“(เกม)แก้หนี้ กยศ.” ผิดทาง?

“ผมไม่อยากจะบอกว่า เรื่องนี้เป็นการหาเสียงล่วงหน้า  พรรคการเมืองหาเสียง ตรงนี้อยู่แล้ว มีพรรคการเมืองหนึ่งเสนอ อีกพรรคหนึ่ง ออกมาขอบคุณ เวลากฎหมายผ่าน  ทำให้หาเสียงง่ายขึ้น พอจะเข้าสู่สนาม เลือกตั้งเขาก็จะมาทวง ว่าเราจะยกหนี้และลดดอก กยศ.ให้”

หลังจากที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎร มีมติเอกฉันท์ ผ่าน “ร่างพ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยมีสาระสำคัญ “ไม่เก็บดอกเบี้ย ไม่คิดค่าปรับ ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน และให้มีผลย้อนหลังผู้กู้ยืมเงิน-คนค้ำประกันทุกราย ไม่มีเหลื่อมล้ำ

                  นครินทร์  ศรีเลิศ  หัวหน้าข่าวเศรษฐกิจ-นโยบาย กรุงเทพธุรกิจ กล่าวกับ “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ว่า กองทุน กยศ. ยังมีความจำเป็น และเมื่อกองทุนฯ มีความจำเป็น ก็ต้องมีสภาพคล่อง ผมรู้สึกเป็นห่วง สถานะกองทุน กยศ.ในอนาคต หลังจากที่ สภาฯผ่านกฎหมายให้เก็บดอกเบี้ย0% ค่าปรับ0%ร่างพ.ร.บ.สภาผ่าน เป็นร่างของอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย  หลายคนเรียกว่า “กยศ.แบบสุดซอย”  คือเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเป็นศูนย์ ซึ่งแตกต่างจากร่าง กยศ. ที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 2% และค่าเบี้ยปรับ ไม่เกิน 1%  ก่อนหน้านี้กยศ. เคยคิดระดับดอกเบี้ยสูงถึง 8% ต่อปี สำหรับคนที่ ผิดชำระหนี้นาน  และ ปรับลงมา 7.5% ต้องเข้าใจด้วยว่า กยศ. เป็นกองทุนฯหมุนเวียน ที่ไม่ต้องพึ่งพา งบประมาณของรัฐ ตั้งแต่ปี 2561 ทุกบาททุกสตางค์ เขาบริหารภายในหน่วยงาน  โดยค่าปรับและดอกเบี้ยที่ หามาได้ แต่ถ้า 6,000 ล้านบาท นี้ลดลงแล้วผู้กู้อยู่ได้ กยศ.อยู่ได้ด้วย ก็ไปกันได้ทั้งหมด จำเป็นต้องไปใช้ ร่างกฎหมายที่สุดซอย หรือไม่

กฎหมายนี้ กำลังมีผลทั้งหมด ทำไมถึงไม่เลือกแก้ไขปัญหาเฉพาะจุด และควรจะไปดูกรณี ที่เขามีปัญหา ดูสาเหตุให้ลึก รายที่ค้ำประกันแล้ว มีปัญหาเยอะ ตรงนี้เป็นหน้าที่ของ กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการคลัง ต้องไปดูในฐานะ หน่วยงานที่กำกับ ดูเป็นรายๆไป อย่าไปนำกฎหมายทั้งหมดมา แล้วบอกว่า เรื่องนี้มันเวิร์ค เพราะบางคนติดชำระหนี้เป็นล้าน ถ้าเป็นอย่างนี้ทุกเรื่อง จะกระทบทั้งหลักการ และพฤติกรรมลูกหนี้

คงต้องรอดูการตัดสินใจ ของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ซึ่งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง บอกว่า ร่างกฎหมายนี้ ผ่านสภาไปแล้ว แต่หวังว่าการนำเสนอข้อมูล ของกยศ. ให้ ส.ว.เห็นความสำคัญตรงนี้ เพราะสุดท้ายถ้าส.ว. บอกว่ากฎหมายนี้ไม่ผ่าน ก็คือไม่ผ่านเพราะร่างนี้ ผ่านไปแบบคนละแบบ กับที่กระทรวงการคลังเสนอ  ที่บอกว่าให้ปรับดอกเบี้ยเหลือ 1%

ขณะผู้ใหญ่บางคน ที่ไม่เห็นด้วย  บอกว่าเป็น “พ.ร.บ.ชักดาบแห่งชาติ” เพราะคนที่กู้ตรงนี้ กำลังจะออกไป เป็นกำลังสำคัญของประเทศ  ฉะนั้นเขาต้อง มีความรับผิดชอบ ต่อตัวเองและส่วนรวม                   

