สมรภูมิข่าว ถ้ำหลวง – ชี้วัด‘สื่อมืออาชีพ’ เร็วด่วน ไม่ตรวจสอบ ระวัง Fake news

สมรภูมิข่าว ถ้ำหลวง - ชี้วัด‘สื่อมืออาชีพ’
เร็วด่วน ไม่ตรวจสอบ ระวัง Fake news


ทุกครั้งที่เกิดสถานการณ์สำคัญของประเทศ ‘สื่อมวลชน’ จะเป็นกลุ่มคนแรกๆที่เข้าไปถึงพื้นที่ เหตุการณ์การค้นหาผู้ประสบเหตุในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ก็เป็นอีกครั้งที่สื่อมวลชนได้อยู่ในพื้นที่เช่นกัน


แม้การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนจะไม่ได้แตกต่างเหมือนกับอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเน้นการการรายงานข้อเท็จจริง แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ คือ ปริมาณของสื่อมวลชนที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลักหรือสื่อทางเลือกอย่างเพจเฟซบุ๊ก รวมไปถึงรูปแบบการนำเสนอผ่านตัวอักษรหรือการไลฟ์สดจากในพื้นที่แบบนาทีต่อนาที

(ภาพจาก specialreports_mcot)

กระนั้น เสียงวิจารณ์มีต่อสื่อก็มีไม่น้อยว่า รายงานข่าวผิด ทั้งข่าวลวง ข่าวปลอม ข่าวเรียกยอดแชร์  แต่ส่วนใหญ่เป็นการวิจารณ์แบบเหมาเข่งไม่ได้แยกแยะว่า การปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เหมาะสมเป็นของสื่อสำนักไหน หรือช่องไหนที่ตั้งคำถามไม่ควร ไม่เห็นใจพ่อแม่เด็ก หรือเป็นการรายงานข่าวของสื่อบุคคล เพจสำนักข่าวใหม่ๆเฉพาะกิจที่เกิดขึ้นเพื่อเรียกยอดไลค์ ก็มีอีกไม่น้อย
ปรากฎการณ์ของสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ในสถานการณ์ข่าวฉุกเฉิน เร่งด่วนอย่างนี้ คำถามคือ สื่อมวลชนจะเดินไปในทิศทางอย่างไรต่อจากนี้ ท่ามกลางกระแสที่ “ใครๆก็สามารถเป็นนักข่าวได้”

ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การรายงานข่าวที่ถ้ำหลวง มีสื่อมวลชนรูปแบบใหม่เกิดขึ้นจำนวนมากควบคู่ไปกับสื่อกระแสหลัก สาเหตุหนึ่งทีทำให้เกิดสื่อใหม่ๆขั้นมา เพราะปัจจุบันระบบของประเทศไทยอนุญาติให้คนทั่วไปสามารถทำสื่อได้

ผศ.พิจิตรา กล่าวอีกว่า ลักษณะของข่าวถ้ำหลวง เป็นไปในรูปแบบของข่าวเหตุการณ์หรือข่าวร้อนที่ใครเห็นเหตุการณ์ก่อนหรือได้ข้อเท็จจริงมาก่อนประกอบกับยืนยันได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง ก็จะทำหน้าที่รายงานข่าวออกไปทันที  เรียกได้ว่าใครเร็วที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะในเกมนี้ ไม่ได้เน้นการวิเคราะห์ ตรงนี้เองที่ให้เกิดสื่อใหม่ๆจำนวนมาก

"ปัจจัยสำคัญคิดว่าเทคโนโลยีปัจจุบันช่วยตัดตอนให้สื่อเกิดขึ้นเยอะ ช่วยให้คนที่ไม่ใช่สื่อมวลชนอาชีพสามารถทำสื่อเพื่อรายงานสถานการณ์ได้ เราจึงได้เห็นเพจของหน่วยงานราชการ หน่วยงานกู้ภัย หรือคนอื่นๆ สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อเพื่อรายงานข่าวและภารกิจที่ตัวเองกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งไม่เป็นสื่อมวลชนโดยอาชีพ”
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองอาจารย์ของอาจารย์พิจิตรา ยังคิดว่าการเกิดขึ้นของสื่อใหม่ๆภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ได้นำมาซึ่งปัญหาใหญ่ไม่แพ้กัน


“ปัญหาที่เห็นได้ชัด คือ Fake news (ข่าวปลอม) โดยเป็นข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันหรือการพิสูจน์ว่าจริงหรือเท็จจริง อย่างกรณีของข่าวถ้ำหลวงก็มีให้เห็นมาแล้ว เพราะเราไม่สามารถควบคุมการใช้เทคโนโลยีของบุคคลได้”
ผศ.พิจิตรา กล่าวว่า Fake news ที่เกิดขึ้นในโลกออกไลน์จะมีลักษณะของการรายงานที่ไม่ได้เรียงลำดับเวลาเหมือนกับการรายงานข่าวของสื่อมวลชนอาชีพ เช่น เหตุการณ์บางเหตุการณ์เกิดขึ้นไปแล้ว 5 วัน แต่กลับนำมาแชร์ ซึ่งคนรับข่าวสารนั้นก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าข่าวที่แชร์กันมานั้นเป็นจริงหรือเท็จอย่างไร


“ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่คนใช้เทคโนโลยี ที่เอาไปใช้สร้างโฆษณาชวนเชื่อ ดังนั้น สำนักข่าวมืออาชีพจะต้องเข้ามาทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริง เพราะสุดท้ายแล้วคนรับข่าวสารก็ยังต้องการเช็คความถูกต้องของข่าวผ่านสำนักข่าวมืออาชีพเช่นกัน ผู้สื่อข่าวมืออาชีพจะต้องทำหน้าที่ให้ครบถ้วนด้วยการนำเสอนข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและเรียงลำดับเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ” ผศ.พิจิตรา กล่าว


ด้าน ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากเหตุการณ์ถ้ำหลวง ทำให้เห็นว่ามีจำนวนผู้รายงานข่าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนตัวแบ่งออกได้เป็น 1.ในภาคสนาม ประกอบด้วย ผู้สื่อข่าวส่วนกลางที่ถูกส่งเข้ามาในพื้นที่ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่น และ ประชาชนในพื้นที่ที่ทำเพจข่าวในการรายงานสถานการณ์ และ 2.สื่อมวลชนในส่วนกลางที่ไม่ได้มีการส่งผู้สื่อข่าวเข้าไปในพื้นที่ เพียงแต่อาศัยการมอนิเตอร์ข่าวและเผยแพร่ออกไป


มานะ มองว่า ด้วยจำนวนนักข่าวที่มากนั้นมีผลให้การรายงานและการนำเสนอข่าวออกไปบางครั้งสร้างความสับสนว่าข่าวไหนจริงข่าวไหนไม่จริง โดยปกติแล้วเมื่อเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ผู้บริโภคข่าวสารก็จะรับจากสำนักข่าวหลักเป็นสำคัญ แต่เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ผลิตสื่อจำนวนมากและแข่งกันเรื่องความไว ส่งผลให้คนจำนวนมากหลงไปได้เช่นกัน เพราะแยกไม่ออกว่าสื่อไหนเป็นสื่อหลักหรือเป็นสื่อทางเลือก


สำหรับกรณีของหน่วยงานภาครัฐที่มีทำเพจและรายงานสถานการณ์ มานะ ให้ทัศนะว่า ไม่คิดว่าเป็นการทำหน้าที่สื่อของหน่วยงานภาครัฐ แต่เป็นแค่หนึ่งในช่องทางของการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การทำงานเท่านั้น และคิดว่าเมื่อถึงที่สุดแล้วสังคมก็จะบริโภคข่าวสารจากสำนักข่าวและสื่อมวลชนอาชีพเป็นหลัก เพียงแต่สื่อมวลชนจะต้องถอดบทเรียนจากเหตุการณ์เพื่อมาปรับปรุงการทำหน้าที่ในระยะยาวต่อไป


“ภายหลังเหตุการณ์นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อทั้งกระแสหลักและสื่อใหม่ ต้องถอดบทเรียนจากการทำหน้าที่ในครั้งนี้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกัน สื่อมวลชนควรต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไร อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ โดยออกมาเป็นกรอบการปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมาอีก” มานะ สรุป
ส่วน ‘ก้าวโรจน์ สุตาภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ มีมุมมองว่า ปัจจุบันช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารของประชาชนมีทางเลือกจำนวนมาก ต่างจากอดีตที่มีเพียงวิทยุ โทรทัศน์ และ หนังสือพิมพ์ แต่เวลานี้มีเพียงแค่โทรศัทพ์หนึ่งเครื่อง ก็สามารถรับข่าวสารได้อย่างมหาศาล


ทั้งนี้ ในฐานะคนทำสื่อออนไลน์ คิดว่าแม้สื่อเกิดใหม่จะมีจำนวนมาก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณำที่สำคัญ สื่อกระแสหลักอย่างสำนักข่าวที่ทำหน้าที่โดยวิชาชีพยังคงมีบทบาทสำคัญอยู่
“เราจะเห็นได้ว่าข่าวFake News หรือข่าวปลอม จะไม่ค่อยปรากฎให้เห็นผ่านการเผยแพร่ของสำนักข่าว แต่จะไปปรากฎตามเพจข่าวที่มีชื่อเพจที่ไม่เป็นที่รู้จักของสังคมเท่าใดนัก ซึ่งภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ สำนักข่าวจะมีวิธีการบริหารจัดการข่าวที่มีความชัดเจนมากกว่า”


ก้าวโรจน์ ขยายความเพิ่มว่า การนำเสนอข่าวของสำนักข่าวมืออาชีพยังคงมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมีความเป็นมืออาชีพมากกว่าเพจข่าวที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่รู้ที่มาที่ไป ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าสำนักข่าวมืออาชีพยังมีความสำคัญ คือ ผลของการค้นหาเกี่ยวเหตุการณ์ถ้ำหลวงผ่านเว็บไซต์กูเกิ้ล ซึ่งจะพบว่าหน้าแรกที่ขึ้นมาล้วนแต่เป็นข้อมูลและข่าวของสำนักข่าวอาชีพเท่านั้น


“เพราะความเป็นมืออาชีพของสำนักข่าว จึงทำให้คนยังเสพข่าวจากสำนักข่าวเป็นหลักมากกว่าเพจข่าวอื่นๆ ถึงจะมีการนำเสนอประเด็นดราม่าอยู่บ้าง แต่นั่นก็เป็นแค่สีสันเล็กน้อยเท่านั้น”
ก้าวโรจน์ สรุปว่า จากเหตุการณ์ถ้ำหลวงเป็นการทำให้สังคมเห็นได้อย่างชัดเจนว่าใครเป็นสื่อมืออาชีพ ใครเป็นสื่อธรรมดา สื่อออนไลน์มีเยอะก็จริง แต่สื่อออนไลน์หรือเว็บข่าวที่คนยังติดตามและเข้าไปอ่านจำนวนมาก ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บข่าวที่มีฐานมาจากการเป็นหนังสือพิมพ์แทบทั้งสิ้น


“แบรนด์และความน่าเชื่อถือถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและมีอิทธิพลต่อคนอ่านมาพอสมควร คนไทยจำนวนที่เข้าเว็บไซต์ส่วนใหญ่ ก็ยังเข้าเว็บข่าวเป็นหลัก และเว็บข่าวหลักที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเข้าไปอ่านนั้นก็เป็นเว็บที่ทำหนังสือพิมพ์แทบทั้งสิ้น คิดว่าน่าจะมีคนเข้าไปชมในช่วงเหตุการณ์นี้ประมาณ 50 ล้านครั้งต่อวัน แสดงให้เห็นว่าความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญ” ก้าวโรจน์ สรุป


จากความคิดเห็นและทัศนะข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าความเป็นอาชีพเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการทำสื่อ ท่ามกลางปริมาณสื่อมวลชนที่เพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีตามเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าไปอย่างรวดเร็ว


(ภาพจาก specialreports_mcot)

พล.ท. สรรเสริญ กล่าวอีกว่านายกรัฐมนตรีได้ฝากถึงประชาชนที่ติดตามข่าวสารทางสื่อออนไลน์ที่มีการวิพากวิจารณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจมีการใช้อารมณ์ทำให้เกิดความสับสนและนำไปสู่การใช้อารมณ์ไม่พอใจได้ จึงขอให้เสพข่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี
“กรณีนักฟุตบอลเยาวชน และผู้ฝึกสอนทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย 13 คน ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน มีทั้งการส่งข้อมูลที่บิดเบือน สร้างความสับสน และการรายงานข่าวร่างทรงต่างๆ ผ่านสื่อ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ หาก สสส.ต่อยอดนโยบายทั้ง 3 ด้านนี้ จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศอย่างมาก”

ผู้ว่าฯ ยังยอมรับว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยทุกคนไม่เคยมีประสบการณ์หน้างานสำหรับเคสนี้ ซึ่งต้องร่วมมือบูรณาการกันทุกฝ่าย ทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วงอย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือสื่อ ไม่ควรไลฟ์สด เดินไปเดินมารบกวนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งถ่ายคลิปเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อการทำง

 

(ภาพจาก twitter)