ที่ สขนท. นว. ๑๙๐/๑๔/๒๕๕๖
๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๖
เรื่อง ขอเชิญส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมหลักสูตรความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียน; การเสริมสร้างความ
เชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ( ASEAN Connectivity) รุ่นที่ ๒
เรียน บรรณาธิการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. โครงการอบรม “ความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียน; การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity) รุ่นที่ ๒
๒. หลักสูตรและตารางการอบรม
๓. ใบสมัครเข้ารับการอบรมและหนังสือรับรองของหัวหน้าหน่วยงาน
ด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ จะจัดทำโครงการอบรม “ความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียน; การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity) รุ่นที่ ๒ โดยเปิดโอกาสให้นักข่าวเข้าร่วมฟังการบรรยายและศึกษาดูงานเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ผ่านการบรรยายทุกวันอาทิตย์ตั้งแต่ ๑๔ กันยายน – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เป็นระยะเวลารวม ๘ สัปดาห์
ในการนี้ จึงเรียนมาเพื่อขอความร่วมมือจากท่านพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าอบรมในหลักสูตรดังกล่าว โดยผู้สมัครเข้าร่วมการอบรมต้องเป็น ๑. นักข่าว (สามารถสมัครได้ทุกสังกัดและทุกสาย) ๒. มีอายุการทำงานตั้งแต่ ๓-๘ ปี เพื่อเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรนี้ จำนวน ๑ คน โดยผู้เข้ารับการอบรมจะต้องสามารถเข้าอบรมได้ไม่น้อยกว่า ๗๕% ของระยะเวลาอบรม รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้ตลอดหลักสูตร ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมอบรมส่งมายังสมาคมฯ ภายในวันศุกร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๖ และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถือ
(นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์)
นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ประสานงานติดต่อ : เทียมใจ ทองเมือง ๐๘๙-๖๘๘-๑๙๗๒
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ดาวโหลดดังนี้
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โครงการอบรมการให้ความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียน; การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ( ASEAN Connectivity) รุ่นที่ ๒
หลักการและเหตุผล
การเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity) คือเสริมสร้างการเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม พลังงาน เศรษฐกิจ การเชื่อมโยงระดับประชาชน รวมถึงข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี และการยกเว้นการตรวจลงตราวีซ่าในกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งส่งผลให้เกิดกิจกรรมข้ามพรมแดนระหว่างประชาชนทั้งในกลุ่มประเทศอาเซียนและประชาชนจากประเทศที่สามอย่างสะดวก
สบายและเสรีมากยิ่งขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบในด้านบวกและด้านลบ ผลดีคือจากการเชื่อมโยงในภูมิภาคจะส่งเสริมการเป็นประชาคมอาเซียน และความร่วมมือทั้งในระดับรัฐและประชาชน กระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว โดยเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีประสิทธิภาพ ส่วนผลเสีย เช่น อาจทำให้เกิดภัยต่อความมั่นคงในรูปแบบต่างๆได้
ประเทศไทยมีบทบาทนําในการเสนอแนวความคิดเรื่อง ASEAN Connectivity ตั้งแตเริ่มต้นและต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้เสนอ concept paper ว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างกันในประเทศอาเซียนต่อที่ประชุม ASEAN Foreign Ministerial Retreat ที่เมืองดานังประเทศเวียดนามเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๓ ซึ่งได้รับการตอบรับจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆและเป็นจุดกำเนิดของการจัดทําร่างแผนแม่บทในเวลาต่อมา
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นองค์กรสื่อตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริม และปกป้องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย และ ให้ความรู้ในประเด็นที่สำคัญและเป็นปัจจุบัน แก่สื่อมวลชนและสาธารณชน ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในอีก ๒ ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างกันในประเทศอาเซียน และในปีนี้ ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจะเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีกับองค์กรสื่อหลักของทั้งประเทศพม่าและ ประเทศเวียดนามทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจึงได้จัดการอบรมในครั้งนี้โดยได้มุ่งประเด็นไปที่การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันใน ๓ ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม และ พม่า เท่านั้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเคยจัดอบรมการให้ความรู้ประชาคมอาเซียนเป็นรุ่นแรกเมื่อปีที่แล้วซึ่งจัดได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเป็นการให้ความรู้ในเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างกันในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และ เวียดนาม
๒. เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจในเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างกันในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และ เวียดนาม
๓. เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ การเชื่อมโยงระหว่างกันในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และเวียดนาม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างกันในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และ เวียดนาม
๒. ผู้เข้าร่วมอบรมเกิด ความเข้าใจในเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างกันในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และ เวียดนาม
๓. ผู้เข้าร่วมเกิดความรู้สึกถึงความสัมพันธ์ การเชื่อมโยงระหว่างกันในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทย พม่า และเวียดนาม
วิธีการดำเนินการ
การอบรมแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ ภาคทฤษฎี และการศึกษาดูงานทั้งในประเทศ(เชียงราย) และ ต่างประเทศ( พม่า และเวียดนาม)
สถานที่และระยะเวลาที่จะดำเนินการ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ชั้น ๓
เวลาตั้งแต่ ๑๔ กันยายน – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
จำนวนและรายละเอียดผู้เข้าร่วม
รวม ๓๐ คน เป็นนักข่าวทุกสังกัดทุกสายที่มีอายุการทำงานตั้งแต่ ๓-๘ ปี จำนวน ๒๐ คน ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและนักวิชาการ ๕ คน และผู้สนับสนุนโครงการ ๕ คน
หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและชมรมนักข่าวอาเซียน
๕๓๘/๑ ถนนสามเสน เขตดุสิต กทม, ๑๐๓๐๐
โทร ๐๒-๖๖๘-๙๔๒๒ โทรสาร ๐๒-๖๖๘-๗๕๐๕
www.tja.or.th email: tjareporter@gmail.com
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ที่ปรึกษาโครงการ นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ที่ปรึกษาโครงการ นายชวรงค์ ลิมปัทมปาณี อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ประธานโครงการ นายอนุชา เจริญโพธิ์ อุปนายกฝ่ายต่างประเทศสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ
รองประธานโครงการ นางสาวกรชนก รักษาเสรี กรรมการฝ่ายต่างประเทศสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ
ผู้จัดการโครงการ นางสาวสุภาภรณ์ อัษฎมงคล อนุกรรมการฝ่ายต่างประเทศสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ
ผู้ประสานงานโครงการ นางสาว เทียมใจ ทองเมือง ผู้จัดการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
กำหนดการปฐมนิเทศ
หลักสูตรเสริมสร้างความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ รุ่นที่ ๒
โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับชมรมนักข่าวอาเซียน
สนับสนุนโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
วันเสาร์ที่ ๑๔ – วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๖ เดอะไทด์รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี
วันเสาร์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๖
๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๐๙.๐๐ – ๐๙.๔๕ น. พิธีเปิด
นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
นางสาวปิยะพร วงศ์เรือง ประธานชมรมนักข่าวอาเซียน
ผู้บริหารจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
๐๙.๔๕ – ๑๐.๑๕ น. กิจกรรมแนะนำตัว
๑๐.๑๕ – ๑๒.๐๐ น. “นับถอยหลังสู่ประชาคมอาเซียน”
นายกวี จงกิจถาวร ประธาน SEAPA
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. อาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. กิจกรรมกรุ๊ปไดนามิค โดย อาจารย์ประสาร มฤคพิทักษ์
๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
๑๘.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. อาหารเย็น
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๖
๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. “แรงบันดาลใจในการอบรมอาเซียนจากศิษย์เก่า”
นายปกรณ์ รัตนทรัพย์ศิริ ผู้เข้าอบรมหลักสูตรอาเซียนรุ่น ๑
นางสาวนันทินี ลายละเอียด ผู้เข้าอบรมหลักสูตรอาเซียนรุ่น ๑
นายบวร โทศรีแก้ว ผู้เข้าอบรมหลักสูตรอาเซียนสำหรับผู้บริหารสื่อ
นายนเรศ เหล่าพรรณราย เลขาธิการชมรมนักข่าวอาเซียน
๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. กิจกรรมกรุ๊ปไดนามิค โดย อาจารย์ประสาร มฤคพิทักษ์
๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. "อาเซียนในมุมมองเกษมสันต์” โดย อาจารย์เกษมสันต์ วีระกุล
๑๔.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. ชี้แจงกฎกติกามารยาทในการเข้าอบรม และผู้เข้าอบรมร่วมกันแสดง ความคิดเห็นเพิ่มเติม/ข้อเสนอแนะ
คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปานี ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าวฯ
๑๖.๐๐ น. เดินทางกลับกรุงเทพฯ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
หลักสูตรเสริมสร้างความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ รุ่นที่ ๒
โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับชมรมนักข่าวอาเซียน
สนับสนุนโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
๑๔ กันยายน – ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
ณ ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น ๓ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
วันเสาร์ที่ ๑๔ – วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กันยายน
การปฐมนิเทศและเปิดหลักสูตร
ณ เดอะไทด์ บางแสน จ.ชลบุรี
หัวข้อบรรยายและสัมมนา
สัปดาห์ที่ ๑ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๖
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. Overview Connectivity infrastructure /Strategy
วิทยากร ประดาบ พิบูลสงคราม (อดีต ออท)
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. Overview Connectivity infrastructure /Strategy
วิทยากร พิษณุ สุวรรณชฎ (ออท.พม่า)
อนุสนธิ์ ชินวรรโณ (ออท. เวียดนาม)
สัปดาห์ที่ ๒ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๖
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. Connectivity P๒P เชื่อมโยงวัฒนธรรรม คนต่อคน ในขณะที่มีความ
ต่างเรื่องภาษาวัฒนธรรม/ภาพรวมความแตกต่างเชิงวัฒนธรรมในอาเซียน
วิทยากร อ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ.
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. มองเรื่องวัฒนธรรมผ่านหนังในอาเซียน
วิทยากร ก้อง ฤทธิ์ดี บางกอกโพสต์
สัปดาห์ที่ ๓ วันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๖
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. Connectivity EC. Border (East west corridor)
วิทยากร พิเชษฐ์ ดุรงคเวรโรจน์
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. ใครได้ใครเสียจากการก่อสร้างท่าเรือทวาย
วิทยากร ดร.ภูพงษ์ พงษ์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
สัปดาห์ที่ ๔ วันเสาร์ที่ ๑๒ – วันอาทิตย์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๖
ลงพื้นที่อรัญประเทศ (ประเด็นเศรษฐกิจการค้าชายแดน/การทหาร)
สัปดาห์ที่ ๕ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๖
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. Labor flow human trafficking from Myanmar
วิทยากร อดิศร เกิดมงคล (กำลังประสานงาน)
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. ลงพื้นที่มหาชัย (วิทยากร-ก้อยติดต่อกับวิทยากรของไอแอลโอในพื้นที่ )
สัปดาห์ที่ ๖ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. Labor flow ของแรงงานเขมร ลาว เวียตนาม
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมหลักสูตรอภิปรายประเด็นลงพื้นที่
สัปดาห์ที่ ๗ วันศุกร์ที่ ๓๑ ตุลาคม –วันจันทร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
โดยแบ่งออกเป็น ๒ เส้นทางประกอบด้วย
เส้นทางที่ ๑. พม่า (กรุงเทพ-แม่สอด-ย่างกุ้ง-กรุงเทพ)
และเส้นทางที่ ๒. เวียตนาม (กรุงเทพ-โฮจิมินห์-ฮานอย-กรุงเทพ)
สัปดาห์ที่ ๘ วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน๒๕๕๖
พิธีปิดโครงการ