“วัคซีน” ความหวังฝ่าวิกฤติโควิด-19

หัวใจสำคัญของการหยุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้คือ “วัคซีน”  แต่ที่ผ่านมาการกระจายวัคซีน ของรัฐบาล เป็นไปอย่างล่าช้า หลายหน่วยงานแย่งบทบาททำหน้าที่ซ้ำซ้อนในการกระจายวัคซีน  ทำให้เกิดหลายช่องทางในการลงทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีน นอกจากนี้ยังมีการลัดคิวในการฉีดวัคซีน นำไปสู่ตัวเลขของผู้ป่วยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ กระจายวัคซีนของรัฐบาลช่วงที่ผ่านมา  ถูกดึงไปยังกลุ่มอื่นๆ มากกว่ากลุ่มบุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุข และกลุ่มผู้สูงวัย  ซึ่งหลังมีการคิกออฟ  ฉีดวัคซีนครั้งแรกอย่างเป็นทางการของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน  บรรยากาศก็เต็มไปด้วยความโกลาหล  ทั้งวัคซีนไม่พอฉีด การลงทะเบียนที่ประชาชนต้องฝ่าฟันทุกช่องทาง การเลื่อนนัดฉีด การฉีดวัคซีนให้กับประชากรกลุ่มต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่ ถูกปรับเป้าหมาย…”

มุมมองของ “อาร์ท”  เอกรัฐ ตะเคียนนุช ผู้สื่อข่าวสายการเมือง ช่อง ONE 31   กรณีปัญหาศูนย์วัคซีนสถานีกลางบางซื่อ  กำลังสะท้อนการกระจายวัคซีนของภาครัฐที่ล้มเหลวหรือไม่  โดยอาร์ทเล่าว่า หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ทำข่าวติดตามบรรยากาศการเริ่มฉีดวัคซีนอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนเฉพาะกลุ่ม  ตอนนั้นยังไม่พบปัญหามากนักเนื่องจากเป็นคนกลุ่มน้อย  จนถึงวันที่มีการประกาศฉีดอย่างเป็นทางการคือวันที่ 7 มิถุนายน ที่สถานกลางบางซื่อ และ 25ศูนย์ฉีดวัคซีนกทม.

ภาพของประชาชนจำนวนมากแห่ไปกระจุกแน่นที่สถานีกลางบางซื่อ จนมีคำถามว่าทำไมไม่ถ่ายเทคน  กระจายไปยัง 25 ศูนย์ฉีดวัคซีนกทม. แต่ทั้งหมดติดปัญหาที่สังกัดความรับผิดชอบคนละหน่วยงาน  ยิ่งเมื่อ 25 ศูนย์ฉีดวัคซีนกทม. ไม่เพียงพอ ทั้งถูกเลื่อนผลัดวันไปเรื่อยๆ  วัคซีนไม่ได้ถูกแบ่งมาเติมที่25 จุด  ทำให้ผู้ที่ลงทะเบียนผ่านไทยร่วมใจแล้วต่างก็เปลี่ยนแผนไปวอล์คอินรอเข้าแถวฉีดที่สถานีกลางบางซื่อไม่ดีกว่าเหรอครับ   โดยเฉพาะประเด็นดราม่าภาพคนไปรอที่สถานีกลางบางซื่อล่าสุด  มันสะท้อนอะไรบางอย่างของการบริหารงานที่ล้มเหลว

ทั้งนี้ ปัญหาอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงคมนาคม    ในขณะที่25 ศูนย์ฉีดวัคซีน เป็นของกรุงเทพมหานคร ดูแลโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ตรงนี้ประชาชนจะไม่ค่อยรับทราบเท่าไหร่   เหมือนไม่เป็นปัญหาแต่สุดท้ายก็กลายเป็นปัญหา  เพราะดูแลกันคนละหน่วยงาน  อีกทั้งมองว่าปัญหามันหนักหน่วงตรงที่เปิดให้ฉีดวัคซีนด้วยการวอล์คอิน   หากย้อนดูประกาศของกระทรวงสาธารณสุขจะเห็นว่ามีการระบุชนิดวัคซีนอย่างชัดเจนว่าเป็นเอสตร้าเซนเนก้า ขณะที่วัคซีนของกทม.กลับไม่ระบุชนิด  ส่วนตัวผมมองว่าเรื่องของ คุณภาพวัคซีนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนมีความต้องการฉีดวัคซีนเอสตร้าเซนเนก้าค่อนข้างสูง  ประกอบการคนต่างจังหวัดในพื้นที่สีแดงเดินทางเข้ามาฉีดวัคซีนที่กรุงเทพต่อเนื่องคำสั่งงดเว้นการเดินทางแทบจะไม่มีผลเลย 

ในฐานนะนักข่าวการเมืองมองว่าคำสั่งล็อคดาวน์  อาจเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด หลังจากได้มีโอกาสพูดคุยกับ พอดีผมมีโอกาสได้พูดดคุยกับศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติ​ใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทีมแพทย์ต่างมีความกังวลว่าการล็อคดาวน์ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมองว่าเป็นเหมือนภาวะตู้อบเชื้อ  การที่ห้ามคนออกนอกเคหะสถาน ให้คนอยู่บ้านมันเกิดภาวะเหมือนตู้อบแล้วมันเกิดการติดเชื้อกันไปมาภายในครอบครัว ภายในออฟิต  อยากเสนอให้มีโมเดลคือแยกเชื้อออกมา  เพื่อทำการปูพรมตรวจเชิงลึกทุกคนแต่มันก็เป็นไปได้ยากมาก จึงเป็นที่มาของชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท  ซึ่งยังไม่ตอบโจทย์และไม่ทั่วถึงมากพอ 

อาร์ททิ้งท้าย  ย้ำว่าการล็อคดาวน์ 24 ชั่วโมงหรือการนำอู่ฮั่นโมเดลมาปรับใช้ในบ้านเรา เป็นไปได้ยากเพราะ เราไม่สามารถสั่งห้ามเอกชน หรือห้ามการเดินทางออกนอกบ้านได้ อีกทั้งขนาดประชากรและพื้นที่ประเทศไทยกับอู่ฮั่นก็ต่างกัน  หากรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาอย่างจริงใจควรแก้ด้วยวัคซีน  ที่ต้องจัดหามาฉีดให้ประชาชนอย่างครอบคลุมและรวดเร็วที่สุด

ติดตามรายการ “ช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น. เป็นความร่วมมือของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคลื่นข่าว MCOT News FM 100.5

#ช่วยกันคิดทิศทางข่าว

#สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

#สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ #Thaijournalistsassociation