ราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๓ “หาจุดร่วมสงวนจุดต่าง : ทางออก พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข”

ราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย  ครั้งที่ ๑๑ / ๒๕๕๓ เรื่อง "หาจุดร่วมสงวนจุดต่าง : ทางออก พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข" วันอาทิตย์ที่  ๑ สิงหาคม   ๒๕๕๓  เวลา  ๑o.oo – ๑๒.oo  น.

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

ขอเชิญสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์   วิทยุและโทรทัศน์   เข้าร่วมฟังการเสวนาในกิจกรรม

ราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย  ครั้งที่ ๑๑ / ๒๕๕๓

"หาจุดร่วมสงวนจุดต่าง : ทางออก พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข"

วันอาทิตย์ที่  ๑ สิงหาคม   ๒๕๕๓      เวลา  ๑o.oo – ๑๒.oo  น.

ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๒ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ถนนสามเสน (ตรงข้าม รพ. วชิระ) กรุงเทพฯ

 

วิทยากร      
คุณดล  บุนนาค
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา

นายแพทย์สมศักดิ์  โล่ห์เลขา

นายกแพทยสภา

นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ

รองเลขาธิการ  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

รศ.ดร.วิทยา  กุลสมบูรณ์

คณะเภสัชศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณสารี  อ๋องสมหวัง

เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ผู้ดำเนินรายการ

คุณธีรเดช  เอี่ยมสำราญ

อนุกรรมการฝ่ายวิชาการ  สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

//////////////////////////////////////////////

ราชดำเนินเสวนา 11/2553 พรบ.คุ้มครองฯ

 

(ฟังเสียง ราชดำเนินเสวนา)

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 11/2553 ในหัวข้อ “หาจุดร่วมสงวนจุดต่าง : ทางออก พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข” เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2553

ทั้ง นี้ มีวิทยากรที่เข้าร่วมได้แก่ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ,น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ,นายดล บุนนาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา และ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

 

นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา

นายกแพทยสภา เริ่มต้นเปิดประเด็นโดยได้ยกตัวอย่างประเทศสวีเดน ซึ่งมีการประกาศใช้ พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เปรียบเทียบความแตกต่างกับประเทศไทยว่า เม็ดเงินที่สวีเดนนำมาจ่ายค่าชดเชยเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการบริการสาธารณสุขนั้นมาจากภาษีท้องถิ่น เนื่องจากหากให้รัฐจ่ายจะทำให้งบประมาณประเทศถูกใช้ไปจนหมด ในกรณีที่มีผู้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนมหาศาล

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า จากปัจจุบันที่ไทยมีกฎหมายช่วยเหลือผู้เสียหายอยู่แล้ว 2 แสนบาท ถ้ามีกฎหมายคุ้มครองฯ ฉบับนี้ขึ้นมา จะทำให้มีการฟ้องร้องเป็นหลักล้านบาทขึ้นไปต่อราย

“ในร่าง พรบ.ฉบับนี้ยังมีประเด็นการฟ้อง 2 ต่อ คือผู้เสียหายจะได้เงิน 2 ต่อหากได้เงินเยียวยาแล้วไปฟ้องศาลอีก ซึ่งผมคิดว่าอาจจะต้องนำไปเสียค่าทนาย ค่าศาลจนหมด”

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ข้อแตกต่างในเนื้อหากฎหมายในต่างประเทศจะจ่ายค่าเสียหายเป็นรายเดือน ไม่ใช่เป็นก้อน ยกเว้นพิการบางเรื่อง ในส่วนประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ยังมีนิวซีแลนด์ และสวีเดน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความโปร่งใสอันดับ 1 และ 3 ของโลก ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 84 อีกทั้งปัจจัยด้านรายได้ จำนวนประชากรและการศึกษาแตกต่างกันไม่มากเหมือนในประเทศไทย โดยประเทศที่มีกฎหมายนี้ เป็นรัฐสวัสดิการที่ประชาชนต้องเสียภาษีสูง และมีประชากรน้อย อีกทั้งแทบจะไม่มีโรงพยาบาลเอกชน

“แต่ในไทยคนส่วนใหญ่ไม่ได้เสียภาษี เงินกองทุนที่จะนำมาจ่ายสูงถึง ร้อยละ 83 ขณะที่สวีเดนกองทุนจ่ายเพียง ร้อยละ 18-45 ซึ่งปัญหาคือการร้องเรียนเพื่อของเงินชดเชยจะเพิ่มขึ้น กฎหมายฉบับนี้ยังไม่แก้ปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ทางศาล ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้น ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมต่อแพทย์เพ่ะผู้พิจารณาการใช้กฎหมายไม่มีความรู้ทางแพทย์ และแพทย์หมดกำลังใจไม่อยากดูแลคนไข้เสี่ยง”

