เสวนา เรื่อง “เหตุระเบิดราชประสงค์…สื่อและสังคมได้บทเรียนอะไร”-15 ม.ค. 59

 

 

 

ฟังเนื้อหาการเสวนา (คลิ๊ก)

{mp3remote}http://www.tja.or.th/images/sound2559/590115-seminar-mediamonitor.mp3{/mp3remote}

 

ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานเสวนา เรื่อง

“เหตุระเบิดราชประสงค์...สื่อและสังคมได้บทเรียนอะไร”

จัดโดย มีเดียมอนิเตอร์  ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559  เวลา 8.30 – 12.30 น.

ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ถ.สามเสน กทม.

08.30 – 09.00 น.  ลงทะเบียน

09.00 – 09.15 น.  เกริ่นนำ โดย ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์

กล่าวเปิด โดย วันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

09.15 – 09.45 น.  เสนอผลการศึกษาของโครงการมีเดียมอนิเตอร์ เรื่อง ”การนำเสนอของสื่อและสื่อสังคม

ออนไลน์ ในเหตุการณ์ระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหมและท่าน้ำสาทร กับเหตุการณ์จับ

ผู้ต้องสงสัย”  โดย อ.สกุลศรี ศรีสารคาม คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

 

09.45 – 10.10 น. วิเคราะห์ผลการศึกษา โดย

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ คณะนิเทศศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

10.10 –12.20 น.   วงเสวนา “ถอดบทเรียนและสรุปข้อเสนอต่อแนวทางปฏิบัติ”

โดย นักวิชาชีพสื่อ หนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์

นำเสวนา โดย

เทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

วันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

กนกพร ประสิทธิ์ผล นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

 

12.20 – 12.30 น.   สรุปสาระจากการเสวนา โดย อ.สกุลศรี ศรีสารคาม

กล่าวขอบคุณและกล่าวปิด โดย ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์

 

12.30 – 13.30 น.  อาหารกลางวัน

 

 

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

 

“การนำเสนอของสื่อและสื่อสังคมออนไลน์

ในเหตุการณ์ระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหม และ ท่าน้ำสาทร กับเหตุการณ์การจับผู้ต้องสงสัย”

...................................

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารและปฏิกริยาต่อเหตุการณ์ของประชาชนทั่วไปบนสื่อออนไลน์ในช่วงเหตุการณ์วิกฤตและช่วงหลังการจับคนร้ายได้ในเหตุการณ์ระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหมและท่าน้ำสาธร
  2. เพื่อศึกษารูปแบบการรายงานข่าว และการกำหนดกรอบประเด็นของข่าวที่นำเสนอในการรายงานข่าวภาวะวิกฤตของ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเกิดเหตุการณ์วิกฤตและหลังการจับคนร้ายได้
  3. เพื่อเข้าใจการสื่อสารแบบข้ามสื่อในเหตุการณ์วิกฤต กรณีศึกษา ระเบิดศาลท้าวมหาพรหมและท่าน้ำสาทร กับ กรณีเมื่อเจ้าหน้าที่จับผู้ต้องสงสัยได้

 

ประเด็นในการมอนิเตอร์

  1. สำหรับกลุ่มตัวอย่างบุคคลบนโลกออนไลน์ ซึ่งศึกษาจากทวิตเตอร์และพันทิป ประเด็นในการศึกษาประกอบด้วย รูปแบบการสื่อสาร โทนในการสื่อสาร การใช้การอ้างอิงข้อมูล รูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับสื่อ ประเด็นในการสื่อสาร
  2. สำหรับกลุ่มสื่อ ประเด็นในการสื่อสารคือ รูปแบบการของการรายงานข่าว ประเภทการรายงานข่าว ประเด็นที่รายงานข่าว แหล่งข่าวที่ใช้ โทนการใช้แหล่งข่าว การใช้ข้อมูลจากผู้รับสาร (UGC) กรอบในการรายงานข่าว (News Frame) และจริยธรรมในการรายงานข่าว

 

ผลที่คาดว่าจะได้

  1. รูปแบบในการสื่อสารของคนทั่วไปในภาวะวิกฤตที่เรียกว่าช่วง Critical Period ซึ่งจะมีลักษณะของการ สร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อเหตุการณ์ (Sense-making)  ในภาวะวิกฤตของคนทั่วไป ปฏิกริยาในการสื่อสารข้อมูล การมีส่วนร่วมในการระดมข้อมูล ระดมสรรพกำลังต่างๆ ในภาวะวิกฤต พัฒนาการของประเด็น และอารมณ์ในการแสดงออกบนสื่อออนไลน์ และอีกช่วงคือช่วงหลังการจับคนร้ายได้แล้ว ซึ่งการเข้าใจรูปแบบการสื่อสารดังกล่าวจะมีประโยชน์ต่อสื่อในเรื่องการวางบทบาทของการรายงานข่าว การกำหนดประเด็นที่ตอบสนองภาวะการหาความหมายและความเข้าใจต่อสถานการณ์ของคน สื่อสามารถทำหน้าที่เฝ้าระวังป้องกันการสื่อสารที่อาจนำไปสู่อารมณ์ที่รุนแรงในสังคมได้อย่างไร รวมถึงลักษณะของการระดมข้อมูลและมีส่วนร่วมกับประเด็น ซึ่งสื่ออาจวางระบบในการสร้างการมีส่วนร่วมกับคนทั่วไปในภาวะวิกฤตผ่านสื่อออนไลน์ได้
  2. รูปแบบของการรายงานข่าวของสื่อแพลตฟอร์มต่างๆที่ศึกษา มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสื่ออย่างไร ในภาวะสถานการณ์ที่แตกต่างกัน คือ หลังเกิดเหตุการณ์ ซึ่งยังอยู่ช่วง Critical Period ของเหตุการณ์วิกฤต และช่วงที่มีการคลี่คลายคดีและการจับคนร้าย และการเปรียบเทียบรูปแบบและประเด็นในการนำเสนอข่าวระหว่างแพลตฟอร์ม
  3. การกำหนดกรอบการนำเสนอ (News Frame) ซึ่งเชื่อว่าการกำกรอบมีผลต่อการสร้างการรับรู้ และทิศทางของการเข้าใจประเด็นที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาจะนำเสนอให้เห็นว่า สื่อใช้กรอบอะไรในการกำหนดประเด็นการนำเสนอในช่วงเวลา 2 สองช่วง การเข้าใจส่วนนี้จะทำให้เห็นภาพบทบาทของสื่อได้ชัดเจนในเหตุการณ์ภาวะวิกฤต
  4. การนำเสนอโมเดลในการสื่อสารในภาวะวิกฤตที่สร้างการทำงานร่วมกันระหว่างคนทั่วไป สื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยเทียบเคียงจากกรณีศึกษาเหตุการณ์วิกฤตในต่างประเทศ เพื่อให้สื่อในประเทศไทยได้นำไปประยุกต์ สร้างรูปแบบเฉพาะในการรายงานข่าวในภาวะวิกฤต ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้งเหตุภัยพิบัติ วินาสภัย เหตุความรุนแรงจากฝึมือมนุษย์ เป็นต้น