สถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ปี 2550

สถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน

สถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในรอบปี 2550 ชวนให้ติดตามเป็นอย่างยิ่งด้วยใจระทึก เพราะเทศไทยอยู่ภายใต้การบริหารจากรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจของรัฐบาลทักษิณ และสถานการณ์ในปีดังกล่าวอาจเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในรอบ ปี 2551ได้เหมือนกัน  เมื่อกลุ่มอำนาจเก่า คือ พรรคไทยรักไทยที่ได้ตัดต่อพันธุกรรมเป็นพรรคพลังประชาชน เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกครหาว่าที่ผ่านมาเป็นพวก “ขวาพิฆาตสื่อ”  ได้เข้ามาโชว์ฝีมือบริหารประเทศ สิทธิเสรีภาพสื่อจะถูกกระทำหรือไม่ ลองไปย้อนรอยลำดับเหตุการณ์ในปี 2550 บางส่วนที่รวบรวมไว้ เริ่มจาก

บทบาทสื่อในสนามการเมือง

ที่สื่อลงบางที่ไม่ใช่(มติชน 16 ม.ค. 2550) พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. กล่าวถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศจะวางมือทางการเมือง แต่พฤติกรรมตรงกันข้ามตามที่ประกาศไว้ว่า สังคมไทยบางครั้งจะต้องรอ บางทีอาจจะไม่ใช่ตามที่สื่อมวลชนลงก็ได้ ถ้าเป็นอย่างที่สื่อมวลชนถาม สังคมไทยต้องใช้เวลาว่าสิ่งที่เราเข้าใจหรือสิ่งที่เราได้รับ สิ่งที่เราเชื่อ อาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ สังคมไทยหลายเรื่องต้องใช้ระยะเวลา กว่าจะรู้บางทีก็เสียใจต่อการที่เข้าใจผิด เสียใจต่อสิ่งที่เราเคยรักและเคารพ เชื่อว่าสังคมชินชากับเรื่องพวกนี้มาสมควรแล้ว

แก้ภาพติดลบ(เดลินิวส์ 30 ม.ค. 2550) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์องค์กร ล้วนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการประชาสัมพันธ์ เช่น นายดำรง พุฒตาล อดีตส.ว.  นายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ นายอภิชาติ ดำดี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายไพฑูรย์ สุนทร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ รองประธานบริษัทมติชน จำกัด นายประหยัด คูณสมบัติ รองบรรณาธิการหนัง สือพิมพ์เดลินิวส์ นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และ ดร.สมภพ เจริญกุล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นต้น

ในส่วนการประชุมคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ครั้งแรก ได้เสนอแนะให้กกต. เร่งลบภาพเก่า ๆ ที่วางตัวไม่เป็นกลางหันมาสร้างภาพลักษณ์ เน้นความซื่อสัตย์ สุจริตของ กกต. ชุดใหม่ พร้อมขอให้เปิดโทรศัพท์มือถือตอบคำถามสื่อตลอดเวลา ขณะที่กรรมการที่เป็นตัวแทนสื่อของรัฐ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ ยินดีให้การสนับสนุนเต็มที่ อย่างไรก็ตาม จะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นอีก 2 คณะ ในการปลูกจิตสำนึก ด้านประชาธิปไตยและการเร่งสร้างความเข้าใจในบทบาทของ กกต. เพื่อรองรับภารกิจเร่งด่วนคือ การ ร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงประชามติที่ กกต. จะต้องเข้ามารับผิดชอบดำเนินการก่อนจะมีการเลือกตั้งใหญ่ปลายปีนี้

แจงสื่อต่างประเทศ(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 5 ก.พ. 2550) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ทำจดหมายชี้แจงไปยังผู้บริหารนิตยสารไทม์ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องในกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์นิตยสารไทม์ มีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า สื่อมวลชนไทยลงข่าวเกี่ยวกับตนเอง โดยไม่มีหลักฐาน และลงความจริงไม่หมด พร้อมกับยืนยันว่าไม่มีการแทรกแซงและคุกคามสื่อในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยจดหมายดังกล่าวมีใจความสรุปว่า การปฏิบัติหน้าที่ในการรายงานข่าวของสื่อสารมวลชนไทยในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และการตรวจสอบรัฐบาลนั้น ได้กระทำอย่างตรงไปตรงมาตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ โดยมีแหล่งข้อมูลกับแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ซึ่งปรากฏชัดว่าหลายกรณีนโยบายรัฐบาลไม่โปร่งใส และมีปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในโครงการต่างๆ ดังนั้นข้อกล่าวหาดังกล่าวจึงไม่เป็นความจริง แต่หาก พ.ต.ท.ทักษิณ เห็นว่าสื่อใดไม่ปฏิบัติตามวิชาชีพ ขอให้ระบุอย่างเจาะจง เพราะการกล่าวเหมารวมอาจทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อภาพรวมของสื่อทั้งระบบ และเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง

สมาคมวิชาชีพสื่อยังยืนยันด้วยว่า ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น มีการปิดกั้นและคุกคาม แทรกแซงสิทธิเสรีภาพการทำงานของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยใช้อำนาจทางการเมือง ควบคุมสื่อของรัฐ คือ วิทยุ โทรทัศน์ ทำให้ไม่สามารถเสนอข่าวสารต่างๆ ได้อย่างเสรี มีการกดดันให้ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ถอดผู้ดำเนินรายการที่วิพากษ์วิจารณ์การเมืองอย่างกะทันหัน ใช้อำนาจทุนและกฎหมายฟ้องร้องทางคดี เพื่อเรียกค่าเสียหายเป็นมูลค่าสูงเกินจริงกับสื่อหนังสือพิมพ์และผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลหลายฉบับ

สมาคมวิชาชีพสื่อยังเรียกร้องไปยังนิตยสารไทม์ และสื่อต่างประเทศทุกแขนงว่า ในการรายงานข่าวใด ๆ ที่พาดพิงหรืออ้างถึงการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ในประเทศไทย ขอให้สอบทานข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน รอบด้านจากทุกฝ่าย เพื่อความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งสมาคมฯ พร้อมจะให้ความร่วมมือในการให้ข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมาต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพสื่อในรัฐบาลที่ผ่านมา

“ทักษิณ”โผล่แล้ว(คมชัดลึก  12 มี.ค. 2550, มติชน 13 มี.ค. 2550) แรงกดดันครั้งใหม่จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ก่อนหน้านี้ เคยเดินสายให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ ล่าสุด พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งคลิปวิดีโอจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เผยแพร่ผ่านเวบไซต์ ชื่อ http://www.hi-thaksin.net/video.php?ParamID=3258 ในรูปแบบมัลติมีเดีย ดูได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวพร้อมกับฟังเสียง ท่ามกลางการโหมกระแสจะปฏิรูปสื่อของรัฐบาล ภายหลังยึดสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกลับคืนมาอยู่ในการดูแลของกรมประชาสัมพันธ์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ทีไอทีวี ขณะเดียวกัน ก็ไม่อนุญาตให้ พีทีวี ที่อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย พยายามจะก่อตั้งขึ้นมาเผยแพร่ภาพ โดยอ้างว่าไม่ได้รับการติดต่อขออนุญาต

ทีมงานของเวบไซต์ www.hi-taksin.net ได้แสดงความประหลาดใจต่อจำนวนผู้เข้าชมที่เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ทีมงานเองซึ่งมีอยู่เพียง 4 คน เมื่อมาเจอกับคลื่นมหาชนที่เข้ามาเวลา 5 วัน นับแสนคลิ๊ก เฉลี่ยวันละ 2 หมื่นคลิ๊ก มีผู้ที่ทิ้งอีเมลเพื่อสมัครเป็นสมาชิกมากกว่า 5 หมื่นคนแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นอกจากเวบไซต์ดังกล่าวแล้ว ยังมีเวบไซต์ http://mediafile.mine.nu/mail ที่แนะวิธีเปิดอ่านเวบไซต์ที่ถูกปิดโดยหน่วยงานภายในประเทศ ทั้งนี้ เวบไซต์ส่วนใหญ่ที่ระบุนั้นเกี่ยวข้องกับชื่อ ทักษิณ

ขณะที่นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ กล่าวกรณีเวบไวต์ www.hi-taksin.net ว่า ขอให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายเรื่องนี้ปลัดกระทรวงไอซีทีกำลังพิจารณาดูแลอยู่ว่าหมิ่นเหม่กฎหมายหรือไม่ ไม่อยากให้ภาพออกมาว่า กลั่นแกล้งหรือปิดกั้นแต่หากหมิ่นเหม่ก็ต้องดำเนินคดี

ด้านนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำและเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงที่ต้องดูแล ส่วนการเปิดเวบไซต์ดังกล่าวนั้น คิดว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะก็มีการเปิดเวบไซต์กันมากมาย ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ส่วนตัวเข้าใจว่าอาจเป็นขบวนการที่ต้องการสร้างความวุ่นวาย

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า การแบ่งงานของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระหว่างนายธีรภัทร์  กับคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ค่อนข้างลงตัวแล้ว คือนายธีรภัทร์จะดูแล อสมท เพียงหน่วยงานเดียว  ส่วนคุณหญิงทิพาวดีจะดูแลกรมประชาสัมพันธ์และทีไอทีวี

รายงานข่าวแจ้งว่า ทราบมาว่านายกรัฐมนตรีต้องการแก้ปัญหาทีไอทีวี ให้จบในรัฐบาลชุดนี้ โดยจะทำให้ทีไอทีวีเป็นสื่อสาธารณะให้ได้ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า การที่นายกฯเรียกคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ มาหารือนั้น น่าจะมาหารือเรื่องทีไอทีวี เพราะคุณหญิงสุพัตรา เคยดูแลเรื่องนี้ และทราบขั้นตอนเกี่ยวกับการแก้สัญญาสัมปทานไอทีวีด้วย

เข้าข่ายเสียภาษี(มติชน 15 มี.ค. 2550) นายสาธิต รังคสิริ รองอธิบดีกรมสรรพากร ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า ในหลักการผู้ประกอบธุรกิจสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เมื่อมีเงินได้จากการประกอบธุรกิจบริการต้องมีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โดยหากจดทะเบียนในนามนิติบุคลก็ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 30% จากกำไรสุทธิ ส่วนการให้บริการต่างๆ แก่สมาชิก ไม่ว่าจะเป็นการขายจานดาวเทียม หรือการขายโฆษณา หรือขายค่าสมาชิก หากมีรายได้จากการบริการดังกล่าวเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ของราคาค่าสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสรรพากรพื้นที่จะเป็นผู้ดูแลการจัดเก็บ หากไม่ดำเนินการก็ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

แหล่งข่าวจากกรมสรรพากรกล่าวว่า จากการตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการโทรทัศน์ดาวเทียมในเบื้องต้น 3 ราย คือ บริษัท ไทยเดย์ ดอทคอม จำกัด บริษัท มีเดีย ออฟ มี เดียส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทอาร์.ที.เอ็น.เทเลวิชั่น จำกัด ถือเป็นนิติบุคคลที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กรมไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้ว่าทั้ง 3 บริษัทเสียภาษีอย่างไร เนื่องจากเป็นข้อมูลของผู้เสียภาษีที่กรมสรรพากรไม่สามารถเปิดเผยได้

จ่อผ่านวิทยุชุมชน (มติชน 18 พ.ค. 2550)  เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 16 พ.ค.2550 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์ทางไกลจากประเทศอังกฤษ มายังสถานีวิทยุในประเทศไทยที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ติดต่อกันถึง 3 แห่ง ในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ 1.รายการ "ซอง ทู รีเมมเบอร์" ของสถานีโทรทัศน์-วิทยุออนไลน์ ของกลุ่มฅนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ (www. saturdayvoice.no-ip.info) 2.รายการ "ชูพงศ์และไพรวัลย์ จิ้งจกคาบข่าว" ทางสถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจ เอฟเอ็ม 87.75 เมกะเฮิร์ตซ์ และ  3.รายการ "ค้นหาความเป็นธรรม" ของสถานีวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ เอฟเอ็ม 92.75 เมกะเฮิร์ตซ์ ดำเนินรายการโดยนายชินวัฒน์ หาบุญพาด โดยพ.ต.ท.ทักษิณอ้างว่าได้พบคนไทยกลุ่มหนึ่งและขอให้โทรศัพท์เข้ารายการวิทยุของพรรคพวกกัน ทั้งนี้พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีวิทยุดังกล่าวมีเนื้อหาคล้ายๆ กัน โดย พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่า อยากให้ประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว ไม่ต้องมาระแวงตน

นอกจากนั้น คลื่นวิทยุชุมนุม 87.75 เมกะเฮิร์ตซ์ ยังนำคำสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ชูพงดอทคอม (www.chupong.com) โดยบนหน้าเว็บไซต์ได้จัดทำแบบฟอร์มเพื่อให้ประชาชนร่วมลงชื่อพร้อมหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน ในหัวข้อ "มติปวงชนชาวไทย" โดยเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.ต้องการการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ 2.ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 3.ไม่ยินยอมให้มีการทำรัฐประหารโดยเด็ดขาด และ 4.ให้ คมช.และรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด ภายในปี 2550

ขยายเครือข่าย นายสุดชาย บุญไชย แกนนำกลุ่มฅนวันเสาร์ กว่าวว่า การให้สัมภาณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณเป็นการดำเนินการของพี่น้องเครือข่ายกลุ่มฅนวันเสาร์ที่อยู่ในประเทศอังกฤษ ขณะนี้กำลังประสานงานกับเครือข่ายวิทยุชุมชนในภาคเหนือและอีสาน เพื่อขยายเครือข่ายที่จะเข้ามาเชื่อมสัญญาณคลื่นวิทยุ-ทีวีออนไลน์ฅนวันเสาร์ไปเผยแพร่ในภาคเหนือและภาคอีสาน นอกจากนี้ กลุ่มฅนวันเสาร์อยู่ระหว่างการพัฒนาเว็บไซต์จากที่เป็นวิทยุอินเตอร์เน็ต ให้เป็นโทรทัศน์อินเตอร์เน็ต เพื่อให้ประชาชนได้รับชมภาพด้วย กำลังทดลองออกอากาศ อีกทั้งอยู่ระหว่างการหารือเพื่อก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมด้วย

ต่อมาเวลา 12.00 น. ได้เกิดความขัดข้องขึ้นกับสถานีวิทยุทั้ง 3 สถานี บางคลื่นมีแต่เสียงซ่า ขณะที่บางคลื่นกลายเป็นเพลงแทนรายการปกติ อย่างไรก็ตาม ในเวลา 12.15 น. สถานีทั้ง 3 กลับเข้าสู่รายการตามตารางปกติ แต่เมื่อมีการนำเทปคำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณมาออกอากาศซ้ำ กลับถูกลบเสียงหลายครั้ง โดยสถานีโทรทัศน์-วิทยุออนไลน์ของกลุ่มฅนวันเสาร์ฯ เผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท. ทักษิณได้เป็นครั้งสุดท้ายเวลา 13.15 น. หลังจากนั้นถูกระงับการออกอากาศพร้อมกันหมดทั้ง 3 สถานี

อนึ่ง "คลื่นวิทยุ-ทีวีออนไลน์ ฅนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ" เป็นกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลและ คมช. ส่วนสถานีวิทยุชุมชนเอฟเอ็ม 87.75 เมกะเฮิร์ตซ์ ดำเนินรายการโดย นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน อดีตแกนนำคาราวานคนจน ที่ชุมนุมสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ที่สวนจตุจักร และปิดล้อมสำนักข่าวเนชั่น ขณะที่สถานีวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ เอฟเอ็ม 92.75 เมกะเฮิร์ตซ์ ดำเนินการโดยนายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายกสมาคมผู้พิทักษ์ผลประโยชน์คนขับแท็กซี่ ซึ่งสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ร่วมกับคาราวานคนจนและร่วมปิดล้อมสำนักข่าวเนชั่น

จัดการเด็ดขาด นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวถึงกรณีที่วิทยุชุมชนและวิทยุอินเตอร์เน็ตหลาย สัมภาษณ์สดทางโทรศัพท์ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ตนไปปฏิบัติราชการที่อังกฤษและได้รับรายงานเรื่องนี้แล้ว จึงสั่งการให้รองอธิบดีดำเนินการกับวิทยุชุมชนที่สัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณมาออกอากาศโดยเด็ดขาด เพราะเรื่องนี้มีผลกระทบต่อความมั่นคง และที่ผ่านมาวิทยุชุมชน 3 พันคลื่นทั่วประเทศ ก็กระจายเสียงอย่างผิดกฎหมายอยู่แล้ว แต่รัฐบาลอะลุ้มอล่วยว่าหากไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง

"การสัมภาษณ์สด พ.ต.ท.ทักษิณออกอากาศต้องไล่จี้ผู้ที่รับผิดชอบและเจ้าของคลื่นวิทยุชุมชนนั้นๆ ทั้งหมด และจะใช้โอกาสนี้จัดการวิทยุชุมชนทั่วประเทศ เพราะนโยบายมีชัดเจนแล้วว่ารายการต่างๆ ต้องไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ" นายปราโมชกล่าว

เมื่อเวลา 14.30 น. นายบวร เตชะอินทร์ ผู้อำนวยการกองงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ นายนพพิชญ์ธารณ์ พรายมณี นิติกร กรมประชาสัมพันธ์ เข้าแจ้งความกับ พ.ต.อ.วสันต์ บุญเจริญ ผกก.สภ.อ.เมืองนนทบุรี เพื่อให้ดำเนินการกับสถานีวิทยุชุมชนคนรู้ใจคลื่น 87.75 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่ถ่ายทอดสดสัญญาณเสียง พ.ต.ท.ทักษิณ

หลังจากแจ้งความ นายบวรเดินทางไปตรวจสอบที่สถานี ตั้งอยู่เลขที่ 66/10 หมู่ 3 ต.บางเขน อ.เมืองนนทบุรี ชั้น 3 ในอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ด้านล่างเปิดเป็นร้านเช่าวิดีโอ-ซีดี ชื่อ ครอบครัวเที่ยงธรรม ขณะเข้าตรวจสอบพบนายไกรวัลย์ เกษมศิลป์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุ กำลังจัดรายการอยู่ที่ห้องส่ง เจ้าหน้าที่จึงแจ้งให้ระงับการออกสัญญาณ ซึ่งนายไกรวัลย์ก็ปฏิบัติตามโดยดี

ด้านนายบวรกล่าวว่า ได้รับคำสั่งจากอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ให้มาตรวจสอบสถานีวิทยุชุมชน คลื่น 87.75 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่ออกอากาศเสียงสัมภาษณ์สดของอดีตนายกฯ และจากการตรวจสอบพบว่าสถานีวิทยุดังกล่าวไม่มีใบอนุญาต จึงแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาจัดตั้งสถานีวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังสั่งให้งดออกอากาศทันที

ยกเหตุผลเจ้าตัวโทรฯมา นายไกรวัลย์กล่าวว่า เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น. เมื่อคืนที่ผ่านมา (16 พฤษภาคม) ขณะที่ตนกับนายชูพงษ์ ถี่ถ้วน ผู้จัดรายการ กำลังจัดรายการอยู่ ได้รับโทรศัพท์จากต่างประเทศโดยทางปลายสายเป็นเสียงผู้หญิงได้แจ้งว่าเป็นคนไทยคนหนึ่ง แต่ไม่ยอมเปิดเผยชื่อและอาศัยอยู่ต่างประเทศ แจ้งว่าได้ติดตามรายการของสถานีวิทยุมาตลอดและบอกว่าจะมีคนสนทนาด้วย เมื่อตนรับสายทางปลายสายอ้างว่าชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งตนก็ตกใจ

"หลังจากนั้นก็ได้ถามว่าสบายดีไหม ซึ่งผู้ที่อ้างว่าเป็นอดีตนายกฯก็บอกว่าสบายดี หลังจากนั้นได้พูดคุยกันปกติ และบอกว่ารู้สึกเป็นห่วงบ้านเมือง การสนทนาใช้เวลาประมาณ 9 นาที ก็วางสายไป ตนคิดว่าไม่น่าจะเกิดความเสียหายอย่างไร แต่เมื่อทางเจ้าหน้าที่มาสั่งให้ระงับการส่งสัญญาณเสียง ก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม" นายไกรวัลย์กล่าว

ต้องใช้ดุลพินิจ ขณะที่พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์ผ่านวิทยุชุมชนข้ามประเทศว่า ไม่มีปัญหาอะไร คิดว่าประชาชนคงได้ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้างผู้สื่อข่าวถามว่า บรรยากาศทางการเมืองขณะนี้ค่อนข้างตึงเครียดยิ่ง พ.ต.ท.ทักษิณมาเพิ่มกระแสความกดดันขึ้นอีก จะยิ่งทำให้เกิดความสับสน พล.อ.สุรยุทธ์กล่าวว่า ประชาชนต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาว่าอะไรเป็นอะไร และตัดสินอนาคตบ้านเมืองว่าควรเป็นอย่างไร และมีทางออกที่ดีอย่างไร คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่จะผ่านขั้นตอนตรงนี้ไปให้ได้

กอ.รมน.เก็บข้อมูล ทางด้านพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุว่า ยังไม่ได้รับรายละเอียด เพิ่งมีคนเล่าให้ฟัง แต่สั่งให้ กอ.รมน. ตรวจสอบ และบันทึกข้อมูล และจะทำข้อพิจารณามาให้ตน เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่า คมช.และรัฐบาลต้องการที่จะล้างแค้น พล.อ.สนธิกล่าวว่า ไม่มีอะไร เราไม่ล้างแค้นใครอยู่แล้ว เมื่อถามว่า คมช.มีการประเมินหรือไม่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณพยายามแย่งพื้นที่ข่าวจากสื่อมวลชน พล.อ.สนธิกล่าวว่า ไม่มี

"แม้ว"พูดกระทบมั่นคง ด้านพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผช.ผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขาธิการ คมช. กล่าวว่า จากการที่ คมช.ได้ติดตามสถานีวิทยุชุมชนที่ พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์ พบว่าสถานีวิทยุชุมชนดังกล่าวมักจะทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และต่อต้าน คมช.และรัฐบาลอยู่แล้ว คมช.ขอหาแนวทางกันก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่หาก คมช.ปิดกั้นมากเกินไปก็จะถูกมองว่า คมช.เข้าไปคุกคามสื่อ

แจงสื่อต่างชาติ (มติชน 2 มิ.ย. 2550) นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลของสื่อมวลชนต่างชาติเกี่ยวกับการตัดสินคดียุบพรรค พบว่าส่วนใหญ่ข้อมูลถูกต้อง แต่มีบางรายอาจเข้าใจผิดกรณีที่ตั้งข้อสังเกต ประกอบด้วย การที่ตุลาการรัฐธรรมนูญอาจจะถูกแทรกแซง เนื่องจาก คมช.เป็นผู้แต่งตั้ง การกระทำดังกล่าวอาจจะทำให้เลือกตั้งมีปัญหา เพราะพรรคใหญ่ถูกมัดมือ รวมถึงการเอาผิดย้อนหลัง และระบุว่า การตัดสินครั้งนี้ไม่ส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุน

นายธฤตกล่าวว่า กระทรวงชี้แจง โดยชี้ให้เห็นว่า คมช.ไม่ใช่ผู้เลือกตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการเลือกตามสายงานและตำแหน่งที่มีอยู่เดิม โดยศาลเป็นผู้เลือกกันเอง ปราศจากการแทรกแซง ในการดำเนินคดีมีการใช้ข้อกฎหมายชี้แจงทุกประเด็นอย่างโปร่งใส อีกทั้งการตัดสิทธิเป็นเพียงกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน แต่สมาชิกพรรคไทยรักไทยมีมากกว่า 10 ล้านคน สมาชิกเหล่านี้สามารถลงสู่สนามการเลือกตั้งได้ และการตัดสิทธิย้อนหลังทำได้เพราะไม่ใช่คดีอาญา

"ด้านการลงทุนนั้น วันนี้แสดงให้เห็นแล้วว่าการซื้อขายหุ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี ขณะที่ท่าทีของรัฐบาลต่างชาติ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าประเทศใดตั้งข้อสงสัยหรือซักถามผ่านมายังสถานทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในต่างประเทศแต่อย่างใด" โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าว

แนะกองทัพภาคที่ 4 (1 มิ.ย. 2550) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภาคใต้แห่งประเทศไทย เห็นว่าหลักการของวิชาชีพสื่อมวลชนคือการนำเสนอข่าวสารข้อเท็จจริงด้วยความรอบคอบ และรอบด้านโดยยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลหรือเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ยิ่งในพื้นที่ที่ความขัดแย้งเต็มไปด้วยความรุนแรง แบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายและมีความหวาดระแวงระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ ระหว่างประชาชนกับเจ้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน เช่น ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สื่อมวลชนยิ่งต้องระมัดระวัง นำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในแง่มุมต่างๆ อย่างรอบด้าน ไม่รับข้อมูลเพียงด้านเดียวจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมานำเสนอข่าว และต้องไม่ยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ด้วยเหตุนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯและสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภาคใต้ฯไม่เห็นด้วยกับกรณีที่กองอำนายการรักษาความความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้ผลักดันจัดตั้ง "ชมรมสื่อใต้สันติ" โดยอ้างว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในการนำเสนอข่าวสาร เหตุความไม่สงบในพื้นที่ ด้วยการกำหนดรูปแบบ ทิศทางการนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้วยความถูกต้อง และให้มีการจัดแถลงข่าวในทันทีที่เกิดเหตุการณ์เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นทิศทางเดียวกัน ฯลฯ

ทั้งสองสมาคมเห็นว่าพฤติการณ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นความพยายามโดยตรงของฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัด ที่ต้องการเข้ามาควบคุมทิศทางการนำเสนอข่าวและแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนในพื้นที่ ซึ่งการกระทำภายใต้วัตถุประสงค์ของชมรมสื่อใต้สันติดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน

ที่สำคัญ สมาคมทั้งสองเห็นว่าสื่อมวลชนไม่มีหน้าที่แต่อย่างใดที่จะนำเสนอข่าวเพื่อปลุกกระแสต้านการปลุกระดมของฝ่ายก่อความไม่สงบ ตามที่ กอ.รมน.ภาค 4 ต้องการหรือเสนอข่าวเพื่อสร้างความเกลียดชังกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ เพราะเป็นหนทางที่จะนำมาซึ่งความเสียหายต่อประเทศชาติจนยากที่จะเยียวยาได้

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯและสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภาคใต้ฯ ตระหนักถึงบทบาทและภาระหน้าที่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวเพื่อสร้างความเข้าใจและลดความหวาดระแวง ลดความรุนแรง เพื่อนำความสงบสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามาร่วมคิด

ด้วยเหตุนี้ ทั้ง 2 สมาคมขอเรียกร้องให้ กอ.รมน.ภาค 4 และฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทบทวนการจัดตั้งชมรมสื่อใต้สันติเพื่อมิให้เกิดปัญหาข้างต้น

แจงองค์กรสื่อ(12 ก.ค.2550)  –รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร  ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และ น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  มีการประชุมชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ๖ องค์กรได้แก่ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ได้ตั้งคณะทำงานและที่ปรึกษาด้านวิชาการ เพื่อตรวจสอบ และเฝ้าระวังการกระทำใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนและการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ในประเทศไทย ผ่านกระบวนการออกกฎหมายและร่างรัฐธรรมนูญ

ค้านกม.ลิดรอดสิทธิสื่อ(12 ก.ค. 2550) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วยสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์  เรื่อง ขอให้พิจารณายุติการเสนอร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  โดยมีเนื้อหาสรุปว่าตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ อนุมัติหลักการของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามข้อเสนอของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เพื่อเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไปนั้น องค์กรสื่อได้พิจารณาเนื้อหาในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว มีความเห็นร่วมกันว่า รัฐบาลควรพิจารณายุติการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว

และในวันที่  13 ก.ค. 2550 ผู้แทน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้เดินทางเข้าพบพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นหนังสือขอให้ ยุติการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว โดยนายสุวัฒน์ ทองธนากุล ประธานสภาการน.ส.พ.แห่งชาติ กล่าวว่า เหตุผลหลักที่องค์กรวิชาชีพสื่อ คัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าว ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน กระบวนการบัญญัติกฎหมาย ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งๆ ที่เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจบุคคลหรือคณะบุคคลที่ไม่ได้มาจากกระบวนการเลือกตั้ง จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างชัดเจน นอกจากนี้ การออกกฎหมายระหว่างที่ประเทศปกครองโดยรัฐบาลชั่วคราวในขณะที่มีกฎหมายด้านความมั่นคงฉบับอื่นๆ อยู่แล้ว อาจทำให้ถูกมองว่ามีการสืบทอดอำนาจของกลุ่มเผด็จการทหาร ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลอย่างสิ้นเชิง

หน้าที่สื่อมืออาชีพ(27 ก.ค. 2550) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงกรณ์กรณี เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มนปก. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยใคร่ขอเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจภารกิจหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักข่าวที่ต้องออกไปทำข่าวในเหตุการณ์ประท้วงการปะทะกันรวมถึงการเผชิญหน้าของทั้งสองฝ่าย

เราตระหนักดีว่าการแบ่งแย่งทางการเมืองทำให้ทุกคน รวมถึงนักข่าว อยู่ในสถานการณ์ลำบาก แต่สถานการณ์ยิ่งเปราะบางเพียงใด สื่อมวลชนยิ่งสมควรได้รับการอนุญาตให้ทำหน้าที่อย่างมืออาชีพ เป็นอิสระและเป็นกลางโดยไม่ต้องคอยหวาดกลัวหรือเผชิญการคุกคามใด ๆ ทั้งสิ้นเพื่อเป็นการอำนวยให้ความจริงได้มีโอกาสเดินทางไปถึงสาธารณชนให้มากที่สุด

พร้อมกันนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยขอเรียกร้องให้องค์กรสื่อต่าง ๆ ใช้ความรอบคอบและวิจารณญาณอย่างเต็มที่ในการสื่อข่าวและนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน โดยตระหนักถึงความอ่อนไหวของสถานการณ์บ้านเมืองที่จำเป็นต้องได้รับข่าวสารที่มีความสมดุลย์เหมาะสมระหว่างคุณค่าข่าวและความรับผิดชอบเพราะนักข่าวไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่นำเสนอความจริงเท่านั้น หากแต่ยังต้องมีความรับผิดชอบในฐานะประชาชนคนไทยที่จะต้องช่วยประคับประคองประเทศชาติให้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้

เปิดเว็บไซต์โต้ “ทักษิณ”(ไทยรัฐออนไลน์7 ส.ค.2550) นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวการจัดทำเว็บไซต์ของรัฐบาลเพื่อชี้แจงตอบโต้ข้อกล่าวหาจากฝ่ายต่างๆว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปใช้ชื่อเว็บไซต์ www.todaythailand.comจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 ส.ค. จะมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และจะเชิญบุคคลต่างๆทั้งรัฐมนตรีคนในรัฐบาลและนอกรัฐบาลที่เป็นที่ยอมรับและผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง มาให้ความคิดเห็นเป็นคอลัมนิสต์ หรือให้ข้อมูลที่เป็นความจริง ที่จำเป็นต้องชี้แจงโดยด่วน รวมไปถึงตอบชี้แจงข้อกล่าวหาในการตรวจสอบของ คตส. ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ พยายามกล่าวหาให้นานาชาติเห็นว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยไม่เป็นธรรม และผลงานต่างๆของรัฐบาลรวมถึงข้อเท็จจริงในสมุดปกดำเกี่ยวกับการทุจริตในรัฐบาลชุดที่แล้วก็จะนำมาเผยแพร่ในเว็บนี้ด้วย อย่างไรก็ตามขอเรียนเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นไม่ได้เจาะจงที่จะไปตอบโต้คนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ

วอนสื่อช่วยโหมประชามติ (ไทยรัฐออนไลน์ 6 ส.ค. 2550)  พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในรายการ “นายกฯพบสื่อทำเนียบฯ” ครั้งที่ 8 ถึงสถานการณ์ การเมืองว่า ขณะนี้การพัฒนาทางการเมืองได้คืบหน้าไปพอสมควร บรรดาพรรคการเมืองต่างๆมีการเตรียมตัวและพร้อมที่จะกลับเข้ามาสู่กระบวนการของการเลือกตั้งมากขึ้น เป็นจุดที่ตนคิดว่าเป็นสิ่งบอกเหตุที่ดี เมื่อเราผ่านการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญวันที่ 19 ส.ค.นี้ไป ภาพทางด้านของการพัฒนาทางการเมืองก็ยิ่งจะชัดมากยิ่งขึ้น ที่จะขอร้องสื่อในปัจจุบันคือ ให้ช่วยกันชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนไม่ว่าจะโดยวิธีการใดๆ จะโดยวิธีการที่มีการพูดคุยกันถึงข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญ อะไรต่างๆ ในลักษณะที่เป็นการให้ความรู้กับพี่น้องประชาชน จะเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่อยากจะให้สื่อได้ช่วยเหลือคือ การที่จะช่วยกันชักจูงให้พี่น้องประชาชนได้มาใช้สิทธิในการลงประชามติ ไม่ว่าจะในลักษณะใดก็ตาม จะรับหรือไม่รับ เป็นข้อพิจารณาของประชาชน อยากให้สื่อได้ช่วยกันชักชวนในส่วนนี้

มองสื่อยุคทักษิณ-คมช.(ประชาชาติธุรกิจ  30 ส.ค.  2550) "ส.ศิวรักษ์" วิพากษ์สื่อว่า หลังหมดยุค พ.ต.ท.ทักษิณไปแล้ว สื่อมีอิสรภาพมากขึ้น มีจิตสำนึกที่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันบริบทสื่อทั้งหมดยังอยู่ในลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม เพราะรัฐบาลปัจจุบันน่ารักเกินไป จริงๆ แล้ว รัฐต้องมีบทบาทกับสื่อทั้งนัยบวกและลบ นัยบวกคือต้องสามารถอุดหนุนสื่อให้ปลอดพ้นจากทุนนิยม บริโภคนิยมได้ แต่รัฐไทยในเวลานี้ไม่มีจิตสำนึก ในแง่นี้ เพราะที่ผ่านมาสื่อไทยยังนำเสนอเรื่องที่มอมเมา เรื่องบันเทิง เพิ่มราคจริต โทสจริต โมหจริต มากขึ้น นอกจากนี้แล้วเรา ยังอยู่ในอาณัติของจักรวรรดิอเมริกัน เราไม่มีทางทราบข่าวจากสื่อจากกระแสอื่น เช่น สื่อจากประเทศอาหรับ
อย่างไรก็ตามแม้สื่อในยุคนี้จะมีสิทธิเสรีภาพมากกว่ายุคทักษิณ เพราะ คมช.ส่วนใหญ่ไม่มี สติปัญญามากนักที่จะมาก้าวก่ายสื่อ แล้วก็ตีกันเอง จริงๆ เมื่อปฏิวัติแล้วก็น่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ เช่น อุดหนุนสื่อมากกว่านี้ โดยการอุดหนุนไม่จำเป็นต้องเป็นเงินทอง เช่น สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตร คุยกับนักข่าวที่ต้องการสร้างความจริง ความงาม ความดี
อาจารย์สุลักษณ์มองว่า นักข่าวที่ต้องการรักษาจรรยาบรรณของนักข่าวนั้นยังมีอยู่ แต่ถ้านักข่าวมุ่งมั่นที่จะทำข่าวในทางสัจจะ ความดี ความงาม ความจริง นักข่าวเหล่านั้นก็จะต้อง ฝึกตัวเองให้มีกึ๋น ถ้านักข่าวเล็กๆ ต้องการแสวงหาสัจจะ ก็ต้องรวมตัวกันกับนักข่าวด้วยกัน และจะต้องมีอำนาจในการต่อรองกับบรรณาธิการ ผมดีใจที่มีการมอบรางวัล คุณเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ (นักข่าวบางกอกโพสต์ ผู้เปิดประเด็นรันเวย์สุวรรณภูมิร้าว) เราจะทำอย่างไรให้มีกระบวนการแบบนี้ที่สามารถท้าทาย บ.ก. แล้ว บ.ก.ก็ต้องมีกึ๋นท้าทายนายทุนด้วย นอกจากนี้สื่อจะต้องมองให้เห็นบริบทที่สำคัญที่สุดที่จะเปลี่ยนกระจกฝ้าเป็นกระจกใส ซึ่งต้องเริ่มจากความกล้า มีความโปร่งใสทุกระดับชั้น
"ผมคิดว่าการเปลี่ยนที่นักข่าว มันมีความหมายมากกว่า เปลี่ยน บ.ก. หรือเปลี่ยนเจ้าของ แต่นักข่าวเล็กๆ ต้องรวมตัวกันเหมือนมดแล้วกัดให้เจ็บ เพื่อให้สังคมมีมโนธรรมสำนึก"
อาจารย์นิธิ  เอี่ยวศรีวงศ์ เปิดประเด็นว่า สื่อไทยทุกชนิดสนใจแต่ปรากฏการณ์ แต่กลับไม่สนใจอธิบายปรากฏการณ์ จึงทำให้สื่อทำอยู่ 2 อย่าง คือ

1.สร้างคำอธิบายขึ้นมาเองอย่างง่ายๆ และ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็มีแนวโน้มเอียงในการที่จะรับผลประโยชน์ เมื่อรับผลประโยชน์แล้วก็ไม่ขัดกับคำอธิบายของตัวเอง
2.เมื่อสื่อสนใจแต่ปรากฏการณ์ ก็จะรับคำอธิบายจากใครก็ได้ที่ยัดเยียดมาให้ ถ้ายัดแบบคุณทักษิณ คุณก็รับไปโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้ายัดโดย คมช. คุณก็หลอกตัวเองให้รับคำอธิบายเหล่านั้นมาใช้ เพราะอย่าไปคิดว่าเวลาคุณจะหยิบอะไรขึ้นมาเป็นปรากฏการณ์ มันไม่ได้เกิดขึ้นโดยมีคำอธิบายบางอย่างอยู่ในใจ แต่คำอธิบายนั้นคุณไม่มี
"แต่ผมก็ไม่อยากจะโทษสื่ออย่างเดียว แต่ระบบการศึกษาไทยทั้งระบบไม่สนใจคำอธิบาย สนใจแต่ปรากฏการณ์ ฉะนั้นสื่อก็เป็นผลผลิตของการศึกษา ผลผลิตของวัฒนธรรมสมัยนี้ เล่าแต่ปรากฏการณ์ คนอ่านก็สนใจแต่ปรากฏการณ์ ไม่สนใจคำอธิบาย สังคมจึงรับคำอธิบายแบบมักง่ายเกินไป ใครให้คำอธิบายอะไรมาก็ไม่ได้ตรวจสอบหรือประเมินกับข้อเท็จจริงอื่นๆให้เพียงพอ
"อาจารย์นิธิ" กล่าวว่า สื่อทุกวันนี้โดยเฉพาะสื่อวิทยุและโทรทัศน์สะท้อนสิ่งที่ล้าสมัยมาก คือ ยึดเอาสาธารณสมบัติไปเป็นของตัวเอง แล้วก็เก็บค่าเช่าทางเศรษฐกิจจากใครก็ตามที่ไปทำสัมปทาน แล้วก็นำสาธารณสมบัตินั้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งมันบังคับอยู่ในตัวเองว่า คนที่เสียเงินค่าต๋งให้แก่รัฐ เขาหลีกไม่พ้นที่จะต้องทำกำไร แล้วเงินที่เสียไปอาจจะมากกว่าที่ปรากฏเป็นจริงด้วยซ้ำไป ยังไม่นับรวมใต้โต๊ะอีกเท่าไหร่ มันจึงหนีไม่พ้นที่เขาจะต้องทำเงินกลับคืนมามากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากๆ ในการที่นักข่าว จะรวมตัวกันจะสามารถแก้ไขสถานการณ์สื่อให้ดีขึ้น ดังนั้นก่อนอื่นจึงต้องรวมตัวกันในการที่จะ ต่อสู้กับการริบเอาสาธารณสมบัติคือคลื่นความถี่ ต้องสู้จริงจังมากขึ้น อย่าให้รัฐทำอย่างนี้ต่อไป
ถามว่านักข่าวจะมีคุณภาพยังไง ผมคิดว่า นักข่าวต้องมีความรู้มากกว่านี้ ถ้าอยากจะปรับจากระดับปรากฏการณ์ขึ้นมาสู่คำอธิบาย คุณต้องมองเห็นภาพรวมทางเศรษฐกิจหรือการเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ใช่แค่เข้าใจสิ่งที่แหล่งข่าวให้เพียงอย่างเดียว
"ผมคิดว่าทั้งหนังสือพิมพ์และวิทยุ หรือโทรทัศน์ในปัจจุบัน เป็นสถาบันที่ไม่ได้ให้การศึกษากับคนทำงานเพียงพอ สมัยก่อนผมอ่านประวัติคุณอิศรา อมันตกุล คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ คนรุ่นหลังจากนั้นเขาบอกว่า ตอนเขาเข้าทำงานหนังสือพิมพ์ จะมีการประชุมบทบรรณาธิการ ทุกวัน เด็กๆ ที่เข้าไปก็ไม่รู้เรื่องหรอก แต่เขาได้ เรียนรู้จากการที่คุณกุหลาบประชุมการเขียนบทบรรณาธิการเยอะมากๆ"

สื่อมะกันตั้งธง (ผู้จัดการออนไลน์ 5  ก.ย. 2550)  เว็บไซต์ไฮทักษิณ รายงานว่า หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล ของสหรัฐฯ ตีพิมพ์บทวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทยว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทยออกแบบมาเพื่อป้องกันโอกาสที่จะมีพรรคการเมืองพรรคใหญ่ที่มีฐานเสียงที่เข้มแข็ง แผนการดังกล่าวเป็นที่ถูกใจของทหาร แต่มันจะทำให้ประเทศไทยถอยกลับไปสู่ยุคของรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ แต่ประชาชนอาจทำลายเจตนาดังกล่าวของทหารได้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น่าจะชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายอีกครั้ง หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี และพรรคไทยรักไทยไม่ถูกยุบ  รายงานยังระบุอีกว่า หากพรรคพลังประชาชน ได้รับคะแนนเสียงเหมือนที่พรรคไทยรักไทยได้รับในปีที่แล้ว พรรคพลังประชาชนจะได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ แต่ทหารก็อาจจะเข้ามาขวางทาง แทนที่จะยอมให้รัฐบาลใหม่กลับไปใช้นโยบายของพรรคไทยรักไทยเดิม พวกทหารคงหาวิธีการที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

วางตัวเป็นกลาง (19 ต.ค.2550) นางสาวนาตยา  เชษฐโชติรส นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตามที่ นายกรัฐมนตรี  ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๒๖๔/๒๕๕๐ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงให้นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หรือผู้แทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในชุดดังกล่าวด้วยนั้น

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพสื่อ ได้ปฏิบัติภารกิจในการรณรงค์และส่งเสริมประชาธิปไตยอยู่เสมอ โดยร่วมมือกับสถาบันอิศราและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดเสวนาประเด็นทางการเมือง และการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องเพื่อสื่อมวลชน ได้มาซึ่งข่าวที่ถูกต้องและรอบด้าน การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง อาจจะทำให้เป็นข้อจำกัดในการทำหน้าที่สื่อมวลชนได้ จึงขอลาออกจากการเป็นคณะกรรมการดังกล่าว

ขอโทษสื่อทำให้สับสน (มติชนออนไลน์ 30 ต.ค. 2550) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เชิญผู้บริหารสื่อมวลชนทุกแขนง ร่วมหารือถึงแนวทางปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 29 ตุลาคม หลังจากที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าระเบียบดังกล่าวเข้มงวดเกินไป โดยมีตัวแทนพรรคการเมือง จากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การหารือครั้งนี้ มี กกต.ร่วมหารือ 4 คน ประกอบด้วย นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. นายประพันธ์ นัยโกวิท นายสมชัย จึงประเสริฐ นายสุเมธ  อุปนิสากร ขาดเพียงนางสดศรี สัตยธรรม ที่ติดภารกิจบรรยายพิเศษเกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง ณ กรมทหารราบที่ 11 บางเขน

ทั้งนี้นายอภิชาตกล่าวว่า กกต.จะนำข้อเสนอแนะวันนี้ไปปรับปรุงให้เกิดความเหมาะสม เพราะต้องยอมรับว่าระยะเวลาที่จำกัดในการพิจารณากฎหมายนั้นเป็นข้อจำกัดหนึ่ง แต่เมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ กกต.ก็พร้อมรับฟังในสิ่งที่เกิดปัญหาและปฏิบัติได้ยาก และไม่มีเจตนาให้กฎหมายเกิดประโยชน์หรือเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อีกทั้งไม่คิดว่าจะเป็นการกระทบการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน

ด้านนายประพันธ์ กล่าวว่า หลักเกณฑ์ในประกาศข้อ 20 ที่ระบุว่าสถานีอาจเชิญพรรคการเมืองทุกพรรคไปแสดงวิสัยทัศน์หรืออภิปรายเชิงนโยบาย โดยต้องจัดให้ทุกพรรคเท่าเทียมกัน อาจทำให้สื่อมวลชนสับสนว่าถ้ามี 70 พรรคการเมือง จะเชิญมาพร้อมกันอย่างไร เพราะในทางปฏิบัติสามารถเชิญได้เพียง 4-5 พรรค ไปออกรายการเท่านั้น 'เราต้องขอโทษสื่อมวลชนที่ทำให้เกิดความสับสน เพราะตามหลักกฎหมายแล้วหากพรรคการเมืองได้รับการทาบทามจากสื่อมวลชนก็จะไม่เกิดปัญหา แต่ห้ามพรรคการเมืองไปเช่าเวลาสื่อในการทำประชาสัมพันธ์เอง แต่สื่อสามารถไปทำข่าวพรรคการเมืองหรือการเปิดตัวผู้สมัครใหม่ของพรรคการเมืองได้ หรือสัมภาษณ์ยื่นไมค์ในฐานะการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนได้เหมือนเดิม”

นายประพันธ์ยังได้ตอบคำถามนายจักรกฤษ เพิ่มพูน ตัวแทนจากสำนักข่าวเนชั่น เกี่ยวกับการเชิญผู้สมัครทุกพรรคมาร่วมรายการ สื่อมวลชนเคยปฏิบัติมาอย่างไรก็ยังสามารถทำได้อยู่เช่นเดิม ซึ่งจากการรับฟังข้อคิดเห็นของสื่อมวลชนมีการเสนอว่าควรเพิ่มมาตรา 7 (3) ในวรรค 2 ว่า  'ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสื่อมวลชนที่สามารถดำเนินการได้ตามดุลพินิจและหลักวิชาชีพสื่อมวลชนได้อย่างเท่าเทียมกัน'

ยอมคลายกฎเหล็ก (ไทยรัฐออนไลน์ 31 ต.ค. 50) นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. เป็นประธานการประชุม กกต. วาระสำคัญคือพิจารณาข้อเรียกร้องของฝ่ายต่างๆที่ให้มีการปรับปรุงประกาศและระเบียบเรื่องหลักเกณฑ์การดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนการเลือกตั้ง โดยภายหลังการประชุมนายอภิชาตเปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือหลายประเด็นที่ได้รับฟังความคิดเห็นมา โดยในเรื่องที่เกี่ยวกับสื่อขอให้ตัดถ้อยคำในระเบียบข้อ 20 ที่ระบุว่าต้องเชิญพรรคการเมืองทุกพรรคนั้น ก็ให้ตัดคำว่าทุกพรรคออกไป โดยให้เป็นดุลพินิจของผู้บริหารสถานีในการเชิญตัวแทนพรรคการเมืองมาออกรายการ คาดว่าการแก้ไขระเบียบครั้งนี้จะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาได้ภายในสัปดาห์นี้ 

สมัคร'เดือดนักข่าว (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  8 พ.ย. 2550)  “สมัคร” แจงเองต้องให้โอกาส นปก.ลงสมัคร เปิดศึกสื่อ เหตุถาม “เนวิน-หน่อย” ล้วงโผ ด่ากลับนักข่าวถามเลวๆ ร่วมเมถุนใครมาหรือไม่ ถามเนชั่นล้มละลายหรือยัง ขณะที่ ผู้สมัคร ส.ส.กทม. รับ ศึกเมืองกรุงอ่วมแน่ เพราะปากหัวหน้าพรรค

นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน แถลงว่า การที่มีข่าวว่า เกิดความขัดแย้งในส่วนของผู้สมัคร ส.ส.กทม. นั้น เป็นเรื่องธรรมดา เพราะพรรคการเมืองถ้ามีเหตุขัดแย้ง ก็ให้แก้ไขกันไป แสดงน้ำใจต่อกัน เรื่องนี้ตนไม่ทุกข์ แต่ที่ต้องออกมาพูด ก็เพื่อต้องการดับชนวน

นายสมัครกล่าวว่า ปัญหาบ้านเมืองต้องมาก่อนปัญหาในพรรค ทั้งหมดเป็นความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ซึ่งตนได้รับฟังความเห็นทั้งสองฝ่าย หรือรับหน้าที่เป็นท้าวมาลีวราช ชี้แจงเหตุผลกับทุกฝ่าย ว่าครั้งนี้เป็นโอกาสของเรา ที่จะทำงานการเมืองตามหน้าที่ ซึ่งทุกคนก็เข้าใจดี และถือว่าเรื่องทุกอย่างก็เรียบร้อยเข้าที่ ทุกคนก็ทำงานต่อไป และพอใจในข้อตกลง

แจงหน้าที่สื่อ (www.tja.or.th 11 พ.ย. 2550) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ชี้แจงเรื่อง การทำข่าวพรรคการเมือง มีใจความว่า ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคการเมืองต่างๆ  ซึ่งส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งต่างมีการเคลื่อนไหวและการแข่งขันในทางการเมืองเพื่อช่วงชิงเก้าอี้ ส.ส.ให้ได้มากที่สุด ในฐานะสื่อมวลชน นอกจากมีหน้าที่ในการนำเสนอข่าวนโยบายพรรคการเมืองต่างๆ แล้ว ยังนำเสนอข่าวความเคลื่อนไหวและการแข่งขันทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น  เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารสำหรับการตัดสินใจในการใช้สิทธิในวันเลือกตั้ง

สั่งบล็อกเว็บ“ไฮ-ทักษิณ” (ผู้จัดการออนไลน์       7 ธ.ค. 2550) ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวว่า หลังจาก เว็บไซต์ ไฮ-ทักษิณ ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอ มีเพลงร้องสนับสนุนพรรคพลังประชาชน โดยเฉพาะยังมีบทความโจมตี นางสดศรี สัตยธรรม กกต.อย่างรุนแรง ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง รวมถึงมีการนำรูปภาพมาตัดต่อมีฉากหลัง เป็นรูป กากบาทสีดำ คล้ายสัญลักษณ์ ฮิตเลอร์ และล่าสุด ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (7 ธ.ค.) ไม่สามารถเปิดเข้าไปดูเว็บไซต์ไฮ-ทักษิณ ได้ คาดว่า จะถูกบล็อกแล้ว หรือมีการสั่งการให้ปิดชั่วคราวจากกระทรวง ไอซีที ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีการประสานไปแล้ว

ด้านนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อเผยแพร่คลิปวิดีโอ ระบุว่า หากเลือก นายสมัคร จะได้ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยว่า ไม่ทราบเว็บไซต์ดังกล่าว ใครเป็นคนทำ หากส่งผ่านข้อมูลไปได้ เราอยากจะพูดว่า พรรคต้องการพูดเรื่องนโยบายให้มาก ทำอย่างไรจะแก้ไขปัญหาประเทศชาติ การมีประเด็นการเมืองอย่างนี้ ทำให้พรรคเวลาพูดถึงสาระนโยบายได้น้อยลง และอยากฝากไปถึงคนทำเว็บไซต์ ว่า ให้เน้นตรงสาระนโยบาย หากอยากสนับสนุนพรรค ก็กรุณาพูดว่า เราอยากทำอะไรเพื่อกู้วิกฤตเศรษฐกิจ

.จี้ กกต.ถอดรายการ ช่อง 5,11 (ผู้จัดการออนไลน์12 ธ.ค. 2550) นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน ในฐานะหนึ่งในคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรค พร้อมคณะ ได้เรียกร้องให้ กกต.สั่งระงับรายการการเลือกตั้ง 50 ชี้อนาคตประเทศไทย ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และรายการ หน้า 1 ของสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เนื่องจากในช่วงวันที่ 10 - 11 ธันวาคม ที่ผ่านมา มีการดำเนินรายการ โดยมีเนื้อหาโจมตีและพาดพิงถึงพรรคพลังประชาชนในทางที่เสียหาย ซึ่งถือเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญและระเบียบ กกต.ว่าด้วยหน่วยงานในสังกัดของรัฐจัดทำการอันส่อถึงความไม่เป็นกลาง นอกจากนี้ ทางพรรคฯ จะยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้อง อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง หรือ ครส.ให้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วยความเป็นกลางด้วย

จู่โจมจับตัวผู้สื่อข่าว(ผู้จัดการออนไลน์ 24 ม.ค. 2551) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 30 นายได้เดินทางมายังหน้าบ้านจันทร์ส่องหล้า ซอยจรัญสนิทวงศ์ 69 ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภรรยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังได้รับแจ้งจากคนในบ้านจันทร์ส่องหล้าว่ามีบุคคลต้องสงสัยมาสังเกตการณ์ยู่หน้าบ้านพักทำให้เกิดความระแวงและหวาดกลัว โดยทันทีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางมาถึง ได้พบกับนายวัฒนา พิมลศิริผล ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น จึงได้เข้าควบคุมตัว ซึ่งนายวัฒนาอธิบายว่าการเดินทางมาสังเกตการณ์หน้าบ้านพักเพื่อรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของคุณหญิงพจมาน พร้อมกับแสดงบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าว ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ปล่อยตัว และขอร้องว่าให้สังเกตการณ์บริเวณอื่นแทน เพราะคนในบ้านพักเกิดความหวาดกลัว
ขณะที่นายวัฒนา เปิดเผยว่า กำลังเจ้าหน้าที่ที่บุกมามีมากกว่า 30 นาย โดยตอนแรกได้เข้ามาพร้อมกับสอบถามด้วยท่าทางขึงขังว่ามาทำอะไร และขู่ว่าหากไม่บอกจะจับไปโรงพัก แต่เมื่อได้แสดงบัตรนักข่าว ตำรวจได้มีท่าทีอ่อนลงและพูดด้วยน้ำเสียงสุภาพขึ้น โดยบอกด้วยว่าขณะนี้คนในบ้านพักมีความหวาดระแวง ขอร้องให้ผู้สื่อข่าวย้ายไปทำข่าวที่จุดอื่นแทน ทำให้ต้องย้ายมาสังเกตการณ์ในจุดที่ห่างจากบ้านพักประมาณ 100 เมตรแทน

สื่อมวลชนกับกฎหมาย

ขอดีข้อเสียรธน.2550(ไทยรัฐออนไลน์ 16 มิ.ย. 2550) นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) กล่าววันนี้ว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในประเด็นสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน ในมาตรา 45,46 และ 47 ในสัปดาห์ที่ผ่านมานับว่ามีบรรยากาศที่ดี ได้รับความเข้าใจและมีการพิจารณาอย่างจริงจัง เชื่อว่ามีแนวโน้มที่ดีกว่าที่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2540 เห็นได้จากการมีมาตรการป้องกันการคุกคามแทรกแซงสื่อไว้ดีพอสมควร เพราะได้นำสิ่งที่ดีจากรัฐธรรมนูญ 2540 เกือบทั้งหมดมาไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นอกจากนี้ร่างรัฐธรรมนูญยังมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นมา ในส่วนของการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรสื่อได้ดีมากขึ้น เช่น การระบุถึงเรื่องการให้มีองค์กรวิชาชีพสื่อมาควบคุมกันเอง แท้ที่จริงในวงการเองก็ดำเนินการอยู่แล้ว แต่เมื่อมาตราไว้อีกครั้งในกฎหมาย ก็ทำให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น

ด้านนางจิราพร วิทยศักดิ์พันธุ์ อาจารย์ประจำคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวในวันเดียวกันนี้ว่า ส่วนตัวคิดว่า ขณะนี้อาจมีการหลงประเด็นกันไป ในเรื่องขององค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ เพราะเดิมช่วงที่มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2542 นั้น ได้มีการอภิปรายเหตุผลรอบด้านมาก โดยมีการพิจาณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้วว่าจำเป็นต้องมี 2 องค์กร คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ดูแลเรื่องคลื่นความถี่และการประกอบกิจการ ส่วนด้านโทรคมนาคมที่แยกมาอย่างสุดขั้ว ไม่สามารถเทียบเคียงกันได้ก็ตั้งเป็นคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) การย้อนกลับมากำหนดให้มีองค์กรอิสระเข้ามาทำหน้าที่เพียงองค์กรเดียว เพราะยังไม่มี กสช. นั้น ตนเห็นว่าเหมือนกับเอาสิ่งที่แพ้ความเห็นไปแล้วมาพูดซ้ำ นำเรื่องความล่าช้าที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งมาเป็นข้ออ้าง ทั้งที่ ไม่ได้เป็นความบกพร่องของรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเรื่องของกระบวนการที่ไม่เป็นไปตามครรลองที่ถูกต้อง ดังนั้น การระบุให้มีเพียงองค์กรเดียว จึงเหมือนกับคืนไปสู่การผูกขาดทางความคิด และเป็นการผูกขาดสิทธิ์ ทำให้ระบบคานอำนาจสูญสลายไป และอาจถูกมองว่ามีเงื่อนงำแฝงเร้นได้

“ในกระบวนการรับฟังความคิดเห็น อาจจะเป็นด้วยข้อจำกัดด้านเวลา และงบประมาณหรือไม่ ตนไม่ทราบ แต่การหารือหรือเปิดเวทีที่ผ่านมา เป็นไปลักษณะเฉพาะกลุ่มและค่อนข้างแคบ ภาคประชาชนไม่ค่อยได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น การยื่นหนังสือบางครั้งก็ถูกเพิกเฉย หรือแม้จะร่วมแสดงความคิดเห็นในเวทีต่างๆ แต่สุดท้ายความเห็นเหล่านั้นก็ไม่ได้มีการนำเข้าไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ” นางจิราพร กล่าว

ยกเลิกกฎเหล็กคุมสื่อ(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  3 ก.ค. 2550) นายณัฐฐวัฒน์  สุทธิโยธิน ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม.ว่า ครม.มีมติยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 5/2549 เรื่อง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  ตามสาระร่างเดิมนั้น กำหนดให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุม ยับยั้ง สกัดกั้น ทำลายการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารทั้งปวง ที่มีบทความ ข้อความ คำพูด หรืออื่นใดอันอาจจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ประกาศไว้ ซึ่งประกาศนี้ออกตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2549
ยกร่างกม.วิทยุและทีวี (สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  25ก.ย. 2550) ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.องค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 21 กันยายนว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างกฎหมายเสร็จในรอบแรกแล้วทุกมาตรา  ในช่วงแรก ที่ประชุมได้ผ่านความเห็นชอบหมวดที่ 4 ว่าด้วยการเผยแพร่รายการ ซึ่งเป็นการวางกรอบเนื้อหาและคุณค่าของรายการโทรทัศน์สาธารณะ เช่น ข่าวสารที่เที่ยงตรง ทันต่อเหตุการณ์ รอบด้านและเป็นธรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษา การเรียนรู้ของเด็ก สุขภาพและคุณภาพชีวิต ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผู้ด้อยโอกาส โดยที่ประชุมมีมติเพิ่มเติมให้การเผยแพร่รายการให้มีรูปแบบที่ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้ด้วย โดยให้นายต่อพงษ์ เสลานนท์ กรรมาธิการเป็นผู้ไปยกร่างบทบัญญัติดังกล่าวมา ในหมวดที่ 5 ว่าด้วยสภาผู้ชม ผู้ฟังรายการ และการรับเรื่องร้องเรียน ที่ประชุมเห็นชอบให้มีสภาผู้ชมจำนวนไม่เกิน 50 คน ประกอบด้วยตัวแทนประชาชนในภูมิภาคและกลุ่มต่างๆ ที่หลากหลาย เป็นแกนนำในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอย่างกว้างขวางต่อการผลิตรายการขององค์การ เพื่อปรับปรุงการผลิตรายการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด

จัดตากม.คุมเข้มสื่อ (สำนักข่าวประชาธรรม  25 ต.ค. 2550) กลุ่มกฎหมายที่จัดได้ว่าเป็นกฎหมายที่ต้องจับตามองอย่างมากไม่แพ้ร่างกม.รักษาความมั่นคง   เพราะเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างมาก  คือกลุ่มกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อจำนวน  8 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดทางคอมพิวเตอร์  ร่างพ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพ่รภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ..... ร่างพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ...... ร่างพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ......  ร่างพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ..... ร่างพ.ร.บ.ปราบปรามวัตถุยั่วยุพฤติกรรมอันตราย พ.ศ...... ร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับแก้ไข)  ร่างพ.ร.บ.กองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ พ.ศ.....        ในจำนวนนี้ พ.ร.บ.ที่ผ่านออกมาแล้วมีผลบังคับใช้ได้แก่พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ปี 2550    นอกนั้นอยู่ระหว่างการชงให้ สนช.พิจารณาและเร่งผลักดันออกเป็นกฎหมาย

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์  เลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูปสื่อ (คปส.) กล่าวว่าการยกกฎหมายสื่อขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่นั้น    กฎหมายหลายฉบับในแวดวงสื่อสารมวลชนเองก็เห็นว่ามีความล้าหลัง ต้องปัดฝุ่น เช่น กฎหมายภาพยนตร์ปี 2473 ที่มีการเปลี่ยนมาเป็นปี 2479  มีความล้าหลังประเทศอื่นอยู่มาก เช่นให้ตำรวจเป็นผู้เซ็นเซอร์ภาพยนตร์  แต่อย่างไรก็ตามตนเองเห็นว่าไม่ควรผลักดันกฎหมายสื่อภายใต้รัฐบาล คมช. ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน   ประชาชนไม่มีส่วนร่วมแสดงความเห็น  อีกทั้งยังมีแนวโน้มการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้มาก เพราะเป็นรัฐบาลทหาร

ตั้งสภาวิชาชีพฯ(ผู้จัดการออนไลน์12 ธ.ค. 2550)  ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน อาทิ ผู้สื่อข่าว นักหนังสือพิมพ์ ผู้ผลิตรายการวิทยุ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ศิลปิน ดารา นักร้อง ผู้ประกอบอาชีพในธุรกิจโฆษณา และอาชีพเกี่ยวกับสื่อทุกประเภท ร่วมลงนามในสัตยาบันจัดตั้งสภาวิชาชีพกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เนื่องจากเห็นว่ายังไม่มีองค์กรวิชาชีพด้านนี้มาดูแลผู้ทำงานสื่อโดยตรง มีเพียงสมาพันธ์สมาคมฯ เท่านั้น

ด้านนางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ระบุว่า การจัดตั้งให้เป็นสภาวิชาชีพแล้ว จะมีองค์กรซึ่งทำหน้าที่ควบคุมจรรยาบรรณ จริยธรรม และการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังช่วยปกป้องผู้ประกอบอาชีพ และพัฒนาคุณภาพบุคลากร รวมทั้งเป็นองค์กรตัวแทนในการพัฒนาและปฏิรูปสื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณะด้วย

ลงนามบันทึกความเข้าใจ(สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ฯ 8 ม.ค. 2551)ณ ห้องพีริดอท 2 ชั้น 3 โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย น.ส.นาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ น.ส.วิมล แซ่ตัน นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันในเรื่องการโฆษณา เสนอข่าว และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อ พ.ศ. 2551 ที่กำกับดูแลการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อย.

กม.ใกล้คลอด (ข่าวสด 11 ส.ค.  2550) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดประชุมคณะกรรม การส่งเสริมและประสานงานสตรีและสถาบันครอบ ครัวแห่งชาติ โดยนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พม. เป็นประธาน น.พ.พลเดช ปิ่นประทีป รมช.พม.รองประธาน โดยมีกรรม การ อาทิ นายวัลลภ พลอยทับทิม ปลัดพม. นางจุรี วิจิตรวาทการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เข้าร่วมประชุม

น.พ.พลเดชกล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบ ครัว พ.ศ.2550 ซึ่งอยู่ระหว่างการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน

สื่อต้องทราบ(มติชนออนไลน์  4 ต.ค. 2550) บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) จัดเสวนา ''กฎหมายเกี่ยวกับความรุนแรงในสตรี เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สื่อมวลชนควรรู้'' โดยมีนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาอาวุโสศาลอุทธรณ์ภาค 4 นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา สนช. นางอภิรดี โพธิ์พร้อม ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ร่วมอภิปราย ให้ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว ที่ชั้น 9 อาคารบริษัท มติชน

นายวัลลภกล่าวว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ออกมาเพื่อคุ้มครองเหยื่อที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในประเด็นที่กระทบกระเทือนจิตใจ และคิดว่าไม่น่าจะกระทบการทำงานของสื่อมวลชน เพราะปัจจุบันผู้สื่อข่าวสายอาชญากรรมจะรู้ว่าเกิดเหตุก่อนแจ้งความอยู่แล้ว ซึ่งไม่เป็นความผิดตามกฎหมายฉบับดังกล่าว เพราะมาตรา 9 ห้ามเผยแพร่ภาพและข่าวของผู้เสียหาย ถ้ามีการแจ้งความเกิดขึ้น ส่วนการนำเหยื่อที่ถูกข่มขืนมาใส่หมวกไหมพรมคลุมหน้าแล้วนำมาแถลงข่าว ก็ทำได้ตามกฎหมาย แต่ไม่น่าจะไปยุ่งเกี่ยว ที่สำคัญไม่ควรเปิดเผยรายละเอียด เช่น ชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่

''บางทีผมไม่เข้าใจว่าทำไมสื่อมวลชนต้องการถ่ายหน้าภาพตาของเหยื่อผู้เสียหายมานำเสนอ เพราะคิดว่าไม่จำเป็นต้องเผยแพร่ก็ได้ ที่ผ่านมามีนักการเมืองบางคนชอบนำเด็กถูกล่วงละเมิดมานั่งแถลงข่าว คิดว่าไม่น่าจะเหมาะสม แต่อาจไม่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อข่าวเงียบหายไปไม่ค่อยมีใครสนใจว่าเด็กพวกนั้นได้รับการดูแลอย่างไรบ้า'' นายวัลลภกล่าว

ขณะที่นายวสันต์ กล่าวว่า การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว สื่อมวลชนต้องศึกษากฎหมายฉบับนี้ให้ดีๆ เขาบอกว่าหากแจ้งความหรือร้องทุกข์แล้ว ห้ามนำเสนอข่าว แต่กรณีที่เข้าใจโดยสุจริตว่ายังไม่มีการร้องทุกข์ เท่ากับไม่รู้ข้อเท็จจริง ขอเรียนไว้ด้วยความเป็นห่วง เพราะสื่อไม่ค่อยรับผิดชอบในการเสนอข้อมูลข่าวสาร ไม่รับผิดชอบว่าคนที่เป็นข่าวจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง ลองคิดถึงใจเขาใจเรา ถ้าเป็นญาติพี่น้องตัวเองดูบ้างจะเป็นอย่างไร ขอความกรุณาเห็นใจบ้าง และจะทำให้วิชาชีพสื่อเป็นวิชาชีพที่มีอิสระได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคม'

ทางด้านนางอภิรดีกล่าวว่า สำหรับหน้าที่ของสื่อมวลชนตามกฎหมายนี้จะต้องพิจารณาใน 2 ด้าน ด้านแรกคือประชาชนทุกคนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสื่อมวลชน แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ทุกกรณีมีข้อยกเว้น ด้านที่ 2 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา สื่อก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ยกเว้นบุคคลสาธารณะ อาทิ นายกรัฐมนตรี นักการเมือง หรือดารา อย่างไรก็ตามบุคคลสาธารณะย่อมได้รับความคุ้มครอง การนำเสนอข่าวความรุนแรงในครอบครัว คนที่ได้รับผลกระทบไม่เฉพาะผู้กระทำความรุนแรง แต่ยังกระทบภรรยาและบุตรด้วย อาจจะถึงขั้นไม่สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเลยทีเดียว ดังนั้นการนำเสนอข่าวของสื่อไม่ควรให้สังคมทราบว่าการกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ต้องไม่ให้บุคคลอื่นทราบว่าครอบครัวนั้นเป็นครอบครัวใด อยู่ที่ไหน อยากฝากให้สื่อมวลชนร่วมกันคุ้มครองสังคมไทยและปกป้องสิทธิของบุคคลอื่นด้วย

นางสาวกัญจนากล่าวว่า มาตรา 9 ที่ห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวความรุนแรงในครอบครัวที่มีการแจ้งความหรือร้องทุกข์แล้วนั้น ความจริงไม่ได้ปิดกั้น ก่อนหน้านี้ สนช.สายสื่อสารมวลชนก็ถกเถียงกันมาก ว่าสื่อมวลชนมีหน้าที่ต้องเสนอเพื่อสะท้อน เตือนสังคม และกระตุ้นเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะถูกละเลย แต่อยากให้สื่อถ่วงดุลผลได้เสียของการเป็นข่าว