นายกแพทยสภา ให้ความเห็นอีกว่า กฎหมายยังเป็นเรื่องเยียวยามากกว่าป้องกัน แก้ปลายเหตุ การร้องเรียนไม่ลดลง จะไปศาลเตี้ยแทนศาลจริงเพราะได้เงินเท่ากันแต่เร็วกว่า ไม่เสียค่าทนายค่าศาล

“อเมริกากับอังกฤษ เชิญสวีเดนไปอธิบายกฎหมาย พบว่ามีการฟ้องร้องเพิ่ม เขาเห็นแล้วก็ไม่เอา โดยการจะสร้างสมดุลต้องให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการพบแพทย์ ได้รับการเยียวยาเหมาะสมเป็นธรรมและรวดเร็ว สิทธิแพทย์ได้รับการดูแล” นพ.สมศักดิ์ กล่าวและว่า

กฎหมายนี้จะทำให้การดูแลเลวลงแต่ต้องเสียเงินมากขึ้น ซึ่งผู้ร่างหวังจะได้เป็นผู้บริหารกองทุนจำนวนหลายหมื่นล้านบาท และสร้างเครือข่ายทั่วประเทศ

 

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง

น.ส.สารี ยกตัวอย่างเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ จ.สมุทรสงคราม ที่ใช้ยาคุมมา 5 ปี แต่ท้องกลับโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไปสถานีอนามัยก็คลำเจอก้อนเนื้อ หลังจากนั้นได้ส่งตัวไปที่โรงพยาบาล จนมีการนัดผ่าตัด ปรากฏว่าเจอเด็กแฝด มีการส่งเรื่องให้กระทรวงสาธารณสุขวินิจฉัยว่าการผ่าท้องเป็นการวินิจฉัยโรคหรือไม่

“เรื่อง นี้ถ้าสาธารณสุข รับผิดชอบแต่แรกก็ไม่เกิดเรื่อง แต่สาธารณสุขไม่รับผิดชอบ ให้หมอจังหวัดมาเจรจา หรทือแม้แต่กรณีคุณดอกรัก ที่หมอบอกว่าแพ้ยา เลยทำให้ตาบอด ดิฉันก็แนะนำคุณดอกรักว่าไม่ต้องไปแจ้งสาธารณสุข ให้ไปฟ้องศาล สุดท้ายก็ฟ้องชนะได้มา 8 แสนบาท”

“มันไม่ง่ายที่คนเล็กๆน้อยๆจะใช้กฎหมาย ความขัดแย้งมีขึ้นเรื่อยๆจะปล่อยให้ระบบแบบนี้เดินหน้าหรือไม่นั้น เมื่อไม่มีกระบวนการชดเชย อยากได้ต้องฟ้องเช่นนั้นหรือ” น.ส.สารี กล่าว และว่า

การไม่เห็นด้วยของแพทยสภาในวันนี้สายเกินไป เพราะกฎหมายอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา 11 เดือน แล้วเพิ่งมาคัดค้านถือว่านานเกินไป

“เราก็ไม่เห็นด้วยหลายอย่างในกฎหมายฉบับนี้ และพูดกันตรงๆด้วยว่าถูกรัฐมนตรีหักหลัง เราเคยคัดค้านว่าไม่ควรมีกระบวนการไกล่เกลี่ย แต่ก็ยังมี เราเป็นกังวลเพราะรู้ว่าแพทย์ทำงานหนัก พยาบาลยิ่งทำงานหนักมาก ในส่วนมาตรา 45 เป็นคุณ เราต้องพยายามเขียนให้ศาลสามารถวินิจฉัย เพราะเชื่อว่าไม่มีหมอคนไหนในประเทศไทยอยากทำให้คนไข้เสียหาย ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น หมอเองก็เสียใจ แล้วเรามีกลไกอะไรให้เขา ในส่วนของประเด็นที่กลัวว่าผ้เสียหายจะได้เงิน 2 ต่อนั้น มาตรา 34 ระบุว่าถ้าฟ้องได้เงินแล้วผู้เสียหายยังไม่ยอม โดยยังไปฟ้องศาลต่อ กองทุนนี้จะไม่รับรอง” น.ส.สารี กล่าวและว่า

“ดิฉันไปหาชาวบ้าน ซึ่งเขาก็ถามว่าจะได้เงิน 2 ต่อหรือเปล่า ให้ดูที่ มาตรา 6 ไม่คุ้มครองกรณีเสียหาย คือไม่ได้จ่ายทุกคน คนไข้จะได้เงิน บอกตรงๆเลยว่าไม่มีใครอยากได้หรอก เพราะต้องตาย พิการ เจ็บป่วย แต่ถ้ารักษาแล้วหายเป็นปกติมันจะได้เงินอย่างไร มันไม่ง่าย ถ้ารู้กันว่าจ่ายเงินแล้วมาขอกันมากมายก็ต้องตายก่อนถึงจะได้”

น.ส.สารี กล่าวว่า มีการแก้กฎหมายตามที่เอ็นจีโอบีบนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีความจำเป็นอะไรต้องไปฟ้องหมอ เนื่องจากหน้าที่ดูแลคนไข้ก็ถือว่าเป็นการทำงานที่หนักมากอยู่แล้ว ความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดปัญหาก็ไม่ต้องไปฟ้องกัน แต่ให้เอามาเป็นครู

“ที่มีการบอกว่าโรงพยาบาลจะต้องจ่ายเงินสมทบนั้นไม่จริง อยากฝากว่าอย่าให้โรงพยาบาลเอกชนหลอกอยู่ได้ เงินมาจาก มาตรา 41 ส่วนการเอาเงินมาแชร์เพื่อทำประโยชน์ให้ส่วนรวม ก็ไม่เห็นเหตุผลอะไรที่จะไม่มี แพทยสภาทำหน้าที่เหมือนแพทยสมาคม ไม่ปกป้องผลประโยชน์ประชาชนเลย”

นอกจากนี้ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยังให้ข้อมูลอีกว่า มูลนิธิฯได้ทำการทดสอบคลินิคใน 10 จังหวัด ที่ให้บริการลดความอ้วน โดยเลือกคนผอมเข้าไป และเป็นคนที่มีดีเอ็มไอต่ำกว่าปกติ

“มี จ.อ่างทองที่เดียวที่ไล่อาสาสมัครของเรากลับบ้าน โดยบอกว่าไม่อ้วนแล้วมาทำไม แต่นอกนั้นให้ยาที่มีผลต่อความดัน โดยไม่วัดความดันเลย ดิฉันคิดว่าเราต้องไปไกลให้มากกว่ากองทุน”

 

 

ดล บุนนาค

ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าวว่า กระแสสังคมที่มีความเห็นต่อกฎหมายฉบับนี้แตกต่างกันนั้น อย่างแรกที่ต้องทำคือปรับความคิดกันก่อนในระดับหนึ่ง คือถ้าผิดก็ต้องยอมรับผิด แต่ถ้าไม่ผิดก็ยอมรับกันคนละครึ่ง

“เรื่องนี้มีอยู่ 2 ประเด็น คือนโยบายกับกฎหมาย อย่างแรกกฎหมายฉบับนี้จะออกหรือไม่ จะเอาหรือไม่เอา อยู่ที่สภา อยู่ที่ ส.ส. กับ ส.ว. ไม่ใช่ที่เรา เราแสดงความเห็นได้ แต่สุดท้ายต้องมีกระบวนการไปสู่สภาให้ได้ ทำให้ ส.ส.และส.ว.เห็นอย่างที่เราเห็น” นายดล กล่าวและว่า

โดยกฎหมายที่เข้ามายกร่าง 7 ฉบับนั้น มี 6 ฉบับที่มีความพยายามสูงที่จะเอา            ในส่วนของเนื้อหานั้นต้องปรับแน่นอน โดยก่อนร่างนั้นต้องชัดเจนว่าจะออกแบบกฎหมายเป็นสวัสดิการหรือว่า welfare

“ผมว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นลูดกผสม ไม่ชัดว่าเป็น welfare เนื้อหากฎหมายในประเด็นยุติคดีหรือไม่ กับ ไกล่เกลี่ยยอมความนั้นกฎหมายเขียนแยกกัน ในส่วนของกองทุนควรจะมีไหม ทุกวันนี้รัฐจ่ายเยอะ บางทีจับจำเลยก็ต้องจ่ายถ้าศาลยกฟ้อง บางรายจ่ายเป็นล้าน เพราะต้องชดเชยในการจับผิดตัวนอนคุกคืนละ 400 บาท อย่างนี้ทำไมเราไม่แจ้งตำรวจ และอัยการ ว่าจับคนผิด เมื่อศาลยกฟ้องแล้วตำรวจต้องจ่าย เพราะฉะนั้นถ้าตำรวจต้องรับผิดชอบ แทนที่จะจับผิดก็ไม่จับดีกว่า ผมคิดว่าประเด็นนี้กฎหมายควรมี เพราะไม่อย่างนั้นรัฐจ่ายอาน จะเอาเงินจากไหน ซึ่งต้องคุยกัน โรงพยาบาลไหนทำดีก็อาจจะได้จ่ายน้อยประมาณนี้”

นายดล กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ถกเถียงเรื่องผู้เดสียหายจะได้เงิน 2 ต่อหรือไม่นั้น งบค่าเสียหายมี 2 ก้อน คือจ่ายเลยเบื้องต้น กับ จ่ายเงินชดเชย

“หากได้เงินแล้วไปฟ้องศาลอีก ก็ต้องดูว่าทำไมไม่พอใจ ซึ่ง มาตรา 41 พรบ.สุขภาพ กำหนดไว้ว่า หากศาลสั่งให้จ่ายอีก ก็ให้หักเงินเบื้องต้นออก การจ่ายชดเชยสินไหมทดแทนซ้อนกันอยู่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลยพิจิน เพราะองค์ประกอบคณะกรรมการมี 2 ชุดคือ กำกับทิศทางนโยบาย กับ คณะทำงาน ก็อยู่ที่ว่าความเห็นคณะกรรมการเป็นที่สุดหรอืไม่ หรือว่าผูกพันศาลหรือเปล่า”

ผู้พิพากษา ให้ความเห็นว่า หากทำกฎหมายเป็น welfare คนตัดสินต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับ expert  ซึ่งในส่วนของบทโทษนั้นจะมีศาลลดโทษให้ จากการรับสารภาพ บางกรณีหมออาจจะไม่รับสารภาพก็ได้ หรือสารภาพก็ได้ ศาลสามารถลดโทษให้เป็นรอลงอาญา หรือไม่ลงก็ได้ ประเด็นของการพิจารณานี้จำเป็นต้องคงไว้

 

“กฎหมายฉบับนี้ดีหรือไม่ ผมว่าหมอรับได้บางส่วนไหม แล้วหมอเห็นว่าเป็นประโยชน์กับผู้เสียหายไหม กฎหมายไม่เกี่ยวกับการฟ้องคดีที่จะมีเพิ่มมากขึ้น ฟ้องไม่ฟ้องผมว่ามันไม่ใช่ประเด็น มีแค่เพียงว่าอาจจะไม่เข้าใจ ก็เลยทำให้เรื่องไปสู่ศาลมากขึ้น คนจะฟ้องก็ฟ้อง ผมว่าส่วนที่ดีของกฎหมายควรเอาไว้ไหม แล้วปรับในส่วนที่บกพร่อง” นายดล กล่าว

 

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ

นพ.ประทีป เปิดประเด็นย้อนหลังกลับไปเมื่อ 7-8 ปีก่อน ที่บุคลากรสาธารณสุขเคยออกมาแต่งดำคัดค้านกฎหมาย และในปัจจุบันนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งทำนองเดียวกัน

“เพื่อเป็นการลดความกังวลบุคลากรสาธารณสุขในการออกกฎหมาย ต้องศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อออกแบบระบบกฎหมายโดยไม่มีผลประโยชน์อื่นแอบแฝง ซึ่งที่บรรดาผู้คัดค้านออกมาบอกว่าจะทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศเสียประโยชน์ แล้วผลประโยชน์จะไปตกอยู่กับนักการเมือง และคนส่วนน้อยนั้น งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งขชาติปี 2546-52 ปรากฏว่ามีเงินเพิ่มขึ้น”

โดย นพ.ประทีป ยืนยันว่า กฎหมายที่กลุ่มบุคลากรสาธารณสุขคัดค้านคราวนั้น ในวันนี้ส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงการบริการผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 32 และตั้งแต่ คศ.2002 เป็นต้นมา อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจลดลง เส้นเลือดในสมองแตกเป็นอัมพาตก็มีอัตราการเสียชีวิตลดลง เช่นเดียวกับโรคเอดส์และโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ซึ่ง 7-8 ปืที่ผ่านมาความพึงพอใจของประชาชนเกินร้อยละ 80

“วิกฤตความสัมพันธ์ ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และแพทย์กับสังคม โรงพยาบาลในประเทศไทยร้อยละ 80 เป็นของรัฐ จากการเกื้อกูลกันก็กลายเป็นพาณิชย์มากขึ้น โรงพยาบาลเอกชนส่วนน้อยมีกำลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทำให้มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ราคาสูงขึ้นความคาดหวังของผู้ป่วยก็สูงขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุก็จึงนำไปสู่การฟ้องร้อง ในขณะที่ผู้ให้บริการเองก็ซื้อประกันคุ้มครองความเสียหาย ก็ยิ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น”

สิ่งที่สำคัญที่สุด นพ.ประทีป บอกว่า ความไว้วางใจ เมื่อจำนวนการฟ้องร้องเพิ่มขึ้น การชดเชยความเสียหายจากกระบวนการทางศาลมีข้อเสียคือใช้เวลานาน ซึ่งเป็นผลเสียต่อผู้เสียหายและแพทย์ อีกทั้งการพิสูจน์ถูกผิดบางครั้งก็นำไปสู่การดึงข้อมูลทางการแพทย์ จนอาจทำให้ติดคุก และค่าชดเชยอาจน้อยกว่าที่ควร