๒๔ พ.ย. ฟังเนื้อหาการสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๒ ประจำปี ๒๕๕๙

 

 

 

 

ฟังเสียงการสัมมนายุทธศาสตร์ เพื่ออนาคตวารสาร ครั้งที่ ๑๒

ฟังเนื้อหาช่วงเช้า เปิดงานจนถึงการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การปฏิรูปสื่อกับเจตนารมณ์ของรัฐ”

ฟ้งเนื้อหา วิพากษ์ “ขบวนการปฏิรูปสื่อ”

(ดาวโหลดวิดีโอเนื้อหาการเสวนาวิพากษ์ “ขบวนการปฏิรูปสื่อ”)

เนื้อหาช่วงบ่าย เสวนาเรื่อง “ปฏิรูปสื่อ VS ความอยู่รอด” จนปิดงาน

 

 

 

ข่าว สัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๒  ประจำปี ๒๕๕๙

หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ : ทางออกสังคมไทย?”

 

นายวันชัย  วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ  คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์   จัดการสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๒  ประจำปี ๒๕๕๙ หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ : ทางออกสังคมไทย?”  ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.  ณ  ห้องประชุม JM๔๐๒  ชั้น๔ ตึกคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) โดยมีกิจกรรม การบรรยายพิเศษ และการเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น ดังนี้ การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การปฏิรูปสื่อกับเจตนารมณ์ของรัฐ” โดย  นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)

 

นายวันชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีเวทีการวิพากษ์ “ขบวนการปฏิรูปสื่อ” โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน  นายภัทระ  คำพิทักษ์ อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ   นายชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี  ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  และ นายจักร์กฤษ  เพิ่มพูล กรรมการควบคุมจริยธรรมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ  ดำเนินรายการโดย นายมงคล  บางประภา อุปนายกฝ่ายบริหาร  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ

 

นายวันชัย กล่าวอีกว่า สำหรับภาคบ่ายยังมีการเสวนาเรื่อง “ปฏิรูปสื่อ VS ความอยู่รอด” โดยวิทยากร ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล  รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   นายเขมทัตต์ พลเดช  กรรมการผู้อำนวยการใหญ่  บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง  นายวสันต์ ภัยหลีกลี้  ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นายฐากูร  บุญปาน  กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด มหาชน  ดำเนินรายการโดย นายบรรยงค์  สุวรรณผ่อง กรรมการควบคุมจริยธรรมสมาคมนักข่าวฯ อย่างไรก็ตาม การจัดสัมมนายุทธศาสตร์ฯครั้งนี้ เป็นการเปิดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นของนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ประจำปี ๒๕๕๙  และเพื่อต้องการเผยแพร่ความก้าวหน้าของความร่วมมือระหว่างกัน   ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ในการสะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและเชิงวิชาการต่อประเด็นการปฏิรูปสื่อ  นอกจากนี้เป็นถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยขยายเครือข่ายความร่วมมือให้มีการพัฒนาและสร้างสรรค์ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอีกด้วย  นักวิชาการ และสื่อมวลชนที่สนใจเข้าร่วม กรุณาลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่ www.tja.or.th

 

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานแบบออนไลน์ที่

https://goo.gl/forms/Q3Hm2BfWponRnwfy2

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

 

 

 

 

 

ที่ สขนท.นว. ๒๐๕ / ๑๗ / ๒๕๕๙

 

๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๙

เรื่อง     ขอเชิญร่วม สัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๒  ประจำปี ๒๕๕๙

เรียน    คณบดี  หัวหน้าภาควิชา และอาจารย์ ด้านนิเทศศาสตร์  วารสารสนเทศ และสื่อสารมวลชน

เรียน    หัวหน้ากองบรรณาธิการ บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว นักข่าว ช่างภาพ และนักวิชาชีพสื่อทุกท่าน

