นักหนังสือพิมพ์ที่ถูกสังหารขณะทำข่าวเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองใน ประเทศไทย

 

นักหนังสือพิมพ์ที่ถูกสังหารขณะทำข่าวเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองในประเทศไทย

ฮิโร่ มูราโมโตและฟาบิโอ โปเลงกิ นักหนังสือพิมพ์ต่างชาติต่างต้องมาจบชีวิตลงเพราะถูกยิงในระหว่างทำข่าวการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพฯเมื่อต้นปี 2553 ทั้งสองเสียชิวิตระหว่างการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังทหารกับผู้สนับสนุนของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งสนับสนุนทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย หรือที่รู้จักกันในนามเสื้อแดง หลังจากความพยายามของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่จะยุติการชุมนุมด้วยวิธีสันติล้มเหลว

การชุมนุมประท้วงของกลุ่มเสื้อแดงยืดเยื้อนานสี่เดือนนับจากเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่สี่แยกราชประสงค์อันเป็นศูนย์พาณิชยกรรมสำคัญในใจกลางกรุงเทพฯ  ทั้งนี้มีประชาชน 90 คนเสียชีวิต และกว่า 1,800 คนได้รับบาดเจ็บ โดยถือเป็นความรุนแรงทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดนับจากเหตุการณ์พฤษาทมิฬที่ทหารยิงผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปี 2535

หนึ่งปีให้หลังจากการชุมนุมประท้วงที่สี่แยกราชประสงค์ยุติลง ยังไม่มีทหารหรือพลเรือนผู้ใดต้องรับผิดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  มุมมองที่ต่างกันของแต่ละฝ่ายทำให้ยากที่จะหาผู้รับผิด โดยฝ่ายทหารอ้างว่าตนทำไปเพื่อป้องกันตนเองเนื่องจากผู้ชุมนุมติดอาวุธและเริ่มใช้ความรุนแรงก่อน  อย่างไรก็ตาม ทหารไทยได้ถูกการประนามจากการกระทำที่นานาประเทศมองว่าเป็นการใช้กำลังเกินเหตุ  ส่วนกลุ่มนปช.ก็ถูกตำหนิว่ายั่วยุให้เกิดความเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามผ่านสื่อของฝ่ายตนและปลุกปั่นให้ผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรง

อย่างไรก็ตาม นักหนังสือพิมพ์ที่ถูกสังหารขณะปฏิบัติหน้าที่ในไทยได้ลดจำนวนลงในรอบสิบปีที่ผ่านมา จากประมาณสองคนต่อปีจนบางปีก็ไม่มีผู้ใดเสียชีวิตเลย เนื่องจากการกระจายอำนาจทางการเมืองและการปกครองสู่ท้องถิ่นทำให้มีการกำกับดูแลและเกิดความโปร่งใสมากขึ้นในระดับท้องถิ่นตามจังหวัดต่างๆที่นักหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ถูกฆ่า ในหลายปีที่ผ่านมา การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งมีการก่อการร้ายของพวกมุสลิม อย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตของนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ก็ไม่มีผู้กระทำผิดหรือผู้บงการถูกดำเนินคดีแต่อย่างใดเป็นระบบ

เช่นเดียวกันกับกรณีการเสียชีวิตของนักข่าวต่างชาติสองคนในเหตุการณ์ปีที่แล้ว ซึ่งไม่มีการสอบสวนอย่าง ถี่ถ้วน ยุติธรรม และเป็นระบบ และเห็นได้อย่างชัดว่า มีความพยายามที่จะไม่พูดถึงการใช้ความรุนแรงของฝ่ายทหารต่อผู้ชุมนุมประท้วงและผู้ที่เฝ้าดูเหตุการณ์ ปัจจัยเหล่าทำยิ่งทำให้ปัญหาการไม่ต้องรับผิดน่าวิตกยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการสร้างความยุติธรรมในสังคมและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย

ฟาบิโอ โปเลงกิ ช่างภาพอิสระชาวอิตาลีถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553

วันที่ 19 พฤษภาคมคือวันสุดท้ายของการใช้กำลังของฝ่ายทหารในการปราบปรามผู้ชุมนุมที่ยึดครองสี่แยกราชประสงค์อยู่ ณ ขณะนั้น

สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอ้างว่าโปเลงกิถูกยิงด้วยลูกระเบิดเอ็ม 79 ที่ผู้ชุมนุมยิงมาและนอนเสียชีวิตอยู่ข้างทหารไทย

แบรดลีย์ คอซเพื่อนนักหนังสือพิมพ์ซึ่งอยู่กับโปเลงกิตอนที่ถูกยิงและก็ได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงด้วย รายงานว่าเขาทั้งสองได้เข้าไปหลังแนวสิ่งกีดขวางของคนเสื้อแดงขณะถูกยิง เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นในขณะเกิดเหตุชุลมุนใกล้ๆนั้น โดยไม่มีผู้ใดอยู่ใกล้เขาทั้งสอง และทหารกำลังยิงเข้าใส่ประชาชนโดยไม่ดูว่าใครเป็นใคร

ขณะเสียชีวิต โปเลงกิใส่หมวกกันน็อคสีน้ำเงินมีข้อความว่า ‘สื่อมวลชน’ เห็นชัดอยู่ทั้งด้านหน้าและหลัง และสวมปลอกแขนสีเขียวเพื่อให้รู้ว่าเขาเป็นนักข่าวที่กำลังปฏิบัติงาน

ภาพวิดีโอในเวลาต่อมามีภาพผู้ชายคนหนึ่งใส่หมวกกันน็อคสีเงินกำลังจับหรือถอดกล้องของโปเลงกิในขณะที่ชายอีกคนที่ใส่หมวกกันน็อคสีเหลืองคุกเข่าอยู่และกำลังถ่ายรูป  ชายทั้งสองคนนี้เป็นใครยังเป็นปริศนาอยู่ แต่ไม่พบทั้งกล้องถ่ายรูปและโทรศัพท์มือถืออยู่ในร่างของโปเลงกิ

ดีเอสไอ (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) มิได้เปิดเผยต่อสาธารณะถึงผลการชันสูตรพลิกศพเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม แต่ได้แจ้งเป็นการส่วนตัวกับอลิซาเบธธา โปเลงกิน้องสาวของผู้เสียชีวิตสองเดือนหลังการเสียชีวิตของเขา

ฮิโร่ยูกิ มูราโมโต นักข่าวและช่างภาพชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์ถูกยิงตายเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553

มูราโมโตเสียชีวิตขณะกำลังถ่ายภาพการโต้เถียงอย่างรุนแรงระหว่างทหารกับประชาชนที่บริเวณสี่แยกคอกวัวบนถนนราชดำเนิน

เริ่มแรกรัฐบาลแจ้งว่ามูราโมโตถูกยิงโดยนักซุ่มยิงนปช.ที่ซ่อนตัวอยู่บนหลังคา

เมื่อปี 2553 บางส่วนของรายงานเบื้องต้นของดีเอสไอที่รั่วออกมาแจ้งว่า “มีข้อเท็จจริงและหลักฐานมากพอควรที่จะเชื่อว่าฮิโร่เสียชีวิตจากการกระทำของฝ่ายความมั่นคง” ซึ่งทำให้สำนักข่าวรอยเตอร์และรัฐบาลญี่ปุ่นเรียกร้องให้มีการเปิดเผยรายงานชิ้นนั้นต่อสาธารณะ

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ดีเอสไอกล่าวขัดแย้งกับรายงานเบื้องต้นที่รั่วออกมาและสิ่งบ่งชี้จากปากคำของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ โดยสรุปว่ามูราโมโตไม่อาจถูกยิงจากฝ่ายความมั่นคง  กระสุนที่ปลิดชีพเขายิงมาจากปืนเอเค 47 ที่ทำจากรัสเซียซึ่งนาย ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอกล่าวว่าทหารไทยไม่ใช้ปืนชนิดนี้