ชี้ช่องสื่อนำเสนอข่าว(มติชน 12 ตุลาคม 2550)สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเรื่อง "พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 กับผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพสื่อ" โดยมีตัวแทนบรรณาธิการข่าว นักวิชาการ ตำรวจ และสื่อมวลชนสายข่าวอาชญากรรม เข้าร่วมสัมมนา
พล.ต.ท.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและสอบสวน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามมาตรา 9 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงฯหลายคนมองว่าหากสื่อไม่เสนอข่าวจะทำให้เรื่องราวเงียบไป เพราะถ้าเสนอข่าวผู้ถูกกระทำจะได้รับการปฏิบัติที่ดีจากหน่วยงานต่างๆ ตนเข้าใจสังคมเป็นอย่างนี้ แต่กฎหมายนี้ต้องการให้เป็นความรับผิดชอบของคนในสังคม ดังนั้นหากเสนอข่าวไปแล้วน่าจะทำให้เกิดความเสียหาย สื่อทำงานต้องคิดด้วยจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง การคุ้มครองสิทธิสื่อ รัฐธรรมนูญไม่ห้ามเสนอข่าวอยู่แล้ว แต่ต้องมีการไตร่ตรองก่อนว่าจะเสียหายกับผู้อื่นหรือไม่ การกระทำที่ผิดกฎหมายดูเจตนาเป็นสำคัญ หากมีการแจ้งเหตุรุนแรงแล้วไม่ได้บอกสื่อ การที่สื่อเอาไปเสนอข่าวโดยไม่รู้มาก่อน ก็แสดงว่าไม่มีเจตนาทำผิดกฎหมาย ดังนั้น สื่ออย่าไปกลัวว่าจะทำงานลำบาก แต่ต้องดูดุลพินิจความพอดี ทำแล้วมีคนสรรเสริญหรือต่อว่า อยู่ที่จะใช้ดุลพินิจอย่างไร
ด้านนายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวว่า มาตรา 9 ไม่ได้ควบคุมสื่อเพียงอย่างเดียว เพราะกำหนดผู้ใดไม่ใช่เฉพาะสื่อเท่านั้น ใครก็ตามนำเรื่องมาเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ หน่วยงาน มูลนิธิ องค์กรใดก็ตาม ดังนั้น สื่อเสนอข่าวได้ เพียงแต่ต้องระวัง กฎหมายนี้เริ่มแต่ต้นเมื่อมีการแจ้งความ แจ้งเหตุแล้วทำไม่ได้ คำว่า "น่าจะเสียหาย" คือ เสนอข่าวได้แต่ต้องมีเทคนิค ต้องไปดูเจตนาการเสนอข่าวมากกว่า เพราะบางครั้งสื่อก็อาจจะตกเป็นเครื่องมือขององค์กรหรือมูลนิธิเอกชนต่างๆ ได้

ทบทวนเนื้อหาก.ม. (ผู้จัดการออนไลน์ 9 พ.ค. 2550) นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ ว่ารัฐบาลจะนำร่างพระราชบัญญัติกลับไปพิจารณารายละเอียดภายใน 15 วัน ก่อนจะนำกลับไปที่ประชุม สนช.ให้พิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะรับหลักการ พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลจะใช้ร่างของ สนช.เป็นหลักเพื่อแสดงว่ารัฐบาลมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ขณะเดียวกันรัฐบาลจะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ เข้าสู่ที่ประชุมของ คณะรัฐมนตรี ให้พิจารณาในวันอังคารที่ 15 พฤษภาคมด้วย
ขณะที่ สนช.ส่วนใหญ่ยังคงติดใจเรื่องระยะเวลาที่รัฐบาลนำกลับไปพิจารณาว่า ล่าช้าเกินไป ซึ่งนายธีรภัทร์ ชี้แจงว่า เพื่อให้เนื้อหาสาระ ที่จะทำให้กฎหมายฉบับนี้ มีความสมบูรณ์ และเกิดประโยชน์มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามที่ประชุมได้ มีมติเห็นชอบให้รัฐบาลนำร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ กลับไปพิจารณาด้วยคะแนน 105 ต่อ 19 เสียง

หารือ"สุรยุทธ์"(เนชั่นทันข่าว 9 พ.ค. 2550) ผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน 9 องค์กร นำโดย นางบัญญัติ ทัศนียะเวช ที่ปรึกษาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายมานิจ สุขสมจิตร ที่ปรึกษาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหารือเกี่ยวกับยกเลิกพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484 โดยนายมานิจ แถลงภายหลังการเข้าพบว่า จากการหารือ นายกฯรับว่า จะให้นำร่าง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ ของ สนช.เป็นหลักในการพิจารณา โดยระหว่างการพูดคุย ท่านนายกฯ ได้โทรศัพท์ ไปถึงนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล และ นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ สองรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ระหว่างเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ของรัฐบาล ต่อ สนช. ว่าขอให้นำร่าง จดแจ้งการพิมพ์ ของสนช.เป็นฉบับหลักในการพิจารณา

ด้านนายสุวัฒน์ ทองธนากุล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า พ.ร.บ.การพิมพ์ เป็นกฎหมายที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งมีเนื้อหาหลักหลายประการที่ขัดแย้งกันอย่างชัดแจ้งกับบทบัญญัติในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชนหลายฉบับที่ผ่านมา องค์กรวิชาชีพสื่อเห็นว่าควรสนับสนุน ร่าง ฉบับ สนช. เพราะได้แก้ไขสาระสำคัญจากร่างเดิมที่ล้าสมัยหลายประการ ทำให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบวิชาชีพสื่อมากขึ้น

กม.จดแจ้งการพิมพ์ผ่านฉลุย (มติชน 30 ส.ค.  2550) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเป็นเอกฉันท์ 80-0 เสียง เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.... ในวาระ 3 เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ พ.ร.บ.ฉบับนี้เสนอโดยนางบัญญัติ ทัศนียะเวช

คณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ สนช.ได้แถลงร่วมกัน โดยนางบัญญัติ ซึ่งเคยเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นประวัติศาสตร์ของวงการสื่อมวลชนที่ออก พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ได้สำเร็จ เป็นกฎหมายที่รอคอยกันมาอย่างยาวนาน มีสาระสำคัญเพื่อยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 และได้ยกเลิกประกาศปฏิวัติฉบับต่างๆ ที่เป็นกฎหมายเผด็จการและมีความล้าหลังซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 'ความสำเร็จครั้งนี้เกิดจากการได้รับความร่วมมือจากสมาชิก สนช. และเป็นเพราะความใจกว้างของรัฐบาลที่ไม่ได้ส่งร่างของฉบับรัฐบาลมาประกบ รวมทั้งได้อนุญาตให้กฎหมายของสมาชิก สนช.ผ่านการพิจารณาจากรัฐบาลเพียง 15 วัน นับว่าเป็นความสำเร็จของเราอย่างยิ่ง หลังจากนี้ไปการออกหนังสือพิมพ์จะไม่ต้องขออนุญาต แต่เพียงไปจดแจ้งเท่านั้น ถ้าเราปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ก็ออกสิ่งพิมพ์ได้ โดยเจ้าหน้าที่ก็เพียงรับแจ้งแต่ไม่มีสิทธิปฏิเสธการขอจดแจ้งได้

เปลี่ยนหน่วยงานจดหัวน.ส.พ.(สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ 18 ม.ค. 2551) ผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนนำโดยนายสุวัฒน์ ทองธนากุล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นางบัญญัติ ทัศนียะเวช ที่ปรึกษาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นางสาวนาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายเถกิง สมทรัพย์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นายสมชาย แสวงการ ที่ปรึกษาสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและ สนช. นายภัทระ คำพิทักษ์ ที่ปรึกษานายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สนช. ฯลฯ ได้เข้าพบหารือกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีถึงความคืบหน้าในการออกกฎกระทรวงตามพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 เพื่อให้ผู้ที่ต้องการจดแจ้งออกหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ใหม่ สามารถดำเนินการได้

นายสุวัฒน์ ทองธนากุล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวภายหลังการหารือว่า นายกรัฐมนตรีให้ความยังเห็นชอบกับข้อเสนอขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนที่ต้องการให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานรับจดแจ้งการพิมพ์ แทนที่กระทรวงมหาดไทยที่เคยมีอำนาจตามพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อการให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการออกหนังสือพิมพ์ โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติจะรับจดแจ้งใน กทม.และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจะรับจดแจ้งในส่วนภูมิภาค

 

สื่อกับภาคสังคม

จัด เรตติ้ง(mcot 15 ก.ค. 2550) เครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียน ประกาศล่าชื่อหนุนการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ ดาวโหลดแบบฟอร์มได้ที่ www.me.or.th คาดมีคนหนุนไม่ต่ำกว่า 200,000 รายชื่อ เรียกร้องผู้ผลิตขอเวลาสะอาด 4 ชั่วโมงเพื่อเด็ก ยันรายการ น. และ ฉ. ยังอยู่แต่ปรับเวลา จี้รัฐเป็นตัวกลางประสานผู้ปกครอง ผู้ผลิต ทำความเข้าใจร่วมกัน

เครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา 16 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา ละอออุทิศ กุนนทีรุทธารามวิทยาคม สตรีวัดอัปสรสวรรค์ สตรีศรีสุริโยทัย เทพศิรินทร์ สายน้ำผึ้ง ปทุมคงคา รุ่งอรุณ มหาพฤฒาราม แจงร้อนวิทยา กระทุ่มแบนวิเศษ สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วัดดอนเมือง และสุรศักดิ์มนตรี เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือถึงการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ ที่สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 70 คน

ตั้งกระทู้สดถาม(ไทยรัฐออนไลน์  20 ก.ค. 2550)การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มี พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาวาระกระทู้ถามสดของนายสมชาย แสวงการ สมาชิก สนช. เรื่องการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์(เรตติ้ง) โดยนายสมชายได้ตั้งคำถามว่า จากที่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา ให้กรมประชาสัมพันธ์จัดระดับความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ ซึ่งประกอบด้วยระบบประเมินคุณภาพเนื้อหารายการ และการจำแนกเนื้อหาตามอายุผู้ชม รวมทั้งการกำหนดช่วงเวลาในการออกอากาศตามเรตติ้ง ทำให้ผู้ประกอบการสื่อโทรทัศน์ออกมาต่อต้าน เพราะมีปัญหาในการปฏิบัติ รัฐบาลจะมีมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวทางจัดเรตติ้งของรัฐบาล ถือเป็นความคิดสร้างสรรค์ วันนี้เราควรจะทำอะไรใหม่ๆ เพื่อกลุ่มเด็กและเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ แต่นโยบายการจัดเรตติ้งได้ส่งผลกระทบต่อผู้ ประกอบการ โดยเฉพาะในธุรกิจโฆษณา ซึ่งขณะนี้เกิดความสับสนในแนวนโยบาย เพราะกลุ่มผู้ประกอบการอยากให้ผู้ผลิตควบคุมกันเอง รวมถึงการออกมาคัดค้านของกลุ่มสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ และกลุ่มผู้ผลิตรายการ ดังนั้นรัฐบาลจะหาทางออกและกติกาที่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการ และเป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนอย่างไร

ใช้สื่อรัฐกระตุ้น(ไทยรัฐออนไลน์  20 ก.ค. 2550)นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กล่าวถึงกรณีการเสนอให้ใช้สื่อของรัฐเป็นเวทีกลาง เพื่อให้ 2 ฝ่ายมาแสดงความเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญว่า เห็นด้วยแต่ต้องเป็นในเชิงเนื้อหาสาระ ไม่ใช่การโฆษณา ชวนเชื่อ ต้องทำตามหลักวิชาการ แต่จะให้รัฐบาลไปสั่งให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นว่าเราเข้าไปแทรกแซง จึงอยากให้ทางสถานีคิดได้เองว่าเราควรช่วยกันเสียสละเจียดเวลา ให้ความรู้ด้านการเมืองแก่ประชาชนบ้าง อย่าเน้นแต่รายการบันเทิงมากนักแม้จะไม่ใช่ช่วงไพรม์ไทม์ เนื้อหาการพูดคุยต้องเปิดกว้าง ไม่ใช่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็น่าจะสร้างโอกาสประชาธิปไตย ให้เกิดขึ้นมาได้

คว้ารางวัลสื่อสร้างสรรค์(คมชัดลึก 6 ก.ย. 2550)หนังสือพิมพ์คมชัดลึก คว้ารางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต  Blog Talk คมชัดลึก พาไปคุยกับ "จรูญ ทองนวล" ช่างภาพเครือเนชั่น เจ้าของผลงาน ซึ่งกวาดรางวัลมาแล้วมากมายถึงเบื้องหลังการสรรค์สร้างผลงานยอดเยี่ยม นสพ.คมชัดลึก ที่ได้รางวัล เป็นภาพวางช่อดอกไม้ไว้อาลัยครูสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนพลวิทยา ที่ถูกระเบิดของคนร้ายหน้าร้านนวดแผนโบราณนิวเชอรี่ กลางเมืองหาดใหญ่ และภาพรถนายสุทธิศักดิ์ มะลิสุวรรณ ครูโรงเรียนสอนศาสนาสันติวิทยา ต.ประจัน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ที่คนร้ายตามประกบยิงขณะขับรถไปโรงเรียน คว้า 2 รางวัลสื่อสร้างสรรค์สุขภาพจิต ประจำปี 2550 สาขาภาพข่าวหนังสือพิมพ์ โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทั้งสองภาพถ่ายโดย นายจรูญ ทองนวล ช่างภาพเครือเนชั่น

กวาดแชมป์จากสหรัฐฯ(กรุงเทพธุรกิจ 6 ก.ย. 2550)นายกวี จงกิจถาวร ผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ได้รับรางวัลสื่อส่งเสริมประชาธิปไตยดีเด่นจากรัฐสภาสหรัฐอเมริกา เป็นที่น่าสังเกตุ 4 ประเทศที่ได้รับรางวัลนี้ รวมถึงไทยด้วย ซึ่งเป็นประเทศที่ค่อนข้างมีปัญหาด้านสิทธิเสรีภาพสื่อ รัสเซีย อียิปต์ เวเนซุเอล่า และไทย เปรียบเทียบสถานการณ์ของสื่อของประเทศ

เตือนรู้เท่าทันสื่อ (ผู้จัดการออนไลน์  31 ต.ค. 2550) รศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในการการเสวนาเรื่อง "สื่อกับสุขภาพจิตและชีวิตคนไทย" ในโอกาสที่กรมสุขภาพจิตจัดสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติประจำปี 2550 ว่า การปฏิรูปสื่อมี 3 องค์ประกอบคือ ภาครัฐบาล องค์กรสื่อและภาคประชาชน ซึ่งกระแสต้องการสื่อสาธารณะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ทางการเมือง เมื่อปี 2535 ซึ่งคล้ายคลึงกับการปฏิวัติในปี 2549 ส่วนผลจะออกมาว่า ไทยควรมีโทรทัศน์สาธารณะหรือไม่ วันนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กำลังพิจารณาอยู่ อย่างไรก็ตาม ถือว่าปัจจุบันเป็นยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ประเทศไทยเปรียบเสมือนหนึ่งในสมาชิกหมู่บ้านโลก คือ ทุกคนรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลกผ่านสื่อต่างๆ ตนเป็นห่วงการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในความถี่ที่บ่อยขึ้น จนเกิดการซึมซับ รับรู้ นำไปสู่การเรียนรู้พฤติกรรมรุนแรงโดยไม่รู้ตัว มองเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาในต่างประเทศ เช่น การยิงเพื่อนนักเรียน พฤติกรรมทางเพศ ความรุนแรงต่างๆ ล้วนเกี่ยวข้องกับสื่อทั้งสิ้น สิ่งสำคัญที่ต้องการฝากให้พิจารณาคือ คนไทยควรรู้เท่าทันสื่อ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

หนุนภาพยนตร์เป็นสื่อบรรจุลงรธน. (มติชน  25 เม.ย.  2550)  ที่ห้อง "สัญญา ธรรมศักดิ์" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน นักวิชาการด้านสื่อ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ จัดเสวนาหัวข้อ "รัฐธรรมนูญใหม่กับภาพยนตร์" มีผู้กำกับการแสดงหลายคนเข้าร่วม ผู้ร่วมเสวนาเห็นตรงกันว่ารัฐธรรมนูญควรระบุให้ภาพยนตร์เป็นสื่อเช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ถือเป็นการคุ้มครองเสรีภาพในการสร้างและชมภาพยนตร์ และเป็นการวางรากฐานที่ดีในการพัฒนาภาพยนตร์ไทยต่อไป พร้อมจะนำสรุปผลเสวนาเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)

ธนิตย์ จิตนุกุล ผู้กำกับฯ กล่าวว่า อยากให้ประชาชนเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้สร้าง เพราะที่จริงผลประโยชน์จะตกเป็นของประชาชนทุกคน อยากให้ทุกคนออกมาร่วมต่อสู้ด้วยกัน

สนานจิตต์ บางสพาน ผู้กำกับฯอีกคน กล่าวว่า มีความพยายามในเรื่องนี้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ไม่เคยสำเร็จ ภาพยนตร์ไทยจึงถูกกฎหมายตีกรอบ เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมทุกวันนี้ถึงมีแต่เรื่องผี ตลก และแอ๊คชั่น ไม่ขยับไปไหน

 

ตื่นเด็กดูเว็บลามก(มติชน  28 พ.ค. 2550)นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่าที่ประชุมรับทราบข้อมูลเยาวชนที่เข้าถึงสื่อลามกทางอินเตอร์เน็ต โดยมีการค้นหาคำว่าเซ็กซ์ในอินเตอร์เน็ตสูงถึง 5.8 ล้านครั้ง ในปี 2549 และในเดือนมกราคมที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียวมีการค้นหาแล้วสูงถึง 5 แสนกว่าครั้ง และข้อมูลจากศูนย์รวมสถิติเว็บไทยและสารบัญเว็บไทย หรือ www.truehits.net ได้แสดง 20 คีย์เวิร์ดที่เยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 25 ปี เข้าไปค้นหามากที่สุด 5 อันดับแรก ดังนี้ 1.เกม 8,617,347 ครั้ง 2.ดูดวง 4,387,695 ครั้ง 3.ฟังเพลง 3,669,709 ครั้ง 4.แอบถ่าย 2,483,807 ครั้ง และ 5.มือถือ 2,269,648 ครั้ง การเข้าถึงสื่อลามกทางอินเตอร์เน็ตเป็นเหตุให้เยาวชนถูกล่อลวง มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

ด้านนายอมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. กล่าวว่า เว็บไซต์ลามกเผยแพร่ทางอินเตอร์กว่า 100 ล้านเว็บไซต์ ซึ่งเป็นของต่างประเทศ ฉะนั้นในต่างประเทศมีปัญหานี้มากกว่าไทย จึงไม่ต้องไปตื่นตกใจเพราะถือเป็นเรื่องปกติของเด็กสมัยนี้ แต่สิ่งที่ต้องมาคิดคือทำอย่างไรให้มีเว็บไซต์ที่ดีบนโลกไซเบอร์ให้มากเพื่อแข่งกับเว็บไซต์ลามกเหล่านั้น เพราะปัจจุบันเด็กไทยใช้เวลาอยู่กับอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง รัฐบาลจึงควรลงทุนจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เพื่อจะได้สนับสนุนให้เกิดเว็บไซต์ที่ดี นอกจากนี้จะต้องเพิ่มทักษะชีวิตเรื่องเพศศึกษาให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ศธ.ก็ดำเนินการอยู่ แต่จะต้องทำให้แพร่หลายมากกว่านี้เพื่อเยาวชนจะได้รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง

 

แจ้งความเอาผิด “สนธิ”(มติชน 16 มี.ค. 2550)ที่กองบังคับการกองปราบปราม (บก.ป.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต ส.ส.เชียงใหม่ และประธานเครือข่ายพลังประชาชนเพื่อประเทศไทย เข้าพบ พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร ผบก.บก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) และนายสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ข้อหาสนับสนุนหรือสมคบคิดกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 และแจ้งความเพิ่มเติมกับนายธีรภัทร์ และนายปราโมช ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยนำหลักฐานประกอบด้วย หนังสือกรมประชาสัมพันธ์, เอกสารคำฟ้องคดี, บทสัมภาษณ์ใน น.ส.พ.มติชน ฉบับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2550, บทสัมภาษณ์โดยผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 และแผ่นดีวีดีรายการ "ยามเฝ้าแผ่นดิน" ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 รวม 11 ชิ้น มอบให้กับพนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน

สั่งจำคุกอดีตแกนนำพันธมิตร (กรุงเทพธุรกิจ 29 มี.ค.  2550)ศาลมีคำพิพากษา ให้จำคุก นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นเวลา 2 ปี ในความผิดฐาน หมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา โดยคดีนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัทไทยเดย์.ดอทคอม ผู้ผลิตรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ นายจิตนาถ ลิ้มทองกุล ผุ้บริหารบริษัทไทยเดย์ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์และกับพวก รวม 10 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัทเมเนเจอร์ จำกัด มหาชน และเวบไซค์ผู้จัดการในความผิดฐาน ร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา

กรณีเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2548 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 10  ที่ วัดป่าบ้านตาด โดยได้กล่าวข้อความ หมิ่นประมาทนายภูมิธรรม ทำนองว่า เคยเป็น อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งไม่เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์

ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ขณะนี้นายสนธิ ได้ดำเนินการยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เพื่อขอประกันตัว โดยนายสนธิ กล่าวว่าจะยื่นอุทธรณ์เพื่อต่อสู้คดีต่อไป

 

อ้างผิดกม.การพิมพ์ (ผู้จัดการออนไลน์                30 เม.ย. 2550)  น.ส.กมลทิพย์ หิรัญประเสริฐสุข บรรณาธิการข่าว นสพ.ลานมะพร้าว เปิดเผยว่า กองบรรณาธิการลานมะพร้าว ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์ ภาควิชาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับแจ้งจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ต.แสนสุข จ.ชลบุรี ทำหนังสือแจ้งถึงทางมหาวิทยาลัยว่าหนังสือพิมพ์ “ลานมะพร้าว”กระทำผิด พ.ร.บ.การพิมพ์ เนื่องจากมิได้ขออนุญาตการออกหนังสือพิมพ์จากเจ้าพนักงานการพิมพ์แต่อย่างใด โดยยกนิยาม “หนังสือพิมพ์” ตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.การพิมพ์มาอ้าง และเรื่องดังกล่าวถูกส่งถึงสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เพื่อให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.การพิมพ์

“ขณะนี้คงต้องรอให้สภาการหนังสือพิมพ์พิจารณาตีความว่าหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาเข้าข่ายผิด พ.ร.บ.การพิมพ์หรือไม่ ซึ่งหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ออกเพียง 3 ฉบับต่อปีเท่านั้น เพราะเป็นหนังสือพิมพ์ที่ใช้ฝึกปฏิบัติในการศึกษา และจากการสอบถามเพื่อนๆ ต่างมหาวิทยาลัยที่ทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติเหมือนกันก็ทราบว่าหนังสือพิมพ์ของแต่ละสถาบันก็ไม่ได้จดทะเบียนหัวหนังสือพิมพ์เช่นกัน จึงไม่เข้าใจว่าทำไมหนังสือพิมพ์ลานมะพร้าวจึงถูกฟ้องร้อง และหากวันใด นสพ.เราโดนปิด วันนั้นเราจะประกาศ ให้สาธารณชนรู้ว่าอิสรภาพในการทำข่าวมันไม่มีจริง”

โวยถูกตัดสัญญาณ(มติชน 20 มี.ค. 2550)นายจตุพร พรหมพันธุ์ รองประธานกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์พีทีวี กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีทีวี ภายหลังจากที่ถูกสั่งปิดสัญญาณออกอากาศว่า พีทีวีจะรอดูความชัดเจนจากบริษัท เวิลด์ เอนเตอร์เทนเมนท์ เน็ตเวิร์ค จำกัด ในฐานะคู่สัญญาที่พีทีวีเช่าช่องสัญญาณเอ็มวีทีวี สตาร์ แชนแนล ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับไทยคม โดยบริษัทเวิลด์ฯแจ้งว่า ขอเวลา 1 วันเพื่อแจ้งความชัดเจน อย่างไรก็ตามแนวทางของพีทีวีได้วางไว้ใน 2 แนวทางคือ 1.หากไม่ได้ออกอากาศจะดำเนินการทางคดีฟ้องร้องบริษัทเวิลด์ฯ เนื่องจากได้ทำสัญญากับบริษัทดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 2.การชุมนุมที่ท้องสนามหลวง โดยมาตรการจบลงแล้ว รอแต่บริษัทเวิลด์ฯเป็นผู้แจ้งมายังพีทีวีเท่านั้นว่าออกอากาศได้หรือไม่ หากไม่ได้ก็จะตั้งเวทีท้องสนามหลวง

รมว.กลาโหมขอเลื่อน (มติชน 12 มิ.ย. 2550) ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ครั้งแรก คดีบริษัทเพื่อนพ้อง น้องพี่ จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีทีวี โดยนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานบริหาร เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นจำเลย ฐานหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหายจำนวน 50 ล้านบาท กรณีเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2550 ให้สัมภาษณ์กล่าวหากลุ่มพีทีวีได้รับเงินจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาเคลื่อนไหว ซึ่ง พล.อ.บุญรอดมอบอำนาจให้ทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดไต่สวน อ้างเหตุกำลังรวบรวมพยานหลักฐานมอบให้กับพนักงานอัยการต่อสู้คดี ซึ่งศาลเห็นมีเหตุจำเป็น จึงมีคำสั่งเลื่อนเป็นวันที่ 20 สิงหาคม เวลา 13.30 น.