 ถ้าเรารู้ระบบการเก็บหนี้กยศ. การให้คืนหนี้ จะต้องเพิ่มขึ้นตามอายุปี ด้วยการทำงาน บนสมมุติฐานว่า คนมีรายได้มากขึ้น ปีแรกๆที่เรียนจบมา อาจจะต้องชำระ เป็นหลักพันเท่านั้น และระยะเวลาในการชำระหนี้ 15 ปี  ตรงนี้ก็มีข้อเสนอ ว่าขยายระยะเวลา ในการชำระหนี้ เพิ่มขึ้นได้หรือไม่  สิ่งที่ต้องทำคือ กยศ.ต้องลงไปติดตาม ขณะที่ลูกหนี้ ต้องแสดงความบริสุทธิ์ใจ ด้วยการเดินเข้าหาเจ้าหนี้ 

                  “ผมค่อนข้างกังวล ถ้าเราเอาหลักการก่อน ยังไม่เอาตัวเลข เช่น เวลาเรากู้เงินเราก็ต้องรู้อยู่แล้วว่า ภาระดอกเบี้ยเท่าไหร่ เงื่อนไขค่าปรับเกิดขึ้นจากอะไร ถ้าเราลงทุนเรื่องการศึกษา โอกาสการศึกษาบ้านเรา  สนับสนุนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาภาคบังคับ แต่โอกาสของคน ที่จะเรียนต่อระดับอุดมศึกษา”
                 
ถ้าเอาตัวเลขคนที่เรียน ตั้งแต่ชั้นประถม 3.4 ล้านคน มัธยมต้นจะเหลือ 1.8 ล้านคน หายไปเกือบเท่าตัว  ต่อมามัธยมปลายเหลือ 1 ล้านคน ส่วนตัวเลขของคน ที่ได้เรียนอุดมศึกษาบ้านเรา อยู่ที่ประมาณ 4-5 แสนคนต่อปี หายไปทีละครึ่ง ซึ่งกองทุนกยศ.เข้ามาดูแลส่วนนี้

                  ผลสำรวจที่รวบรวมมาของ  กองทุนความเสมอภาคเพื่อการศึกษา บอกว่านักเรียนไทยทั้งระบบ มีอยู่ 7 ล้านคน เป็นเด็กด้อยโอกาส ประมาณ 3.5 ล้านคน ถ้าเด็กกลุ่มนี้เขาคิดว่า  อยากจะเรียนต่อ ในระดับอุดมศึกษา กองทุนที่จะเข้ามา สนับสนุนในการเรียน  มีมากน้อยขนาดไหน ในประเทศไทย วันนี้เรายังไม่มีระบบที่จะรองรับ   คนที่อยากเรียนระดับอุดมศึกษา  มากเท่ากับต่างประเทศ 

“การกู้ยืมเงิน ก็เป็นช่องทางหนึ่ง ที่คนจะมีใบเบิกทาง ในเรื่องของปริญญา  ถึงแม้จะบอกว่า บางคนประสบความสำเร็จได้ โดยไม่จบปริญญา แต่ในประเทศไทย เวลาสมัครงานวุฒิขั้นต่ำ คือปริญญาตรี  ผมไม่เถียงว่าทุกคน มีเส้นทางความสำเร็จ ของตัวเอง แต่กว่าเรา จะเจอเส้นทางนั้น บางทีเราก็ต้องมีใบเบิกทางก่อน  ผมไม่อยากให้มีภาพว่า เด็กไม่มีโอกาสเรียน เพราะไม่มีช่องทางที่จะเข้าถึงแหล่งเงิน”
 เงินที่มาจากการเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ 6,000 ล้านบาท เป็นค่าบริหารจัดการ 2,000 ล้าน  ถ้าบอกว่ากองทุนมีกำไรอยู่ 4,000 ล้านต่อปี ที่จะนำมาสมทบ แล้วปล่อยกู้ต่อไป ตอนนี้ปล่อยกู้ อยู่ประมาณปีละ 40,000 ล้านบาท  จะเห็นว่าถ้าเราจะแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้ เป็นศูนย์  แต่ลด 4,000 ล้านบาทลงมา   จะทำให้กองทุน มีเงินหมุนเวียนต่อ เพราะมีเงินมาเติมในกองทุนเพิ่ม ก็ปล่อยกู้เพิ่มออกไป. คนที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระ ตอนนี้ 3.5 ล้านคน เป็นวงเงิน 4.5 แสนล้านบาท ชำระหนี้ไปแล้ว 2.5 ล้านคน เป็นกองทุนที่มีดอกเบี้ย และค่าปรับอยู่ วงเงินที่เขาอยู่ระหว่างการชำระหนี้คือประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ลักษณะกองทุนแบบนี้ ถ้าดูทั้งเรื่องการบริหาร  ซึ่งมีปัญหา ในเรื่องการบริหารอยู่แล้ว เพราะยอดการผ่อนคืน ชำระหนี้ค้าง มากกว่าจำนวนที่ปล่อยไปแต่ละปี  กยศ. อาจจะคิดดอกเบี้ย ต่ำกว่า 1% ก็ได้  ตอนนี้กำลังจัดโปรโมชั่นอยู่  เพราะคนที่ผ่อนอยู่นั้น ก็จะรู้ว่าช่วงโควิด เขาก็ลดให้ ตอนนี้ดอกเบี้ยล่าสุดน่าจะเหลือ 0.01% ต่อปี และลดเบี้ยปรับ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโปรโมชั่นนี้ สำหรับลูกหนี้ กยศ. ใช้ไปถึงสิ้นปี 2565ถ้าดูเหตุผลทั้งหมด กองทุนฯนี้ ควรจะมีต่อไป และการที่จะให้กองทุนฯมีต่อไป คือให้เขาสามารถ คิดดอกเบี้ยค่าปรับได้ ในระดับที่เหมาะสม ไม่ใช่เพื่อกองทุนฯอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของวินัย ผู้ที่กู้เองด้วย ดีต่อทั้งกองทุนและผู้กู้เงินด้วย ถ้าคิดว่าลูกหนี้กยศ. อยู่ในกลุ่มคนระดับการศึกษา ที่จะออกมาเป็นปัญญาชน เป็นกำลังสำคัญ ของประเทศ  ก็ต้องให้เขารู้จักวินัย ในเรื่องของการเงิน