ในเวลาต่อมา หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงาน “อ้างว่าเสนาธิการทหารบกได้เยือนอธิบดีดีเอสไอเพื่อบ่นถึงรายงานเบื้องต้นของทางกรม” ที่โทษฝ่ายทหารว่าทำให้มูราโมโตเสียชีวิต  และรายงานว่า “ดีเอสไอคงถูกตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงเปลี่ยนจุดยืนของตน” และรายงานเพิ่มเติมว่าอธิบดีดีเอสไอได้ปฏิเสธการพบปะกับเสนาธิการทหารบกดังกล่าว หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ยังอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อในกองทัพบกว่ากองทัพบกได้ซื้อปืนเอเค 47 จำนวน 20,000กระบอกเมื่อ 20 ปีก่อนโดยได้แจกจ่ายให้ไปใช้ทั่วประเทศ

พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิดโฆษกกองทัพบกกล่าวว่าอาวุธที่ใช้ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 เมษายนคือปืนไรเฟิลเอ็ม 16 และทาวอร์ และปฏิเสธการเจรจาระหว่างฝ่ายทหารกับดีเอสไอโดยกล่าวว่า “เราไม่เคยคิดที่จะแทรกแซงในระบบ (ตุลาการ)”

ธิดา โตจิราการ กล่าวในนามของนปช.ว่าการสอบสวนของทางการใช้คำให้การที่กุขึ้นมาเพื่อพยายามหันเหความรับผิดชอบของฝ่ายทหารไปยัง ‘คนเสื้อดำ’ ซึ่งรัฐบาลชุดก่อนอ้างว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มผู้ประท้วง

สถานการณ์ที่ตามมา

หลังเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงเมื่อปี 2553 เนื่องจากขาดข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงและความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้น และสภาพสังคมที่ยังแตกแยก รัฐบาลอภิสิทธิ์จึงตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ขึ้นมา

คณะกรรมการชุดนี้ตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 และประกอบด้วยนักวิชาการ นักหนังสือพิมพ์และผู้เชี่ยวชาญอิสระอื่นๆ เพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะในประเด็นการละเมิดสิทธิ การเสียชีวิตและบาดเจ็บของประชาชน คณะกรรมการชุดนี้ได้เผยแพร่รายงานเบื้องต้นเมื่อเดือนเมษายน 2554 ซึ่งได้กล่าวว่าอุปสรรคหนึ่งในการทำงานคือการไม่มีอำนาจเรียกพยานบุคคลมาให้การหรือเรียกพยานเอกสาร

หลังจากที่พรรคเพื่อไทยนำโดยยิ่งลักษณ์ ชินวัตรน้องสาวของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรขึ้นสู่อำนาจในเดือนกรกฎาคม 2554 การสอบสวนในกรณีดังกล่าวก็ได้รับความสนใจเร่งด่วนขึ้นมาอีกครั้ง  อลิซาเบธธา โปเลงกิกล่าวแสดงความหวังว่า “นับจากวันนี้ จะเป็นศักราชใหม่ของความยุติธรรมและความเคารพ และเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดผู้ซึ่งเชื่อว่าสังคมจะดีขึ้น และการที่พวกเขาได้อุทิศตนเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้วยความเสียสละอย่างยิ่งยวด จะได้รับความเคารพและความจริงที่พวกเขาสมควรได้รับอย่างยิ่ง”

ในเดือนกันยายน 2554 นาย ธาริต เพ็งดิษฐ์อธิบดีดีเอสไอกล่าวว่าดีเอสไอมุ่งมั่นในกระบวนการยุติธรรม และจะยื่นพยานหลักฐานต่อตำรวจเพื่อให้มีการดำเนินคดีต่อศาลอาญาในไทย

กลุ่มสิทธิมนุษยชนภายในและระหว่างประเทศได้เรียกร้องให้มีการสอบสวนการเสียชีวิตของประชาชนอย่างถี่ถ้วน เป็นระบบ และยุติธรรมท ผลสำเร็จของการสอบสวนมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการกระทำของทหารท่ามกลางความขัดแย้ง  ทั้งนี้โดยประวัติศาสตร์แล้ว ทหารไทยเป็นสถาบันทางการเมืองหนึ่งที่ทรงอำนาจตามแบบฉบับของตนเอง และกระบวนการตัดสินใจหรือความรับผิดของทหารแต่ละนายก็เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกยากจะเข้าใจ

