เบื้องหลัง “วอลเลย์บอลหญิงไทย” เขย่าวงการนักตบลูกยางโลก

“กีฬาวอลเลย์บอล คนที่ตัวสูงกว่าจะได้เปรียบ ยิ่งถ้าเป็นพวกฝรั่ง แต่ของไทยจะเน้น เรื่องความคล่องแคล่ว เล่นความเร็วในการจ่ายบอล หรือความเหนียวในเรื่องของเกมรับ ตรงนี้จะเป็นจุดเด่นของทีมจากเอเชีย”

วอลเลย์บอลจัดว่า เป็น 1 ในกีฬาที่ได้รับความนิยม อันดับต้นๆ โดยในประเทศไทย กว่า 80 ปีที่ผ่านมา กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจําปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิง ไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในปี 2477 พร้อมทั้งระบุในหลักสูตร ของโรงเรียนพลศึกษากลาง เป็นวิชาบังคับ ให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอล

​ธนะสิน แก้วนิล ผู้สื่อข่าวสายกีฬา SMMSPORT บอกเล่าถึงประสบการณ์ ทำข่าวที่ได้เห็น การเปลี่ยนผ่าน ของวอลเลย์บอลทีมชาติไทย ในช่วง 10 ปีว่า

ในอดีตเราพยายามสร้างดรีมทีม สร้างนักกีฬาชุดใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะไปแข่งขันในแมตช์นานาชาติ ​ทีมวอลเลย์บอลชุดปัจจุบัน เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย สุดท้าย “วอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก 2022” (VNL 2022)เป็นครั้งแรก เป็นการสร้างประวัติศาสตร์

ที่ผ่านมาไทยไม่เคยมาถึงจุดนี้ได้เลย ความจริงไทยเคยเข้ารอบสุดท้าย ของการแข่งขัน เวิลด์กรังด์ปรีซ์ มาก่อนหน้านี้ 3 ครั้ง

ในปี 2010 , 2011 และปี 2012 แต่เราเคยเข้าแข่งขัน ในปี 2011 และปี 2012 และ ปี 2016 ซึ่งเราเป็นเจ้าภาพในรอบสุดท้าย นั่นคือในชื่อเดิม แต่เมื่อมาเปลี่ยนเป็น VNL เราก็เพิ่งจะเข้าเป็นครั้งแรก ซึ่งปีนี้ประจวบกับที่นักกีฬาของเรา ไปเล่นลีกต่างประเทศหลายคน เมื่อกลับมาก็ได้ประสบการณ์ แล้วมารวมตัวกัน จึงทำให้ผลงานออกมาได้ดี ในสนามรอบนี้

​รายการเนชั่นส์ลีก เริ่มแข่งขันตอนแรก ตั้งแต่ปี 2018 ชื่อเดิมคือ “เวิลด์กรังปรีซ์” จัดมานานเกือบจะ 20 ปีแล้ว เป็นแมตช์ระดับโลก ไม่ใช่ระดับเอเชียหรือระดับอาเซียน เราไปเจอคู่แข่งที่ค่อนข้างหนักอยู่แล้ว การไปเล่นแต่ละปี เหมือนกับไปเข้าร่วมแข่งขัน ถ้าหากชนะเราก็ดีใจ แต่ถ้าแพ้ก็ถือว่า เป็นประสบการณ์ที่ดี

​หลังจากนั้น มีการปรับระบบการแข่งขันใหม่ ปรับรูปแบบใหม่ ปรับโลโก้ ปรับแบรนด์ ปรับวิธีการเล่นในปี 2018 เป็นต้นมา ตลอดการแข่งขัน มาถึง ปี 2019 และในปี 2021 (ส่วนปี 2020 ไม่มีการแข่งขัน เนื่องจากสถานการณ์โควิด) ทีมไทยได้ไปเล่นในปี 2021 เป็นยุคปลายๆของนักกีฬารุ่นพี่แล้ว ผลงานของเราอาจจะ ค่อนข้างตกลงไปบ้าง

นักกีฬาของไทยค่อนข้างลงตัว กับตำแหน่งครบพอดี ที่เรียกว่า “7 เซียน” คือ ผู้เล่น 6 คนและตัวรับอิสระ 1 คน เป็นชุดที่ประสบความสำเร็จ มากที่สุดชุดหนึ่ง ของทีมชาติไทยในปัจจุบัน เป็นนักกีฬาที่รวมตัวกันฝึกซ้อม ภายใต้การนำของโค้ชอ๊อด เมื่อนักกีฬาแกร่งขึ้น จึงได้พาทีมไปแข่งขัน ในระดับนานาชาติ