                  “ผมไม่อยากจะบอกว่า เรื่องนี้เป็นการหาเสียงล่วงหน้า  พรรคการเมืองหาเสียง มีพรรคการเมืองหนึ่งเสนอ  อีกพรรคหนึ่งออกมาขอบคุณ เวลากฎหมายผ่าน เพราะทำให้หาเสียงง่ายขึ้น พอจะเข้าสู่สนาม เลือกตั้งเขาก็จะมาทวง ว่าเราจะยกหนี้และลดดอก กยศ.ให้”

ผมตีเป็นตัวเลข ว่าถ้าพรรคการเมือง ต้องการฐานเสียง ตรงนี้เขาต้องการ คะแนนปาร์ตี้ลิสต์กี่คน ทั้งนี้ในการแข่งขันทางการเมือง ต้องการ 3- 4 แสนเสียง ต่อหนึ่งเก้าอี้ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ตอนนี้เขามองลูกหนี้กยศ.เป็นฐานเสียงแล้ว เขาจะยกหนี้ ให้คนที่จ่ายไปแล้ว มีผลย้อนหลังด้วย แสดงว่าต้องการฐานเสียง ทั้ง 6 ล้านคนใช่หรือไม่ 6 คูณ 5 เท่ากับ 30 ก็เท่ากับว่าได้ส.ส.5 คน

                  “สุดท้ายต้องถามกลับ ไปที่ฝ่ายการเมืองว่า ทำไมถึงเลือกร่างนี้ หลายคนถึงบอกว่า มันเป็นเรื่อง “ชักดาบแห่งชาติ” ไปส่งเสริมกลุ่มคน ที่กำลังจะออกมา เป็นกำลังสำคัญของสังคม ผมมองว่าคนเราเติบโตขึ้นมา ก็ต้องมีหน้าที่ต่อตัวเอง ต่อสังคม ต่อประเทศชาติ ต่อไปถ้ามีปัญหาจริงๆ มีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ก่อนที่ต้องกลับมาชำระ หนี้กยศ. คุณทำงานไป 2 ปีแล้ว คุณก็กลับมา

ผมคุยกับเพื่อนที่กู้กยศ.ไป เขาก็อาจจะมีคำถามว่า ทำไมถึงต้องกลับมาจ่าย แต่สิ่งที่จะได้มา คือ โอกาสของคนรุ่นต่อไป  เขาเคยได้โอกาสที่ดี จากกองทุนฯนี้มา ให้เขามีเงินจ่ายค่าหน่วยกิต มีเงินใช้จ่ายระหว่างเดือน  วันนี้เขามีหน้าที่ กลับไปใช้คืน แล้วดอกเบี้ยที่ต้องใช้คืนตามปกติ 1%  ตอนนี้มีโปรโมชั่นลดอยู่ด้วย ไม่มีดอกเบี้ยอะไร 1% มาตั้งแต่ปี 2539 โดยที่ไม่ได้ปรับ ตามเงินเฟ้อ ผมอยากให้มองในมุมนี้ด้วย

เราเป็นนักข่าว ต้องรู้ว่านโยบายแบบนี้หาเสียง ต้องรู้ให้เท่าทัน นักการเมือง เราจะได้ให้สัญญาณ และบอกเตือนสังคมได้  ผมอาจจะคิดไม่เหมือนใคร แต่เรื่องนี้คือสิ่งที่ เราต้องรู้เท่าทัน ถามว่าถ้าวันหนึ่ง เงินไม่ได้ไหลกลับมาที่กองทุนฯ ไม่มีกองทุนฯอีกต่อไป รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณ มาให้การสนับสนุนกองทุนฯ เพื่อให้คนมีที่ในการกู้เงิน ก็ส่งผลต่อวินัย การเงินการคลังในอนาคต  ถ้าเรามองอะไรยาวๆ เราจะไม่คิดอะไรในระยะสั้นแบบนี้

ติดตาม “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ทุกอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.โดย ความร่วมมือของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคลื่นข่าว MCOT News FM 100.5