จดหมายข่าว – “ย้อนรอยเจ้าหน้าที่กองปราบบุกจับผู้อำนวยการข่าวเว็บไซด์ประชาไท”

จดหมายข่าว  :  ศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
“ย้อนรอยเจ้าหน้าที่กองปราบบุกจับผู้อำนวยการข่าวเว็บไซด์ประชาไท”


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงของสื่อสารมวลชนไทยภายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นเหตุการณ์ที่เด่นชัดร้อนแรงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกรณีที่เจ้าหน้าที่ ตำรวจกองปราบปรามบุกเข้าตรวจค้นเว็บไซด์ข่าวประชาไทและจับกุมผู้อำนวยการ ข่าวของเว็บไซด์ดังกล่าวในวันศุกร์ที่ 6 มี.ค. 2551 ศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้รวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ เว็บไซด์ข่าวดังกล่าวรายละเอียดดังนี้

เมื่อเวลา 15.00 น. ของวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รอง ผบช.ก.) พ.ต.อ.สาธิต ต ชยภพ รองผู้บังคับการกองปราบปราม (รองผบก.ป.) พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม นำหมายค้น ศาลอาญา เลขที่ 183/ 2552 ลงวันที่ 5 มี.ค.51 เข้าตรวจค้นภายในสำนักงานเว็บไซต์ประชาไท เลขที่ 409 ชั้น 1 อาคาร มอส. ซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ 5 แขวงและเขตห้วยขวาง โดยให้เหตุผลว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับการร้องเรียนจากทางกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ว่าเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ประชาไทออนไลน์ (www.prachatai.com) มีการโพสต์ข้อความลักษณะหมิ่นเบื้องสูง  เจ้าหน้าที่ตำรวจให้เหตุผลในการเข้าทำการตรวจค้นและทำการจับกุมในครั้งนี้ ว่าเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  และนี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการจับกุมเว็บไซด์ข่าวออนไลน์อย่างเป็นทางการของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทั้งนี้  มาตรา  14 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1.นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน   หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ  โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
2.นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ   โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
3.นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ    อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา  4.นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ   ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้    5.เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูล คอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

มาตรา   15  ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมา
อย่าง ไรก็ตามจากการตรวจค้นภายในสำนักงานเว็บไซต์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้ทำการยึด คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของนางสาวจีรนุชเปรมชัยพร ผอ.ข่าวเว็บไซต์ประชาไทมาทำการตรวจสอบ พร้อมกับเชิญตัวนางสาวจีรนุช มาสอบปากคำที่กองปราบปราม โดยผู้ต้องหาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา โดยอ้างว่าข้อความดังกล่าวที่อยู่ในเว็บไซต์ประชาไทเป็นข้อความของผู้ที่ เข้ามาอ่านข่าวสารในเว็บและเขียนไว้ในเว็บบอร์ดสาธารณะของเว็บไซต์ ซึ่งภายหลังเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเว็บไซด์ตรวจพบก็ได้ลบข้อความที่มีเนื้อหา เชิงหมิ่นเบื้องสูงทิ้งหมดแล้ว     น.ส.จีรนุชได้รับการประกันตัวในเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมาโดยนางฉันทนา หวันแก้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งภายหลังจากการผ่านเหตุการณ์ ดังกล่าวมาแล้วน.ส.จีรนุชได้เปิดเผยกับศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อสมาคมนัก ข่าวนักหนังสือพิมพ์ว่า  เหตุการณ์ เริ่มขึ้นเมื่อเวลาประมาณบ่ายโมงเศษเจ้าหน้าตำรวจได้เดินทางมาที่สำนักงาน ข่าวประชาไทจำนวนทั้งสิ้น 4 คน พร้อมหมายค้นและหมายจับ  เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้แจงถึงการขอเข้าตรวจค้นตนจึงได้โทรปรึกษากับเพื่อน ที่เป็นทนายความว่าควรจะดำเนินการอย่างไรควรที่จะลงชื่อรับทราบหมายค้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำมาหรือไม่ แต่อาจจะเป็นที่ตนไม่ได้อ่านในรายละเอียดให้ชัดเจน จึงไม่เห็นว่าในหมายค้นนั้นมีการออกหมายจับด้วย ซึ่งในขณะที่ตนกำลังจะลงชื่อรับทราบหมายค้นเจ้าหน้าที่ตำรวจก็แจ้งว่าต้องไป ที่กองปราบ หลังจากนั้นตนถึงทราบว่าสาเหตุที่ต้องไปกองปราบเพราะมีหมายจับกุมด้วย

น.ส.จี รนุชกล่าวอีกว่า ข้อหากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งกับตนนั้นฐานความผิดคือ  “ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิดนำเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมฯ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมใน ระบบของตนตามพระราชบัญญัติความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 14 (  1 ) (3) (5)  และมาตรา 15 “ ซึ่งในระหว่างที่ตนทราบชัดเจนว่ามีหมายจับนั้นตนได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ขอติดต่อทนายก่อนและขอไม่ดำเนินการใด ๆ จนกว่าจะมีทนายมา ซึ่งในระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มเข้ามามากขึ้นประมาณ 10 คน  เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการถ่ายรูปและเดินอยู่ในออฟฟิศโดยไม่ได้มีการตรวจค้น อะไร  การเข้าตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ครั้งนี้ทำให้เพื่อนๆ จากหลากหลายองค์กรที่ทำงานในตึก มอส. ทยอยลงมาร่วมสังเกตการณ์การการจับกุมของเจ้าหน้าตำรวจในครั้งนั้นพร้อมได้ แจ้งข่าวบอกเพื่อน ๆ ให้ทราบ  และเมื่อทนายความของเรามาถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เชิญตัวไปที่กองปราบ

“ ในระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการขอคัดลอกข้อมูลจากเครื่อง คอมพิวเตอร์ซึ่งได้นำฮาร์ดดิสไปโคลนหรือก๊อปปี้ไว้อีกชุด  ซึ่งตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการคัดลอกข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์ของเราได้นั้นจะต้องมีคำสั่งศาลในการคัดลอกสำเนาซึ่งเราก็ได้สอบ ถามเอกสารส่วนนี้จากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีเอกสารตรงส่วนนี้หรือไม่ ซึ่ง ณ ขณะนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มี แต่หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอเอกสารย้อนหลังภายในวันนั้นซึ่งการจะ ออกเอกสารส่วนนี้จะต้องได้รับการเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่กระทรวงไอซีทีที่ตั้ง ขึ้นมาเป็นอนุกรรมการในเรื่องนี้ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์  ซึ่งกรณีของเราได้รับการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องเป็นพิเศษเจ้าหน้าที่ ที่ทำการจับกุมก็ให้เกียรติเรา เราจึงอยากให้การบุกจับในแต่ครั้งมีขั้นตอนที่ถูกต้องแบบนี้” ผู้อำนวยการข่าวเว็บไซด์ประชาไทกล่าว
น.ส.จี รนุชได้เปิดเผยต่อว่า   ในยุคสมัยนี้คอมพิวเตอร์สำหรับคนหนึ่งคนกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ กรณีของราเหมือนถูกรุกล้ำโดยที่เราไม่รู้ว่าข้อมูลที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก๊อปปี้ไปนั้นจะถูกนำไปใช้ในรูปแบบใด เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ในการตรวจสอบข้อมูลแต่ไม่มีสิทธินำข้อมูลของเราไปใช้ได้ ดังนั้นเราจึงให้เจ้าหน้าที่ทำสำเนาข้อมูลไป 2 ชุด และให้ผนึกซีลเก็บไว้ที่กองพิสูจน์หลักฐานในลักษณะที่ปิดผนึก เพื่อให้นำข้อมูลมาดูเปรียบเทียบกันว่าไม่ได้มีการนำข้อมูลมาใช้เพิ่มเติม  เพราะข้อมูลบางส่วนที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของตนนั้นก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ คดี   ในฐานะที่พวกเราเป็นสื่อทางเลือกก็หวังว่าในอนาคตควรมีความชัดเจนในเรื่อง ของการเข้าจับกุม น่าจะเป็นการแจ้งเตือนและออกหมายเรียกก่อนที่จะมีการออกหมายจับ เพราะวันนั้นข้อกังวลใจของหลาย ๆ คนคือการทำเรื่องประกันตัวไม่ทัน   กรณีทีเกิดขึ้นกับตนนั้นยังโชคดีที่อาจารย์ฉันทนา หวันแก้วท่านมาประกันตัวให้ แต่หากเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไปตนก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าเขาจะได้รับการปฏิบัติ เช่นไรๆ
“เรา ขอยืนยันว่ากระทู้ที่เป็นปัญหานั้นเราได้ดำเนินการปิดไปแล้ว และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้จับกุมผู้ที่โพสต์ข้อความนั้นไปแล้ว ด้วยแต่ทำไมถึงต้องมาด่วนจับกุมเพิ่มเติมในกรณีของประชาไท  ดังนั้นตอนนี้พวกเราจึงเกิดคำถามว่าทำไมถึงเป็นประชาไท อย่างไรก็ตามสำหรับความคืบหน้าของคดีตอนนี้คงต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งมา อีกครั้งเพราะตอนนี้เราอยู่ในสภาพที่ถูกปล่อยตัวชั่วคราว”ผู้อำนวยการ เว็บไซด์ข่าวประชาไทกล่าว


ศูนย์เฝ้าระวังการคุกคามสื่อสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยรายงาน
10 มีนาคม 2551