ในรอบปี 2553 สื่อมวลชนไทย
ศูนย์ข้อมูลสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ศูนย์ข้อมูลสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รวบรวมเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นในรอบปี พ.ศ. 2553 ที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อเว็บไซด์ โดยแบ่งหัวข้อออกเป็น สื่อกับรัฐบาล, สื่อรัฐ, คุกคามสื่อ, สื่อออนไลน์, วิทยุชุมชน, กทช.ไปสู้กสทช. กฎหมายคุ้มครองสื่อ และจริยธรรมสื่อ
สื่อกับรัฐบาล
25 ม.ค. พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพข่าวสารของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 อันเนื่องมาจากการถอดรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม “ สู้เพื่อบ้านเมือง ” และรายการวิทยุ “ เสาร์เช้าทันข่าวกับบรรณวิทย์ ” เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผู้บริหารได้เรียกตนเข้าไปพบ พร้อมให้เหตุผลว่า จำเป็นต้องถอดทั้ง 2 รายการ เพราะวิจารณ์รัฐบาลมากเกินไป โดยทางสถานีแจ้งว่า รัฐบาลขอความร่วมมือมาให้ถอดรายการ ซึ่งทางสถานีก็ต้องการความร่วมมือจากรัฐบาล เพราะผู้บริหารของสถานีถูกดำเนินคดีใช้กำลังส่งเกินกฎหมาย ขณะนี้เรื่องอยู่ที่อัยการ จึงต้องการให้ กมธ.ตรวจสอบเรื่องนี้หากเป็นคำสั่งมาจากรัฐบาลก็สามารถยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งได้
(25 ม.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
5 มีค นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นครบาลจับตาทีวีเสื้อแดง จัดการ หลังประกาศปรับผังรายการจ่อปลุกระดมสร้างความรุนแรง เช่นมี การปลุกระดม ยุยงให้มีการเผาสถานที่ราชการ ก่อวินาศกรรม หรือมีการเผยแพร่คำพูดของ นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำ นปช.ให้เอาขวดน้ำมันติดตัวกันมา เหตุการณ์ก็จะเหมือนกับดีสเตชั่นเมื่อช่วง12-13 เม.ย. 2552 หากพบการกระทำผิดกฎหมายจะสั่งดำเนินคดีทันที
(5 มี.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
9 มีค. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะจัดรายการพิเศษช่อง 11 วันที่ 10 มี.ค.ชี้แจงแผนรับมือม็อบแดง สาทิตย์ ปูดช่อง 5 ,9,11 อยู่ในข่ายถูกบุกยึดสถานี เตรียมส่งกำลังเฝ้ารักษาความปลอดภัย เชื่อม็อบแดงอาละวาดแรงกว่าเดือน เม.ย.52
(9 มี.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าววว่าบทบาทสื่อของรัฐยังไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเพียงพอในเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชน ไม่ว่าจะเป็น ช่อง 3,5,7,9 เอ็นบีที และทีวีไทย
(30 มี.ค. 2553 พิมพ์ไทย)
1 เม.ย. นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ระบุว่า ตราบใดที่รัฐบาลยังคงจุดยืนเดิมคืบยุบสภาอีก 9 เดือน การเจรจาจะไม่เกิดขึ้นอย่าง แน่นอน เว้นแต่ว่ารัฐบาลจะมีข้อเสนอใหม่และค่อยเอามาให้กลุ่มคนเสื้อแดงพิจารณา ขณะเดียว กันเห็นว่าสถานีโทรทัศน์ แห่งประเทศไทย หรือ NBT ยังคงนำเสนอข่าวใส่ร้ายกลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มเสื้อแดงจะเดินทาง ไปปิดล้อม NBT ขณะ เดียวกัน เปิดเผยอีกว่า ทีมทนายของกลุ่มคนเสื้อแดง กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อฟ้องร้องคณะ กรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.
(1 เม.ย. 2553 ไอเอ็นเอ็นออนไลน์)
24 เม.ย. นายณัฐวุฒิยังได้หยิบยกทวิตเตอร์ของ น.ส.ฐาปนีย์ หรือ "แยม" เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าวรายการข่าว 3 มิติ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ซึ่งใช้ชื่อว่า "yam3miti" ซึ่งได้โพสท์ข้อความไว้เมื่อคืนวาน โดยนายณัฐวุฒิระบุว่า เป็นการระบายความคับแค้นใจ และยกตัวอย่างการโพสต์ข้อความในหลายๆ ครั้งที่มีใจความว่า "นี่คือข้อเท็จจริงจากปากคำ ตร.ยอม รับว่ามีชายฉกรรจ์ 20 คน ปาระเบิดขวด และตำรวจได้ไล่ตาม แต่ถูกทหารจับตัวเอาปืนจ่อหัวและบอกว่า ไม่ต้องตามแล้ว ตร. บอกคนสีลมหรือคนเสื้อหลากสีถูกจัดตั้งมา นี่คือข้อเท็จจริงขอให้คนอ่านใช้วิจารณญาณ เมื่อไปถามทหารแล้วทหารก็ไม่พูดอะไร แต่ ตร.ที่ถูกเอาปืนจ่อเป็นรอง ผกก. ระดับ ผบ.หมู่ เขาไม่เปิดเผยใบหน้าทำได้เท่านี้ เมื่อนักข่าวไม่สามารถรายงานได้หรือรายงานไปไม่มีใครเชื่อก็น่าเห็นใจสังคม ไทยจริงๆ"
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ถ้าเป็นจริงแสดงว่าบ้านเมืองนี้ตกอยู่ในสถานการณ์การสงครามกลางเมือง และสอดคล้องกับที่นายจตุพรเคยเปิดเผยว่าที่ทหารควบคุมชุดปฏิบัติการมาแสดง เป็นผู้ชุมนุม และที่ต้องเอาปืนจ่อไม่ให้ตามไปเพราะกลัวว่าหาก ตร.จับได้ความจะแตกใช่หรือไม่
2 มิ.ย. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย กล่าวถึงกรณีที่สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น นำภาพผู้ก่อการร้ายชุดดำมาโชว์ต่อสาธารณชน ไม่แน่ใจว่าเป็นการไถ่บาปหรือไม่
2 มิ.ย. ศอฉ ขอนแก่นเชิญสื่อประชุมวอนช่วยกันกลุ่มกวนเมือง
7มิ.ย.ร.ศ.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ คณบดีคณะนิเทศน์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวสิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าได้ประสานงานมาเพื่อให้ช่วยงานในเรื่อง การปฏิรูปสื่อว่า เท่าที่ได้คุยกับนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นเพียงกรอบคราวๆในเรื่องแนวทางการปฎิ รูปว่าควรเป็นอย่างไร ซึ่งโดยรวมก็เห็นคล้ายๆกัน แต่ยังไม่ได้พูดคุยลงลึกในรายละเอียดแต่อย่างใด ทั้งนี้เรื่องแนวทางการปฏิรูป การทำงานและกรอบระยะเวลา นั้นทางรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีคงต้องการรอความชัดเจนจากทางเรา ซึ่งเราต้องศึกษาในเบื้องต้นจากการจัดเวทีสาธารณะ และการพบปะกับองค์กรสื่อต่างๆ หลังจากนั้นจึงจะเสนอแนวทางในการทำงานต่อรัฐบาล ต่อไป
7 มิ.ย. นาย องอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่ว่า พรุ่งนี้จะเดินทางมาร่วมประชุมครม.ตั้งแต่ 08.00 น.โดยจะมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล ทั้งพระพรหมที่ตึกไทยคู่ฟ้า และศาลพระภูมิ
ส่วนการแบ่งงานในตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น นายองอาจ กล่าวว่าที่นายกฯได้มีการพูดคุยกันวันนี้ก็จะเน้นในเรื่องของการประชา สัมพันธ์ของภาครัฐ โดยความจริงคำว่าภาครัฐนั้น ไม่ได้หมายถึงเฉพาะที่ทำเนียบ หรือตัวรัฐมนตรีเท่านั้น แต่รวมทั้งหมดของรัฐบาลทุกกระทรวง ซึ่งต้องดำเนินไปพร้อมกันทั้งหมดจึงจะเห็นผลงานต่าง ๆ ดังนั้นก็ต้องพยายามทำงานร่วมกัน ประสานงานกัน ส่วน งานอื่น ๆ พรุ่งนี้นายกฯจะแจ้งอย่างเป็นทางการอีกครั้ง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ได้ดูมาก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการพูดคุยกับนายสาทิตย์มาบ้างแล้ว ส่วนนายกฯก็ยังไม่ได้ให้นโยบายอะไร คงรอในที่ประชุมพรุ่งนี้
นายองอาจ กล่าวว่า จริง ๆ แล้วเรื่องของสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบซึ่งเป็นเรื่องที่ควบคู่กันไป นั้น ถ้าเราสามารถทำให้มีความเข้าใจร่วมกันได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ถามต่อว่าที่ผ่านมามีการมองกันว่ารัฐบาลมีการใช้สื่อของรัฐในการบิดเบือน ข้อมูล ข้อเท็จจริง รมต.ประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ความจริงการเป็นรัฐบาลก็อาจถูกวิจารณ์ได้ ก็ต้องน้อมรับ แต่ถ้าเสียงวิจารณ์นั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเราก็ต้องชี้แจงให้เกิดความเข้า ใจว่าความจริงเป็นอย่างไร และตนคิดว่าเราสามารถชี้แจงได้
