2พนักงาน-ผู้บริหาร สปริงนิวส์ ที่เห็นและเป็นไป

2พนักงาน-ผู้บริหาร

สปริงนิวส์ ที่เห็นและเป็นไป

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน สปริงนิวส์  การเลิกจ้าง ข่าวลือมากมาย สร้างความระส่ำระสายต่อ พนักงานภายในองค์กร และส่งแรงกระเพื่อมไปถึง สื่อดิจิตอลในยุคที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด บนเม็ดเงินค่าสัญญาสัมปทานสูงลิบ แลกกับ เรตติ้งผู้ชม อันเป็นตัวแปรสำคัญ หากไม่สมดุลในแง่ตัวเลข ความไม่พึงพอใจในทิศทาง มันเลยกลายเป็น จุดวกกลับ มาถึง บุคคลากรในองค์กรอย่างเลี่ยงไม่ได้

ปรากฎการณ์ สปริงนิวส์ เป็นเรื่องที่พูดกันหลายแง่มุม จุลสารราชดำเนิน จึงขอหยิบยกมุมมองทั้ง 2 ด้าน ฝั่ง พนักงาน ที่ได้มาฉายภาพให้เห็นถึง เรื่องที่ผ่านมา ฝั่งผู้บริหาร ที่มาฉายให้เห็นถึง สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ตามมา และสิ่งที่กำลังจะเกิดในอนาคต

 

.....       หนึ่งในพนักงานสปริงนิวส์ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 28ต.ค.เบอร์โทรศัพท์ของฝ่ายบุคคลโทรกำชับให้เข้าพบภายในช่วงเย็นหลังเสร็จภารกิจ ที่ห้องฝ่ายบุคคล ชั้น 24 อาคารเล่าเป้งง้วน นักข่าว ช่างภาพ โปรดิวเซอร์รายการบางคน ทยอยเข้าพบฝ่ายบุคคล ทีละคนและทีละคน เพื่อรับทราบเงื่อนไขในการเซ็นใบลาออกและเงินชดเชยที่จะได้รับ หลังออกจากห้อง บางคนมีน้ำตา บางคนเงียบเฉย แต่สิ่งหนึ่งที่ทำเหมือนกัน คือ เก็บเอกสารเครื่องใช้ส่วนตัว

 

.....       วันนั้นเพิ่งกลับจากภารกิจภาคสนาม คนยังจับกลุ่มคุยกันเป็นกลุ่มๆ นักข่าวสาวร่วมสายงานถามว่า ยังไม่รู้หรอ เขาเอาคนออก ก็มีคำถามตามมา คือใคร ใช้เกณฑ์อะไรในการเลือกพนักงานสักคนออกจากตำแหน่ง ในวันพุธ 28 ต.ค. ยังไม่มีผู้บริหารระดับสูงออกมาตอบคำถามนั้น แต่ยิ่งปิดบัง รังแต่คนจะขุดคุ้ย

 

.....       เขาเปรียบเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า เรืออวนใหญ่ มีนายทุนเป็นเจ้าของ แน่นอนว่าเขาขับเรือไม่ได้ คุมเรือไม่เป็น จึงต้องจ้างกัปตัน1 กุมทิศทางเรือ โดยยอมแบ่งกรรมสิทธิ์บางส่วนของเรือให้กับกัปตัน1 พลันเวลาผ่านเรือยังไม่เข้าใกล้เป้าหมาย นายทุนจำใจจ้างกัปตัน2 กุมทิศทางเรือ จะปลดกัปตัน1 ก็ไม่ได้ ในเมื่อกลายเป็นหุ้นส่วนกันเสียแล้ว เมื่อกัปตัน2ต้องการเลือดใหม่เสริมเสถียรภาพ และกัปตัน1 ยอมถ่ายเลือดเก่ารักษาที่ยืน

 

.....       ในพฤหัสบดี 29 ต.ค.เบอร์โทรศัพท์ของฝ่ายบุคคลยังปรากฏบนจอแสดงผลของอีกหลายคน เป็นสัญญาณว่า ยกที่2 กำลังเริ่มขึ้น จนกระทั่งวันศุกร์ 30 ต.ค. ‘วทันยา วงศ์โอภาษี’กรรมการผู้จัดการ สถานีข่าวสปริงนิวส์ ตั้งโต๊ะแถลงข่าวท่อนหนึ่งของคำตอบ ระบุว่า ‘ไม่อยากใช้คำว่าปลด แต่เป็นการลาออกของพนักงาน เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความชัดเจน การลาออกครั้งนี้เป็นไปด้วยความสมัครใจ มีการพูดคุยกับพนักงาน มีการเซ็นใบลาออก ไม่ใช่การเลิกจ้างแต่อย่างใด รวมถึงดูแลการชดเชยตามกฎหมายทุกประการ’

