“DOMINO EFFECT” ผลกระทบ สงครามเศรษฐกิจ “จีน-สหรัฐ” ผ่าน “ไต้หวัน”

“ถ้ามองเป็นลักษณะ ของหลายผู้เล่นเข้ามาตะลุมบอนกัน มีไต้หวันและช่องแคบไต้หวัน เป็นสมรภูมิ ก็อาจจะถึงขั้นที่เรียกได้ว่า เป็นสงครามโลก แต่ไม่ได้เกิดเหมือนกับ สงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ที่อยู่ในโซนยุโรป ครั้งนี้จะอยู่ในโซนเอเชีย ซึ่งไทยได้รับผลกระทบแน่”

​การเดินทางเยือน ไต้หวัน ของ แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐและคณะ ที่ไม่ได้เยือนกว่า 20 ปี

“ทศพล ชัยสัมฤทธิ์ผล ผู้สื่อข่าวอาวุโส-ผู้จัดการทีม บีบีซีไทย (กทม.) วิเคราะห์ ผ่าน “รายการช่วยกันคิด ทิศทางข่าว” ว่า

​ส่วนหนึ่งเพราะ นางแนนซีอายุมากแล้ว คือ 82 ปี ต้องการสร้าง Action ทิ้งทวนเรื่องสำคัญ และถ้ามองในแง่การเมือง ที่สหรัฐจะมีการเลือกตั้งเร็วๆนี้ เขาคิดว่าอาจจะมีผลดีต่อ พรรคเดโมแครต เพราะมีความเสี่ยงว่า จะสูญเสียที่นั่งเพิ่ม ในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้
​นอกจากนี้ 1. นโยบายของสหรัฐ เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เคยใส่ใจพื้นที่ตะวันออกกลาง เพราะเป็นผลประโยชน์ของเขา ในเรื่องต่างๆ

ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีโอบามา เเบนเข็มมาฝั่งเอเชียหลังจากนั้นภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะพื้นที่เอเชียตะวันออก กลายเป็นจุดที่สหรัฐ ให้ความสำคัญมากขึ้น ความตึงเครียดเลยค่อยๆเพิ่มขึ้นตั้งแต่นั้น และมาถึงจุดที่ ค่อนข้างตึงเครียดหนัก สมัยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีการใช้กำแพงภาษี , กีดกันทางการค้าต่อรัฐบาลจีน ปัจจุบันนโยบายนี้ก็ยังใช้อยู่ เพราะประธานาธิบดีโจ ไบเดน บอกว่าไม่มีผลอะไร

หากยกเลิกในเวลานี้ ปัญหาเงินเฟ้อ ของสหรัฐ ที่ยังสูงอยู่ก็จะสูงขึ้นไปอีก เราจึงได้เห็น ข่าวสหรัฐมาซ้อมรบ นำทั้งเครื่องบินและเรือรบ เดินทางผ่าน เอเชียตะวันออก มายังแถบทะเลจีนใต้ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในการสร้างความสัมพันธ์
​โดยการบอกว่าเป็นการสนับสนุน เสรีภาพการเดินเรือ ตรงนี้จีนไม่พอใจมานานแล้ว อย่างต่อเนื่อง

เป็นความฮึ่มๆของจีนกับสหรัฐ ตั้งแต่ปีที่แล้ว ความตึงเครียด ตรงจุดนี้ถือว่าเป็นสูงสุด ในรอบหลายทศวรรษ ฉะนั้นจึงเป็นบริบทที่ว่า การทำอะไรในตอนนี้ ระหว่างที่สหรัฐ จะเข้ามาในพื้นที่เอเชียตะวันออก ถ้าทำแล้วจะมีอิทธิพลค่อนข้างไปไกล

​2. ประวัติของนางแนนซี ตั้งแต่ขึ้นมารับตำแหน่งส.ส. และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ตำแหน่งนี้ ถือเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอันดับ 3 ของโครงสร้าง ทางการเมืองสหรัฐ และค่อนข้างผลักดัน เรื่องต่างๆ รวมทั้งเข้าไปแตะจีนมากขึ้น อาทิ ผลักดันให้รัฐบาลสหรัฐ ประนามการลงโทษจีน

ในข้อกล่าวหาที่ว่า จีนอาจจะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์ ให้เข้าค่ายปรับทัศนคติ เพื่อออกมาใช้ชีวิตร่วมกับชาวฮั่น
​ในปี 1991 นางแนนซี เดินทางไปจตุรัสเทียนอันเหมิน พร้อมชูป้ายต่อต้าน และการปราบปรามผู้ประท้วง ที่ออกมาประท้วง การสังหารหมู่ ในจตุรัสเทียนอันเหมินด้วย