 

ศาลยกฟ้อง'สนธิ” (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 28 มิ.ย.2550) ศาลอาญามีการพิพากษายกฟ้องคดีที่พลเรือโท เกียรติศักดิ์ ดามาพงษ์ เป็นโจกย์ยื่นฟ้องนายสนธิ  ลิ้มทองกุล  อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อปชต. กับพวกรวม 9 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นปะมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา

ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 24 มค. 49 นสพ.ผู้จัดการรายวันลงพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งกรณีการขายหุ้น ชินคอร์เปอร์เรชั่น โดยมีการระบุข้อความถึงตระกูลดามาพงษ์ร่วมกับตระกูลชินวัตร ทำนองว่าขายหุ้นโกงชาติ  และเมื่อวันที่ 4 - 5กพ. 49 นายสนธิ จำเลยที่ 1 ได้กล่าวปราศรัย ในการจัดรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ภาคพิเศษที่ลานพระบรมรูปทรงม้า กล่าวหาว่าตระกูลชินวัตร และตระกูลดามาพงศ์ โกงกันทั้งโคตร

หนุนฟ้องหมิ่นประมาท(ผู้จัดการออนไลน์  10 ก.ค. 2550) รายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน โดย คำนูณ สิทธิสมาน, ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ หนุน นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะดำเนินคดีกับหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ที่ลงโฆษณาของกลุ่มต่อต้านรัฐธรรมนูญโดยมีข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท ว่า สนับสนุนให้นางสดศรีฟ้อง เพราะเมื่อดูข้อความในโฆษณาดังกล่าวแล้ว เข้าข่ายติดคุกแน่นอน  ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ติงผู้บริหารมติชน ควรยืนข้างความถูกต้อง อย่าเห็นแก่เม็ดเงินโฆษณา พร้อมระบุร่างงบประมาณปี 51 ของรัฐบาลขิงแก่ เข้าข่ายสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 เพราะอ้างแนวทางต่างจากรัฐบาลทักษิณสุดขั้ว แต่เนื้อในกลับเป็นเรื่องเดียวกัน

ต่อมานางสดศรี สัตยธรรม ส.ส.ร. ในฐานะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า หนังสือพิมพ์ไม่ว่าฉบับใดก็ตามไม่มีสิทธิที่จะหมิ่นประมาทด้วยการเอาสิ่งไม่จริงมาพูด ดังนั้นจึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย และขอให้หนังสือพิมพ์มติชนช่วยตระหนักด้วยว่าท่านมีจรรยาบรรณของท่านอยู่ การที่จะลงประชาสัมพันธ์ในลักษณะกล่าวหาบุคคลอื่นเช่นนี้เป็นการผิดหรือไม่ อย่านึกว่า พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติยังไม่ออกแล้วจะไม่มีโทษ เพราะการหมิ่นประมาทคนก็ต้องมี

ฟ้องโพสตร์พับบิชชิ่ง (ผู้จัดการออนไลน์ 24 ก.ค. 2550) ศาลแรงงานกลาง อ่านคำพิพากษาคดีนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ อดีตหัวหน้าข่าวความมั่นคงหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท Post Publishing Public จำกัด (มหาชน) และผู้เกี่ยวข้องเรียกค่าเสียหาย 13 ล้านบาท กรณีเสนอข่าวรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิร้าว จนถูกให้ออกจากงาน ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การเสนอข่าวเป็นอำนาจของกองบรรณาธิการ และไม่ทำให้หนังสือบางกอกโพสต์เสียหาย จึงให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ตำแหน่งและอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม และให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัท Post Publishing Public จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ประมาณ 620,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันเลิกจ้าง ส่วนกรณีโจทก์เรียกเงินจำนวน 13 ล้านบาท ให้ยกฟ้อง

เลื่อนอ่านนัดฟังคำพิพากษา(ผู้จัดการออนไลน์  24 ม.ค. 2551)ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีที่ นายบัญชา ปัตตนาภรณ์ ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด หรือ บทม. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องบริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) และนายโกวิท สนั่นดัง บก.ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 ม.48 จากกรณีที่เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2548 จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 9 ส.ค.2548 ว่า ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ ยืนยันว่าทางวิ่งของสนามบินสุวรรณภูมิแตกร้าวจำเป็นต้องสร้างใหม่ ไม่ใช่รอยแตกร้าวเล็กบนไหล่ทางวิ่ง อย่างที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนำผู้สื่อข่าวไปดู” รวมทั้งข้อความอื่นๆ โดยการกระทำของจำเลย ทำให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทั่วโลกเกิดความหวาดกลัวในความปลอดภัยต่อนักบินอากาศยานต่างๆ ในโลกที่นำเครื่องบินมาลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว การค้า การขนส่งทางอากาศ และกระทบรายได้ของโจทก์

โดยวันนี้ นายวัชรินทร์ อธิพรชัย ทนายความโจทก์ และนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความจำเลย ยื่นคำร้องแถลงต่อศาลร่วมกัน ขอเลื่อนนัดพิพากษาคดีออกไปก่อน โดยระบุว่าคณะกรรมการของโจทก์มีมติเห็นชอบให้ถอนฟ้องจำเลยทั้งสองแล้ว แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอมติให้ พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม พิจารณาเห็นชอบก่อน

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นความผิดที่ยอมความได้ หากโจทก์และจำเลยตกลงกันได้และขอถอนฟ้องไป ย่อมเป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย ประกอบกับข้อเท็จจริงปรากฏว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ กรณีมีเหตุสมควรจึงเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 14 พ.ค.นี้ เวลา 09.00 น.

สหภาพแรงงานเคลื่อน(สำนักข่าวไทย  27 ม.ค. 2551)สหภาพแรงงาน นสพ.บางกอกโพสต์นัดประชุมวาระด่วนบ่ายพรุ่งนี้ เสนอให้ผู้บริหารรับอดีตหัวหน้าข่าวที่เสนอข่าวรันเวย์สุวรรณภูมิร้าวกลับเข้าทำงานหลัง ทอท.และ บทม. ถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาท แต่ไม่ยุ่งกรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

น.ส.จรินภร นิยม ประธานสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เปิดเผยว่า ในช่วงบ่ายวันพรุ่งนี้ (28 ม.ค.) ได้เชิญคณะกรรมการสหภาพแรงงานประชุมวาระเร่งด่วน เพื่อพิจารณาข้อเสนอถึงผู้บริหารกรณีของนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ อดีตหัวหน้าข่าวสายความมั่นคง ที่ถูกเลิกจ้างไป เพราะเสนอข่าวรันเวย์สุวรรณภูมิร้าว เนื่องจากล่าสุดบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และบริษัทท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด หรือ บทม. ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยื่นฟ้องหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฐานหมิ่นประมาทจากการตีพิมพ์ข่าวดังกล่าวได้ขอถอนฟ้องแล้ว โดยจะเสนอให้ส่งตัวแทนคณะกรรมการสหภาพฯ ไปเจรจากับผู้บริหารว่า เมื่อมีการถอนฟ้องแล้ว บริษัทก็ควรจะถอนอุทธรณ์ และรับนายเสริมสุขกลับเข้าทำงานพร้อมจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนของนายจ้างให้ตามคำพิพากษาศาลแรงงานชั้นต้น

ส่วนกรณีที่นายเสริมสุข ยื่นอุทธรณ์เรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ทำให้ขาดรายได้เป็นเวลา 23 เดือน จากทางบริษัทนั้น น.ส.จรินภร กล่าวว่า สหภาพฯ จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะเป็นประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันเอง.

ยกคดีหญิงอ้าฟ้องหมิ่น(คมชัดลึก 10 ก.ย. 2550) ศาลมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ,บริษัท สารสู่อนาคต จำกัด เจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ,นายโรจน์ งามแม้น ,นางกรรณิกา วิริยะกุล กรรมการผู้มีอำนาจ และนายทวีสิน สถิตย์รัตนชีวิน บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา เป็นจำเลยที่ 1- 5 ในความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณาด้วยเอกสาร และความผิดตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 4 และ 48

ศาลประทับรับฟ้อง(กรุงเทพธุรกิจ     20 ก.ย. 2550)ศาลนัดฟังคำสั่งคดีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคไทยรักไทย มอบอำนาจให้นายนพดล มีวรรณะ ผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว.กทม. นายชัยอนันต์ สมุทรวณิช นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ และคอลัมนิสต์ บริษัทไทยเดย์ ด็อท คอม จำกัด ผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบ ดาวเทียม ASTV นายจิตต นาถ ลิ้มทองกุล นายพชร สมุทวณิช นายขุนทอง ลอเสรีวานิช กรรมการ บ.ไทยเดย์ ฯ บริษัท แมเนจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน) น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรงค์ ผู้บริหารแผนฟื้นฟู บมจ.แมเนเจอร์ และนายปัญจภัทร อังคสุวรรณ ผู้ดูแลเว็บไซด์ แมเนเจอร์ เป็นจำเลยที่ 1-11 ในความผิดฐานหมิ่นประมาท และดูหมิ่นด้วยการโฆษณา

สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 24 -28 พ.ค.49 พวกจำเลยจัดเสวนาเรื่อง ปฎิญญาฟินแลนด์ ยุทธศาสตร์ครองเมืองของไทยรักไทย ซึ่งถ่ายทอดสดออกอากาศทางสถานี โทรทัศน์ ASTV และเว็บไซด์ผู้จัดการ หมิ่นประมาทโจทก์ว่า ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปสู่การปกครองในระบอบทักษิณ โดยมุ่งหมายเข้าบริหารประเทศตามปฏิญญาฟินแลนด์

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1-9 และ11 ส่วนจำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูของบมจ.แมเนจอร์ มีเดีย กรุ๊ปนั้น โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 10 มีส่วนรู้เห็นกับการจัดเสวนาตามฟ้องแต่อย่างใด จึงพิพากษายกฟ้อง และจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 10 ออกจากสารบบความ โดยมีคำสั่งให้ประทับรับฟ้องไว้เฉพาะจำเลยที่ 1-9 และ 11และนัดสอบคำให้การจำเลยพร้อมตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 11 ธ.ค.นี้ เวลา 09.00 น.

ศาลอาญาสั่งจำคุก (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 13 ธ.ค. 2550)ศาลอาญาพิพากษาว่าบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์บันเทิงดาราเดลี่ มีส่วนต้องรับผิดชอบในการกระทำผิดครั้งนี้ เพราะลงข่าวหมิ่นประมาทและกระทำผิดพระราชบัญญัติการพิมพ์ โดยศาลพิพากษาสั่งจำคุกบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา 1 ปี ปรับ 100,000 บาท แต่จำเลยไม่เคยกระทำผิดมาก่อน จึงสั่งให้รอลงอาญาโทษจำคุก 2 ปี และหนังสือพิมพ์ดาราเดลี่ต้องลงข้อความขอโทษครูสลา คุณวุฒิ และต่ายอรทัย ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารรวม 4 ฉบับ เป็นเวลา 7 วัน

 

ยกฟ้อง"มติชน" (มติชนออนไลน์  13 ธ.ค. 2550)ผู้พิพากษาศาลจังหวัดภูเก็ต ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ 2920/2547 ระหว่างนายตัน เต็กไฮ หรือ วาเลนติโน โจทก์ และบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) กับพวก จำเลย เรื่องร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณากล่าวหาโจทก์บุกรุกป่าสงวนฯ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การนำเสนอข่าวของหนังสือมติชนประจำวันที่ 5 พฤษภาคม 2545 นำเสนอตามหนังสือที่นายโกวิท ศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพังงา มีถึงผู้บังคับการตำรวจป่าไม้ และผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เรื่องการสอบสวนกรณีเจ้าพนักงานทุจริตออกเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. ในป่าสงวนฯ อ.เกาะยาว จ.พังงา และต่อมานายตันได้ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินคดีตามกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน และ พ.ร.บ.ป่าไม้ จึงเป็นการเสนอข้อความตรงตามข้อเท็จจริงในเอกสารราชการ เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต ด้วยความเป็นธรรม จึงพิพากษายกฟ้อง

 

สื่อปะทะสื่อจับผิดกันนัว(ผู้จัดการออนไลน์ 11 ก.ค. 2550) เว็บไซด์ไทยรัฐออนไลน์ลงภาพประกอบข่าว นศ.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี ชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลก ซึ่งนศ.คนขวามือสุดประคองพระบรมฉายาลักษณ์ไว้กับหน้าอก และอีกคนที่อยู่กลางภาพถือพระบรมฉายาลักษณ์ไว้กับอกเช่นกัน ขณะที่ภาพจากหน้า 1 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 10 ก.ค. 2550 เหตุการณ์เดียวกันและมุมเดียวกัน แต่ภาพพระบรมฉายาลักษณ์หายไป เป็นเหตุให้ 11 ก.ค. ในรายการยามเฝ้าแผ่นดิน นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ และนางสโรชา พรอุดมศักดิ์ ร่วมดำเนินรายการ โดยในช่วงแรกได้กล่าวถึงกรณีที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่ 10 ก.ค.50 ลบภาพพระบรมฉายาลักษณ์ออกจากภาพเยาวชนไทยชนะเลิศแข่งขันหุ่นกู้ภัยโลก ซึ่งหลังจากมีการนำเสนอทางรายการและเป็นข่าวทางเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์แล้ว มีประชาชนสนใจอ่านจำนวนมาก และเกือบทั้งหมดมีปฏิกิริยาที่ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงอยากให้ผู้บริหารไทยรัฐตรวจสอบเรื่องดังกล่าว หรือแสดงท่าทีอะไรออกมา ไม่อยากให้นิ่งเฉย

แจงข้อเท็จจริงละเอียดยิบ(ไทยรัฐออนไลน์ 16 ก.ค.2550)หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ลงบทบรรณาธิการว่า  เหตุผลแห่งความเคารพเทิดทูนและต้องการให้สมพระเกียรติ เนื่องเพราะพระบรมฉายาลักษณ์ทั้ง 2 ภาพที่คณะนักศึกษาอัญเชิญนั้น อยู่ในลักษณะที่ผู้อัญเชิญคุกเข่าลง ทำให้มีบุคคลอื่นยืนสูงกว่า ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่เรายึดถือมาโดยตลอด ว่าการปรากฏภาพพระบรมฉายาลักษณ์ทุกครั้งจะต้องอยู่ในลักษณะที่เหมาะสม

เราตระหนักดีว่า ผู้อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ทุกท่านล้วนมีเจตนาดี แต่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงบ่อยครั้งที่มีลักษณะเช่นนี้ โดยเฉพาะในการแข่งขันกีฬาหลายประเภท ซึ่งโดยปกติเราก็จะไม่นำลงให้ แต่เนื่องจากผลงานของนักศึกษากลุ่มนี้เป็นที่น่าชื่นชมยินดี และควรเป็นตัวอย่างแก่เยาวชนอื่นๆในการที่จะแข่งขันกันกระทำความดีเพื่อชื่อเสียงของประเทศชาติ เราจึงได้ตัดสินใจนำภาพนี้ลงประกอบข่าว แต่เพื่อ ให้เกิดความเหมาะสม จึงได้ดำเนินการดังที่เรียนไว้ข้างต้น

ดังนั้น หากการกระทำดังกล่าวนำไปสู่ความรู้สึกที่ท่านผู้อ่านเห็นว่าไม่สมควรและไม่เหมาะสม เราก็ใคร่กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ แต่ก็ขออนุญาตเรียนย้ำถึงความบริสุทธิ์ ใจและเจตนารมณ์ของเราทุกคนว่าเป็นการกระทำเพื่อถวายความจงรักภักดีโดยแท้ เพื่อให้สมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันสูงสุดที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเทิดทูนเหนืออื่นใด เราหนังสือพิมพ์ไทยรัฐทุกคนขอยืนยันในความจงรักภักดี และพร้อมที่จะดำเนินการทุกสิ่งทุกประการเพื่อปกป้องสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้จะต้องแลกด้วยชีวิตของเราก็ตาม

 

ฟ้องหมิ่นประมาท(ผู้จัดการรายวัน 28 ต.ค. 2550)รายงานข่าวจากศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เปิดเผยว่า บริษัทวัชรพล จำกัด เจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ” ยามเฝ้าแผ่นดิน” กับพวกอีก 4 คนคือ บริษัทไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัดในฐานะเจ้าของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เอเอสทีวี นายปัญจภัทร อังคสุวรรณ ผู้ดูแลเว็บไซต์ แมเนเจอร์ ออนไลน์ นายขุนทอง ลอเสรีวานิช บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันและบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันเป็นจำเลยในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา

ทั้งสองคดี เป็นเรื่องที่นายสนธิพูดในรายการยามเฝ้าแผ่นดิน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม และวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 กรณีหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐลงภาพข่าวหน้า 1 รูป ทีมนักเรียนไทยที่ไปคว้าแชมป์ โลก ในการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลกที่สหรัฐฯ เดินทางกลับถึงประเทศไทย มีการถ่ายรูปร่วมกันที่สนามบิน โดยอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมาร่วมถ่ายด้วย แต่ไทยรัฐจงใจลบพระบรมฉายาลักษณ์ออก นายสนธิเห็นว่าไม่เหมาะสมและเรียกร้องให้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐแสดงความรับผิดชอบ รวมทั้งให้ผู้ชมรายการเลิกซื้อหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเป็นการตอบโต้

นายสนธิยังได้วิจารณ์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐในหลายเรื่อง เช่น การเสนอข่าวที่ไม่ประเทืองปัญญา การรับใช้ระบอบทักษิณของ คอลัมนิสต์บางคน การบีบให้เอเย่นต์หนังสือพิมพ์ ไม่ให้รับหนังสือที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ไทยรัฐ เป็นต้น

ศาลมีคำสั่ง นัดไต่สวนมูลฟ้องทั้งสองคดีในวันที่ 24 ธันวาคม 2550 และวันที่ 21 มกราคม 2551 ตามลำดับ ทั้งสองคดีนับว่า เป็นคดีประวัติศาสตร์ที่หนังสือพิมพ์ ซึ่งมักจะเป็นฝ่ายถูกฟ้องหมิ่นประมาทจากบุคคลอื่น กลับเป็นฝ่ายฟ้องหนังสือพิมพ์ด้วยกันเอง เพราะไทยรัฐเป็นหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ทรงอิทธิพล ที่ไม่เคยมีใครกล้าแตะต้องมาก่อน แต่ต้องมาถูกนายสนธิตำหนิ ติติง พฤติกรรมของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อย่างตรงไปตรงมาเป็นครั้งแรก

 

คุกคามสื่อสารมวลชน

มือมืดสาดกระสุน (เดลินิวส์ 30 ม.ค. 2550)ศูนย์วิทยุประชาชนร่วมด้วยช่วยกันได้รับแจ้งว่า มีคนยิงกระสุนปืนเข้าใส่สำนักงานหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พบความเสียหาย 2 จุด คือ 1) ด้านกำแพงอาคารจอดรถ ชั้น 2 โรงแรมรามาการ์เด้นท์ ลักษณะเป็นหลุม ลึกประมาณ 1 นิ้ว กว้าง 8 นิ้ว ทะลุด้านในและด้านนอก 2) หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดนพื้นถนนด้านในของเดลินิวส์ เป็นหลุมกว้างประมาณ 3 นิ้ว ลึก 1 นิ้ว  โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแจ้งว่า ได้ยินเสียงระเบิดก็เลยวิ่งไปดู พบลูกไฟ ลักษณะยิงมาจากภายนอก และพบแรงระเบิดซึ่งทำให้หลอดไฟแตก จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่นั้น ในเบื้องต้นคาดว่าเป็นเครื่องยิงลูกระเบิด ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล มาในที่เกิดเหตุมาหลายนาย กำลังร่วมตรวจสอบในที่เกิดเหตุอยู่

เยื่ยมผู้สื่อข่าวเหยื่อระเบิด(ศูนย์ข่าวอิศรา www.tjanews.org 17 ก.ค. 2550)นายไชยยงค์ มณีพิลึก นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ภาคใต้และตัวแทนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสถาบันข่าวอิศรามอบดอกไม้แสดงความห่วงใยแก่ผู้สื่อข่าวที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดกลางเมืองยะลา

สันติบาลยึดหนังสือ(garork@yahoo.com 2 ต.ค. 2550) สันติบาลยึดหนังสือ "ค่อนศตวรรษประชาธิปไตยที่เต็มไปด้วยขวากหนาม" ที่อ.สุลักษณ์เขียน พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสันติบาลอ้างว่า กระทบความมั่นคง

บุกเผ่ารถนักข่าว(เดลินิวส์ 10 ม.ค. 2551)นายสำเริง คำสนิท อายุ 39 ปี ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน และหนังสือพิมพ์ข่าวสด ประจำจังหวัดอ่างทอง เวลา02.00 น. (9 ม.ค.) ขณะกำลังนอนหลับอยู่ในตัวบ้านได้ยินเสียงดังเหมือนอะไรระเบิด จึงได้ลุกออกมาดูเห็นรถยนต์ของตนที่ใช้ออกทำข่าวได้ถูกเผา จนไฟลุกท่วมไปทั้งคัน จึงรีบนำน้ำมาดับ แต่ไม่สามารถดับได้ ก่อนจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ เบื้องต้นสาเหตุ เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า น่าจ ะเป็นการที่นำเสนอข่าวที่ตรงไปตรงมา

ด้านนางสุชัญญา มังคละ อายุ 38 ปี  ภรรยานายสำเริง กล่าวว่า การที่ถูกคนร้ายลอบเผารถยนต์ในครั้งนี้ น่าจะมาจากการเสนอข่าวการเมืองในท้องถิ่นมากกว่าอย่างอื่น และครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่นักข่าวของจังหวัดอ่างทอง ถูกลอบทำร้าย โดยครั้งแรกเป็นนักข่าวของช่อง 3 และเดลินิวส์ ที่ถูกคนร้ายดักทำร้ายร่างกาย และปากระจกบ้านจนแตก แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ แม้จะมีพยานเห็นคนร้ายก็ตาม

 

กิจการและธุรกิจสื่อ

เคเบิลภูธรจับมือสู้ยูบีซี(ประชาชาติธุรกิจ  30 ส.ค. 2550)สมาคมเคเบิลทีวีฯเปิดเกมรุกยกระดับภาพลักษณ์เคเบิลทีวีท้องถิ่น ใช้กลยุทธ์จัดช่องออกอากาศใหม่ระบบเดียวกันทั่วประเทศ ดึงผู้ผลิตคอนเทนต์ไทยแถวหน้าร่วมวงเพียบ พร้อมจัดแพ็กเกจใหม่ 40 ช่องรายการ สู้แพ็กเกจราคาถูกของยักษ์ ยูบีซีหวังลบภาพผู้ประกอบการเถื่อน ลักลอบดึงสัญญาณต่างประเทศมาขาย รอลุ้นกฎหมายใหม่ช่วยวางมาตรฐานการแข่งขันที่เป็นธรรมขึ้น
นายเกษม อินแก้ว นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ทางสมาคมเคเบิลทีวีฯได้ร่วมมือกับสมาชิกสมาคมทั่วประเทศทำการยกระดับภาพลักษณ์ของตัวเองใหม่ โดยมีแผนปรับแพ็กเกจรายการให้ผู้ให้บริการแต่ละรายออกอากาศไม่ต่ำกว่า 40 ช่องราย การ พร้อมทั้งจัดช่องออกอากาศใหม่ให้เป็นช่องเดียวกันทั่วประเทศ พร้อมทั้งมีแนวคิดที่จะพัฒนาให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นเป็นสื่อใหม่อีกสื่อหนึ่งที่เป็นทางเลือกของบรรดาเจ้าของสินค้าและมีเดียเอเยนซี่ ขณะเดียวกันยังเป็นแนวทางที่ดีของการเริ่มต้นวัดเรตติ้ง (ความนิยม) ของช่องรายการต่างๆ อีกด้วย

นายเกษมกล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นมีจำนวนช่องรายการที่ออกอากาศอยู่มีตั้งแต่ไม่ถึง 40 ช่องรายการ กระทั่งไป 80 ช่องรายการ โดยทางสมาคมมีแนวทางจัดแพ็กเกจรายการใหม่ให้มีจำนวนช่องรายการออกอากาศอย่างต่ำไม่น้อยกว่า 40 ช่องรายการ ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมได้ลงทุนอีกประมาณ 1 ล้านบาท สำหรับพัฒนาเครื่องรับสัญญาณเคเบิลทีวีให้รับสัญญาณได้อย่างต่ำ 40 ช่องรายการแล้ว และพร้อมกันนี้ทางสมาคมยังได้จัดช่องออกอากาศใหม่ ให้ช่องที่ 20-40 ออกอากาศคอนเทนต์ช่องเดียวกันทั่วประเทศอีกด้วย คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ (เริ่มปรับเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา)

"ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเคเบิลทีวีที่ให้บริการช่องรายการต่ำกว่า 40 ช่อง ประมาณ 25% ที่เหลือส่วนใหญ่ประมาณ 60 ช่องรายการ และสูงสุดออกอากาศ 80 ช่องรายการ ส่วนใหญ่ล้วนเป็น

คอนเทนต์ไทยแทบทั้งสิ้น เพราะคอนเทนต์ต่างประเทศส่วนใหญ่จะถูกผูกขาดจากผู้ประกอบการรายใหญ่" นายเกษมกล่าว

นายเกษมกล่าวว่า ปัจจุบันเคเบิลท้องถิ่นได้รับความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการคอนเทนต์คนไทยระดับแถวหน้าของประเทศจำนวนมากที่นอกจากจะออกอากาศผ่านดาวเทียมทั่วประเทศและทั่วโลกแล้วยังได้นำช่องรายการมาออกอากาศทางเคเบิลทีวีท้องถิ่นอีกด้วย อาทิ เฮลท์พลัส

แชนเนล, เนชั่น แชนเนล, ASTV, ช่องข่าว news 1, เอ็มทีวี, ไลฟ์ทีวี, AFC TV, MV เป็นต้น โดยทางสมาคมทำหน้าที่เป็นเน็ตเวิร์กโพรไวเดอร์อย่างชัดเจน โดยแนวทางดังกล่าวนี้ยังเป็นการลบภาพของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่มักถูกมองว่าเป็นผู้ให้บริการเถื่อนไม่มีใบอนุญาตและชอบลักลอบดึงสัญญาณจากต่างประเทศเข้ามาให้บริการ

นอกจากนี้ ทางสมาคมยังมีแนวทางในการพัฒนาเคเบิลทีวีท้องถิ่นให้เป็นสื่อที่มีความใกล้ชิดกับผู้บริโภคในท้องถิ่น โดยระดมทีมข่าวทั่วประเทศรวมกว่า 100 ทีมสำหรับทำข่าวภูมิภาคในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยสมาคมจะเป็นตัวกลางในการประสานงานและจัดสรรรายการข่าวไปออกอากาศตามความต้องการของผู้ให้บริการแต่ละราย ขณะเดียวกันในอนาคตสมาคมยังจะเป็นตัวกลางในการสำรวจความนิยม (วัดเรตติ้ง) ช่องรายการต่างๆ อีกด้วย

สื่อไซเบอร์โตสวนเศรษฐกิจ (ผู้จัดการรายวัน 4  ก.ย. 2550 )นางสาวกรณิการ์ กลีบแก้ว ผู้จัดการ ฝ่ายอินเทอร์แอคทิฟ บริษัท มายด์แชร์ อินเทอร์แอคชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจด้านการวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา เปิดเผยว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ลูกค้าหลายรายของทางมายแชร์ หันมาใช้สื่ออินเทอร์แอคทีฟและดิจิตอลมากขึ้นในปีนี้ เนื่องจากลูกค้ามีการแบ่งงบบางส่วนจากสื่อหลักมาใช้ในสื่อดิจิตอล อย่างอินเทอร์เน็ตแทน และตั้งงบขึ้นมาใหม่ในลักษณะเท่าๆกัน ส่งผลให้ปีนี้คาดว่า บริษัทฯจะมีลูกค้าที่ซื้อสื่ออินเทอร์เน็ตโตขึ้นจากปีที่ผ่านมา 280% ขณะที่ตลาดรวมของสื่อดิจิตอล ปีนี้น่าจะมีอัตราการเติบโตถึง 100% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท

ฮาวคัมขาดทุนยับเยิน(มติชน 6 ก.ย. 2550)ผลประกอบการของบริษัทในกลุ่มฮาวคัมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ซึ่งมีนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ พบว่า ผลประกอบการขาดทุนลดลง โดยบริษัทหลักในเครือที่มีการรายงานผลประกอบการผ่านบิสสิเนสออนไลน์แล้วคือ บริษัท ฮาวคัมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับบันเทิง บริษัท ฮาวคัม สตูดิโอ รับจ้างผลิตป้ายโฆษณา บริษัท ฮาวคัมมีเดีย ทำธุรกิจโฆษณาในรถไฟฟ้าใต้ดิน ขาดทุนรวม 22.95 ล้านบาท ส่วนบริษัทมาสเตอร์โฟน ทำธุรกิจขายมือถือยังไม่รายงานผลประกอบการ
ผลประกอบการสิ้นปี 2549 ของฮาวคัมสตูดิโอ มีกำไร 2.45 ล้านบาท ส่วนฮาวคัม มีเดีย กำไร 1.05 ล้านบาท จากสิ้นปีก่อนหน้าขาดทุน 5.04 และ 4.05 ล้านบาทตามลำดับ แต่ในส่วนของฮาวคัมเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กลับขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 26.91 ล้านบาทจากสิ้นปี 2548 ขาดทุน 22.53 ล้านบาท

กทช.ยื้อไลเซนส์3จี-ไวแมกซ์ (มติชนออนไลน์  12 ต.ค. 2550)นายวิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เปิดเผยถึงแนวโน้มธุรกิจโทรคมนาคมในปีหน้าว่า หากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ยังไม่สามารถออกใบอนุญาต (ไลเซนส์) ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3 จี หรือบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงรูปแบบใหม่ (ไว-แมกซ์) ได้ ธุรกิจโทรคมนาคมในปีหน้าจะยังไม่มีอะไรแตกต่างจากปีนี้ และจะยังไม่มีการลงทุนใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่หากสามารถออกใบอนุญาตได้ก็คาดว่าจะมีผู้ให้บริการหลายรายสนใจเปิดให้บริการ ซึ่งในส่วนของ เอไอเอสเองก็พร้อมให้บริการ 3 จีอยู่แล้ว
"อย่างไรก็ตาม หากมีการอนุมัติ 3 จี ในระยะแรกคงไม่สามารถทดแทนโทรศัพท์มือถือในระบบเดิมได้ทันที และจะต้องใช้ควบคู่กันไป เพราะการนำระบบใหม่เข้ามาใช้งานจำเป็นต้องมีการพัฒนาในหลายส่วน เพื่อให้ทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง"
นายวิเชียรกล่าวว่า ในส่วนของการติดตั้งโครงข่าย 3 จีนั้น ขณะนี้มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเช่าใช้จากผู้ประกอบการรายอื่น เช่น กิจการร่วมค้าไทยโมบาย ที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทยโมบาย ซึ่งจะมีการติดตั้งโครงข่ายเพื่อรองรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี และจะมีการติดตั้งโครงข่ายเองส่วนหนึ่งด้วย โดยหากโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี สามารถให้บริการได้จริงในปีหน้า กลุ่มแรกที่จะเข้าใช้บริการคงจะเป็นกลุ่มผู้ที่ชอบส่งข้อความมัลติมีเดีย (เอ็มเอ็มเอส) รวมถึงกลุ่มพนักงานบริษัทต่างๆ ที่ชอบเรื่องของเทคโนโลยี
พอนดส์แชมป์ซื้อสื่อ(มติชน 12 ต.ค. 2550)รายงานข่าวจากบริษัท เอซี นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมการซื้อสื่อระหว่างเดือนมกราคมจนถึงสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา หรือในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีการซื้อสื่อรวมทั้งสิ้น 67,297 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.20% โดยแบ่งเป็นเม็ดเงินซื้อสื่อผ่านโทรทัศน์รวม 39,351 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ 1.67% วิทยุ 4,632 ล้านบาท ลดลง 4.98% หนังสือพิมพ์ 11,290 ล้านบาท ลดลง 1.08% แม็กกาซีน 4,378 ล้านบาท ลดลง 3.48% สำหรับแบรนด์ที่มียอดซื้อสื่อโฆษณาสูงสุดในรอบ 9 เดือนแรกของปีนี้ คือ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าพอนดส์ ของบริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย เทรดดิ้ง ตามด้วยแบรนด์วัตถุมงคล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเม็ดเงินในการโฆษณาสำหรับจัดสร้างจตุคามฯ

ทีวีบูรพาปรับตัวจับมือพันธมิตร(มติชน 11 ธ.ค. 2550)สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด  กล่าวว่า แม้จะมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะไม่ดีนักและส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยรวม แต่ก็ไม่หวั่น เพราะเตรียมพร้อมจะตั้งรับไว้แล้ว โดยที่ผ่านมาได้ศึกษาบทเรียนและจะนำประสบการณ์ที่ได้มาปรับใช้ และจะนำการตลาดเข้ามาช่วย โดยจะจับมือกับพันธมิตรในการทำงาน ทั้งนี้จะเลือกพันธมิตรที่เห็นความสำคัญของการรับใช้สังคมไปพร้อมๆ กับการทำธุรกิจ ดังนั้นแม้จะมีการนำการตลาดมาปรับใช้ แต่ยืนยันได้ว่าอุดมการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง

"บริษัท ทีวีบูรพา ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ก็มีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะทำสื่อและรับผิดชอบสังคม เพราะฉะนั้นในการที่เราเป็นต้นแบบเรื่องนี้ใครที่ทำอะไรเพื่อสังคมเขาต้องนึกถึงเรา และตอนนี้แนวโน้มของการทำธุรกิจส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนั้น ซึ่งหมายความว่าพื้นที่สำหรับทีวีบูรพาในการที่จะเข้าไปทำการตลาดหรือทำให้ธุรกิจที่เป็นอยู่ อยู่ได้ ก็ไม่น่าจะมีปัญหา" สุทธิพงษ์กล่าว

สุทธิพงษ์กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังมีความคิดที่จะรวมกลุ่มคนทำรายการโทรทัศน์ดีๆ ที่ล้วนเป็นรายย่อยเข้าด้วยกัน เพื่อจะได้มีอำนาจต่อรองมากขึ้น

"เดิมเราคิดว่าจะเป็นศิลปินเดี่ยวเล็กๆ อยู่ในซอยของเรา แต่จากการที่เราทำและมีคนมองเห็น ขณะที่คนอื่นซึ่งมีความตั้งใจจะทำสื่อโทรทัศน์ดีๆ แต่อยู่ยาก เป็นรายการเล็กรายการน้อย บริษัทเล็กบริษัทน้อยเยอะทีเดียว แล้วสังคมตอนนี้ยักษ์ใหญ่มีการรวมตัวเพื่อจะรักษาผลประโยชน์ แต่คนเล็กๆ ไม่รวมตัวเพื่อจะให้กำลังใจกัน หรือเพื่อจะช่วยกันรักษากลุ่มคนเล็กๆ ที่ทำอะไรดีๆ ไว้ ก็เลยมีการพูดกันว่าทำไมเราไม่รวมตัว เพื่อที่จะทำให้เป็นกลุ่มก้อน ทำให้การขับเคลื่อนอะไรก็ตามมีพลังมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็กำลังเช็คความคิดกันว่าสนใจไหม" สุทธิพงษ์กล่าว

สุทธิพงษ์กล่าวอีกว่า หากการรวมตัวเป็นผลสำเร็จ ก็อาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวกันเป็นแพคเพื่อขายโฆษณา หรือการที่ต่างฝ่ายต่างเป็นที่ปรึกษา ให้ความเห็นเพื่อปรับปรุงรายการของสมาชิกในกลุ่ม รวมถึงการรวมตัวกันจัดกิจกรรมบางอย่าง

"สิ่งเหล่านี้ผมว่าดีกว่าไม่เริ่มต้นอะไรเลย" สุทธิพงษ์กล่าวในที่สุด

 

เปิดกลยุทธ์หนังสือพิมพ์แจกฟรี(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 12 ธ.ค. 2550) นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานกรรมการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มผู้บริโภคในปัจจุบันต้องการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่เฉพาะเจาะจง ทำให้การบริหารสื่อต้องปรับเปลี่ยนไป โดยใช้การออกสิ่งพิมพ์เฉพาะกลุ่มเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างตรงจุดมากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มตลาดสิ่งพิมพ์ในต่างประเทศโดยเฉพาะในอังกฤษและ ญี่ปุ่น

ล่าสุด บริษัทได้ทุ่มงบการตลาดกว่า 100 ล้านบาท เปิดตัวหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ รายวัน ภายใต้ชื่อ Xpress ขนาดคอมแพคไซส์แจกฟรี รายแรกในประเทศไทย  เจาะกลุ่มคนอายุ 25-35 ปี ทั้งกลุ่มคนทำงาน นักศึกษา นักเรียนนอก คนต่างชาติที่อาศัยในประเทศ และกลุ่มนักท่องเที่ยว  รวมทั้งผู้บริหาร พิมพ์วันละ 1 แสนเล่ม เพื่อแจกฟรีใน1,500 -2,000 จุดทั่วกรุงเทพ เช่น ร้านกาแฟ สถานศึกษา คอนโดมีเนียม และอาคารสำนักงานรวมทั้งสมาชิกของหนังสือพิมพ์เครือเนชั่น เป็นต้น

“Xpress” ยังมีจุดขายด้านการออกแบบเพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ดังกล่าวโดย Dr.Mario Garcia ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหนังสือพิมพ์ชื่อดังของโลก ตอบสนองแนวโน้มหนังสือพิมพ์ในอนาคต ซึ่งคาดว่าในอีก 20 ปีหลังจากนี้ หนังสือพิมพ์ทั่วโลกจะปรับสู่ขนาดดังกล่าว เพื่อความสะดวก และประหยัดต้นทุนการผลิตอีกด้วย

สำหรับเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ Xpress ประกอบด้วยเนื้อหา 4 เซ็คชั่น ได้แก่ เดอะซิตี้ ที่มีการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์คนเมือง เดอะเวิล์ดที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวความเคลื่อนไหวจากเหตุการณ์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เดอะสปอร์ต ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาที่อยู่ในความสนใจ และเดอะ ฟัน ที่เป็นข่าวคราวในแวดวงบันเทิง โดยมีการนำเสนอเนื้อหาคิดเป็น 70% และโฆษณา 30% รวมจำนวน 48 หน้า

ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ดังกล่าว จะเริ่มแจกในเดือนมีนาคม 2551 นี้คาดจะคุ้มทุนภายในเดือนแรก หรือคิดเป็นรายได้จากหนังสือพิมพ์เอ็กซ์เพรส 400-500 ล้านบาทต่อปี โดยขึ้นเป็นหนังสือพิมพ์ที่มียอดโฆษณาสูงสุดอันดับ 1 ในปี 2551 และหากได้รับการตอบรับจากผู้อ่านสูง บริษัทจะเพิ่มยอดพิมพ์เป็นวันละ 3 แสนฉบับอีกด้วย

เร่งลดต้นทุน-ล้างหนี้ ใน 3 ปี

นายธนาชัยกล่าวถึงแผนธุรกิจในปี 2551 ว่า หลังจากที่บริษัทได้ปรับโครงสร้างการทางการเงินเรียบร้อยแล้ว โดยการตกลงขายอาคารเนชั่น ทาวเวอร์ ที่ถนนบางนา ตราด เพื่อนำเงินไปจ่ายหนี้กับสถานบันการเงินนั้น จะสามารถลดภาระหนี้จากเดิม 3 พันล้านบาท ลดเหลือ 1 พันล้านบาทในปีหน้า อีกทั้งยังมีแผนลดต้นทุนด้านการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยการลดไซส์หนังสือพิมพ์ให้มีขนาดเล็กลง โดยหลังจากลดขนาดหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และกรุงเทพธุรกิจและลดต้นทุนได้แล้วกว่า 10%แล้ว ยังเตรียมลดขนาดหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ บิซวีคร่วมด้วย

สำหรับการลดต้นทุนในภาพรวมทั้งการขายอาคารเนชั่นและการลดไซส์ดังกล่าว ประกอบกับการออกสิ่งพิมพ์ใหม่นี้ ทำเนชั่นสามารถลดต้นทุนได้กว่า 300 ล้านบาทต่อปี ทำให้แนวทางการดำเนินธุรกิจในปี 2551 มีแนวโน้มที่เติบโตดีขึ้น สร้างผลกำไรในรอบ 3 ปีได้ภายในปีหน้า และสามารถล้างหนี้ได้ใน 3 ปีหลังจากนี้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามสำหรับสำนักงานแห่งใหม่ของเนชั่นกรุ๊ป ขณะนี้กำลังเจรจาและหาทำเลที่เหมาะสม โดยจะหาเช่าพื้นที่อาคารสำนักงานกลางใจเมืองใกล้กับระบบขนส่งขนาดใหญ่ เพื่อเช่าเป็นอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ขนาดพื้นที่ 3 พันตร.ม. เพื่อรองรับกับการทำงานภายใต้โครงสร้างการทำงานใหม่ พร้อมกับย้ายพนักงานบางส่วนไปยังพื้นที่โรงพิมพ์ กม.29 ที่มีพื้นที่ว่างอีก 50 ไร่

เครือเนชั่นขายทิ้งอาคารสนง.ใหญ่ (ผู้จัดการออนไลน์  24 ม.ค. 2551) นายธนะชัย สันติชัยกูล กรรมการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติการขายอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท พร้อมด้วยที่ดินที่อาคารตั้งอยู่ พื้นที่สำนักงานอาคารเนชั่นทาวเวอร์ ซึ่งเป็นห้องชุดจำนวน 191 ห้องชุด พื้นที่รวมประมาณ 44,950.32 ตารางเมตร ในอาคารชุดชื่อ อาคารชุดเนชั่นทาวเวอร์ มูลค่าของทรัพย์สิน 1,379.75 ล้านบาท
ทั้งนี้ เพื่อการปรับปรุง process ในการดำเนินงานทั้งส่วนของงานข่าวในรูปการขายทรัพย์สินแบบ integrated content management และการบริหารจัดการสำนักงานในรูปแบบ smart office และเพื่อนำเงินที่ได้รับจากการขายทรัพย์สินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งจะช่วยลดภาระหนี้สิน และลดค่าใช้จ่ายทางด้านดอกเบี้ยของบริษัท และทำให้บริษัทมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ บอร์ดยังได้อนุมัติการซื้อและการขายพื้นที่บางส่วนของอาคารเนชั่นทาวเวอร์ มูลค่าของทรัพย์สินประมาณ 130,000,000 บาท เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องซื้อทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อเป็นเจ้าของพื้นที่ทั้งหมดในการซื้อ และ/หรือ การขายอาคารเนชั่นทาวเวอร์ เพื่อประโยชน์ในการเจรจาขายทรัพย์สินของบริษัททรัพย์สินในส่วนที่เป็นพื้นที่ห้องชุดในอาคารเนชั่นทาวเวอร์ พร้อมกันนี้ อนุมัติให้บริษัทลงทุนในการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ในจำนวนเงินไม่เกิน 150,000,000 บาท อนุมัติให้บริษัทลงทุนในอุปกรณ์และปรับปรุงระบบ IT ในจำนวนเงินไม่เกิน 100,000,000 บาท

สถานีวิทยุชุมชน

ปราบวิทยุชุมชน(มติชน  12  ม.ค. 2550) นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมผู้ประกอบการวิทยุชุมชนภาคเหนือ 17 จังหวัด กว่า 500 คน ว่า ในช่วงสถานการณ์เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลขอความร่วมมือจากสื่อให้รับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสารด้วยวิจารณญาณถึงความเหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบรุนแรงนำไปสู่ความแตกแยก หรือกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมให้มาก

และ พ.อ.บรรยงค์ สิรสุนทร หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 (ทภ.3) กล่าวว่า ขอความร่วมมือจากวิทยุชุมชนทุกแห่งอย่าสร้างความแตกแยกในสังคม โดยเฉพาะการนำหนังสือพิมพ์หรือบทความมาวิพากษ์วิจารณ์และอ่านชี้นำในรายการ ที่ผ่านมา ทภ.3 เน้นย้ำมาตลอดถึงการจัดรายการที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวม หากวิทยุชุมชนใดไม่ปรับปรุงก็คงต้องดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ นำกำลังมาตรวจกระเป๋าผู้เข้าร่วมประชุมอย่างละเอียดเพื่อป้องกันเหตุร้าย

