ข่าวเพลิงปริศนาไหม้ซุเปอร์คาร์ไล่เบี้ยรถเลี่ยงภาษีทั้งระบบ-เดลินิวส์์-2556

เพลิงปริศนาไหม้ซุเปอร์คาร์ไล่เบี้ยรถเลี่ยงภาษีทั้งระบบ

กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

จัดเริ่มต้นการตรวจสอบ

ประเด็นปัญหารถยนต์จดประกอบ และรถยนต์หรูเลี่ยงภาษี ที่หังสือพิมพ์เดลินิวส์ตีแผ่มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2553 จนกระทั่งคณะรัฐมจรี มีมติห้ามจดทะเบียนจากชิ้นส่วนรถยนต์เก่า และสอบสวนเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้น กลายเป็ประเนร้อนขึ่นมาทันที เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้รถยนต์ซุเปอร์คาร์ ละรถยนต์หรูรวมทั้งสิ้น 6 คัน ในพื้นที่อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2556 ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบ พบว่ารถยนต์ทั้งหมดเป็นรถยนต์จดประกอบ ที่เกตรียมไปจดทะเบียนในจังหวัดศรีสะเกษ และไม่มีเจ้าของรถยนต์มาแสดงตัว ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติอย่างยิ่ง

 

แนวทางการนำเสนอ

ภายหลังทีมข่าวเฉพาะกิจได้ลงพื้นที่ศรีสะเกษ และได้เบาะแสที่น่าสนใจ เมื่อพบว่าขนส่งจังหวัดศรีสะเกษ ยังเปิดรับจดทะเบียนรถจดประกอบอยู่ แม้จะมีคำสั่งห้ามจากทางการไปแล้ว จีงได้ตีแผ่ข่าวจนมีการตั้งกรรมการสอบสวน และสั่งย้ายหัวหน้าขนส่งขังหวัดพ้นตำแหน่งไป ต่อมากรมสอบสวนคดีพิศษ ไดเข้าตรวจสอบคดีนี้ จนจับกุมผู้เกี่ยวข้องได้ 2 ราย และพบเบาะแสพัวพันโยงใยไปถึงกลุ่มนายทุนรถยนต์หลายกลุ่ม จึงเป็นที่มาของกาตรวจสอบรถยนต์จดประกอบทั้งระบบ โดยลอตแรกเป็นรถยนต์หรูที่มีราคาเกิน 4 ล้านบาท รวม 488คัน ส่วนที่เหลือจะเป็นรถยนต์ที่มีราคาลดหลั่นลงมา รวมกว่า 6 พันคัน โดยพบมีชื่อนักการเมือง พระเกจิอาจารย์ ดารานักแสดงหลายรายเป็นผู้ครอบครอง รวมทั้งรวบรวมรายชื่อเจ้าหน้าที่รัฐ ที่อาจมีส่วนรู้เห็นในกระบวนการเลี่ยงภาษี ให้กับหน่วยวานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ป.ป.ท. ป.ป.ง. และป.ป.ช. ดำเนินการตรวจสอบเอาผิดทางวินัยและอาญา

ผลกระทบของข่าว

แม้ดีเอสไอ จะเป็นหน่วยงานหลักในการตรวจสอบรถยนต์หรูจดประกอบ แต่สังคมก็ยังกังขาถึงความโปร่งใส โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ว่าชิ้นส่วน อุปกรณ์ กลไกในรถยนต์แต่ละคัน ต้องมีที่มาต่างกัน เนื่องจากอาจเป็นช่องโหว่ให้ขบวนการฟอกรถยนต์ให้ถูกกฎหมาย รวมถึงระยะเวลาในการตรวจสอบรถยนต์จดประกอบในช่วง 3 ปี ที่มีมากกว่า 1 หมื่นคัน อย่างไรก็ตามอธิบดีดีเอสไอ ยืนยันว่าหากพบการหลีกเลี่ยงภาษีในรถยนต์คันใด จะเอาผิดทางกฎหมายภาษีกับผู้นำเข้ารถยนต์ ไม่พุ่งเป้าเอาผิดกับผู้ที่ซื้อมาใช้ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหาย

ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. ระบุว่า ผลกระทบจากการนำเข้ารถยนต์หรูเลี่ยงภาษี โดยผู้ประกอบการรถยนต์จดประกอบ และรถยนต์นำเข้าอิสระ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา น่าจะมีมากกว่า 1 หมื่นคัน  คิดเป็นความเสียหายในการเก็บภาษีของประเทศมากกว่า 1 แสนล้านบาท ค่ายรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์หรู เช่น บีเอ็มอับเบิลยู เบนซ์ โรลส์รอยซ์ สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนต่างชาติ บางค่ายรถ ได้ส่งสัญญาณว่าอาจพิจารณาย้ายฐานการลงทุนไปในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศไทยอีกด้วย