นอกจากนี้ยังเป็นที่วิพากษ์ วิจารณ์มาโดยตลอดว่า การใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและกฎอัยการศึกอย่างไม่มีขอบเขต เพื่อปราบปรามการชุมนุมประท้วงในไทย ทั้งในเหตุการณ์ความขัดแย้งในปี 2553 และก่อนหน้านี้ ได้ทำให้การกระทำผิดแต่ไม่ต้องรับผิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีการเรียกร้องให้รัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมาไปทบทวนการใช้กฎหมายดังกล่าว

-------------------------------

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์ โปรดติดต่อ

1) ชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

มือถือ  08 1562 7175 หรือ อีเมล chavarong@yahoo.com

2) สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทย ฮิวแมนไรท์วอทช์

มือถือ  08 1632 3052 หรือ อีเมล phasuks@hrw.org

3) ดร. คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ โทรศัพท์  02 141 3696, 02 143 8935

 

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

การสังหารหมู่ในมากวินดาเนา (อัมพาตวน) ในประเทศฟิลิปปินส์

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ขบวนรถที่บรรทุกสมาชิกในครอบครัวและผู้สนับสนุนของรองนายกเทศมนตรีท้องถิ่นบนเกาะมินดาเนาทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ถูกสกัดให้หยุดโดยชายประมาณ 200 คน ขณะกำลังเดินทางไปลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐ  กลุ่มชายเหล่านั้นพกปืนเอ็ม 16 และมีดอีโต้ ได้บังคับให้ขบวนรถซึ่งบรรทุกผู้โดยสาร 58 คน โดยในจำนวนนี้มีคนทำงานสื่อ 32 คนและคนที่ติดมากับรถตามรายทาง 6 คนรวมอยู่ ขับไปยังเชิงเขาที่ห่างไกลผู้คนในเมืองอัมพาตวน แล้วบังคับให้ทุกคนลงจากรถ และสังหารทุกคน ศพของพวกเขาถูกพบฝังรวมกันเป็นหมู่ไม่ไกลจากจุดที่เกิดเหตุหนึ่งวันต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน  ผู้เห็นเหตุการณ์อ้างว่าชายติดอาวุธเหล่านั้นข่มขืนคนที่เป็นผู้หญิงก่อนฆ่า

หนึ่งในผู้ก่อการสังหารโหดนี้เชื่อว่าคือแอนดัล อัมพาตวน จูเนียร์ นายกเทศมนตรีในขณะนั้นของเขตเทศบาลในมินดาเนาทีโดยดาตู อันเซย์  แอนดัล ซีเนียร์บิดาของเขาเป็นผู้ว่าการมินดาเนา และซัลดี้พี่ชายก็เป็นผู้ว่าการของเขตปกครองตนเองในมินดาเนาซึ่งประชาชนเป็นมุสลิม (ทั้งสามคนต้องพ้นจากตำแหน่งในเวลาต่อมาและถูกขับออกจากพรรคของประธานาธิบดีอาร์โรโยซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในขณะนั้น)  แอนดัล จูเนียร์ยอมมอบตัวกับพี่ชายและเจซัส ดูเรซ่าที่ปรึกษาประธานาธิบดีซึ่งได้เจรจากับคนในตระกูลอัมพาตวนก่อนที่แอนดัล จูเนียร์จะยอมเดินทางไปกรุงมะนิลาเพื่อรับข้อหาฆ่าคน 57 คน

สองปีผ่านไป มีการตั้งข้อหาคน 196 คนว่าเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ครั้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ ในจำนวนนี้ มีเพียง 93 คนซึ่งมีสมาชิกหลายคนของตระกูลอัมพาตวนรวมอยู่ด้วยที่ถูกกุมขังอยู่และมี 64 คนที่อยู่ในชั้นการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งดำเนินไปอย่างล่าช้า เนื่องจากมีพยานเสียชีวิต และอ้างกันว่ามีการติดสินบนและข่มขู่เพื่อให้ฝ่ายโจทก์ถอนฟ้อง (อ่านส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดี)

 

