มูลนิธิอิศรา อมันตกุลและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดการประกวดรางวัลอิศรา อมันตกุล ประเภทข่าวยอดเยี่ยมจากสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ และประเภทภาพข่าวยอดเยี่ยมจากสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ ประจำปี 2566 มีพิธีมอบรางวัลผลการประกวด เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 ณ ห้อง Phayathai Grand Ballroom ชั้น 6 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท
ปีนี้เป็นปีแรกที่เปิดโอกาสบนเวที ให้ผู้ได้รับรางวัลกล่าวถึงผลงานและความรู้สึกที่ได้รับรางวัล ดังนี้
รางวัล ภาพข่าวออนไลน์ ยอดเยี่ยม ชื่อภาพ เก่ากำลังไปใหม่มาแล้ว
โดย นายสุภณัฐ รัตนธนาประสาน สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส
“ผลงานภาพนี้ เป็นเหตุการณ์ที่ท่านต่อศักดิ์ กำลังก้มโค้ง เพื่อส่งท่านดำรงศักดิ์ เดินทางออกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างสมเกียรติ”
รางวัล ภาพข่าวออนไลน์ชมเชย ชื่อภาพ ก้าวแรกสู่สมรสเท่าเทียม
โดย นายธนาชัย ประมาณพาณิชย์ (TNN online)
“จุดเริ่มต้นของการไปถ่ายคู่รัก LGBTQ คือ เราอยากได้ภาพคู่รักในช่วงวันวาเลนไทน์ ที่นอกเหนือจากคู่รักทั่วไป และช่วงนั้นมีกระแสเกี่ยวกับคู่รักเพศเดียวกันกำลังผลักดันกฎหมายเพื่อให้มีการสมรสร่วมกันโดยการถูกกฎหมาย และช่วงนั้นมีหลายเขตก็พยามจัดกิจกรรมนี้ขึ้น โดยการสมมติร่วมกัน ผมพยายามดูเขตที่จัดเรื่องนี้ แล้วบังเอิญคู่นี้เป็นคู่แรกที่มาลงทะเบียน โดยเป็นตำรวจผมก็เลยเจาะที่คู่นี้ เพราะตำรวจบางคนเขาไปกล้าที่จะเปิดเผยว่าตนเองเป็นLGBTQ การถ่ายภาพนี้ผมก็ขออนุญาตเขาก่อนเพื่อการบันทึกภาพ ขอบคุณครับ”
รางวัล ภาพข่าวออนไลน์ชมเชย ชื่อภาพ อรุณสวัสดิ์ เช้าวันใหม่ที่ถนนข้าวสาร
โดย นายสมศักดิ์ เนตรทอง (PPTV Online)
“วันนั้นมันเป็นวันแรกที่อนุญาตให้สถานบันเทิงสามารถเปิดพับได้ถึงตี 4 ภาพนี้ไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรนะครับ แต่ในฐานะช่างภาพอยากจะบอกว่าจริงๆภาพข่าวทุกภาพข่าวมันมีคุณค่าของตัวมันเองอยู่แล้ว มันสามารถบอกหรือพูดกับทุกคนได้ มันเป็นเครื่องมือบางอย่างที่พวกเราสื่อมวลชนสื่อสารออกไปเพื่อให้ผู้มีอำนาจหันมอง ซื่งบางทีเครื่องมือนี้มันสำคัญมาก ว่าเราจะพูดให้ใคร ถ้าเราพูดให้กับผู้ที่มีอำนาจมันก็จะออกมาอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ถ้าเราพูดให้กับคนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่มีโอกาสพูดได้ อันนี้ถือเป็นจรรยาบรรณที่เราควรทำหน้าที่สื่อให้สมกับที่ประชาชนไว้วางใจเรา แล้วอย่าให้ใครมาบอกว่าเราเป็นอะไรนอกจากสื่อสารมวลชนครับ”
รางวัล ภาพข่าวหนังสือพิมพ์ ยอดเยี่ยม ชื่อภาพ หนีตาย
