แถลงการณ์ ประณามการจับกุมนักข่าวและคุกคามสื่อมวลชนในเมียนมาร์

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอประณามการจับกุมผู้สื่อข่าวและการคุกคามสื่อมวลชนในประเทศเมียนมาร์ และขอเรียกร้องให้ผู้สื่อข่าวที่ถูกจับกุมทุกคนได้รับการปล่อยตัวอย่างปลอดภัยโดยเร็ว

เสรีภาพสื่อเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคม ดังนั้น การแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์รัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในประเทศเมียนมาร์เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 ปรากฏว่ามีผู้สื่อข่าวหลายคนถูกจับกุมและตกเป็นเป้าดำเนินคดีทางกฎหมายจากทางการ ท่ามกลางสถานการณ์ความปั่นป่วนทางการเมืองในเมียนมาร์

ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มี.ค.จากกลุ่ม “Detained Journalists Information Myanmar” ซึ่งดำเนินการโดยผู้สื่อข่าวและนักเขียนในเมียนมาร์ ระบุว่า มีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 43 คนถูกจับกุมหรือตกเป็นเป้าดำเนินคดีทางกฎหมาย ในจำนวนนี้ บางคนได้รับการปล่อยตัวแล้ว แต่ยังมีผู้สื่อข่าวอีกหลายคนที่ยังถูกควบคุมตัวในสถานที่ที่ทางการเมียนมาร์ไม่ได้เปิดเผย และยังไม่สามารถทราบชะตากรรมของผู้ถูกจับกุม

ในขณะเดียวกัน กองทัพเมียนมาร์ได้ดำเนินการเพิกถอนใบอนุญาตสื่อมวลชนจำนวน 5 สำนักข่าวด้วยกัน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 มี.ค. มีการจับกุมตัวนักข่าวชาวเมียนมาร์จำนวน 2 คน ได้แก่ Aung Thura ผู้สื่อข่าวสำนักข่าว BBC และ Than Htike Aung ผู้สื่อข่าวสำนักข่าว Mizzima ซึ่งได้ถูกรัฐบาลทหารเมียนมาร์สั่งเพิกถอนใบอนุญาตในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ข้อมูลจากสำนักข่าว Myanmar Now ระบุว่า Aung Thura ถูกควบคุมตัวจากกลุ่มคนที่เชื่อว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารนอกเครื่องแบบ ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่บังคับสอบสวนเป็นเวลา 3 วัน 3 คืนติดต่อกันในสภาพอดนอนและอิดโรย

สำนักข่าว BBC รายงานว่า Aung Thura ได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 22 มี.ค. แต่ Than Htike Aung ยังถูกควบคุมตัวอยู่ เช่นเดียวกันนักข่าวเมียนมาร์อีกจำนวนมาก

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอย้ำว่าสมาคมฯสนับสนุนหลักนิติรัฐ สิทธิมนุษยชน และเสรีภาพสื่อมวลชน นอกจากนี้ สมาคมฯยังขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในประเทศเมียนมาร์ใช้ความอดกลั้นอย่างถึงที่สุด และแสวงหาการแก้ไขปัญหาภายใต้แนวทางสันติวิธี ผ่านการพูดคุยอย่างสมานฉันท์และสร้างสรรค์

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

26 มีนาคม 2564


The Thai Journalists Association condemns the threats to journalists in Myanmar

Valuing freedom of the media as a key to the development of democracy and society, the Thai Journalists Association (TJA) condemns the arrests and any threats to journalists in Myanmar. Any interference in the work of journalists must not be done.

The TJA also calls for the safe release of all the arrested journalists.

Amid the political turmoil in Myanmar, many journalists have been arrested or targeted for arrest since the civilian government was overthrown in a military coup on 1 February 2021.

As of 21 March, a total of 43 journalists had been arrested or targeted for arrest, according to Detained Journalists Information Myanmar, a Facebook group run by journalists and writers.

Some have been released while many others are still detained at unidentified locations. Their conditions are still unknown. 

In the meantime, the military has also revoked the licences of five media companies.

On 19 March, BBC Burmese Service reporter Aung Thura was taken away with another reporter,      Than Htike Aung, who works for the local news organisation Mizzima. Mizzima's operating licence was revoked by the military government earlier this month.

The BBC confirmed the release of its reporter on 22 March, without giving further details. 

According to Myanmar Now, Aung Thura was snatched by unidentified men, believed to be police or soldiers in civilian clothes, from outside the Dekkhina District court.

He was kept awake during three days and nights of interrogation. He was asked if he was in contact with any supporters of the Civil Disobedience Movement or members of the Committee Representing Pyidaungsu Hluttaw, which was formed by elected lawmakers who were unable to take their seats because of the coup, Myanmar Now reported.

Aung Thura said the authorities had also gained access to files on Than Htike Aung’s devices, according to Myanmar Now.

Than Htike Aung, as well as many others, have not been released.

The TJA hereby reiterates its strong support to the respect of the rule of law and human rights as well as the freedom of the press. It also calls on all parties to exercise utmost restraint and

seek a peaceful solution through constructive dialogue and practical reconciliation.

The Thai Journalists Association