีสาธารณะด้วย ขณะที่มักคิดกันว่าคนไทยสนใจสื่อที่เป็นความบันเทิงมาก แต่จากการสารวจของเอซีนีลเซ่น ความนิยมอันดับ 1 คือละคร แต่อันดับ 2 เป็นข่าว ซึ่งตอนนี้ประชาชนให้ความสนใจมากขึ้น โดยส่วนตัวคิดว่าสื่อท้องถิ่นหรือเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นจะมีบทบาทมากขึ้น เพียงแต่ว่าจะเป็นบทบาทที่เสริมสร้างประชาธิปไตย หรือจะเป็นกระบอกเสียงให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ดังนั้น การเฝ้าระวังสื่อจึงจำเป็นมาก อยากให้สังคมมีหน่วยเฝ้าระวังสื่อเพิ่มขึ้นอีกหลายๆ หน่วย เพราะจะยิ่งช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบสื่อ โดยเฉพาะการตรวจสอบความเป็นเจ้าของสื่อ และเนื้อหาสื่อ “สุดท้ายประชาชนต้องรู้เท่าทันสื่อ แต่ก่อนที่จะให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ อาจจำเป็นให้สื่อรู้เท่าทันเกมทางการเมืองด้วย”

 

ถ้าสื่อนำเสนออย่างที่สังคมต้องการ ใครจะดูแลปกป้องการทำหน้าที่ของสื่อ

คนทาสื่อ นาย พลภฤต เรืองจรัส กรรมการสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สังคมมีความขัดแย้ง สื่อตกเป็นจาเลยของสังคม สื่อถูกตั้งคำถาม เมื่อเสนอข่าวไม่ถูกใจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่มีสื่อที่มีอิสระอย่างแท้จริง แม้ในสื่อสาธารณะอย่างไทยพีบีเอส สื่อถูกบังคับทางอ้อมด้วยอานาจบางอย่าง กรณีนายทุนกาหนดทิศทางการนำเสนอข่าว สื่อทาได้บ้างในแนวทางอารยะขัดขืน หากลวิธีเพื่อนำเสนออย่างที่ต้องการ ปัญหาคือสื่อมักจะถูกผลักไปฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ สังคมไม่ได้ตัดสินสื่อเพราะข้อเท็จจริง แต่ตัดสินเพราะเลือกข้างไว้ในใจแล้ว ฉะนั้นข่าวสารการเมืองจึงฉาบฉวยเอาตามใจ ไม่ใช่ความจริง “ถ้าสื่อนำเสนออย่างที่สังคมต้องการ ใครจะดูแลปกป้องการทำหน้าที่ของสื่อ ทุกวันนี้ความแข็งแรงของสังคมในการทำหน้าที่ดูแลสื่อยังมีไม่พอ จึงอยากวอนให้สังคมช่วยกันคุ้มครองคุ้มกันการทำหน้าที่ของสื่อ เพื่อให้สื่อเป็นอย่างที่สังคมต้องการ”

สิ่งที่ต้องระวังคือนักการเมืองอ่านสื่อออก บางครั้งสื่ออาจถูกใช้เป็นเครื่องมือได้ นอกจากนี้ความสนิทสนมระหว่างนักการเมืองและสื่อ งทาให้มีสื่อที่ลืมบทบาทหน้าที่ของตัวเอง อย่างสื่ออาวุโสที่ทาตัวตามสายงานข่าวที่ทา เช่น สายการเมืองทาตัวเป็นนักการเมือง สายเศรษฐกิจทาตัวเป็นนักธุรกิจ สายอาชญากรรมทำตัวเป็นตำรวจ

ระบบการศึกษาโดยเฉพาะด้านนิเทศศาสตร์ ผลิตเด็กที่จบมาแล้วอยากเป็นคนอ่านข่าว เป็นพิธีกร มากกว่าเป็นนักข่าว แต่ไม่รู้วิธีการทาข่าว จับประเด็นไม่ได้ อธิบายเชิงลึกให้เห็นภาพไม่เป็น ทาให้ไม่มีพื้นฐานการทาข่าวที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นที่มาของการทาข่าวแบบง่ายๆด้วยการคัดลอกข่าว

 

เลือกตั้งครั้งหน้า สื่อกระแสหลักยังเป็นเช่นเดิม ปัญหาคือเราไม่เคยมองเรื่องบทบาทสื่อท้องถิ่น

ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพสื่อท้องถิ่น นาย วิชิต เอื้ออารีวรกุล อุปนายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เห็นว่า เราฝากความหวังกับสื่อกระแสหลักมากเกินไป น่าจะหันมาพิจารณาความสามารถและความพร้อมของเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียมบ้าง เพราะมีความพร้อมด้านช่องทางและทรัพยากรมากกว่าฟรีทีวีและต่อไปจะเปิดช่องข่าวอีกมาก หนังสือพิมพ์หลายฉบับก็เตรียมทาทีวีดาวเทียม

ฟรีทีวี โทรทัศน์ดาวเทียมเป็นสื่อระดับชาติ ส่วนเคเบิ้ลทีวีเป็นสื่อระดับท้องถิ่น ทีวีดาวเทียม และฟรีทีวีมี 2 เป้าหมาย คือ 1.ตอบโจทย์นายทุน 2.โฆษณา ส่วนเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น ไม่สนใจโฆษณา ทั้งยังได้เปรียบ 2 เรื่อง คือ 1.ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย 2.เวลามีไม่จากัด

เคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นไม่ทาข่าวนักการเมืองระดับใหญ่ เช่น หัวหน้าพรรค นายกรัฐมนตรี เพราะฟรีทีวีทาแล้ว ระดับกรรมการพรรคปรากฏในทีวีดาวทียม ระดับลูกพรรคจึงปรากฏในเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น เรื่องการเลือกตั้ง เคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น เกี่ยวข้องได้ไม่มาก เพราะนักการเมืองกลัวกฎหมายการเลือกตั้ง

เคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นฝักใฝ่ฝ่ายใดไม่ได้ เพราะร้อยละ 95 เจ้าของเป็นนักธุรกิจ โฆษณาไม่ใช่นายเรา เพราะรายได้มาจากประชาชน ไม่ใช่จากโฆษณาและนักการเมือง อยากให้สถาบันการศึกษาใช้เคเบิลทีวีท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ เพราะมีเวลานำเสนอเนื้อหามาก แต่ผลิตรายการเองยังไม่ค่อยได้ สิ่งที่เคเบิ้ลทีวีขาดคือ ไม่มีนักจัดรายการที่มีคุณภาพ หากมหาวิทยาลัยมีการอบรม หรือมีเนื้อหา เราทำหน้าที่เผยแพร่ให้ได้

“เลือกตั้งครั้งหน้า สื่อกระแสหลักยังเป็นเช่นเดิม ปัญหาคือเราไม่เคยมองเรื่องบทบาทสื่อท้องถิ่นในการเลือกตั้งว่าทาอะไรได้บ้าง ทุกอย่างมุ่งไปที่สื่อกระแสหลักทั้งหมด” กกต. กลายเป็นผู้คุมกฎการใช้สื่อของพรรคการเมือง ทาให้สื่อท้องถิ่นเกิดความกลัวในการทาเรื่องการเลือกตั้ง นักการเมืองกลัวถูกถอนสิทธิเลือกตั้ง เป็นการทาลายขีดความสามารถของสื่อท้องถิ่น

“อยากให้ลองคิดใหม่ว่า ถ้าเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ มีพื้นที่ทางข่าวสารการเมืองที่เป็นกลาง ให้เวลายาวๆ กับนักการเมือง ชาวบ้าน มาพูดปัญหาในชุมชนท้องถิ่นตน มาอภิปรายและโชว์วิสัยทัศน์ หรือทารายการให้ความรู้ด้านการเลือกตั้ง ก็จะช่วยผ่อนคลายภาระหน้าที่ของสื่อกระแสหลัก ทั้งทาให้สื่อท้องถิ่นเป็นช่องทางข่าวสารในการพัฒนาประชาธิปไตยในระดับชุมชนท้องถิ่นได้บ้าง”

 

สื่อถูกกดดันจากพรรคการเมืองและกลุ่มมวลชนการเมือง ทาให้ทำงานอย่างไม่คานึงถึงมาตรฐานวิชาชีพ และข้อบังคับจริยธรรม

อาจารย์สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สะท้อนภาพการทำงานของสื่อในปัจจุบันว่า ยิ่งยากและอันตรายมากขึ้น โดยเฉพาะการทาข่าวที่อยู่ภายใต้ความกดดันของกลุ่มการเมืองสีต่างๆ และในช่วงการเลือกตั้ง แม้หน่วยงานรัฐ อย่างกกต. ก็เป็นผู้มีอิทธิพลต่อการกาหนดแนวทางการรายงานข่าว และนักการเมืองก็รู้จักใช้สื่อเพื่อผลประโยชน์ตนเองอีก

