คู่มือทำข่าวจลาจล

ข้อมูลเพื่อการเผยแพร่

เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ค.ที่ผ่านมา  สถาบันเพื่อความปลอดภัยของสื่อมวลชนนานาชาติ หรือ The International News Safety Institute ได้ออกข้อแนะนำเบื้องต้นในลักษณะแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของนักข่าวในสถานการณ์การชุมนุมและการจลาจล ดังต่อไปนี้

๑)    วางแผนการทำงานล่วงหน้า
๒)    จัดตั้งศูนย์ประสานงานชั่วคราวเพื่อให้ทีมงานที่อาจกระจัดกระจายไปในจุดต่างๆติดต่อกันได้
๓)    อย่าลืมปลอกแขนแสดงสัญลักษณ์พร้อมบัตรประจำตัวของต้นสังกัด
๔)    ตั้งเบอร์โทรฉุกเฉินต่างๆ ที่ต้องใช้งานให้อยู่ในโหมด speed dialing
๕)    หากมีการใช้แก๊สน้ำตาให้เคลื่อนย้ายไปอยู่บริเวณเหนือลมเสมอ
๖)    ควรนำหน้ากากดำน้ำ หรือแว่นตาที่ใช้ในอุตสาหกรรมติดตัวไปด้วยเพื่อป้องกันแก๊สน้ำตา
๗)    นำเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดต่อไปด้วย (แต่ต้องรู้วิธีใช้)
๘)    สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เนื่องจากจะติดไฟยากกว่าใยสงเคราะห์ ทั้งนี้ พึงตระหนักว่า โอกาสในการเกิดเพลิงไหม้จากระเบิดเพลิงมีได้ตลอดเวลา
๙)    ควรมีเป้สะพายหลังเพื่อบรรจุอาหารแห้งและน้ำดื่มที่จะเพียงพอต่อการปะทังชีวิตได้อย่างน้อย ๑ วัน เพราะอาจมีกรณีฉุกเฉินที่ไม่สามารถออกจากพื้นที่ปะทะได้
๑๐)    นักข่าวไม่จำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่มีผู้ชุมนุมเสมอไป ตราบเท่าที่ยังมองเห็นเหตุการณ์จากรอบนอก
๑๑)     ช่างภาพทั้งหนังสือพิมพ์และทีวี ควรพยายามถ่ายภาพจากมุมสูงไว้ก่อน
๑๒)    ปรึกษาหารือภายในทีมงานเพื่อเตรียมเส้นทางหลบจากจากพื้นที่ปะทะ ในกรณีที่เหตุการณ์เลวร้ายลงจนยากจะควบคุม
๑๓)     ควรมีการรายงานสรุปสถานการณ์ให้กองบรรณาธิการทราบเป็นระยะๆ เพื่อจะได้ช่วยกันประเมินสถานการณ์และประติดประต่อเรื่องราว


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


http://www.newssafety.org/index.php?option=com_content&view=article&id=5925&Itemid=100505

More comprehensive information is provided in the IFJ handbook Live News - a Survival Guide for Journalists, Chapter 3, Page 44, Riots and Civil Disorder

http://www.newssafety.org/index.php?option=com_content&view=article&id=4894&Itemid=100119