ฟังเสียงการเสวนา
{mp3remote}http://www.tja.or.th/images/sound2554/540821--seminar-reporter.mp3{/mp3remote}
วงเสวนา มั่นใจ กสทช. ไม่ล้ม รุมอัด "ดีเอสไอ" ไร้อำนาจตรวจสอบกระบวนการสรรหา ระบุเป็นอำนาจศาลปกครอง
เมื่อเวลา 10.00 น. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้จัดเสวนาราชดำเนิน ใน หัวข้อ “ผ่าแผนล้ม สรรหา กสทช.” โดยมีนายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พล.อ.ชูชาติ สุขสงวน รองประธานคณะกรรมาธิการสามัญ ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติฯ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกที่ผ่านกระบวนการสรรหา กสทช. วุฒิสภา นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุชยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา นายไพโรจน์ พลเพชร ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชน (กป อพช.) และน.ส.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เป็นวิทยากร
โดย นายสมเกียรติ กล่าวว่า ต้องยอมรับความพยายามล้มกระบวนการ กสทช. มีมาโดยตลอดตั้งแต่อดีต เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาลที่เป็นเรื่องของระบบสัมปทานซึ่งมีปัญหามาก เพราะไม่มีแรงจูงใจให้เปิดตลาด จึงมีการขัดขวางไม่ให้เกิดประโยชน์ ในระหว่างนี้ สัญญาสัมปทานกำลังจะหมดลงอีกไม่กี่ปี ขณะที่สัญญาทีวี หมดปี 2563 อีก 9 ปี ในขณะในปี 2551 ที่มีกฎหมายประกอบกิจการวิทยุชุมชนชั่วคราว จึงมีผลในการเปลี่ยนโฉมหน้าวงการสื่อที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้วิทยุโทรทัศน์ไม่โต แต่วิทยุเคเบิ้ล มีการเติบโตขึ้นอย่างมาก ภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันมีแนวโน้มที่อยากให้ กสทช.เกิดขึ้นมากจากกลุ่มทุนเอง โดยเฉพาะในกลุ่มโทรศัพท์มือถือ ที่ต่างก็มีความพยายามที่จะแข่งขันกันเปิดระบบ3จี ทั้งเอไอเอส ดีแทค และ ทรูมูฟ แต่ในเดือนนี้ทั้งสามรายจะออกบริการสามจี แต่ไม่รู้ว่าถูกต้องเพียงไร ดังนั้น จึงเชื่อว่าผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม น่าจะอยากเห็น กสทช.เกิดขึ้น ส่วนธุรกิจทีวีที่ถูกแข่งขัน จึงต้องมีการเปลี่ยนไปสู่โทรทัศน์ดิจิตอล ซึ่งจะแข่งขันกับเคเบิ้ลทีวีได้ วันนี้ถึงจุดที่ฟรีทีวีอยากปรับตัว ขณะที่วิทยุเอฟเอ็ม ต้องแข่งกับเคเบิ้ลทีวี ที่ซื้อโฆษณาได้ ทั้งยังถูกวิทยุธุรกิจท้องถิ่นจำนวนมาก โดยใช้คลื่นความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น จึงอยากให้มีกสทช.เกิดขึ้นมาด้วยกันทั้งนั้น และคนที่ควรที่จะเป็นผู้คัดเลือกนั้นน่าจะให้วุฒิสภาเป็นผู้เลือกจะดีกวืที่จะให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้คัดเลือก คิดว่าน่าจะได้ประโยชน์กว่า เพราะจะส่งผลถึงหน้าตาและภาพลักษณ์ของกสทช.ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากกว่า โดยเฉพาะในเรื่องของการออกกฎระเบียบต่างๆ ออกมา และที่สำคัญ กสทช.จะต้องเป็นองค์กรที่อิสระ จากกิจการโทรคมนาคม และต้องอิสระจากฝ่ายการเมือง โปร่งใสตรวจสอบได้ ไม่มีประโยชน์ทับซ้อน
“ ผมไม่คิดว่ามาถึงวันนี้จะมีใครมาล้มกระบวนการกสทช. ไม่มีอะไรที่จะหยุดหยังได้แล้ว และเชื่อว่า 90% ภายในเดือนก.ย.นี้วุฒิสภาน่าจะคัดเลือกผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่กสทช.ได้ และสาเหตุที่จะไม่สามารถเลือกได้ขณะนี้คือเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร หรือไม่ก็ยุบสภา ผมค่อนข้างมั่นใจว่าจะต้องเกิด กสทช. แต่อยู่ที่ว่าใครจะเป็นผู้เลือกระหว่างวุฒิสภากับนายกรัฐมนตรี” นายสมเกียรติกล่าว และว่าส่วนกระบวนกาสรรหาที่มีคนร้องอยู่ในขั้นตอนกระบวนการของศาลปกครองนั้นก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการเดินหน้าของวุฒิสภา
ด้านพล.อ.ชูชาติ กล่าวว่า มาถึงขณะนี้ก็เห็นว่าวุฒิสภาจะต้องเดินหน้าต่อไป ถึงแม้จะมีหลายเรื่องที่เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาฟ้องร้องอยู่ที่ศาลปกครองนั้น ก็ไม่ได้ส่งผลให้กระบวนการต้องหยุดชะงัก เพราะศาลไม่ได้ออกคำสั่งใดมาเพื่อเป็นการคุ้มครองชั่วคราว จะมีผลก็ต่อเมื่อศาลปกครองมีคำพิพากษา หรือคำสั่งออกมาเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นตราบใดศาลปกครองยังไม่มีคำสั่งตามกระบวนการก็ต้องเดินหน้ากันต่อไป และให้เป็นไปตามกฎหมายหากวุฒิสภาไม่ดำเนินการก็จะมีปัญหา และยืนยันว่าหากได้กสทช.โดยวุฒิสภาเป็นผู้เลือกก็จะทำให้มั่นใจได้
พล.อ.ชูชาติ กล่าวอีกว่า ตนเคยเป็นคณะกรรมการที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) มาก่อนและรู้หน้าที่ดีว่าบทบาทของดีเอสไอนั้นจะต้องเป็นผู้ประมวลหาหลักฐาน ถ้าเป็นคดีก็ส่งฟ้องหรือส่งเรื่องไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ แจ้งประสานเบื้องต้นเพื่อประกอบการพิจารณาเท่านั้น และการทำหน้าที่จะต้องอยู่ในพื้นฐานของจริยธรรม และคุณธรรม ทุกอย่างจะต้องมีกรอบและขอบเขตอำนาจ เพราะการทำหน้าที่ของดีเอสไอยังไม่ถือเป็นข้อยุติ
ขณะที่ นายสมชาย ระบุว่า ในฐานะคนที่ติดตามการปฏิรูปสื่อ ที่ผ่านมาการล้ม กสทช.สำเร็จ จนกระทั่งมีการออกกฎหมายรวม กทช.กับ กสช. มาแล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสองแนวคิด กลุ่มทุนก็ยังก้ำกึ่งว่าจะเอาไงดี ถ้ามั่นใจว่า ล็อบบี้ 11 คนได้ ก็จะเดินหน้า แต่ถ้าไม่ได้ก็ล้มเสีย แต่แนวคิดกลุ่มที่สาม มองว่า จะเอาอำนาจไปไว้ที่ นายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียว ทั้งนี้ ตนเชื่อว่ามีความพยายาม แต่อาจจะไม่สำเร็จ และคำกล่าวหาของดีเอสไอ ก็ยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะล้มได้ เพราะข้อกฎหมายที่เลือกมาก็เหมาะสม และการทำหน้าที่ของดีเอสไอ ที่ไปสอบสมาคมคนพิการ ฯ นั้นถือไม่ถูกต้องที่ไม่ได้มีการทำหนังสือเชิญ อยู่ก็มารออยู่หน้าห้องกรรมาธิการฯ พอกรรมาธิการฯสอบเสร็จ ก็มาดักรอให้เขาไปสอบต่อถือว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งการทำอย่างนี้จะส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือ และความศรัทธาของคนในสังคมต่อกระบวนการของดีเอสไอ
"วุฒิสภาหารือกันว่าเราไม่มีเหตุผลใดที่จะหยุดขั้นตอนกระบวนการสรรหาจะเดินหน้าต่อไปจนกว่าศาลปกครองจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น เพราะกระบวนการขัดขวางไม่ให้มีกสทช.มันมีมายาวนานเกิดไปแล้ว ดังนั้นวุฒิสภาจะต้องเสียสละมาทำหน้าที่ตรงนี้ ให้เรียบร้อย" นายสมชาย กล่าว
นายไพโรจน์ พลเพชร ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชน (กป อพช.)กล่าวว่าใครก็ตามที่ออกมาตรวจสอบคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช )โดยเฉพาะดีเอสไอเข้ามาตรวจสอบและออกมาระบุว่ามีการสรรหาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่ความจริงแล้วดีเอสไอไม่มีอำนาจเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ คนที่ไปร้องดีเอสไอก็ไม่ได้มีส่วนได้เสียในเรื่องนี้ เพราะเรื่องนี้กฎหมาย กสทช.มาตรา 15 เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการคัดเลือก อาจยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้
ดังนั้นเรื่องนี้เป็นอำนาจของศาลปกครองที่จะเข้ามาตรวจสอบหากพบว่าการสรรหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายบริหาร ดังนั้นดีเอสไอมีอำนาจอะไรที่มาตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันที่ศาลปกครองกำลังตรวจสอบ ดีเอสไอจะทำตัวเหนือศาลปกครองไม่ได้
“ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ดีเอสไอจึงกระตือรือร้นที่จะตรวจสอบเป็นพิเศษมีการแถลงข่าวทุกวันจึงถือว่ามีการใช้อำนาจฝ่ายบริหารเข้ามาแทรกแซงอำนาจตุลาการ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของศาล “นายไพโรจน์กล่าว
นายไพโรจน์กล่าวว่าเรื่องนี้ เรื่องนี้เท่ากับว่าเป็นการกระพือข่าวเพื่อลดความน่าเชื่อถือของกระบวนการสรรหา กสทช.ให้เชื่อว่าการสรรหารมีองค์กรเถื่อน ใช้คำให้ดูแล้วสามารถขึ้นหัวหนังสือพิมพ์ได้เท่านั้น ทั้งๆที่คณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชน (กป อพช.) ตั้งมาตั้งแต่ปี 2528 คนที่เป็นประธาน ที่ถูกกล่าวหานั้นเช่น เป็นผู้ที่มีต้นทุนทางสังคมทั้งนั้น นายเสน่ห์ จามาริก อดีตประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ซึ่งเป็นองค์กรที่มีเกียรติภูมิทั้งนั้น ยืนยันว่าองค์กรเราไม่ใช่องค์กรเถื่อนอย่างแน่นอน เพราะตั้งขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญที่รองรับให้สิทธิในการรวมกลุ่มกันได้ มีฐานะทางกฎหมายอย่างแน่น่อน
สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนนั้นนายไพโรจน์กล่าวว่าเรื่องนี้เคยมีคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดเมื่อปี 2546 เรื่องคณะกรรมการ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์แห่งชาติ (กสช)เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนไว้อย่างชัดเจนว่าต้องเป็นคู่หมั้น คู่สมรสหรือเป็นเจ้าหนี้ ลุกหนี้หรือมีผลป)โยชน์ธุรกิจร่วมกัน แต่สำหรับองค์การด้านผลประโยชน์สาธารณะนั้นการเป็นหัวหน้า ลูกน้องกันไม่ถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือเคยเป็นกรรมการร่างแผนกิจการโทรคมนาคมร่วมกันก็ไม่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน แนวคำพิพากษาศาลปกครองในเรื่องนี้ได้วางแนวไว้ชัดเจนอยู่แล้ว
นายไพโรจน์มั่นใจว่าเรื่องนี้วุฒิสมาชิกเดินหน้าเลือก กสทช.ต่อไปได้แม้ว่าจะมีคนไปร้องศาลปกครองก็ไม่ได้ทำให้กระบวนการสรรหา กสทช.สะดุดลงแต่อย่างใดเพราะกฎหมายมาตรา 15 ก็เขียนไว้ชัดเจนว่าผู้ที่ได้รับความเสียหายที่นำเรื่องไปฟ้องศาลก็ไม่เป็นเหตุให้มีการชะลอหรือระงับการดำเนินการใดๆที่ดำเนินการไปแล้ว กฎหมายยังเขียนไว้วาแม้ต่อมาภายหลังศาลปกครองสูงสุดจะมีคำพิพากษาว่าบุคคลใดที่ได้รับคัดเลือกมีคุณสมบัติต้องห้ามหรือได้รับการคัดเลือกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ให้บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งนับจากวันที่ศาลสั่ง คือศาลปกครองสอยภายหลังได้
“กฎหมายได้วางแนวการคุ้มครองการทำงานของวุฒิสมาชิกไว้อย่างดี ดั้งนั้นวุฒิสมาชิกเดินหน้าสรรหารเรื่องนี้ตามกรอบเวลาได้ “นายไพโรจน์กล่าว
ส่วน น.ส.สุวรรณาระบุว่า ตนมีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาวิชาชีพฯ แต่ดีเอสไอให้สัมภาษว่าไม่มี ดังนั้นขอยืนยันว่า องค์กรของตนเป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ใช่อย่างที่อธิบดีดีเอสไอเข้าใจ คำว่าอุปโลก ไม่ว่าจะทราบหรือไม่ว่าตนเป็นผู้อำนวยกานสถานีวิทยุจุฬา ฯ ตนจึงรู้สึกว่าถูกหมิ่นประมาท ขณะเดียวกัน ถ้ารู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีอำนาจ ยังทำคือการทำผิดกฎหมาย พร้อมยอมรับว่าตนเกิดความหวาดกลัวจากการถูกข่มขู่จากดีเอสไอ แต่ตอนนี้ได้เตรียมเอกสารในการต่อสู้คดีเรียบร้อยแล้ว พร้อมยืนยันว่าตนมีคุณสมบัติตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว ทั้งนี้ได้ขอให้ดีเอสไอไปหาหลักฐานว่าองค์กรเหล่านี้ตั้งมาอย่างไร จะดีกว่า เพราะองค์กรเหล่านี้ผ่านกระบวนการวุฒิสภามาได้อย่างไร ความพยายามของดีเอสไอ กระทบต่อความน่าเชื่อถือของสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ ที่มาจากรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ต้องจับตาคำสั่งศาลในวันพรุ่งนี้ จึงจะสามารถตอบได้ว่าจะไปอย่างไรต่อ