“ทัศนคติของนางแนนซี่กับจีน คือ ต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน ไม่ได้ต่อต้านคนจีน ต่อต้านการปกครองในลักษณะ อัตตาธิปไตย แต่ไม่ถึงขั้นเผด็จการ 2 จุดนี้สอดคล้องกัน การเดินทางเยือนเอเชีย มีทัศนคติต้องการ ที่จะแสดงอะไรบางอย่าง เพื่อให้เห็นว่าจีน พยายามทำให้ไต้หวัน กลับไปเป็นส่วนหนึ่งของตนเอง แม้จะต้องใช้กำลังทางทหารก็ตาม ซึ่งจีนได้ประกาศมา 2 ปีแล้ว”

​ตอนนี้สหรัฐต้องการ เข้ามา Action ในเอเชีย เพราะมีผลประโยชน์มากกว่า ตะวันออกกลาง หลังจากที่สหรัฐถอนทหาร ออกมาจากอัฟกานิสถาน และเรื่องของบทบาทที่เริ่ม เสื่อมถอยออกไป ในสหภาพยุโรป ขณะที่ 2 จุดนี้มาประจวบเหมาะพอดี

​ กรณีระหว่างจีนกับสหรัฐ ต่อพื้นที่ไต้หวัน เชื่อว่าไม่โอกาสคล้ายกับ ยูเครน-รัสเซีย เพราะรัฐบาลจีนเห็นว่า สงครามยุคใหม่ ไม่ใช่เรื่องของการ มีอาวุธหนักมากกว่า , กำลังทหารมากกว่า แล้วเข้าบุกโจมตีแบบสายฟ้าแลบ แต่เป็นการมีอาวุธทางเศรษฐกิจ , การคว่ำบาตร , การโดดเดี่ยว

​เมื่อเห็นตัวอย่าง ของการนำไปสู่ เหตุปะทะทางทหาร จนถึงการ Action ในเรื่องของการใช้อาวุธ ทางเศรษฐกิจ ของประชาคมโลก ทำให้จีนยับยั้งชั่งใจ ค่อนข้างมาก โอกาสที่จะเกิด การประทะกันก็น้อยลง แต่โอกาสที่จะเกิดการปะทะ ที่จีนบอกว่าถึงจุดที่ ควรจะนำทหาร ไปยกพลขึ้นบก เพื่อยึดไต้หวันกลับมา เป็นของจีนอย่างเต็มตัวอีกครั้ง ก็มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้น หมายความว่า “วันไต้หวันเดย์” ก็อาจจะใกล้เข้ามาเรื่อยๆ

​สมมุติฐานว่าจีนทนไม่ไหว ที่ไต้หวันออกมาประกาศว่า ตนเองเป็นเอกราช อย่างเต็มตัว ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่จีนอาจจะมีโอกาส ส่งกำลังทหาร ไปปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดน แต่เขาไม่ใช้คำว่าปราบปรามไต้หวัน และลึกๆคนจีนเชื่อว่าไต้หวัน ก็อยากกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของจีน เป็นการรวมชาติ

​แต่ต้องดูว่าการคว่ำบาตร ที่อเมริกาหรือชาติยุโรป หรือนานาประเทศ ทำกับรัสเซีย จะกล้าทำกับจีนหรือไม่ เพราะจีนเป็น Supply Chain ที่ค่อนข้างใหญ่กว่ารัสเซีย เป็นคู่ค้าสำคัญของสหรัฐ และทุกประเทศทั่วโลก
​แต่เมื่อเกิดกรณีไต้หวัน หากเกิดวิกฤติการสู้รบขึ้นมา ไต้หวันซึ่งเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบที่สำคัญ รายใหญ่ให้กับโลก คือ Semiconductor พวกชิปต่างๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการผลิตอะไร ที่ต้องใช้วัสดุพวกนี้ ราคาจะสูงขึ้น ไม่ใช่กระทบแต่ อุตสาหกรรมอีเล็คโทรนิคส์ แต่จะกระทบอุตสาหกรรมอื่น ตามไปด้วย เป็น DOMINO EFFECT เพราะทุกอย่างเดี๋ยวนี้ เชื่อมโยงกันหมด

