ภาพส่งเ้ข้าประกวดในหัวข้อเรื่อง “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่” ประจำปี 2555

ภาพส่งเ้ข้าประกวดในหัวข้อเรื่อง "เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่" ประจำปี 2555 จำนวน ทั้งหมด 29 ภาพ

ลำดับที่ ภาพ เจ้าของผลงาน
1

ชื่อภาพ 1 2 3 Action

นายณัฐชนม์  แสงพฤกษ์
2

ชื่อภาพ อิสระภาพถายใต้จุดยืน



อิสระภาพอาจจะหาขอบเขตที่แน่นอนไม่ได้  เหมือนกับทะเล ที่กว้างใหญ่และลึกล้ำเกินพรรณา แต่เราเลือกได้ว่าจะยืนที่ตรงจุดไหน แม้อิสระของจุดยืนแต่ละจุด อาจไม่เท่ากันแต่คุณก็ยังมีคำว่าอิสระที่ได้เลือกจุดยืนของตัวเอง

3

ชื่อภาพ Take photo for me, please.

ณัฐชนม์  แสงพฤกษ์

4

ชื่อภาพ :Unlock

พิพัฒน์ บุญธรรม

คำบรรยาภาพ : Unlock คือการปลดล็อคจากสิ่งที่ควบคุมปิดกั้นจากการเสนอข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน การเสนอข่าวต้องตั้งอยู่บนกรอบบรรทัดฐานที่สังคมทั่วไปยอมรับ แต่แฝงไปด้วยความท้าทาย ในการนำเสนอข่าวสารนั้น ต้องอิสระอย่างมีเหตุมีผล ท้าทายอย่างมีเหตุมีผล


5

ชื่อภาพ : "เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่"

นายโกสินทร์ ลักษณะสกุลขัย

คำบรรยาย:
มนุษย์ ทุกคนต่างมีศักยภาพและเสรีภาพแตกต่างกันไป อยู่ที่ว่าเสรีภาพนั้นอยู่ภาย ใต้กฎหรืออยู่นอกเหนือกฎ ดั่งภาพที่สะท้อนให้เราเห็น
กลุ่มศิลปินไร้ชื่อ กำลังถ่ายทำมิวสิควีดีโอท่ามกลางผู้คนมาก มาย ณ ถนนคนเดินจังหวัดเชียงใหม่ โดยความคิดและความท้าทายใหม่ ของพวกเขา ที่ต้องการพยายามสื่อถึงอารมณ์ความสนุกสนานทาง ดนตรีท่ามกลางบรรยากาศรอบข้างตามวิถีคนท้องถิ่น นั่นไม่ใช่เรื่องแปลงอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อน จากภาพให้เราเห็นคือ ผู้ดูแลรักษาความปลอดภัย กำลังคลีคล้ายปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากกลุ่มศิลปินกลุ่มนี้ยังไม่ได้ ขออนุญาติ ในการเข้ามาทำการแสดงนะที่นั้น ทำให้เส้นทางการเดินของผู้คนติดขัด นี้คือเหตุผลที่ว่า "ทุกคนมีเสรีภาพ แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมร่วมกัน"

ไม่มีใครห้ามในความคิดและความสามารถของเรา หรือสื่อที่เราพยายามจะถ่าย! ทอดออกไป แต่หากเสรีภาพของเราส่งผลเสียต่อคนอื่น
เพื่อความสงบสุขร่วมกัน จำเป็นต้องมีกฎระเบียบขึ้นมา และเราสามารถใช้เสรีภาพเหนือกฎ โดยมีกฎของใจร่วมกัน คือทุกสิ่งที่เราทำบนเสรีภาพของเรานั้น

