จากหนังสือพิมพ์ที่เป็นเจ้าตลาดมายาวนาน “ไทยรัฐ” ต่อยอดอาศัยความเข้มแข็งของแบรนด์ขยายธุรกิจข้ามแพลตฟอร์มมายัง “ไทยรัฐออนไลน์” และ “ไทยรัฐทีวี” โดยยังสามารถรักษาฐานความนิยม จนก้าวสู่กลุ่มเป็นผู้นำแต่ละแพลตฟอร์มได้ในเวลาอันรวดเร็ว เคล็ดลับความสำเร็จมาจากการปรับตัวอย่างถูกที่ถูกเวลา พร้อมนำเทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา R&D มาช่วยเติมเต็มกำหนดทิศทางการขยับ เสริมกับจุดแข็งเรื่องข่าวชาวบ้าน กลายเป็นความแมสที่ก้าวข้ามมาสู่ยุค 5G
ทว่าในปี 2564 ที่เต็มไปด้วยความท้าทายทั้งความความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ “สื่อเครือไทยรัฐ” ยังต้องปรับตัวอย่างหนัก ท่ามกลางกระแสข่าวเบนเข็มเดินหน้าธุรกิจ Logistics ใช้ต้นทุนที่มีเพื่อสร้างรายได้ชดเชย ในวันที่ธุรกิจสิ่งพิมพ์กำลังอุ้ยอ้าย และไม่ใช่ “เรือธง” สร้างกำไรให้กับองค์กรเหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป ก้าวต่อไปของ “ไทยรัฐ” จะมีทิศทางอย่างไร “ธนวลัย วัชรพล เจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการออนไลน์ไทยรัฐออนไลน์ (บริษัท เทรนด์ วีจี3 จํากัด)” เปิดใจ เล่าให้ฟังถึงยุทธศาสตร์ของสื่อแต่ละแพลตฟอร์ม ที่กำลังจะเดินหน้าต่อไปนับจากนี้
Thairath Plus: Content พิเศษสำหรับสมาชิกสู่การสร้างฐานรายได้ใหม่ในอนาคต
ธนวลัย ย้ำว่า จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ “ไทยรัฐออนไลน์” ซึ่งแม้จะเป็นเบอร์ต้นๆ ของเว็บไซต์ข่าว แต่ยังไม่หยุดแค่นั้น เตรียมพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้พึ่งพิงแค่รายได้จากโฆษณา แต่จะใช้ลักษณะการสมัครสมาชิกเพื่อผู้อ่านจะได้คอนเทนต์ที่พิเศษขึ้น ทั้งความเข้มข้น หลากหลาย และรูปแบบการนำเสนอที่จะมีทั้ง Infographic และ Data Visualisation โดยปีแรกจะยังไม่เก็บค่าสมาชิกเป็นเพียงแค่การสมัครด้วย E-mail หรือ กรอกข้อมูลส่วนบุคคล จากนั้นในเฟสต่อไปจะเริ่มเก็บค่าสมาชิกที่ราคาไม่สูงมากเพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ ซึ่งอยู่ในช่วงที่ใกล้จะเปิดตัวเร็วๆ นี้
“ในเฟสแรกใจเราอยากทำในพาร์ทของเม็มเบอร์ชิปขึ้นมาก่อนเพื่อจะได้ศึกษากลุ่มผู้อ่านของเรา ว่าคอนเทนต์ประมาณไหนที่เขาชอบอ่านเหมือนเอาข้อมูลอินไซต์เหล่านั้นมาศึกษากันแล้ววิเคราะห์ว่าเราจะทำกลยุทธ์ยังไงที่จะเป็นการเซ็ตอัพโดยคำนึงถึง User's Experienceเพื่อที่จะนำไปถึงเพย์วอลล์แต่ยังไม่ได้ฟันธงชัดๆว่ารายละเอียดจะเป็นอย่างไรเราต้องการเก็บข้อมูลเฟสแรกก่อนเพื่อที่จะมาตัดสินใจอีกทีซึ่งเนื้อหาที่คนสมัครสมาชิกจะมีทั้งแบบที่เขาสนใจเลือกที่จะฟอลโลว์เช่นสนใจเรื่องโควิดแล้วติ๊กเลือกไว้ถ้ามีบทความเข้ามาก็จะมีข้อความหรืออีเมล์แจ้งเตือน ...