(7 มิ.ย. 2553 โพสต์ทูเดย์)
8 มิ.ย. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ สนามเป้าเล่าข่าวทางช่อง5 โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ดูแลสื่อว่า ต้องทำงานดูแลสื่อมวลชนของรัฐ ไม่ใช่งานง่ายๆ ที่ต้องทำคือ ปฏิรูปสื่อ ต้องเข้าไปดำเนินการอย่างไร ต้องวิธีการไหนที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ สื่อสารไปยังประชาชนให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับสังคม
(8 มิ.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
19 มิ.ย. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าในการปฏิรูปสื่อซึ่งเป็นหนึ่งในแผนปรองดอง 5 ข้อของรัฐบาล ว่า ตอนนี้งานปฏิรูปสื่อยังไม่มีใครเป็นประธาน แต่จะเกิดความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับสื่อเอง เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องมีอิสระและสิทธิเสรีภาพในการทำงาน ฉะนั้นงานปฏิรูปสื่อต้องดำเนินไปบนพื้นฐานนี้ ดังนั้นในส่วนของภาครัฐเป็นเพียงส่วนเล็กๆในการปฏิรูปสื่อฯ ทั้งนี้วิธีการที่จะเดินต่อจากนี้ไปนั้นตนในฐานะที่กำกับดูแลเรื่องนี้ที่ นายกฯมอบหมายให้ดำเนินการก็จะเริ่มรับฟังความคิดเห็นจาก 5 ภาคส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสื่อ
โดยกลุ่มแรกในวันพุธที่ 23 มิ.ย. จะพบกับองค์กรวิชาชีพสื่อที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กลุ่มที่สอง กลุ่มเครือข่ายวิชาการด้านสื่อสารมวลชนที่กำลังอยู่ระหว่างการจัดหมาย กลุ่มที่สามภาคประชาสังคม ภาคประชาชนที่ทำงานด้านสื่อ เช่น กลุ่มสื่อสร้างสรรค์ กลุ่มพ่อแม่เฝ้าระวังสื่อ ฯ กลุ่มที่สี่ ภาคเอ็นจีโอ อาทิ คณะกรรมการปฏิรูปสื่อฯ และกลุ่มที่ห้า ประชาชนทั่วไป เพราะถือเป็นคนที่เกี่ยวกับสื่อโดยตรงในฐานะเป็นคนรับข้อมูลข่าวสาร
(20 มิ.ย. 2553 คมชัดลึก)
21 มิ.ย. คณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒติสภา เชิญนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสื่อของรัฐ มาชี้แจงเรื่อง แนวทางการใช้สื่อของรัฐสร้างความสมานฉันท์ แต่นายองอาจไม่ได้มาชี้แจง แสดงให้เห็นความไม่จริงใจของรัฐบาล นอกจากนี้ นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ สว.สรรหา ตำหนิการนำเสนอข่าวของสื่อรัฐ โดยเฉพาะช่อง 11 ไม่ให้ความสำคัญกับข่าวสารในฝั่งคู่ขัดแย้ง ยังนำเสนอรายการที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น โดยเฉพาะรายการที่จัดโดย 2 ดอกเตอร์และ 1 ทนาย
(21 มิ.ย. 2553 มติชนออนไลน์)
23 มิ.ย. 4 องค์กรวิชาชีพคือ ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และผู้แทนองค์กรสื่อต่างๆ ให้ตั้งคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน (คพส.) เพื่อ 1. เร่งรัดให้เกิดการปฎิรูปสื่อภาครัฐ 2. ขจัดอุปสรรคต่อสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร 3. ศึกษาแนวทางองค์กรกำกับดูแลกันเองด้านจริยธรรมสื่อ 4. ศึกษาความร่วมมือจัดทำหลักสูตรพัฒนาบุคลากรวิชาชีพสื่อ 5. พัฒนาองค์กรด้านการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อให้เข้มแข็ง ภายใต้แนวคิด “ปฏิรูปสื่อรัฐ –พัฒนาสื่อเอกชน”
(24 มิ.ย. 2553 มติชน)
“มาร์ค"เดินสายพบปะพูดคุยสื่อ ปฏิรูปครอบคลุมอินเตอร์เน็ต
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ถึงการปฏิรูปสื่อมวลชน ว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังเดินหน้าปฏิรูปสื่อ โดยจะพยายามเปิดพื้นที่ช่อง 11 ให้เกิดความหลากหลาย ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้า จะเดินหน้าพูดคุยกับองค์กรสื่อสารมวลชน โดยการปฏิรูปจะให้ครอบคลุมสื่ออินเตอร์เน็ตด้วย
(11 ก.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
16 ก.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางมาพบปะหารือกับผู้บริหาร บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) นำโดยนายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปสื่อมวลชน
(16 ก.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
17 ก.ค. นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) แถลงว่า กรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินสายพบปะสื่อมวลชน มองว่าเป็นการเสียเวลาเปล่า และไม่เชื่อว่าจะนำไปสู่การปฏิรูปสื่อได้ เพราะทุกวันนี้สื่อทำหน้าได้ดีอยู่แล้ว ทางเดียวที่รัฐบาลจะปฏิรูปสื่อได้สำเร็จคือรัฐบาลต้องปฏิรูปนิสัยและความคิดของตัวเองก่อน การปฏิรูปสื่อเป็นเพียงข้ออ้าง เพื่อต้องการลดกระแสการทุจริตของรัฐบาลที่ถูกสื่อตรวจสอบอย่างหนัก
(17 ก.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
29 ก.ค. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศประจำเดือนกรกฎาคม โดยกล่าวถึงโทรทัศน์มหาดไทยที่กระทรวงจัดทำขึ้นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสามารถใช้โทรทัศน์มหาดไทยสื่อสารกับประชาชนท้องถิ่น โดยขอเวลาเพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่และเทศกาลท่องเที่ยวผ่านสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ขอความร่วมมือจากสถานีเคเบิลทีวีท้องถิ่น โรงแรม ร้านค้า สถานที่ราชการ และอาคารสำนักงานของอปท. ทุกแห่งให้ติดตั้งในจุดที่มีประชาชนไปรอรับบริการ เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารของกระทรวงเป็นประโยชน์ในการติดต่อราชการ
(30 ก.ค. 2553 แนวหน้า)
9 ธ.ค. นายสุเทพ เทือนสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและเลขาธิการ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีสำนักข่าวต่างประเทศมีการวิจารณ์ผลการตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์เป็นสองมาตรฐานว่า คิดว่าคนได้ฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญพร้อมๆกัน ซึ่งมีความชัดเจนว่า กระบวนการในการยื่นฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อเป็นอย่างนี้ ศาลก็มีคำวินิจฉัยให้ยกฟ้อง จะไปเปรียบเทียบกับคดีหมดอายุความคงไม่ใช่เป็นการแปลความกันไอเอง ตนขอชี้แจงว่าทั้งหมดอยู่ที่ข้อเท็จจริง ซึ่งศาลได้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยเช่นนั้นทุกฝ่ายก็ต้องยอมรับ เพราะนั้นคือความจริง จะถูกใจใครหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ศาลต้องทำตามบรรทัดฐาน ตามกฎเกณฑ์กติกา และทุกกรณีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยกฟ้อง การที่ใครจะมากล่าว่าเป็นสองมาตราฐาน เป็นการทำร้ายระบบของประเทศไทย
(1 ธ.ค. 2553 ข่าวหุ้น)
21 ธ.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.บ.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 4 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีผลตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พร้อมตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ (ศตส.) ขึ้นมาทดแทนศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่ต้องยุบเลิกไปโดยสภาพ โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.) เป็นผู้อำนวยการ ศตส. และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ศตส.
(21 ธ.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
21 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวถามว่า การใช้งบประมาณของ ศอฉ. ที่ผ่านมามีจำนวนเท่าไหร่ ภายหลังจากที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พึ่งเดินทางกลับจากประเทศกัมพูชาทำให้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่า ไปเอาตัวเลขที่ไหนมาพูด มีเฉพาะค่าเบี้ยเลี้ยง เจ้าหน้าที่ทำงานเท่าไหร่ก็ได้เท่านั้น กี่คนก็เอาตัวเลขคูณเข้าไป เมื่อถามว่าสรุปแล้วใช้งบประมาณไปเท่าไหร่ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่าไม่รู้ ไม่ทราบไปหาตัวเลขกันเอาเอง เพราะไม่ได้สนใจตัวเลข เมื่อได้งบประมาณมาก็แจกจ่ายให้กับหน่วยไปปฏิบัติงาน แต่ไม่ใช่เป็นหมื่นล้านแสนล้านบาท รัฐบาลไม่มีเงินให้ขนาดนั้น ถ้าอยากให้เจ้าหน้าที่ทำงาน อยากให้บ้านเมืองสงบ เลิกเสียทีกับเรื่องปั้นน้ำเป็นตัว การเขียนเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง
“เหมือนกับเรื่องที่บอกว่ารัฐบาลทำโน่นทำนี่ให้กับทหารเป็นการตอบแทน ผมขอบอกว่าผมไม่เห็นได้อะไรเลย อยากถามว่า การซื้อของต่างๆ เหล่านี้ใครเป็นคนได้ ประเทศไทยได้หรือไม่ได้ ส่วนผลประโยชน์อยู่ที่ใครผมไม่รู้ เพราะไม่ได้ และไม่มีใครได้ด้วย ถ้าบอกว่านี้ไม่ควรซื้อ นั่นก็ไม่ควรซื้อ เพราะซื้อแล้วโกงทุจริตก็ขอให้ไปหาหลักฐานมา แล้วอีกหน่อยก็ไม่มีใครอยากทำงาน ไม่มีใครอยากมาดูแลประเทศชาติ ทำลายกันไปที่ละคนจนหมด แล้วจะไปหาใครมาดูแลก็ขอให้ไปหาคนอื่นมาช่วยกันดูแลกันเอาเอง” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
(23 ธ.ค. 2553 ไทยรัฐ(บ่าย))
23 ธ.ค. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงงบประมาณของศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)ว่า ขณะนี้กำลังให้เจ้าหน้าที่รวบรวมอยู่ และจะมีการชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรหลังจากเปิดสมัยประชุมในวันที่ 28 มกราคม 54 ยืนยันว่าจะชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบเพราะเปิดเผยอยู่แล้ว ส่วนเพราะสาเหตุใด ผบ.ทบ. ถึงต้องออกมาแสดงอาการโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดกับสื่อเมื่อถูกถามถึงงบประมาณดังกล่าว นั้น รองนายกฯ กล่าวว่า เขาคงไม่ได้โกรธหรอก “ผมคิดว่าผบ.ทบ.ไม่ได้เกรี้ยวกราดกับสื่อมวลชน ผมซะอีกที่เจอสื่อมวลชนเกรี้ยวกราดทุกวัน บางครั้งแทบจะเข่าอ่อน สื่อชกแต่ละทีเข้าปลายคางจนจะน็อกอยู่แล้ว แต่กรณีผบ.ทบ.เพิ่งขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการทหารบกไม่กี่วัน เวลาต้องเจอสถานการณ์ที่สื่อมวลชนมาถามก็อาจจะตั้งหลักยากนิดหน่อย ก็คงต้องให้เวลาท่านหน่อย ผมเข้าใจดีว่าท่านเป็นถึงระดับผู้นำกองทัพ แต่ยืนยันว่าท่านไม่มีอารมณ์อะไรหรอก ท่านเป็นทหารก็พูดจาอย่างนั้นแหล่ะ ขณะนี้ใกล้ปีใหม่ก็ขอให้ใจเย็น ๆ กัน เดี๋ยวผมจะไปนวดท่าน ผบ.ทบ.ให้นุ่มลงหน่อย ยืนยันว่าการกระทำทุกอย่างที่ผ่านมารัฐบาลนี้รับผิดชอบอยู่แล้ว ต้องรับผิดชอบ” นายสุเทพ กล่าว
ด้านการที่ ผบ.ทบ.บอกจะไม่ให้สื่อเข้าไปถ่ายภาพหรือทำข่าว นายสุเทพ กล่าวว่า แน่นอนสื่อต้องตรวจสอบกองทัพ และยืนยันว่าจะไม่ห้ามสื่อเข้าไปทำข่าวของกองทัพ “ผมยืนยันได้เลย ผมเป็นรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง ผมพูดจากับพี่น้องทหารได้ ไม่มีห้าม เปิดเผย อย่าไปสงสัยท่าน เพราะทหารไม่ได้หน่อมแน้มเหมือนผม ท่านเป็นทหาร แข็งแรง เข้มแข็ง สื่อก็ต้องถามคำถามให้หวาน ๆ หน่อย” รองนายกฯ กล่าว
(24 ธ.ค. 2553 บ้านเมือง)
28 ธ.ค. การตั้งฉายารัฐบาลและรัฐมนตรีประจำปีของผู้สื่อข่าวสายทำเนียบรัฐบาล ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่อการทำงานของรัฐบาล โดยในปีนี้ ฉายารัฐบาลคือ “รัฐบาลรอดฉุกเฉิน” เพราะตลอดปี 2553 รัฐบาลต้องเผชิญกับวิกฤตหลายด้าน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตภัยธรรมชาติ วิกฤตการเมืองทั้งในและนอกสภา เกิดความขัดแย้งและแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคม จนต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในหลายพื้นที่เพื่อควบคุมสถานการณ์ จนทุกฝ่ายมองว่ารัฐบาลไม่น่าจะบริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้ แต่สุดท้ายรอดจากวิกฤตต่างๆ รวมทั้งรอดพ้นจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ด้วย
ส่วนฉายานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคือซีมาร์คโลชั่น เพราะสังคมคาดหวังว่านายกฯจะเข้ามาแก้ไขปัญหาและรักษาอาการของประเทศได้ แต่ผลการปฏิบัติหน้าที่ของนายกฯ ยังทำได้ผลเพียงการบรรเทาโรค เปรียบเสมือนการใช้ "ซีม่าโลชั่น" ทาแก้คันเท่านั้น
(28 ธ.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
Asia Update
5 ก.ค. นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงความคืบหน้าการเปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Asia Update ว่า ขณะนี้มีความคืบหน้ามาก คาดว่าจะออกอากาศได้ในสัปดาห์หน้า มีการเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมจากต่างประเทศเพื่อแพร่ภาพในรูปแบบเดียวกับ สถานีพีเพิลแชแนล ที่ถูกปิดไป มีสำนักงานอยู่ที่ห้างอิมพีเรียลลาดพร้าว ส่วนผู้ให้การสนับสนุนและผู้อำนวยการสถานนีนั้นไม่ขอเปิดเผย
นายจิรายุ กล่าวว่า ทีวีช่องดังกล่าวเนื้อหาไม่ได้ออกแนวโทนแดงมาก เหมือนพีเพิลแชแนล มั่นใจว่าหากแพร่ภาพออกอากาศได้นั้นจะไม่ขัดต่อพรก.ฉุกเฉิน เพราะเนื้อหาและรูปแบบรายการเราไม่ใช่การปลุกระดม หรือยั่วยุ แต่จะเน้นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างเข้มข้น เนื้อหารูปแบบรายการนั้น มีเนื้อหาด้านต่างประเทศ 40% ในประเทศและสถานการณ์การเมือง 25%
ส่วนที่ เหลือเป็นด้านบันเทิงและรายการของผู้ที่จะมาร่วมรายการ ซึ่งเบื้องต้นจะมีตน นายการุณ โหสกุล นอ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการหลัก อีกส่วนจะเป็นผู้ดำเนินรายการเดิมจากสถานีพีเพิลแชแนล ในอนาคตจะมีรายการความจริงวันนี้ มาจัดด้วยหรือไม่ ขอหารือกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน และอดีตผู้จัดรายการก่อนว่าพร้อมหรือไม่
"แต่ขณะ นี้มีสถานีความพร้อมมาก ทุกวันนี้ได้ทดลองออกมาอากาศระหว่างเวลา 19.00 - 20.00 น . มาระยะหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ผู้ที่จะรับชมได้ต้องเป็นผู้ที่ใช้จาน PSI หรือ จานแดงเดิม เมื่อใกล้เวลาเปิดสถานีจะแจ้งให้ทราบถึงวิธีการปรับจูนเพื่อให้รับชม Asia Update ได้"
(5 ก.ค. 2553 www.bangkokbiznews.com)
สื่อรัฐ
