LINE เดินหน้าร่วมต้าน Fake News
เปิด LINE IDOL แพลตฟอร์มทางเลือกใหม่สำหรับสื่อมวลชน
ไลน์ ไอดอล (LINE IDOLl) นับเป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือที่ทาง “LINE” ตั้งใจพัฒนาขึ้นมาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อมวลชนทั้งในส่วนของสำนักข่าวและนักข่าวรายบุคคล เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารไปถึงกลุ่มผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้รูปแบบ Official Account ของ LINE ซึ่งปรับแต่งมาให้เหมาะสมกับการใช้งานของสื่อมวลชน
ด้วยจุดเด่นของ Line ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้ ถึง 44 ล้านคนในประเทศไทย สอดรับกับผลสำรวจของ Nielsen ซึ่งระบุว่า ประชาชนใช้เวลาถึงวันละ 216 นาทีอยู่กับสมาร์ทโฟน และ หากพิจารณาในรายละเอียดของผลสำรวจ ยังพบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวประชาชนใช้เวลาถึง 63 นาทีไปกับแอพลิเคชันLINE ทำให้ LINE ถูกจับตามองในฐานะช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ผ่านมากลุ่มผู้ใช้งาน Line Official Account แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. Big Corporate เช่น สิงห์, KFC 2. SMEs / ผู้ประกอบการ และ 3. กลุ่มที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ดารา ศิลปิน สื่อมวลชน
Line Idol ถูกออกแบบมาสำหรับสื่อมวลชนให้สามารถเผยแพร่ข่าวสาร เรื่องราวต่างๆ ได้อย่างมียุทธศาสตร์มากขึ้น และเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านจำนวนมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม Publisher เช่น The Cloud, The Matter, The standard, Kaihuaror ซึ่งมีกลุ่มผู้ติดตามมากว่า 9 ล้านคน กลุ่ม Celebrity ทั้งดารานักร้องศิลปิน ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 3 ล้านคน ไปจนถึง กลุ่ม Influencer & Bloggers ที่มีผู้ติดตามมากว่า 1 ล้านคน
นอกจากนี้ Line Idol ยังมีกลุ่มย่อยหรือ Sub-Categories ได้แก่ Business/Marketing, News, Technology/ IT, Lifestyle, Cartoon, Sports, Entertainment, Celebrity, Blogger ซึ่งยังมีผู้ติดตามไม่ถึง 1 ล้านแต่ก็จะพิจารณาเป็นรายไป
สิ่งที่จะได้รับเมื่อเป็น Line Idol คือ จะสามารถ โพสต์ได้ไม่จำกัด ทั้ง text รูป วีดีโอ Rich message (ซึ่งจะสามารถใส่ลิ้งค์ข่าวให้ผู้อ่านสามารถกดติดตามเพื่อนย้อนกลับไปอ่านข่าวที่ต้นทางเว็บไซต์ของสำนักข่าวนั้นๆ ) rich menu, e-coupon, survey, timeline (หากโพสต์ในไทม์ไลน์คนที่เพิ่งเข้ามาอ่านจะสามารถย้อนไปอ่านข้าวในอดีตที่อยู่ในไทม์ไลน์ได้), LIVE CHAT(on-air), in-Line LIVE Viewer
นอกจากนี้ Line Idol จะได้รับช่องทางการโฆษณาผ่าน LAP : Line Ads Platform ซึ่งเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ง่าน 38.3 ล้านคน ใน LINE Timeline และ 36 ล้านคน ใน LINE Today ควบคู่ไปกับการมี Sticker ซึ่งถือเป็นเครื่องมือดึงดูดกลุ่มผู้ใช้งานไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว พิสูจน์โดยโดยข้อมูลจาก ปี 2017ซึ่ง มีผู้ใช้ดาวน์โหลด สติกเกอร์ไปทั้งหมด 620 ล้านเซต
ทั้งหมดอยู่บนเงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. การจัดแบ่งรายได้ ซึ่งหากกลุ่มลูกค้าเป็นผู้หาจะได้รายได้ 100 % แต่หากเป็นการขายของ LINE จะต้องแบ่งให้ LINE 20% 2. ลูกค้าต้องจ่ายค่าโฆษณา LAP เดือนละ 5,000 บาท สำหรับ account ที่มีเพื่อนน้อยกว่า 1 ล้านคน และ เดือนละ 10,000 บาท สำหรับ account ที่มีเพื่อนมากกว่า 1 ล้านคน 3. ลูกค้าต้องโพสต์ใน Timeline อย่างน้อย 2 โพสต์ ต่อวัน และ 4. จะต้องจัดทำและเผยแพร่ Advertorial หรือ บทความให้ LINE จำนวน 2 ชิ้นต่อปี
ณิชารัศมิ์ อาชญาสิทธิวัตร Head Marketing Communications บริษัท ไลน์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า สิ่งที่ไลน์มีความแตกต่างคือ Ecosystem ซึ่งมี Privacy และ ความปลอดภัยสูง โดยทางบริษัทจะรู้ข้อมูลเท่าที่ ยูสเซอร์ ให้เรารู้เท่านั้น และจะไม่ลงรายละเอียดเป็นรายบุคคล แต่จะพิจารณาจากกิจกรรม อายุเฉลี่ย และจะไม่มีการนำข้อมูลนี้ไปขายให้บุคคลภายนอกเด็ดขาด
“Ecosystem ของเราปลอดภัยแม้แต่ Official Account เองทุกข้อความที่คุยกันจากต้นทางสู่ปลายทาง ทั้งหมดจะถูกส่งเป็นการเข้ารหัส Encrypted และแปลงกลับมาเมื่อถึงปลายทาง แม้แต่ทางบริษัทเองก็ไม่เห็นว่าเขาคุยอะไรกัน ข้อมูลทั้งหมดไม่ได้เก็บไว้ที่เราแต่เก็บไว้ที่ญี่ปุ่นทั้งหมด ซึ่งนโยบายจะไม่ให้ใครดูยกเว้นมีการร้องขอจากตำรวจ ผ่านทางการทูตเท่านั้น”
ณิชารัศมิ์ ระบุอีกว่า สำหรับความพยายามการแก้ไขปัญหาเรื่อง Fake News นั้น LINE ถือเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ไม่มีสิทธิเข้าไปดูในเนื้อหารายละเอียดของผู้ใช้ แต่เราจะมีช่องทางให้ Report ทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม หากพบว่ามีพฤติกรรมเผยแพร่ Fake news อีกทั้งยิ่งมีข่าวว่าภาครัฐจะดูแลเอาจริงกับเรื่อง Fake news สิ่งที่ทาง LINE ทำได้เร็วที่สุดก็คือการให้ความรู้ ความเข้าใประชาชน คนใช้งานของไลน์ใหมความระมัดระวัง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาได้อีกทางหนึ่ง