ร้องออก"กม.นิรโทษกรรม"(มติชน 23 พ.ค. 2550) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุขุม วงประสิทธิ เลขาธิการสภาการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (สวชพ.) เดินทางมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอแนวทางแก้ปัญหาวิทยุชุมชน โดยนายสุขุมกล่าวว่า ปัญหาวิทยุชุมชนที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดของมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2547 สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่มีการวางกรอบและแผนงานรองรับวิทยุชุมชน ประกอบกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ยังมีองค์ประกอบไม่สมบูรณ์ ทำให้วิทยุชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย วันนี้คนทำรายการวิทยุชุมชนไม่ใช่คนผิด จึงขอเสนอให้รัฐบาลเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมแก่สถานีวิทยุชุมชนทุกแห่งต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยเร็วที่สุด เพราะปัจจุบันมีสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ 6,000 แห่ง มีนักจัดรายการไม่น้อยกว่า 60,000 คน เพื่อให้สถานีวิทยุชุมชนดำเนินการอย่างถูกต้อง ไม่ใช่รับใช้นักการเมืองเหมือนทุกวันนี้

“ไอทีวี” ไปสู่ “ทีไอทีวี” จบที่ “ทีพีบีเอส

 

สั่งไอทีวีหยุดออกอากาศชั่วคราว (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  7 มี.ค. 2550) คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าตนและปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอผลการดำเนินงานในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ให้ครม.พิจารณาใน4 ประเด็นที่ต้องดู คือ

1.โครงสร้างที่มีข้อจำกัดในข้อกฎหมาย

2.เรื่องสัญญา ซึ่งมีสัญญาร่วมงานที่ต้องแจ้งยกเลิกสัญญามีมูลค่าที่บริษัท ไอทีวี ติดค้างต้องชำระให้สำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)กว่า 100,350 ล้านบาท

3.ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ต่างๆที่ต้องตกเป็นของ สปน. เมื่อตรวจสอบดูในขั้นต้นพบว่า มูลค่าไม่ตรงกัน โดย สปน. ตรวจสอบพบว่า ยังมีการค้างตามสัญญาประมาณ 557.2 ล้านบาท

และ 4.ยังมีสัญญาในรายละเอียดที่บริษัท ไอทีวี ทำสัญญาไว้กับบริษัทย่อย ๆ อีก 446 สัญญา

“ครม.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ และเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการทุกอย่างตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยให้มีการปิดสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นการชั่วคราวก่อน เพื่อเป็นการรักษารูปคดี และปกป้องคุ้มครองพิทักษ์สิทธิอันเป็นประโยชน์ของทางราชการ ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดจะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนนี้ต่อไป ดังนั้น หากมีการยกเลิกสัญญาในวันที่ 7 มีนาคม ก็จะเข้าไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทุกอย่าง” คุณหญิงทิพาวดี กล่าว

สำหรับเรื่องของพนักงานคุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า เมื่อดูในข้อกฎหมาย ถือเป็นความรับผิดชอบของบริษัท ไอทีวี คาดว่าไอทีวี คงจะดำเนินการกับพนักงานให้เป็นไปตามข้อกฎหมายของกระทรวงแรงงานทุกอย่าง ซึ่งนายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตรวจสอบรายละเอียดเบื้องต้นแล้ว คิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรกับพนักงาน ซึ่งต้องได้รับค่าชดเชย และดูแลให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแรงงานทุกอย่าง

รอกฤษฎีกาชี้ข้อกฏหมายศุกร์นี้

คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรียังพิจารณาเรื่องคลื่น ที่เมื่อกลับมาเป็นของ สปน.แล้ว จะมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ เข้าไปเป็นผู้บริหาร แต่เพื่อให้เกิดความรอบคอบในเชิงของอำนาจหน้าที่ของ สปน. รวมทั้งไม่ให้มีประเด็นที่จะผิดกฎหมาย มาตรา 80 ของ พ.ร.บ.คลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ จึงต้องส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยตีความให้ถูกต้อง ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งให้ครม.ทราบว่า จะเร่งพิจารณาให้เร็วที่สุด ในวันที่ 9 มีนาคม นี้

คุณหญิงทิพาวดี กล่าวว่าระหว่างวันนี้(7มี.ค.) จนถึงวันที่จะมีความชัดเจนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็จะต้องเว้นช่วงการออกอากาศไว้ก่อน แต่ยืนยันว่า สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการ ยึดถือขั้นตอนของกฎหมายอย่างเคร่งครัด และคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนด้วย เชื่อว่าวันที่ 9 มีนาคม จะได้รับคำตอบที่ชัดเจน ว่าจะต้องปิดสถานีเป็นระยะเวลาเท่าไร

“ตั้งแต่วันนี้หลังจากที่บอกเลิกสัญญาแล้ว ไอทีวีก็จะไม่มีการออกอากาศ จนกว่าจะได้รับคำตอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อมีการยกเลิกสัญญา เราก็ต้องยกเลิกสัญญาการเช่าตึกชินวัตร ไปด้วย แม้ว่าตึกชินวัตร จะให้เช่าต่อ แต่ในเชิงรูปคดี เราควรจะตัดตอนทุกอย่าง เป็นไปตามคำแนะนำของอัยการ ดังนั้น อุปกรณ์ต่าง ๆ จะถูกยกถ่ายเทออกมาไว้ที่กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะมีช่วงเวลาขลุกขลัก 3 - 4 วัน” คุณหญิงทิพาวดี กล่าว

 

ศาลปค.ชี้คำสั่งไอทีวีไม่พันกฤษฎีกา (คมชัดลึก, มติชน 10 มี.ค. 2550) รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แจ้งว่า ตลาดหลักทรัพย์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ บริษัท ไอทีวี ถูกบอกเลิกสัญญาเข้าร่วมงานฯ จาก สปน. โดยต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินกิจการให้แก่ สปน. และการที่คณะกรรมการบริษัท ไอทีวี มีมติให้ระงับการดำเนินธุรกิจทางการค้า และเลิกสัญญาว่าจ้างพนักงานดังกล่าวนั้น เป็นผลให้บริษัท ไอทีวี เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องการเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน พ.ศ.2542 ข้อ 9 (6) (ก) ที่ระบุว่าสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินการของบริษัทจดทะเบียนได้ลดลงหรือกำลังจะลดลงในจำนวนที่มีนัยสำคัญอันเนื่องมาจากการขาย การจำหน่าย ฯลฯ และข้อ 9 (6) (ข) ที่ระบุว่าบริษัทจดทะเบียนมีการหยุดประกอบกิจการทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดไม่ว่าด้วยเหตุใด

ตลาดหลักทรัพย์จึงประกาศให้หลักทรัพย์ของ ITV เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน พร้อมทั้งขึ้นเครื่องหมาย NC และ SP ห้ามซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของ บริษัท ไอทีวี ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2550 จนกว่าบริษัท ไอทีวี จะชี้แจงแนวทางการดำเนินการและกรอบระยะเวลาเพื่อให้เหตุแห่งการเพิกถอนหมดไป

นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงกรณีศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวสถานีโทรทัศน์ไอทีวีว่า ศาลเห็นว่าคลื่นยูเอชเอฟที่ให้สัมปทานไปเพื่อเป็นสัมปทานสาธารณะ ซึ่งไม่ควรได้รับผลกระทบให้หยุดดำเนินการเผยแพร่ภาพ จึงมีคำสั่งให้มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งศาลไม่ได้บอกว่าต่อเนื่องนั้นให้ทำอย่างไร หรือมอบให้ใครทำ ตรงนั้นเป็นเรื่องของเจ้าของคลื่นต้องไปพิจารณา คือ สปน. ว่าต้องทำอย่างไร โดยวิธีการจะถูกหรือไม่ ศาลไม่เกี่ยว เพราะตรงนั้นก็ยังเป็นปัญหาที่จะต้องไปถกเถียงกันว่า สัญญาที่ถูกเป็นอย่างไร และอะไรที่ไม่ถูก

"การดำเนินการของ สปน.นับจากนี้ หากมีการใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องก็สามารถถูกฟ้องร้องดำเนินการได้" นายอักขราทรกล่าว

นายอักขราทรกล่าวว่า แม้กฤษฎีกาจะวินิจฉัยว่ากรมประชาสัมพันธ์สามารถเข้าไปบริหารไอทีวีได้ และนายกฯจะให้มีการแพร่ภาพอย่างต่อเนื่องไม่ให้หยุดชะงัก ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของพนักงานของไอทีวีที่ให้มีการเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่สั่งไอทีวีระงับการออกอากาศเป็นการชั่วคราว โดยเนื้อคดีหลักศาลก็ต้องมาพิจารณา ไม่ใช่ว่าพอสั่งให้มีการเปิดดำเนินการแล้ว คดีที่ฟ้องอยู่ก็เป็นอันจบไป เพราะเป็นเรื่องของคดีความที่จะมาฮั้วกันไม่ได้

แนะตั้งองค์การมหาชน (มติชน วันที่ 19 มี.ค.  2550)คณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดพิเศษ เห็นชอบตามที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้แก้ไขกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) ให้ กปส.สามารถเข้าไปดำเนินงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในสังกัดของรัฐได้ในรูปแบบหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit-SDU) ได้ตามมติ ครม.ที่มอบหมายไว้เพื่อให้ กปส.จัดตั้งเอสดียูขึ้นมาบริหารทีไอทีวีได้นั้น

นักกฎหมายมหาชนรายหนึ่งเปิดเผย "มติชน" เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ว่า จากการตรวจสอบข้อกฎหมายและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ.2548 แล้วเห็นว่าการจัดตั้งเอสดียูขึ้นมาเพื่อบริหารทีไอทีวีน่าจะขัดต่อเจตนารมณ์และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเพราะตามระเบียบดังกล่าวการจัดตั้งเอสดียูมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.ต้องแปลงสภาพจากหน่วยงานเดิมที่มีอยู่แล้วในส่วนราชการ (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ข้อ 4 (บ)) จากนั้นจึงเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เห็นชอบ ไม่ใช่การจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่แล้วแปลงสภาพเป็นเอสดียูซึ่งการแก้ไขกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ กปส.ใหม่เพียงวันเดียว จึงจัดตั้งเป็นเอสดียูเท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ดังกล่าว

2.เอสดียูที่จัดตั้งขึ้นต้องมีวัตถุประสงค์หลักในการให้บริการแก่ส่วนราชการต้นสังกัดและภาครัฐเป็นสำคัญ (ระเบียบสำนักนายกฯข้อ 5(1) และข้อ 6) เช่น โรงพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาต้องให้บริกาารแก่สำนักราชกิจจานุเบกษาเป็นหลักเมื่อกำลังผลิตและขีดความสามารถเหลือจึงจะให้บริการแก่ประชาชนได้ แต่กรณีทีไอทีวีเห็นชัดว่ามิได้มีหน้าที่ให้บริการแก่ กปส.หรือภาครัฐ แต่มีหน้าที่ให้บริการแก่ประชาชนโดยตรง

3.การให้บริหารแก่ส่วนราชการต้นสังกัดนั้น จะทำให้รูปแบบการซื้อบริการจากเอสดียูโดยแจ้งให้เอสดียูทราบล่วงหน้าว่าจะซื้อบริการเป็นเงินเท่าใด และจัดงบประมาณแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี (ระเบียบสำนักนายกฯข้อ 6 วรรคสอง) ซึ่งในกรณีดังกล่าว กปส.ไม่จำเป็นต้องซื้อบริการจากทีไอทีวีแม้แต่น้อย

4.เอสดียูต้องดำเนินการโดยไม่แสวงหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีนิติบุคคล ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กรณีทีไอทีวีต้องแข่งขันในการหาโฆษณาจากตลาดและยังจัดรายการบันเทิงแข่งกับตลาด จึงเป็นการแสวงหากำไรอย่างชัดเจน แต่กลับไม่ต้องเสียภาษีนิติบุคคล เป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการอื่นในประเภทเดียวกันซึ่งขัดต่อวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเอสดียู

นักกฎหมายรายเดียวกันกล่าวว่า รูปแบบการจัดตั้งองค์กรใหม่เพื่อเข้าบริหารทีไอทีวีได้ง่ายและรวดเร็วที่สุดก็คือการจัดตั้งองค์การมหาชนตาม พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542 ซึ่ง ครม.สามารถตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดตั้งองค์การมหาชนได้ทันที ซึ่งการจัดตั้งองค์การมหาชนมีภารกิจหลักในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนอยู่แล้วผิดกลับเอสดียูที่มีภารกิจหลักในการให้บริการแก่ส่วนราชการต้นสังกัดและภาครัฐ

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า เคยมีผู้เสนอแนะแก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ว่าการจัดตั้งเอสดียูขึ้นมาบริหารทีไอทีวีเสียงต่อการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงควรดำเนินการอย่างระมัดระวัง

ขณะที่ ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการประชุม ครม.นัดพิเศษ เมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา คุณหญิงทิพาวดีเสนอแก้ไขร่างกฎกระทรวงส่วนราชการกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการในส่วนของสถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ในสังกัดของรัฐได้ในรูปแบบเอสดียูได้ ซึ่งหมายรวมถึงสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีด้วย ทั้งนี้ จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม ก.พ.ร.ในวันที่ 19 มีนาคม เพื่อให้ ก.พ.ร.พิจารณาว่าจะมีแนวทางในการบริหารทีไอทีวีอย่างไร และจะเสนอกลับมาให้ ครม.พิจารณาอีกครั้ง

ตีกลับแผนฟื้นทีไอทีวี(มติชน 20 มี.ค. 2550) นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เปิดเผยภายหลังการประชุม ว่าได้พิจารณากรณีกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) ขอจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (เอสดียู) ขึ้น เพื่อบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ ภายใต้ชื่อทีไอทีวี แต่เนื่องจาก กปส.จัดทำข้อมูลประกอบไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีการกำหนดเป้าหมายของเอสดียู และไม่มีการจัดทำแผนบริหารการเงินในภาพรวม แต่ไปนำตัวเลขของไอทีวีเดิมมาให้ ก.พ.ร. จึงมีมติให้ กปส. ไปจัดเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนภายใน 2-3 สัปดาห์ ก่อนเสนอ ก.พ.ร.ต่อไป

นายทศพรกล่าวถึงข้อสังเกตที่ว่า การจัดตั้งเอสดียูเพื่อบริหารทีไอทีวีอาจขัดต่อระเบียบสำนักนายกฯ ว่า ก.พ.ร.เห็นว่าภารกิจบริหารทีไอทีวีเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม ตามการมอบหมายของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในฐานะเจ้าของคลื่นความถี่ตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง นอกจากยังมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กปส. จึงถือว่า กปส. มีอำนาจในการบริหารจัดการคลื่นยูเอชเอฟแล้ว

ด้านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลไม่สามารถออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) จัดตั้งองค์การมหาชนมาบริหารจัดการทีไอทีวี เนื่องจากติดขัดกฎหมาย 2 ฉบับคือ 1.ขัดมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ที่ห้ามมิให้จัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ และ 2.ขัดต่อมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 ที่ระบุว่าผู้จะดำเนินการกิจการโทรทัศน์ต้องได้รับการอนุญาต ยกเว้น กปส. สรุปคือ สปน.ไม่ได้รับการยกเว้น จึงจำเป็นต้องมอบอำนาจให้ กปส.ดำเนินการทีไอทีวี ในรูปแบบเอสดียู

ยื่นฟ้องทวงเงินไอทีวี(มติชน  29 มี.ค. 2550)นายบัลลังก์ ปิ่นสากล อัยการ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายคดีปกครอง 3 ผู้รับผิดชอบสำนวนคดีฟ้องไอทีวี เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (30 มี.ค.) เวลา 10.30 น. อัยการจะเดินทางไปยังศาลปกครองกลาง เพื่อยื่นฟ้อง บริษัท ไอทีวี จำกัด ( มหาชน) จากกระทำผิดสัญญาสัมปทานดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ไอทีวี อันเป็นสัญญาทางปกครอง ที่ บมจ.ไอทีวี เป็นคู่สัญญา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) โดยการยื่นฟ้องดังกล่าว อัยการ ได้รับมอบออำนาจจาก สปน. ให้เรียกค่าเสียหายรวม จำนวน 1.01 แสนล้านบาท จากกรณีที่ บมจ.ไอทีวี ผิดนัดชำระค่าตอบแทนสัมปทาน ซึ่งยังค้างชำระจำนวน 2,800 ล้านบาทเศษ พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี และค่าปรับที่ บมจ.ไอทีวี ทำการปรับลดสัดส่วนผังรายการข่าว-สารคดี อีกจำนวน 97,760 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ยื่นฟ้อง และมูลค่าทรัยพ์สินที่ บมจ.ไอทีวี ยังไม่สามารถจัดทำเครือข่ายและเครื่องมืออุปกรณ์การส่งสัญญาณ เพื่อส่งมอบให้กับ สปน. ได้ครบในปีที่ 10 ตามที่ระบุในสัญญาจำนวน 4,000 ล้านบาท โดยมูลค่าทรัพย์สินที่ บมจ.ไอทีวี ต้องชำระยังเหลืออีก 656 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ยื่นฟ้อง โดยขณะนี้ร่างคำฟ้องไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายบัลลังก์ กล่าวด้วยว่า ในการยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าว เป็นไปตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง สปน. กับ บมจ.ไอทีวี ถือเป็นสัญญาทางปกครอง ดังนั้นคดีจึงต้องยื่นต่อศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา

"ทีไอทีวี"ช็อค-ห้ามโฆษณา (มติชน 25 เม.ย.  2550)ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มติเห็นชอบให้จัดตั้งองค์กรบริหารสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ หรือทีไอทีวีในลักษณะสื่อสาธารณะ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดอนาคตของสถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบยูเอชเอฟ ที่มีนางดรุณี หิรัญรักษ์ ประธาน

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เห็นชอบให้จัดตั้งองค์กรบริหารสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟในลักษณะสื่อสาธารณะ ทั้งนี้ รูปแบบในการบริหารจัดการจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการมืออาชีพเข้ามาดูแล 5 ชุดคือ 1.คณะกรรมการกำหนดนโยบายสถานี 2.คณะกรรมการบริหารจัดการสถานี 3.คณะกรรมการบรรณาธิการ 4.คณะกรรมการตรวจสอบและถ่วงดุลการผลิตรายการ ซึ่งมีภาคประชาชนเข้ามาร่วม และ 5.คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดอนาคตของสถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบยูเอชเอฟ กล่าวว่า มีการคาดการณ์ในเบื้องต้นว่าหากต้องการผลิตรายการที่มีคุณภาพระดับกลาง ต้องใช้งบประมาณ 1,100 ล้านบาท/ปี หากต้องการผลิตรายการที่มีคุณภาพสูงและสามารถแข่งขันกับสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ได้ ต้องใช้งบประมาณ 1,700 ล้านบาท/ปี หล่งเงินทุนที่นำมาใช้บริหารจัดการทีไอทีวี 4 ส่วนคือ 1.ภาษีพิเศษ ซึ่งอาจเป็นภาษีสรรพสามิต หรือภาษีเฉพาะที่เก็บจากกิจการที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข เช่น เหล้า บุหรี่ หรือกิจการที่มีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคเกินความจำเป็น 2.เงินสนับสนุนในการผลิตรายการด้านการศึกษา ซึ่งได้จากกองทุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 3.เงินสนับสนุนการผลิตรายการด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งได้จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ 4.เงินบริจาคจากประชาชน คาดว่าภาษีพิเศษจะเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุด ต้องเกินร้อยละ 50 ของงบฯบริหารจัดการสถานี ดังนั้นไม่ต้องห่วง เพราะอย่างไรก็มีเงินที่เป็นหลักประกันพื้นฐานก้อนแรก ในส่วนรูปแบบของทีไอทีวีก็เหมือนกับสถานีโทรทัศน์บีบีซีที่เป็นสื่อสาธารณะ ซึ่งไม่มีโฆษณา กรณีทีไอทีวีจะอยู่ได้ด้วยภาษีพิเศษ

รอกฤษฎีกาตีความ(ผู้จัดการออนไลน์   30 เม.ย. 2550)นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่มีการระบุว่า จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเรื่องปัญหาทีไอทีวีว่า เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนในเรื่องกรรมสิทธิ์ ระหว่างสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) กับกรมประชาสัมพันธ์ จึงต้องส่งตีความ และเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความชัดเจน ไม่ว่าจะให้ สปน.หรือกรมประชาสัมพันธ์ มีสิทธิในเรื่องกรรมสิทธิ์ ต้องมีการออกระเบียบในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ตอบคำถาม สปน.มาแล้วว่าให้เจ้าของกรรมสิทธิ์นำเงินไปหมุนเวียนได้ โดยขณะนี้ได้ออกระเบียบรองรับไว้เรียบร้อยแล้ว ส่วนเรื่องการจัดตั้งหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (เอสดียู) นั้น นายจุลยุทธ กล่าวว่า ทาง สปน. จะไม่ส่งไปตีความ เพราะเป็นเรื่องที่ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) จะพิจารณาได้ โดยขณะนี้ ทางกรมประชาสัมพันธ์อยู่ระหว่างการจัดเตรียมเอกสาร และเมื่อมีการออกระเบียบเรียบร้อยแล้วคงจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาหารืออีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวถามว่า วันที่ 8 พ.ค.นี้ จะครบ 60 วัน ที่ สปน.จะเข้าไปตรวจสอบเรื่องทรัพย์สินของไอทีวี นายจุลยุทธ กล่าวว่า ขณะนี้ทางไอทีวียังไม่ได้ส่งบัญชีทรัพย์สินมาให้กับทาง สปน.เพียงแต่แจ้งมาว่าอยู่ระหว่างการสำรวจ ซึ่งเมื่อครบ 60 วัน ทาง สปน.จะสามารถเข้าไปดูแลได้ทันที โดยมีกรรมการที่จะเข้าไปดูแล ซึ่งขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลทั่วประเทศ

ฟ้องสปน.เรียกแสนล้าน(มติชน 14 พ.ค. 2550)บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นฟ้องสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)และพวก รวม 2 ราย เรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายประมาณ 110,000 ล้านบาท ฐานละเมิด เนื่องจาก สปน.มีหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขสัญญาสัมปทานที่ทำกับบริษัทไอทีวีเมื่อปี 2538 ให้ถูกต้องตามระเบียบและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด แต่ปรากฏว่า สปน.ละเลยไม่ดำเนินการนำสัญญาเข้าร่วมการงานและดำเนินการสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ ข้อ 5 วรรคสี่เข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีให้ถูกต้องตามกฎหมาย จนกระทั่งเป็นเหตุให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่า สัญญาข้อ 5 วรรคสี่ไม่มีผลบังคับทำให้ผู้ฟ้องคดีเสียหาย นอกจากนั้น สปน.ยังนำเอาการปรับผังรายการของบริษัทไอทีวีซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาสัมปทานดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550 เป็นเหตุให้บริษัทไอทีวีเสียหาย