​ในช่วงแรกผลงานอาจจะไม่ค่อยดี เมื่อเจอคู่แข่งระดับโลก เช่น บราซิล , อิตาลี , อเมริกา จึงเป็นเรื่องปกติที่เราแพ้ แต่ช่วงหลังเราได้พัฒนาฝีมือให้ดีขึ้น จนกระทั่งสามารถ ประสบความสำเร็จในระดับเอเชีย ซึ่งการได้แชมป์เอเชียปี 2019 และเฉียดๆที่จะได้ไปโอลิมปิกในปี 2012 จนกระทั่งมีบูมจริงๆคือในปี 2013 เราได้แชมป์เอเชีย ที่ จ.นครราชสีมา เป็นการปลุกกระแสได้ดีที่สุด

​สำหรับการขึ้นมาเป็นนักกีฬาทีมชาติ ในช่วงก่อนหน้านี้ อาจจะไม่ได้มี ทัวร์นาเมนต์ในเมืองไทยเยอะ แต่ภายหลังประเทศไทยมีระบบ วอลเลย์บอลลีกอาชีพมากขึ้น และวอลเลย์บอลตามโรงเรียน ของไทยหลายที่ เริ่มทำทีมวอลเลย์บอลมากขึ้น พอหลายโรงเรียน หลายภูมิภาคทำทีมโรงเรียน ทำให้การคัดเลือก และหานักกีฬาง่ายมากขึ้น

​ โดยสมาคมฯจะเรียกตัวไปฝึกซ้อม คล้ายๆกับกีฬาฟุตบอล เมื่อก่อนไทยไม่มีลีกอาชีพ มารองรับให้นักกีฬาของเรา มีแมตช์ลงแข่งขัน แต่ปัจจุบันมีลีกอาชีพ นักกีฬาเราสามารถ เล่นวอลเลย์บอล เป็นอาชีพได้ เราเห็นนักกีฬาไปเล่น ตามสโมสรต่างๆ ก็เป็นเรื่องง่ายที่ทางสมาคม หรือทีมงานหรือทีมชาติ เรียกตัวเข้ามา ปัจจุบันถือว่า ระบบการทำทีมชาติ อิงกับระบบอาชีพมากกว่ายุคก่อน

​ปัจจุบันที่เราเห็น เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชุดใหม่ หลายคนเคยติดทีมชาติมาก่อน เคยเป็นตัวสำรองของรุ่นพี่ๆมาก่อน พอเป็นนักกีฬาผลงานดีในโรงเรียน แข่งขันในแมตช์โน้นแมตช์นี้ ก็มีโอกาสขึ้นมาเล่นในลีกอาชีพ กับสโมสรใหญ่ๆดังๆในเมืองไทย หรือว่าอาจจะได้ไปเล่นลีกในต่างประเทศ

​เช่น ชัชชุอร โมกศรี และอัจฉราพร คงยศ เล่นในลีกตุรกี ซึ่งเป็นลีกอันดับต้นๆที่โดดเด่นที่สุดในโลก เพราะมีงบประมาณสูง สามารถซื้อตัวนักกีฬาดังๆ เข้ามาในลิสต์ของเขาได้ ขณะที่ตัวนักกีฬาของเขา ซึ่งเป็นคนตุรกีและคนอิตาลี ฝีมือดีอยู่แล้ว อีกทั้งเขาได้แชมป์สโมสรโลก มีนักกีฬาดังๆเข้าไปเล่นที่นั่น หรือพรพรรณ เกิดปราชญ์ และทัดดาว นึกแจ้ง ก็เคยเล่นในลีกญี่ปุ่น ซึ่งเป็นลีกเบอร์ต้นๆของเอเชีย

​การก้าวเข้ามาของนักกีฬา ประจำจังหวัดสู่ทีมชาติ นักกีฬาเข้าระบบของโรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ถ้ามาจากต่างจังหวัด ครอบครัวก็จะสนับสนุน อยากให้เล่นวอลเลย์บอล เพราะเป็นช่องทางช่องที่ทำให้ ลูกไปโรงเรียน พ่อแม่ก็อาจจะสบายใจในระดับหนึ่ง โรงเรียนวอลเลย์บอล จะเป็นโรงเรียนประจำแบบกินนอน ให้นักกีฬาอยู่กับคุณครู

