ข่าววันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก – หัวข้อ “เสรีภาพสื่อบนความท้าทายใหม่”

 

วันที่ 3 พฤษภาคม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดงานเนื่องในวันเสรีภาพ สื่อมวลชนโลกหัวข้อ “เสรีภาพสื่อบนความท้าทาย ใหม่” New Challenges for Press Freedom ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดย นายชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี  นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนาย วิสุทธิ์  คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ ไทย ได้อ่านแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยตระหนักถึงความสำคัญของวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก จึงมีข้อเสนอต่อฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 5 ประการ ดังนี้

1.ขอเรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกสำนักและทุกประเภท พึงตระหนักถึงการทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้กรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ท่ามกลางสภาวะความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน เพื่อหลีกเลี่ยงการท้ายทาย ยั่วยุให้เกิดความรุนแรง แม้ว่ารัฐธรรมนูญได้ ให้หลักประกันในด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของ ประชาชนและสื่อมวลชน แต่การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทใด สำนักใด ก็ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพด้วย

2.การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนบนความ ท้าทายครั้งใหม่ ในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งทางการเมือง นอกจากความรับผิดชอบแล้ว การดำรงไว้ซื่งเสรีภาพก็เป็นเรื่องสำคัญ ฉะนั้น การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงไม่ถูกคุกคาม แทรกแซงจากอำนาจรัฐ กลุ่มการเมือง กลุ่มอิทธิพล รวมถึงกลุ่มทุนใดๆ

3.ขอเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีความจริงใจในการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยปราศจากการครอบงำจากหน่วยงานของรัฐและทุนขนาดใหญ่ เพื่อให้การดำเนินงานของสื่อสอดคล้องงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยฝ่ายรัฐบาลควรระมัดระวังการแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน และใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือทางการเมือง

4.รัฐบาลต้องยุติการออกกฎหมายที่มีลักษณะจำกัดเสรีภาพใน การแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน โดยเฉพาะร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์และกฎหมาย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากจะมีการแก้รัฐธรรมนูญ ก็จะต้องไม่มีการแก้ไขไปในลักษณะที่ลดทอนเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็นของประชาชนและสื่อมวลชนที่ได้บัญญัติไว้สมบูรณ์แล้ว

5.ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ การมีวิจารณญาณในการับรู้ข่าวสารถือเป็นเรื่องสำคัญ จึงขอให้ประชาชนได้โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายจากสื่อมวลชน ทั้งนี้ พึงระมัดระวังอย่างยิ่งในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่เป็นเครื่อง มือทางการเมือง ขณะเดียวกันสื่อภาคประชาชนและสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พึงตระหนักถึงกระบวนการนำเสนอด้วยความรับผิดชอบ

จากนั้นมีการเสวนา เรื่อง “เสรีภาพบนความท้าทายใหม่” โดยมีนายนิวัฒน์ธำรง  บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานคณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต รณะนันท์  คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายเสริมสุข  กษิติประดิษฐ์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และนายบัณฑิต  จันทศรีคำ บรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ร่วมเสวนา

นายนิวัฒน์ธำรง  บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายนิวัฒนธำรง กล่าวถึงเรื่องเสรีภาพของสื่อ ว่า ถ้าเทียบในอาเซียนประเทศเราเป็นอันดับ 3 รองจากประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งถือว่าอยู่ในอันดับที่ดีในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ในส่วนของรัฐบาลแล้วหากพูดถึงนโยบายของรัฐบาลจะเห็นว่ามี อยู่แล้วในนโยบายที่แถลงต่อสภาใน ข้อ 8.3  ที่จะส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล ข่าวสารผ่านสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว ถูกต้องและเป็นธรรม ส่งเสริมให้สื่อมวลชนทุกประเภทมีอิสระและเสรีภาพในการเสนอข้อมูล ข่าวสาร นอกจากนี้ยังมีข้อ 3.6 ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีโดยรัฐบาล ต้องการให้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านสื่อสารมวลชนให้กว้างขวาง ซึ่งก็ทำงานร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ด้านนโยบาย

“ปัจจุบันสื่อมีมากขึ้น ซึ่งทำให้มองว่าเรื่องของการเข้าควบคุมแทรกแซงสื่อนั้นดูจะกลาย เป็นเรื่องล้าสมัยและคุมไม่ได้ และปัจจุบันก็มีองค์กรที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแลอยู่มากฉะนั้นรัฐบาลเองมีบทบาทน้อยลง  นอกจากนี้ในเรื่องของการครอบงำธุรกิจสื่อ ที่ปัจจุบันมีเสรีภาพในการเข้ามาทำสื่อกันอย่างมากมาย ทีวีก็มีเป็นร้อยๆช่อง ใครๆก็สามารถไปขอช่องเพื่อมาประกอบการได้ ซึ่งผู้ที่มีเงินมากก็สามารถ ทำได้ และก็ยังมีการข้ามสื่ออยู่ ฉะนั้นมองว่าอาจจะไม่ใช่เพียงรัฐอย่างเดียวที่เป็นความท้าทายของ สื่อ”  นายนิวัฒน์ กล่าวและว่า ทั้งนี้ความท้าทายของสื่อมวลชนคงต้องมองถึงเรื่องความท้าทายของ โลกสมัยใหม่ด้วย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและสังคม

นอกจากนี้ นายนิวัฒนธำรง กล่าวถึงการเปิดเสรีเศรษฐกิจอาเซียนด้วยว่า หมายถึงธุรกิจต่างๆจะไหลเข้ามาแบบไม่สามารถจะกีดกันได้ ฉะนั้นในความเป็นประเทศของเราต้องตั้งหลักและเตรียมพร้อมที่จะสู้ โดยสื่อมีส่วนสำคัญที่จะช่วยได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการประกาศให้ประเทศอื่นเห็นถึงความพร้อมของประเทศไทย ไปพร้อมๆกับการนำเสนอข้อมูลของประเทศอื่นให้ประชาชนเราได้รับรู้ ข่าวสารเพื่อการเตรียมตัวของประชาชนให้ต่อสู้กับโลกไร้พรมแดนต่อ ไป นอกจากรัฐบาลจะมีเป็นส่วนสำคัญแล้วหากสื่อช่วยได้ก็จะเป็นเรื่อง ที่ดี”

นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานคณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน

ด้าน นางรัชฎาภรณ์ ตั้งคำถามว่า เสรีภาพบนความท้าทายนั้น ในส่วนของความท้าทายคืออะไร แล้วสื่อเองพร้อมที่รับความท้าทายนั้นหรือ ไม่  โทษฝ่ายอื่นอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูว่าสื่อเลือกข้างหรือไม่ เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ต้อง ไม่ใช้อคติ หรือข้อมูลส่วนตัวมาให้ข้อมูลกับประชาชน และหากทำไม่ได้ก็จะมาเรียกร้องไม่ได้เช่นกัน ซึ่งสมาคมก็มีหน้าที่ที่ จะจัดการเรื่องนี้

“กฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อมีอยู่ 3 มาตรา ได้แก่ มาตราที่ 46 ว่าด้วย  พนักงานหรือลูกจ้างใดก็ตามที่ทำเรือ่งข่าว ทำหน้าที่ข่าว ต้องเป็นอิสระในการที่จะเสนอข่าว ไม่อยู่ใต้อาณัติของใคร ไม่ว่าเป็นข้าราชการหรือเจ้าของก็ตาม  มาตรา 47 คลื่น ความถี่วิทยุโทรทัศน์เป็นสมบัติสาธารณะ ให้จัดตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นมาดูแลการจัดสรร และมาตรา 48 นักการเมือง เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นกิจการสื่อสารมวลชนไม่ได้ ทั้งโดยตรงและการใช้ตัวแทนซึ่งต้องถามสื่อเองด้วยว่ามีการตรวจสอบ หรือผลักดันในเรื่องนี้มาน้อยเพียงใด แล้วถามว่าสมาคมสื่อทำอะไรบ้าง ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ทำงานสื่อหรือไม่ นอกจากออกแถลงการณ์”  นางรัชฎาภรณ์ กล่าวและว่า เมื่อมีองค์กรที่จัดการกันเองาควรต้องมีเขี้ยวเล็บมา กกว่านี้ ไม่ใช่เพียงการแถลงการณ์อย่างเดียว ต้องมีข้อปฏิบัติด้วยว่าจะจัดการ อย่างไร

ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต รณะนันท์  คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขณะที่ ผศ.ดร.พิรงรอง กล่าวว่า สื่อเป็นฐานันดรที่สี่ ในสังคม ฉะนั้นเสรีภาพสื่อจึงต้องมี เพราะได้รับการคุ้มครองเสรีภาพสื่อทำหน้าที่ในการแจ้งข้อมูลข่าว สารและตรวจสอบอำนาจในสังคม ทำให้ประชาชนมีความรู้เท่าทัน ตามหลักประชาธิปไตย เป็นเหมือนอาหารสมองและอาหารทางความคิด

“ความท้าทายของสื่อไทยในยุคใหม่ ส่งผลให้ภูมิทัศน์สื่อและกระบวนการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีการเปิดรับสื่อเคเบิ้ลและดาวเทียมมากกว่าฟรีทีวี  นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงวิทยุชุมชนและเคเบิ้ล และอิทธิพลของสื่อมากขึ้น ที่ช่วงที่ไม่มีการกำกับดูแล ฉะนั้นการเกิดขึ้นของวิทยุทีวีเกิดขึ้นแบบไม่มีการคุมกำเนิด”

เมื่อกล่าวถึงโซเชี่ยวมีเดียในยุค ปัจจุบัน ผศ.ดร.พิรงรอง กล่าวว่า โซเชี่ยลมีเดียทำให้เกิดฐานันดรที่ 5 หรือที่รู้จักกันว่า นักข่าวพลเมือง ที่ทำหน้าที่ในการรายงานข่าวเองรวมถึงยังช่วยทำหน้าที่ตรวจสอบการ ทำงานของสื่ออีกทางด้วย ฉะนั้นอาจต้องมีการแบ่งพื้นที่ระหว่าง ฐานันดร 4 และ 5 ในการรายงานข่าว

“มาตรฐานจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพทุกอย่างมีอยู่แล้วในเชิงสาระ แต่จะทำอย่างไรให้เกิดผลจริงในทางปฏิบัติ ทำให้เกิดโครงสร้างการกำกับดูแล ซึ่งในส่วนขององค์กรวิชาชีพหรือสมาคมวิชาชีพเองก็มีการแบ่งหน้าที่ กันอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือกระบวนการ ทำอย่างไรให้เกิดกระบวนการและสามารถปฏิบัติได้จริง เพราะหากผ่านมติของทางองค์กรหรือสภาวิชาชีพแล้วแต่องค์กรต้นสังกัด ไม่ให้ความสำคัญ มาตรการการลงโทษก็ไม่แน่น”

ส่วน นายเสริมสุข กล่าวถึงสถานภาพเสรีภาพของสื่อในปัจจุบัน ว่า เสรีภาพของบ้านเราในขณะนี้ดีมาก ซึ่งในช่วงรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่มีการยกเลิกกฎหมายกีดกันการทำงานของสื่อโดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์  หรือ ปร.42 และต่อมาก็มีการยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ที่ควบคุมสื่อ จนปัจจุบันเหลือเพียง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์เท่านั้น ทั้งนี้ในการแก้กฎหมายไม่ว่าจะครั้งใดก็ตาม หากมีการพยายามใส่ข้อความที่ควบคุมสื่อลงไปนั้น เป็นเครื่องวัดความจริงใจอีกทางหนึ่ง

“ในส่วนของความท้าทาย เสรีภาพที่มีตอนนี้กับสมัยก่อนแตกต่างกันมาก เพราะหากมีการวิจารณ์นักการเมืองก็สามารถทำได้ แต่สิ่งหนึ่งที่คิดว่าคนทำงานสื่อต้องปฏิรูปตนเองด้วย ในสังคมที่สื่อมีเสรีภาพมากมาย  การเข้มงวดกับตัวเองและการนำเสนอข่าวสารอย่างรอบด้านยังเป็นหัวใจ สำคัญ แม้เสรีภาพจะก้าวไกลขนาดก็ตาม แต่คุณภาพของงานก็สะท้อนให้เห็นคุณภาพคน ได้

 

นายเสริมสุข  กษิติประดิษฐ์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นายเสริมสุข กล่าวด้วยว่า หากสื่อติดตามสถานการณ์และ เกาะติดในสายงานที่ทำ การนำเสนอข่าวจะช่วยในการตรวจสอบสังคมและการทำงานของรัฐบาลได้  ซึ่งตนมองว่าในเรื่องของความถูกต้อง รวดเร็ว และรอบด้าน เป็นพื้นฐานของการทำงานสื่อ โดยเฉพาะหากมีการทำงานรอบด้านแล้วไม่ว่าในหัวใจจะเป็นสีอะไรก็ไม่ มีใครมาตรวจสอบได้

“มองว่าความท้าทายของสื่อในปัจจุ บัน คือ ท่ามกลางสถานการณ์ที่นักการเมืองต้องการเอาสื่อเป็นพวก ย่อมมีสิ่งเย้ายวน ยั่วยุ และผลประโยชน์ที่มากมายมาเกี่ยวข้อง ฉะนั้นสื่อเองต้องมีความเข้มแข็งในเรื่องของจิตวิญญาณและจริยธรรม ที่จะปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ให้ได้”

 

นายบัณฑิต  จันทศรีคำ บรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ขณะที่ นายบัณฑิต กล่าวว่า 4-5 ปีที่ผ่านมาบ้านเรามีเสรีภาพทางสื่อมาก และมีความซับซ้อนอยู่ในหลายๆด้าน และในช่วงเวลานั้นก็ได้มีการกระจายไปอย่างแพร่หลายและมีพลังมาก ซึ่งหากดูจริงๆแล้วเรื่องคุกคามสื่อเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไปไกลมาก

“ที่ผ่านภาคสมาคมสื่อหรือแม้แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องค่อนข้างจะ เบา ในเรื่องการดูแล สอดส่อง เคเบิ้ล ซึ่งการจะร้องเรียนก็ยาก เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด แต่ทั้งนี้ ผู้บริโภคในต่างจังหวัดรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นมิตรกับพวกเขา ซึ่งทุกวันนี้มีดาวเทียมที่เป็นสีเกือบ 20 ช่อง และแต่ละช่องก็มีตลาดและมีเป้าหมายของตนเอง โดยพูดตามที่ตนเองอยากเสนอ ที่สำคัญคือมีตลาดรองรับอยู่ทุกช่อง ทั้งนี้หวังว่าจะพัฒนาในทางที่เข้ารูปเข้ารอยขึ้นเมื่อมี กสทช. หรือหน่วยงานมากำกับดูแลอย่างจริงจัง”

นายบัณฑิต กล่าวด้วยว่า เมื่อก่อนสื่อใหม่อย่างดาวเทียมคือผู้เล่นที่ถูกเบียดมาจากฟรี ทีวี แต่ปัจจุบันเป็นผู้เล่นรายใหญ่ลงมาเล่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย คนทำงานมาก นอกจากนี้ก็ยังห่วงเทคโนโลยีในการสื่อสารที่ไปเร็วมาก แต่เนื้อหาของข่าวสารกลับย้อนยุคไป 40 ปี ที่เป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อ

“ห่วงว่าทุกวันนี้ ผู้บริโภคสื่อรับสื่อใหม่เยอะมากจนกระทั่งปฏิเสธสื่อหลัก ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ดูฟรีทีวี ในขณะที่ทีวีดาวเทียมบางช่องก็มีเรื่องดีอยู่มาก เช่น มีการตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองท้องถิ่น ฉะนั้นสื่อใหม่ไม่ใช่สื่อลบอย่างเดียวบวกก็มีเนื่องจากทุกคนก็เป็น การตลาดรู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร  ที่ห่วงคือในอนาคตจะไม่มีคนฟังวิทยุ จนกระทั่งไม่ดูช่องฟรีทีวี”