นที่ 28 มีนาคม สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันพระปกเกล้า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดแถลงการณ์และเสวนา "ภารกิจการขยาย พื้นที่เสรีภาพให้กับสังคมไทย 80 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และ 40 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516" ณ ห้องประชุมวรรณไวทยากร ชั้น 1 ตึกโดม มธ. (ท่าพระจันทร์) โดยมี อ.ธีรยุทธ บุญมี ผู้ อำนวยการ สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มธ. ศ.ดร.สุริ ชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้งและที่ ปรึกษาสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบัน วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอI) และนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวฯ และนักวิชาการหลายสถาบัน ร่วมงาน
ด้วยเพราะ ทั้ง 5 สถาบัน เห็นพ้องกันว่า ยุคปัจจุบันควรที่จะขยายพื้นที่ทางสิทธิเสรีภาพให้กว้างขวางขึ้น ตามหลักการที่ว่า เสรีภาพคือ การใช้สิทธิอำนาจของตัวเอง เพื่อรับผิดชอบต่อตัวเอง ผู้อื่น และส่วนรวม การขยายพื้นที่เสรีภาพจึงบ่งชี้ว่า ประชาชนทุกคนทุกฝ่ายเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน จึงมีความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องมีเสรีภาพในการแสดงออกในการเสนอประเด็น ปัญหา องค์ความรู้ ทัศนะต่างๆ ที่จะทำความเข้าใจปัญหา ผลดี ผลเสีย หนทางแก้ไข ในทุกๆ ประเด็น ที่มีความสำคัญต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ทั้งนี้ 5 สถาบันดังกล่าว เป็นสถาบันวิชาการสำคัญของประเทศ จึงจะใช้เสรีภาพในลักษณะที่เป็นวิชาการ เป็นประโยชน์ สร้างสรรค์ ขณะเดียวกันจะพยายามขจัดอคติทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นอคติจากอารมณ์ทั้ง 6 หรือที่เรียกว่าอคติ 4 เช่น อคติจากความหวาดกลัวภัย จากปฏิกิริยาความไม่พอใจของฝ่ายต่างๆ เป็นต้น โดยกิจกรรมที่จะจัดร่วมกันจะขยายไปยังสถาบันอื่นๆ ด้วย ซึ่งคาดว่าจะจัด 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง เกี่ยวกับปัญหาสังคมและการเมืองไทย โดยมีประเด็นที่จะนำเสนอในรูปแบบวิชาการต่างๆ แก่สาธารณชนในช่วงปี 2555 - 2556 คาดว่าจะครอบคลุมประเด็นที่จำเป็นต่อสังคมไทย ดังต่อไปนี้
1.เสรีภาพในสังคมไทย 2.เราจะแก้ปัญหาทุรวาทกรรมโทสะวาท มโนหะวาท เช่นความเกลียดชังในสังคมไทยอย่างยั่งยืนได้อย่างไร 3.มิติของการแก้ไขความเหลื่อมล้ำในความเป็นสังคมไทยอย่างยั่งยืน 4.กระบวนการยุติธรรมกับประเทศไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน 5.นโยบายประชานิยม ผลดี ผลเสีย ต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทย 6.ความคิด "ชาตินิยม" ข้อดี ข้อเสีย และ 7.ความหมาย ความสำคัญของเสรีภาพในการประท้วง การแสวงหาจุดร่วมความเหมาะสม ความพอดี ของเสรีภาพในการประท้วง
