7เมย52-ราชดำเนินเสวนา “บำนาญแห่งชาติหลักประกันรายได้ยามชรา”

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
ร่วมกับ  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ขอเชิญสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์   วิทยุและโทรทัศน์   เข้าร่วมฟังการเสวนาในกิจกรรม
ราชดำเนินเสวนา   ครั้งที่ 1/2552
“บำนาญแห่งชาติหลักประกันรายได้ยามชรา”
วันอังคารที่  7เมษายน  2552เวลา    13.30 - 15.30   น.
ณ  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย   ถ.สามเสน   ตรงข้าม รพ.วชิระ
วิทยากร
ดร. วรวรรณ   ชาญด้วยวิทย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
นพ. ถาวร   สกุลพาณิชย์
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ผศ. สถิตพงศ์   ธนวิริยะกุล
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย
บังคับออมตั้งแต่อายุ 15/กท.ทรัพย์
เปิด 2 โมเดลกองทุนบำนาญแห่งชาติ  เสนอกฎหมายบังคับออมตั้งแต่อายุ 15 เริ่ม 50 บาท ลุ้นรัฐบาลรับลูกหนุนคนไทยเก็บเงินใช้ตอนแก่   
วันที่ 7 เม.ย. จากการเสวนาเรื่อง “บำนาญแห่งชาติหลักประกันรายได้ยามชรา”  จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) โดย ดร.วรวรรณ  ชาญด้วยวิทย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)  หนึ่งในทีมนักวิจัยที่ศึกษาออกแบบบกองทุนบำนาญแห่งชาติ  กล่าวว่า   ความจำเป็นของการศึกษาระบบบำ นาญแห่งชาติ   เนื่องจากพบว่าในอีก 40 ปีข้างหน้า หรือในปี  2593 คนไทยที่อยู่ในวัยทำงานจะกลายเป็นประชากรผู้สูงอายุสูงถึง  44 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 25.12%  โดยในจำนวน 34 ล้านคนยังไม่มีหลักประกันรายได้ในวัยชรา  ส่วนใหญ่มีอาชีพรายได้ไม่แน่นอนและไม่มั่นคง เมื่อเข้าสู่วัยชราแล้วค่อนข้างเสี่ยงต่อความยากจน หากจะรอเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาทต่อเดือนรัฐบาลคงแบกภาระไม่ไหว อีกทั้งจากการประเมินมูลค่าเงินอีก 20 ปีเงิน 500 บาทจะเหลือ 300 บาทเท่านั้นอหากจะเพรียงพอต่อการซื้ออาหารเฉลี่ยต่อเดือน 650 บาท ดังนั้นจึง ต้องมองไปข้างหน้าคนที่อยู่ในวัยทำงานก็ควรที่จะพร้อมเพื่อการออมในอนาคต

ดร.วรวรรณ   กล่าวอีกว่า  จากการหารือในหลายเวทีกับกลุ่มกองทุนที่มีสวัสดิการ และหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องโดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ขณะนี้ค่อนข้างมีความชัดเจนในเรื่องรูปแบบระบบบำนาญแห่งชาติแล้ว โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ กล่าวคือ รูปแบบแรก ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังเสนอการออมเพื่อการชราภาพ เริ่มตั้ง 15-59 ปี เริ่มออมขั้นแรก 100 บาท รัฐบาลช่วย 50 บาทสะสมไปเรื่อย จนเกษียณอายุ ก็จะได้เงินสองส่วนคือ 500 บาทจากภาครัฐและ 150 บาทจากที่ออมและรัฐบาลช่วยออม หรือเฉลี่ย 650 บาทต่อเดือน
ส่วนรูปแบบที่สองเสนอ โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุน 20 - 59 ปี ต้องออมขั้นต่ำ 50 บาทต่อเดือน รัฐไม่สมทบ แต่ในวันที่เกษียณจะได้เงินจากรัฐ  500 บาทบวกกับเงินบำนาญ ที่ออมไว้เฉลี่ย 1,925 บาทต่อเดือน แต่หากออมต่อเดือนมากกว่า 100 บาท-250 บาท ก็จะทำให้ได้รับเงินมากถึง 2,876 บาทต่อเดือนไปตลอดชีวิต ขณะที่ภาระปัจจุบันที่รัฐต้องจ่ายเงิน 500 บาทมีประมาณ 43,000 ล้านบาท และหากไม่มีการส่งเสริมให้ประชาชนออมและรัฐต้องใช้เงินเพิ่มเป็น 1 แสนล้านบาทต่อปี