ตระกูลอัมพาตวนกับวัฒนธรรมการกระทำผิดแล้วไม่ต้องรับผิดในฟิลิปปินส์

นอกจากเป็นชื่อของเมืองที่เกิดเหตุสังหารหมู่แล้ว อัมพาตวนยังเป็นชื่อตระกูล “นักรบ” อันเป็นที่น่าเกรงขามมายาวนานในมินดาเนา ซึ่งเป็นเขตที่มีการสู้รบระหว่างกองกำลังฝ่ายรัฐบาลกับแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร อันเป็นกองกำลังแบ่งแยกดินแดนชาวมุสลิม และแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโรซึ่งเป็นกลุ่มที่แยกตัวออกมาอีกที  ตระกูลอัมพาตวนซึ่งมีหน่วยติดอาวุธที่รัฐบาลฟิลิปปินส์จัดตั้งให้และให้การสนับสนุนได้ต่อสู้กับฝ่ายกบฎโมโรทั้งสองกองกำลังในช่วงปลายสมัยรัฐบาลมาร์กอส  อย่างไรก็ตาม กองกำลังติดอาวุธดังกล่าวมีอำนาจทางการเมืองเพิ่มขึ้นในรัฐบาลสมัยต่อๆมา และรัฐบาลก็ไม่สามารถเข้าควมคุมหรือสลาย ตระกูลอัมพาตวนภายใต้การนำของแอนดัล ซีเนียร์ผู้เป็นบิดาจึงลุแก่อำนาจและมีส่วนเกี่ยวข้องในการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการวิสามัญฆาตกรรมต่างๆ

การสังหารหมู่ครั้งนี้เป็นเพียงกรณีที่ร้ายแรงที่สุดของการสร้างความเดือดร้อนอย่างกว้างขวางโดยกองกำลังติดอาวุธดังกล่าว  ฮิวแมนไรท์วอทช์ได้สืบค้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสังหารหมู่ครั้งนี้และพบว่า

“กองกำลังติดอาวุธของตระกูลอัมพาตวนอาจเป็นกองกำลังที่ลุแก่อำนาจมากที่สุดในฟิลิปปินส์ แต่มิใช่กองกำลังติดอาวุธเดียวที่มีอยู่  หากแต่ว่ามีกองกำลังในลักษณะนี้อยู่มากกว่า 100 กองกำลังทั้งที่มีกำลังพลมากและน้อยแตกต่างกันไปปฏิบัติการกระจายอยู่ทั่วประเทศฟิลิปปินส์ โดยส่วนใหญ่อยู่ตามเขตชนบทและในภูมิภาคที่มีการก่อการร้าย  รัฐบาลให้การสนับสนุนโดยตรงต่อกองกำลังต่างๆเหล่านี้แตกต่างกันไป และหากดูจากการกระทำของกองกำลังของตระกูลอัมพาตวนแล้ว รัฐบาลก็ยังให้การสนุบสนุนต่อไปแม้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน  ฉะนั้นตราบเท่าที่การสนับสนุนยังดำรงอยู่ กองกำลังเหล่านี้และการกระทำที่โหดเหี้ยมก็จะมีอยู่ต่อไป”

ฮิวแมนไรท์วอทช์ตั้งข้อสังเกตว่าตระกูลอัมพาตวนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารคน 56 คนข้างต้นซึ่งประกอบไปด้วยญาติของนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม เจ้าของที่ดินที่ไม่ยอมขายที่ดินของตนแม้ถูกบีบบังคับ คนที่รู้เห็นการกระทำผิดของตระกูลอัมพาตวนอันรวมถึงสมาชิกในกองกำลังของตนเอง และเด็กรวมอยู่ด้วย  ตำรวจเองก็ไม่กล้าทำการสอบสวนเนื่องจากเกรงกลัวกองกำลังติดอาวุธที่ทรงอำนาจที่เป็นของตระกูลต่างๆเหล่านี้  เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงขึ้นไปเช่นทหารหรือกระทรวงยุติธรรมก็ไร้อำนาจที่จะสั่งการหรือไม่เต็มใจที่จะดำเนินการใดๆ

อิสมาเอล แมนกูดาตูรองนายกเทศมนตรีเมืองบูลูอันซึ่งรอดจากการสังหารหมู่คนที่ไปร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งให้ตนเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ก็มาจากตระกูลแมนกูดาตูที่ทรงอิทธิพลและมีส่วนเกี่ยวพันในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงต่างๆ

