นักวิชาการ ภาคประชาชน สื่อมวลชน จับมือตั้งกลุ่ม เฟรนด์ ออฟ มติชน หวัง รักษาสื่ออิสระ ปราศจากการครอบงำของกลุ่มทุน - การเมือง พร้อมเชิญชวนลงชื่อผ่านเวบ ไซต์ www.thaisolidarity.org ต้านกลุ่มทุนการเมือง ขณะที่สมาคมนักข่าวฯ เตรียมจัด เสวนาระดมความเห็นเสรีภาพ สื่อมวลชนยุคกลุ่มทุนการเมืองครอบงำ ด้านความเคลื่อน ไหวในมติชน ตั้ง"พิเชียร คุระทอง" เป็นโฆษก ยืนยันคงความเป็นอิสระของ บ.ก. เผยมีผู้อ่าน เทกำลังใจเชียร์ ศิษย์เก่ามติชนมอบหุ้น "ขรรค์ชัย บุนปาน" หวังเพิ่มสัดส่วนหุ้นสู้แกรมมี่ นัก กฎหมายหารือผู้ประกอบการสื่อ ศึกษารูปแบบคุ้มครองอิสระการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร
นางสาววิภา ดาวมณี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรัง สิต เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการรวมพลังระหว่างนักวิชาการ ภาคประชาชน แฟนพันธุ์แท้มติ ชน ตลอดจนกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ก่อตั้งกลุ่ม เฟรนด์ ออฟ มติชน (Friend of Matichon) เพื่อ เรียกร้องให้มติชน เป็นสื่ออิสระปราศจาการครอบงำจากกลุ่มทุน และอำนาจทางการเมือง เนื่องจากการเข้ามาซื้อหุ้นของกลุ่ม จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่นั้น หลายฝ่ายคิดว่าไม่ใช่การลงทุน แบบปกติทั่วไป แต่เชื่อว่าน่าจะมีอำนาจทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประชาชนในฐานะ ผู้บริโภคสื่อจะได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในครั้งนี้
{xtypo_quote}การเทกโอเวอร์ธุรกิจสื่อ ไม่เหมือนการซื้อขายธุรกิจทั่วไปๆ เพราะสื่อต้องรับ ผิดชอบต่อสังคม การเข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ โดยที่ผู้ก่อตั้งมติชนไม่รู้เนื้อรู้ตัว โดยเอาเงินมา เป็นตัวตัดสินนั้น แกรมมี่จะต้องอธิบายถึงอุดมการณ์ในการทำสื่อที่มีอุดมการณ์ให้ชัดเจน{/xtypo_quote}นางสาววิภากล่าวและว่า สังคมเข้าใจว่าเครือแกรมมี่มีความเชื่มอโยงกับพรรครัฐบาล จาก กรณีซื้อหุ้นลิเวอร์พูล หลังจากนายกฯ มีความต้องการซื้อหุ้นลิเวอร์พูล และได้ให้แกรมมี่เข้า มาดำเนินการต่อในที่สุด ความเคลื่อนไหวที่จะดำเนินการในส่วนแรก คือการเปิดให้ ประชาชน และผู้สนับสนุนความเป็นอิสระของหนังสือพิมพ์มติชน เข้าไปแสดงความคิดเห็น ในเวบไซต์ www.thaisodarity.org โดยจะมีป็อปอัพให้คลิกเข้าไปร่วมลงชื่อได้ ขณะนี้ได้ มีนักวิชาการ และประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิในสังคม เข้าร่วมลงชื่อแล้ว ได้แก่ นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายวิทยากร เชียงกูร นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นางสาวรสนา โตสิตระกูล นาย พิเชียร อำนาจวรเสิรฐ นายอนุสรณ์ ศรีแก้ว นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ นางสาวนิตินันท์ ยอแสงรัตน์ ฯลฯ ขณะเดียวกัน ทางกลุ่มได้เตรียมประสานเครือข่ายต่างๆ ซึ่งมีทั้งเครือข่าย ภาคประชาชน นักวิชาการต่างๆ ผู้ใช้แรงงาน เพื่อแสดงจุดยืน จาทุกส่วนของสังคม ให้เห็น ว่าความมีอิสระของสื่อจำเป็นต้องคงไว้ เพื่อเป็นความต้องการของประชาชน
โดยในวันเสาร์ ที่ 17 ก.ย.นี้ กลุ่มเฟรนด์ ออฟ มติชน จะมีการระดมสมองที่ ศูนย์ศึกษาวิภาวดี มหาวิทยาลัยรังสิต อาคาร ทีเอสที ถ.วิภาดีฯ9 ตรงข้ามมหาวิทยาลัย เซนต์จอห์น เพื่อแสดงความคิดเห็น ตลอดจนหามาตรการเพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นสื่อ อิสระ เนื่องจากมติชน เป็นหนังสือพิมพ์คุณภาพ เคียงข้างประชาชนมาโดยตลอด นางสาววิภา กล่าวต่อว่า ทางกลุ่มต้องการสื่อสารให้สังคมเล็งเห็นผลเสียของ กลุ่มสื่อ ที่มีกลุ่มทุนเข้ามาเกี่ยวข้องในธุรกิจ ซึ่งมีความแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ เนื่องจากสื่อ สารมวลชนต้องมีอิสระ เสรีภาพ ในการนำเสนอข้อเท็จจริง ให้สังคมรับรู้ความเป็นไปของ สังคม ดังนั้นสังคมจึงควรสะท้อนอุดมการณ์ ความเป็นสื่อเพื่อประชาชนไว้ เนื่องจากที่ผ่าน มาได้สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์กรณีไอทีวี ที่ถูกครอบงำด้วยกลุ่มทุนการเมือง โดยใน ที่สุดชัดเจนว่าได้กลายเป็นบริษัทของกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจใน ครอบครัวของตระกูลชินวัตร
สมาคมนักข่าวฯ ระดมสมองกู้เสรีภาพสื่อ
อย่างไรก็ตามในวันนี้ (พฤหัส 15 ก.ย.) เวลา 10.00 น. สมาคมนักข่าวนัก หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมผู้สื่อ ข่าวเศรษฐกิจ ขอเชิญสื่อมวลชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เข้าร่วมฟังการเสวนาใน กิจกรรม ราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ 22 ประจำปี 2548 หัวข้อ "มองปรากฏการณ์ แกรมมี่ ซื้อ หุ้นโพสต์-มติชน ธุรกิจการเมือง และเสรีภาพสื่อมวลชน?" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือ พิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน ตรงข้าม โรงพยาบาลวชิระ วิทยากรร่วมเสวนาประกอบด้วย นายมานิจ สุขสมจิตร อดีตประธานสภาการ หนังสือพิมพ์แห่งชาติ ดร.พันธ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ คณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ที่ปรึกษา สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ดร.เจษฎ์ โทณวนิก คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และนายพิภพ ธงไชย คณะกรรมการรณรงค์เพื่อ ประชาธิปไตย
ด้านความเคลื่อนไหวในมติชน วานนี้(14 ก.ย.) นายพิเชียร คุระทอง บรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์มติชน ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นโฆษกเพื่อสื่อสารกับ สาธารณชน ซึ่งนายพิเชียร กล่าวว่า เมื่อวานนี้ (14 ก.ย.)ได้มีผู้อ่านและประชาชนจำนวน มากโทรศัพท์และส่งแฟกซ์เข้ามาแสดงความเห็นใจ นอกจากนี้ยังได้มีศิษย์เก่ามติชน นาง นิตินันท์ ยอแสงรัตน์ ได้นำหุ้นเข้ามามอบให้นายขรรค์ชัย บุนปาน เพื่อแสดงเจตจำนงค์เพิ่ม สัดส่วนการถือหุ้นให้มติชน และมีอดีตพนักงาน ซึ่งถือหุ้นมติชนหลายพันหุ้น โทรศัพท์เข้า แสดงเจตจำนงค์ ที่จะร่วมประชุมผู้ถือหุ้น และอยู่ฝ่ายข้างนายขรรค์ชัย
วันเดียวกันนายขรรค์ชัย ได้เรียกประชุมผู้บริหารหนังสือพิมพ์ในเครือมติชนทั้ง หมดเพื่อชี้แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในมติชน ขอให้พนักงานทุกคนมีขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนต่อไป
กลุ่มทุนเทกโอเวอร์ผูกขาดอิสระสื่อ
แหล่งข่าว จากนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน กล่าวว่าการเข้าไปซื้อหุ้นมติชน ของ นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ผ่านบริษัทจีเอ็มเอ็ม มีเดีย โดยตั้งเป้าหมายไว้สูง 75% เป็น การเข้าไปเทกโอเวอร์แบบล้ำลึก โดยไม่ผ่านการเจรจากับผู้ก่อตั้งที่เป็นผู้ถือหุ้นหลัก แม้ว่า การเข้าไปถือหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯจะเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ก็ ตาม จึงมีข้อสงสัยถึงวัตถุประสงค์ของการเข้าไปซื้อหุ้นในครั้งนี้ เพราะภาพลักษณ์ของ หนังสือพิมพ์มติชน เป็นฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล ทำให้สามารถถูกมองเป็นเรื่องการเมือง ได้
การเข้าไปซื้อกิจการสื่อของกลุ่มทุน จะทำให้บทบาทของสื่อมวลชนเปลี่ยนไป โดยเฉพาะ สื่อหนังสิ่งพิมพ์ ที่ต้องอาศัยความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อ ประชาชน นอกจากนี้การซื้อกิจการของกลุ่มทุนในสื่อจะส่งผลกระทบต่อการรับรู้ข้อมูลข่าว สารของประชาชน ทั้งสิทธิการรับรู้ข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง รวมทั้งทำให้เกิด อำนาจผูกขาดด้านสื่อ และข้อมูลข่าวสาร
{xtypo_quote}การที่สื่อไม่สามารถเป็นกลาง หรือทำหน้าที่ได้ เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เพราะสื่อทำหน้าที่ แทนประชาชน ด้านการตรวจสอบ หากขาดจุดยืนในส่วนนี้ไป สื่อก็จะขาดความน่าเชื่อ ถือ และจะส่งผลกระทบต่อยอดขาย และธุรกิจในอนาคต{/xtypo_quote} แหล่งข่าว กล่าวการที่กลุ่มทุนอย่างแกรมมี่ อ้างว่าต้องการเข้าไปลงทุนในเครือมติชน เพื่อวัตถุประสงค์ใน การทำธุรกิจนั้น ต้องดูว่าเป็นการเข้าไป Monopoly หรือเปล่า และเป็นการผูกขาดโดยกลุ่ม ทุนที่มีเบื้องหลังหรือไม่ การที่กลุ่มทุนจะเข้าไปถือหุ้นธุรกิจสื่อ จะต้องเข้าใจรูปแบบการทำ งานของสื่อด้วยว่าต้องมีความเป็นอิสระสูงในการเสนอข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นธุรกิจสิ่งพิมพ์ไม่ น่าจะกลุ่มที่ทำกำไรได้ดีเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ ที่แกรมมี่ดำเนินการอยู่
ศึกษากฎหมายลูกมาตรา41 คุ้มครองสื่อ
แหล่งข่าวนักวิชาการด้านกฎหมาย กล่าวว่า ขณะนี้นักวิชาการด้านกฎหมาย กำลังศึกษาโมเดลกฎหมายที่เป็นมิติด้านความเป็นอิสระ และแนวทางการคุ้มครองนักข่าว จากประเทศสหรัฐ ฝรั่งเศส และเยอรมัน แต่หลังเกิดกรณีกลุ่มทุนแกรมมี่ ซื้อกิจการหนังสือ พิมพ์เครือมติชน ทำให้ต้องเร่งศึกษาโมเดลสัดส่วนการถือครองหุ้นสื่อของกลุ่มทุนที่เหมาะ สมด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการครอบงำสื่อ
ที่ผ่านมากลุ่มนักวิชาการไม่ได้มองประเด็นนี้ เป็นประเด็นหลักในการเร่งศึกษา เพราะไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์กลุ่มทุนเข้ามาซื้อหุ้นสื่อเร็วขนาดนี้ หลังจากเกิดกรณีกลุ่ม ชินฯ ซื้อหุ้นไอทีวี
โดยในสัปดาห์หน้าจะเชิญผู้ประกอบการกลุ่มสื่อ นักวิชาการด้านสื่อ และนัก ข่าว มาพูดคุย เพื่อศึกษาข้อมูล และรวบรวมนำเสนอสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศไทยอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้
ปัจจุบันหากพิจารณา กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับความเป็นอิสระของสื่อ คือ มาตรา 41 ที่ว่าด้วย พนักงาน หรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ กระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าว และแสดงความคิดเห็นภาย ใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของ รัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบ วิชาชีพ
ทั้งนี้กรณีที่กลุ่มทุนเข้าไปซื้อกิจการสื่อด้วยสัดส่วนสูง เป็นไปสูงว่ากลุ่มทุนจะ เข้ามากำหนดทิศทางการนำเสนอข่าวสาร และเกิดการครอบงำ แต่ขั้นตอนการพิสูจน์เรื่อง ความเป็นอิสระในการเสนอข่าวสารในประเทศไทย เป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก และหากมีการ ฟ้องร้องกันในศาล ก็มักไม่นำเอากฎหมายรัฐธรรมนูญมาตีความ
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า แนวทางการคุ้มครองสื่อให้มีความอิสระด้านการนำเสนอ อาจจะต้องพิจารณาจัดทำกฎหมายลูกของมาตรา 41 ที่จะมาช่วยคุ้มครองแรงงานในกลุ่มนี้ รวมทั้งกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นที่เหมาะสมของกลุ่มทุนในสื่อ