“ขณะนี้ทั้ง 2 รูปแบบ พร้อมจะเสนอให้กับคณะอนุกรรมการผลักดันระบบการออมเพื่อวัยผู้สูงอายุแห่งชาติ ในวันที่ 28 เม.ย.นี้ เพื่อสรุปเสนอต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่ง ชาติ ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อผลักดันเป็นนโยบายต่อไปแล้ว และเชื่อว่าในส่วนของนักการเมืองเองในระยะ 1-2 ปีข้างหน้าไอเดียนี้น่าจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะแม้แต่รัฐบาลอภิสิทธ์  ที่ออกรูปแบบการจ่ายเงินผู้สูงอายุทุกคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปนั้น ก็ถือเป็นความพยายามในการส่งเสริมการออม เพียงแต่เริ่มต้นอาจจะเป็นประชานิยมในระยะแรก แต่ในอนาคตถ้าแปลงจากประชานิยมเป็นสิทธิบำนาญที่ประชาชนมีส่วนร่วม” นักวิชาการ ระบุ
เมื่อถามว่าจะทำอย่างไรถึงจะสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนสนใจการออมมากขึ้น โดยภาพในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้ ดร.วรวรรณ  กล่าวยอมรับว่า เป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนเดินเข้ามาเพื่อออมเงินทันที ดังนั้น  ในส่วนของภาคประชาชนจะมีแรงจูงใจในการออมเงินผ่านกองทุนบำนาญที่จะต้องมีการออกเป็นกฎหมายมาบังคับใช้ แต่จะไม่มีบทลงโทษหากไม่ออมเงินดังกล่าว ส่วนคนที่ออมจะได้สิทธิประโยชน์ จากระบบบำนาญแห่งชาติ อาทิ เงินบำนาญชราภาพ เงินบำนาญทุพลลภาพ เงินบำเหน็จตกทอดถึงบุตรหลานในกรณีเสียชีวิต อีกทั้งในเรื่องการออม ก็อาจใช้ผ่านระบบเคาเตอร์เซอร์วิส  เพื่ออำนวยความสะดวกในการออมเงิน  ส่วนการรับเงินเมื่อถึงวัยเกษียณก็ให้มาขึ้นทะเบียนได้ทุกพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องกลับไปยังในพื้นที่ตามบัตรประชาชนเพราะจะยุ่งยาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังเสนอให้บริหารกองทุนแบบนิติบุคคล แต่ไม่สังกัดหน่วยงานใด แต่จะเป็นองค์กรอิสระ รวมทั้งกระบวนการสรรหาผู้บริหารกองทุนที่จะเข้ามาบริหารงานเพื่อลดความเสี่ยง  เป็นต้น
ด้าน นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์  ผู้อำนวยโครงการปฎิรูประบบสุขภาพ   สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า   เห็นด้วยกับการทำให้กองทุนบำนาญแห่งชาติเกิดขึ้น เนื่องจากสภาพสังคมไทยในอนาคต ครอบครัวใหญ่น้อยลง และมีผู้สูงอายุต้องดูแลตัวเองเยอะขึ้น ทั้งนี้แม้รัฐบาลเริ่มหลักประกันด้วยเบี้ยยังชีพ แต่ดูจริง ๆ มันไม่พอที่จะทำให้ได้ปัจจัย 4 ในอนาคต ผู้สูงอายุควรมีการันตีขั้นต่ำระดับหนึ่ง ก็น่าต้องมีการันตีว่าสามารถดำรงชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี เมื่ออายุเยอะขึ้น แต่เบี้ยยังชีพอย่างเดียวไม่พอ ถ้าเราบอกว่า  เขาจะต้องมีค่า ใช้จ่ายเรื่องอื่นขึ้น อย่างเช่นที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม การที่มีหลักประกันมั่นคงด้านรายได้ถ้วนหน้ามันต้องมี แต่หากกองทุนไม่เกิดอนาคตคนวัยทำงานก็ต้องแบกรับภาษี เพื่อมาสมทบกับภาระในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุมากขึ้น โดย  เฉพาะกองทุนบำนาญแห่งชาตินี้ไม่ได้เอื้อประโยชน์กับผู้ที่มีประกันสังคม แต่ต้องการเอื้อกับแรงงานนอกระบบ
“เชื่อว่าคนทั่วไปก็น่าจะเห็นด้วย  เพราะถือเป็นการออมสำหรับใช้ในอนาคต และจากการคุยกับภาคประชาชนในกลุ่มแรงงานนอกระบบ รวมทั้งกลุ่มออมทรัพย์ต่างๆ ก็สนับสนุน  ดังนั้นสิ่งที่เหลือคือการผลักดันจากทางการเมือง ซึ่งภายใน 1-2 ปีข้างหน้า อาจยังจะเพิ่งเห็นรูปธรรม”