อีกส่วนจะมีทั้งบทวิเคราะห์เจาะลึกสกู๊ปข่าวData Visualisation ตามความสนใจของแต่ละคนโดยคอนเทนต์พิเศษที่เราทำเพิ่มขึ้นมาถ้าไม่สมัครสมาชิกก็จะไม่เห็นแต่สัดส่วนคอนเทนต์พิเศษคงไม่เยอะถึง50-50 เราไม่เน้นที่ปริมาณแต่เราต้องการให้ทุกชิ้นที่ออกมาเป็นชิ้นที่มีคุณภาพเพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ที่อ่านปกติในออนไลน์จะเน้นรายงานข่าวที่รวดเร็วเป็นการอัพเดทข้อมูลแต่ละวัน แต่พาร์ทนี้ตั้งใจจะให้เจาะลึกมากขึ้นเป็นบทวิเคราะห์หรือเป็นงานที่มีลักษะCritical Thinking ชวนให้คนอ่านเกิดการตั้งทำถามมากขึ้น นำเสนอเนื้อหาที่ลึกขึ้นหลากหลายแง่มุมมิติมากกว่าเดิมวิธีการนำเสนอแปลกไปมีอินเตอร์แอคทีฟอินโฟกราฟฟิควีดีโอคอนเทนต์พอดแคสต์มากขึ้นหลากหลายรูปแบบ”
เจาะกลุ่มวัยรุ่น 24-35 คนรุ่นใหม่พร้อมจ่ายเพื่อคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ
ที่สำคัญจุดนี้ยังเป็นการช่วยขยายฐานกลุ่มผู้อ่านให้กว้างขึ้นกว่าเดิมและเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ ด้วยประเด็นการนำเสนอที่ปกติไทยรัฐออนไลน์ไม่ค่อยได้นำเสนอ “ธนวลัย” อธิบายว่า “เหมือนเรากำลัง Expand target audience ของเราด้วย ให้จับกลุ่มที่อยากจะอ่านเนื้อหาเชิงวิเคราะห์และลึกขึ้น ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง Equality เรื่อง Women’s Rights ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือหัวข้อที่ปกติอาจไม่เห็นมากนักในไทยรัฐออนไลน์ เพราะฐานคนอ่านไทยรัฐออนไลน์เป็นกลุ่มที่ต้องการอ่านข่าว เหตุการณ์อัพเดท และช่วงอายุจะอยู่ที่อายุ 24-50 ปี ซึ่งค่อนข้างแมสมาก จึงนำเสนอโพรดักต์ใหม่คือ Thairath+ เน้นกลุ่มเป้าหมายที่อายุน้อยลงมาในช่วง 24-35 ปี ซึ่งจะมีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างชัดเจนจากไทยรัฐออนไลน์”
สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันที่ยอมจ่ายเงินเพื่อให้ได้คอนเทนต์ที่มีคุณภาพมากขึ้นนั้น “ธนวลัย” วิเคราะห์ว่า จากที่ทำวิจัยมาคนรุ่นใหม่ และกลุ่มดิจิตอลเจนในช่วง 2 ปีหลังๆ มาเขาพร้อมที่จะจ่ายเงินค่าคอนเทนต์ต่างๆ เขาโตมากับยุคที่คอนเทนต์ออนไลน์ไม่ได้ฟรีเสมอไป จะต้องจ่ายเงินสนับสนุนเพื่อให้ได้คอนเทนต์ที่มีคุณภาพที่ดี เขาคุ้นกับ Subscription ทั้งหนัง ซีรีส์ ละคร รายการวาไรตี้จากต่างประเทศ หรือการฟังเพลงออนไลน์ โดยเบื้องต้นวางเป้าหมายคนสมัครสมาชิกเฟสแรกไว้แล้วซึ่งตัวเลขไม่น่าจะยากเกินไปเพราะยังเป็นช่วงที่ไม่คิดค่าบริการ
อีกส่วนที่ทำมาก่อนหน้านี้แล้วคือ MIRROR ออนไลน์แมกกาซีน ซึ่งเปิดตัวมาประมาณปีครึ่ง คนเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เน้นไปทางด้าน แฟชั่น บิวตี้ เป็นความท้าทายในปีนี้อยู่ที่การจะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งการวางคาแรกเตอร์ของแบรนด์ให้ชัดเจน เมื่อพูดถึง MIRROR คนต้องเข้าใจเลยว่าเข้ามาแล้วจะเจอคอนเทนต์ประมาณไหน ซึ่งที่มาของ MIRROR เริ่มจากชาเลนจ์ในเชิงการตอบสนองนักการตลาดเพื่อลงโฆษณาสินค้าแบรนด์ผู้หญิง เพราะไทยรัฐออนไลน์มีแบรนด์เป็น คาแรกเตอร์ผู้ชายและแมสมาก จึงยากที่จะได้โฆษณาจากลูกค้ากลุ่มแฟชั่นและบิวตี้ เราจึงแตกแบรนด์ใหม่เพื่อให้หลุดจากกรอบของไทยรัฐ โดยฉีกมามีความพรีเมี่ยมแมส และคอนเทนต์เจาะไปที่ผู้หญิง โดยเราไม่มีคู่แข่งที่เหมือนกันอยู่ในตลาด โดยผู้เล่นเดิมในตลาดนี้ ด้านหนี่งเป็นไฮเอ็นแมกกาซีนออย่าง Vogue, Elle, Harper’s BAZZAR และอีกด้านก็เป็นคอมมูนิตี้ของผู้หญิงอย่าง Jeban หรือ Sistacafe ที่เด็กไปเลย ทาร์เก็ตของเราจึงอยู่ตรงกลางระหว่างสอง segment นี้
COVID-19 ช่วยเพิ่มยอดวิว – ทีวีเรตติ้งพุ่งเม็ดเงินโฆษณาเข้าสวนทางเทรนด์เศรษฐกิจ
ด้านผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งสองรอบ ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง”ธนวลัย ผู้บริหารไทยรัฐออนไลน์”มองว่า ต้องแบ่งเป็นสองส่วนคือในส่วนของ พฤติกรรมผู้บริโภค และ ส่วนของธุรกิจ โดยส่วนของพฤติกรรมผู้อ่านนั้นช่วงที่เกิดการกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งคนจะหันมาเสพย์สื่อเพิ่มขึ้นเพราะความกลัว ทำให้คนหันมาหาข้อมูลจากสื่อหลักมากยิ่งขึ้น ทำให้ตัวเลขทั้งเพจวิวในส่วนของเว็บไซต์และ เรตติ้งของ "ไทยรัฐทีวี” ดีขึ้นมาก
สำหรับในส่วนของธุรกิจหรือเม็ดเงินโฆษณานั้น ช่วงแรกภาคธุรกิจเกิดความกังวลหยุดการใช้เงิน การลงโฆษณาถูกเลื่อนออกไป โดยเฉพาะช่วงปลายปีที่เป็นช่วงปีใหม่ที่ปกติจะมีอีเวนต์หลายงานก็ถูกระงับไปซึ่งกระทบเชิงรายได้ประมาณนึง แต่หลังผ่านปีใหม่มา คนเริ่มตั้งตัวได้ว่าจะรับมือสถานการณ์อย่างไร ก็เริ่มมีการจัดสรรเงินเข้ามา คนทำธุรกิจรีเทล ก็เปลี่ยนเม็ดเงินโฆษณาจาก On ground เป็น Online ทำให้กลายเป็นดีสำหรับไทยรัฐออนไลน์ และโฆษณาประเภท Home Shopping ได้รับผลตอบรับที่ดี การแพร่ระบาดในระลอกใหม่นี้การตัดสินใจลงสื่อโฆษณาไม่ซบเซาเหมือนปีที่แล้ว นักการตลาดมีการปรับตัวและปรับแผนรับมือได้เร็วขึ้นและดีขึ้น
“ดังนั้น หากประเมินแล้วผลกระทบเชิงพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2564 จึงไม่น่าจะมีผลกระทบมาก เพราะทุกคนได้ประสบการณ์แล้ว ได้เรียนรู้แล้วว่าจะจัดการอย่างไร จนกลับมาสู่ปกติ และเมื่อเกิดขึ้นระลอกใหม่คนก็สามารถปรับตัวว่าต้องทำอย่างไร ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง” .... ทั้งการปรับตัวไปสู่ออนไลน์มากขึ้น การ Work From Home สำหรับผลกระทบเชิงธุรกิจ ณ วันนี้อาจจะยังเร็วเกินไปที่จะประเมินว่าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะยังต้องรอดูสถานการณ์หลังจากที่คนไทยเริ่มได้รับวัคซีน รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจจากรัฐบาลที่จะเยียวยาและกระตุ้นภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศไทยในทิศทางไหน ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำเพิ่มเติมก็คือการขยายฐานกลุ่มผู้อ่านให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเปิดเซ็คชั่นธุรกิจที่ต้องการเน้นฐาน นักธุรกิจ SME Startup รวมถึงองค์กรใหญ่ ในขณะที่ฐานผู้อ่านเดิมก็ยังจะต้องรักษาไว้ให้ได้
