อัพเกรด “ทักษะออนไลน์เฟส3” ต่อยอดสัมพันธ์ “สมาคมนักข่าวไทย-ลาว”

“สื่อ สปป.ลาว ได้รับนโยบายหารายได้ด้วยตัวเองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพิ่มเติมจากการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ เพราะเศรษฐกิจใน สปป.ลาวไม่ดีเท่าที่ควร แต่การหารายได้ ผ่านออนไลน์นั้นไม่ง่าย ที่ผ่านมาอยู่ในกรอบเยอะ”

การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อ ด้านเทคโนโลยี สำคัญในยุคโลกไร้พรมแดน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ของ Technology เมื่อมี Internet ใช้ สามารถส่งข่าวจากที่ไหนก็ได้ ในทุกมุมโลก เป็นความสะดวกทางด้านการผลิตสื่อ

​สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสมาคมนักข่าวแห่ง สปป.ลาว ร่วมกันจัดทำ ”โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการเพิ่มรายได้ผ่าน Online Platform สำหรับสื่อมวลชนลาว” เพื่อเตรียมความพร้อม​พัฒนาทักษะ ปรับกลยุทธ์การทำงาน แนวคิดการหารายได้ผ่านช่องทางออนไลน์ให้กับองค์กรสื่อมวลชนใน สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 24-26 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ณ เมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทร์ สปป.ลาว จำนวน 30 คน

​คุณชุตินธรา วัฒนกุล สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ บอกกับ “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ว่า ​5 -10 ปีที่ผ่านมา โลกดิจิตอลมีการเปลี่ยนแปลงมาก ภูมิทัศน์สื่อก็เป็นหนึ่ง ในนั้นด้วย ประเทศไทยผ่านคลื่น การเปลี่ยนแปลงมากเช่นกัน ซึ่งสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ได้อบรมกันภายใน ติดตามการเปลี่ยนแปลง ทางด้านเทคโนโลยีตลอด เราคิดว่าความรู้ที่มี สามารถไปช่วยแชร์ กับสื่อมวลชนสปป.ลาว เพื่อให้มีความรู้ ในเรื่องของการผลิต Content ที่อยู่บน Platform Online

​“ปัจจุบันรัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายอยากจะให้ สื่อมวลชนในประเทศ หารายได้ด้วย เพราะเศรษฐกิจใน สปป.ลาวไม่ดีเท่าที่ควร แต่การหารายได้ ผ่านออนไลน์นั้นไม่ง่าย ที่ผ่านมาอยู่ในกรอบเยอะ เราไปครั้งนี้ก็เหมือนไปสร้าง Idea ให้เขาช่วย เขา Created พอ เขาเริ่มรู้ว่าทำได้ด้วยหรือ เช่น Platform TikTok ทำแบบนี้ ได้ด้วยหรือ ก็เลยทำให้เขาตื่นเต้นไปกับ การที่เรานำบทเรียนไปแนะนำ”

​แต่ต้องแบ่งด้วยว่า ในกลุ่มของสื่อ สปป.ลาว ที่เป็นองค์กรสื่อ มีรัฐสนับสนุนอยู่ กับกลุ่มที่เป็น Influencer หรือ YouTuber คนละกลุ่มกัน เชื่อหรือไม่ว่า 2 กลุ่มนี้ในสปป.ลาว เก่งมากหารายได้ได้ดีด้วย

​ตรงนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ นายชวรงค์ ปัทมปาณี ที่ปรึกษาสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตระหนักและเห็นความสำคัญ จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา รวบรวมบรรดาสมาชิก ของสมาคมฯ รวมทั้งหมด 7 คน เดินทางไป โดยใช้เวลาอบรม 3 วัน

​การไปครั้งนี้คุยกับนายชวรงค์ว่า จุดเริ่มต้นที่เราไปอบรมให้กับเขา อาจจะต้องให้เขา เห็นภาพการทำธุรกิจบน Online ด้วย แม้ว่าอาจยังทำไม่ได้ในช่วงต้น แต่จะเป็นการจุดประกาย ให้เห็นว่าอนาคต เขาต้องคิดถึงเรื่องธุรกิจด้วย จึงเป็นการอบรม เล่าให้ฟังในเรื่องของการหารายได้ และเรื่องของทฤษฎี

​วันถัดมาให้เขาจับกลุ่ม เราใช้ Model ที่เรียกว่า Business Model Canvas เป็นการทำให้ คนที่ต้องการทำธุรกิจได้เห็นว่า ความจริงแล้วถ้าตัวเอง คิดอยากจะทำธุรกิจอะไรขึ้นมาหนึ่งประเภท คุณต้องวิเคราะห์ก่อน ต้องรู้ว่าใครคือลูกค้าของคุณ และเงินจะมาจากทางไหน คุณมี Course อะไร ใครเป็น partner กับคุณได้บ้าง

​เรื่องนี้เป็นสิ่งใหม่ อาจจะต้องใช้เวลามากกว่านี้ เท่าที่เห็นและประเมินผล ทุกคนค่อนข้างสนใจ แต่ปัญหาคือเวลาที่เราลงไป จับเขาทำเรื่องปฎิบัติการ ในแง่มุมเรื่องของการคิดธุรกิจ ใช้เวลาไม่มาก อาจจะยังไม่ได้อะไรเท่าไหร่ แต่ก็เป็นการจุดประกาย เราให้เขาจับกลุ่ม 30 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มละ 6 คน

​ให้เขาระดมสมองว่าอยากจะทำเรื่องอะไร หลายคนมีไอเดียที่ดี ซึ่งพวกเราก็แปลกใจว่า ความจริงแล้ว เขามีพื้นฐานความคิด แต่ยังไม่มีใครไปสอน หรือให้คำแนะนำ ว่าต้องเริ่มต้นคิดอย่างไร สุดท้ายเราคิดว่า สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย อาจต้องจัดหลักสูตรต่อเนื่อง เพื่อที่จะทำให้การจุดประกายนี้ สามารถออกมาเป็นรูปธรรมได้

​ก่อนเดินทางไป เราทำการบ้านค่อนข้างเยอะ ว่าจะใช้ความรู้ที่สื่อไทย มีในเรื่องของการโฆษณาบนแพลตฟอร์มระดับ Google หรือ Facebook ได้หรือไม่ เพราะประเทศไทยค่อนข้าง Advance เช่น PPTV หรือ Nation ใช้การขายโฆษณา ผ่านสิ่งที่เรียกว่า Program Nitric หมดแล้ว เวลาเราขายโฆษณาบน Platform Online บน Website เราไม่ใช้คน แต่ใช้ Program คุยกับ Program ในเรื่องของการทำ Bidding ต่างๆเพื่อทำการซื้อขายโฆษณากัน ผ่านทาง Website

​แต่เมื่อเรามองกลับไปที่ สปป.ลาว ถ้าจะนำ Platform การขายโฆษณา ที่ Advance อย่างสื่อไทย ไปสอนเขาไม่ได้เลย เพราะปัญหาอุปสรรค คือ ตัว Global Platform ไม่มองตลาดสปป.ลาว ต่อให้เราไปสอนเขาได้ ก็ไม่มีโฆษณาจากต่างประเทศมาลง หรือแม้แต่ประเทศไทยเอง ตลาดภายในเรื่อง ของการขายโฆษณา ผ่าน Platform พวกนี้ ก็ยังไม่เกิด

​ขณะเดียวกันต้องมองด้วยว่า 1.องค์กรสื่อสปป.ลาว อยู่ในกรอบ ที่รัฐบาลบริหาร จัดการมาตลอด การจะปรับเปลี่ยนอะไรในเร็ววัน อาจจะเป็นไปไม่ได้ 2. Platform ต่างประเทศไม่รองรับ ในเรื่องของการโฆษณา ที่นานาประเทศใช้กัน ในระบบ Programmatic เราเลยต้องกลับมาคิดว่า จะทำอย่างไรให้องค์กรสื่อ สปป.ลาว สามารถหารายได้

​แต่ Global และ Platform ระดับโลก อย่าง Google และ Fcebook อาจจะยังไม่มอง สปป.ลาว เพราะมีประชากรประมาณ 7 ล้านคน แต่ใช้อินเตอร์เน็ตเพียง 3.5 ล้านคน มองภาพเห็นเลยว่า ทำไม Global Platform ของ Google หรือ Facebook ยังไม่มีแผน ที่จะมาทำตลาดใน สปป.ลาว

​ขณะที่ประเทศไทยมีทั้ง Google ประเทศไทย และ Facebook ประเทศไทย ที่เปิดบริษัทและช่วยเหลือ เรื่องของการจัดการ ทางด้าน Marketing Mix อาจจะมีเรื่องการขายด้วย ที่เขาเข้ามา

เนื่องจากประเทศไทย มีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มากกว่า 50 ล้าน เห็นถึงความแตกต่าง ระหว่าง 3.5 ล้านคนกับ 50 ล้านคนหรือไม่ สเกลต่างกันมาก อาจจะมองว่ายังไม่ถึงจุดคุ้มทุน ที่จะต้องเข้าไปวางแผน ในเรื่องของการตลาด เพราะสปป.ลาว เป็นตลาดเล็ก

​ที่ผ่านมาสื่อมวลชนสปป.ลาว ไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องธุรกิจ เพราะรัฐบาลสนับสนุน แต่ตอนนี้ไม่ใช่เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราไปอบรมให้ เขาเราทำ workshop เรื่องเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้เขาคิด เรื่อง Business Model ด้วย เรื่องนี้สำคัญ

​หากย้อนไปในอดีต เกือบ 30 ปีแล้ว ความสัมพันธ์ ระดับทวิภาคี ของสมาคมนักข่าวระหว่าง สปป.ลาวกับไทย มีมานานมาก ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ที่เราเดินทางไป ที่ผ่านมามีการจัดอบรม สัมมนา เช่น ประมาณปี 2558 ไปอบรมเรื่องการใช้ Social Media

​ปี 2562 อบรมในเรื่องของ Content Marketing ให้กับหน่วยงานสื่อ ของสปป.ลาว การนำความรู้ ทางด้าน Online ไปอบรม และเพิ่มพูนทักษะ ให้กับสื่อมวลชนเขา เพราะถ้าเรามองภาพใน สปป.ลาวเอง สื่อทั้งหลายจะอยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของรัฐ ในเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ หรือการหารายได้ อาจจะไม่เพียงพอ กับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการไปให้ความรู้ และส่งเสริมทักษะ ในการสื่อสารมวลชน จึงสำคัญ

ติดตาม “รายกา"ช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น. โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ คลื่นข่าว MCOT News FM 100.5