วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 3 พ.ค.ของทุกปี โดยในปีนี้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ร่วมกับ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและเครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ได้จัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย และมีการจัดเสวนาเรื่อง “เสรีภาพบนความรับผิดชอบ” โดยเชิญบุคคลที่มีชื่อเสียงในแวดวงสื่อมวลชนมาร่วมเสวนาเพื่อแสดงถึงท่าที่และจุดยืนของสื่อมวลชนไทย “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ที่มีต่อ เสรีภาพของสื่อมวลชนไทย จำนวนทั้งสิ้น 1,378 คน ระหว่างวันที่ 25-30 เมษายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้
1.ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร? กับ “สื่อมวลชนไทย” ณ วันนี้
สื่อโทรทัศน์
อันดับ 1 มีการนำเสนอข่าวที่กระชับ รวดเร็ว ฉับไว ทันเหตุการณ์ 41.78%
อันดับ 2 เป็นสื่อที่ให้ทั้งสาระ ความรู้และความบันเทิงที่หลากหลาย 38.22%
อันดับ 3 บางครั้งมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียว /ขาดความเคารพในสิทธิของผู้อื่น 20.00%
สื่อวิทยุ
อันดับ 1 มีการนำเสนอข่าวที่กระชับ รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ 48.43%
อันดับ 2 มีข้อจำกัดในการนำเสนอ ควรมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอให้น่าสนใจกว่านี้ 28.90%
อันดับ 3 การรายงานข่าว การเข้าถึงข้อมูลต่างๆยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง 22.67%
สื่อหนังสือพิมพ์
อันดับ 1 เป็นสื่อที่ให้ทั้งสาระความรู้ นำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมาและมีความหลากหลาย 56.57%
อันดับ 2 การนำเสนอข่าวบางครั้งไม่ครบถ้วน คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 27.42%
อันดับ 3 มีการนำเสนอข่าวที่รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ /มีทั้งกรอบเช้าและกรอบบ่าย 16.01%
สื่ออินเทอร์เน็ต /ออนไลน์
อันดับ 1 มีเสรีภาพในการนำเสนอมากเกินไปทำให้บางครั้งมีการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม /ควบคุมยาก 41.96%
อันดับ 2 การนำเสนอข้อมูลข่าวสารรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ 40.24%
อันดับ 3 เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่สะดวกในการสืบค้นข้อมูลหรืออ่านข่าวย้อนหลัง 17.80%
2. ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร? กับการนำเสนอข่าวของ “สื่อมวลชนไทย” ณ วันนี้
ข่าวการเมือง (ภาพข่าว)
อันดับ 1 เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เข้าใจในเนื้อหาข่าวได้มากขึ้น 48.27%
อันดับ 2 การนำเสนอภาพข่าวบางครั้งทำให้เกิดความสับสน ตีความหมายแตกต่างกัน 29.31%
อันดับ 3 ภาพที่นำเสนอมาจากเรื่องจริง ไม่ตัดต่อ 22.42%
ข่าวการเมือง (เนื้อหาข่าว)
อันดับ 1 ควรนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง ตีแผ่ตามความเป็นจริง ไม่บิดเบือน 36.24%
อันดับ 2 ควรมีการวิเคราะห์ เจาะลึกและนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง 32.68%
อันดับ 3 ก่อนนำเสนอข่าวควรมีการกลั่นกรองเนื้อหา ข้อเท็จจริงจากแหล่งข่าวหลายๆที่ 31.08%
ข่าวสังคม เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา อาชญากรรม เป็นต้น (ภาพข่าว)
อันดับ 1 การนำเสนอภาพข่าวที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคม 52.60%
อันดับ 2 ภาพที่นำเสนอส่วนใหญ่เป็นภาพข่าวที่รุนแรง ไม่เหมาะสม 35.41%
อันดับ 3 ต้องเป็นภาพที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ สอดคล้องกับเนื้อหาข่าวที่นำเสนอ 11.99%
ข่าวสังคม เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา อาชญากรรม เป็นต้น (เนื้อหาข่าว)
อันดับ 1 ควรนำเสนอข่าวที่เป็นจริง ตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือน 58.63%
อันดับ 2 มีรายละเอียด ข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วนและนำเสนออย่างต่อเนื่อง 21.98%
อันดับ 3 บางครั้งมีการนำเสนอเนื้อหาข่าวที่ไม่เหมาะสม มีเนื้อหาที่รุนแรงเกินไป นำเสนอแต่ด้านลบ 19.39%
3. ประชาชนคิดว่า “สื่อมวลชน” ณ วันนี้ มีเสรีภาพมากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1 มีเสรีภาพพอสมควร 42.51%
เพราะ สามารถนำเสนอข่าวได้ทุกเรื่อง ทุกแง่มุม การทำงานได้อย่างอิสระมากขึ้น แต่บางครั้งก็ยังถูกแทรกแซง ฯลฯ
อันดับ 2 มีเสรีภาพมากเกินไป 29.97%
เพราะ การนำเสนอข่าวบางครั้งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่ตกเป็นข่าวมากเกินไป ,การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในข่าว ฯลฯ
อันดับ 3 มีเสรีภาพน้อยเกินไป 17.36%
เพราะ การนำเสนอข่าวได้เพียงบางส่วน มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานและการนำเสนอข่าวของสื่อ ฯลฯ
อันดับ 4 ไม่มีเสรีภาพ 10.16%
เพราะ ถูกควบคุมจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมือง ไม่กล้าตีแผ่ความจริงหรือนำเสนอข่าวได้อย่างเต็มที่ ฯลฯ
4. ประชาชนคิดว่าความรับผิดชอบ ของ “สื่อมวลชนไทย” ณ วันนี้ เป็นอย่างไร?
อันดับ 1 ยังมีความรับผิดชอบน้อย เพราะบางครั้งยังมีการนำเสนอข่าวผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 46.25%
อันดับ 2 มีความรับผิดชอบดี โดยเฉพาะในเวลาที่ประเทศชาติประสบปัญหาวิกฤต สื่อเข้ามามีบทบาทอย่างมาก 40.13%
อันดับ 3 มีความรับผิดชอบพอสมควร เมื่อมีการนำเสนอข่าวที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงจะมีการขอโทษและชี้แจง 13.62%
5. ประชาชนคิดอย่างไร? กับคำว่า เสรีภาพบนความรับผิดชอบ ของ “สื่อมวลชน”
อันดับ 1 สามารถนำเสนอข่าวอย่างอิสระแต่จะต้องเคารพในสิทธิของผู้อื่น ไม่สร้างความเดือดร้อน 55.96%
อันดับ 2 สื่อมวลชนควรปฏิบัติตามจรรยาบรรณของการทำข่าว รับผิดชอบข่าวที่นำเสนอออกไป 24.27%
อันดับ 3 ทางสมาคมนักข่าวควรมีการควบคุม ดูแลการนำเสนอข่าวของสื่อแขนงต่างๆอย่างทั่วถึง 19.77%
6. “จุดเด่น” ของ “สื่อมวลชนไทย” ณ วันนี้ คือ
อันดับ 1 การนำเสนอข่าวได้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ 52.78%
อันดับ 2 เป็นตัวแทนประชาชนในการตรวจสอบเรื่องต่างๆของสังคมอย่างใกล้ชิดทั้งด้านดีและไม่ดี 35.14%
อันดับ 3 การนำเสนอข่าวพร้อมวิเคราะห์ เจาะลึกหาคำตอบหรือทางออกให้กับสังคม 12.08%
7. “จุดที่ควรปรับปรุง” ของ “สื่อมวลชนไทย” ณ วันนี้ คือ
อันดับ 1 ควรนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง ตรงไปตรงมา เที่ยงตรง น่าเชื่อถือและครอบคลุมทุกแง่มุม 60.25%
อันดับ 2 ควรทำตามจรรยาบรรณในการเขียนและนำเสนอข่าว 20.47%
อันดับ 3 ควรเคารพในสิทธิของผู้ที่ตกเป็นข่าว ไม่สร้างความเดือดร้อน 19.28%
8. “ความคาดหวัง” ของประชาชนต่อ “สื่อมวลชนไทย” ณ วันนี้ คือ
อันดับ 1 การนำเสนอข่าวสารอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง /มีจรรยาบรรณของนักข่าว 51.32%
อันดับ 2 มีอิสระในการทำงาน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้มีอิทธิพลหรือนักการเมือง 22.18%
อันดับ 3 ต้องซื่อสัตย์ ไม่หาประโยชน์จากหน้าที่การงาน 9.27%
อันดับ 4 การนำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อสังคม รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์และความคิดเห็นจากประชาชน 8.94%
อันดับ 5 การทำหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชนให้ดีที่สุด เป็นกระบอกเสียงแทนประชาชน 8.29%
สวนดุสิตโพล