แอนดัล ซีเนียร์ซึ่งชนะการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการมินดาเนาจากปีพ.ศ. 2544 ถึง 2552 โดยมีการกล่าวอ้างกันว่ามีการโกงการเลือกตั้งต้องการให้แอนดัล จูเนียร์ลูกชายสืบทอดตำแหน่งของตนจึงขัดขวางคู่ต่อสู้จากเมืองบูลูอันอย่างเต็มที่  ไรอัน โรเซาโรนักข่าวของอินไคว์เรอร์หนังสือพิมพ์รายวันของฟิลิปปินส์รายงานว่า “เมื่อทราบว่าอิสมาเอล แมนกูดาตูรองนายกเทศมนตรีเมืองบูลูอันมีแผนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งผู้ว่าการแข่งกับตระกูลของเขา แอนดัล ซีเนียร์ก็ได้ทำทุกอย่างเพื่อให้เปลี่ยนใจ แม้แต่ขอให้พรรคของประธานาธิบดีอาร์โรโยซึ่งเขาเป็นสมาชิกและเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับตัวประธานาธิบดีเองช่วยทำให้เปลี่ยนใจด้วยข้อเสนอตำแหน่งในรัฐบาลกลางหรือกรรมการในบรรษัทใหญ่ๆที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ  เมื่อตระกูลอัมพาตวนจะต้องเจอกับคู่แข่งแน่ๆ กิลเบิร์ท ทีโอโดโรรัฐมนตรีกลาโหม ณ ขณะนั้นผู้ซึ่งพรรครัฐบาลจะส่งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ออกมาเตือนด้วยตนเองให้อิสมาเอล แมนกูดาตูระวังความปลอดภัยของตนเองให้ดี”

เพื่อเป็นมาตรการความปลอดภัย อิสมาเอลจึงได้จัดขบวนรถขนคนเพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งในจำนวนนั้นมีภริยาของเขา ญาติและคนทำงานสื่อรวมอยู่ด้วยเพื่อไปทำข่าวเหตุการณ์ “ประวัติศาสตร์” ของการเมืองในมากวินดาเนา อิสมาเอลคิดว่าลำพังแค่จำนวนคนที่เป็นผู้หญิงและคนทำงานสื่อก็คงทำให้ขบวนรถของเขาปลอดภัย แต่หารู้ไม่ว่านั่นเป็นการตัดสินใจที่นำมาสู่โศกนาฎกรรม

 

การพิจารณาคดี

การพิจารณาคดีเริ่มขึ้นเมื่อกันยายน 2553 และดำเนินไปอย่างเชื่องช้า  ปัจจุปัน มีคน 196 คนที่ถูกตั้งข้อหาฆ่าคนมากกว่าหนึ่งคน และคนในตระกูลอัมพาตวน 6 คนถูกกุมขังอยู่  จำเลยหลักคือแอนดัล อัมพาตวน แอนดัล ซีเนียร์บิดาของเขา และซัลดี้พี่ชาย โดยทั้งสามคนไม่ยอมรับผิด  การพิจารณาคดีได้ย้ายจากมากวินดาเนาไปยังกรุงมะนิลาเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากการเมืองท้องถิ่น

ฝ่ายอัยการได้กล่าวหาฝ่ายจำเลยว่ามีเจตนาหน่วงเหนี่ยวการพิจารณาคดี  ส่วนฝ่ายจำเลยได้พยายามมิให้ผู้ต้องสงสัยถูกฟ้อง ไม่ให้พยานขึ้นให้การ และได้ยื่นคำร้องเจ็ดครั้งเพื่อมิให้จอยซ์เซอลิน โซลิ-เรเยสผู้พิพากษาดำเนินการพิจารณาคดี  มีการเสนอให้สินบนจากคนที่อ้างว่าเป็นตัวแทนตระกูลอัมพาตวนแก่สมาชิกในครอบครัวของผู้เสียชีวิตเพื่อให้ถอนฟ้อง

หลายคนที่ได้ให้การในทางร้ายต่อตระกูลอัมพาตวนต้องเผชิญกับอันตราย  วันถัดจากที่อิสมาเอล แมนกูดาตูรองนายกเทศมนตรีเมืองบูลูอันให้การในศาลว่าเขาเห็นแอนดัล อัมพาตวน จูเนียร์นายกเทศมนตรียิงเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายรายแรก ก็มีคนยิงปืนครกใส่บ้านของเขา  สองวันต่อมาทนายความของเขาก็ถูกยิงที่คอขณะออกจากที่ทำงาน  ในเดือนมิถุนายน 2553 อดีตสมาชิกคนหนึ่งของกองกำลังของตระกูลอัมพาตวนซึ่งยอมเป็นพยานฝ่ายโจทก์และได้เปิดเผยต่อสาธารณะว่าเป็นมือปืนในการสังหารหมู่ครั้งนั้นก็ถูกฆ่าอย่างมีปริศนา

เพื่อให้การพิจารณาคดีรวดเร็วขึ้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2554 ศาลที่ดำเนินการว่าความคดีอัมพาตวนนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็น “ศาลพิเศษ” ที่มีหน้าที่พิจารณาคดีสังหารหมู่ในมากวินดาเนาเพียงคดีเดียว

 

ผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวของคนทำงานสื่อ

 

มีคนทำงานสื่อ 32 คน.ในจำนวนคนที่ถูกฆ่าทั้งหมด 58 คน แต่เนื่องจากยังไม่พบศพของคนหนึ่งในจำนวนนี้ จึงมีการยื่นฟ้องเพียง 57 คดี สมาชิกในครอบครัวของคนทำงานสื่อเหล่านี้กำลังประสบปัญหาทางการเงินเนื่องจากขาดแหล่งรายได้หลัก อย่างไรก็ตาม ก็ได้รับความช่วยเหลือจากสมาคมต่างๆของสื่อมวลชน และมีรายงานว่าสหภาพนักหนังสือพิมพ์แห่งชาติของฟิลิปปินส์กำลังพยายามช่วยให้พวกเขาร่วมกันจัดทำธุรกิจปลูกผลไม้แก้วมังกรเพื่อหารายได้เสริมhttp://www.mindanews.com/top-stories/2011/10/10/dragon-fruit-venture-eyed-for-kin-of-ampatuan-massacre-victims/

-------------------------------------------------

แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง:

1) Melinda Quintos de Jesus, Executive Director,
Center for Media Freedom & Responsibility (CMFR)
(+63 2) 894-1314/894-1326/840-0903/840-0889 (telefax)
http://www.cmfr-phil.org/
Email: staff@cmfr-phil.org
CMFR’s blog on the Ampatuan Trial at http://www.cmfr-phil.org/ampatuanwatch/

2) Rowena Paraan, National Union of Journalists Philippines secretary-general

Email: rcparaan@gmail.com; phone: +639294152662

3) Shawn Crispin, Consultant Southeast Asia, Committee to Protect Journalists

Email: swcrispin@yahoo.com

Tel: +66 (2) 6610691, +66 (1) 4884264

 

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

14 พฤศจิกายน 2554

วันรณรงค์สากลเพื่อยุติการไม่รับผิดของผู้กระทำผิด

เรียน  บรรณาธิการข่าวและเพื่อนผู้สื่อข่าวทุกท่าน

เครือข่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือซีป้า ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนในภูมิภาคฯ ร่วมกันกับซีป้าและองค์กรด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ สนับสนุนวันรณรงค์สากลเพื่อยุติการไม่รับผิดของผู้กระทำผิด ซึ่งได้กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกให้ตรงกับวันที่ 23 พฤศจิกายน ของทุกปี นับแต่ปีนี้เป็นต้นไป

การรณรงค์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างการตระหนักรู้ต่อสาธารณะชนตในเรื่องการไม่ต้องรับผิดของผู้ที่ใช้ความรุนแรงต่อนักข่าวและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ทั่วโลก การไม่รับผิดของผู้กระทำผิดเป็นสภาพการณ์ที่เกิดจากความล้มเหลวของภาครัฐ ฝ่ายตุลาการและผู้ที่บังคับใช้กฎหมาย และถูกมองว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ร้ายแรงมากกว่าการสังหารเสียอีก ทั้งนี้เพราะการที่ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษยิ่งกระตุ้นให้เกิดการกระทำผิดเพิ่มมากขึ้นดังกล่าว