“EFFECT ที่จะเกิดขึ้นหากเกิดการปะทะ ทางทหารระหว่างจีนกับไต้หวัน มี 2 เรื่องที่ต้องดู คือ นานาประเทศคว่ำบาตรและ Action ต่อต้านหรือไม่ อันดับต่อมาไต้หวันส่งออก สิ่งสำคัญในอุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคได้หรือไม่ แต่ผลกระทบ ต้องมากกว่ากรณีรัสเซีย-ยูเครนแน่นอน”

​สำหรับท่าทีของรัฐบาลไทย ที่ออกมาพูดถึง “หลักการจีนเดียว” ก็แปลว่า ยืนข้างจีนค่อนข้างชัดเจน รัฐบาลไทยได้ผลประโยชน์ จากทั้งจีนและไต้หวันด้วย เพราะเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของไทย จึงต้องวางตัวตามหลัก ที่ยึดมาตลอด แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ รัฐบาลไทยก็ต้องออกมา Action ว่ายึดหลักการจีนเดียวตลอดไป

​คงต้องจับตาดูต่อไปว่า ถ้าไปถึงจุดที่เกิดสมมุติฐาน หากเกิดการประทะกันขึ้นมา อาจจะถึงจุดที่เราต้องเลือก ว่าเราจะสนับสนุนฝ่ายไหนอย่างจริงจัง และไม่ใช่เพียงแค่หลักการ กับนโยบายอาจจะรวมถึงกำลังคนด้วย แม้ไทยไม่ได้ Action ว่าจะต้องไปอพยพ คนไทยออกมาจากไต้หวัน

​“ถ้ามองเป็นลักษณะ ของหลายผู้เล่นเข้ามาตะลุมบอนกัน โดยมีไต้หวันและช่องแคบไต้หวัน เป็นสมรภูมิ ก็อาจจะถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นสงครามโลก แต่ไม่ได้เกิดเหมือนกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ที่อยู่ในโซนยุโรป ครั้งนี้จะอยู่ในโซนเอเชีย ซึ่งไทยได้รับผลกระทบแน่”

​หน้าที่สื่อมวลชน ภายใต้สถานการณ์โลกในขณะนี้ การนำเสนอข่าว ขึ้นอยู่กับหลักข้อเท็จจริง ต้องมีแหล่งข่าว หรือเป็นคนที่ ได้รับผลกระทบ มาถ่ายทอดเรื่องเหล่านั้น โดยนำเสนอข้อมูล จากทั้ง 2 ฝ่ายให้ครอบคลุม และกระตุ้นให้คน เสพข่าวอย่างตั้งใจรอบด้าน ไม่ควรไปปลุก หรือกระตุ้นอารมณ์คนเสพข่าว

​ ข่าวในลักษณะ Sensitive ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ทั้งในและต่างประเทศ ต้องดูจากสื่อ 2 -3 สื่อด้วยกัน ว่าข้อเท็จจริงตรงกันหรือไม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจ และต้องเป็นสื่อที่ค่อนข้าง ได้รับความน่าเชื่อถือด้วย

​นโยบายของ BBC ในเรื่องการแปลข่าว จะมองว่าถ้าเป็นแหล่งข่าว ที่ไม่ใช่ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่หน้างาน ต้องดูข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ อย่างน้อย 3 แหล่งด้วยกัน ว่า รายงานตรงกันหรือไม่ จึงจะเป็นข้อมูลที่เรานำเสนอได้ และระมัดระวัง ไม่ต้องรวดเร็วมากในการนำเสนอ

​หลายสำนักข่าว อาทิ BBC และ Reuters เคยวางกรอบ ประเมินสถานการณ์ หากมีการประทะกันเกิดขึ้น หากจีนบุกไต้หวัน จะมีรูปแบบอย่างไร ​การที่เราอ่านข่าวต่างประเทศ หรือนำมาแปล นำมาลงโดยบิด และพาดหัวรุนแรง ด้วยเหตุผลที่เราจะได้ Engagement มากกว่า มียอดวิว หรือคนนำไปเผยแพร่

​นอกจากเรื่อง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หากสำนักข่าวทำอย่างนี้ ก็จะไปปลุกอารมณ์ กระตุ้นของผู้เสพข่าว ว่าจะเชียร์ใคร เห็นได้จากกรณีรัสเซีย-ยูเครน คนไทยจำนวนไม่น้อย ที่เชียร์รัสเซียและเชียร์ยูเครน หรือกรณีจีนกับไต้หวัน บางคนบอกว่า นางแนนซี มากระตุกหนวดมังกรจีน บุกมันเลย เป็นต้น

ติดตาม “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.โดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ คลื่นข่าว MCOT News FM 100.5