รหัส B-4-1-2551-10
ชื่อข่าว_คลี่คดีสินบนกล่องขนมสองล้านบาท
เจ้าของ-ไทยรัฐ
ประจำปี พศ. 2551
ข่าว คลี่คดีสินบน.....กล่องขนมสองล้านบาท
ประเภท ข่าวยอดเยี่ยม
กองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ความเป็นมาของข่าว
สืบเนื่องจากคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ตกเป“นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าหับเผย ใกล้สนามหลวง กรุงเทพมหานคร ซึ่งการดำเนินคดีตามกระบวนการพิจารณาของศาลได้มีการสืบพยานอย่างต่อเนื่องให้สอดคล่องกับกฎหมายวิธีพิจารณาความคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คู่ความต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ ฝ่ายหนึ่งเป็นอัยการของรัฐ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นทนายความเอกชน ทนายความจะทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของตัวความ อาทิ ขอทราบบัญชีพยานฝ่ายโจทก์ว่ามีใครบ้าง อยู่ที่ไหนบ้าง ฝ่ายโจทก์ยื่นคำร้องมาอย่างไร ขอให้ศาลสั่งอะไร ร้องคัดค้านฝ่ายตนอย่างไร เพื่อให้ฝ่ายจำเลยไม่เสียเปรียบ
เหตุการณ์สำคัญของคดีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2551 คณะทนายความมีนายพิชิฎ ชื่นบาน นายธนา ตันศิริ และ น.ส.ศุภศรี ศรีสวัสดิ์ ได้พาตัว พ.ต.ท.ทักษิณจำเลยมารายงานตัวต่อศาลแล้วพากันกลับไป ต่อมาที่ศาลเกิดความเคลื่อนไหวผิดปกติ เจ้าหน้าที่ได้ตามผู้บริหารศาลฎีกาวิ่งเข้าออกในอาคารศาล แต่ละคนมีสีหน้าหวั่นวิตก จากการตรวจสอบข่าวก็พบว่าคณะทนายความได้นำกล่องขนมสีน้ำตาลบรรจุธนบัตรจำนวนสองล้านบาทมามอบให้เจ้าหน้าที่ศาลผู้หนึ่ง เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวปฏิเสธที่จะรับจึงรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
ปัญหาที่ติดตามมาจนเป็นประเด็นข่าวคือใครให้สินบน จะดำเนินคดีแพ่ง(ละเมิดอำนาจศาล) คดีอาญาเรื่องให้สินบนอย่างไร เจ้าหน้าที่จะถูกสอบสวนทางวินัยหรือไม่ ที่สำคัญผลคดีจะกระทบต่อคดีหลักคือคดีที่ดินรัชดาภิเษกหรือไม่ และผู้บริหารศาลมีความคิดขัดแย้งเรื่องการคืนเงินสองล้านบาทไปโดยไม่ยึดเงินหรือไม
วัตถุประสงค์ในการเสนอข่าว
1.เพื่อเสนอข่าวกระบวนการพิจารณาในศาลฎีกา ซึ่งปกติเป็นศาลสูงไม่มีการนั่งพิจารณา แต่คดีนี้เป็นคดีลักษณะพิเศษมีการไต่สวน ทั้งคดีหลักและคดีละเมิดอำนาจศาล
2.เพื่อเสนอข่าวในเชิงสืบสวนสอบสวนโดยศาลฎีกาเองเป็นครั้งแรก เพราะศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุด ปกติจะไม่มีการนั่งพิจารณา แต่คดีนี้กลับมีประเด็นเพิ่มเติมคือผู้พิพากษาระดับรองประธานศาลฎีกาต้องลงไปสืบสวนเอง
3.เพื่อเสนอข่าวความเคลื่อนไหวของฝ่ายทนายจำเลย
4.เพื่อเสนอข่าวผลการดำเนินคดีสินบนและแนวโน้มที่น่าจะไปกระทบคดีหลัก
5.เพื่อเสนอข่าวการลงโทษผู้เกี่ยวข้อง
สมมติฐานและประโยชน์ จาการเสนอข่าว
1.การนำเสนอข่าวได้เห็นถึงการกระทำอุกอาจของทนายความที่มีชื่อเสียงที่กล้ากระทำผิดในศาลฎีกาอันเป็นศาลสูงสุด ทั้งที่เป“นคดีที่ทุกคนจับตามองจึงน่าเป็นข่าวที่แสดงให้เห็นผลลัพท์ของการกระทำที่จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ทำลายกระบวนการยุติธรรม สถาบันทนายความและกระทบต่อศาลสถิตย์ยุติธรรม
2.การนำเสนอข่าวได้ทำให้ทราบขั้นตอนกระบวนการพิจารณาในศาลฎีกาในคดีหลักและคดีละเมิดอำนาจศาล
3.ทำให้เห็นข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนโดยศาลฎีกาเองเป็นครั้งแรก
4.เสนอข่าวความเคลื่อนไหวฝ่ายทนายจำเลย
5.เสนอข่าวทราบผลการดำเนินคดีสินบนและแนวโน้มกระทบต่อคดีหลัก
6.ทำให้ทราบข่าวการลงโทษผู้เกี่ยวข้อง ทั้งคดีอาญาและ พ.ร.บ.ทนายความ
ความยากของการนำเสนอข่าว
1.การเสนอข่าว สื่อมีความเสี่ยงต่อการตกเป“นจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาลเสียเอง
ผู้สื่อข่าววิเคราะห์ว่าข่าวนี้เป็นการเสนอข่าวเกี่ยวข้องกับลงโทษผู้ละเมิดอำนาจศาลเป็นคดีใหญ่ที่สุด การหาข่าวเป็นไปด้วยความยากลำบากเนื่องจากแหล่งข่าวอาจถูกผู้บังคับบัญชาเพ่งเล็ง ซึ่งบางครั้งอาจได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนถ้านำเสนอข่าวลงไปอาจผิดพลาดและอาจถูกลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลได้
2.การเสนอข่าวต้องระมัดระวังปกป”ดแหล่งข่าวมากที่สุด
บทสรุปและผลกระทบของข่าว
ผู้สื่อข่าวได้นำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและใช้ความระมัดระวังต่อการละเมิดอำนาจศาลถึงที่สุด ที่สำคัญได้ระลึกเสมอว่าจะต้องนำเสนอข่าวด้วยความเป“นกลางโดยมีผลประโยชน์ของผู้อ่านประชาชนเป็นหลัก ได้นำเสนออย่างตรงไปตรงมาไม่เอนเอียงไปตามกระแสกลุ่มคนในขณะนั้น ข่าวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เคยถูกมองว่าหาข่าวยากทำข่าวยาก ได้ถูกนำเสนอในเชิงให้ความรู้ทุกขั้นตอนและต้องนับเป็นข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนน่าติดตามที่สุดในป• 2551
นอกจากนั้นข่าวเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมมีเงื่อนแง่สลับซับซ้อนมากกว่าการเรียนรู้กฎหมายเพียงดูจากประมวลกฎหมายอาญาหรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่ผู้สื่อข่าวต้องมีความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ระเบียบปฏิบัติของข้าราชการฝ่ายศาลยุติธรรม พ.ร.บ.อัยการและพ.ร.บ.ทนายความด้วย
นสพ.ไทยรัฐ ได้ติดตามเสนอข่าวเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาสั่งจำคุกคนละ 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา