รายงานการจัดทำโครงการรณรงค์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ปี ๒๕๕๔

รายงานการจัดทำโครงการรณรงค์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ปี ๒๕๕๔
วันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม  ๒๕๕๔
โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ และองค์การยูเนสโก้



ด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ และองค์การยูเนสโก้  ได้จัดทำโครงการรณรงค์วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ปี ๒๕๕๔ ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมีวัตถุประสงค์ ๑.เพื่อประกาศจุดยืนและอ่านแถลงการณ์ของสื่อมวลชนไทยเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก  ๒.เพื่อส่งเสริมให้นักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนได้ตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่ และ ๓. รณรงค์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน

โดยกิจกรรมที่จัดทำขึ้นในโครงการประกอบด้วย
๑.    การเข้าพบนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ณ อาคารรัฐสภาเพื่อยื่นข้อ
เรียกร้อง เข็มกลัดและเสื้อที่ระลึกเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
๒.    การออกแถลงการณ์เพื่อประกาศจุดยืนและท่าทีของสื่อมวลชนไทยในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดย
เป็นการออกแถลงการณ์ร่วมกันระหว่างสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 
๓. การจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “เสรีภาพบนความรับผิดชอบ” สมาคมฯ ได้ร่วมกับ “สวนดุสิตโพล” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ที่มีต่อ เสรีภาพของสื่อมวลชนไทย จำนวนทั้งสิ้น ๑,๓๗๘ คน  ระหว่างวันที่ ๒๕-๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ 
๔.    การจัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง “เสรีภาพบนความรับผิดชอบ (Freedon  with  Responsibility)”
วิทยากรประกอบด้วย  คุณกิตติ  สิงหาปัด (พิธีกรรายการข่าว ๓ มิติ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓)  คุณวรวิทย์ ศรีอนันตรักษา  (หัวหน้าข่าวหน้า ๑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์)  ผศ.ดร.กาญจนา มีศิลปวิกกัย  (คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม)   ดำเนินรายการโดย คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา (พิธีกรรายการตอบโจทย์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส)

๕.    การประกวดคลิปวีดีโอความยาว ๑ – ๒ นาที  ในหัวข้อ “ เสรีภาพบนความรับผิดชอบ” หรือ
“Freedom with Responsibility”
โดยมีผู้ส่งเข้าประกวดคลิปจำนวน ๗ คลิป ผลการตัดสินปรากฏว่ามีคลิปที่ได้รับรางวัลมี ๒ คลิป คือ ๑.รางวัล  “ ดีเด่น ”    ผลงานของทีมกระต่ายตื่นตัว ได้รับเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาทพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณและ ๒.รางวัลชมเชย ผลงานของทีมทีมสัมมะปิ  ได้รับเงินรางวัล ๒,๐๐๐ บาทพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ (โดยคลิปที่ส่งเข้าประกวดได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.tja.or.th และ Facebook วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

สำหรับคณะกรรมการผู้ตัดสินคลิปวิดีโอมีจำนวน ๕ คนประกอบด้วย ๑. คุณอมรรัตน์  มหิทธิรุกข์ (เลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ๒. คุณจีรพงษ์  ประเสริฐพลกรัง (สำนักข่าวเนชั่น) ๓. ดร. สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล (คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์) ๔. คุณอดิศักดิ์ อมรฉัตร รองเลขาธิการ สมาคมนักโฆษณาแห่งประเทศไทย  และ ๕.คุณโกศล สงเนียม ((กรรมการบริหาร สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย )

๖.    การแข่งขันขบวนรณรงค์หัวข้อ ในหัวข้อ “ เสรีภาพบนความรับผิดชอบ” มีสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วม
การแข่งขันจำนวน ๕ มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ๑. มหาวิทยาลัยศรีปทุม ๒. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ๓. มหาวิทยาลัยบูรพา ๔. มหาวิทยาลัยรังสิต และ ๕. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ชิงเงินรางวัลพร้อมโล่ห์ประกาศเกียรติคุณและวุฒิบัตร  โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมการประกวดได้มีการนำเสนอแผนรณรงค์เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ เมษายน และวันอังคารที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๔ โดยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องกำหนดให้มีในแผนรณรงค์ประกอบด้วย ๑.การจัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในพื้นที่ที่สมาคมฯกำหนด พร้อมแจกเอกสารเผยแพร่ และเข็มกลัดที่ระลึก (๑.มหาวิทยาลัยศรีปทุมสกายวอล์ค จัดกิจกรรมรณรงค์บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอส ๒. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดกิจกรรมรณรงค์บริเวณโซนซี หน้ามัลติเพล็กซ์ ๓. มหาวิทยาลัยบูรพา จัดกิจกรรมรณรงค์บริเวณโซนดี ทางขึ้นบันไดเลื่อนบีทีเอส ๔. มหาวิทยาลัยรังสิต จัดกิจกรรมรณรงค์บริเวณใต้สะพานลอยหน้ามาบุญครอง และ ๕. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  จัดกิจกรรมรณรงค์บริเวณ ลานสยามดิคัพเวอร์รี่ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการประกวดได้รับทุนสนับสนุนในการจัดกิจกรรม มหาวิทยาลัยละ ๕,๐๐๐ บาท

สำหรับคณะกรรมการผู้ตัดสินขบวนรณรงค์มีจำนวน ๕ คนประกอบด้วย ๑. คุณเสด็จ บุนนาค (คมชัดลึก) ๒.คุณกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ (เครือข่ายส่งเสริมสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์) ๓.คุณมานพ ทิพย์โอสถ ๔.คุณมโนประภา กลัดภิบาล (ผู้สื่อข่าว สถานีโทรทัศน์ช่อง ๓) และ ๕.คุณเพลินฤดี   ศรีรัตนตาปี(ไทยรัฐ)

ผลการตัดสินปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลมีดังนี้ ๑. รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ได้รับเงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาทพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ๒.รางวัลชมเชยมี ๒ รางวัลได้แก่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับเงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาทพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

๗.    การจัดกิจกรรมเดินรณรงค์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก  ณ ลานห้างสรรพสินค้าพารากอน
โดยสมาคมฯ ได้รับความร่วมมือจากบรรดาพิธีกร ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์  นักจัดรายการวิทยุ  นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการและนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์  เข้าร่วมในการเดินรณรงค์

๘.    จัดทำเสื้อยืดรณรงค์ “ เสรีภาพบนความรับผิดชอบ” หรือ “Freedom with Responsibility ” เพื่อ
รณรงค์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก แจกจ่ายให้กับสื่อมวลชนทุกแขนงทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค รวม  ๓,๐๐๐ ตัว  โดยได้นัดหมายให้มีการสวมเสื้อพร้อมกันในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และเผยแพร่บรรยากาศภาพเครือข่าย social network ของสื่อแต่ละคน

๙.    จัดทำเข็มกลัด “ เสรีภาพบนความรับผิดชอบ” หรือ “Freedom with Responsibility  ” จำนวน
๒,๐๐๐  อัน   เพื่อแจกจ่ายให้กับ สื่อมวลชนและประชาชนทั้วไป