ข้อเสนอของนักข่าวภาคสนาม
ความขัดแย้งทางการเมืองในรอบหลายปีที่ผ่านมา กลายเป็นความรุนแรงสะสมในสังคมไทย และในที่สุดก็ปะทุขึ้นกลางกรุงเทพมหานคร สร้างความเสียหายใหญ่หลวงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน กระทบความรู้สึกของผู้คนในวงกว้าง ในรอบ2เดือนที่ ผ่านระหว่างการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่ง ชาติ(นปช.)ได้เกิดการปะทะ การจราจลกันเป็นระยะ มีประชาชน เจ้าหน้าที่ทหาร ได้บาดเจ็บและเสียชีวิต จำนวนมาก ขณะที่ช่างภาพ ผู้สื่อข่าว ซึ่งทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์เพื่อรายงานต่อประชาชน ต้องเผชิญกับภาวะการทำงานที่เลวร้ายอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในเหตุการณ์การชุมนุมมีผู้สื่อข่าวต่างประเทศเสียชีวิตระหว่างการปฎิบัติหน้าที่ 2 คน และช่างภาพไทยได้รับบาดเจ็บหลายคน ด้วยปรากฎการณ์นี้ทำให้ประเทศกลายเป็นดินแดนที่ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนัก ข่าวติดอันดับต้นๆของโลก
ผู้สื่อข่าวภาคสนามที่ผ่านการทำงานในช่วงที่มีการชุมนุมและต้องเผชิญเหตุการณ์ ความรุนแรงได้ประเมินสถานการณ์ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงจะยังมีแนวโน้มสูงที่ จะเกิดขึ้นอีก จึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและได้รวบรวมมาเป็นข้อเสนอแนะต่อสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและกองบรรณาธิการของสื่อแต่ละสำนักเพื่อให้ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลความปลอดภัยของช่างภาพ ผู้สื่อข่าวในสังกัด ดังนี้
1.ควรมีหลักสูตรการฝึกอบรมนักข่าว ช่างภาพในสังกัด เพื่อเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวเองเมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหตุปะทะหรือการจรา จลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
2.ช่วยประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและผู้ชุมนุมเพื่อให้รับรองความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการทำหน้าที่
3.จัดหาอุปกรณ์ป้องกันชีวิตที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้จริงและเพียงพอต่อช่าง ภาพและนักข่าวทุกคน อาทิ เสื้อเกราะกันกระสุน หมวกเหล็กกันกระสุน แว่น-หน้ากากกันแก๊สน้ำตา
4. สนับสนุนอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อใช้ในการส่งภาพและข่าว ที่สามารถใช้งานได้ทุกสถานที่ รวมทั้งควรฟื้นฟูเครือข่ายวิทยุสื่อสารของแต่ละสำนักข่าวเพื่อใช้สื่อสารกันในภาคสนามในห้วงเวลาที่สัญญาณโทรศัพท์ถูกตัด
5. กรณี ที่มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ฉุกเฉินขอกองบรรณาธิการ หรือสำนักข่าวต้นสังกัด ควรที่พักที่ปลอดภัยในพื้นที่ข่าว หรือยานพาหนะอำนวยความสะดวกให้กับนักข่าว และช่างภาพ ที่ปฏิบัติภาคสนาม
6. ขอ ให้มีการดูแลและช่วยเหลือสวัสดิการรักษาพยาบาลนักข่าว ช่างภาพ และผู้ช่วยช่างภาพ ที่เจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานในภาคสนามตามค่าใช้จ่ายจริง
7.ควร จัดเบี้ยเลี้ยงในกรณีที่ช่างภาพ-นักข่าวอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยหรือมีค่า ล่วงเวลาในกรณีที่ต้องปฎิบัติหน้าที่ติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 10 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อเป็นขวัญและกำลังในการทำงาน
8. ต้นสังกัดควรมีวันหยุดพิเศษที่ไม่นับเป็นวันลาให้กับนักข่าวภาคสนาม เพื่อเปิดโอกาสให้ได้พักผ่อนเยียวยาฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ
9. ใน สถานการณ์ที่สังคมเกิดความแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรง ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมเนื้อหาและทิศทางข่าวควรนำเสนอข้อมูล ข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา ลดการแสดงอารมณ์ อคติที่จะเพิ่มพูนความเกลียดชังขึ้นในสังคมซึ่งเท่ากับสร้างเงื่อนไขความขัด แย้งไม่รู้จบ
ด้วยความนับถือ
ผู้สื่อข่าวภาคสนาม
หมายเหตุ นักข่าวภาคสนามได้นำเสนอข้อเสนอแนะต่อสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและกองบรรณาธิการของสื่อ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2553 นงานเติมกำลังใจ ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก