“แพลตฟอร์มแห่งชาติ” ความหวังปลายอุโมงค์

            “ปี 2572 ใบอนุญาตประกอบการทีวีดิจิทัลจะหมดอายุทั้งหมดทุกช่อง เมื่อหมดอายุแล้ว สิ่งที่ทุกช่องตั้งข้อสงสัยว่าจะทำอย่างไรต่อ ซึ่งหลักการนี้กสทช.ยังไม่มีข้อสรุปเป็นทางการชัดเจน ว่าจะให้ประมูลต่อหรือจะคัดช่องให้เหลือน้อยลง”  

            “ระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์” ให้มุมมองเกี่ยวกับ “กสทช.เดินหน้าส่งเสริมอุตสาหกรรมทีวี ผลักดันแพลตฟอร์มแห่งชาติ”  ใน “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ว่า การผลักดันแนวคิด platformแห่งชาติ สำหรับการเข้าถึงกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลยังไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอย่างเดียวคือ platform นี้ไม่ใช่ Over-the-top ( OTT ) แต่เป็น platform การดูโทรทัศน์ ผ่าน internet คือ digital TV Streaming คือ สิ่งที่ถ่ายทอดสดอยู่ในช่องทีวีทุกช่องอยู่ใน Smart TV หรือ application ในมือถือไม่ใช่การดูย้อนหลัง การดูย้อนหลังแต่ละช่องมี application ของเขาอยู่แล้ว เราไม่ได้ไปยุ่งกับส่วนนั้น เพราะเป็นเรื่องการตลาดของเขา

            ส่วน Over-the-top  คือ การดูย้อนหลังอย่างเช่น YouTube หรือ Netflixเป็นการดูสิ่งที่ Upload ไว้แล้ว ดังนั้นคู่แข่งของเราไม่ใช่ Netflix หรือ YouTube และไม่มีคู่แข่งรายใดเลย เราแค่ทำเพื่อ service ช่องทางการรับชมโทรทัศน์ให้ประชาชนได้เข้าถึงได้มากขึ้น 

ทีวีทุกช่องพร้อมทำความเข้าใจ

            ระวี บอกว่า ตอนนี้สมาคม TV Digital ตั้งผมเป็นที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการนี้ แต่ละช่องรวมไปถึงทีวีสาธารณะ มีเกือบทุกช่องที่ยินดีจะเข้าร่วมโครงการนี้ เหลือเพียงทำความเข้าใจกับคำว่า OTT และไม่ใช่ OTT ก่อน มีบางช่องเข้าใจว่าเราจะทำ YouTubeประเทศไทย ก็ทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ 80 -  90% แล้ว เหลือเพียงเล็กน้อยทุกคนก็พร้อมGo on เพราะถือเป็นการเพิ่มช่องทางรับชมของผู้ชมให้กับเขา

            ระวี บอกว่า หากแนวคิดนี้สำเร็จจะส่งผลดี กับวงการสื่อบ้านเราหรือไม่นั้น ยังเดาไม่ได้ว่าคนจะดูขนาดไหน  แต่ตัวเลขเชิงสถิติตามที่รายงานมาปัจจุบัน  มีการซื้อ Smart TV เกือบ100% เพราะปัจจุบันนี้ถือว่าราคาถูกมาก ปัจจัยเดียว คือ เมื่อเขาซื้อ Smart TV บ้านเขามีอินเตอร์เน็ตหรือไม่  ซึ่งปัจจุบันโครงข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 95% แล้ว 

มีข้อมูลเชิงวิเคราะห์โทรทัศน์

            ปี 2572 ใบอนุญาตประกอบการทีวีดิจิทัลจะหมดอายุทั้งหมดทุกช่อง เมื่อหมดอายุแล้ว สิ่งที่ทุกช่องตั้งข้อสงสัยว่าจะทำอย่างไรต่อ ซึ่งหลักการนี้กสทช.ยังไม่มีข้อสรุปเป็นทางการชัดเจน ว่าจะให้ประมูลต่อหรือจะคัดช่องให้เหลือน้อยลง”  

            จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ตลอดระยะ 4 -5 เดือนที่ผ่านมา ได้พูดคุยกับช่องต่างๆหลายช่องแล้วพบว่า หลายช่องมีความลังเล คือ 1.การไปต่อแล้วช่องน้อยลง น่าจะมีแนวทางที่ดีขึ้น ตัวเลขงบประมาณในการโฆษณาน่าจะดีขึ้น เพราะว่าตัวหารน้อยลง อีกด้านหนึ่งบอกว่าไปต่อก็อาจจะไม่ดีขึ้น เพราะตัวเลขส่วนใหญ่ของงบโฆษณา ไปอยู่ในออนไลน์แล้ว ไม่ได้อยู่ตรงโทรทัศน์แล้ว ตรงนี้เป็นข้อกังวล 