โดย นายจุมพล นพทิพย์ จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
“ก่อนอื่นที่ขอขอบคุณสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยนะครับที่จัดกิจกรรมดีๆ อย่างนี้ทุกปีทำให้เป็นแรงใจให้กับนักข่าวและช่างภาพทุกๆท่าน สำหรับภาพนี้จริงๆแล้วผมไม่ได้ไปงานนี้หรอกครับ ผมไปงานถ่ายอาหารพอดีได้รับเหตุจากที่ทางออฟฟิชว่ามีงานนี้ขึ้นมา แล้วเราอยู่ฝั่งตรงข้ามพอดี ช่วงนั้นฝนตกหนักมากครับ เลยฝ่าฝนไปกล้องก็เออเร่อครับ ไม่รู้ว่าจะเข้าตรงไหนเพราะวันนั้นเขาปิดทั้งสถานีรถไฟฟ้า และก็ปิดทั้งห้างด้วยครับ พอดีได้เห็นมีรถพยายามวิ่งเข้าไปในซอยนี้ ก็เลยวิ่งเข้าไปดู เห็นเขารับผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตออกมา แต่ตอนนั้นถ่ายภาพไม่ทันเพราะกล้องไปแล้วครับ แล้วต่อมาเขาทยอยเอานักท่องเที่ยวออกมา เลยจับภาพได้จังหวะภาพนี้ได้พอดีเห็นทั้งลูกด้วยน่าจะเป็นคนจีน เหตุการณ์ในวันนั้นก็ชุลมุนประมาณนี้นะครับ ภาพนี้มันอาจดีสำหรับทุกคน แต่เบื้องหลังมันดีกว่านั้น ผมมีทีมงานที่ดี ทีมงานเดลินิวส์ ต้องขอบคุณผู้บริหาร บก.ข่าว หัวหน้าข่าว และพื่ๆน้องๆเบื้องหลังการทำงานทุกคนครับ ทำให้ผลงานที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้นครับ ขอบคุณครับ”
รางวัล ภาพข่าวหนังสือพิมพ์ ชมเชย ชื่อภาพ บ๊ายบาย…ปู้นปู้นนนน
โดยนายสมชาย ภูมิลาด จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
“ขอขอบคุณสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ที่มีเวทีให้บรรดาช่างภาพสื่อมวลชนทั้งหลายได้โชว์ผลงานในแต่ละปี ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างมาก ส่วนภาพนี้ที่ได้มาก็คือ เป็นการส่งมอบลิงอุรังอุตัง ไปถิ่นกำเหนิดเขามันเป็นการแถลงข่าว ผมก็ไปดักรอขบวนรถที่จะขนส่งลิงไปขึ้นเครื่องบิน พอรถเข้ามาจอดรอ ช่างภาพแต่ละคนก็กรูเข้าไปถ่าย ผมก็พยามมองหาน้องลิงว่ากรงไหนจะเหมาะไปตีพิมพ์ ก็มาเจอที่กรงแรกชื่อน้องชิดซูกะ โผ่หน้าออกมาพอดีเลยกดชัตเตอร์รั่วๆ จึงเป็นภาพนี้ออกมาครับ ขอบคุณมากครับ”
รางวัล ภาพข่าวหนังสือพิมพ์ ชมเชย ชื่อภาพ โผกอด
โดยนายกอบภัค พรหมเรขา จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
“ภาพโผกอดเกิดจาก conflict ที่อิสราเอล ครับ ก่อนหน้าที่แรงงานไทยที่กลับมาจากอิสราเอลชุดแรกทางการไทยได้จัดเตรียมสถานที่ให้ถ่ายภาพ แต่ว่าภาพที่ออกมาค่อนข้างที่จะห่างไกลระหว่างช่างภาพเอง คนที่กลับมาและญาติที่มารอรับทำให้ภาพออกมาไม่ดีเท่าไหร่ เป็นภาพชุดแรกของผู้อพยพ แต่ภาพมันยังไม่แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องให้แหตุการณ์มากเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็มีผู้อพยพกลับมาอีก แต่เปลี่ยนสถานที่ไปจัดที่โรงแรม ทำให้ช่างภาพมีโอกาสที่จะไปถ่ายภาพได้ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างทั้งผู้ที่อพยพกลับมาและผู้ที่มารอรับ เราก็มามองหาว่าญาติคนไหนเป็นญาติที่ใกล้ชิด ที่เป็นภรรยาหรือว่าเป็นลูกๆโดยตรง ไม่ใช่พี่น้อง หรือ ญาติห่างๆ พอดีครอบครัวนี้ขนกันมาจากต่างจังหวัดเลย ช่างภาพที่มีประสบการณ์ก็จะรู้อยู่แล้วว่าเราจะต้องทำอย่างไรกับเหตุการณ์แบบนี้นะครับ ตรงนั้นเราก็จะมาวัดกันว่า ภาพใครจะได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขอขอบคุณสมาคมที่ เห็นความสำคัญและจัดงานนี้เรื่อยๆมา ขอบคุณต้นสังกัดเนชั่นที่ให้โอกาสทำงานมาอย่างยาวนาน และกรุงเทพธุรกิจที่เปิดโอกาสให้ภาพเล็กๆได้ลงข่าว ขอบคุณเพื่อนๆที่ร่วมอาชีพ ที่เป็นทั้งเพื่อนและทั้งคู่แข่งในสนาม เป็นเพื่อนฝูงในชีวิตจริง แต่จะไม่ขอขอบคุณสงครามที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น และหวังว่าจะไม่มีใครไปถ่ายภาพเหตุการณ์แบบนี้”
รางวัล ชมเชยข่าวออนไลน์ ข่าวทวงคืน "พลายศักดิ์สุรินทร์" ช้างไทยในศรีลังกา
โดยกองบรรณาธิการ ไทยรัฐออนไลน์ นายศราวุธ ดีหมื่นไวย์
“ขอขอบคุณสมาคมนักข่าว และคณะกรรมการที่มอบรางวัลให้กับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ สำหรับข่าวพลายศักดิ์สุรินทร์เป็นข่าวที่ผมติดตามมาตั้งแต่ปี 2565 เป็นข่าวที่มีคนติดตามมาก ข่าวนี้ไม่ใช่เป็นข่าวที่แค่นำช้างหนึ่งตัวนำกลับมาที่ประเทศไทย แต่เป็นการสร้างความตระหนักว่า การทำนำสัตว์ไปเป็นทูตสันถวไมตรี ไม่ควรที่จะเกิดขึ้นอีกต่อไป ซึ่งในปีนี้ทางทีมไทยรัฐออนไลน์ จะร่วมกับทีมไทยรัฐทีวีเจาะประเด็นนี้ให้มากขึ้นครับ ขอบคุณครับ”
รางวัล ชมเชย ข่าวออนไลน์ ข่าว เจนปรียา จําปี หอม ในความขื่นขมของเบอร์รี
โดยกองบรรณาธิการ The Isaan Record
“ข่าวนี้เป็นจุดเล็กๆของภาคอีสานที่หนองบัวลำภู มีคนอีสานอย่างพี่เจนปรียา ที่ไปค้าแรงงานที่ประเทศฟิลแลนด์จะนับเป็นร้อยคนก็ได้ ที่กำลังเรียกร้องกันอยู่ในประเด็นที่ไม่ได้รายได้ และเข้าข่ายการค้ามนุษย์ครับ รางวัลที่ได้รับในวันนี้ของดิอีสานเรคคอร์ด จะไม่ใช่เป็นรางวัลของอีสานเรคคอร์ดเพียงอย่างเดียวแต่ถือเป็นรางวัลของคนอีสานทุกคน ที่เปล่งเสียงออกมา ส่งเสียงไปถึงสถานทูตฟิลแลนด์ ไปถึงระดับนานาชาติได้รับรู้ปัญหานี้ ดิอีสานเรคคอร์ดจะส่งเสียงอย่างนี้ไปเรื่อยๆ”
รางวัล ชมเชย ข่าวหนังสือพิมพ์ ข่าว “ชำแหละ…หมูเถื่อน สาวไส้'เชือด'ทั้งขบวนการ”
โดยกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
