“ มลพิษมาบตาพุด จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทย”
กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
หลังประเทศไทยได้ขยายอุตสาหกรรมมากขึ้น ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ เนื่องจากความละเลยในการจัดการปัญหา ของผู้ประกอบการรวมไปถึงภาครัฐ ส่งผลให้ ปัญหาดังกว่าสะสม จนลุกลามกลายเป็นความขัดแย้งระหว่าง ชุมชนและอุตสาหกรรม จนยากที่จะหาทางออกที่จะอยู่ร่วมกันได้ เช่น กรณีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
“ กรุงเทพธุรกิจ”เป็นหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับ การดำเนินการอุตสาหกรรม ที่มีธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงได้ขุดคุ้ย และเสนอข่าวอย่างรอบด้านประกอบด้วยข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงการรับฟังปัญหาผลกระทบของชาวบ้าน ภายใต้ข่าว “ มลพิษมาบตาพุด จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมไทย”
ด้วยตระหนักถึงปัญหาและความพยายามที่จะก้าวไปสู่สังคมภายใต้อุตสาหกรรมแบบใหม่ และต้องการ สร้างมาตรฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ต้องคู่กับสิ่งแวดล้อมและชุมชน
กรุงเทพธุรกิจ จึงได้นำเสนอข่าวแบบเกาะติดปัญหาโดยเริ่มนำเสนอข่าว มลพิษมาบตาพุดตั้งแต่กลางปี2552 โดยได้ส่งผู้สื่อข่าวลงพื้นที่เจาะลึกตรวจสอบปัญหา ทั้งในส่วนของชาวบ้านและผู้ประกอบการ รวมไปถึงการเจาะข้อมูลเอกสารจากภาครัฐ โดยตีแผ่ข้อมูลมลพิษที่สร้างผลกระทบด้านสุขภาพ จนเป็นสาเหตุ ของการเกิดมะเร็งของชาว จ.ระยอง จากสารวีโอซี หรือสารก่อมะเร็งที่เกินมาตรฐาน
จากการนำเสนอข่าวที่รอบด้านใช้ข้อมูลข้อเท็จจริง และการลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาของชุมชน ทำให้กรมควบคุมมลพิษ ต้องออกมาตรฐาน สารวีโอซีเป็นครั้งแรกของประเทศไทย รวมไปถึงความตื่นตัวของชุมชนมาบตาพุดในการดูแลผลกระทบกระทั่งรวมตัวยื่นฟ้องศาลปกครองให้ ประกาศ”เขตควบคุมมลพิษ”
หลังการประกาศเขต ควบคุมมลพิษ มาบตาพุด บ้านฉาง ในเดือนมีนาคม 2552 เราพบความเพิกเฉยในการสร้างมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมไทย จึงได้นำเสนอข่าวต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552 มาตลอด 10 เดือน โดยการนำเสนอได้ให้ความสำคัญทั้งในส่วนพื้นที่หน้าหนึ่ง คอลัมน์ และ สกู๊ปข่าว
โดยเฉพาะความละเลยที่จะดำเนิน ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตร67 วรรค 2 ซึ่งทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ละเลย ตั้งองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อม การมีส่วนรวมและการประเมินผลกระทบสุขภาพ ตาม มาตร 67
กระทั่ง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและชาวชุมชนมาบตาพุดยื่นฟ้อง เพื่อระงับ 76 โครงการ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จนถือเป็น “สึนามิเศรษฐกิจ”นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในด้านกฎระเบียบใหม่ จากการตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เพื่อแก้ไขกฎหมาย ในการสร้าง สำนึกร่วมระหว่าง อุตสาหกรรมกับการอยู่รวมชุมชน
ผลจากการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องรอบด้าน ทำให้ทุกฝ่ายหันมาให้ ความสำคัญ จนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง ในการยกดับภาคอุตสาหกรรมไทย สู่มาตรฐานใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานใหม่ด้านกฎหมาย ระเบียบแนวทางในการดำเนินการอุตสาหกรรมทั้งการตั้งองค์การสิ่งแวดล้อมอิรสระ กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเพิ่มมาตรการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
“กรุงเทพธุรกิจ” จึงเห็นควรเสนอข่าวดังกล่าวเพื่อให้คณะกรรมการได้โปรดพิจารณา