ราชดำเนิน” จัดเสวนา ส่องประเด็นร้อนประชุมอาเซียน จับตา “ไทย” ชูความยั่งยืนภูมิภาค เชื่อมโยงไร้รอยต่อ 10 ประเทศ ด้าน “กวี” แนะไฮไลต์ปลายปี ลุ้นมหาอำนาจโลกมาพบกันที่ไทย

ราชดำเนิน" จัดเสวนา ส่องประเด็นร้อนประชุมอาเซียน จับตา "ไทย" ชูความยั่งยืนภูมิภาค เชื่อมโยงไร้รอยต่อ 10 ประเทศ ด้าน "กวี" แนะไฮไลต์ปลายปี ลุ้นมหาอำนาจโลกมาพบกันที่ไทย

16 มิ.ย.62-ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัด "ราชดำเนินเสวนา" หัวข้อ “ส่องสาระ-ประเด็นร้อน ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34” โดยมีนายกวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอิสระอาวุโส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาเซียน น.ส.อุศนา พีรานนท์ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เป็นวิทยากรผู้บรรยาย

 

 

น.ส. อุศนา พีรานนท์ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในปีนี้เป็นวาระพิเศษที่ประเทศไทยได้เป็นประธานอาเซียนอีกครั้ง ภายหลังเคยเป็นประธานอาเซียนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก่อนจะส่งต่อให้ประเทศเวียดนามเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า โดยหัวใจหลักของการเป็นประธานอาเซียนของไทยจะดำเนินการเรื่องความยั่งยืน ในหัวข้อ "ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน" เพื่อวางรากฐานไว้คนอนาคตอีก 50 ปีข้างหน้า อาทิ การพัฒนาเศรษฐกิจ หรือความมั่นคงในชีวิต โดยมีโจทย์ให้ประชาชนที่เป็นศูนย์กลาง ซึ่งการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 ในวันที่ 22-23 มิ.ย. เป็นการประชุมเฉพาะผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ของอาเซียน อาทิ ภาคเยาวชน สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน เป็นต้น เพื่อหารือถึงประเด็นที่เป็นปัญหาของประเทศในอาเซียนเท่านั้น ส่วนการประชุมอีกครั้งในช่วงปลายปี 2562 จะให้ผู้นำอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ในหรือสหประชาชาติ

น.ส.อุศนา กล่าวต่อว่า สำหรับพิธีเปิดในวันที่ 23 มิ.ย. จะมีพิธีเปิดศูนย์จัดเก็บอุปกรณ์บรรเทาทุกข์ของอาเซียนที่ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นสถานที่เก็บอุปกรณ์ช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติในประเทศเพื่อนบ้านของไทย เพื่ ให้การส่งความช่วยเหลือทำได้รวดเร็ว จากเดิมศูนย์แห่งนี้อยู่ในจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน อยู่ในพื้นที่กรมแพทย์หทารบก เพื่อเป็นหนึ่งในศูนย์ที่เป็นหนึ่งในกลไกที่มาจากกฎบัตรอาเซียน ส่วนประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนี้ มีหัวใจสำคัญต้องขับเคลื่อนโดยไมทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามที่นายกรัฐมนตรีเคยประกาศไว้ โดยเฉพาะการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ อาทิ ความมั่นคงทางไซเบอร์ การดูแลทรัพยากรธรรมชาติ การต่อต้านการค้าสัตว์ป่า การบริหารจัดการชายแดน ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญเรื่องชายแดนอย่างมาก เพราะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค ดังนั้นจะทำอย่างไรให้การลงทุน หรือการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่เสรีมากขึ้น แต่ต้องไม่เกิดผลเสียกับประเทศไทย ไม่ให้กลุ่มอาชญากรข้ามชาติเข้ามาใช้ประโยชน์ตรงนี้ได้

"เรื่องการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม เราเน้นว่าเป็นการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ โดยมองตัวอย่างไปที่ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ซึ่งอาเซียนก็มีแผนงานหลักการเชื่อมโยงภูมิภาค 2025 เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ทุกกรอบเกื้อหนุนซึ่งกันและกันอย่างไร้รอยต่อ ให้ทุกอย่างเอื้อประโยชน์ในประเทศภูมิภาค เพื่อสุดท้ายจะหาข้อสรุปว่าจะหาประโยชน์ให้ประชาชนในอาเซียนอย่างไร โดยบรรยากาศครั้งนี้จะได้เห็นการดูแลสิ่งแวดล้อมในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่การใช้กระดาษรีไซเคิล หรือการลดใช้ขวดพลาสติกในการประชุมครั้งนี้ และในปีนี้ใช้คำเรื่องความยั่งยืนเป็นโจทย์ให้ทุกประเทศยอมรับได้ เพราะครอบคลุมในหลายด้าน ที่ทุกฝ่ายจะร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนให้เชื่อมโยงทุกมิติ"น.ส.อุสนา กล่าว

