นินทาสื่อโลก

 

นินทาสื่อโลก ธค-2558

โดย บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์


*****ข่าวใหญ่ข่าวดังในรอบปี เห็นจะไม่มีข่าวใดเกินหน้าข่าว แจ็ค หม่า เจ้าของบริษัทอาลีบาบา บริษัทอีคอมเมิร์สยักษ์ใหญ่ของแดนมังกรจีน ยอมควักกระเป๋า 266 ล้านดอลลาร์ (ราว 9,500 ล้านบาท)  ซื้อหนังสือพิมพ์ เซาธ์ ไชนา มอร์นิง โพสต์ (เอสซีเอ็มพี ) หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในฮ่องกงที่ยืนหยัดรับใช้ผู้อ่านมานานถึง 112 ปี รวมทั้งสินทรัพย์อื่นๆของกลุ่มเอสซีเอ็มพี คลุมไปถึงนิตยสารหลายฉบับ โฆษณากลางแจ้ง และสื่อดิจิตัลหลังจากสื่อยักษ์ใหญ่ฉบับนี้ประสบปัญหาทุนหายกำไรหด ขณะยอดขายตกต่ำตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมามา ถึงแม้แจ็ค หม่าจะรับปากว่าการซื้อกินการของเอสซีเอ็มพี ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนขยายพื้นที่ข่าวสารของจีนแผ่นดินใหญ่ไปยังทั่วทุกมุมโลก พร้อมกับย้ำว่าจะรักษาความเป็นกลางของสื่อเก่าแก่ฉบับนี้ แต่คนส่วนใหญ่อดวิตกไม่ได้ว่าสัญญษนี้จะเป็นเพียงลมปาก แต่จริงๆแล้วแจ็ค หม่าจะแปลงเอสซีเอ็มพีเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลปักกิ่ง และจะทำให้เสรีภาพสื่อบนเกาะไข่มุกยิ่งเลวร้ายลงตามลำดับ

 


*****ข่าวนี้ดังกลบข่าว “นิกเคอิ” ของญี่ปุ่นได้ควักเงิน  1,300 ล้านดอลลาร์ ซื้อหนังสือพิมพ์ “ไฟแนนเชียลไทม์ส” ที่ตีพิมพ์ใน 5 เวอร์ชั่นคือ อังกฤษ ยุโรป สหรัฐ เอเชียและตะวันออกกลาง และฉบับภาษาจีน จากบริษัทเพียร์สันของอังกฤษที่ก่อตั้งมานานกว่า 171 ปี  แต่ไม่ครอบคลุมไปถึงหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ที่ถือครองอยู่ในนิตยสารอีโคโนมิสต์หรือสำนักงานต่างๆ ในลอนดอน  นับเป็นการรวม 2 องค์กรข่าวสารด้านการเงินชั้นนำจากยุโรปและเอเชียเข้าด้วยกันซึ่งต่างมีจุดแข็งในเรื่องแหล่งข่าวที่ยอดเยี่ยม มีบทบรรณาธิการและการวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือ ครอบคลุมทั้งในแง่ตลาดเงินทุน และพัฒนาการทางเศรษฐกิจและการเมือง ขณะนี้กว่า 70 เปอร์เซนต์ของผู้อ่านส่วนใหญ่อ่านเอฟทีผ่านเว็บไซต์ "เอฟทีดอตคอม" ที่คิดค่าบริการสำหรับการเข้าถึงเนื้อหา


****ถึงแม้จะไม่ใช่ข่าวดี แต่อาจจะถือได้ว่าเป็นข่าวดี เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เมื่อกลุ่มนักข่าวไร้พรมแดน (อาร์เอสเอฟ) ได้เผยแพร่รายงานประจำปี ระบุว่าปี 2558 เป็นปีที่นักข่าวถูกจับกุมคุมขังน้อยลงถึง 14 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่กลับถูกจับเป็นตัวประกันมากขึ้น โดยแดนมังกรจีนถูกตราหน้าว่าเป็น”เรือนจำกักขังนักข่าวใหญ่ที่สุดในโลก” ตามด้วยแดนสฟิงซ์อียิปต์ และอิหร่าน   ขณะที่นักข่าวถูกจับเป็นตัวประกันมากถึง 54 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง  15เปอร์เซ็นต์  โดยซีเรียเป็นประเทศที่กลุ่มสุดโต่งจับนักข่าวเป็นตัวประกันมากที่สุดถึง 26 ราย ในจำนวนนี้ตกอยู่ในเงื้อมมือกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ในซีเรียและอิรัก 18 คน  ส่วนนักข่าวในเยเมนถูกกลุ่มติดอาวุธฮูตีและกลุ่มอัลกออิดะห์ลักพาตัว 33 คน เทียบกับเพียง 2 คนเมื่อปีที่แล้ว


*****ในรายงานประจำปีว่าด้วย"บรรยากาศที่เป็นมิตรสำหรับนักข่าวด้านสิ่งแวดล้อม"ของอาร์เอสเอฟระบุว่ากัมพูชาเป็น 1 ใน 2 แดนอันตรายที่สุดสำหรับนักข่าวด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากนักข่าวชาวกัมพูชาอย่างน้อย 4 คน ถูกมาตกรรมในช่วงหลายปีที่ผ่านมาระหว่างขุดคุ้ยข่าวการกระทำผิดกฏหมายสิ่งเเวดล้อม อาทิ ขบวนการลักบอบตัดไม้ทำลายป่า โดยตำรวจไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้แม้แต่คนเดียว  อีกประเทศหนึ่งก็คือแดนภารตอินเดีย รายงานชิ้นนี้ยังเตือนนักข่าวสิ่งแวดล้อมถึงอันตรายขณะขุดคุ้ยข่าวสิ่งแวดล้อมในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและรัสเซียด้วย


*****ต้องขอปรบมือให้กับสื่อสังคมชั้นนำอย่าง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์และกูเกิล ที่ทำตัวเป็นสื่อทางเลือกน้ำดี มีสำนึกในหน้าที่สำคัญว่าจะต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อลดความรุนแรงอันเนื่องจากความเกลียดชังในเชื้อชาติและศาสนา สื่อโซเชียลมีเดียชั้นนำจึงยินยอมทำตามคำขอร้องของรัฐบาลเยอรมนีด้วยการลบเฮทสปีชหรือถ้อยคำที่กระตุ้นยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังออกไปภายใน 24 ชั่วโมงหลังเผชิญแรงกดดันอย่างหนักให้สกัดกระแสความเกลียดชังทางเชื้อชาติบนโลกออนไลน์ ที่ปะทุขึ้นจากกระแสการอพยพของผู้อพยพจากตะวันออกกลางโดยเฉพาะซีเรียถึงล้านคนภายในชั่วไม่กี่เดือนเท่านั้น


*****ความร่วมมือด้วยดีดังกล่าวคงจะช่วยลดโศกนาฎกรรมอันเนื่องจากความไม่รอบคอบและไม่รับผิดชอบของสื่อขณะนำเสนอประเด็นอ่อนไหวเรื่องการเหยียดผิวดังที่เกิดขึ้นที่สหรัฐ จนอาจเป็นเหตุให้เอลิสัน พาร์คเกอร์ นักข่าววัย 24 ปี และอดัม วอร์ด ช่างภาพวัย 27 ปี ของสถานีโทรทัศน์ WDBJ ในรัฐเวอร์จิเนียถูกมือปืนยิงตายขณะกำลังออกอากาศสัมภาษณ์ผู้หญิงคนหนึ่ง โดยคนร้ายทิ้งข้อความที่ทวีตถึงเหยื่อทั้ง 2 รายว่าได้แสดงความเห็นในเชิงเหยียดผิวกรณีชายผิวขาคนหนึ่งวก่อเหตุกราดยิงคนผิวดำที่โบสถ์ชาร์ลส์ตัน รัฐเซาท์ แคโรไลนา ในช่วงกลางปี


*****เป็นสื่อสิ่งพิมพ์อีกฉบับหนึ่งที่ต้องพ่ายแพ้ให้กับกระแสออนไลน์ เมื่อ"จาการ์ตาโกล้บ" สื่อภาษาอังกฤษของอินโดนีเซียต้องจำใจแถลงเมื่อกลางเดือนธ.ค.ว่าได้ยกเลิกการรายงานข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์หลังให้บริการมานานกว่า 7 ปี โดยจะหันไปให้บริการบนหน้าเว็บไซต์มากขึ้นนับตั้งแต่เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ปรากฎว่าผู้บริโภคหันมาติดตามข่าวออนไลน์อย่างล้นหลามและยังได้รับการตอบรับจากโฆษณาอย่างดี


*****ถึงจะไม่คุ้มค่ากับการเสี่ยงชีวิต แต่ก็ปลื้มใจผลการตัดสินรางวัลเหยี่ยวข่าวสงครามยอดเยี่ยม "บาโย-กัลวาโด" อันทรงเกียรติ ประจำปี 2558 ของฝรั่งเศส ปรากฎว่ารายงานข่าวเกี่ยวกับแผนการสู้รบ และความโหดเหี้ยมของกลุ่มไอเอส และความขัดแย้งทางภาคตะวันออกของยูเครน คว้า 2 รางวัลข่าวยอดเยี่ยม โดยข่าวหนังสือพิมพ์ยอดเยี่ยมได้แก่คริสตอฟ รอยเตอร์ นักข่าวของหนังสือพิมพ์แดร์ สปีเกล แห่งเยอรมนี ซึ่งเขียนวิเคราะห์เจาะลึกเกี่ยวกับบุรุษลึกลับ ผู้วางแผนยุทธศาสตร์ให้กลุ่มไอเอสในซีเรียและอิรัก   ส่วนรางวัลบทความสารคดีโทรทัศน์ยอดเยี่ยมตกเป็นของซาเวียร์ มุนท์ นักข่าวชาวฝรั่งเศส สังกัดสถานีโทรทัศน์ Arte ของฝรั่งเศส-เยอรมนี จากการรายงานข่าวเกี่ยวกับกลุ่มไอเอส ในเขตเทือกเขาซินจาร์ในอิรัก ซึ่งปีที่แล้วกลายเป็นสัญลักษณ์ความโหดเหี้ยม เมื่อนักรบกลุ่มไอเอสสังหารหมู่ชนกลุ่มน้อยชนเผ่ายาซิดี