​ดูแลทั้งเรื่องอาหาร , การฝึกซ้อม ,ได้เรียนหนังสือ ตอนเช้าต้องตื่นมาฝึกซ้อม พอซ้อมเสร็จสายๆก็เข้าเรียนหนังสือ พอเรียนเสร็จกลับมาตอนเย็น ก็ซ้อมหรือทำการบ้าน ซึ่งระบบนักกีฬาไทย น่าจะเจอกันแทบทุกคนอยู่แล้ว โรงเรียนธรรมดาที่เป็น โรงเรียนทีมวอลเลย์ดังๆ ก็ทำแบบนี้กันเกือบทั้งหมด นักกีฬาบางคน ที่เจอแบบนี้มาซ้ำๆ ตั้งแต่ม.1- ม.6

​บางคนที่มุ่งมั่น กับการเล่นวอลเลย์บอล เขาก็ต่อยอดเข้ามหาวิทยาลัย ก็ยังเล่นวอลเลย์บอลอยู่ โดยเล่นกีฬาให้กับมหาวิทยาลัย หรืออาจจะเลือกเล่นลีกอาชีพ หรือถ้าผลงานดีในช่วงระดับมัธยม ก็อาจจะมีสโมสรดังๆ จากต่างประเทศซื้อตัวไปเล่น เป็นต้น ซึ่งเป็นเส้นทางที่แตกต่างกันไป

​แต่จะมีบางคนที่บอกว่า เจอลักษณะแบบนี้มา 6 ปี พอเข้ามหาวิทยาลัย ระบบระเบียบไม่เข้มงวด เหมือนกับสมัยมัธยม ทำให้นักกีฬาบางคน อาจจะมีนอกเส้นทางไปบ้าง หรือไปไม่ถึงตามฝัน จำนวนมากเหมือนกัน ฉะนั้นคนที่จะขึ้นมาถึงจุดนี้ได้ โดยเฉพาะทีมชาติไทยชุดนี้ ผมมองว่ามุ่งมั่นตั้งใจ ในการฝึกซ้อม และยังมีความฝันในการที่จะเล่นวอลเลย์บอล

​ “กีฬาวอลเลย์บอล คนที่ตัวสูงกว่าจะได้เปรียบ ยิ่งถ้าเป็นพวกฝรั่งสูงๆ แต่ของไทยจะเน้น เรื่องความคล่องแคล่ว เล่นความเร็วในการจ่ายบอล หรือความเหนียวในเรื่องของเกมรับ ตรงนี้เป็นจุดเด่นของทีมจากเอเชีย เช่น ไทยกับญี่ปุ่น ทำให้บรรดาพวกทีมใหญ่ๆ ปวดหัวเหมือนกัน เวลาเจอกับทีมไทย”

​ปัจจุบันเป็นยุคของโซเชียล นักกีฬาของไทยค่อนข้างที่จะขี้เล่น เห็นกล้องไม่ได้ จะหยอกล้อชู 2 นิ้ว โชว์ความน่ารัก ด้วยความที่เป็นคนไทย เรื่องของความสดชื่น ความสดใส เรามีเป็นประจำอยู่แล้ว เมื่อเห็นกล้องเลยทำให้ทุกคน อยากจะแสดงออก ตรงจุดนี้เพื่อเป็นการผ่อนคลาย เพราะใครที่เล่นกีฬา ก็เครียดอยู่แล้ว ต้องหาทางระบาย แสดงออกเพื่อไม่ให้เรากดดัน หรือเครียด ผมคิดว่าตรงนี้เป็นจุดที่ดี

​“สิ่งแรกที่คนรุ่นใหม่ ซึ่งคิดจะเป็นนักกีฬาวอลเล่ย์บอล หรือกีฬาใดก็ตาม จะต้องเปิดใจก่อนว่า เราไปอยู่ตรงนั้น ต้องทำให้พ่อ-แม่ ญาติพี่น้องสบายใจ สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีความอดทน อยู่ในระเบียบวินัย หลังจากนั้นก็จะมีโอกาสอื่นๆตามมา เช่น ได้ลงแข่งขัน และถ้าพัฒนาฝีมือดีมากขึ้น ก็มีโอกาสได้เล่นทีมชาติ หรือลีกอาชีพแน่นอน หรือถ้าไม่ถึงขั้นนั้น ก็อาจจะได้เข้ามหาวิทยาลัยดีๆ มีงานทำหลังจากที่เรียนจบ”

ติดตาม “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคลื่นข่าว MCOT News FM 100.5