สิ่งที่แนบมาด้วย   โครงการ / กำหนดการ

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จะจัดการสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์  ครั้งที่ ๑๒  ประจำปี ๒๕๕๙ หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ : ทางออกสังคมไทย?” ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนมุมมองเชิงวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และปฏิรูปสื่อเพื่อหาทางออกสังคมไทย เพื่อให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ณ  ห้องประชุม JM402  ชั้น๔ ตึกคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

ในการนี้  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  จึงเรียนมาเพื่อขอเชิญท่านเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว(มีรายละเอียดตามโครงการและกำหนดการในสิ่งที่ส่งมาด้วย)   โดยลงทะเบียนเข้าร่วมงานแบบออนไลน์ที่ www.tja.or.th หรือ http://bit.ly/tjasymposium2559 หรือติดต่อโดยตรง นายพีรพัฒน์  ดิลกกัลยากุล มือถือ ๐๘๖-๐๗๔๐๐๐๕ e - mail: tjareporter@gmail.com

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับเกียรติจากท่านในครั้งนี้และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

ขอแสดงความนับถือ

(นางสาวนิภาวรรณ  แก้วรากมุกข์)

เลขาธิการ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

หมายเหตุ หมายเหตุ สำหรับผู้ร่วมการประชุมจากต่างจังหวัด ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯจะประสานงานที่พักให้เท่านั้น ค่าพาหนะ และค่าที่พักขอให้ท่านเบิกจากต้นสังกัดของท่าน นอกจากนี้เนื่องจากที่มหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ไม่สะดวกเรื่องที่จอดรถ ขอความกรุณาเดินทางโดยรถสาธารณะ หรือ แท็กซี่  ขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

 

ดาวโหลดจดหมายเชิญร่วมสัมมนา   ส่งถึงนักวิชาการสื่อส่งถึงนักวิชาชีพสื่อ

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานแบบออนไลน์ที่

https://goo.gl/forms/Q3Hm2BfWponRnwfy2

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

 

 

โครงการสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๒ ๑๒  ประจำปี ๒๕๕๙

หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ : ทางออกสังคมไทย?”

วันพฤหัสบดีที่  ๒๔  พฤศจิกายน   ๒๕๕๙    เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ  ห้องประชุม JM402 ชั้น๔ ตึกคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์วารสารศาสตร์ก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน  อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว  การเพิ่มปริมาณและประเภทของสื่อใหม่ๆ ที่เป็นทางเลือกให้แก่ผู้รับสาร นอกเหนือจากสื่อดั้งเดิมที่เคยเป็นสื่อหลักของสังคม   รสนิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้รับสาร  การลดลงของผู้อ่านหนังสือพิมพ์ งบประมาณโฆษณาที่เคลื่อนตัวไปยังสื่อใหม่ๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้ตรงกว่า  องค์กรข่าวกำลังอยู่ระหว่างการปรับตัว  การเคลื่อนย้ายทุนจากการเน้นลงทุนที่คนและคุณภาพของเนื้อหา ไปยังการลงทุนด้านเทคโนโลยี (Technology Investment) และการดำเนินการทางการตลาด ความพยายามเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบและเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการปรับเนื้อหา ลีลาและรูปแบบการนำเสนอ รวมทั้งเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้รับสารมากขึ้น

ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ภาวะ ‘การหลอมรวมกันของสื่อ’ (Media Convergence) นั่นหมายถึงทั้งในแง่ของเทคโนโลยี ที่ใช้องค์กรสื่อที่ขยายครอบคลุมธุรกิจสื่อหลายประเภทในเวลาเดียวกัน การร่วมมือกันระหว่างองค์กรในลักษณะพึ่งพาอาศัยกัน และงานข่าวที่มีเนื้อหาออกหลากหลายช่องทาง แนวโน้ม Convergent Journalism  ถูกมองว่าเป็นวารสารศาสตร์แห่งอนาคต  การรายงานข่าวเน้นข่าวเดียวออกหลากหลายช่องทาง  (One Content , Multiple Platforms) เพื่อตอบสนองผู้รับสารที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ที่ต้องการบริโภคข่าวทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ

นอกจากการปรับตัวของสื่อหนังสือพิมพ์ที่เคลื่อนเข้าหาสื่ออื่นๆ สื่อโทรทัศน์ก็กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังระบบดิจิทัล ความไม่แน่นอนเชิงโครงสร้างและนโยบาย การแย่งชิงความสนใจจากผู้รับสารที่บริโภคผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม ทั้งสื่อดั้งเดิมที่เคยมีอยู่และสื่อใหม่มากมาย นั่นหมายถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่มีจำนวนผู้ต้องการส่วนแบ่งมากขึ้นเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันสังคมก็กำลังตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของสื่อ ความสามารถในการกำกับดูแลกันเองตามอุดมคติของวิชาชีพสื่อ  และเรียกหาจริยธรรมและความรับผิดชอบจากสื่อ ซึ่งนำไปสู่แนวคิดการปฏิรูปสื่อ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อ และกระบวนการผลิตสื่อวารสารศาสตร์ทำให้  สถาบันการศึกษา  และสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์ ที่เป็นองค์กรบ่มเพาะนักวารสารศาสตร์จำเป็นต้องนำมาพิจารณา ปรับปรุง และประกอบสร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดย ‘เครือข่ายวิชาชีพและวิชาการวารสารศาสตร์’ ได้จัดประชุมเครือข่ายในรูปแบบการสัมมนา“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ด้วยการนำเสนอและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในแง่มุมต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพทางด้านวารสารศาสตร์ แล้วทั้งสิ้น ๑๑ ครั้ง ดังนี้

  • ครั้งที่ ๑ หัวข้อ ‘ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์’ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ครั้งที่ ๒ หัวข้อ ‘Convergence Newsroom’ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ ๓ หัวข้อ ‘การตรวจสอบในยุคหลอมรวมสื่อ (Monitoring  Media  in  the  Convergence  Era)’ ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ครั้งที่ ๔ หัวข้อ ‘ทิศทางวารสารฯ ในยุคสงครามแพลตฟอร์ม’ ณ มหาวิทยาลัยเนชั่น   จังหวัดลำปาง
  • ครั้งที่ ๕ หัวข้อ ‘คนเปลี่ยน สื่อปรับ รุก-รับ อย่างไร’ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ ๖ หัวข้อ ‘ASEAN Journalism & Education’ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ครั้งที่ ๗ หัวข้อ ‘ตำราวารสารศาสตร์ คอนเวอร์เจ้นซ์’ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ครั้งที่ ๘ หัวข้อ ‘ปฏิวัติคนข่าว อภิวัฒน์สื่อ ปฏิรูปหลักสูตร’ ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ครั้งที่ ๙ หัวข้อ ‘ปฏิวัติคนข่าว: ทิศทางการพัฒนาบุคลากรสื่อ’ ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ครั้งที่ ๑๐ หัวข้อ “ปฏิวัติคนข่าว ทุน-อุดมการณ์การปรับตัวของนักนิเทศศาสตร์ยุคดิจิทัล” ณ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ครั้งที่ ๑๑  หัวข้อ “ถอดบทเรียนคอนเวอร์เจ้นท์ จากอดีต สู่อนาคต”  ณ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  ในวันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
  • คณะทำงานจะจัดสัมมนา ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๒  ภายใต้หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ : ทางออกสังคมไทย?”   วันพฤหัสบดีที่  ๒๔  พฤศจิกายน   ๒๕๕๙    เวลา ๐๘.๓๐ ๑๖.๓๐ น. ณ  ห้องประชุม JM402  ชั้น๔ ตึกคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องข่าวสาร และความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. เพื่อสนับสนุน หรือเป็นสื่อกลางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพ ในการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษาและโครงการพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพให้ทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงในปัจจุบัน

รายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม/วิธีดำเนินการ

กลุ่มเป้าหมาย

นักวิชาการ นักวิชาชีพ สื่อมวลชน นักศึกษา จำนวน ๑๐๐ คน

รูปแบบดำเนินการ

การบรรยายพิเศษ  การสัมมนา นำเสนอผลงานทางวิชาการ และประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พฤศจิกายน   ๒๕๕๙    เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

สถานที่จัดงาน

ณ ห้องประชุมคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนา องค์กรทางด้านวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต โดยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

๔. สร้างสังคมที่มีสุขภาวะที่ดีจากการมีสื่อที่คุณภาพ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

๑. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

๒. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

๓  สถาบันอิศราฯ

๔. คณะทำงานวารสารศาสตร์แห่งอนาคต

๕. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๖. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ได้เผยแพร่องค์ความรู้ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิชาการวิชาชีพสาขาวารสารศาสตร์

๒. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการจัดทำหนังสือ ตำรา คู่มือในประเด็นต่าง ๆ ภายใต้โครงการวารสารศาสตร์แห่งอนาคต อันเป็นความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและวิชาชีพ

๓. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและวิชาชีพสื่อมวลชน

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

 

กำหนดการสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๒  ประจำปี ๒๕๕๙

หัวข้อ “ปฏิรูปสื่อ : ทางออกสังคมไทย?”

วันพฤหัสบดีที่  ๒๔  พฤศจิกายน   ๒๕๕๙   เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

ณ ห้อง JM 402 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สถาบันอิศราฯ  คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐  น.      ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ – ๐๙.๐๕ น.       กล่าวต้อนรับ

โดย         รองศาสตราจารย์พรทิพย์  สัมปัตตะวนิช คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

๐๙.๐๕ – ๐๙.๑๕ น.       กล่าวเปิดงาน

โดย ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

๐๙.๑๕ – ๑๐.๑๕  น. บรรยายพิเศษ หัวข้อ “การปฏิรูปสื่อกับเจตนารมณ์ของรัฐ”

โดย  นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)

๑๐.๑๕ – ๑๐.๓๐ น.       พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. วิพากษ์ “ขบวนการปฏิรูปสื่อ”

รองศาสตราจารย์มาลี บุญศิริพันธ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน

นายภัทระ  คำพิทักษ์ อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

นายชวรงค์  ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

นายจักร์กฤษ  เพิ่มพูล กรรมการควบคุมจริยธรรมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ

ดำเนินรายการโดย         นายมงคล  บางประภา อุปนายกฝ่ายบริหาร  สมาคมนักข่าว

(สรุปเนื้อหาทั้งหมดช่วงเช้า โดย ดร.วิไลวรรณ  จงวิไลเกษม  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และนายเปี่ยมศักดิ์  คุณากรประทีป)


๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.        พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐  น. เสวนาเรื่อง “ปฏิรูปสื่อ VS ความอยู่รอด”

ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์*

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่

บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

นายฐากูร  บุญปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด มหาชน

ดำเนินรายการโดย นายบรรยงค์  สุวรรณผ่อง กรรมการควบคุมจริยธรรมสมาคมนักข่าวฯ

(สรุปเนื้อหาทั้งหมดช่วงบ่าย นายพงศ์พิพัฒน์  บัญชานนท์ )

๑๕.๓๐ – ๑๕.๔๕  น.      พักรับประทานอาหารว่าง


๑๕.๔๕ – ๑๖.๐๐   น. สรุปผลการสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ ๑๒

โดย  ดร.วิไลวรรณ  จงวิไลเกษม และ นายพงศ์พิพัฒน์  บัญชานนท์

๑๖.๐๐ – ๑๖.๑๕  น.      ปิดการสัมมนา  โดย  นายวันชัย วงศ์มีชัย นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย