โลกเสมือนจริง “Metaverse” โอกาส หรือ disrupt ระลอกใหม่ ?

"…ขณะที่ในมุมของนักสื่อสารมวลชน สำนักข่าวต่างประเทศก็ยังไม่มีแนวทางว่าจะนำ Metaverse มาใช้ประโยชน์ด้านใด แต่ส่วนตัวมองว่าสื่อจะสามารถติดตามความเคลื่อนไหวทางสังคม จากการสร้างกลุ่มก้อนได้…."

.

สัปดาห์ที่ผ่านมาคงไม่มีข่าวไหนถูกจับตามองไปมากกว่าการเคลื่อนไหวของ Facebook (เฟซบุ๊ก) ซึ่งกำลังสร้างโลกใหม่ขึ้นมาทั้งใบ โดย Metaverse ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีหลายอย่าง ภายใต้คำว่าโลกเสมือน หรือที่เราคุ้นหูกันว่า VR และ AR อย่าง VR คือลักษณะที่เราใส่แว่นตาแล้วเข้าไปอีกโลก หนึ่งในเกมส์ ทุกอย่างที่ตาเราเห็นเหมือนกับโลกใหม่อีกโลก แต่ AR คือการผสมผสานกับโลกเดิม เหมือนเราเอามือถือไปส่องจะเจอบางอย่างลอยอยู่เช่นเกมส์โปเกม่อน มัน คือการผสมผสานโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกเสมือนผสานอยู่ด้วยกัน

"วรทรรศน์ วงษ์ไทย Blogger เว็ปไซด์ trendymobile.net" กล่าวไว้ในรายการ “ช่วยกันคิด ทิศทางข่าว” ถึง Metaverse ที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกและชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และถือเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซึ่งภาคธุรกิจ ก็ต้องมีการปรับตัวตามไปด้วย ซึ่งที่ผ่านมาพบหลายบริษัทได้ทำกันแล้วอย่างบริษัทไนกี้ ที่มีการเข้าไปเปิดสุจิบัตร เรื่องของโลโก้ต่างๆ แต่ก็ยังอยู่ในวงแคบเพราะมีข้อจำกัดเรื่องของอุปกรณ์

ทั้งนี้กลุ่มคนที่สนใจส่วนใหญ่ต้องมีความคุ้นเคยกับ VR และเป็นคนที่มีไลฟ์สไตล์การตื่นตัว หรืออยู่ในเรื่องเทคโนโลยีนี้อยู่แล้ว อย่างกลุ่มคนที่เล่นเกมส์ หรือบริษัทที่อยู่ในวงการซึ่งมีความเชี่ยวชาญมาก่อนถึง 90%หรือแม้แต่โลกของ AR ทาง Microsoft เองก็มีผลิตภัณฑ์อีกตัวชื่อ Microsoft HoloLens

เมื่อเราใส่แว่นหรืออุปกรณ์แล้วเราจะสามารถเห็นอีกโลกที่ทะลุผ่านหน้าจอของ HoloLens ออกไปแต่ยังมีภาพโลกของความเป็นจริงอยู่ ปัจจุบันองค์กรต่างประเทศเริ่มมีการเปิดรับสมัครพนักงานเข้ามาดูเรื่อง AR/VR โดยเฉพาะกันมากขึ้น

แต่ในอีกมุมก็ต้องยอมรับว่า Metaverse อาจต้องใช้ระยะเวลาในการเข้าถึงกลุ่มคน ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี เพราะไม่ใช่ทุกคนที่เล่น VR แล้วจะเกิดความสุข เนื่องจากเป็นการแสดงภาพ3มิติ ที่ต้องใช้สายตาแพ่งบางคนอาจมีอาการเวียนหัว

ขณะที่อุปกรณ์มีราคาค่อนข้างสูง การเข้าถึงจึงเป็นเฉพาะกลุ่มที่สนใจและอยู่ในแวดวงอยู่แล้ว แต่ในอนาคตอาจมีโอกาสที่ Metaverse จะเข้าถึงทุกคน คล้ายๆกับโทรทัศน์ที่สุดท้ายแล้วมาทุกบ้านต้องมี แต่อาจจะต้องมีการพัฒนารูปทรงของอุปกรณ์ให้สามารถพกพาสะดวก หรือการใช้งานง่ายขึ้นไม่ซับซ้อน เพราะปัจจุบันเด็กที่อายุต่ำกว่า10ขวบ ก็ เริ่มโตมากับเทคโนโลยีนี้

ส่วนกรณีการป้องกันเหตุอาชญากรรมที่อาจจะเกิดขึ้นบนโลกเสมือนจริง ได้มีการเตรียมรับมือมากน้อยแค่ไหน ต้องบอกว่าในต่างประเทศอย่างอังกฤษก็มองว่ายังไม่ค่อยไว้ใจ Metaverse แบบ100% เกรงจะมีการก่อเหตุบนโลกเสมือนจริงใบนี้จึงควรมีกฏหมาย AI รองรับ ขณะที่ประเทศไทยก็อยู่ระหว่างการเตรียมร่างกฏหมายป้องกันเช่นกัน แต่สิ่งที่หลายคนกังวลคือกฎหมายจะตามทันเทคโนโลยีหรือไม่

“สรุปแล้ว เทคโนโลยีนี้ หลายประเทศต่างกำลังถกเถียงกันว่าจะเกิดประโยชน์อะไรหรือไม่ หรือจะใช้อะไรได้บ้าง เพราะตอนนี้ทุกคนจะมองเรื่องโอกาสสร้างความสัมพันธ์ในยุคที่เราไม่ได้เจอกันจริงๆ ขณะที่ในมุมของนักสื่อสารมวลชน สำนักข่าวต่างประเทศก็ยังไม่มีแนวทางว่าจะนำ Metaverseมาใช้ประโยชน์ด้านใด

แต่ส่วนตัวมองว่าสื่อจะสามารถติดตามความเคลื่อนไหวทางสังคม จากการสร้างกลุ่มก้อนได้เช่น อาจจะมีการนัดชุมชนกันบนโลกเสมือนและมีการสร้างโมเดลขึ้นมาเพื่อให้ผู้ติดตามผู้ชมเข้ามาชุมนุมกัน ” …. บล็อกเกอร์เว็ปไซต์trendymobile.net กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามรายการ “ช่วยกันคิดทิศทางข่าว” ทุกวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น. เป็นความร่วมมือของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคลื่นข่าว MCOT News FM 100.5