การเสวนา ผ่าแผน.กบอ. เวทีการบริหารจัดการน้ำทั่วประเทศ “ประชาสัมพันธ์ หรือ ประชาพิจารณ์ ? ” -25 ก.ย. 2556 ณ อาคาร วสท. ชั้น 4

โครงการเสวนา

ผ่าแผน.กบอ. เวทีการบริหารจัดการน้ำทั่วประเทศ

“ประชาสัมพันธ์ หรือ ประชาพิจารณ์ ? ”

วันพุธที่ 25 กันยายน 2556 เวลา 9.30 – 12.- 30 น.

จัดโดย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ร่วมกับ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคาร วสท. ซอยรามคำแหง 39 (เทพลีลา 1)

*********************

กำหนดการ

09.00-09.30      ลงทะเบียน

09.30-09.45     เปิดการเสวนาโดย  คุณสุวัฒน์  เชาว์ปรีชา    นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ

และ                     คุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์. ..นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

09.45-12.30     เสวนา ผ่าแผน กบอ.เวทีการบริหารจัดการน้ำทั่วประเทศ “ประชาสัมพันธ์หรือประชาพิจารณ์”

ผู้เข้าร่วมเสวนา

  • ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐจาก“อนุกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน”
  • คุณประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์.            นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  • คุณสุวัฒน์   เชาว์ปรีชา             นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
  • คุณปราโมทย์  ไม้กลัด            อดีตอธิบดีกรมชลประทาน
  • คุณศรีสุวรรณ  จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
  • คุณหาญณรงค์ เยาวเลิศ            ประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาการ
  • คุณศศิน  เฉลิมลาภ                   เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
  • คุณปรเมศวร์ มินศิริ                   เครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน
  • รศ.ดร.สุวัฒนา  จิตตลดากร     ประธานอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมแหล่งน้ำ วสท.
  • รศ.ดร.บัญชา  ขวัญยืน             มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ผศ.ทีฆวุฒิ  พุทธภิรมย์             มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  • ผศ.ดร.คมสัน  มาลีสี                                สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้ร่วมดำเนินรายการโดย คุณนาตยา แวววีระคุปต์     ไทยพีบีเอส และ

ดร.สิตางศุ์  พิลัยหล้า          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

 

สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่

คุณพจนีย์ เที่ยงไธสง  โทร.02-184-4600-9 ต่อ 508 โทรสาร.02-319-2710-1

 

*********************************

หลักการเหตุผล

นับจากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2554 จนถึงวันนี้ เหตุการณ์ผ่านมาถึง 2 ปีเต็ม แต่ประเทศไทยเรายังไม่มีการบริหารจัดการน้ำท่วม-น้ำแล้งที่เป็นแผนหลักในระดับชาติที่เชื่อได้ว่าเป็นนโยบายที่จะดำเนินการตามหลักวิชาวิศวกรรมและหลักนิติรัฐแต่อย่างใด

แม้รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆขึ้นหลายชุด อีกทั้งมีการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำขึ้น จนกระทั่งมีการเตรียมเลือกบริษัทผู้รับจ้างสิ่งก่อสร้างจำนวนมากโดยให้เหตุผลว่าเป็นการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ทั้งที่มีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากหลายสถาบันได้ทำการทักท้วงว่าแผนเหล่านั้นยังมิใช่การบริหารจัดการน้ำหรือการป้องกันภัยพิบัติที่เป็นไปตามหลักวิชาวิศวกรรมและยังขัดกับหลักนิติรัฐอีกด้วย จนกระทั่งศาลปกครองมีคำสั่งให้ต้องมีเวทีรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึงเสียก่อน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้เตรียมแผนจัดเวทีขึ้นทุกภาคทั่วประเทศ โดยเริ่มจากเวทีนิทรรศการที่กรุงเทพ แต่ในความจริงกลับพบว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ใช้งบประมาณของประเทศไปเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นเพียงการให้ข้อมูลด้านเดียวของผู้ที่ประสงค์จะทำตามแนวทางที่ตั้งเป้าไว้แล้ว โดยมิได้นำความเห็นหลากหลายของนักวิชาการที่ท้วงติงไว้ มาประกอบการพิจารณาดำเนินการแต่อย่างใด คณะนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านวิศวกรรมแหล่งน้ำ ด้านกฎหมาย ประชาชนและสื่อมวลชน จึงมีความกังวลว่า การจัดเวทีทั่วประเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นเวทีที่ไม่ครบองค์ประกอบ ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทั้งอาจไม่ถูกต้องตามคำสั่งศาลปกครองอย่างแท้จริง และหากโครงการที่ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดเริ่มดำเนินการก่อสร้างจริงในพื้นที่ ยังมีความกังวลต่อไปว่า นอกจากจะมิใช่เป็นการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหา แต่จะสร้างปัญหาขึ้นใหม่ในพื้นที่ เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเชิงกายภาพ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชน ซึ่งอยากจะแก้ไขได้ต่อไป

ดังนั้น เพื่อสร้างความเข้าใจแก่สังคมและประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ให้เข้าใจถึงการบริหารจัดการตามหลักวิชาการและหลักนิติรัฐ ทั้งเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ เพื่อปกป้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามรัฐธรรมนูญและเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาภัยพิบัติของตนเองอย่างเหมาะสมและอย่างเป็นที่ยอมรับ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) โดยความร่วมมือกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดจัดเวทีเสวนา ผ่าแผน กบอ.เวทีการบริหารจัดการน้ำทั่วประเทศ“ประชาสัมพันธ์หรือประชาพิจารณ์” ขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสังคม ทั้งเพื่อสะท้อนความเห็นสู่รัฐบาล