 

 

ด้านนายกวี จงกิจถาวร สื่อมวลชนอิสระอาวุโส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาเซียน กล่าวว่า สำหรับโลโก้ของการประชุมอาเซียนครั้งนี้ถือว่าดีที่สุดใน 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการชื่นชมอย่างมากในการคิดธีมการใช้คำในการประชุม ซึ่งการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยเตรียมตัวมา 2 ปีล่วงหน้าเพราะต้องแสดงฝีมืออย่างเต็มที่ โดย 5 เดือนที่ผ่านมามีการประชุมระดับสูงมาแล้ว 10 ครั้งในระดับอื่นๆ 120 ครั้ง เพื่อถกสารัตถะและวาระการประชุม โดยในวันที่ 22 มิ.ย.จะเป็นกาประชุมเต็มคณะร่วมกันในเวลา 1 ชั่วโมง ภายใต้แนวคิด "ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน" โดยขอให้เข้าใจข้อมูลพื้นฐานของอาเซียนเพื่อไม่ให้รายงานข่าวผิดพลาด

"ส่วนในวันที่ 23 มิ.ย.เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการเป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยจะคุยกันได้ทุกเรื่องแล้วแต่ผู้นำประเทศจะหยืบยกขึ้นมา โดยคาดว่าจะมีประเด็นที่อาจพูดถึง อาทิ ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯกับจีน ปฏิรูปองค์การค้าโลก แนวคิดอินโดแปซิฟิก สถานการณ์เกาหลีเหนือ ทะเลจีนใต้ หรือปัญหารัฐยะไข่ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน นอกจากนี้จะมีจุดยืนร่วมกันเพื่อนำไปถกร่วมกับผู้นำเจรจาในกรอบอีเอเอส ในวันที่ 4 พ.ย. 2019"นายกวี กล่าว

นายกวี กล่าวด้วยว่า ขณะที่แนวคิดอาเซียนเรื่อง "อินโดแปซิฟิก" ที่เรียกว่า "กรอบความร่วมมืที่มีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง" คือ อินเดียบวกแปซิฟิคเท่ากับอินโดแปซิฟิค ถ้าไม่รู้ที่มาที่ไปจะอธิบายไม่ได้ แต่ที่มีการพูดว่าอาเซียนไม่มีน้ำยา เป็นเรื่องพูดถูกแล้ว เพราะอาเซียนจะใส่ยาอะไรเข้าไปก็รับหมด เราไม่มีพิษสงแต่จะมีอำนาจมากที่สุด และไม่ศัตรูเลย ส่วนการประชุมอีกครั้งวันที่ 4 พ.ย.2562 จะต้องดูว่านายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเดินทางมาร่วมประชุมด้วยหรือไม่ นอกจากนี้อาจจะได้เห็นการพบกันของทรัมป์และคิมจิงอึนครั้งที่ 3 อาจจะเกิดที่ประเทศไทยได้ ดังนั้นพวกเราต้องทำความเข้าใจและศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพราะข่าวเล็กๆ น้อยๆ ของอาเซียนสนุกมาก อาทิ เรื่องการเลือกโรงแรมที่พักของผู้นำแต่ละประเทศในการมาร่วมประชุมครั้งนี้

 

 

 

รับชมการถ่ายทอดย้อนหลังที่นี้

 

ขอเชิญเพื่อนสื่อมวลชนร่วมกิจกรรมราชดำเนินเสวนา หัวข้อ

ส่องสาระ-ประเด็นร้อน ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๓๔”

วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๒  เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐น

ณ ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น ๓ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

วิทยากร

กวี จงกิจถาวร

สื่อมวลชนอิสระอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาเซียน

อุศนา พีรานนท์

รองอธิบดีกรมอาเซียน

ผู้ดำเนินรายการ กรชนก รักษาเสรี

รองบรรณาธิการข่าว หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์