เรา ต้องคำนึงถึงผลที่ตามมาว่ากระทบถึงใครหรือไม่

6

ชื่อภาพ.. หนังตลุง..ที่หนูเพิ่งเคยดู

ชนกานต์ นิพพิทา
การละเล่นพื้น เมือง ที่เหลือให้ได้คูน้อยลงทุกวัน เด็กๆแทบจะไม่เคยรู้จักหรือแทบจะ ไม่เคยดูหรือรู้ว่าหนังตะลุงคืออะไร
บังเอิญไม่พบเจอ คนเล่นที่ตลาดเปิดท้ายขายของ วันอาทิตย์ เห็นเด็กดุก็ได้ยิ้มว่ายังมีคน ดู คนเล่น คนเชิด ก็อายุอานามเกือบ80เข้าไปแล้ว แต่มีใจอนุรักษ์การละเล่นเลย เอามาแสดง เก็บเงินก็ขอบริจาค ดูช่างน่าหดหูใจที่การจะแสดงสมัยก่อนที่ต้องว่าจ้าง เดี๋ยวนี้กลับเปลียนไปอย่างสิ้นเชิง อนาตคนายหนังคงต้อง คิดกันให้มากๆ ว่าลูกหลานสมัยนี้เขาไม่ค่อยรู้จักแล้ว อีกไม่นานคงต้องไปหาดูในพิพิธภัณฑ์


7

ฐานิส สุดโต

คำบรรยายใต้ภาพ..ข้อมูลข่าวสารที่ทุกเช้าผู้คนสามารถติดตามได้จากหน้าหนังสือพิมพ์  หรือเลือกชมอยู่หน้าจอโทรทัศน์กับข่าวเช้า ข่าวบ่าย ข่าวเย็น แต่สำหรับวันนี้แค่ปลายนิ้วสัมผัสผู้คนก็สามารถเลือกเสพข้อมูลข่าวสารได้จากทุกที่ และทุกเวลา

กับเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเอื้ออำนวยให้ผู้คนได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วขึ้น ในขณะที่ผู้ผลิตข้อมูลข่าวสารต่างก็ต้องปรับตัว ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่วันนี้ต้องรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ นี่คือความท้าทายใหม่ของนักสื่อสารมวลชน

กับโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร แค่ปลายนิ้วสัมผัส


8

สกล สนธิรัตน์

การเข้าถึงของข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป จากหน้าหนังสือพิมพ์ หรือหน้าจอโทรทัศน์ ที่ถูกจำกัดด้วยการวางจำหน่าย การออกอากาศ และระยะเวลาในการนำเสนอ ที่วันนี้โลกของข้อมูลข่าวสารผู้คนเลือกที่จะเสพข้อมูล ข่าวสารที่สด และทันเหตุการณ์ ซึ่งนี่คือความท้าทายอีกครั้งของผู้นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ที่ต้องปรับเปลี่ยน ให้เข้ากับยุคดิจิตอล
9

นันทสิทธิ์ นิตย์

เมธา

ช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสื่อ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทุกเวลา ซึ่งต่างจากในอดีตสะท้อนถึงความเปลี่ยนไปของสังคม ที่ผู้ผลิตและนำเสนอข้อมูลข่าวสารควรตระหนัก เป็นความท้าทายอีกก้าวของคนวงการสื่อสารมวลชน

ที่จะต้องแข่งขันอยู่บนความเร็ว ความถูกต้อง และรอบด้าน
10

คำบรรยาย : ช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสื่อ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทุกเวลา ซึ่งต่างจากในอดีตสะท้อนถึงความเปลี่ยนไปของสังคม ที่ผู้ผลิตและนำเสนอข้อมูลข่าวสารควรตระหนัก เป็นความท้าทายอีกก้าวของคนวงการสื่อสารมวลชน

ที่จะต้องแข่งขันอยู่บนความเร็ว ความถูกต้อง และรอบด้าน
11

นันทสิทธิ์ นิตย์เมธา

เสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารไม่ได้กำหนดที่ช่วงอายุคน แม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคสามารถเสพข้อมูลข่าวสารได้สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น ทันเหตุการณ์มากขึ้น และยังเป็นผู้รับสารไปในตัว
12