“อันดับแรกต้องขอขอบคุณสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯและคณะกรรมการตัดสินที่พิจารณาให้ กับพวกเราทั้ง 2 คน กับเดลินิวส์และทีมข่าวอาชญากรรมเดลินิวส์ ต้องขอขอบคุณกองบรรณาธิการ ที่เปิดพื้นที่ให้ วาวได้นำเสนอทุกอย่าง ที่ขึ้นหน้าข่าวหัวไม้ และต้องขอบคุณพี่ต่ายที่ช่วยคัดกรองทุกอย่าง วาวเขียนผิดพลาดพี่ต่ายช่วยแก้ไขซับพอร์ตทุกอย่าง พี่ต่ายเป็นนักข่าวกระทรวงเกษตร เราสองคนที่ผลิตข่าวนี้ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ เกษตรกรที่ผลิตเนื้อโค หรือ เนื้อไก่เขาได้รับผลกระทบมันเลยได้เป็นคดีพิเศษขึ้นมา หรือว่า 161 ตู้ จนปัจจุบันนี้มันไม่ใช่แค่ 161 ตู้ มันขยายไปถึง 2 คดีพิเศษใหญ่ 2388 ตู้ที่ออกจากท่าเรือแหลมฉบัง ทุกวันที่ทางดีเอสไอได้ขยายผลคดีออกไปอีกเป็น 1 หมื่นตู้ที่ถูกนำเข้ามาและถูกจำหน่ายออกไปแล้ว เป็นพวกเรานี้แหละที่บริโภคไปแล้ว แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ คือการไล่ล่ากระบวนการทุจริตนำเข้า สิ่งที่จะเกิดขึ้น มีการจับกุมบริษัทชิปปิ้งที่กระทำความผิดไปแล้ว เป็นบริษัทเอกชน เจ้าหน้าที่รัฐ นายทุน นายหน้า ทุกๆคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่จบเพียงเท่านี้ สำนวนจะถูกส่งไปที่ ปปช. คดีจะไม่จบเพียงเท่านี้ เดลินิวส์เราจะนำเสนอต่อไปเรื่อยๆ เพราะเราต้องการกู้คืนคาบน้ำตาเกษตรกรที่เขา ต้องเสียเงินเดินทางมาหาเราเพื่อขอความช่วยเหลือ และหนูคิดว่าเขาดีใจที่เรานำเสนอว่ามีการจับกุมใครไปแล้วบ้าง มีการออกหมายใคร หมายเรียกใคร แล้วจะไปเปิดปฏิบัติการค้นที่ไหน เขารอคอยความเคลื่อนไหวนี้อยู่ตลอดเวลาค่ะ
อยากให้พี่ต่ายได้เอ่ยสิ่งสำคัญในการทำข่าวชิ้นนี้ จุดเริ่มต้นข่าวหมูเถื่อนผมขอเล่าสั้นๆนะครับ เราได้รับทราบข้อมูลมาว่ามันมีการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนมาจากต่างประเทศ จำนวน 7000 ตู้คอนเทนเนอร์ แหล่งข่าวได้มาแล้ว 161 ตู้คอนเทนเนอร์ จนได้เกิดกระบวนการออกไปหาข่าว จนกรมปศุสัตว์ได้ออกมายอมรับว่า มีการสำแดงเท็จในการนำเข้า และมีการจะนำไปทำลายสิ่งที่สระแก้ว แต่ชาวบ้านที่สระแก้วเขาออกมาประท้วง ทำให้นำไปทำลายที่พื้นที่ทหาร ซึ่งผมกำลังตามอยู่ว่าทำลายทั้ง 161 ตู้หรือเปล่าเพราะมันเป็นพื้นที่ปิด จนกระทั้งมีข่าวเรื่อง 7000 ตู้ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับไป ซึ่งน้องวาวเขาติดตามอยู่ ต่อไปมีอีกสองคดีที่ติดตามอยู่ คือมีการลักลอบนำเข้าเนื้อวัว กับวัวที่มีชีวิต รางวัลที่ได้รับในวันนี้ขอมอบให้รับทางเดลินิวส์ทุกคนไม่ว่าจะเป็นกองบรรณาธิการ คนขับ ปรู๊ฟ คนจัดหน้า กองบรรณาธิการ ปีนี้เป็นปีพิเศษของเดลินิวส์ที่ครบรอบ 60 ปี วันที่ 8 มีนาคมนี้ ขอบคุณครับ”
รางวัล ชมเชย ข่าวหนังสือพิมพ์ ข่าว “ตีแผ่แก๊งมอดไม้ ' พะยูง-ประดู่'โยงใยจนท.รัฐ เอื้อใบสั่ง…นายทุนจีน”
โดยกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
“ผมชื่อ ยุทธ เกียรติดำเนินงาน มาจาก จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหัวหน้าศูนย์ข่าวเดลินิวส์ภาคอีสานตอนบน ตื่นเต้น เรื่องของไม้พะยูงมันเกิดจากความสงสัย ทำไมถึงมีการตัดไม้ แล้วทำไมคนถึงไปให้ความสนใจไม้พะยูง ในพื้นที่ภาคอีสานไม้พะยูงเหลือแทบจะเป็นแหล่งเดียวในภาคอีสาน มันเริ่มเมื่อต้นปี 66 แล้วมาปรากฎชัดเจนในช่วงเดือนสิงหาคม 2566 ต้นปี 66 ผมได้รายงานไปที่กองบรรณาธิการว่าวันนี้มันมีการตัดไม้พะยูง ระบบติดตามมันก็เลยเกิดขึ้น และมีการสำแดงความเลวร้ายของระบบในช่วงเดือนสิงหาคม เป็นขบวนการตัดไม้ในศูนย์เพาะชำ อำเภอยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ พอไปตัดแล้วไม้ไม่ถูกเอาไป แต่เอาไปเก็บไว้ที่เทศบาลจำนวน 7 ท่อน สิ่งที่เกิดขึ้นไม้พะยูง 7 ท่อนหาย เราเปิดข่าวขึ้นมากองบรรณาธิการมีการประสานงานกับทางศูนย์ข่าวตลอด เราจัดนักข่าวลงไปเยอะนะครับ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุดร จังหวัดขอนแก่น และสิ่งที่มันตลกร้ายที่สุด เราไปพบว่าเรื่องของไม้พะยูง มันเป็นการใช้ช่องว่างกฎหมาย เอาไปตัดซะเอง ก็อยู่ในสังกัดกระทรวงการคลังนั้นแหละครับ ไม่อยากจะบอกว่าเป็นหน่วยงานอะไร เขาใช้ช่องว่างของกฎหมายนี้แหละเข้าไปตัดไม้ แล้วปรากฏว่า แม้จะมีการนำเสนอข่าว แต่เขาก็ยังใช้ช่องว่างทางกฎหมายในการซื้อขายไม้พะยูงให้นายทุนมาซื้อในราคาถูก มีการแกะรอยกันมาอย่างยาวนานจนสามารถสาวไปถึงต้นต่อ และโชคดีที่ข่าวนี้ได้รับความสนใจ จากสมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดกาฬสินธุ์ คุณวิรัตน์ พิมพ์พานิช เขาได้นำเรื่องนี้เป็นญัตติเข้าไปในสภาผู้แทนฯ หลังจากมีการยื่นญัตติและมีการอภิปรายกันไปเรียบร้อย สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ด้านของกรรมาธิการ ปปช.สภาผู้แทนราษฎร ท่านอาจารย์ชูศักดิ์ สิรินินทร์ ขออนุญาตเอ่ยชื่อได้นำเรื่องนี้เข้าสู่สภา และทางเดลินิวส์ เกาะติดและตีแผ่เรื่องนี้เข้าไปจนถึงห้องของกรรมาธิการ ปปช. พอผลออกมามันมีความชัดแจ้งว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันคือขบวนการทุจริตเชิงนโยบายมีความซับซ้อน มีการนำไม้จำนวนมากออกจากภาคอีสาน แม้กระทั้งทุกวันนี้ตัดอยู่เขาใหญ่ก็ยังมี เราได้นำเสนอกันไปจนไปถึงหูของท่านเศษฐา ทวีสินธุ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงมีการสั่งการให้หยุดตัดไม้ทั่วประเทศ มีการตรวจสอบล่าสุด ที่จังหวัดกาฬสินธุ์เขาได้มีการดำเนินคดีกับข้าราชการจำนวน 16 คน ของจังหวัดกาฬสินธุ์และยังคงมีการดำเนินการอยู่ต่อไป ผมภูมิใจและเดลินิวส์ภูมิใจมากผมอยากพูดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด คือความร่วมมือของกองบรรณาธิการเดลินิวส์และในส่วนของภูมิภาค และในส่วนของออนไลน์ ซึ่งเมื่อมันมีการประสานงานทิศทางข่าวมันถึงจะมีความชัดเจนขึ้น และหากมีการกำหนดเป้าหมายที่ตรงกัน มันก็จะทำให้เป้าหมายชัดเจนขึ้น แต่ข่าวนี้ยังไม่จบครับก็ขอให้ติดตามตอนต่อไป ต้องขอบคุณทางเดลินิวส์ครับ ที่หรอมร่วมให้พวกเราได้มีความตั้งใจ และต้องบอกว่า 60 ปี นี้ อ่านความจริงอ่านเดลินิวส์”