“ในการทำงานทุกวันนี้ สื่อไม่ใช่โดนกดดันจากทุน หรือรัฐ เท่านั้น แต่สื่อถูกกดดันจากพรรคการเมือง และกลุ่มมวลชนการเมืองด้วย ทาให้สื่อทำงานอย่างไม่คานึงถึงมาตรฐานวิชาชีพ ข้อบังคับจริยธรรมที่เขียนไว้ ก็เป็นระบบความสมัครใจ ไม่ใช่กฎหมาย และไม่มีสื่อไหนยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และแม้ว่าอยากจะทา ก็มีอุปสรรคกีดขวางในการทำงานมากมาย “สื่อจึงมักถูกมองในแง่ร้าย และถูกคาดหวังสูงจากสังคม แต่ไม่มีคนดูแลสื่อ ถ้าไม่ใช่คนสื่อด้วยกัน เชื่อว่าสื่อก็อยากเป็นพระเอกนางเอก แต่จะทาเช่นนั้นได้ คนสื่อเองต้องยึดถือหลักการวิชาชีพที่เสมือนบทที่กากับหน้าที่ แม้สื่อจะถูกคุกคามข่มขู่ แต่สื่อมีหน้าที่ต้องแสวงหาความจริงมานำเสนอให้สังคม”

 

ความเป็นพลเมืองของเราหายไปไหนในกระบวนการส่งเสริมประชาธิปไตย

ผู้ร่วมรับฟังการเสวนา อาจารย์สุภาภรณ์ โพธิ์แก้ว คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า การเสวนาวันนี้สาคัญมากเพราะให้ภาพปัญหาเชิงโครงสร้าง ในฐานะคนสอนหนังสือ และเป็นประชาชน เกิดคำถามสาคัญว่า ทั้งคนสื่อ คนข่าว ทั้งนักการเมือง ทั้งนักวิชาการ เรามีหมวกสองใบ คือ หน้าที่ที่เราทา เราเป็น แต่หมวกอีกใบในฐานะพลเมือง/ประชาชนของประเทศที่มีบทบาทหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย ทั้งการมีส่วนร่วม การตรวจสอบ การเป็นคนที่มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่มีคุณภาพ ประเด็นคือ มันมีกระบวนการใด ขั้นตอนหรือปัจจัยใด ที่ทาให้เรา หรือคนสื่อหลงลืมหมวกความเป็นพลเมืองไปในระหว่างทาง แล้วคิดเอาเพียงว่าตนเป็นนักสื่อ นักวิชาการ นักธุรกิจ นัก ฯลฯ มากมาย

การนำเสนอข้อมูลข่าวสารการเมือง หากเป็นข่าวสารก็จบเพียงแค่นั้น แต่ถ้าสื่อหันมาเน้นบทบาทของตนเองในการพัฒนาส่งเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้กับผู้ชมผู้รับสารด้วย มันก็น่าจะทาให้เราได้ช่วยให้หมวกความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยถูกกลับมาสวมใส่อีกครั้ง การพัฒนาประชาธิปไตย ต้องให้ทุกคนตระหนักรู้ว่าตัวเองคือพลเมืองของสังคม

การพัฒนาคุณภาพการทำงานของสื่อจำเป็นต้องสร้างสื่อมวลชนใหม่ๆ ขึ้นมา แต่ต้องยอมรับว่าการสร้างคนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ต้องทาให้คนเชื่อใน “Slow” เปลี่ยนจากทุกวันนี้ที่มีแต่ “Fast” ส่วนสื่อทางเลือกอย่างเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น หากพัฒนาให้เป็นสื่อที่มีชีวิตชีวา จะกลายเป็นสื่อทางเลือกให้แก่สังคมได้เป็นอย่างดีและมีพลัง

สุดท้าย ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์ สรุปว่า สาระสาคัญที่ได้จากการเสวนาครั้งนี้ คือ “คุณสมบัติและบทบาทที่สาคัญของสื่อในการพัฒนาประชาธิปไตย คือ ศักยภาพ อิสรภาพ คุณภาพ จริยธรรมและความรับผิดชอบ กับ การสื่อสารเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองทั้งในสื่อและในประชาชน” วงเสวนำเสนอให้มีการจัดพูดคุยกับผู้ประกอบการและบรรณาธิการข่าวของสื่อทุกประเภท เพื่อช่วยกันกาหนดแนวทางการทำหน้าที่ของสื่อ เพื่อการพัฒนาคุณภาพสังคม ประชาธิปไตย และการเลือกตั้ง