            2. ผมมีโอกาสได้ทำงานด้านข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ของโทรทัศน์ในประเทศไทยและต่างชาติ ผมจึงเสนอว่าทำไมเราถึงไม่ทำเป็น Pain Point ซึ่งผมนำประเด็นไปหารือกับ คณะกรรมการสมาคมทีวีดิจิตอล หลายท่านเห็นด้วยสิ่งที่ผมเสนอ ว่าทำไมเราไม่มี Applicationที่เมื่อเราซื้อ Smart TV แล้วจะเป็นระบบที่เป็น Internet TV แบบ Android หรือระบบต่างๆของค่ายต่างๆ ทุกอย่างเป็น Internet ทั้งหมด ทำไมเปิดมาแล้วเราดู YouTube จาก Netflix 

กสทช.วางแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ไว้แล้ว-ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อย รอคลอดมาใช้

            ระวี บอกว่า ผมเสนอไปว่าทำไมถึงไม่ทำ App ในโทรทัศน์ที่กสทช. มีอำนาจและมีสิทธิ์จะ Stamp ตั้งแต่วันที่เครื่องออกขาย เพราะเวลาที่โทรทัศน์ในประเทศไทย ต้องออกวางจำหน่ายต้องผ่านการอนุมัติ จากกสทช.ทุกเครื่อง  ถ้าหลักการนี้สามารถมี Application แห่งชาติเข้าไปได้ เราก็จะสามารถเปิดโทรทัศน์ครั้งแรกโดยมีทีวีไทย แล้วต่อด้วย YouTube , Netflix Forever เราก็จะมีช่องทางให้คนไทยดูช่องทีวีมากขึ้น ไม่ใช่ไปทำให้คนดูน้อยลง ตรงนี้คือหลักการพื้นฐาน ไม่อย่างนั้นคนดูทีวีก็จะกลายเป็นดูผ่านมือถือหมด

            เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ประชุมกันอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 มีการลงรายละเอียดในโครงการ ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความยุติธรรมกับทุกช่อง , ยุติธรรมกับทุกฝ่ายที่มีผลประโยชน์ร่วม หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ  คนทางอินเตอร์เน็ตและกสทช. สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ก็มาถึงจุดที่จะผลักดันต่ออย่างไร

            เพราะกสทช.วางสิ่งนี้ในแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 ไว้แล้ว ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว อยู่ที่ว่าจะคลอดเดือนไหน ไตรมาสแรกของปีหน้าหรือกลางปีหน้า ตรงนี้เป็นเรื่องของเทคนิค แต่คิดว่ามีความเป็นไปได้สูงมาก

สื่อควรเลือก platform เดียวทำ content ให้ดี

            ระวี บอกอีกว่า ปัจจุบันนี้สื่อวิ่งตามเทคโนโลยีทันและถูกหรือไม่ เพราะปัจจุบันเราทำ content ใด contentหนึ่ง กับ platform ใดเพื่อ platform หนึ่ง เป็นการเฉพาะให้ดีไปเลย เช่น ถ้าคุณทำ TikTok คุณไม่ต้องทำ Facebook กับ IG คุณทำ TikTok ให้ดีและดังไปเลยอย่างเดียว ขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่เราได้ Approachกับกสทช. เราไม่ได้บอกว่าเราทำโทรทัศน์ เพื่อให้คนดูได้อย่างเดียว แต่เราตอบโจทย์กสทช. เพิ่มเติมด้วย

            เมื่อคนดูโทรทัศน์ผ่าน Internet ผ่าน Application ของเรา เรารู้ว่าเขาเป็นใคร อยู่ที่ไหนอย่างไร แต่เราไม่ได้ละเมิดกฎข้อมูลส่วนบุคคล  อย่าลืมว่าทุกวันนี้ที่เราดู YouTube , Netflix เขารู้จักเรามากกว่าตัวเราเอง แต่ข้อมูลพวกเราไหลออกไปต่างประเทศหมด แต่ระบบนี้จะเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในประเทศไทยเท่านั้น

ต้องเร่งทำการบ้าน- เชื่อระบบมีข้อดี-ผู้ชมได้ประโยชน์ 

            ส่วนปัญหาอุปสรรคซึ่งเป็นจุดสำคัญที่น่ากังวล ระวี บอกว่า ระหว่างที่กำลังทำ project นี้ร่วมกับรัฐราชการ ความเร็วในการดำเนินการระหว่างที่เราเตรียม แต่คนอื่นเขาวิ่งมากันหมดแล้ว คือ Global platform ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือให้เร็วพอ และต้องทำการบ้านเยอะมากกว่าคนอื่นพอสมควร  ไม่อย่างนั้นเราจะกลายเป็นผู้ตาม ที่สุดท้ายไม่มีประโยชน์อะไร  

            ส่วนข้อดีของระบบนี้คือจะช่วยเรื่องการวัด Rating เชิงคุณภาพซึ่งระบบนี้เป็นInternet จะดูด้วยระบบ Rating เชิงคุณภาพได้ เช่น คุณดูรายการนี้นานแค่ไหนชอบรายการประเภทไหนดี ถึงแม้ว่าทางช่อง Rating ไม่ดี แต่รายการนั้นอาจเป็นรายการที่มีคนดูจบมากที่สุด

            ต่อให้ Rating ไม่สูง แต่รายการนั้นเอา Rating เชิงคุณภาพไปนำเสนอ เพื่อทำการตลาดหรือหาโฆษณาได้มากกว่าปัจจุบัน คือ ข้อดีของระบบตัวนี้ระบบฉลาดพอที่จะสะสมข้อมูลผู้ชม ที่สามารถทำโฆษณาได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น หรือแม้แต่กระทั่งแยกโฆษณา ซึ่งคนที่อยู่จังหวัดหนึ่งกับอีกจังหวัดหนึ่งเห็นไม่เหมือนกันก็ทำได้

            ส่วนผู้ชมจะได้ประโยชน์อะไร จากการชมผ่านแพลตฟอร์มแห่งชาติ ระวี บอกว่าตามแผนที่คุยกันไว้คาดหวังว่าคุณผู้ชม จะมีโอกาสได้คุยกับโทรทัศน์มากขึ้น คือ Connected TV มากขึ้น ผู้ชมก็จะง่ายในการแสดงความคิดเห็น หรือซื้อสินค้าหรือ feedbackกลับไปทางช่องมากขึ้น ที่สำคัญคือผู้ชมจะสะดวกในการเข้าถึง ช่องโทรทัศน์ Digital มากกว่า ผู้ชมที่จะย้ายไปอยู่บน YouTube กับ Netflix เข้าถึงง่ายขึ้นสะดวกขึ้น ตรงนี้หวังว่า จะเป็นผลประโยชน์ที่สำคัญของประชาชน

 มั่นใจไร้ปัญหา-ไม่อนุญาตบริษัทต่างชาติ

            ระวี บอกว่า ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร น่าจะเป็นประโยชน์ในการรับชมได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องไปซื้อกล่อง หรือติดจานดาวเทียม หรือซื้อเสาก้างปลา เมื่อเปิดทีวีมาก็ต่ออินเตอร์เน็ตเข้าได้เลย อย่างน้อยเมื่อเขาเปิดทีวีมาอยากดู YouTube แล้ว ก็อาจจะหันมาดูช่องของไทยบ้างจึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดี 

            เพราะ 1. เราจะได้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มของเราเอง 2. เราสามารถควบคุมQuality Rating ซึ่งเป็น ข้อมูลเชิงคุณภาพ เราจะเห็นเลยว่า Rating จริงๆแล้ว คนที่รับชมบางรายการไม่เคยมี Rating สูง แต่มีคนดูจบตลอดเวลา ซึ่งเราอาจจะได้รับข้อมูลประชากรที่ไม่รั่วไหลออกไปต่างชาติ

            ระวี บอกว่า โครงการนี้ทั้งโครงการ ผู้ประกอบการที่กสทช. แจ้งไว้มีแนวโน้มว่าใครที่จะมารับโครงการนี้ไปทำ ต้องเป็นบริษัทไทยเท่านั้น ไม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้ามาดำเนินการ ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขที่ดี อย่างน้อยข้อมูลไม่รั่วไหลออกแน่นอน ซึ่งทางสมาคมได้มีการพูดคุยกับสมาคม Media Agency ก็ให้การต้อนรับอย่างดี และดูว่าจะทำอะไรร่วมกันได้บ้างในอนาคต  เพราะเขาจะเป็นคน Advertise โฆษณาเข้ามา ก็ต้องพัฒนากันต่อไป  แต่หวังว่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี  อย่างน้อยเราจะมี platform เล็กๆของไทย

สื่อยังต้องรับผิดชอบสังคม แม้ platform เปลี่ยน

            ระวี กล่าวทิ้งท้ายว่า สื่อไม่ได้เปลี่ยนไปไหน อยู่ที่ว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคม และพัฒนางานที่มีคุณภาพแหลมคมมากพอหรือไม่ ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่อยู่ยั้งยืนยงต่อไป ไม่ว่า platform จะเปลี่ยนไปอย่างไรก็อย่าไปแคร์ แค่ทำต่อให้ดีก็พอ แต่ 2-3 ปีที่ผ่านมาสื่อออนไลน์ใหม่ๆ เน้นทำ Content น้อยแต่แหลมคมโดยเน้นคุณภาพไปเลย  ทำให้สุดเก็บข้อมูล 3 – 5 วันแล้วออกมาทีเดียวโดนสุดๆ อย่างนี้ดีกว่าทำเยอะแล้วแบ่งเป็นโต๊ะข่าว   แม้บริบทที่ว่าใครๆก็เป็นสื่อได้คำนี้จริงๆแล้ว สุดท้ายตัววัดคุณภาพเกิดจากความน่าเชื่อถือ และแหลมคมของสื่อไม่ใช่เกิดจาก Rating

            ติดตาม “รายการช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.โดย “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” และ “คลื่นข่าว MCOT News FM 100.5”