 

.....       เขาเล่าไปอีกว่า สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อมวลชน แค่เพียง 2 ปี มีสื่อเกิด-ดับ และเจียนดับหลายเจ้า ชัดเจนที่สุดคือวงการทีวีดิจิทัล นับจากการเลย์ออฟพนักงานของ โพสต์ทีวี ไทยทีวี โลก้า และจบด้วยสปริงนิวส์ (หรืออาจยังไม่จบ) แต่คำถามนี้ไม่ใช่คำถามที่นักวิชาชีพสื่อมวลชน จะต้องตอบ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องเผชิญภายใต้ภูมิทัศน์สื่อยุคใหม่ (media landscape) ยุคที่มีทีวีหลายเจ้า หนังสือพิมพ์หลายหัว ยังไม่นับรวมสื่อแจกฟรี-อ่านฟรี ลงแข่งขันในสื่อทุกแฟลตฟอร์ม ไม่แน่ เมื่อระฆังยกที่ 3 ดังขึ้น ลิสต์รายชื่อพนักงานที่ถูกปลดอาจเป็นคุณ

 

.....   วทันยา วงศ์โอภาษี หรือ เดียร์ กรรมการผู้จัดการสถานีข่าวสปริงนิวส์ เผยถึงเรื่องราวในสปริงนิวส์ “ในช่วงที่ผ่านมาของสปริงนิวส์ มีการเปลี่ยนแปลงเยอะ ถ้านับจากเดย์วัน ที่เริ่มจากดาวเทียมและก้าวเข้าสู่ดิจิตอล เรื่องบุคคลากรที่ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะช่วงทำเดียวเทียมมีประมาณไม่เกิน260 คนแต่ตอนนี้มีเกือบ 500คนในช่วงที่เปลี่ยนผ่านมาสู่ดิจิตอล ด้วยหลายปัจจัย ตลาดดิจิตอลเปิด มีturnover สูงมาก และคิดว่าโดยเฉพาะ หลายๆช่องก็หันมาทำข่าว มีช่องหลัก7-8ช่องในตลาด ด้วยความที่ Turnover(การเปลี่ยนแปลง) สูงมาก และแค่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็จะหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาบุคคลากรที่จะออกไป การกลับมาออกงานทีวีที่ออกอากาศตลอด ลักษณะการทำงานช่วงปีก่อนๆก็เป็นลักษณะนี้ อาจทำให้การควบคุมอัตราพนักงานหลายๆอย่างอาจไม่ได้เข้มงวดเท่าที่ควร ตอนนี้หลังจากเราลองผิด ถูกช่วง2ปีที่ผ่านมาก็เยอะ วันนี้สปริงอาจไม่ได้เป็นที่1แบบ stable(เสถียร) อาจเป็นบางสัปดาห์ แต่ในเรื่องของ Growth(การเจริญเติบโต) เราก็สูง ทำให้เราพอจับทางได้แล้วว่า ผังควรจะออกมาแบบไหน การทำข่าว บุคคลากรอะไรก็ดี เลยเป็นที่มา เรามาทำการศึกษาเรื่องอัตรา เรื่องปริมาณงาน ก็มาคำนวณว่าควรมีอัตราเท่าใด ที่เหมาะสมกับงานจริงๆ เมื่อมาคำนวณ แน่นอน จะมีบุคคลากรจำนวนหนึ่งที่ over(ม่าก) เกินไป แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดกระแส อาจเป็นเพราะดิจิตอลที่ถูกจับตาว่าจะไปรอดไม่รอด แต่ก่อนที่จะมี ในช่องอื่นๆก็ทำเหมือนกันบางที่ก็เป็น 100-200อัตรา แต่เมื่อมีพนักงานออก ก็พอทราบมีการไปทิ้งบอมบ์ใน กรุ๊ปไลน์ ในพวกนักข่าว พอออกมา คนก็เลยเห็นว่า เรื่องมันเลยลามเกินกว่าความเป็นจริง

 

.....       ตอนที่มีข่าว ก็มีผู้บริหารช่องหนึ่งของทีวีดิจิตอล โทรมาถามว่าเกิดอะไรขึ้น เขาสงสัยรอบนี้มีเรื่องทุจริตหรือไม่ เพราะพนักงานมาสมัครที่เขาเยอะ เลยบอกไปว่า ไม่ใช่เรื่องทุจริต สบายใจได้ และเขายังบอกก็ทำอยู่เหมือนกัน จริงๆสุดท้ายแล้ว อยู่ที่ว่าดิจิตอลคงพยายามบริหารจัดการงานของตัวเอง เพราะทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเยอะและ action(การกระทำ) ไม่อย่างนั้นจะไม่ทันกับการแข่งขัน คนภายนอกอาจดูเหมือนไม่รู้สึก แต่ผังจริงๆมีการปรับตลอด เพราะทุกช่องก็พยายามทำทั้งหมด”

 

 

ภาพรวมทีวีดิจิตอล เริ่มจับทางช่องได้แล้ว แล้วจะมาปรับทาง

.....       ใช่ ในช่วงปีที่ผ่านมาเช่น workpoint เช่นบางรายการเกมโชว์ กว่าจะเริ่มสร้างฐานแต่ละช่วงได้ แต่ยอมรับว่า สปริง เราก็พยายามทำเยอะมาก มีทั้งเกมโชว์ และอะไรต่างๆ แต่ไม่ว่าจะทำยังไง เรตติ้งที่ดีที่สุดคือข่าว เช่นเดียวกับเวิร์คพ้อยท์ ที่ดีที่สุดก็คือเกมโชว์ ช่อง8ก็คือละคร คิดว่าหลายๆช่องก็รู้แล้วว่า position(จุดยืน-ทิศทาง)ตัวเองจับทางไปยังไง หลังจากลองผิด ลองถูก อะไรถูกแล้วก็ไม่แตะ แต่ไปแก้สิ่งที่ ไม่ถูก ยังไม่ใช่ ยังไม่ดีเท่าที่ควร

 

 

แต่ละช่องก็จะเริ่มมีการ layoff(เลิกจ้าง)

.....       อาจจะไม่เป็นทุกช่อง บางช่องมีการกลั่นกรองพนักงานที่ดีอยู่แล้ว ก็เลยอาจไม่ต้องมา lay แบบนี้ก็ได้ บางช่องที่บุคคลากรเขา stable ตั้งแต่ต้นอยู่แล้วก็ไม่ต้องทำก็ได้ ก็ไม่ได้เกิดกับทุกๆช่อง แต่สิ่งที่เราทำ เพราะเห็นอะไรบางอย่างและพยายามจะจัดการกับปัญหา ก่อนจะบานปลายมากกว่า

 

 

 

เป็นเพราะค่าสัญญาสัมปทานที่ต้องไปจ่ายให้รัฐต่อปีสูงมาก และผลที่ได้กลับมาไม่ค่อยสมดุลเลยทำให้เกิดภาวการณ์แบบนี้

.....       เรื่องค่าสัมปทานไม่ใช่ประเด็น เพราะทุกๆช่องที่ไปประมูลรู้อยู่แล้วว่าค่าสัมปทานจะยังไง ยอมรับว่าหลายช่อง ประเมินค่าสัญญาไม่ควรแพงขนาดนี้ แต่เมื่อไปแล้ว ทุกคนก่อนที่จะไปประมูลก็accept (รับได้)อยู่แล้ว อาจจะผิดคาด ครั้งแรกเราไปประมูลมีหลาย condition(สภาพการณ์,ข้อจำกัด) ที่ได้ไปคุยกับกสทช.ไม่ว่าจะเป็นโครงข่ายหรือ pattern(รูปแบบ) แล้วจะ  coverage(การรายงานข่าว)  ไปที่เท่าไหร่ เรื่องการแจกกล่อง การทำเลขช่องก็มีผลมากกับความนิยมของผู้คน มีทั้งหมด 24ช่องและอีก12ที่เตรียมให้สำหรับราชการเป็น 36ช่อง คนจะหมุนไปรีโมทขนาดนั้นถ้าไม่รักจริงไม่มีทาง จะถูกดักแต่ต้น และการที่ไม่ล็อกช่อง คนที่มาจาก cable และ satellite จะรู้อยู่แล้วที่เรามาดิจิตอล เพราะเรา suffer(ทรมาน,ทนทุกข์) กับการcontrol(ควบคุม) กับเลขช่องไม่ได้ แทนที่จะบอกสปริงช่องนี้ แต่ต้องมานั่งบอก กล่องนี้ จานนี้อยู่ช่องนี้ ในเชิงการตลาดมันผิดกันอย่างรุนแรง  และการปล่อยให้มีการซื้อเลขช่องได้ มีผลต่อการแข่งขันอย่างมาก ช่องใหญ่มีเงินเยอะ ก็ดักคนดูไปหมด ยังไม่ห่วงเท่ากับการแจกกล่องช้า มีผลต่อการแข่งขัน ตอนที่ประมูลทีวีดิจิตอล รู้อยู่แล้วใน 22ล้านhousehold(ครัวเรือน) 70เปอร์เซ็นต์ เป็น satellite กับ cable ไปแล้ว เหลือ 30% เป็นอนาล็อก ทุกคนก็รู้แล้ว อย่างที่เราประเมิน ก็ไม่คิดว่าจะ switch(ปรับเปลี่ยน) จาก satellite มาเป็น ดิจิตอล มันไม่มีเหตุผล เพราะทำไมจะต้องมาเปลี่ยนเป็นกล่องดิจิตอล แต่ที่ทุกคนรอคือ อนาล็อก 30%  แต่กลายเป็นว่าการแจกกล่องช้า คนจะmigrate(โยกย้าย) ไปเรื่อยๆ เขาโยกย้ายไปที่ satellite และยังปล่อยให้มีการซื้อเลขช่อง แน่นอน มันรวนไปหมดทั้งการตลาด และเมื่อประมูลไปแล้ว แผนงานไม่ไปตามนั้น และกลายเป็น กุญแจสำคัญในเชิงกลยุทธ์การตลาด ในการทำทีวี

 

ทำให้ผิดแผน

.....       โดยเฉลี่ย psi เขาขายได้เดือน ตอนที่ไม่ launce (ในที่นี้หมายถึง การไม่นำสินค้าใหม่คือกล่องทีวีดิจิตอลออกสู่ตลาด) จานpsi ขายได้ต่อเดือนประมาณ 2แสนจาน ต่อปีก็ 2.4ล้าน ใน30เปอร์เซ็นต์จาก22ล้านครัวเรือนก็ประมาณ 6ล้านกว่าจาน อันนี้แค่ psi การที่ช้าไปหนึ่งวัน satellite ขายจานไปตลอด และซ้ำร้ายไปยิ่งกว่าเมื่อกล่องออกมา ก็มีทั้งใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ satellite จับมือทำแคมเปญร่วมกัน ให้เอากล่องดิจิตอลมาแลกกล่องดาวเทียมได้ฟรี อะไรเหล่านี้ มีผลหมดเลย และโยงใยกลับมาเรื่องเรตติ้ง

 

 

การปรับลดพนักงาน

.....       ไม่มีอะไร มีการบอกกล่าวพนักงานล่วงหน้า และให้ effective(มีผล) เมื่อ30พ.ย. เพียงแต่ว่ามี 2กรณี พนักงานที่ โอเคก็ยอมรับว่า สำหรับพนักงานที่ complete อยู่แล้ว เราก็prefer(ให้ใช้สิทธิ) ใช้โควตาเรื่องวันหยุดไปเลย ในแง่การบริหารจัดการคงไม่สามารถจริงๆ พนักงานที่ออกเราก็ไม่รู้ว่าถ้ากลับมาจะยุแยง ก่อหวอด หรือปั่นป่วนอะไรบ้าง และรวมถึงเครื่องไม้ เครื่องมือ ในแง่การprotect (ปกป้อง)องค์กร  เราก็ทำให้เป็นแบบนั้น แต่พนักงานที่ทำหน้าที่อื่น อย่างรายการที่ทำงานล่วงหน้า ก็ยังให้เขากลับมาเคลียร์งาน จนโอเค ส่งมอบงานแล้วเสร็จ ก็ไม่ได้เป็นการเลิกจ้างพนักงานทุกคน เป็นการเซ็นใบลาออก ค่าชดเชยก็เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน   จ่ายครบถ้วนตามที่กฎหมายระบุไว้

 

ที่เป็นประเด็น มีข่าวลือเยอะในกลุ่มไลน์ พนักงานเหมือนไม่รู้ล่วงหน้า

.....       เราก็พูดคุยกับพนักงานเหมือนกัน คงมีการปรับเปลี่ยน อาจจะกระชับเรื่องพนักงาน แต่คงไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็น นาย A นาง B แต่ก็มีการเกริ่นอยู่แล้ว ไปถามพนักงานก็รู้ว่า องค์กรมีการส่งสัญญาณแบบนี้ มันมี

 

เป็นการปรับเพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างใหม่

.....       อาจจะปรับโครงสร้างใหม่ ตอนนี้เราอยากจะขยายข่าวเศรษฐกิจ ข่าวต่างประเทศมากขึ้น เพราะพื้นที่การเสนอข่าวมี 24ชั่วโมง แต่สัดส่วนข่าว เมื่อก่อนไม่ค่อยมีข่าวต่างประเทศ ธุรกิจ น้ำหนักน้อย แต่อาจไปเรื่องสังคม การเมือง ท้องถิ่น ใน100คน handle(การจัดการ,ดำเนินการ) ใน24ชม. พอวันนี้จำนวนชั่วโมงที่จะ handle ลดน้อยลง สมมุติจาก 100คนเหลือ 80ทุกอย่างก็แปรผันไปในเรื่องปริมาณ การทำงาน ในแนวทางองค์กร ปี2559 เราค่อนข้างจะ ค้นหา ในตัวเองได้ชัดแล้ว และหลังจากพยายามลองทำทุกอย่าง ยังคิดว่า ข่าวคือ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสปริงนิวส์แล้ว เมื่อจะทำให้เต็มเปี่ยมและให้เป็นprofessional(มืออาชีพ)  หลักๆอยู่ที่ ด้วยความที่เราจะปรับกลยุทธ์ ปรับเปลี่ยนแผน เลยสะท้อนมาเนื้องาน จากเนื้องานก็สะท้อนมาที่บุคคลากร และจะขยายทีมข่าวเศรษฐกิจ ต่างประเทศ และที่ให้น้ำหนักคือเครื่องมือ และกำลังคิดเรื่องการทำงานข่าวในรูปแบบใหม่ อาจเป็นคอนเซ็ป digital first ก็พยายามดู เทรนด์ผู้บริโภคเป็นอย่างไร ก็ปรับจูนทีมข่าวให้เป็นแบบนั้น

.....       เราเจอเนื้อหาที่ลงตัวของเราแล้วกว่า 80เปอร์เซ็นต์ แนวทางปีหน้า คงไม่เหวี่ยงเท่า 1-2ปีที่ผ่านมา ที่เหลือคงไปปรับเรื่องไส้ใน ทำให้เนื้อหาที่แหลมคมมากขึ้น รวมไปถึงproductionให้มีคุณภาพมากขึ้น ที่ทั้งcontentและproductionคนดูสปริง บุคคลิกคนดูเฉลี่ยอายุ 35-45 ปี และอยากให้เป็น ทันสมัย สมาร์ท ผู้ชายวัยกลางคนที่ยังกระฉับกระเฉง ดูสมาร์ทมีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งสิ่งนี้ผ่านผลสำรวจ การทำวิจัยมาแล้ว

 

บุคลากรที่มีตอนนี้คล่องตัวอยู่แล้ว

.....       ประมาณ400กว่าๆก็โอเค แต่เวิร์กไม่เวิร์ก ที่เหลือเป็นหน้าที่ที่เราต้องปรับ ต้องคุยตัวงานที่ชัดเจน ไปลงในเรื่องquality (คุณสมบัติ)มากกว่า

ในระยะสั้นจะไม่มีการปลดออกอีกแล้ว

.....       ไม่มี(ตอบทันที) แต่ก็พูดกับพนักงานชัดเจนแล้วนะว่า แต่ก็ไม่ได้ที่เขาจะอยู่โดยที่จะไม่ alert(กระตือรือร้น) ไม่ได้ แต่ก็จะวัด performance(การปฏิบัติงาน) ใครทำงานไม่ตอบสนอง แบบเช้าชาม เย็นชาม ไม่มุมานะ อะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องพิจารณาอะไรสักอย่าง

 

ข่าวลือจะมีอีกล็อต กระทั่งแม้จะมีการปรับเปลี่ยนทีมบริหาร

.....       ก็เป็นข่าวลือมากกว่า  ก็ว่าตามทฤษฎีคนไทย ขอฉันเติมอีกนิด เพิ่มอีกหน่อย

 

ความขัดแย้งระหว่างทีมเดิมกับทีม ทีนิวส์

.....       เป็นการพูดเพื่อยุยง ปลุกปั่น ทีนิวส์ที่มามี6คนและส่งกลับไป2เหลือ 4คนเท่านั้น ที่บอกจะเอาใครมาแทน ก็ไม่มีเลย ก่อนหน้าก็มีแค่6คน ขณะที่สปริงเดิมมีตั้ง 470 คน  และ6คนที่ยังอยู่แล้วทำให้คนสปริงออกไป ก็ไม่ใช่ แต่คนก็เอาไปลือต่างๆนานา