สังคมไทยเรียนรู้อะไรจากคดียึดทรัพย์ ?
7 มีนาคม ที่ผ่านมา สมาคมนักข่าวจัดราชดำเนินเสวนา เรื่อง "สังคมไทยเรียนรู้อะไรจากคดียึดทรัพย์" ? มีวิทยากรร่วมเสวนา ประกอบด้วย ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี
สมาคมนักข่าว สรุปประเด็นน่าสนใจมาฝากคุณผู้อ่านดังนี้
ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า มีคำวิจารณ์หลากหลายหลังคดียึดทรัพย์ ที่มีความเคลื่อนคลาด เช่น กรณีที่วิจารณ์ว่า อย่าใช้รัฐประหารแก้คอรัปชั่น เพราะไม่เช่นนั้นจะทำลายกระบวนการยุติธรรมของศาลทั้งหมด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะจริงๆ แล้วจะต้องพิจารณาแยกเป็น 2 ประเด็น
คือ การแก้คอรัปชั่นนั้น จริงๆแล้วจะมีกระบวนการยุคิธรรมที่ตั้งอยู่ได้ด้วยอำนาจในตัวเอง และกรณีการยึดทรัพย์เอกชนนั้น ความจริงเป็นการยึดเพียงบางส่วน ซึ่งเป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำรงต่ำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองในช่วงเวลานั้น เป็นการแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง ถือเป็นลาภที่ไม่ควรได้
"เรื่องนี้ ไม่ใช่การยึดทรัพย์ เอกชน แต่เป็นการเรียกคืนทรัพย์ที่ได้จากการปกครองแผ่นดิน ที่เอาไปจากตอนที่นั่งทำงานทางการเมือง ซึ่งกฎหมายบอกว่า เมื่อใดนักการการมเองไม่ทำประโยชน์เพื่อแผ่นดินแล้ว เมื่อนั้นประชาชนไม่เชื่อถือ เขามีหน้าที่ทำการเพื่อประโยชน์แก่แผ่นดิน เพื่อปวงชน ถ้าปล่อยให้ทำผิดก็เข้าสู่มือใครยาวสาวได้สาวเอา เพราะฉะนั้นการวินิจฉัยนี้ ไม่ได้เป็นการลงโทษทางอาญา แต่เป็นกฎหมายที่เรียกคืนจากลาภที่ไม่ควรได้ ซึ่งเป็นกลักการกฏหมายทางแพ่งที่เอาประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดิน "
นายจาตุรนต์ ฉายแสง กล่าวว่า มีข้อสังเกตหลายประการในคดียึดทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น บรรยากาศก่อนมีคำพิพากษา เต็มเป็นด้วยการกดดันศาล ชี้นำสังคมอย่างเอิกเกริก ให้สังคมตัดสินไปก่อน ขณะที่สื่อของรัฐ สื่อกระแส มีความเห็นไปทางใดทางหนึ่ง โหมประโคมข่าวเพื่อให้ยึดทรัพย์ ขณะที่โดยเหตุผลของคดีนี้ในการยึดทรัพย์ เป็นทรัพย์ของผู้ที่ไม่ได้เป็นนักการเมือง ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ไม่สามารถยึดได้ ฉะนั้น ต้องมีการสรุปก่อนว่า ทรัพย์นี้เป็นของนักการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ ก็คือ ของคุณทักษิณ และต่อด้วยเรื่องเอื้อประโยชน์ที่ทำให้รัฐเสียหาย หรือต่อไปด้วยการทำให้ทรัพย์ให้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ได้มาโดยไม่สมควรแล้วถึงจะยึดได้ และจากทรัพย์ที่ตามกฏหมายได้ระบุว่าเป็นของลูกและน้องหรือญาติ เมื่อสรุปว่าเป็นของคุณทักษิณ ก็เลยยึดได้
แต่จากคำพิพากษา มีคำถามในหลายประเด็น ถ้ามองจากคุณทักษิณหรือมองไปที่ลูกและน้องของคุณทักษิณ จะพบปัญหาสำคัญ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยเป็นเอกเทศ คุ้มครองกรรมสิทธิ์เอกชน บรรทัดฐานเกี่ยวกับเหตุที่จะยึดทรัพย์ของเอกชนมาเป็นของรัฐคืออย่างไร การที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองกรรมสิทธิ์เอกชน โดยมองจากลูกและน้องคุณทักษิณ ทรัพย์สินนี้ เมื่อไหร่จึงถือว่าเป็นของคนอื่น เมื่อไหร่จะถือว่าพึงยึดได้โดยรัฐ
นี่เป็นเรื่องหลักการใหญ่ของประเทศเสรีและประเทศที่มีรัฐธรรมนูญคุ้มครองกรรมสิทธิ์เอกชน เพราะว่าตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่การรับโอนหุ้นมา การมีหุ้น การซื้อขายหุ้นให้เทมาเส็ก การทำนิติกรรมสัญญา หรือนิติกรรมทั้งหลาย หุ้นและทรัพย์สินนี้เป็นของลูกและน้อง ไม่ใช่ของพ.ต.ท.ทักษิณ รวมทั้งเมื่อขายแล้ว และได้เป็นเงินก็เป็นของลูกและน้องตามกฏหมายทั้งหมด
คำถามคือ ระบบตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยและระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยมีภูมิคุ้มกันให้แก่กรรมสิทธิ์เอกชนของผู้ที่เข้ามาอยู่ในระบบนี้มากน้อยแค่ไหนคดีนี้ได้มีการลงโทษโดยการยึดทรัพย์ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดกฏหมายใดๆ แต่อาศัยเหตุว่าเอื้อประโยชน์ทำให้รัฐเสียหาย แต่ไม่มีว่าขัดกฏหมายข้อไหน อย่างไร
ที่ยกตัวอย่างนี้เพื่อเปรียบเทียบกับคดีหวยบนดิน ซึ่งพิพากษาว่า คณะรัฐมนตรีที่ออกมติไปไม่มีอำนาจตามกฏหมาย เอาเงินไปใช้ก็ไม่มีอำนาจตามกฏหมาย แต่ในคดีนี้ การออกมติต่างๆ ทั้งหมด รวมทั้งการออกกฏหมาย ไม่มีเรื่องใดที่ผิดกฏหมาย แต่นำไปสู่การยึดทรัพย์ที่สรุปว่า มีการเอื้อประโยชน์และได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร
นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก ที่เราจัดการกับผู้ที่เห็นว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่ในทางเอื้อประโยชน์ โดยผู้ที่ถูกกล่าวหา ไม่ปรากฏว่ามีการทำผิดกฏหมายใด
นอกจากนี้ คดีนี้ยังมีผลกระทบต่อหลักการแยกอำนาจ คือ อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในกรณีนี้ไม่ปรากฏว่าทำผิดกฏหมาย แต่ศาลพิจารณาประเด็นเชิงนโยบาย คือ การดำเนินการต่างๆ 5 มาตรการนั้น ส่วนใหญ่ เป็นประเด็นเชิงนโยบาย มีประเด็นยกเว้นเรื่องกฏหมายสรรพสามิต ที่เป็นเรื่องการออกมาตรการเชิงนโยบายของหน่วยราชการต่างๆ ศาลพิจารณาว่า มาตรการเหล่านี้ดีหรือไม่ดีอย่างไรกับบ้านเมือง แต่การเห็นด้วยว่าดีหรือไม่ดีกับบ้านเมืองนั้น ในความเห็นผมคือ เป็นประเด็นทางนโยบายที่เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และตรวจสอบได้โดยองค์กรต่างๆ และ รัฐบาล
ในหลักการแบ่งแยกอำนาจ ศาลจึงไม่น่าจะมีขอบเขตอำนาจที่จะพิจารณาเรื่องผลดีหรือเสียต่อบ้านเมือง เพราะเป็นปัญหาเชิงนโยบาย ศาลพึงพิจารณาในเรื่องว่า ได้กระทำผิดกฏหมายหรือไม่ นี่คือหลักการแยกอำนาจ ที่ศาลได้ทำหน้าที่ข้ามมาในส่วนที่เป็นปัญหาเชิงนโยบาย ที่จะต้องตรวจสอบโดยรัฐสภาและประชาชน
นอกจากนี้ การใช้ดุลพินิจในหลักการแบ่งแยกอำนาจยังมีผลกระทบ ก็คือ การที่ฝ่ายตุลาการได้ใช้ดุลพินิจในทางที่ตรงข้ามหรือคัดค้านการออกกฏหมายอของรัฐสภา ซึ่งเป็นเรื่องกระทบหลักการแยกอำนาจอย่างมาก เช่น กรณีภาษีสรรพสามิต ไม่ใช่แค่ไม่ผิดกฏหมาย แต่เป็นการออกกฏหมายโดยรัฐสภา การออกกฏหมาย ธรรมดาแล้วจะมีข้อหาเรื่องขัดต่อกฏหมายอื่นไม่ได้ เพราะว่าการออกกฏหมายใหม่ก็หักล้างกฏหมายเก่า ศาลไม่ได้บอกว่าขัดกฏหมาย แต่บอกว่าออกกฏหมายนี้ไม่ชอบ ไม่ชอบด้วยอะไร ไม่ชอบด้วยกฏหมายไม่ได้ แต่ว่าเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะการออกกฏหมาย ย่อมสามารถหักล้างกฏหมาย นี่คืออำนาจอธิปไตยของฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งนี้ มาตรการในเรื่องภาษีสรรพสามิต เป็นการออกกฏหมายโดยตัวมันเองไม่สามารถพิจารณาว่า ขัดต่อกฏหมายหรือไม่ ประเด็นก็อยู่ที่ การออกกฏหมายสรรพสามิตนี้กับมาตรการที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง คือการแปลงสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต
การนำเอาภาษีสรรพสามิตไปหักจากรายได้จากสัมปทานเป็นการกระทำที่ชอบหรือไม่ กรณีที่ศาลจะเห็นต่างและระงับยับยั้ง หรือวินิจฉัยว่ากฏหมายใช้ไม่ได้ก็มีอยู่เหมือนกัน แต่เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาลอื่น ศาลอื่นวินิจฉัยว่า กฏหมายออกมาขัดต่อกฏหมายไม่ได้ ฉะนั้น เป็นหน้าที่ของศาสรัฐธรรมนูญที่ต้องวินิจฉัยว่าการออก
กฏหมายสรรพสามิตชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งเวลาคนจะเห็นแย้งก็สามารถยกประเด็นได้ว่า ออกกฏหมายนี้แล้วไปโยงกับมาตรการอื่น แล้วทำให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น มีการเอื้อประโยชน์ต่อใครหรือไม่ ทำให้รัฐเสียหายหรือไม่ เป็นเรื่องของพระราชกำหนดด้วยว่า พระราชกำหนดนั้นเป็นเรื่องเพื่อรักษาประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือเพื่อทำให้รัฐเสียประโยชน์กันแน่ ถ้ามีคนเห็นอย่างนี้ก็สามารถร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่ไม่ใช่ศาลอื่น
ประเด็นนี้นอกจากกระทบหลักการแยกอำนาจแล้ว ที่เป็นปัญหาต่อไปคือ ผลกระทบต่อความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ กระทบก็คือ กรณีที่ว่ามีการทำให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภค ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ ทำให้เกิดการแทรกแซงองค์กรอิสระอย่าง กทช. ได้มีสมาชิกรัฐสภาทั้งส.ส. ฝ่ายค้านและส.ว. ได้ยื่นคัดค้านต่อศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นเหล่านี้แล้วทั้งสิ้นซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วทุกประเด็น และวินิจฉัยหักล้างต่อคำคัดค้านโดยสรุปเห็นว่า ไม่ได้ทำให้รัฐเสียประโยชน์ และมาตรการก็ไม่ได้ทำให้ประชาชนเสียหายเดือดร้อน ไม่มีการเอื้อประโยชน์
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้อย่างนี้แล้ว จึงมีประเด็นต่อไปว่า ในรัฐธรรมนูญทั้งปี 2540 และ 2550 บอกว่า กรณีที่มีเรื่องไปขึ้นศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็ให้เป็นที่สุด และให้มีผลผูกพันต่อองค์กรอื่นรวมทั้งศาล ปัญหาก็คือ เรื่องนี้คตส. นำมากล่าวหา และเรื่องไปอยู่ที่ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในประเด็นเดียวกันกับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้แล้ว แต่ปรากฏว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยอีกในทางตรงกันข้ามกับศาลรัฐธรรมนูญ
ปัญหาจึงมีว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เคยวินิจฉัยไปแล้ว เหตุใดจึงไม่ผูกพันธ์ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือ เหตุใด ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงไม่ถือว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันต่อศาล
นี่จึงเกิดการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญขึ้น นอกจากปัญหาการใช้ดุลพินิจแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการรัฐประหารและคดีขึ้นสู่ศาล มีการยอมรับอำนาจที่เกิดจากการ ขณะที่รูปแบบอำนาจรัฐประหารก็ไม่สามารถปราบปรามการทุจริตได้ จนนำมาสู่การตัดสินคดีที่ที่ทำให้เกิดการแบ่งขั้นมากยิ่งขึ้น
เมื่อเกิดการแบ่งขั้ว จึงเกิดคำถามตามมาว่า แนวโน้มความรุนแรงจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุว่าเมื่อการปกครองไม่เป็นระบอบประชาธิปไตยและไม่ยุติธรรม ทางเดียวที่จะแก้ได้ก็คือ การเปลี่ยนกลับไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง