ประวัติสื่อสารมวลชนในประเทศไทย

นิตยสาร

พ.ศ. 2489 มีนิตยสารเกิดขึ้นมากมายเนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคนิคการพิมพ์ นิตยสารบางฉบับมีจำนวนจำหน่ายสูงเป็นเรือนหมื่นแต่ก็มีไม่กี่ฉบับที่อายุยืนยาว

พ.ศ. 2490 เกิดนิตยสาร “สตรีสาร” ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ให้ประโยชน์ต่อผู้อ่านทั้งครอบครัวและเป็นนิตยสารที่มีอายุยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้ มียอดจำหน่ายสูงสุดในปัจจุบัน 60,000 เล่ม/สัปดาห์

พ.ศ. 2497 เกิดนิตยสาร “สกุลไทย” เป็นนิตยสารในแนวที่มุ่งผู้อ่านทั่วไป และยังติดตลาดอยู่อย่างเหนียวแน่นโดยไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่ากลุ่มผู้ทำจะเปลี่ยนไปก็ตาม

พ.ศ. 2499 เกิดนิตยสาร “สังคมศาสตร์ ปริทัศน์” ซึ่งเป็นนิตยสารประเภทวิชาการที่มียอดจำหน่ายสูงถึง 5,000 ฉบับ อันเป็นปรากฏการณ์ที่ยังไม่มีนิตยสารในแนววิชาการฉบับใดทำได้มาก่อนในขณะนั้น

พ.ศ. 2511 เกิดนิตยสาร “ขวัญเรือน”

พ.ศ. 2513 เกิดนิตยสาร “กุลสตรี” ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน นิตยสารในระยะนี้เกาะกลุ่มผู้อ่านที่เป็นผู้หญิงมากขึ้น

พ.ศ. 2514 เกิดนิตยสาร “บีอาร์” ซึ่งรูปแบบนิตยสารเป็นแบบสมัยใหม่และได้รับอิทธิพลมาจาก นิตยสารต่างประเทศทั้งในยุโรปและอเมริกา นิตยสาร “ บีอาร์ ” มีวางจำหน่ายบ้างและหยุดวางจำหน่ายบ้างสลับกันไป และต่อมาได้หยุดกิจการไปในที่สุด

พ.ศ. 2516 เกิดนิตยสาร “ลลนา” ซึ่งได้นับว่าเป็นนิตยสารผู้หญิงฉบับแรก ที่ให้ความสำคัญกับการจัดรูปเล่มและภาพประกอบในแนวอันเป็นแบบฉบับของนิตยสารผู้หญิงในปัจจุบัน

พ.ศ. 2519 มีนิตยสารอีกกล่มหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบและวิธีการจากนิตยสารต่างประเทศโดยเฉพาะนิตยสารอเมริกัน ซึ่งถือว่ากาสรโฆษณาสินค้าเป็นบริการอย่างหนึ่งที่มีไว้ให้ผู้อ่านนิตยสารฉบับนี้ จะนิยมออกแบบโฆษณาอย่างประณีต สวยงาม เนื้อที่โฆษณาอยู่ในส่วนที่สำคัญ ๆ ของเล่มเช่น “ดิฉัน” “บ้านและสวน” เป็นต้น

พ.ศ. 2520 เกิดนิตยสาร “ประชาชาติธุรกิจ” ซึ่งเป็นนิตยสารธุรกิจของหนังสือพิมพ์รายวัน “ประชาชาติ” และมุ่งเจาะกลุ่มการตลาดและธุรกิจโดยเฉพาะ

พ.ศ. 2521 แนวโน้มของนิตยสารมุ่งเจาะกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะด้านมากขึ้น เช่น ในด้านการแพทย์ มีนิตยสาร “หมอชาวบ้าน” และ “ใกล้หมอ”

พ.ศ. 2522 เกิดนิตยสาร “แพรว” มุ่งให้การโฆษณาเป็นส่วนสำคัญของหนังสือเช่นกัน

พ.ศ. 2523 การจัดทำนิตยสารในระยะนี้ มีลักษณะเป็นธุรกิจมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากการขยายตัวทำนิตยสารหลายฉบับ โดยใช้ผู้ดำเนินการหลักชุดเดียวกัน อาทิ นิตยสาร “คู่แข่ง ”

รายเดือนซึ่งมุ่งเกี่ยวกับการโฆษณาและการตลาด ผู้ดำเนินการก็จัดทำนิตยสาร “คลังสมอง” ด้วยกลุ่มผู้นำ “ไอไฟสเตอริโอ” รายเดือนที่เป็นเรื่องเครื่องเสียงก็ทำ “วีดีโอ รีวิว” “ คอมพิวเตอร์ รีวิว” ออกมาด้วยเช่นกัน

พ.ศ. 2524 มีนิตยสารเกิดขึ้นตามภูมิภาค เพื่อผู้อ่านในท้องถิ่นมากขึ้น เช่น “สะตอ” รายสัปดาห์ออกที่สุราษฏร์ธานี มีการขยายตัวในแนวธุรกิจ เช่น นิตยสารการเงินธนาคาร ให้ข่าวธุรกิจ ข้อมูลเศรษฐกิจ และการวิเคราะห์แบบเจาะลึก สำหรับนักการเงินการธนาคาร

พ.ศ. 2525 เกิดนิตยสาร “โฟโตแอนด์กราฟฟิก” ซึ่งเน้นเรื่องการถ่ายภาพและกราฟฟิก

พ.ศ. 2526 เกิดนิตยสาร “ธุรกิจที่ดิน” ที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม ตามความต้องการของผู้อ่าน

พ.ศ. 2528 นิตยสาร “แพรว” เริ่มนำแทนพิมพ์ 5 สี มาใช้ในการพิมพ์

พ.ศ. 2529 นิตยสาร “กุลสตรี” และนิตยสาร “ขวัญเรือน” นำแทนพิมพ์ 4 สี มาใช้ในการพิมพ์ การทำนิตยสารในระยะนี้เป็นธุรกิจที่นับว่าประสบความสำเร็จ ยอดจำหน่ายสูงมาก อย่างเช่น นิตยสาร “ ขวัญเรือน” มียอดจำหน่าย 160,000 เล่ม/สัปดาห์

นิตยสาร “สังคมศาสตร์ ปริทัศน์” ได้หยุดพิมพ์จำหน่าย โดยจัดพิมพ์ฉบับพิเศษรอบ 30 สิบปี เป็นฉบับสุดท้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม

ภาพยนตร์

พ.ศ. 2489 กิจการภาพยนตร์ ได้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ หลังจากที่ได้ยุติลงในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2

พ.ศ. 2490 มีการแข่งขันกันในกิจการโรงภาพยนตร์และการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ

พ.ศ. 2496 บริษัทหนุมานภาพยนตร์ สร้างหนังระบบพูดระบบ 35 มม. เรื่อง “ สันติวีณา ” ซึ่งเป็นเรื่องแรก และได้รับความสำเร็จอย่างสูง ในด้านชื่อเสียง เมื่อส่งเข้าร่วมประกวด

ในงานมหกรรมภาพยนตร์ที่กรุงโตเกียว ได้รับรางวัล 3 รางวัล คือ ด้านการถ่ายภาพ การกำกับศิลป์ และการเผยแพร่วัฒนธรรมประจำชาติ

พ.ศ. 2499 มีการเคลื่อนไหวที่จะรวมกลุ่มผู้สร้างหนังพูดมาตรฐาน ( ระบบ 35 มม. เสียงในฟิล์ม ) เข้าด้วยกันเป็นบริษัทแห่งชาติแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

พ.ศ. 2500 การสร้างหนังไทยและพากย์ระบบ 16 มม. เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก โดยมีดาราคู่ขวัญ มิตร-เพชรา ปรากฏอยู่ในหนังเกือบทุกเรื่อง ที่สร้างขึ้นมาในระยะนี้

พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม

พ.ศ. 2507 มีประกาศยอมรับให้กิจการสร้างภาพยนตร์เป็นอุตสาหกรรมอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ให้สิทธิที่จะได้รับการส่งเสริมโดยอ้างว่า กิจการสร้างหนังไทย ยังไม่มีหลักฐานเป็นปรึกแผ่น

พ.ศ. 2510 จัดตั้งสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยขึ้น และดำเนินการเรียกร้องให้รัฐบาลให้สิทธิส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยในระบบมาตรฐาน

พ.ศ. 2513 มีหนังไทยมาตรฐานเรื่องสำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 2 เรื่อง คือ “มนต์รักลูกทุ่ง” และ “โทน” ซึ่งมีผลทำให้หนังไทยมาตรฐานได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกับประชาชนทั่วไป

มิตร ชัยบัญชา พระอกคู่บุญของวงการหนังไทย 16 มม. ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต ทำให้หนัง 16 มม. ที่กำลังสร้างอยู่ล้มเลิกไป และไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมาอีก

พ.ศ. 2514 กิจการสร้างหนังไทยเข้าสู่ระบบมาตรฐานทั้งวงการ

พ.ศ. 2519 รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีหนังต่างประเทศ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ของรัฐ และส่งเสริมอุตสาหกรรมการสร้างหนังไทย

พ.ศ. 2525 รัฐบาลได้ให้สิทธิส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้สร้างหนังไทยมาตรฐาน ในระหว่างปี 2522-2526 มีการสร้างภาพยนตร์ไทยประมาณ 609 เรื่อง

พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติให้กรมศิลปากร จัดทำโครงการ จัดตั้งหอภาพยนตร์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2527 โดยใช้อาคารโรงกษาปณ์สิทธิการ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพ ฯ เป็นอาคารที่ตั้งหอภาพยนตร์แห่งชาติ

พ.ศ. 2526-2530 กิจการภาพยนตร์ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นอย่างมาก จากการแข่งขันของกิจการโทรทัศน์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการวีดีโอเทปในปัจจุบัน

สถาบันการศึกษากับวิชาการสื่อสารมวลชน

พ.ศ. 2491 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรวิชาการหนังสือพิมพ์ภาคค่ำ

พ.ศ. 2497 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางวารศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในแผนกวารศาสตร์สังกัดคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

พ.ศ. 2507 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดตั้งภาควิชาสื่อสารมวลชน

พ.ศ. 2508 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดตั้งแผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์

พ.ศ. 2508 เนื่องมีการสอนทางด้านวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้จัดตั้ง “สถานีวิทยุธรรมศาสตร์” ขึ้นโดยได้รับความร่วมมือ จากกรมประชาสัมพันธ์โดยส่วนหนึ่งเป็น

เรื่องปฏิบัติการสำหรับนักศึกษา และสำหรับการส่งกระจายเสียงนั้นดำเนินการในลักษณะเป็นบริการทางวิชาการ สำหรับประชาชน

“สถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ส่งกระจายเสียงอย่างเป็นทางการเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2508 วัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อเผยแพร่ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย แต่

ปัจจุบันได้ใช้สถานีวิทยุจุฬาฯ เป็นที่ฝึกงานของนิสิตแผนกวิชาอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ ของคณะนิเทศศาสตร์ รวมทั้งนิสิตปริญญาตรีและปริญญาโท ของภาควิชาโสตทัศน์ศึกษา คณะครุศาสตร์ด้วย

พ.ศ. 2513 แผนกวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการยกฐานะเป็นแผนกอิสระเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัย เรียกชื่อว่า แผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

พ.ศ. 2514 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดสอนสาขาการสื่อสารมวลชน (มีสถานภาพเป็นคณะวิชาหนึ่ง) เน้นวิชาเอกการประสัมพันธ์ ผู้จบการศึกษาได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) หรือ ศศ.บ. (การสื่อสารมวลชน) (หลักสูตรในขณะนั้นได้อนุมัติเปิดสอน 2 สาขาวิชาคือ การประชาสัมพันธ์และวารสารศาสตร์)

พ.ศ. 2517 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยกฐานะแผนกอิสระสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์เป็นคณะนิเทศศาสตร์

พ.ศ. 2520 มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดภาควิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในคณะบริหารธุรกิจ

พ.ศ. 2520 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ยกสถานภาพสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน เป็นคณะการสื่อสารมวลชน

พ.ศ. 2521 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในระดับปริญญาโทเป็นแห่งแรก ในสาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการ

พ.ศ. 2522 งานวิชาวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ขยายกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการปรับปรุงหลักสูตร เพื่อจัดสอนวิชาสาขาต่าง ๆ ทางสื่อสารมวลชนหลาย ๆ แขนง แผนกอิสระดังกล่าวจึงได้รับการยกฐานะเป็นคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนเป็นต้นมา

พ.ศ. 2523 มหาวิทยาลัยกรุงทพ เปลี่ยนชื่อคณะสื่อสารมวลชน เป็นคณะนิเทศศาสตร์และเปลี่ยนชื่อปริญญาเป็นนิเทศศาสตร์บัณฑิต (นศ.บ) และเปิดสอน สาขาวิชาการโฆษณา เป็นวิชาเอกในสาขาวิชาวารสารศาสตร์เป็นรุ่นแรก

พ.ศ. 2524 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดภาควิชาศิลปะนิเทศขึ้นในคณะมนุษยศาสตร์ และแบ่งแยกการสอนออกเป็น 2 สาขา คือ สาขาดนตรีและการสื่อสารมวลชน

พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโท โดยจัดการศึกษาในภาคค่ำเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านสื่อสารมวลชน เปิดสอน 3 สาขา คือ ทฤษฎีและวิจัยสื่อสารมวลชน นโยบายในการวางแผนการสื่อสาร และสื่อสารพัฒนาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เริ่มเปิดสอนวิชาเอกในสาขาการโฆษณารุ่นแรก

พ.ศ. 2527 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดตั้งคณะนิเทศศาสตร์แล้เปิดสอนรุ่นแรก

พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปรับปรุงหลักสูตรที่เปิดสอนทุกสาขาวิชา รวมทั้งของอนุมัติเปิดสอนสาขาวิชาการแสดง