ชื่อภาพ : เด็กน้อยรอคอยเสรีภาพ

นางสาวนิภาวรรณ ศรีสวัสดิ์

คำบรรยาย : เด็กน้อยคนหนึ่งเขาได้เพียงแต่มองดูโลกที่เขายังไม่รู้จัก

เด็กน้อยซึ่งต้องการความเป็นอิสรภาพ

ได้ถูกเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอมจากพ่อแม่

เขาต้องกดดันและวิตกมากเพียงใดนั้นคนเป็นพ่อและแม่ก็ไม่รู้เลย

ดั่งเช่นประโยคที่ว่า “พ่อแม่รังแกฉัน” นั่นคงเป็นเรื่องจริง

เพราะเขาได้ถูกเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากพ่อแม่

แต่ในทางกลับกันเขาไม่สามารถคิดและตัดสินใจสิ่งต่างๆด้วยตนเองได้

เส้นทางชีวิตที่เขาจะต้องเผชิญมันก็ไม่รู้ว่าจะสาหัสมากเพียงใด

เขาได้เพียงแค่รอคอย “เสรีภาพบนเส้นทางใหม่” นั่นเอง

13

ชื่อภาพ :  อยากรู้จัก

นางพิมพ์พิรุฬห์  มณีศรี

บรรยาย :  เด็กชายชาวเขายืนแอบมองพวกเราอยู่หลังต้นไม้  เมื่อพวกเราเดินเข้ามาหาและทักทายหนูน้อยก็ม้วนอายและอมมือ

14

ชื่อภาพ: แม้นมิใช่ทางสายกลางแต่คือทางสายที่ถูกต้อง

นางสาวมณฤดี  วงศ์เมฆ

เสรีภาพคือภาพแห่งความเป็นเสรีอาจไม่ใช่ทางสายกลางที่ทุกคนต้องยึดถือ...ขอเพียงแค่ยึดมั่นว่าสิ่งที่ได้กระทำนั้นถูกต้อง
15

ชื่อภาพ "มองต่าง มุมเดียวกัน"

นายณัฐชนม์  แสงพฤกษ์
16

ชื่อภาพ ความสมดุลของชีวิต

วชิรวิทย์ คุ้มทรัพย์

ความหมาย ความสมดุลของชีวิตไม่สามารถขาดสิ่งไหนสิ่งหนึ่งไปได้ เช่นเดียวกับ มนุษย์ ที่ยังต้องการสื่อและเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาในชีวิตเสมอ

17

ชื่อภาพ รอบๆตัว

วชิรวิทย์ คุ้มทรัพย์

ความหมาย ไม่ว่าจะเป็นที่ห่างไกลสักแค่ไหน ก็ยังคงมีสื่อให้เราได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ขอบคุณที่ให้ร่วมประกวดครับ

18

ชื่อภาพ สื่อ ???

น.ส.สกุลณี ถาวรนิกร

หากการถ่ายภาพเพื่อสื่อข้อความออกมาสู่สายตาคนทั่วไปนั้น จะสามารถสื่ออะไรได้บ้างนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับความคิดของมนุษย์ที่มีความแตกต่างทางด้านสังคม วัฒนธรรม ประสบการณ์ที่ได้พบเจอมา ซึ่งทำให้มีความเห็นแตกต่างกันออกไปหลายรูปแบบ โดยการให้ความคิดเห็น วิจารณ์ เมื่อได้มองเห็นภาพเหล่านั้น

ภาพเด็กวัยรุ่นที่เล่นสงกรานต์ ณ ถนนแห่งหนึ่งย่านฝั่งธน พวกผู้ใหญ่ที่ได้เห็นภาพ ต่างก็ให้ความเห็นว่า เล่นกันทำไม ไม่เห็นจะได้ประโยชน์อันใด เปลืองน้ำ เปลืองตัว เสียมากกว่า สมัยก่อนไม่เล่นสงกรานต์รุนแรงกันขนาดนี้ แค่ปะพรมกันเบาๆก็พอแล้ว และก็ไปทำบุญ ไหว้พระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต  ทางด้านวัยรุ่น เป็นช่วงที่มีความสนุก ได้เจอเพื่อน สาดน้ำใส่กันเย็นสบาย การถูกเนื้อต้องตัวกันก็เป็นเรื่องธรรมดา

ไม่ว่าสื่อจะออกมาในรูปแบบไหน ผู้ให้ข้อมูลก็ควรมีจรรยาบรรณ เพราะต่างคนก็ต่างนานาจิตตัง

19

พูดยังไงก็ไม่ดัง.