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้ ได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้แนวโน้มของการไม่รับโทษของผู้กระทำผิดเลวร้ายลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องมาจากความไร้ประสิทธิภาพของกลไกประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ การคงอยู่ของกฏหมายเผด็จการต่างๆ การไม่เคารพต่อระบบนิติรัฐของรัฐ และความอ่อนแอของระบบตุลาการ นอกจากนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังเป็นผลมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา การใช้กฏหมายที่ปิดกั้นเสรีภาพและการทำงานของสื่อมวลชนในภูมิภาคฯ และการดำเนินพิจารณาคดีที่มีเจตนาแอบแฝงทางการเมือง เพื่อปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์ ในประเทศไทยและพม่า ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ผลกระทบของปัญหาการไม่รับผิดของผู้กระทำผิด เลวร้ายลง

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปี 2552 ชาวฟิลิปปินส์ 58 คนในจำนวนนี้มีผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนรวมอยู่ด้วย 32 คน ได้ถูกสังหารกลางวันแสกๆโดยกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ ขณะเดินทางไปในขบวนรถของภริยาของผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการจังหวัดมากวินดาเนา

องค์กรพิทักษ์เสรีภาพสื่อมวลชนโลกต่างลงความเห็นว่า การสังหารหมู่ครั้งนี้นับเป็นการสังหารหมู่ครั้งประวัติศาสตร์ที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดในคราวเดียว จนพากันลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์เลือกวันนี้เป็นวันรณรงค์สากลเพื่อยุติการไม่รับโทษของผู้กระทำผิด

ในการนี้ซีป้าใคร่ขอความร่วมมือให้สื่อของท่านเขียนข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับเพื่อนผู้สื่อข่าวที่ถูกขู่คุกคามและประสบความยุ่งยากในการทำข่าวแทบทุกวันและเพื่อมอบกำลังใจให้กับครอบครัวของผู้สื่อข่าวที่เสียชีวิตด้วย

ยิ่งสื่อมวลชนสามารถรายงานปัญหาการไม่เอาโทษผู้กระทำผิดได้อย่างเชี่ยวชาญและกว้างขวางเพียงใด ประชาชนก็จะเข้าใจความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนและยุติการไม่รับโทษของผู้กระทำผิดมากขึ้นเท่านั้น

ซีป้าในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมรณรงค์ทั่วโลกในครั้งนี้ มีความยินดีที่จะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการทำข่าวของสื่อมวลชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการไม่รับโทษของผู้กระทำผิดตามเอกสารที่แนบมา ซึ่งประกอบไปด้วยกรณีศึกษาเกี่ยวกับการไม่รับของโทษผู้กระทำผิดรวมสองกรณี และชื่อและข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องนี้

ซีป้าหวังว่าท่านจะได้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลเหล่านี้ในการเขียนข่าวเผยแพร่ลงในสื่อฯของท่านในช่วงวันที่ 23 พฤศจิกายน ศกนี้

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะร่วมรำลึกถึงการเสียชีวิตของผู้สื่อข่าวเหล่านี้และให้ความร่วมมือเพื่อนำไปสู่เงื่อนไขการทำงานของสื่อฯที่มีเสรีภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

 

ลิงค์ที่เป็นประโยชน์:

1) ดูการรณรงค์ทั่วโลก ไปที่ http://daytoendimpunity.org/.

2) ดูดัชนีการไม่รับโทษของผู้ไม่กระทำผิดโลกได้ที่เว็บไซต์ของ Committee to Protect Journalists ที่ http://www.cpj.org.

3) ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักเลขาธิการของซีป้า โทร 02 2435579 หรือ 66 2 2435579

4) ติดต่อ คุณ กายาทรี เวนกิตสวาราน ผู้อำนวยการบริหาร ซีป้า ที่ +66 880 174 810 เพื่อสัมภาษณ์ เป็นภาษษอังกฤษและบาฮาซา หรือ คุณกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อฯ ที่ +66 8 13734202 เพื่อสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษและไทย

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////