*****บานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่โตขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อรัฐบาลตุรกีได้จับกุมแคน ดันดาร์ บรรณาธิการใหญ่ของหนังสือพิมพ์ “คุมเฮอริเอ็ต” และเออร์เด็ม กุล นักข่าวประจำสำนักงานในกรุงอังการาในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับของรัฐบาล กรณรายงานข่าวว่ารัฐบาลได้แอบส่งอาวุธช่วยกลุ่มกบฏซีเรีย และอาจรวมถึงกลุ่มไอเอสด้วย ส่งผลให้ประชาชนหลายพันคนไปชุมนุมกันที่หน้สำนักงานของหนังสือพิมพ์แห่งนี้จนเกิดปะทะกับตำรวจปราบจลาจล


**** "เพลย์บอย" นิตยสารผู้ใหญ่ที่เริ่มวางแผงตั้งแต่ปี 2596 หรือกว่า 60 ปีมาแล้ว ด้วยหน้าปกที่เป็นรูปหวือหวาของ "มาริรีน มอนโร" เตรียมจะหยุดตีพิมพ์ภาพโป๊เปลือยของผู้หญิง รวมถึงเนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่ฉบับเดือนมีนาคมเป็นต้นไป แต่จะยังคงมีรูปภาพของสาวสวยที่โพสท่ายั่วยวนเช่นเคยเพียงแต่ไม่ใช่ภาพโป๊เปลือยเหมือนก่อน ในถ้อยแถลงของเพลย์บอยระบุว่ารูปโป๊เปลือยเหล่านั้นร่วงโรยแล้วในยุคอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสามารถเข้าถึงผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อหลากหลายชนิด ทำให้ยอดขายของนิตยสารเพลย์บอยมีแต่ลดลงตาลำดับ ด้านนิวยอร์กไทม์ได้ทีอ้างข้อมูลจาก "อลิอันซ์ ฟอร์ ออดิต มีเดีย" ที่ระบุว่า ยอดจำหน่ายของนิตยสารปลุกใจเสือป่าฉบับนี้ลดลงเหลือแค่ 8 แสนเล่มขากเดิมที่มียอดขายสูงสุดถึง 5.6 ล้านเล่มในปี 2528


*****เป็นเรื่องที่ต้องจับตามองไม่ใช่น้อยว่านับวันจรรยาบรรณาสื่อเริ่มเสื่อมถอย เมื่อมีเรื่องของทุนและผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง จนทำให้สื่อบางกลุ่มพร้อมจะบิดเบือนข่าวหรือนำเสนอข่าวอย่างมีอคติ ไม่เป็นกลางและปราศจากความรับผิดชอบเพียงมุ่งหังจะสร้างความสับสนหรืกระพือความขัดแย้งให้บานปลายออกไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส ซึ่งประกาศยุติการตีพิมพ์และวางจำหน่ายในไทยตั้งแต่ปลายปี 2558  เป็นต้นไปเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีแต่สูงขึ้น แต่ก่อนจะยุติการพิมพ์ นิวยอร์กไทม์สก็อาละวาดฟาดหางยกใหญ่ นำเสนอแต่ข่าวหมิ่นเบื้องสูงด้วยถ้อยคำที่เกินเลยความจริงหรือบิดเบือนข่าวโดยเจตนาถึง 3 ครั้งภายในช่วงหนึ่งเดือน กระทั่งโรงพิมพ์ในกรุงเทพฯต้องยกข่าวนั้นทิ้งปล่อยให้พื้นที่ข่าวว่างไว้ ซึ่งเข้าทางนิวยอร์กไทม์สที่โวยวายว่าถูกจำกัดเสรีภาพสื่อ


*****การกระทำของนิวยอร์กไทส์ดังกล่าวช่างแตกต่างไปจากการกระทำที่กล้าหาญและยึดมั่นในอุมการณ์ของสื่อของนิวยอร์กไทมส์ยามเป็นหัวหมู่ทะลวงฟันตอบโต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐว่าพยายามจำกัดเสรีภาพสื่อจนทำให้นักข่าวอาจตกอยู่ในอันตราย กรณีเพนตากอนได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยการทำข่าวสงครามของนักข่าว โดยระบุว่านักข่าวมีสถานภาพเดียวกับจารชน ทั้งยังเขียนไว้ชัดว่าในบางกรณี นักข่าวก็สมควรได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นปรปักษ์ที่ไม่ได้รับอภิสิทธิ์ใดๆ แล้วนิวยอร์กไทมส์โต้ว่ากฎระบียบนี้ทำให้นักข่าตกอยู่ในอันตรายและเสียงต่อการถูกเซนเซอร์