สุลาวัลย์ บุญยอด




ตู้ม!!! เสียงอะไรดังสนั่นตรงพื้นที่รอบบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่ง กระเป๋ารถเมล์โพล่งเสียงขึ้นมา “โอ้! นั่นไง ๆ หน่ะนอนอยู่ตรงนั้น” ผู้โดยสารรถเมล์บางคน สอง สามคน ลุกขึ้นยืนมองดูคนบ้าที่นอนอยู่บริเวณขอบชิดเกาะกลางถนน เขาดูเป็นคนบ้าเพราะสภาพผมเพ้าที่รุงรัง เสื้อขาด กางเกงที่ขาดวิ้น นอนคว่ำหน้าอยู่ตรงนั้นผู้เดียวอย่างเงียบสงบ ไม่มีเสียงเอะร้องใด ๆ เหมือนไม่มีความเจ็บปวด หรือเขาจากไปจากร่างนี้แล้ว มีเสียงคนอื่นพูดออกมาเรื่อย ๆ ว่า “เค้าตายยังหน่ะ ๆ” รถเมล์แล่นมาจนถึงป้ายรถเมล์แล้ว ผู้โดยสารทยอยกันลงมาเรื่อย ๆ แต่เหตุการณ์ที่เห็นเมื่อสักครู่ยังค้างคาใจฉันอยู่ ไม่มีใครแจ้งตำรวจหรือไม่มีใครนึกถึง ไม่มีใครทำอะไรใด ๆ ทั้งสิ้นกับเหตุการณ์ที่เห็นกันเมื่อสักครู่ ทำให้จู่ ๆ ฉันก็ยังนึกค้างคาใจว่าแม้แต่ฉันเองก็ไม่คิดที่จะทำอะไรเช่นกัน หากแจ้งตำรวจก็กลัวตัวเองจะโดนเรียกไปสอบปากคำที่โรงพักด้วยในฐานะผู้เห็นเหตุการณ์ คิดเสียว่าเราคงทำอะไรไปได้มากกว่านี้นอกจากมองดู แล้วให้มันผ่านไปเพียงเท่านั้นเองหรอ...

กลับมาบ้านแล้วในเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 15 เมษายน 2555 ความรู้สึกยังค้างคาใจอยู่เช่นเดิม เดินคิดไปคิดมา นอนคิด นั่งคิดว่า ทำไมหนอไม่มีใครทำอะไรกับเหตุการณ์ที่คนขับรถชนคนบ้าแล้วขับหนีไป หรือเพราะเขาเป็นคนบ้าจึงไม่มีใครสนใจ ไม่สิ... หรือไม่ก็เพราะเขาก็คิดเหมือนเราเช่นกัน

ทีวีรายงานข่าวอุบัติเหตุทุกคืน แต่ไร้ซึ่งการรายงานเหตุการณ์ที่ฉันพบเจอในวันนั้น ฉันคงทำอะไรไปได้ไม่มากกว่านี้ ก็เพราะฉันไม่ได้ทำอะไรเลย ได้แต่โอดครวญอยู่ในใจ สังคมมนุษย์นี่มันกระไรหนอ หากฉันเป็นได้ดั่งนักข่าวคนหนึ่ง ฉันก็อาจจะมีสิทธิในการทำอะไรมากกว่านี้หรือไม่ หรือหากฉันเป็นนักข่าวจริง ๆ แล้วไซร้ ก็ได้แต่ส่งข่าวไปแล้วถูกคัดข่าวของตัวเองออกมาเพราะมันไม่สำคัญเท่าข่าวอื่นใดเช่นนั้นหรือเปล่า.
20