แตกไลน์ธุรกิจ Logistics ต่อยอดจากสิ่งที่มี ซัพพอร์ตขาลงสิ่งพิมพ์
ธนวลัย กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสิ่งพิมพ์อย่าง”หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ”เองก็มีผลกระทบบ้าง ตามเทรนด์ของโลกที่ผู้บริโภคสิ่งพิมพ์ลดลง แต่ว่ายังสามารถขายโฆษณาได้ ทำให้ประคับประคองธุรกิจไปได้ แต่ก็มีธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาช่วยซัพพอร์ต ซึ่งเทรนด์เป็นช่วงขาลงของสื่อสิ่งพิมพ์ คงไม่สามารถกระตุ้นให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้นได้มากนัก แค่ทำให้ธุรกิจยังเดินต่อไปได้ก็เป็นชาเลนจ์สำหรับทีมงาน โดยอาจจะมีการลดต้นทุนบางอย่าง รวมถึงตรงไหนที่สามารถรวมกันได้ 3 สื่อ ก็จะทำเพื่อลดค่าใช้จ่ายและทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“อีกด้านก็จะมี ธุรกิจใหม่ที่ไทยรัฐจะเริ่มเร็วๆ นี้ คือธุรกิจ Logistics ซึ่งอยู่ระหว่างการเซ็ตอัพและจะเริ่มเปิดตัวในไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งแม้จะเป็นธุรกิจใหม่แต่ก็เป็นแนวคิดที่พัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างรถขนหนังสือพิมพ์ มาปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีทั้งการขนส่งให้ลูกค้าธุรกิจองค์กร และบริการ Warehouse ที่เราใช้จุดแข็งของตำแหน่งที่ตั้งไทยรัฐที่เหมาะในการเป็นจุดเก็บและกระจายสินค้าได้สะดวกสบาย”
ธนวลัย กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสิ่งพิมพ์อย่าง”หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ”เองก็มีผลกระทบบ้าง ตามเทรนด์ของโลกที่ผู้บริโภคสิ่งพิมพ์ลดลง แต่ว่ายังสามารถขายโฆษณาได้ ทำให้ประคับประคองธุรกิจไปได้ แต่ก็มีธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาช่วยซัพพอร์ต ซึ่งเทรนด์เป็นช่วงขาลงของสื่อสิ่งพิมพ์ คงไม่สามารถกระตุ้นให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้นได้มากนัก แค่ทำให้ธุรกิจยังเดินต่อไปได้ก็เป็นชาเลนจ์สำหรับทีมงาน โดยอาจจะมีการลดต้นทุนบางอย่าง รวมถึงตรงไหนที่สามารถรวมกันได้ 3 สื่อ ก็จะทำเพื่อลดค่าใช้จ่ายและทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“อีกด้านก็จะมี ธุรกิจใหม่ที่ไทยรัฐจะเริ่มเร็วๆ นี้ คือธุรกิจ Logistics ซึ่งอยู่ระหว่างการเซ็ตอัพและจะเริ่มเปิดตัวในไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งแม้จะเป็นธุรกิจใหม่แต่ก็เป็นแนวคิดที่พัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างรถขนหนังสือพิมพ์ มาปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมีทั้งการขนส่งให้ลูกค้าธุรกิจองค์กร และบริการ Warehouse ที่เราใช้จุดแข็งของตำแหน่งที่ตั้งไทยรัฐที่เหมาะในการเป็นจุดเก็บและกระจายสินค้าได้สะดวกสบาย”
ธนวลัย-ผู้บริหารสื่อไทยรัฐออนไลน์ ย้ำว่า ดังนั้นผลกระทบจากโควิด-19 จึงไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการธุรกิจสื่อในเครือไทยรัฐทั้งที่ผ่านมาและในอนาคตเท่าไหร่นัก ปัจจัยท้าทายที่สำคัญคือเรื่อง “ความเปลี่ยนแปลง” เพราะหลังจากเกิดสถานการณ์โควิดก็เป็นตัวบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการนำเสนอข่าวต้องตรวจสอบให้ละเอียด ที่ผ่านมามีเฟคนิวส์เกิดขึ้นมากมายในโซเชียล ความเป็นไทยรัฐคนที่เข้ามาอ่านจะมั่นใจได้ว่าข่าวแต่ละชิ้นจะถูกยืนยันว่าถูกต้องตรวจสอบแล้ว ไม่ใช่ข่าวที่ทำให้ ประชาชนแตกตื่นมากกว่าเดิม หรือเป็นข่าวที่มีอคติ ไม่เป็นกลาง ต้องเป็นเหมือนสถาบันสื่อที่คนไว้ใจได้ คนอยากจะมาเช็คข่าวกับเราว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องจริง
“ผลกระทบจากโควิดเป็นเหมือนตัวเร่งให้พนักงานต้องมาปรับทักษะการทำงาน ต้อง รีสกิล อัพสกิล กันใหม่ โดยคนหนึ่งคนต้องทำงานได้ตั้งแต่ต้นจนจบตั้งแต่ออกไปถ่ายภาพ เขียนข่าว ตัดต่อ ขึ้นหน้าจอได้ ไม่ต้องมานั่งประชุมเจอหน้า สามารถ Work From Home และนักข่าวออกไปทำงานนอกสถานที่ได้เลย”
.... ที่ผ่านมาจึงมีทั้งคอร์สเทรนนิ่งจำนวนมาก เช่น Mojo, Data visualization แล้วแต่ความต้องการของแผนก ที่จะเลือกว่าจะจัดอบรมอะไรให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ขององค์กรและสกิลไหนที่ยังไปไม่ถึงก็จะจัดเทรนนิ่งขึ้นมาซัพพอร์ตตรงนี้ อีกด้านหนึ่งก็จะจัดหาเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการทำงาน ทั้งระบบซอฟแวร์ที่ทำให้ทำงานที่ไหนก็ได้ ส่งข่าวเข้ามาได้ทางมือถือ ไม่ต้องเข้ามานั่งทำงานที่ออฟฟิศเท่านั้น
....สิ่งสำคัญที่ทำให้ไทยรัฐออนไลน์ก้าวมาสู่จุดนี้คือเรื่องของการใช้เทคโนโลยี “ธนวลัย” ระบุว่า ไทยรัฐออนไลน์วางแผนจะจัด Hackathon ภายใต้แนวคิด “The Future of Publishers” ซึ่งเป็นการทำให้เห็นว่าไทยรัฐออนไลน์สนใจในเรื่อง Media Technology และสอดคล้องกับการเป็น Technology-Driven Company โฟกัสด้านเทคโนโลยีค่อนข้างมาก เป็น Employer branding ให้คนรุ่นใหม่เห็นว่าแบรนด์ไทยรัฐทันโลกทันเทคโนโลยีที่หมุนเร็ว ปรับภาพลักษณ์ที่คนส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงไทยรัฐก็จะนึกถึงสื่อรุ่นเก่า เราได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเทคโนโลยี AI เราจึงพยายามเน้นสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ให้สังคมได้รับรู้ความเป็นไทยรัฐยุคใหม่ในบริบทของปัจจุบันมากขึ้น
...ปล.-เป็นเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือวันนักข่าว 5 มีนาคม 2564 ที่ปิดต้นฉบับเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ก่อนการระบาดของโควิดฯรอบสาม