ก่อนหน้านี้ สปน.ได้ยื่นฟ้องบริษัทไอทีวีเรียกค่าเสียหายกว่า 100,000 ล้านบาท อ้างว่ากระทำผิดสัญญาโดยการปรับผังรายการไม่เป็นไปตามสัญญา ไม่ยอมจ่ายค่าสัมปทานและจัดหหาอุปกรณ์ตามสัญญาไม่ครบถ้วน

ขอเวลา 6 เดือน(เนชั่นทันข่าว  15 พ.ค. 2550)คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติองค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะแล้ว จะเร่งเสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยเร็ว เพื่อเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ซึ่งหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วคาดว่าต้องใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน ในการจัดตั้งทีวีสาธารณะ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้มีการสรรหาคณะกรรมการนโยบายภายใน 120 วัน จากนั้นให้คณะกรรมการนโยบายสรรหาผู้บริหาร เช่น ผู้อำนวยการสถานีและเจ้าหน้าที่ภายใน 120 วัน ซึ่งการเริ่มต้นแปรสภาพทีไอทีวีเป็นทีวีสาธารณะน่าจะเริ่มต้นได้หลังจากกฎหมายผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมีผลบังคับใช้ ซึ่งขั้นตอนนี้น่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการสรรหา คณะกรรมการนโยบายนั้น จะไม่ผ่านการกลั่นกรองวุฒิสภาเหมือนเดิม แต่จะสรรหาจากองค์กรวิชาชีพสื่อ และผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรม จากนั้นเสนอให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งได้เลย

เห็นชอบร่างกม.ยกระดับทีวี(มติชน 16 พ.ค. 2550) ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสื่อสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.... ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอมา โดยมีสาระสำคัญ1. ให้มีการจัดตั้งองค์การสื่อสาธารณะขึ้นในประเทศไทย โดยเรียกย่อว่า อ.ภ.ส.ท. ใช้ชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Thai Public Broadcasting Organization หรือ TPBO ขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯหรือปริมณฑล และจะจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทนขึ้นที่ใดก็ได้ 2.วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง อ.ภ.ส.ท. เพื่อเป็นผู้นำในการผลิตและสร้างสรรค์รายการข่าวสาร สาระคุณภาพสูงที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและมุ่งยกระดับการเรียนรู้ของประชาชนทุกภาคส่วนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยไม่แสวงหาผลกำไร เป็นอิสระจากรัฐและนักธุรกิจ ภายใต้การดำเนินการอย่างมีคุณธรรมและยึดหลักจริยธรรมทางวิชาชีพ

ร.อ.นพ.ยงยุทธกล่าวว่า 3.ให้มีคณะกรรมการนโยบาย อ.ภ.ส.ท. ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 8 คน จากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา 9 คน ประกอบด้วย ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประธานสภาสถาบันนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ประธานสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ผู้แทนสปน.และกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ให้คณะกรรมการนโยบาย อ.ภ.ส.ท. มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี

ร.อ.นพ.ยงยุทธกล่าวต่อว่า 4.กำหนดทุน รายได้ และทรัพย์สินของ อ.ภ.ส.ท. มาจากการจัดเก็บภาษีบำรุงองค์การจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บจากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบ และจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์การ สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจปรับเพิ่มรายได้สูงสุดได้ทุก 3 ปี เพื่อให้องค์การมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ โดยให้พิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อของปีที่ผ่านมา ขอบเขตการดำเนินการขององค์การที่เปลี่ยนแปลงไป และผลการประเมินการดำเนินงานขององค์การด้วย

โฆษกประจำสำนักนายกฯกล่าวว่า ยังให้ อ.ภ.ส.ท.มีรายได้จากเงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมา, เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม, เงินบำรุงองค์การที่จัดเก็บ, ค่าบริการ, เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้องค์การ, เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากผู้สนับสนุนองค์การ, รายได้จากการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ และดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินขององค์การด้วย 5.ให้คณะกรรมการ อ.ภ.ส.ท. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อ ครม. และรัฐสภา เพื่อขอรับการประเมินผลการดำเนินการ

ร.อ.นพ.ยงยุทธกล่าวด้วยว่า 6.บทเฉพาะกาล กำหนดให้การดำเนินการสรรหาคณะกรรมการนโยบาย อ.ภ.ส.ท.แล้วเสร็จภายใน 120 วันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับ และให้คณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการ (เอ็มดี) ให้เสร็จสิ้นภายใน 120 วันนับแต่ที่คณะกรรมการได้รับการแต่งตั้ง

นอกจากนี้ ในมาตรา 64 ได้ระบุให้โอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ และภาระผูกพันของ สปน. เฉพาะที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ที่มีอยู่ในวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับ เพื่อดำเนินการผลิตและเผยแพร่รายการ

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในฐานะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดอนาคตของสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ กล่าวว่า ยืนยันว่าหลังจาก ทีไอทีวี เป็นสื่อสาธารณะแล้วจะไม่ตกอยู่ในสภาพช่อง 11/2 อย่างแน่นอน เนื่องจากไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจนักการเมือง ส่วนงบประมาณก็มีความแตกต่างจากช่อง 11 ที่ได้รับการอุดหนุนเพียงปีละ 200 ล้านบาท ทำให้มีข้อจำกัดเรื่องการบริการจัดการ แต่สื่อสาธารณะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสุราและบุหรี่ร้อยละ 1.5 ต่อปี

"อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีคลัง (นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์) ได้ติงเรื่องที่มารายได้ โดยบอกว่าขอให้กรณีนี้เป็นกรณีเฉพาะจริงๆ ไม่ใช่ทำเช่นนี้บ่อยๆ เพราะไม่น่าจะเป็นการปฏิบัติทางการคลังที่ดี เนื่องจากไม่ผ่านการขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี" นายสมเกียรติกล่าว

เสวนาชี้ข้อดีสื่อสาธารณะ(มติชน 19 พ.ค. 2550) นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวปาฐกถาเรื่อง "เส้นทางสื่อสาธารณะเสรี" ซึ่งมูลนิธิอิศรา อมันตกุล จัดขึ้นที่สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยว่า สถานีเอกชนไม่ผลิตรายการที่มีสาระและมีคุณภาพเท่าที่ควร เพราะต้องใช้ต้นทุนสูง แต่ได้ค่าตอบแทนต่ำ ส่วนสถานีรัฐขาดอิสระและถูกแทรกแซงได้ง่าย รายการจำนวนมากยังมีปัญหาเรื่องจริยธรรมความรับผิดชอบต่อสังคม และประชาชนยังขาดกลไกในการสื่อสารเพื่อเรียนรู้ระหว่างกัน วัตถุประสงค์ของสื่อสาธารณะคือเป็นผู้นำในการผลิตข่าวที่มีคุณภาพสูง เน้นการมีส่วนร่วม มุ่งยกระดับการเรียนรู้ของประชาชนให้ก้าวทันโลก ดำเนินรายการโดยไม่แสวงหากำไร และมีความเป็นอิสระจากรัฐและการเมือง ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยบนข้อมูลและเหตุผล ต้องมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และส่งเสริมคุณค่าที่ดีต่อสังคม

"ประชาชนยังมีความเข้าใจผิดต่อสื่อสาธารณะ เช่น เชื่อว่าสื่อสาธารณะเป็นสิ่งที่ล้าสมัย มีแต่ข่าว มีแต่รายการที่น่าเบื่อ เป็นสื่อสำหรับคนกลุ่มน้อย เพราะคนไทยยังไม่เคยเห็นสถานีที่ไม่ใช่ของรัฐ และเชิงธุรกิจ สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยขาดศรัทธาว่าสื่อเสรีสามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย" นายสมเกียรติกล่าว

ภาคประชาชนร่วมแจม(ผู้จัดการออนไลน์ 24 พ.ค. 2550)นายพรพิพัฒน์ วัดอักษร ตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปสื่อภาคประชาชน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อแสดงความเห็นและผลักดันวาระสื่อของรัฐบาลชั่วคราว โดยมี นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและประชามติ รับหนังสือ ทั้งนี้ เครือข่ายปฏิรูปสื่อภาคประชาชน ได้คัดค้านการยุบรวมกิจการระหว่างคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) พร้อมเรียกร้องแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 45 โดยให้เปลี่ยนจากคำว่า “เพื่อความมั่นคงของรัฐ” เป็น “เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติและประชาชน” ขณะที่ในมาตรา 46 เสนอให้มีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ ส่วนมาตราที่ 47 ต้องการให้เปลี่ยนข้อความจาก “องค์กรอิสระของรัฐ” เป็น “องค์กรอิสระ”  ทั้งนี้ เครือข่ายปฏิรูปสื่อภาคประชาชน เสนอว่า หากในเวลา 1 ปี ไม่สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการ กสช.ได้ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่

ตั้งหน่วยงานพิเศษ(มติชน  11 ก.ค. 2550)คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานบริหารกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ เฉพาะกิจ ที่กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) ภายหลัง ครม.อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษหรือเอสดียูขึ้นภายใน กปส. เพื่อบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และล่าสุดเมื่อช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดี กปส. แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแลเอสดียู 5 คน ประกอบด้วย นายคัมภีร์ แก้วเจริญ อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธานกรรมการ นางดรุณี หิรัญรักษ์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นางสุภา ปิยจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง นายจุลกร สิงหโกวินท์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และนายปราโมช ทั้งนี้มีวาระสำคัญ 2 เรื่อง คือ 1.พิจารณาแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานี และ2.พิจารณากฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 4 เรื่อง ได้แก่ ระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทั่วไป ระเบียบบริหารการเงินพัสดุ และทรัพย์สิน ระเบียบบริหารงานบุคคล และระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน

ถกต้นแบบทีวีสาธารณะ(ไทยรัฐออนไลน์  15 ก.ค. 2550) สืบเนื่องจากพนักงานทีไอทีวีเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กรณีถูกกรมประชาสัมพันธ์แทรกแซงการทำงานและการนำเสนอข่าวสาร และข้อกังวลเกี่ยวกับกรณีที่จะมีการปรับโครงสร้างทีไอทีวีไปอยู่ภายใต้หน่วยบริการพิเศษ (SDU) สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยจึงจัดเสวนาเรื่อง “ทีไอทีวี ภายใต้ SDU=11/2 หรือต้นแบบโทรทัศน์สาธารณะ” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นในกรณีดังกล่าว โดยมีนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน และนักวิจัยเข้าร่วมเสวนา
นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม บรรณาธิการข่าวเช้าทีไอทีวี กล่าวว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากไอทีวีเป็นทีไอทีวีโดยมีกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้กำกับดูแลนั้น มีการเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมดูแลข่าวและแทรกแซงไม่ให้เสนอข้อมูลด้านที่ตรงข้ามกับรัฐบาล เช่นการห้ามเสนอข่าวเกี่ยวกับกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกตัดสินคดียุบพรรค รวมถึงการห้ามปล่อยเสียงที่ปรึกษากฎหมายของอดีตนายกรัฐมนตรีนอกจากนั้นยังมีการขอดูสคริปต์ข่าวก่อนออกอากาศ เป็นต้น ทำให้พนักงานเกิดความไม่มั่นใจว่าอนาคตหากไปอยู่ภายใต้โครงสร้างใหม่จะเป็นอย่างไร
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่าสถานะของทีไอทีวีตอนนี้อยู่ในภาวะช่องว่าง เพื่อรอเปลี่ยนผ่านไปเป็นทีวีสาธารณะ ในขณะนี้จึงต้องมีโครงสร้างที่เข้ามาดูแลเสมือนบ้านชั่วคราวคือ SDU ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่หลัก 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ ส่วนที่สองคือการค่อยๆแปลงสถานะทีไอทีวีให้เป็นทีวีสาธารณะ

เด็กหนุนรัฐบาล (มติชนออนไลน์ 30 ต.ค. 2550) เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. กลุ่มตัวแทนเด็กนักเรียนและเยาวชน ประมาณ 30 คน ได้เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาล พร้อมยื่นจดหมายเปิดผนึกแก่ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในการเสนอความเห็นและสนับสนุนรัฐบาลต่อการเปลี่ยนสถานีโทรทัศน์ช่องทีไอทีวีให้กลายเป็นทีวีสาธารณะ เพื่อเป็นสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็ก เยาวชน ครอบครัวและสังคมอย่างแท้จริง ต่อการเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้กับสังคม

ทั้งนี้คุณหญิงทิพาวดีได้เดินออกมารับมอบจดหมายเปิดผนึกด้วยตัวเอง พร้อมกับทักทายพูดคุยกับกลุ่มเด็กๆ ที่มายืนถือป้ายสนับสนุน การเปลี่ยนทีไอทีวีให้เป็นทีวีสาธารณะ อย่างเป็นกันเอง นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนักแสดงละครใบ้ มาแสดงท่าทางการงดใช้ความรุนแรงทางโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมให้มีแต่รายการสร้างสรรค์ต่อทุกคนในสังคมอีกด้วย

ยกเหตุไม่เลือกช่อง 11 (ผู้จัดการออนไลน์            31 ต.ค. 2550) คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ ทีวีสาธารณะ ว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ดำเนินการดูแล และพิจารณากฎหมายด้วยความถูกต้องชอบธรรม และรับฟังทุกความเห็นที่มีการเสนอมา แต่ว่าการพิจารณาไม่เลือกสถานีช่อง 11 เพราะว่าภารกิจส่วนใหญ่ของสถานีเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางราชการ โดย 1 ใน 3 ของการออกอากาศ คือ การถ่ายทอดสด และการให้หน่วยงานอื่นๆ เช่าเวลา ส่วนคดีความของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.)ยังอยู่ในข้อพิพาทกับบริษัทเอกชน จะเป็นหน้าที่ของ สปน.ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป โดยใช้งบประมาณของสถานีโทรทัศน์สาธารณะในการจ่ายค่าต่อสู้คดี

ลงมติเปลี่ยนเป็นทีวีสาธารณะ (ไทยรัฐออนไลน์  31 ต.ค. 2550)ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ....(ทีวีสาธารณะ) ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งวิป สนช.เห็นด้วยกับการเสนอของกรรมาธิการฯ ที่มีการจัดตั้งองค์การกระจายเสียงฯ แต่ยังมีความเห็นแตกต่างในการให้ทีไอทีวีเป็นทีวีสาธารณะ ว่า มีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร

ล่าสุด ที่ประชุม สนช.มีการลงมติ ให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เป็นทีวีสาธารณะ โดยมติเห็นตามคงร่างเดิมตามมาตรา 55 ด้วยคะแนน 106 เสียง และมีผู้ไม่เห็นด้วย เห็นควรให้เอามาตรา 55 ออกไป มี  44 เสียง โดยมีการงดออกเสียง 5 เสียง ทั้งนี้ มาตรา 55 ในบทเฉพาะกาลของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว บัญญัติให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน คลื่นความถี่ และภาระผูกพัน ของสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี ไปยังองค์กรใหม่

ผ่านร่างโอนทีไอทีวีสาธารณะ (ผู้จัดการออนไลน์               1 พ.ย. 2550) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบให้ประกาศร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ... เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนน 134-6 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง โดยร่าง พ.ร.บ.นี้มีเนื้อหาเพื่อจัดตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ทำหน้าที่เป็นองค์การสื่อสาธารณะด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ แต่ดำเนินการภายใต้ทุน ทรัพย์สิน และรายได้ขององค์การ

ครม.ตั้ง 5 อรหันต์(มติชนออนไลน์  16 ม.ค. 2551)หลังนายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) มีคำสั่งที่ 25/2551 เรื่องให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 (ส.ส.ท.) หรือทีวีสาธารณะ โดยให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ทีไอทีวียุติการออกอากาศตั้งแต่เวลา 24.00 น. วันที่ 14 มกราคมเป็นต้นไป ต่อมาเมื่อเวลา 00.10 น. วันที่ 15 มกราคม น.ส.ตวงพร อัศววิไล บ.ก.ข่าวประจำวัน ตัวแทนพนักงานทีไอทีวี เข้าแจ้งความกับ พ.ต.ต.สมนึก สันติภาตะนันท์ พนักงานสอบสวน (สบ2) สน.พหลโยธิน เพื่อให้ดำเนินคดีกับนายปราโมช ฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 กรณีที่นายปราโมช มีคำสั่งดังกล่าว

ด้านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวของ ส.ส.ท. จำนวน 5 คน ประกอบด้วยนายเทพชัย หย่อง บรรณาธิการเครือเนชั่น นางนวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายขวัญสรวง อติโพธิ อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอภิชาติ ทองอยู่ เลขาธิการมูลนิธิสวัสดี และนักวิชาการอิสระ และนายณรงค์ ใจหาญ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะมีหน้าที่กำหนดกฎ กติกา และกรอบระเบียบในการบริหารงาน แนวทางการทำงาน รวมทั้งมีอำนาจกำหนดจัดผังรายการ การคัดเลือกพนักงาน โครงสร้างการเงินเดือน และต้องสรรหาผู้อำนวยการสถานี ทั้งนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน

จับตาช่วงเปลี่ยนผ่าน(สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย 15 ม.ค. 2551) ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 และมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่งมีผลให้กรมประชาสัมพันธ์ต้องโอนกิจการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีไปอยู่ในการกำกับดูแลขององค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะแห่งประเทศไทยโดยทันที ที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการและปรัชญาของโทรทัศน์สาธารณะ ที่มุ่งเน้นการก่อเกิดประโยชน์สาธารณะโดยไม่อยู่ใต้อาณัติของอิทธิพลทั้งด้านการเมือง และธุรกิจ ตลอดจนปลอดพ้นจากอำนาจรัฐ ซึ่งเคยผูกขาดความเป็นเจ้าของสัมปทานคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์  อย่างไรก็ตามกระบวนการเปลี่ยนผ่านทีไอทีวี ไปสู่การเป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะย่อมมีผลกระทบต่อความไม่แน่นอนในการประกอบวิชาชีพของพนักงานทีไอทีวิจำนวนหนึ่งนั้น  สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความเห็นใจและเข้าใจต่อกลุ่มพนักงานทีไอทีวี ซึ่งได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายชั่วคราว ทั้ง 5 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีในวันนี้(15 ม.ค 2551) รวมทั้งผู้บริหารใหม่ของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ได้ดำเนินการอย่างเป็นธรรมกับอดีตพนักงานเดิม โดยนำข้อเรียกร้องและข้อเสนอแนะของกลุ่มพนักงานและภาคประชาสังคมที่ต้องการให้คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวพิจารณาดำเนินกิจการอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมมาประกอบการพิจารณาด้วย

นอกจากนี้ สมาคมฯ ในฐานะองค์กรวิชาชีพด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์  พร้อมที่จะร่วมติดตามและตรวจสอบ กระบวนการเปลี่ยนผ่านทีไอทีวีไปสู่ “โทรทัศน์สาธารณะ”  ในฐานะที่เป็นกระบวนการหนึ่งในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อรายงานให้ประชาชนได้รับทราบความเคลื่อนไหวและร่วมกันกำกับดูแล ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งและเป็นไปตามความคาดหวังของสังคมต่อไป

ตีกรอบรับพนักงาน“TPBS (ผู้จัดการออนไลน์ 23 ม.ค. 2551)หลังจากที่ “ทีไอทีวี” ถูกเปลี่ยนสภาพเป็น “ทีวีสาธารณะ” โดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา ล่าสุดวันนี้ (23 ม.ค.) คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวซึ่งประกอบด้วย "ขวัญสรวง อติโพธิ" ประธานคณะกรรมการนโยบาย ,"เทพชัย หย่อง" ผู้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการ,"อภิชาต ทองอยู่" , "ณรงค์ ใจหาญ" ,"นวลน้อย ตรีรัตน์" คณะกรรมการ รวมถึงอดีตผู้บริหารทีไอทีวีและ "ธนา ทั่วประโคน" ตัวแทนจากกรมประชาสัมพันธ์ ได้แถลงข่าวถึงความคืบหน้าของทีวีสาธารณะแห่งนี้ภายใต้ชื่อชั่วคราว “TPBS” ที่ตึกชินวัตร 3  โดยมีใจความหลักสำคัญกล่าวถึงประเด็นการว่าจ้างพนักงานว่าทางคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวได้รับทราบจากทางคณะกฎหมายของกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งได้แจ้งแล้วว่าสัญญาผูกพันพนักงานซึ่งได้จ้างพนักงานไอทีวีเพื่อดำเนินกิจการกับกรมประชาสัมพันธ์ได้ยุติไปก่อนที่พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 15 ม.ค. 51 ทั้งที่เซ็นสัญญาแล้วและไม่ได้เซ็นสัญญาฉะนั้นฐานะของทาง TPBS เลยไม่มีเงื่อนไขผูกพันที่จะต้องรับพนักงานของTITV ซึ่งได้ทำสัญญากับกรมประชาสัมพันธ์เอาไว้

ทั้งนี้ “เทพชัย หย่อง” ได้กล่าวเสริมถึงประเด็นดังกล่าวนี้ว่า มีนโยบายเปิดกว้างในการรับพนักงาน “ด้วยความจำเป็นที่ TPBS จะต้องออกอากาศให้ทัน 1 ก.พ.ซึ่งเป็นวันที่น่าจะออกอากาศเป็นกึ่งทางการแต่หลังจากเม.ย.ไปแล้วจะมีภาพของทีวีสาธารณะชัดเจนมากขึ้นเพราะฉะนั้นความจำเป็นในช่วงนี้ทำให้เราต้องมีความรีบเร่งที่จะรับพนักงานมาทำหน้าที่ของทุกฝ่าย”

'เปิดรายการ 15 ก.พ.นี้(มติชนออนไลน์ 29 ม.ค. 2551) นายเทพชัย หย่อง รักษาการผู้อำนวยการ (ผอ.) สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส กล่าวว่า รายชื่อที่ออกมา 200 กว่าคน เป็นพนักงานชั่วคราวก่อน 3 เดือน ที่ไม่มีรายชื่อพนักงานเก่า หรือบรรณาธิการข่าวบางคนนั้น เพราะไม่ได้สมัครไว้ และต้องมีเส้นแบ่งชัดเจนระหว่าง ทีไอทีวีเก่า และทีพีบีเอส เราไม่ต้องการให้มีการเผชิญหน้ากัน ทัศนคติที่ไม่สอดคล้องกัน โดยสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ดีที่สุด ไม่ต้องการให้มีความคลางแคลงใจ เพราะทีไอทีวีเดิมเอง ก็มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการออกมาเคลื่อนไหว เมื่อคัดเลือกบุคคลเข้ามา เพื่อสรรหาบุคคลเข้าทำงานในทีพีบีเอสเป็นพนักงานถาวร ก็จะมีการสรรหาคน ให้ความมั่นใจว่าการเลือกคนจะอยู่บนพื้นฐานความสามารถในการทำงาน คาดว่าจะสามารถประกาศได้ภายในสิ้นเดือนเมษายน ส่วนพนักงานชั่วคราวนี้ก็มีการเขียนใบสมัครเอาไว้แล้วด้วย และอาจได้รับการคัดเลือกเป็นพนักงานถาวร ผังรายการนั้น ทั้งนี้ วันที่ 15 ก.พ. คือ ช่วงที่จะเห็นความชัดเจน เพราะมีรายการข่าวเช้าเข้ามา มีการเจาะลึก รอบด้าน แต่ก็ยังอยู่ในการพูดคุยกับกลุ่มต่างๆ ซึ่งจะเชื้อเชิญให้เข้ามาผลิตรายการอื่นๆ

99999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999999จบเสียที