ชื่อภาพ : เสรีภาพใต้ผืนฟ้า

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นการแสดงออกถึงความมีสิทธิเสรีภาพ มีอิสระในการกระทำโดยจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย มิไปละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น กล่าวคือ แม้จะมีสิทธิเสรีภาพกว้างใหญ่เท่าท้องฟ้าหรือมากกว่าเท่าใด ก็ไม่สามารถมีไปเกินกว่าที่กฎหมายนั้นได้กำหนดขอบเขตเอาไว้ให้ปฏิบัติตาม

21

ชื่อภาพ "การสื่อสาร ค.ศ.2012"

นาย อรรถพร  สาครเย็น
การติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบัน มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทุกคนสามารถเป็นตัวแทนของสื่อได้ โดยมีอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆใช้ในการส่งสาร ไปสู่ผู้คนอื่นๆจำนวนมาก อย่างรวดเร็ว ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้น และอาจมีความเสียหายมากขึ้นด้วย เพราะสารที่ส่งอาจยังไม่มีการตรวจสอบก่อน.
22


ชื่อภาพ อิสระเสรีภาพ


นาย อรรถพร  สาครเย็น
นกพิราบ เป็นสัญลักษณ์แห่งวิถีชีวิตที่มีความเป็นอิสระและเสรีภาพ เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของสื่อที่ต้องการเสรีภาพ ในการแสดงออกแม้จะมีอุปสรรคเป็นกำแพงสูงขวางกั้น ก็ไม่อาจกักขังหรือปิดบังหนทางในการมีเสรีภาพได้.
23

ชื่อภาพ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน

นายเฉลิมพล  อินหัน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากที่พวกเราเดินทางด้วยเวสป้าจากเมืองนิวเดลีประเทศอินเดีย เพื่อจะกลับประเทศไทยตอนนี้เราเดินทางมาถึงประเทศจีน เมื่อพูดถึงประเทศจีนหลายๆคนอาจคิดถึงกำแพงเมืองจีนศิลปะและวัฒนธรรมโบราณ แต่หลายคนอาจไม่เคยคิดถึงสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเปรียบเสมือนหัวใจของประเทศที่ค่อยให้พลังหล่อเลี้ยงหน่วยต่างๆทั่วทั้งประเทศนั้นคือแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าประเทศที่ใหญ่แบบนี้จะเอาพลังงานมากมายมาจากที่ไหน คงมีไม่กี่ทางเลือก หนึ่งในนั้นคือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์


24

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน

นายเฉลิมพล  อินหัน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากที่พวกเราเดินทางด้วยเวสป้าจากเมืองนิวเดลีประเทศอินเดีย เพื่อจะกลับประเทศไทยตอนนี้เราเดินทางมาถึงประเทศจีน เมื่อพูดถึงประเทศจีนหลายๆคนอาจคิดถึงกำแพงเมืองจีนศิลปะและวัฒนธรรมโบราณ แต่หลายคนอาจไม่เคยคิดถึงสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเปรียบเสมือน หัวใจของประเทศที่ค่อยให้พลังหล่อเลี้ยงหน่วยต่างๆทั่วทั้งประเทศนั้นคือ แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าประเทศที่ใหญ่แบบนี้จะเอาพลังงานมากมายมาจากที่ไหน คงมีไม่กี่ทางเลือก หนึ่งในนั้นคือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
25

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน

นายเฉลิมพล  อินหัน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากที่พวกเราเดินทางด้วยเวสป้าจากเมืองนิวเดลีประเทศอินเดีย เพื่อจะกลับประเทศไทยตอนนี้เราเดินทางมาถึงประเทศจีน เมื่อพูดถึงประเทศจีนหลายๆคนอาจคิดถึงกำแพงเมืองจีนศิลปะและวัฒนธรรมโบราณ แต่หลายคนอาจไม่เคยคิดถึงสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเปรียบเสมือน หัวใจของประเทศที่ค่อยให้พลังหล่อเลี้ยงหน่วยต่างๆทั่วทั้งประเทศนั้นคือ แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าประเทศที่ใหญ่แบบนี้จะเอาพลังงานมากมายมาจากที่ไหน คงมีไม่กี่ทางเลือก หนึ่งในนั้นคือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
26

“สื่อ-ยิ้ม-สู้ 1”

นางสาวตัสนีม    เจะแต

บางครั้งการทำงานของสื่อย่อมนำมาสู่การท้อแท้ได้ในบางเวลา แต่หากสื่อยิ้มให้กับอุปสรรคที่เกิดขึ้น การทำงานในครั้งต่อไปของสื่อก็จะสำเร็จได้อย่างสมบูรณ์ เพราะรอยยิ้มของเราคือยารักษาความท้อแท้ของเราได้ดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นการท้าทายต่อตัวสื่อเองเช่นเดียวกัน
27

“สื่อ-ยิ้ม-สู้2

นางสาวตัสนีม    เจะแต
ในการทำงานของสื่อแต่ละครั้ง มักมีความเครียดอยู่บนใบหน้า ยากนักที่จะเห็นรอยยิ้มของสื่อยามที่สื่อลงพื้นที่ในแต่ละครั้งเพื่อทำงาน หากสักครั้งกับการแสดงออกถึงรอยยิ้มของสื่อยามทำงานน่าจะเป็นความท้าทายใหม่ต่อการแสดงออกของสื่อรวมทั้งเป็นความท้าทายใหม่ต่อการแสดงเห็นของประชาชนโดยรอบ
28

“คือความท้าทายของสื่อ”

นางสาวตัสนีม    เจะแต
สื่อ เปรียบเสมือน นก ที่มีเสรีภาพในการบินล่องลอยไป บางครั้งเสรีภาพในการบินล่องลอยในอากาศของนกอาจถูกสายลมพัดอย่างรุนแรง จนไม่สามารถบินล่องลอยไปสู่ในอากาศต่อไปได้ ก็ย่อมต้องหยุดพักให้สายลมที่พัดกระหน่ำอย่างรุนแรงได้เบาตัวลง แล้วค่อยๆบินไปหาจุดมุ่งหมายที่วางไว้ต่อไป เปรียบเสมือนการทำงานของสื่อ ในบางครั้งบางคราวการทำงานของสื่ออาจถูกจำกัดความมีเสรีภาพในการทำงานนั้นๆ หรือบางครั้งอาจถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจนสร้างความสะเทือนต่อกำลังใจในการที่จะทำงานต่อไป เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นคือความท้าทายให้สื่อได้สัมผัส สื่อย่อมต้องหยุดพักและเก็บแรงเพื่อเป็นกำลังใจให้ตนเองได้ทำงานและนำเสนอความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในครั้งต่อไป
29

“สื่อสร้างสรรค์”

นางสาวตัสนีม    เจะแต

การสร้างงานของสื่อแต่ละครั้ง บางครั้งอาจมีบ้างที่เป็นการนำเสนอในรูปแบบเดิมๆ แต่หากสื่อนำเสนองานในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการผ่อนคลายของผู้รับสาร ก็น่าจะเป็นการท้าทายในการสร้างงานในรูปแบบใหม่ๆได้อีกด้วย เพื่อเป็นตัวกระตุ้นในการอยากรับรู้สารในแต่ละครั้งไป เปรียบเสมือนสีสันที่ถูกแต่งแต้มไว้บนสิ่งที่เป็นที่สักการะของคนบางศาสนิกนี้ ย่อมเป็นความสบายใจยามที่ผู้คนเหล่านั้นมาสักการะบูชา

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ประกาศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

เรื่อง การประกวดบทความ และภาพถ่าย เรื่อง “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่”

 

เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 3 พฤษภาคม 2555

เนื่องด้วยในวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี  เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก เป็นวาระที่ประเทศต่างๆ รัฐบาล ประชาชนและสื่อมวลชนจะได้ร่วมกันปลุกจิตสำนึก พิจารณาและพัฒนาข้อคิดข้อเสนอต่างๆที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อ มวลชน  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันเฉลิมฉลองและประเมินสถานการณ์ของเสรีภาพในการแสดงออกของ สื่อมวลชน  และเป็นวันที่ผู้ทำงานด้านสื่อสารมวลชนจะต้องทบทวนและพูดคุยกัน โดยเฉพาะเรื่องสิทธิในการแสดงออกและจริยธรรมของวิชาชีพ

เสรีภาพของสื่อมวลชนถือเป็นรากฐานของสิทธิมนุษยชนและเป็นหลักประกัน เสรีภาพอื่นๆ ด้วย เสรีภาพของสื่อมวลชนมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดความโปร่งใสและเกิดธรรมาภิบาล เพื่อเป็นหลักประกันว่าสังคมจะได้รับความยุติธรรมที่แท้จริง  ดังนั้น ในวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี  องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลกจึงจะออกมาย้ำเตือน รัฐบาลทุกประเทศให้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามพันธะสัญญาที่จะ เคารพสิทธิในการแสดงออกของสื่อมวลชนตามระบอบประชาธิปไตย

ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติรับรองเมื่อปลายปี 2491  บัญญัติเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในข้อที่ 19 ว่า  “ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และที่จะแสวงหา รับ และแจกจ่ายข่าวสาร และความคิดเห็น ไม่ว่าโดยวิธีใดๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน”

ในปี 2555 นี้  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ได้จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ ส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน ด้วยการจัดการประกวดบทความและประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่ : New challenges for Press Freedom”

 

หลักเกณฑ์การส่งผล งานเข้าประกวด

1. บทความ ต้องเป็นบทความเชิงสร้างสรรค์ ในหัวข้อ “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่ : New challenge for Press Freedom” ความยาวไม่เกิน  2 หน้ากระดาษเอ 4  ขนาดตัวอักษร 16 Point  ไม่จำกัดเพศและอายุ

2. ภาพถ่าย ต้องเป็นภาพที่ถ่ายเอง ตกแต่งไม่เกินจริง และต้องเป็นภาพที่ไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดที่อื่นมาก่อน  ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องตั้งชื่อภาพพร้อมเขียนคำบรรยายมาด้วย  ไม่จำกัดเพศและอายุ   และไม่จำกัดจำนวนภาพ

การส่งผลงานเข้าประกวด

ผู้สนใจเป็นบุคคลทั่วไป ไม่จำกัดอาชีพ เพศ อายุ สามารถส่งบทความและภาพถ่ายเข้าประกวด  ได้ที่ Email: reporter@inet.co.th โดยสามารถส่งได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  จนถึงวันศุกร์ที่  20  เมษายน  2555 เป็นวันสุดท้าย โดยสมาคมฯจะมีข้อความตอบรับทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวด

 

 

รางวัลและหลักเกณฑ์การให้.รางวัล

การประกวดบทความและภาพถ่าย แบ่งรางวัลออกเป็นประเภทละ  3 รางวัล  ประกอบด้วย รางวัลดีเด่น 1 รางวัล ได้รับเงินรางวัลเงินสด 10,000 บาท  รางวัลชมเชย  2 รางวัล ได้รับเงินรางวัลละ  5,000 บาท  ทุกรางวัลจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศ ไทยด้วย

กรณีไม่มีบทความหรือภาพถ่ายใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ  อาจตัดสินให้มีเฉพาะรางวัลชมเชย หรืองดเว้นการให้รางวัลได้  การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด

การประกาศผลการ ตัดสินและการมอบรางวัล จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่  3 พฤษภาคม  2555  ซึ่งตรงกับวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน

 

ประกาศมา ณ วันที่  16  มีนาคม  2555

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย