ราชดำเนินเสวนา : โครงการ "คิดอย่างไรกับรัฐธรรมนูญ"
หัวข้อ " ส.ส. กับความเป็นผู้แทนของปวงชน"
จัดโดย
สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 28 พฤษภาคม 2552 เวลา 13.00 - 16.00 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
เมื่อเวลา 13.00 น. ที่สมาคมนักข่าว สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการ “คิดอย่างไรกับรัฐธรรมนูญ” ในหัวข้อ “ส.ส.กับความเป็นผู้แทนปวงชน” โดยมีนายวิทยา บุรณศิริ ผู้แทนฝ่ายการเมือง(วิปฝ่ายค้าน) นายวรงค์ เดชกิจวิกรม ผู้แทนฝ่ายการเมือง(วิปรัฐบาล) นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้แทนฝ่ายพลเมือง ดร.ปริญญา เวานฤมิตรกุล ผู้แทนฝ่ายวิชาการ และนางสมศรี หาญอนันตสุข ผู้แทนฝายประชาสังคม
นาย วิทยา กล่าวว่า ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ต้องยอมรับว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจะมีมุมมองที่ต่างกัน ในสังคมชนบท ผู้แทนปวงชนจะเป็นความคาดหวังของประชาชน ในเรื่องของการพัฒนา
ส่วน ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่บัญญัติว่า ส.ส.ไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกียว กับบทบาททางสังคมได้ ไม่สามารถรับรู้ประเพณีปฏิบัติเหมือนที่ผ่านมา ตามมาตรา 265 และ 266 เมื่อเวลามาทำหน้าที่เรื่องการพิจารณาเรื่องงบประมาณ ก็ต้องผ่านสภา ผู้แทนใหม่ๆ จะไม่มี ความรู้เรื่องนี้ โดยเฉพาะมาตรา 265 เขาในฐานะที่เป็นผู้แทนเขต และเห็นว่าคำว่าผู้แทนปวงชน ก็จะเริ่มห่างไป เกิดปัญหา เกิดความไม่เข้าใจ ซึ่งถือว่าเป็นทางตัน เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติ จะต้องมีกลไกปรับปรุงในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ ยังมองว่า ขณะนี้ทรัพยากรบุคคลยังขาดประสบการณ์ และขาดแคลน กฎหมายก็มีส่วน ความเข้มแข็งทางการเมือง และบทบาทของส.ส.ต้องเปลี่ยนไป
ต้องมีสภาราษฎรคู่ขนานกันไป
นาย เนาวรัตน์ กล่าวว่า เขาคิดเลยไปไกลกว่าเรื่อง ส.ส. เรื่องรัฐธรรมนูญ แต่เขาอยากจะพูดว่าอยากเห็นอะไรจากการเมือง ซึ่งทำให้คิดย้อนพระบรมราโชวาท ที่ว่า "บ้านเมืองเรามีทั้งคนดีคนไม่ดี...ต้องส่งเสริมให้คนดีปกครองประเทศ" ซึ่งก็ตรงกับหลักธรรมที่ว่า ไม่คบคนชั่ว คบบัณฑิต และอยู่ในสถานที่อันสมควร หลักธรรมนี้เข้ากับพระบรมราโชวาท ไม่คบคนพาล ให้คนดีมีโอกาสปกครองบ้านเมือง และอยู่ในประเทศที่สมควร ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับน..พ.ประเวศ วะสี ว่า ควรปฏิรูปประเทศไทยได้แล้ว
ทั้ง นี้ การปฏิรูปประเทสไทย คือการเมืองในทัศนะใหม่ เพราะการเมืองเก่าก้าวมาถึงทาง ตัน เพราะเอาเงินเป็นตัวตั้ง สังคมไทยเป็นสังคมบริโภค ส่วนทางตันทางสังคม คือเอาอดีตมาครอบ ทางตันทางการเมือง หมายถึงตกอยู่น้ำเน่าเขาวงกต เอาการเลือกตั้งเป็นสรณะ
ดัง นั้น การที่จะออกจากทางตันได้ ต้องปฏิรูปการเมือง ด้วยการปฏิรูประบบรัฐสภา โดยทุกวันนี้ใช้รัฐสภา ที่มีสภาผู้แทนราษฎรพัฒนาจากคำว่าไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน มาเป็นคำว่าราษฎร ขณะที่เราใช้คำว่าประชาธิปไตย หมายถึงการพัฒนาการเมืองไทยมุ่งไปสู่ผลประโยชน์ของปวงชนเป็นหลัก อำนาจประชาชนเป็นใหญ่ แต่สภาผู้แทนราษฎร กลับล้าหลัง ไม่เข้ากับอำนาจประชาชน จึงเกิดวิกฤติอยู่ในเวลานี้
ส่วน การปฏิรูปรัฐสภา ต้องมี 2 สภาควบคู่ เพราะสภาฯ ปัจจุบันไม่สามารถรองรับปัญหา ประเทศชาติ ปัญหาของโลก ได้ สภาราษฎร หากจะปฏิรูปต้องมีตัวแทน นอกจากส.ส.เขตพื้นที่แล้ว ควรมีส.ส.จากกลุ่มอาชีพ เราฝากความหวังที่ตัวแทนเขตพื้นที่ซึ่งแก้ปัญหาไม่ได้ ส่วนที่มาของส.ส.แบบอาชีพ จะยากอย่างไรให้นักวิชาการช่วยกันคิด
นอก จากนี้ต้อง ปฏิรูประบบพรรคการเมือง ต้องปฏิรูประบบการเลือกตั้งเพราะต่อไปผู้สมัครส.ส.พรรคจะต้องกลั่นกรองใน เรื่องจริยธรรม อยากให้มีสภาจริยธรรม ผู้สมัครที่จะลงเลือกตั้งได้ต้องผ่านคุณบัติเรื่องจริยธรรม เรื่องจิตสำนึกทางการเมือง เพราะที่เราขาดในเวลานี้ คือนักการเมืองไม่มีจิตสำนึกทางการเมือง
"เรา ต้องต้องปฏิรูปผู้มีสิทธิ์ไปเลือกตั้ง ต้องมีชุดคำถามที่ตอบได้ ถ้าไม่ผ่านคุณไม่มีสิทธิ์ไปเลือกตั้ง และต้องมีสภาราษฎร ขนานควบคู่กันไป โดยเอาตัวแทนแต่ละบ้านมาคุยกันเดือนละครั้ง แล้วให้ตัวแทนไปเสนอสภาตำบล จากสภาตำบลคัดตัวแทนไปคุยแก้ปัญหาที่สภาอำเภอ ไปสภาจังหวัด โดยทั้งจังหวัด 76 ก็จะมี 150 คน เมื่อแก้ปัญหานี้ได้ และมีปัยหาใหม่ก็มาเริ่มประชุมที่หมู่บ้านใหม่"
ไปถามประชาชนว่าอยากเลือกส.ส.1 คนหรือ3คน
นาย วรงค์ กล่าวว่า ภาระส.ส.มีอยู่ 4 ประการคือ 1.ไปทำหน้าที่เลือกนายกฯ 2.ออกกฎหมายที่จะมาให้ฝ่ายบริหารใช้บริหารประเทศ 3.ตรวจสอบฝ่ายบริหาร และ4.เป็นปากเป็นเสียง นำปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนมาบอกสภา แต่ที่ผ่านมาส.ส.จะโดนวิพากษ์วิจารณ์ว่า การตั้งรัฐบาล มีการพาดพิงทหารเข้ามาจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเขาไม่สบายใจ และคนที่ต้องออกมาโวยวายคือคนที่โดน บังคับให้ยกมือ ว่าเขาต้องเลือกนายกฯ คนนั้นคนนี้ ในฐานะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้ถามผู้ชุมนุมที่มาชี้แจงว่า มีหลักฐานอะไรบ้างว่ามีทหารเช้ามาแทรกแซง บังคับให้เลือกนายกฯ เขาก็บอกว่าไม่มี เพียงเขาเชื่อเช่นนั้น
ส่วนการทำหน้าที่ตรากฎหมาย นั้น เขายังเห็นว่า ส.ส.ยังละเลยหน้าที่ตรงนี้
"การ ตรวจสอบรัฐบาล ส.ส.รัฐบาล ก็มีหน้าที่ตรวจสอบรัฐมนตรี แต่เวลานี้ที่เป็นห่วงมากคือ ตรรกในสภาหายไปคือพูดความจริงในสภาน้อยลง พูดโดยอาศัยความคิดเห็นไม่มีเหตุผลรองรับเมื่อหลายๆ ครั้งพูดบนความเชื่อที่ไม่เป็นความจริง จนคนทำความจริงตรงจุดนั้นรู้สึกกังวลว่าอะไรคือความจริง"
นาย วรงค์ กล่าวถึงหน้าที่ส..ส.อีกประการหนึ่งที่มักอ้างว่าต้องดูแลประชาชน ว่า ปัจจุบันมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และแต่ละท้องถิ่นก็โตมาก พวกเขาเหล่านั้นเป็นตัวแทนที่จะดูแลคนใน พื้นที่ ซึ่งในอดีตไม่มีท้องถิ่น ทุกคนจึงฝากความหวังไว้ที่ ส.ส. แต่เวลานี้ท้องถิ่นเขามีงบประมาณใช้บริหาร ส.ส.จึงต้องเปลี่ยนบทบาทมาทำการเมืองระดับประเทศ
ด้าน กระบวนการได้มา จากที่เป็น ส.ส.แบบเขตเดียว รู้ว่าเราเป็นซุปเปอร์ท้องถิ่น เป็นเหมือน ส.จ. แต่เมื่อมาเป้น ส.ส.เขตใหญ่ ก็จะเจอประชาชนมากขึ้น ความภูมใจในความเป็นผู้แทนปวงชน ภูมิใจกว่า ชาวบ้านมักจะมาร้องเรียนเรื่องใหญ่ๆ อาทิเช่น เรื่องเขื่นอ การรรับเบี้ยยังชีพ การเรียน ด้วยเกียรติศักดิ์ศรี ส.ส.เขตใหญ่ มีความรู้สึกว่าเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยภาคภูมิใจมากกว่า ดังนั้น การจะได้มาซึ่งผู้แทนอะไรคือปัญหา เรื่องเขต หรือเรื่องเงิน ส่วนตัวเห้นว่าน่าจะไปถามประชาชนว่า อยากเลือกส.ส.1 คนหรือส.ส..3 คน
เลือกเขตใหญ่ไม่ได้หมายถึงเป็นประชาธิปไตย
นาย สมยศ กล่าวว่า การเลือกแบบเขตใหญ่ ไม่ได้เป็นการแสดงถึงประชาธิปไตยแบบหนึ่งคนเสียง ที่สำคัญในส่วนของมาตรา 237 ในเรื่องของการยุบพรรค เป็นการเหมารวมยกเข่ง ทำให้เกิดการทำลายพรรคการเมืองโดยองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นมา จึงเห็นว่าควรยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรานี้ ทั้งนี้ในการเลือกตั้งส.ว. ไม่สมควรจะมีส..ว.ที่สรรหาเข้ามา เพราะไม่เป็นประชาธิปไตยและประชาชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งโดย ตรง
"สมศรี"เสนอเพิ่มสัดส่วนผู้หญิง
น.ส.สม ศรี กล่าวว่า อยากให้เพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในการเมือง และเห็นด้วยกับการเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ส่วนการเลือกตั้งส.ส.เขตเล็ก เขตใหญ่ นั้น มีข้อดี ข้อเสีย ทั้งหมด
"ปริญญา"ซื้อเสียงผิดอาญาต้องส่งฟ้องศาล
นาย ปริญญา กล่าวว่า ความหมายของประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ผลเลือกตั้งควรเป็นผลสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง ส่วนตัวอยากเสนอที่มาส.ส.แบบการเลือกตั้งเยอรมัน คือมีส.ส.เขตละคนครึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นส.ส.แบบสัดส่วน
สำหรับ ประเทศไทย เราไม่บังคับส.ส.สังกัดพรรค แต่เมื่อปี 2517 เจตนารมณ์ผู้ร่างต้องการให้ส.ส.อยู่ใต้อาณัติพรรคการเมืองจึงกำหนดให้ต้อง สังกัดพรรค ต่อมารัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดให้สังกัดพรรคเพิ่มเป็น 90 วันทำให้ส..ส.โดยบังคับไม่ว่ายุบสภา หรืออยู่ครบวาระ ต้องอยู่พรรคเดิมต้องจงรักภักดี ไม่มีประชาธิปไตยในพรคคการเมือง กลายเป็น ส.ส.ต้องจงรักภักดีต่อหัวหน้าพรรค เมื่อเป็นนายกฯ จึงสามารถครอบงำส.ส.ในสภาได้
รัฐ ธรรมนูญ 2550 แก้ปัญหา โดยให้หลักการอิสระแก่ส.ส. เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่อาณัติครอบงำ มีอิสระจากพรรคในกาารตั้งกระทู้ อภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจ แต่ยังบังคับให้ส.ส.ต้องสังกัดพรรค ให้พรรคขับได้ และส.ส.ที่โดนขับต้องพ้นจากส.ส.ปัญหาที่เกิดขึ้นคือหลักอิสระไม่สามารถใช้ ได้ หรือถ้ามีใครกล้าแหกคอกก็จะเกิดปัญหาแตกกันในทางการเมือง แนวทางการทำงานในสภาแตก แต่ต้องอยู่กัน
ด้าน การบังคับให้ส.ส.สังกัดพรรค นั้น แก้ขายตัวไม่ได้ เพราะส.ส.ขายตัวก่อนเลือกตั้ง ทุกพรรคต้องดูดส.ส.เก่าเข้าพรรคหวังชนะเลือกตั้ง ดังนั้น การดูดคือการเปลี่ยนจากซื้อหลัง มาเป็นเป็นก่อน ไม่ได้แก้ปัยหา แต่กลับให้เกิดปัญหารัฐบาลครอบงำตัวแทนปวงชน
นอกจากนี้ การขายตัวเป็นความผิดอาญา ต้องหาช่องทางนำคดีไปสู่ศาลแผนกคดีอาญานักการเมืองให้ได้