“ ปัจจัยที่ผมบอกไปสองเรื่องคือ ราคาพลังงานกับราคาสินค้า สิ่งสำคัญที่สุดคือราคาน้ำมัน เพราะราคามันน้ำในปัจจุบันมีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ถ้าติดตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ตอนนี้ถือเป็นปัจจัยภายนอกประเทศ ที่ยากต่อการควบคุม ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกใกล้แตะ 100ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพราะความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจดีดตัวเพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้เราเคยประสบการแล้วช่วงน้ำมันพุ่งทะลุเกิน 100เหรียญ หากน้ำมันพุ่ง ราคาน้ำมันขายปลีกทั่วโลกก็จะได้รับผลกระทบ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น ….”
เราอาจจะต้องกลับเข้าสู่ยุคที่ขี่ม้าไปทำงาน หรือหาฟืนเพื่อทำกับข้าวหุงหาอาหารกันจริงๆแล้วก็ได้ เพราะสถานการณ์บ้านเราในขณะนี้ มันเป็นอย่างที่ทุกคนทราบว่าราคาสินค้า ข้าวของทุกอย่างมันถูกปรับขึ้นทุกรายการ วสวัตต์ โอดทวี ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจนโยบาย ฐานเศรษฐกิจ ยอมรับว่า วิกฤติน้ำมันแพง ยังคงลากยาวมาต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคกำลังเผชิญกับวิกฤตค่าครองชีพภายหลังสถานการณ์ราคาพลังงาน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบตลาดเบรนต์ ปรับขึ้นอีก
สำหรับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพของทุกคนที่ต้องใช้ มีการปรับเพิ่มเกือบทุกรายการ เดิมทีหากย้อนไปดูสถิติจริงๆแล้ว ราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้นเป็นตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แต่การปรับเพิ่มขึ้นแต่ละช่วงเวลามีผลกระทบที่แตกต่างกัน ในช่วงนี้อาจมีปัญหาเรื่องสถานการณ์โควิด-19เข้ามาด้วย ดังนั้นเมื่อมีอะไรปรับราคาขึ้นมาอย่างหนึ่ง จึงส่งผลกระทบต่อรายได้ โดยเฉพาะผู้ที่ว่างงานแน่นอนพอมีอะไรปรับขึ้นราคามันจะส่งผลกระทบต่อเดือดร้อนคูณสอง
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยตัวเลขข้าวของแพง เป็นไปตามที่ผู้บริโภคสะท้อนว่าสินค้าทุกอย่างแพงขึ้นจริง เพราะมีการปรับราคาเพิ่มมากกว่า 2.5% เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อหมู รวมถึงราคาน้ำมัน
ทั้งนี้ สินค้าส่วนใหญ่ที่กระทรวงพาณิชย์รายงานเป็นสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 63% ราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5% จึงทำให้หลายๆคนโดยเฉพาะผู้ที่ออกไปจับจ่ายตลาดทุกวัน รู้เลยว่ามีการเปลี่ยนแปลง และมีผลกระทบต่อชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยจริงๆ เมื่อต้นทุนต่างๆมันแพง ภาระทุกอย่างจะถูกผลักมาตกที่ผู้บริโภคทั้งดหมด
ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยการคาดการณ์เงินเฟ้อ สินค้าเตรียมขึ้นราคาคาดว่าน่าจะมีทิศทางที่ปรับเพิ่มขึ้น และเป็นอัตราระยะยาว ซึ่งมาจากปัจจัย2เรื่องหลักๆ คือราคาพลังงาน และราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น สองเรื่องนี้กระทบกับกลุ่มที่มีรายได้น้อย ส่วนกลุ่มผู้ที่มีเงินเดือน ข้าราชการ อาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เมื่อเทียบกับผู้ที่ประกอบอาชีพหาเช้ากินค่ำ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แม้ว่ารัฐจีมาตรการต่างๆเข้าไปช่วย มีการปรับเพิ่มวงเงินให้ แต่สิ่งเหล่านี้มันเป็นการประคับประคองระยะสั้นๆเท่านั้น การให้เงินช่วยเหลือต่างๆ มันเป็นมีต้นทุนที่สูง ซึ่งต้นทุนเหล่านั้น ย่อมเกี่ยวข้องกับงบประมาณ และปัจจุบันเรามีงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัด ที่ผ่านมามีการกู้เงินมาเพื่อชดเชยการขาดทุนอยู่เป็นระยะ ก็จะส่งผลถึงเรื่องของเศรษฐกิจมหภาคด้วย
วสวัตต์ ระบุว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคานั้นพุ่งในตลาดโลก โดยเฉพาะเรื่องราวความขัดแย้งในประเทศตะวันออกกลางยังไม่คลี่คลาย ซึ่งจะยิ่งดันราคาน้ำมันให้พุ่งสูงขึ้นออกไปอีก มีการคาดการณ์จากโอเปก หรือกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก ว่าความต้องการใช้น้ำมันในปีนี้ จะเพิ่มขึ้นอีกวันละ 4.16 ล้านบาร์เรลจากปีที่แล้ว ที่ใช้อยู่วันละ 100.79 ล้านบาร์เรล
สัปดาห์ที่ผ่านมาได้พูดคุยกับนักวิชาการอิสระ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานน้ำมัน ยอมรับหลังจากนี้ว่าต้องจับตาดูสถานการณ์หลักๆ คือราคาน้ำมันดิบ หากราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นอีก 10เหรียญ เฉลี่ยแล้วอาจจะทะลุ100 ได้ เมื่อถึงเวลานั้นเชื่อว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าจับตาอย่างยิ่งว่าจะกระทบกับเรื่องของราคาน้ำมันในประเทศที่จะปรับเพิ่มขึ้น แต่หากวันที่15 กุมภาพันธ์นี้ ครม.มีการประชุม เพื่อปรับลดภาษีสรรพสามิต น้ำมันดีเซล ลดลงประมาณลิตรละ 3 บาท อาจจะช่วยแบกรับภาระของผู้บริโภคและผู้ประกอบการได้ส่วนหนึ่ง จากกรณีที่มีกลุ่มผู้ชุมชนรถบรรทุก เรียกร้องให้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ลิตรละ 25 บาท แต่หากจะลด3 บาทต้องดูกันอีกทีว่าครม.จะยึดที่3 บาท หรือว่า ให้มากกว่านั้น แต่ว่าเบื้องต้นน่าจะลดให้3 บาท เพราะ5 บาทมันอาจจะเยอะไป แต่หากรัฐบาลลดให้ 5 บาท มันจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ เพราะภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ถือว่าเป็นภาษีอันดับต้นๆ ที่เป็นการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล
นอกจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มที่กระทรวงการคลังเสนอลดสรรพสามิต ยังมีมาตรการบรรเทาเพื่อลดค่าครองชีพ คงต้องรอดูการประชุม ครม.อังคารนี้ ว่ามาตรการต่างๆจะเป็นอย่างไร คาดหวังว่าจะเป็นข่าวดีเพราะใจว่าทุกคนเดือดร้อนกันหมด
ในส่วนการปรับขึ้นค่าแรง ทุกคนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในเมื่อมีการปรับขึ้นราคาสินค้า ก็ต้องมีการปรับขึ้นค่าแรง แนวโน้มในเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงต้องดูผู้ประกอบการช่วงนี้ทนได้หรือไม่ ยิ่งเราไปดูอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าคนซื้อสูง คนไม่จับจ่าย พอจับจ่าย สินค้าผลิตออกมาขายไม่ได้ สุดท้ายแล้ว ค่าแรงมันน่าจะซ้ำเติมเศรษฐกิจอีก
หากใครจำได้ในช่วงที่ผ่านมา จำนวนแรงงานบ้านเราได้รับผลกระทบโควิดเป็นอย่างมาก ค่าแรงจะอยู่กลุ่มในระบบเท่านั้น ยังมีคนส่วนใหญ่ที่หลุดออกจากระบบแรงงาน คนกลุ่มนี้ไม่มีค่าแรงเป็นรายเดือนแล้ว ส่วนใหญ่เป็นการประกอบอาชีพอิสระ ผมว่าส่วนนี้สำคัญมากที่ภาครัฐจะต้องช่วยเหลือ ในการหาช่องทางหารายได้และพัฒนาทักษะต่างๆ ที่สำคัญคือคนที่มีรายได้น้อย กลุ่มที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ มีรายได้ เกณฑ์ต่ำที่สุดที่ใช้บัตรสวัสดิการปีหนึ่งไม่ถึง3หมื่นบาท กลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มที่รัฐจะต้องเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผย สถานการณ์แรงงานไทย มีตัวเลขของกลุ่มผู้เสมือนว่างงาน คือกลุ่มที่ทำงานไม่เต็มเวลา มี2กลุ่มหลักๆแยกออกมาคือ กลุ่มคนที่ทำงานภาคเกษตรกรรม และกลุ่มคนทำงานนอกภาคเกษตรกรรม กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นผู้ที่ตกงานในอนาคต มี 3 อาชีพคือ เกษตร ป่าไม้ ประมง เป็นตัวเลขที่น่าจับตาดูอย่างยิ่งว่า จะช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง
วสวัตต์ ฝากทิ้งท้ายอีกเรื่องคือ อยากให้ทุกคนช่วยจับตามองมาตรการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพง ที่ภาครัฐได้อนุมัติงบ กว่า 1,480 ล้านบาท เพื่อจัดทำรถโมบายลดค่าครองชีพ อยากรู้ว่ามีใครพบเห็นรถโมบายเหล่านี้ขับเข้าไปขายสินค้าในหมู่บ้านแล้วหรือไม่ ซึงอาจจะเห็นในบางหมู่บ้าน สำหรับมาตรการนี้มีกำหนด 90 วัน คงต้องรอดูว่ามาตรการนี้จะใช้ได้ผลหรือไม่