นายธีรยุทธ กล่าวว่า คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ ตนเห็นว่าต้องมีเสรีภาพที่กว้างขวางจริงจังที่สุด แม้ในประวัติศาสตร์การเมืองคนไทยก็ได้เสรีภาพมาด้วยความยากลำบาก ในฐานะที่ตนเป็นผู้ร่วมเรียกร้องในเหตุการณ์ 14 ตุลา ตนจะดีใจมากที่สุด หากชาวบ้านสามารถรักษาสิทธิเสรีภาพที่ได้มานี้ อย่างยั่งยืนต่อไป ในส่วนนักคิด หรือนักวิชาการต้องให้สังคมรับรู้ชัดเจนว่าแต่ละคนเป็นนักคิดแนวไหน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ในการวิจัยเพิ่มมากขึ้น
ขณะที่ รศ.ดร.นิพนธ์ กล่าวว่า ท่ามกลางสังคมที่ขัดแย้ง มีปัญหาอคติ ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ความซับซ้อนมากขึ้น ในขณะที่นโยบาย ทางการเมืองมุ่งหาทางออกแค่ระยะสั้น ไม่คำนึงถึงความซับซ้อน หรือไม่สามารถหาทางออกได้ ซึ่งตนเห็นว่า การเปิดเสรีภาพ จะเป็นแนวทางที่นำไปสู่ทางออก
"เสรีภาพทางวิชาการมีความสำคัญมาก และต้องเป็นเสรีภาพที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ ด้วยเพราะขณะนี้นักวิชาการที่แสดงความคิดเห็นมักไม่แสดงออกถึงความรับผิดชอบ ด้วย ตนจึงเห็นว่า การสร้างเวทีให้คนที่เห็นต่างมานั่งคุยกันจะทำให้สังคมมีทางออก"
ด้านศ.ดร.สุริชัย กล่าวว่า สังคมไทยยุคก่อนหน้านี้ก็มีคำว่า สมานฉันท์ สานเสวนา จนกระทั่งมา ปรองดอง ล้วนให้ความสนใจกับการใช้คำ แต่ไม่สนใจการทำความเข้าใจกัน ความสุจริตใจต่อสถานการณ์มีความสำคัญมากกว่าภาษาที่ใช้มาเป็นเครื่องมือ และกลายเป็น "สงครามปรองดอง" และวังวนนี้จะคลี่คลายไม่ได้หากไม่พิจารณาร่วมกัน
ขณะที่ศ.ดร.บวรศักดิ์ กล่าวว่า ในภาวะแบ่งฝ่ายทางการเมือง หากวงวิชาการไม่สามารถเปิดกว้างเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นได้ ก็จะเหมือนการอภิปรายเรื่องปรองดองในสภาฯ ที่ไม่นำประเทศไปสู่การปรองดอง แต่การแบ่งฝ่ายและการเห็นต่างจะยุติลงได้หากมีการพูดคุยในวงเดียวกัน ซึ่งดีกว่าต่างคนต่างมุมมีวิวาทะต่อกัน
ส่วนข้อเสนอเรื่องปรองดองของสถาบันพระปกเกล้านั้น ศ.ดร.บวร ศักดิ์ กล่าวว่า ข้อเสนอฉบับดังกล่าว ไม่ใช่ความเห็นสุดท้าย แต่ต้องสร้างบรรยากาศการปรองดองให้เกิดขึ้นก่อน แล้วพัฒนาหาข้อยุติ แต่ทั้งนี้ เมื่อมีการนำเสนอรายงานออกไปบางท่านก็ไม่ได้อ่านรายละเอียดทั้งหมด อ่านเพียงบางส่วน แล้ววิพากษ์วิจารณ์
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในช่วงท้ายเวทีเสวนา รศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และการเมือง ให้ความเห็น ในกรณีดังกล่าวว่า เสรีภาพทางวิชาการและทางสังคมเป็นโจทย์ใหญ่ สถาบันอุดมศึกษาต้องเปิดพื้นที่ทางวิชาการ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนสัมฤทธิ์ของสาธารณะ เรื่องทัศนะทางการเมืองทั้งดีและเลว ทั้งนี้ ต้องเป็นพื้นที่ที่นำเสนอข้อเท็จจริง ไม่มีคุณค่าเชิงตัดสิน เช่นเดียวกับนักวิชาการที่ไม่ควรนำเสนอความคิดของตนเองว่าถูกต้องเสมอไป ด้วยเพราะข้อเท็จจริงต้องปราศจากการตัดสินเชิงคุณภาพ
ขณะที่นายโคทม อารียา ผอ. ศูนย์ศึกษาและ พัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล กล่าว ว่า หากมีการจำกัดเสรีภาพทางวิชา และทางการเมือง จะเป็นการกดขี่ข่มเหง ทั้งเรื่องความคิดและความเชื่อ และเมื่อการกดขี่ข่มเหงที่ใด ก็จะมีการต่อสู้ที่นั่น ทางออก คือ ต้องเปิดพื้นที่ทางวิชาการให้กว้างที่สุด ทั้งนี้ นักวิชาการต้องไม่หายตัวไปรับใช้ผลประโยชน์หรืออำนาจ แต่ต้องมีอุดมการณ์ของตนเอง เช่นเดียวกับที่สื่อมวลชนต้องมีจรรยาบรรณ
ด้านดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธาน ทีดีอาร์ไอ กล่าว ว่า ความรับผิดชอบทางวิชาการเป็นสิ่งสำคัญ ที่นักวิชาการต้องพูดในเรื่องที่ตนเองรู้ แต่นักวิชาการไทยจำนวนมากกลับพูดในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ ทั้งนี้ ความรับผิดทางวิชาการ ยังหมายถึงการวิเคราะห์วิจารณ์ที่การกระทำและนโยบาย ไม่ใช่วิจารณ์ที่ตัวบุคคล ซึ่งสังคมต้องช่วยกันตรวจสอบนักวิชาการด้วยว่าวิจารณ์ที่อะไร อย่างไรก็ตามการวิจารณ์ต้องมีข้อเสนอแนะ ไม่อย่างนั้นจะเป็นการวิจารณ์โดยไม่มีความรับผิดชอบ อีกทั้งต้องต้องลดภาษาประชดประชัน อันเป็นที่มาของการตอบโต้และไม่ร่วมเวทีเดียวกัน
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
การเมือง/มธ.ท่าพระจันทร์/28มีค.
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 5 องค์กรทั้งสถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ ร่วมกันแถลงข่าวความร่วมมือกันในการจัดพื้นที่ความคิดให้กับสังคม ไทย ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและทางความคิดของคนในสังคม ที่ยืดเยื้อยาวนานมาหลายปีและยากจะหาข้อยุติปรองดองได้ในเวลาอัน สั้น
ทั้ง 5 องค์กรดังกล่าวประกอบด้วย สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ,สถาบันพระปกเกล้า ,สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหหาวิทยาลัยและสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย โดยตัวแทน 5 องค์กร ระบุร่วมกันว่า เป็นความร่วมมือเพื่อทำภารกิจขยายพื้นที่เสรีภาพให้ กับสังคมไทยในโอกาสครบรอบ 80ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475และ40ปีเหตุการณ์14ตุลาคม2516
โดยนายธีรยุทธ บุญมี ผอ. สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้อ่านแถลงการณ์ร่วมห้าสถาบันระบุว่าเนื่อง ในโอกาส80ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองและ40ปีของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 สิ่งที่ประชาชนไทยได้มาและได้ใช้อย่าง เต็มที่คือ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเรื่องต่างๆซึ่งส่งผลโดยตรงและทาง อ้อมในการผลักดันให้ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ได้ก้าวมาสู่ยุคปัจจุบัน แม้จะมีช่วงขึ้นลง แต่โดยรวมดีกว่ายุคเผด็จการ ห้าสถาบันเห็นพ้องกันว่าปัจจุบันได้ ถึงยุคสมัยที่ควรจะขยายพื้นที่ทางและเสรีภาพให้กว้างขวางเพิ่ม เติมโดยอาศัยหลักการว่าเสรีภาพคือการใช้สิทธิอำนาจของตัวเองเพื่อ รับผิดชอบต่อตัวเอง ผู้อื่นและส่วนรวม การขยายพื้นที่เสรีภาพจึงบ่งชี้ว่าประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ ประเทศร่วมกันจึงมีความจำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องมีเสรีภาพในการ แดงออกและเสนอปัญหาในทุกประเด็น และจะพยายามขจัดอคติทั้งปวง โดยสิ่งที่ห้าสถาบันจะเสนอในช่วง2555-56คือ
1เสรีภาพในสังคมไทย
2.การแก้ปัญหาโทสะวาท ทุรวาทกรรม เช่นความเกลียดชังในสังคมไทยอย่างยั่งยืนได้อย่างไรเพื่อให้มีการ แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างในเชิงเจาะลึก
3.มิติการแก้ไขความเหลื่อมล้ำในความเป็นคน สังคมไทยอย่างยั่งยืน
4.กระบวนการยุติธรรมกับประเทศไทยในยุคเปลี่ยนผ่านที่มี คนพูดกันมากจึงจำเป็นต้องถกเถียงพูดคุยกัน
5.นโยบายประชานิยม มีผลดี ผลเสียต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทยอย่างไร เพราะมีบทเรียนจากต่างประเทศค่อนข้างมาก
6. ความคิดชาตินิยม ข้อดีข้อเสีย เกิดมาอย่างไร เป็นอย่างไร
7. ความหมายและความสำคัญขงเสรีภาพในการ ประท้วง การแสวงหาจุดร่วมความเหมาะสม
8.สถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมเสรีประชาธิปไตยและสังคมข้อมูล ข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์
“สถาบันทั้งห้าหวังว่าจะสามารถขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ ทางวิชาการให้ครอบคลุมองค์กรวิชาการและนักวิชาการจากสาขาวิชาการ ต่างๆ ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันให้มาร่วมแสดงออกและทำความเข้าใจ ประเด็นปัญหาที่สำคัญ”นายธีรยุทธกล่าว
นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทยหรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่าทีดีอาร์ไอ พร้อมสนับสนุนการเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพราะสังคมมีความขัดแย้งสูง ไม่ค่อยมีทางออก ทางออกตีบตัน เสรีภาพวิชาการเป็นเรื่องสำคัญในการแสวงหาทางออกให้กับภาวะที่ตีบ ตันนี้ได้ ปัญหาสังคม การเมือง มีความซับซ้อนมากขึ้น ทางการเมืองก็พยายามหาทางออกด้วยนโยบายระยะสั้นแสวงหาฐานเสียง ไม่ให้ความสำคัญปัญหาที่ซับซ้อนจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เสรีภาพวิชาการเป็นเรื่องสำคัญ ตอนนี้เสรีภาพในประเทศไทยไม่ได้มีทุก ตารางนิ้ว แต่ต้องเป็นเสรีภาพที่ต้องมีความรับผิดชอบด้วย นักวิชาการก็ไม่กล้าแสดงออกซึ่งเสรีภาพ เพราะอาจถูกตีตราว่าเป็นฝ่ายไหน มีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง มีปัญหาต้องคดี วิจารณ์มากไปก็โดนแบล็คลิสต์งาน วิจัย สื่อมวลชนเองก็มีปัญหาจะไม่ได้โฆษณาจากภาครัฐ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่าเวลานี้มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ชัดเจน ถ้าฝ่ายวิชาการไม่สามารถนำทุกฝ่ายมาร่วมวงกันได้ ก็จะได้เห็นภาพเหมือนกับการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 27 มีนาคมซึ่งเป็นภาพที่ไม่ได้นำประเทศไปสู่ความปรองดอง ความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติของสังคมมนุษย์ แต่ความเห็นต่างนำไปสู่ความขัดแย้ง รุนแรง ยุติได้ถ้าทุกฝ่ายมานั่งคุยกันบนโต๊ะ 4-5 ปีที่ผ่านมามันไม่มีสำหรับพื้นที่ความเห็นต่างมาอยู่ด้วยกัน แต่ละคนก็มีมุมของตัวเองแล้วก็มีวิวาทะกัน จึงควรมีเวทีแบบนี้เพื่อให้ทุกฝ่ายมาร่วมกัน และควรมากกว่านี้ไม่ใช่แค่ 5 สถาบันดังกล่าว เรื่องการปรองดองอยากยกตัวอย่างกรณีรายงานของสถาบันพระปกเกล้าที่ เสนอต่อกมธ.ปรองดอง สภาผู้แทนราษฏร จะพบว่าจริงๆ แล้วทีมวิจัยดังกล่าวได้เสนอข้อเสนอไว้ หลายอย่าง ไม่ได้มีแค่เรื่องการนิรโทษกรรม คดีคตส. การให้สร้างความจริงในสังคม และในประเด็นเหล่านี้ก็มีราย ละเอียดลึกไปอีก แต่ไม่ได้บอกว่าให้กมธ.หรือสภาเลือกเอาทางไหนแต่บอกว่าให้นำไป พูดคุยกัน ไม่ใช่ข้อเสนอสุดท้าย แต่ให้เอาไปพิจารณากันเองเพื่อประเด็นข้อยุติ แต่คนไปคิดว่าพระปกเกล้าเสนอทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว
จากนั้นการเสวนาเรื่องเสรีภาพในสังคมไทย โดยมีนักวิชาการหลายสถาบันร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น อันพบว่าทั้งหมดร่วมเห็นด้วยกับการเปิดพื้นที่ให้คนในสังคมจาก ทุกฝ่ายได้มีโอกาสร่วมโต๊ะพูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อันจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการปรองดอง
นายธีรยุทธ บุญมี กล่าวขณะร่วมวงเสวนาว่าเสรีภาพจะทำให้คนรู้สึกว่าคนไทย ทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ สำหรับเสรีภาพทางวิชาการ เสรีภาพและความรับผิดชอบต่อสังคมไทยนั้น เห็นว่าเสรีภาพเป็นสิ่งที่ต่อสู้มายากลำบากตั้งแต่ยุคเผด็จการ ในช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมา รากหญ้าได้ออกมาใช้สิทธิทางการเมืองของตนมากขึ้นและเป็นสิ่งที่ ดี
นายธีรยุทธกล่าวว่าเสรีภาพหมายถึงการใช้สิทธิอำนาจของ ตนด้วยความรับผิดชอบเพื่อคนอื่นทั้งหมดด้วย โดยความสำคัญของเสรีภาพเป็นความก้าวหน้าของด้านต่างๆ ประเทศประชาธิปไตยจึงส่งเสริมแต่ไม่ได้หมายความถึงการไม่มีขอบ เขตและกฎเกณฑ์กำกับ เสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพเชิงสถาบัน เช่นเดียวกับเสรีภาพของสื่อ สมาคมวิชาชีพต่างๆ ศาลสุงสหรัฐฯเคยขยายความว่าเสรีภาพทางวิชาการมีสี่ด้านคือสถาบันวิชาการ เป็นผู้กำหนดว่าใครจะเป็นผู้สอน ใครจะเป็นผู้ถูกสอน จะสอนด้วยอะไร ด้วยกระบวนการอย่างไร
นายธีรยุทธบอกว่า การจำแนกความแตกต่างของนักวิชาการกับนัก วิชาการสาธารณะอยู่ที่บทบาท แต่นักวิชาการสาธารณะควรมีความรับผิด ชอบเพิ่มมากกว่าด้วย ส่วนตัวเชื่อว่านักวิชาการควรทำ หน้าที่นักวิชาการสาธารณะด้วยโดยเฉพาะสถานการณ์ที่สังคม กำลังใฝ่รู้ แสวงหาทางออกและการเปลี่ยนแปลง
นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ กล่าวว่า เสรีภาพทางวิชาการและความรับผิดชอบกับสังคมเป็นปัญหาและโจทย์ใหญ่ หลายปีที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเปลี่ยนมาหลายระลอก การปฏิบัติทางเสรีภาพในสังคมและเสรีภาพทางวิชาการไม่ค่อยได้ทำ เท่าใดนัก ตอนนี้เป็นโอกาสที่หลายภาคส่วนมาทำความเข้าใจกัน หน้าที่ของสถาบันการศึกษาคือทำวิจัย ค้นคว้า หาข้อมูลเสนอความเป็นจริงกับสังคม ควรทำหน้าที่ตัวแทนสำนึกสาธารณะในด้านทัศนะที่ดีและเลว ต่อการเมืองบนพื้นฐานข้อเท็จจริงโดยไม่ใช่การประเมินผู้กระทำและ ผู้มีปัญหาทางการเมือง แต่การมีส่วนร่วมนั้นต้องดูว่าจะมีแค่ไหนและควรมีหลักเกณฑ์ใน การนำเสนอทางข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่สัจจธรรม โดยต้องไม่มีคุณค่าเชิงตัดสิน การนำเสนอนั้นต้องมีเสรีภาพที่ปราศจากการตัดสินเชิง คุณภาพ หากเหตุการณ์มีความขัดแย้งมากๆคนที่นำ เสนออาจมีความรู้สึกคล้อยตามได้
“นักวิชาการควรใช้จุดยืนแบบนักเทศน์ในวัดหรือโบสถ์ที่เสนอ คำสอนทางศาสนาแบบสัจจธรรมนั้น ทุกอย่างจะจบ แต่การจัดการค่านิยมนั้นมันต้องมีแต่ทางออก ในการยอมรับการพูดเชิงความเชื่อนั้นควรพยายามว่าควรทำให้เกิดความ เข้าใจกับอีกฝ่ายด้วยและควรเข้าใจว่าอีกฝ่ายคิดเช่นใด และผู้นำเสนอควรทบทวนความเชื่อที่คิดว่าถูกต้องด้วย ไม่อย่างนั้นจะเป็นการยืนกระต่ายขาเดียวกันตลอด จุดยืนของงานวิจัยและนักวิชาการนั้นต้องไม่อิงบนคุณค่า ส่วนตัวแต่ควรเป็นจริงที่สุด หากจะเอียงกันบ้างก็ขอให้เอียงบนข้อเท็จจริง แต่ทุกฝ่ายต้องเข้าใจ”นาย ธเนศกล่าว
นางสาวกฤตยา อาชวนิจกุล จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความพยายามในวันนี้ควรเกิดขึ้นมานานแล้ว เสรีภาพทางวิชาการเป็นหน้าที่และบทบาทขั้นพื้นฐานของมหาวิทยา ลัยวันนี้จะเป็นแสงสว่างที่นำไปสู่สังคมในการคิด ควรหยุดมาตรการปิดปาก เรื่องนี้มันอยู่ที่เราต้องสั่งตัวเอง ไม่ให้พูดไม่ใช่คนอื่นสั่งไม่ให้พูด เสรีภาพทางวิชาการควรเป็นเรื่องที่มีผล กระทบกับสาธารณะ เชื่อเรื่องเสรีนิยมและบนหลักประชาธิปไตย แบมีส่วนร่วมนั้นควรมีความสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริง ความเชื่อต่างๆกับปรากฏการณ์นั้นๆโดยยกเว้นไม่ได้ เวทีที่จะเคลื่อนไหวทางวิชาการนั้นจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับส่วน รวม และสื่อกระแสหลักควรมีส่วนร่วมในการนำเสนอด้วย
นายโคทม อารียา ผอ.สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขอแยกเสรีภาพกับเสรีภาพทางวิชาการออกจากกัน เพราะเสรีภาพเป็นคุณสมบัติทั่วไปของมนุษย์แต่ต้องมีกรอบทางสังคม และกฎหมายควบคุม ส่วนเรื่องการเมืองนั้น แปดสิบปีที่คณะราษฎรอภิวัตน์การเมืองนั้นก็บรรจุคำว่าเสรีภาพ สมบูรณ์ทางความเชื่อไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรก คิดว่าเสรีภาพนั้นหากมีบางสิ่งกำกับไว้บ้างเช่นเหตุผล นั้นควรทำได้ แม้แต่สิ่งที่จะเชื่อหากใช้เหตุผลไตร่ตรองแล้ว จะได้ข้อเท็จจริงหรือไม่ มันเป็นมายาคติของนักวิชาการ ข้อเท็จจริงนั้นเหมือนสองคนยลตาม ช่อง คนหนึ่งเห็นโคลนตม คนหนึ่งเห็นดวงดาว แต่นักวิชาการควรนำสิ่งที่ค้นคว้าศึกษามาเปิดเผยและถกเถียงกัน ซึ่งจะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าแต่วันนี้ยังตัดสินข้อเท็จจริงต่างๆใน เชิงคุณค่ากันทั้งนั้น
“การจำกัดเสรีภาพทางวิชาการนั้นควรมีการจำกัดเช่นเสรีภาพด้านอื่นๆ แต่ในเรื่องการเมืองคิดว่าหากจำกีดเสรีภาพทางวิชาการทางการเมือง จะเป็นการกดขี่ข่มเหงทางความเชื่อและความคิด หากคิดว่าไม่สำคัญนั้นคงจะไม่เข้าใจความเป็นมนุษย์พอสมควรหากมี การกดขี่การต่อสู้ที่รุนแรงจะเกิดขึ้น ทางออกของสังคมนั้นควรเปิดพื้นที่ทางวิชาการให้กว้างสุดแต่นักวิชาการ ต้องไม่ขายตัวและรับใช้ผลประโยชน์ต่างๆควรแสดงออกว่าเป็นชุมชนที่ สามารถมีอุดมการณ์ทางวิชาการของตัวเองแม้จะโดนวิจารณ์กันบ้าง”นาย โคทมกล่าว
นางนิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ตัวแทนสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กล่าวว่าบทบาทของสถาบันการศึกษานั้น ห้าปีที่แล้วเรื่องนี้วนเวียนในสมองของจุฬาฯและเคยจัดเสวนา เรื่องนี้มาแล้วทั้งๆที่เป็นยุคประชาธิปไตยเพราะโดนปิดปากกัน ข้อมูลหลายอย่างของนักวิชาการมีนั้นโดนฟ้องร้อง หากสิ่งที่ทำขึ้นมานั้นจะมีการการันตีว่าจะไม่โดนกดขี่ อย่างไร ความคิดและความเชื่อประชาธิปไตยนั้นไทย นำมาจากตะวันตกแต่ไม่ได้บ่มเพาะอย่างจริงจัง เพราะสังคมไทยนำมาเพียงแค่การเลือกตั้งเท่านั้น ธรรมาภิบาล การนำเสนอและน้อมรับคำวิจารณ์ของนักวิชาการ นั้นควรต้องมี เสรีภาพทางวิชาการนั้นจะทำอย่างไรที่จะ มองสังคมภาพใหญ่ได้และจะกลับมาร่วมมือทางโลกาภิวัตน์อย่างไร
นายอรรถจักร สัยยานุรักษ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าแถลงการณ์วันนี้เป็นพันธะสัญญา ของห้าสถาบันในจังหวะของสังคมที่สำคัญ และสถาบันการศึกษาอื่นๆจะมาร่วมด้วยในอนาคต เพราะจะเป็นพลังช่วยค้ำประกันทางสร้างเวทีทางวิชาการ และจะมีแนวทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเพื่อให้สังคมฉลาด ขึ้น การอยู่ร่วมกันแบบมีสติก็จะเกิดขึ้น แต่สิ่งที่ต้องคิดต่อคือการสร้างพลังนี้ขึ้นมานั้น ความรู้ทางวิชาการจำเป็นที่ต้องตรวจสอบแบบโปร่งใส แสดงความคิดเห็นได้เพื่อที่จะได้ยืนอยู่ได้ หากสิ่งที่เสนอมาไม่เข้มแข็งก็จะโดนล้มไปเอง การเปลี่ยนแปลงวันนี้ที่สำคัญมีหลายด้าน ลึกๆไปแล้วคือจินตภาพของคนที่มีต่อสิ่งต่างๆ โลกทัศน์ของคนส่วนใหญ่ที่แต่ละคนเลือกเชื่อนั้น ควรศึกษาประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกมิติเพื่อที่จะ ได้เห็นคนแต่ส่วนในโครงสร้างสังคม รวมทั้งระบบอารมณ์ความรูสึกด้วย เพราะโทสะวาทมันขมวดปมมาสู่การกระทำ