5 ม.ค. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารงานของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11) หรือช่อง11 ซึ่งเป็นสื่อในการกับดูแลของรัฐบาลโดยกรมประชาสัมพันธ์ ที่จะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารงานของสทท.11 กลับไปใช้ระบบเช่าเวลาแทนการร่วมผลิตกับเอกชน เพราะระบบร่วมผลิตทำให้ราชการได้ประโยชน์น้อยกว่าระบบเช่าเวลา
ส่วนประเด็นความคืบหน้าในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ....ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อมวลชน ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวได้พิจารณาตัวกฎหมายเสร็จสิ้นแล้วทั้งสิ้น 88 มาตรา จากนี้จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรให้ทันพิจารณาวาระ 2-3 ในสมัยประชุมนี้ ที่เริ่มเปิดปลายเดือนมกราคม 2553 หากผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนฯ ก็จะเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา โดยคาดว่า กลางปี 2553 กฎหมายน่าจะมีผลบังคับใช้
(5 ม.ค. 2553 โพสต์ทูเดย์ออนไลน์)
9 ก.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดตัวสถานีข่าวสารเพื่อการปฎิรูปประเทศไทย ที่สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.)หรือ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และในโอกาสที่สทท. ครบรอบ 22 ปี โดยมีนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสาธิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีด้วย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า องค์กรวิชาชีพมีการตั้งข้อสังเกตและวิพากษ์วิจารณ์ถึงความจริงใจในการปฏิรูปของรัฐบาลว่า มีมากน้อยแค่ไหน ก็คงจะต้องดูจากสถานีโทรทัศน์ของรัฐ ซึ่งข้อเสนอในการปฎิรูปช่อง 11 ที่ผ่านมา มีผลการศึกษาหลากหลาย ทั้งการตั้งให้เป็นหน่วยบริการพิเศษมาจนถึงการเป็นองค์การมหาชน แต่หลักสำคัญที่ต้องดำเนินการคือการทำให้องค์กรนี้มีความคล่องตัวมากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันและดึงดูดผู้ชม และต้องเป็นอิสระมีความเป็นวิชาชีพ สร้างความสมดุลระหว่างความมีอิสระในการทำงานและคงวัตถุประสงค์การนำเสนอข้อมูลข่าวสารของรัฐ ที่อาจะไม่สามารถนำเสนอผ่านช่องทางอื่นไได้
“แนวทางการปฏิรูปช่อง 11 ในขณะนี้ได้มอบให้รัฐมนตรีประจำสำนักฯ เปิดให้คนมีความคิดเห็นที่หลากหลายมาใช้พื้นที่ได้มากขึ้นรวมทั้งคนซึ่งเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล ซึ่งจุดยืนของผมตั้งแต่ต้น คือ ผมมีรายการที่นำเสนอทุกสัปดาห ์ ก็ประกาศมาตั้งแต่ต้นตอนเลือกตั้งว่า ถ้าหากผมเป็นนายกฯ ยินดีที่จะให้เวลาฝ่ายค้าน ได้ใช้พื้นที่สื่อรัฐ แม้อาจมีเวลาไม่เท่ากับนายกฯ ก็ตาม” นายอภิสิทธิ์กล่าว
นางสาวรัตนา เจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า การเปิดตัวช่อง 11 เป็นสถานีข่าวสารเพื่อการปฎิรูปประเทศไทย จะมีการปรับผังรายการใหม่ในเดือน ก.ค. นี้ ในเฟสแรกจะมี 3 รายการใหม่ ที่สอดคล้องตามแนวทางการปฎิรูปด้วยการเปิดพื้นที่ให้หลากหลายมุมมองของสังคมมาร่วมแสดงความคิดเห็น คือรายการเดินหน้าประเทศไทย ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 23.00-24.00 น. เป็นการร่วมผลิตกับผู้ผลิตรายการ รายการ ฟังความรอบด้าน ทุกวันเสาร์ เวลา 22.00-23.00 น. ส่วนอีกรายการเริ่มก.ค.นี้ เปิดพื้นที่ช่อง 11 ให้ฝ่ายค้านได้มีเวทีในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ เป็นรูปแบบที่จะเชิญ วิปฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล มาร่วมสนทนาในประเด็นต่างๆ จะออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 22.00-23.00 น.
(10 ก.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจ , มติชน)
1 ส.ค. สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) ถนนวิภาวดีรังสิต สถานวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) กรมประชาสัมพันธ์ โดยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี นายกฤษณพร เสริมพานิช อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และ น.ส.รัตนา เจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการ สทท. ร่วมกันเปิดตัวรายการใหม่ภายใต้แนวคิดเปิดพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ ประกอบ ด้วย 4 รายการใหม่ ได้แก่ 1.รายการ “ตรงไปตรงมา” ออกอากาศทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 22.00-23.00 น. ซึ่งเป็นรูปแบบการสนทนาปัญหาบ้านเมือง โดยนำคนหลากหลายอาชีพมาน้ำเสนอมุมมองและความคิดเห็นในการแก้ปัญหาประเทศ อย่างสร้างสรรค์ตามแผนปฏิรูปประเทศไทย 2.รายการ “ฉีกกรอบ คิดกับคนรุ่นใหม่” ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา 22.00-23.00 น. โดยเป็นรูปแบบการเสวนาแสดงความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ ซึ่งจะมีผู้ร่วมรายการอย่างน้อย 18 คน
3.รายการ “ฟังความรอบข้าง” ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 22.00-23.00 น. ระดมความคิดสร้างสรรค์จากคนทั้งประเทศเพื่อปฏิรูปประเทศ 4.รายการ “เวทีวิป” ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 22.00-23.00 น. ซึ่งรูปแบบเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีในการส่งเสริมประชาธิปไตยและความ สมานฉันท์ในชาติ โดยมีผู้ร่วมรายการหลัก คือ นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) และนายวิทยา บูรณะศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน
นอกจากนี้ยังได้เพิ่มรายการที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น รายการ“สถานีสุขภาพ” จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข รายการ “4-4-2 วีคเอนด์” ที่เป็นรายการเกี่ยวกับกีฬาฟุตบอล เป็นต้น รายการเหล่านี้จะเริ่มออกอากาศตั้งแต่เดือน ส.ค.นี้ เป็นต้นไป
(1 ส.ค. 2553 www.bangkokbiznews.com)
สื่อกับม็อบ
14 มี.ค. ดีพีเอยังได้อ้างแหล่งข่าวในพื้นที่ชนบทซึ่งระบุว่า มีการว่าจ้างผู้คนให้เดินทางมาร่วมประท้วงในราคาคนละ 1,000 บาท และประเมินว่า หากมีผู้ชุมนุมราว 3-4 แสนคน ก็น่าจะต้องใช้เงินระหว่าง 90-120 ล้านบาท โดยสำนักข่าวแห่งนี้ระบุด้วยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้สนับสนุนหลักทางการเงินแก่การชุมนุม
(14 มี.ค. 2553 ประชาไท)
17 มี.ค. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วิดีโอลิงก์เข้ามาที่เวทีกลุ่มคนเสื้อแดงว่า สถานที่ที่ตนพักอยู่ขณะนี้ (มอนเตเนโกร) มีบรรยากาศและสถานที่สวยงาม เลยอยากชวนพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาพักที่นี่ จะได้หายเครียด ยืนยันว่าไม่ได้ถูกไล่จากประเทศยูเออี และในวันที่ 18 มีนาคม จะเดินทางกลับเข้าไปดูไบ ส่วนการชุมนุมของคนเสื้อแดงครั้งนี้ จะอยู่กันยาวจนกว่าอภิสิทธิ์จะหน้าบาง
(17 มี.ค. 2553 คมชัดลึกออนไลน์)
18 มี.ค. เจ้าหน้าที่ทหารจากสำนักเลขานุการกองทัพบก(สลก.ทบ.) ได้นำคณะสื่อมวลชนที่ปักหลักทำข่าวอยู่ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์(ร.11รอ.) ซึ่งเป็นกองบัญชาการของศูนย์รักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) ขึ้นรถบัสทหารจากด้านหน้าแหล่งสมาคมนายทหาร ร.11รอ. ซึ่งเป็นศูนย์สื่อมวลชน ไปบันทึกภาพและทำข่าวกิจกรรมยามเย็น รวมทั้งชมที่หลับที่นอนที่กินของกำลังพลที่เตรียมพร้อมอยู่ภายในร.11 รอ. ที่มีหน่วยประจำการอยู่บริเวณด้านหน้าร.11 รอ. ใกล้แนวรั้วติดกับถนนพหลโยธิน
(18 มี.ค. 2553 คมชัดลึกออนไลน์)
14 พ.ค. นายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศ เปิดเผยถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรงเพิ่มขึ้นในขณะนี้ว่า ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันของกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเจ้าหน้าที่ทหาร ในหลายจุดจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต สมาคมนักข่าวฯ มีความห่วงใยในสวัสดิภาพและความปลอดภัยของสื่อมวลชน โดยเฉพาะผู้สื่อข่าวและช่างภาพที่อยู่ภาคสนาม ซึ่งต้องทำหน้าที่ท่ามกลางสภาวะความกดดัน จึงขอแจ้งเตือนให้ทุกคนระมัดระวัง และคำนึงความปลอดภัยของตนเองเป็นหลัก
14 พ.ค. คลื่นข่าว FM 100.5 Mhz ในรายการพิเศษติดตามสถานการณ์การชุมนุม โดยการเปิดเผยของนายพลากร สุวรรณ์รัตน์ ว่าเหตุที่นักข่าวถูกยิงหลายคนเนื่องจากได้พูดคุยกับนักข่าวในพื้นที่ ทราบว่าตั้งแต่ค่ำคืนที่ผ่านมา มีกลุ่มฮาร์ดคอของนปช.ได้สวมปลอกแขนสีเขียวคล้ายนักข่าว ออกป่วนมีพื้นที่ ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่วางใจว่าคนที่สวมปลอกแขนนักข่าว เป็นนักข่าวจริง หรือว่าเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมแฝงตัวมา
15 พ.ค. น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. กล่าวว่า ในช่วงเช้าวันนี้ไม่มีสื่อมาปรากฏตัวที่หลังเวทีเหมือนกับทุกวันที่ผ่านมา โดยตนทราบมาว่ากองบรรณาธิการได้สั่งการให้นักข่าวไม่เข้ามาในพื้นที่ นี่คือสัญญาณการสลายการชุมนุม ดังนั้นขอเรียกร้องให้สื่อกลับเข้ามาทำหน้าที่ในพื้นที่เหมือนเดิม และขอรับรองความปลอดภัยของสื่อที่จะเข้ามาทำงาน โดยผู้ชุมนุมและการ์ดจะให้ความดูแลเป็นอย่างดี
(15 พ.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
17 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานเกิดการปะทะในหลาย จุดรอบพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ ส่งผลให้ผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างชาติถูกลูกหลงบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ล่าสุดสถานทูตจีนประจำประเทศไทย ประสานสภากาชาดไทยและร.พ.ตำรวจ ให้ช่วยนำตัวผู้สื่อข่าวทั้งหมดของจีนออกห่างจากจุดชุมนุม
14.10 น. สื่อแขนงต่างๆ จากหลายสำนัก ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ได้มีการแจ้งไปยังสื่อมวลชนที่ปฎิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง ให้เตรียมถอนตัวออกไปอยู่ในจุดปลอดภัย โดย รพ.จุฬาลงกรณ์ ได้นำรถตู้หลายคันมาขนบุคลากรออกไปทางถนนอังรีดูนังต์ พร้อมแจ้งให้สื่อมวลชนที่ปักหลักรายงานข่าวอยู่ที่ห้องฉุกเฉิน หากเห็นว่าไม่ปลอดภัยให้ออกไปทางตึกคัคนางค์ หรือตึกคลอด ฝั่งถนนอังรีดูนังต์ ซึ่งสามารถเคลื่อนออกผ่านสยามสแควร์ออกไปได้สะดวดกว่าจุดอื่น
(17 พ.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
18พ.ค. นายทิม จอห์นสัน ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์สหรือเอฟที. ประจำกรุงเทพฯ ได้นำเสนอบทความเรื่อง "นักรบชุดดำ"-แนวหน้าในเหตุปะทะที่ไทย"บนเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เมื่อวันจันทร์ (17 พ.ค.) ว่าท่ามกลางสงครามหลากสีในไทยนั้น มีคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่เรียกว่านักรบชุดดำ ซึ่งเป็นกองกำลังลึกลับคอยสร้างสถานการณ์รุนแรงขึ้น และเริ่มมีการนำภาพของคนเหล่านี้ออกมาเปิดเผยเป็นระยะๆ แต่คนกลุ่มนี้ก็ไม่เคยเปิดเผยตัวออกมาว่าเป็นใคร
เว็บไซต์ของเอฟที.กล่าวว่านักรบชุดดำเหล่านี้มีปืนเป็นอาวุธ และดูเหมือนจะเป็นกลุ่มติดอาวุธของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)หรือ กลุ่มเสื้อแดง ซึ่งอ้างมาตลอดว่าต่อสู้โดยสันติอหิงสาขณะยังคงปักหลักประท้วงรัฐบาลอยู่หลังแนวปราการยางรถยนต์และหลาวไม้ไผ่กลางย่านแหล่งช็อปปิ้งหรูหราที่สุดของกรุงเทพ
(18 มี.ค. 2553 คมชัดลึกออนไลน์)
24 พ.ค. เวลา 02.40 น. สน.บางชัน ได้รับตัว นายสุรพล พูลทรัพย์ อายุ 45 ปี ที่อย่ 32 ซ.พหลโยธิน 48 แยก 11 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. จาก ร.ต.ท.ณัฐพล นาคบุตรศรี ชุดปฏิบัติการพิเศษ บก.น.4 ผู้ต้องหาฝ่าฝืนประกาศของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เหตุเกิดหน้าห้างแฟร์ชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา ต่ออมาพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนผู้ต้องหา และติดต่อสอบถามไปที่สำนักงาน นสพ.เดลินิวส์ ได้ความว่าผู้ต้องหาเป็นนักข่าวแผนกตระเวนของสำนักงานหนังสือพิมพ์ดังกล่าว โดยได้นำหลักฐานมาแสดงต่อพนักงานสอบสวนในภายหลัง จึงได้พิจารณาปล่อยตัวไป
(24 พ.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
24 พ.ค. รศ.ดร.พรจิต สมบัติพานิช คณบดีคณะวารสารศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงการนำเสนอข่าวของซีเอ็นเอ็นต่อเหตุการณ์การชุมนุมว่า ปัญหาของซีเอ็นเอ็น คือ การรายงานข่าวที่บิดเบือนของสถานีโทรทัศน์ และนายแดน ริเวอร์ ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นประจำประเทศไทย ที่นำเสนอข่าวในลักษณะนำเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว เสมือนคนอยากได้ข่าว แต่ไม่ลงพื้นที่ อาทิ การรายงานข่าวภายในคอนโดมิเนียม ซึ่งห่างจากพื้นที่การชุมนุม แล้วอ้างว่ามีชาวต่างชาติได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ เพราะถูกกระสุนยิงขึ้นมา เป็นต้น ทั้งนี้ ยอมรับว่ามีเพียงประชาชนกลุ่มน้อยเท่านั้นที่ทราบว่าซีเอ็นเอ็นนำเสนอข่าวไม่ตรงตามความจริง ฉะนั้นก็จะต้องหาวิธีในการเผยแพร่ให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับทราบข้อมูลดัง กล่าว โดยตนอยากให้รัฐบาลเร่งประชาสัมพันธ์เหตุการณ์ต่างๆ ให้ต่างชาติได้รับทราบข้อมูลที่แท้จริงโดยเร็ว
(24 พ.ค. 2553 คมชัดลึกออนไลน์)
31 พ.ค. ขณะที่มีการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล นายสุนัย จุลพงศธร และนายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นประท้วง ว่า ประชาชนในจังหวัดของตัวเองเกือบทั่วประเทศ โทรมาร้องเรียนว่าไม่สามารถชมการอภิปรายทางช่อง 11 ได้ โดยเฉพาะจังหวัดทางภาคอีสาน
ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยืนยันว่ามีการถ่ายทอดสดตามปกติ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะคนกลุ่มเสื้อแดงเผาสถานีขอนแก่น ทำให้เครื่องส่งและอุปกรณ์ถ่ายทอดเสียหายทั้งหมด จึงอาจส่งผลกับจังหวัดอื่นๆในพื้นที่ภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่มีการตัดสัญญาณจังหวัดไหน รัฐบาลไม่มีแนวทางสกัดกั้น ยืนยันช่อง11 ถ่ายทอดตลอดเวลา
(31 พ.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
คุกคามสื่อ
3 มีค. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณี พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ "เสธ.แดง" ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ออกมาเตือนให้สื่อทั้งทีวีและหนังสือพิมพ์ 5 ฉบับหลัก ระวังตัวเนื่องจากการเสนอข่าว ว่า ตั้งแต่ปี 2549-2552 เป็นสถานการณ์ที่สื่อทำงานลำบากมาก เพราะรายงานข่าวท่ามกลางความขัดแย้งรุนแรง กดดัน มีการทำร้ายผู้สื่อข่าว ล้อมสำนักงาน ไม่พอใจการนำเสนอข่าวที่ไม่เข้าข้างฝ่ายตัวเอง ข่มขู่สารพัดรูปแบบ อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมก็มีมาตรการต่างๆ ออกมา เช่น ทำคู่มือการรายงานข่าวท่ามกลางความขัดแย้ง ออกแถลงการณ์ให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ เรียกร้องให้รัฐบาล ฝ่ายค้าน แกนนำผู้ชุมนุม ปล่อยให้สื่อสารมวลชน ทำงานอย่างมีอิสระเสรีภาพ(3 มี.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
28 มีค. คนร้ายบึ้มรายวัน ล่าสุดปา "เอ็ม 67" เข้าใส่ "ททบ.5" ทหาร-ชาวบ้าน เจ็บ 4 คน อีกจุดยิงเอ็ม 79 ใส่เอ็นบีที นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ยอมรับ "พลาด" เพราะคิดไม่ถึงจะเกิดเหตุนอกเหนือพื้นที่ราชการ เป้าหมายวินาศกรรม(28 มี.ค. 2553 ไทยโพสต์)
9 เม.ย. กลุ่มผู้สื่อข่าวไร้ พรมแดน หรือ Reporters Without Borders ซึ่งรณรงค์เรื่องสิทธิของสื่อออกมาประณามรัฐบาลไทย ที่พยายามควบคุมสื่อมวลชนภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปราบปรามการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลของกลุ่มเสื้อ แเดง (9 เม.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
2 เม.ย. คนร้าย2 คนขับขี่รถจักรยานยนต์ ก่อเหตุเผารถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า ของนายเลิศรบ เชื่อมั่น อายุ 38 ปี พนักงานรับส่งเอกสารหนังสือพิมพ์มติชน ที่จอดอยู่ข้างแนวกำแพงรั้วบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เมื่อเวลา 01.05 น.วันที่ 2 เมษายน
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยแจ้งข่าวเตือนภัยการคุกคามองค์กรสื่อ เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น อย่างน่าวิตก ไม่สามารถบักใจได้ว่าฝ่ายใดกระทำ แต่เข้าใจได้ว่า เป็นกลุ่มที่จ้องหาประโยชน์ จากผลของความรุนแรง ทั้งจากประโยชน์ทางการเมืองหรืออย่างอื่น สังคมจึงควรออกมาประณามการกระทำของกลุ่มดังกล่าว เพื่อที่การเจรจา หรือการสร้างสันติสุขของคนในชาติ จะได้บังเกิดขึ้น(2 เม.ย. 2553 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย)
10 เม.ย. นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น ของสำนักข่าวรอยเตอร์ถูกยิงเสียชีวิต ภายหลังเหตุการณ์ปะทะของกลุ่มคนเสื้อแดงและเจ้าหน้าที่ทหาร ที่แยกคอกวัว
นาย ชวรงค์ลิมป์ ปัทมปาณี อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยกล่าววันนี้ (11 เม.ย.) ว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯได้ส่งจดหมายแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการ เสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพข่าวโทรทัศน์ชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์จากเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างทหารและกลุ่มผู้ชุมนุม
ช่วงเย็นวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมาไปยังสำนักข่าวรอยเตอร์และครอบครัวของนายมูราโมโต พร้อมยืนยันว่า ทางสมาคมฯจะช่วยติดตามตรวจสอบให้การสอบสวนถึงสาเหตุการเสียชีวิตของนายมูรา โมโตเป็นไปอย่างยุติธรรมและโปร่งใสอีกด้วย(11 เม.ย. 2553 มติชนออนไลน์, www.oknation.net)
10 เม.ย. นายสุภณัฐ รัตนธนาประสาน อายุ 22 ปี นักข่าว เอเอสทีวี บาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดที่บริเวณเข่าขวาจากจุดปะทะสี่แยกคอกวัว (12 เม.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
11 เม.ย. นายสมชาย ไพบูลย์ แกนนำนปช. ขึ้นเวทีปราศรัยที่ผ่านฟ้าว่า ตำหนิการทำงานของสื่อมวลชนไทย ว่า ไม่มีนำเสนอภาพข่าวผู้เสียชีวิต ซึ่งเป็นผู้ชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งเป็นการบิดเบือน รัฐบาลปิด พีทีวี โดยอ้างว่า เสนอข่าวปิดเบือน เมื่อช่อง 3 , 5, 7 , 9 , 11 และ ทีวีไทย เสนอข่าวบิดเบือน ประชาชน ก็มีสิทธิ์เคลื่อนขบวนไปปิดได้เช่นกันสื่อมวลชนไทยไม่ได้ทำงานให้เป็น ประโยชน์ กับการชุมนุมของคนเสื้อแดง ตลอดระยะเวลาการชุมนุม 30 วัน มีแต่ซ้ำเติม ฉะนั้นนักข่าวไม่ต้องมาถ่ายภาพให้เปลืองแบตเตอร์รี่’
นายไพบูรณ์ จุลสุคต์ คนขับรถถ่ายทอดสดของช่อง 3 กำลังขับออกจากกำลัง บก.สด. ปรากฏว่า กลุ่มคนเสื้อแดงเข้าล้อมกรอบและมีชายเสื้อแดงคนหนึ่งใช้ก้อนอิฐขนาดใหญ่ขว้างใส่กระจกรถด้านข้างคนขับ จนกระจกแตกละเอียดเป็นเหตุให้นายไพบูรณ์ได้รับบาดเจ็บที่บริเวณแขนขวาเนื่องจากถูกกระจกรถบาด ตำรวจที่เห็นเหตุการณ์จึงเข้าไประงับเหตุและช่วยกันรถถ่ายทอดสัญญาณออกนอกพื้นที่ไป
ราชประสงค์ -เมื่อเวลา 16.00 น. นายอารี ไกรนรา แกนนำและหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัย แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ - นปช. กล่าวถึงกรณีที่นายสมชาย ไพบูลย์ หนึ่งในแกนนำนปช.ประกาศบนเวทีที่ผ่านฟ้าฯไล่สื่อมวลชนออกจากพื้นที่การชุมนุมผ่านฟ้าฯ ว่า เรื่องนี้ไม่ใช่มติของที่ประชุมแกนนำเป็นความเห็นส่วนตัวของนายสมชายคนเดียว ทาง นปช.ยินดีที่จะให้มีสื่อมวลชนรายงานสถานการณ์ให้ประชาชนได้รับทราบ
(11 เม.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
12 เม.ย. นาย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยพร้อมคณะ ได้เดินทางมาที่เวทีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) ที่สี่แยกราชประสงค์เพื่อมาหารือกับแกนนำนปช.เกี่ยวกับการรับประกันสิทธิ เสรีภาพของสื่อมวลชนในภาคสนามโดยมีนพ.เหวง โตจิราการ และ นายจรัล ดิษฐาอภิชัย แกนนำนปช.ให้การต้อนรับ โดยทางแกนนำแสดงความเป็นห่วงการทำงานของสื่อหลังจากเกิดเหตุการณ์ปะทะ ระหว่างทหารและผู้ชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งรวมไปถึงสื่อมวลชนต่างประเทศด้วย จากนั้นทางคณะได้เดินทางไปที่เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศในช่วงเย็นวันเดียวกัน เพื่อหารือกับแกนนำนปช.ต่อไป
ด้าน นพ.เหวง ยืนยันต่อหน้านายประสงค์ว่า ให้ความเคารพในการทำงานของสื่อมวลชนทุกคนและพร้อมให้ปลอดภัยทั้งที่เวทีผ่าน ฟ้าลีลาศและราชประสงค์ แกนนำนปช.เข้าใจการทำงานของสื่อว่าเป็นไปตามหน้าที่โดยย้ำให้กับผู้ชุมนุม ให้เข้าใจการทำงานของสื่อ ส่วนกรณีของช่อง11คนที่มีปัญหา คือ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประสำนักนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่สื่อมวลชนในภาคสนามที่ทำงาน
(12 เม.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
29 เม.ย. นายพายัพ ปั้นเกตุ นำการ์ดจำนวนมากบุกโรงพยาบาลจุฬาฯเพื่อควานหาว่ามีการซ่องสุมทหารอยู่หรือไม่ สร้าง ความแตกตื่นโกลาหลให้กับเจ้าหน้าที่ พยาบาล คณะแพทย์ และคนไข้ กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความเหมาะสม จากการแถลงข่าวที่ต่อสายไปยังเครื่องขยายเสียงที่เวทีปราศรัย คำกล่าวของนายจตุพรจึงถูกกระจายเสียงให้ได้ยินกันทั่วราชประสงค์ กลายเป็นชักชวนมวลชนเสื้อแดงให้บุกโรงพยาบาลในค่ำคืนนั้น จากคำถามของนักข่าวที่ต้องการสอบถามความจริงเท่านั้น
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ออกแถลงการณ์ประณามการข่มขู่นักข่าว ในกรณีการบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ
(30 เม.ย. 2553 หัวข้อ ชะตากรรม"นักข่าว"ใน"ดงแดง" Posted by เชลยเนชั่น www.oknation.net, www.tja.or.th)
2 พ.ค. คนร้ายยิงนายอารูมิง ยามา อายุ 30 ปี นักข่าวที่ยะลาเสียชีวิต เชื่อเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสายข่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจคาดว่า คนร้ายเป็นพวกโจรใต้เห็นพฤติการณ์นายอารูมิงที่มีวิทยุสื่อสารจึงคิดว่าเป็นสายข่าวให้กับทางการได้ติดตามไปยิงปิดปากนายอารูมิงจนเสียชีวิตดังกล่าว
(2 พ.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
14 พ.ค. ช่างภาพสำนักข่าวมติชน ทราบชื่อคือ นายสุบิน น้ำจัน ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามสวนลุมพินี ถูกยิงบริเวณขาได้รับบาดเจ็บ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และช่างภาพ-ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวฟรานซ์ ทเวนตี้โฟว์ ของฝรั่งเศส ทราบชื่อคือ นายเนลสัน แรนด์ ถูกยิงที่บริเวณเอว และขา ได้รับบาดเจ็บ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลจุฬาฯ กำลังรักษาตัวอยู่ภายในห้องผ่าตัด ทั้งนี้ เพื่อนนักข่าวที่อยู่สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ขอร้องให้การ์ดกลุ่มคนเสื้อแดงที่ให้การช่วยเหลือระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล นำกระเป๋ากล้องพร้อมอุปกรณ์มาคืน เนื่องจากภาพที่นายเนลสันถ่ายไว้ได้ อาจมีความสำคัญต่อประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่า ช่างภาพโทรทัศน์ของสำนักข่าววอยซ์ทีวี ทราบชื่อคือ นายศุภวัฒน์ ปันจันตา ถูกยิงได้รับบาดเจ็บที่บริเวณขาซ้าย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลตำรวจ ส่วนความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่อไป (14 พ.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
14 พ.ค. สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานวันนี้เช่นกัน ว่า ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของสำนักข่าว"ฟรานซ์ 24" ถูกยิงที่บริเวณขาระหว่างเหตุปะทะระหว่างทหารกับกลุ่มผู้ประท้วง บริเวณด้านหน้าสวนลุมไนท์ บาร์ซ่าร์ และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลแล้ว (14 พ.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
14 พ.ค. ผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ปิดล้อมรถข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่บริเวณสวนลุมพินี เนื่องจากอ้างว่า ไม่พอใจการเสนอข่าวของทางสถานี แต่ไม่ได้เกิดการทำร้ายร่างกายหรือแต่อย่างใด (14 พ.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
15 พ.ค. นายชัยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพเนชั่นถูกยิงที่ขาตอนนี้อยู่รพ.พญาไท1 จุดปะทะแถวราชปรารภ (15 พ.ค. 2553 ฐานเศรษฐกิจออนไลน์)
18 พ.ค. นางสาวไนซ์ เป็นผู้สื่อข่าวชาวพม่า จากสำนักข่าวอิระวดี ได้เข้าไปในพื้นที่วัดเพื่อถ่ายทำสารคดี ผู้หญิงและเด็กในวัดปทุมวนาราม ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจ อ้างว่าผู้สื่อข่าวพม่าจัดฉากม็อบอยากกลับบ้าน กลุ่มนปช.หญิงจึงรุมเข้าตบตีผู้สื่อข่าวคนดังกล่าว ก่อนที่การ์ดนปช. จะเข้ามาช่วยไว้ได้ และพาไปหลบไปยังหลังเวที เพื่อพดคุยกับนพ.เหวง โตจิราการ แกนนำนปช. (18 พ.ค. 2553 เนชั่นทันข่าว)
19 พ.ค. กลุ่มคนเสื้อแดงขอนแก่น บุกเข้าไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์NBTขอนแก่น พร้อมจุดไฟเผาตึกและห้องส่งออกอากาศจนวอดทั้งหลัง (19 พ.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
19 พ.ค. ทวิตเตอร์ของจส.100 รายงานว่า เกิดเสียงระเบิดหน้าสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ถ.พระราม 4 จากนั้นช่อง 3 ซึ่งกำลังออกอากาศรายการละครอยู่ กระทั่งถึงเวลาช่วงข่าว 16.00 น. หน้าจอโทรทัศน์ ก็ถูกแช่ภาพเป็นโลโก้ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ไว้ เนื่องจากไม่สามารถออกอากาศได้ ด้วยกลุ่มผู้ชุมนุม ได้บุกขึ้นไปถึงชั้น 6 ห้องออกอากาศ ทำลายข้าวของ และจุดไฟเผาจนเกิดเพลิงไหม้อยู่ในเวลานี้
ต่อมาผู้สื่อข่าว รายงานว่า กลุ่มเสื้อแดงจากคลองเตยได้เดินทางมายังอาคารมาลีนนท์ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 โดยพยายามทุบกระจกและจะบุกเข้าไปภายในหลังจากนั้นได้เดินทางมุ่งหน้าไปยังหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์
เสื้อแดงบุก นสพ.บางกอกโพสต์ กองบก.หนีจาละหวั่น เวลา 15.00 น.เศษ ได้รับแจ้งจากผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกดพสต์ว่า กลุ่มคนเสื้อแดงได้บุกเข้าไปในสำนักงานหนังสือพืมพ์บางกอกดพสต์ที่คลองเตย ทำให้พนักงานและกองบรรณาธิการต้องหนีออกจากด้านหลังของอาคารโดยไม่สามารถนำรถยนต์ออกมาได้
เครือโพสต์โชคดี ได้ชาวบ้านย่านเชื้อเพลิงช่วยต้านผู้ชุมนุมผู้ สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมพยายามบุกไปยังอาคารล็อกซเลย์ ถ.เชื้อเพลิงซึ่งเป็นที่ทำการของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และโพสต์ทูเดย์ ทางบริษัท ล็อกซเลย์ ได้นำกำลังมาต่อต้านการบุกของผู้ชุมนุม รวมทั้งชาวบ้านย่านดังกล่าว ได้ออกมารวมตัวกัน ไม่ให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวบุกเข้าไปใช้กำลัง และทำลายทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะลามไปถึงบ้านพักของพวกเขาด้วย (19 พ.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
19 พ.ค. กลุ่มผู้ชุมนุม นปช.บริเวณแยกสามเหลี่ยมดินแดง ได้ไล่สื่อมวลชนออกจากพื้นที่ โดยไม่ให้เหตุผลถึงการกระทำดังกล่าว ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มผู้ชุมนุมนำยางรถยนต์ไปวางปิดกั้นไว้ทุกซอยที่อยู่บริเวณนั้น ขณะเดียวกันก็มีผู้ชุมนุมเสริมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง (19 พ.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
19 พ.ค. นายฟาบิโอ ช่างภาพชาวอิตาลีของสำนักข่าวแห่งหนึ่ง ที่ถูกยิงเสียชีวิตที่ช่องท้องเสียชีวิต ส่งตัวไปโรงพยาบาลศูนย์แล้ว(19 พ.ค. 2553 คมชัดลึกออนไลน์)
24 พ.ค. ช่อง 3 ออกแถลงการณ์ สืบเนื่องจากเกิดเหตุความวุ่นวายบริเวณหน้าอาคารมาลีนนท์ ฝ่ายบริหารได้ประสานงานกับภาครัฐเพื่อช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายพนักงานออก จากอาคาร ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารเห็นควรให้ระงับการออกอากาศรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 ตั้งแต่เวลา 15.45 น. ของ วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ต่อเนื่องมาจนถึงเวลา 11.30 น.ของวันที่ 21 พฤษภาคม2553 รวมผลกระทบจากการสูญเสียรายได้จากการขายโฆษณาของกลุ่มบริษัท ในช่วง เวลาระงับการออกอากาศประมาณ 45 ชั่วโมง และเมื่อนับรวมเวลาที่ไม่สามารถ ออกอากาศได้อย่างปกติตั้งแต่ 11.30 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 ถึงก่อน 06.00 น. ของวันนี้ อีกประมาณ 50 ชั่วโมงนั้น รวมเป็นเวลาที่กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ไม่สามารถดำเนินงานตามปกติเป็นเวลาประมาณ 95 ชั่วโมง ซึ่งทำให้กลุ่มบีอีซี เวิลด์ ขาดรายได้ไปประมาณ 120 ล้านบาท อย่างไรก็ตามกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่อง ต้นทุนรายการในช่วงเวลาที่ไม่ได้ดำเนินงานตามปกตินั้นไปได้ส่วนหนึ่ง
(24 พ.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
4 ก.ค. องค์กรระหว่างประเทศด้านการปกป้องสื่อ “เพรสเอ็มเบลมแคมเปญ (พีอีซี) ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ในสวิสเซอร์แลนด์เผยรายงานการวบรวมสถิติผู้สื่อข่าวซึ่งเสียชีวิตขณะปฎิบัติหน้าที่ทั่วโลก 6 เดือนแรก ของปี 2553 ล่าสุดที่รวบรวมถึงวันที่ 30 มิ.ย. ผู้สือข่าวเสียชีวิตแล้ว 59 คน เม็กซิโกเป็นประเทศอันตรายที่สุดสำหรับสื่อ เพราะผู้สื่อข่าวเสียชีวิตมากที่สุด 9 คน เพราะถูกกลุ่มคนร้ายและขบวนการอิทธิพลในท้องถิ่นฆ่าปืดปาก ตามด้วยฮอนดูรัส 8 คน ปากีสถาน 8 คน ไนจีเรีย 4 คน ฟิลิปปินส์ 4 คน โคลอมเบีย 3 คน รัสเซีย 3 คน เนปาล 2 คน อิรัก 2 คน เวเนซุเอลา 2 คน ไทยช่วงความรุนแรง เม.ย.-พ.ค. 2 คน (6 ก.ค. 2553 ไทยรัฐ)
27 ก.ค. นายก้อง ภพ สวัสดี หรือ เดช อายุ 51 ปี ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ประจำ อ.กำแพงแสน อ.ดอนตูม อ.บางเลน ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืน ขนาด 9 มม. ยิงเสียชีวิต ใกล้กันพบปลอกกระสุนปืนขาด 9 มม.ตกอยู่จำนวน 10 ปลอก ส่วนผู้บาดเจ็บอีก 1 ราย ทราบชื่นายมงคล ยิ้มทโชติ อายุ 50 ปี สมาชิกสภาเทศบาลตำบลสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม มีบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาดเดียวกันเข้าที่ นิ้วนางและนิ้วก้อยข้างซ้าย จำนวน 1 นัด และบริเวณขาขวา 1 นัด ได้ถูกนำตัวส่ง รพ.ดอนตูมเพื่อรักษาบาดแผลเบื้องต้น ก่อนจะนำส่งต่อที่ รพ.นครปฐม
ตำรวจ สันนิษฐานไว้ 3 ประเด็นคือเรื่องการนำเสนอข่าวที่อาจจะทำให้ผู้ตกเป็นข่าวบางคนไม่พึงพอใจ ประเด็นที่ 2 ความขัดแย้งส่วนตัวและ ประเด็นที่ 3 เรื่องชู้สาว ซึ่งขณะนี้ทางตำรวจชุดสืบสวนได้ออกติดตามตามรถบนต์ของคนร้ายที่หลบหนีไปแล้ว และกำลังอีกชุดหนึ่งได้เข้ากาะติดพื้นที่เพื่อสืบหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งคงต้องขอเวลาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำงาน ซึ่งตนให้ความเชื่อมั่นได้ว่าจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดและจะติดตามคนร้ายมา ดำเนินการลงโทษตามกฏหมายให้ได้
(28 ก.ค. 2553 เนชั่นทันข่าว ไทยรัฐออนไลน์)
ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ตำรวจภาค 7 จับกุมนายอภิรักษ์ ทิมพิทักษ์ อายุ 27 ปี จ.ราชบุรี มือปืนยิงนายก้องภพ หรือเดช สวัสดี อายุ 52 ปี ผู้สื่อข่าวไทยรัฐประจำ อ.ดอนตูม จ.นครปฐมเสียชีวิต สาเหตุมาจากเรื่องที่ผู้ตายเสนอข่าวเปิดโปงการทุจริตในเทศบาลแห่งหนึ่งในพื้นที่ดอนตูม และร้องเรียนไปยัง สตง.เพื่อให้ตรวจสอบสร้างความโกรธแค้นให้ผู้ถูกร้องเรียนส่งทีมมือปืนบุกยิงดังกล่าว
(7 ก.ย. 2553 ไทยรัฐ)
31 ส.ค. เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ฝั่งตรงข้ามกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ถ.วิภาวดีรังสิต จุดเกิดเหตุอยู่บริเวณลานจอดรถหน้าอาคารเอ็นบีที มีรถผู้มาติดต่อราชการ 3 คันและรถตู้ของสำนักข่าวอีก 1 คันถูกสะเก็ดระเบิดได้รับความเสียหาย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วสำหรับสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ที่ถูกคนร้ายลอบยิงด้วยระเบิดจากเครื่องยิงเอ็ม 79 โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงที่มีเหตุการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดง แต่ครั้งนี้อุกอาจมาก เพราะอยู่ระหว่างการเตรียมปิดถนนเพื่อรับเสด็จ สาเหตุเชื่อว่าเป็นการสร้างสถานการณ์ไม่ได้หวังที่จะทำลายชีวิตใคร
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์เรื่องหยุดคุกคามสื่อมวลชนจากกรณีดังกล่าว
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้รายงานว่าสื่อสิ่งพิมพ์บางฉบับที่เสนอข้อมูลบิดเบือนทำให้ประชาชนเกิดความวิตกและเสนอข่าวในลักษณะหมิ่นเหม่ จาบจ้วงสถาบัน ซึ่งศอฉ. จะแจ้งความดำเนินคดีกับสื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าว และถ้าจำเป็นจะดำเนินการขั้นเด็ดขาดเช่น การปิดสื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าว
(1 ก.ย. 2553 คมชัดลึก, โพสต์ทูเดย์)
1 ก.ย. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายปิดสื่อ หากทำไม่ถูกต้องก็ต้องตักเตือนและดำเนินการไปตามกฎหมายปกติ ส่วนนายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ศอฉ.ควรระบุออกมาให้ชัดเจนว่าสื่ออะไรมีพฤติกรรมอย่างไรที่ว่าเข้าข่ายการกระทำความผิด หากเห็นว่ามีความผิดตามที่กล่าวอ้างจริงก็มีสิทธิดำเนินคดีได้ แต่ที่บอกว่าจะสั่งปิดนั้นไม่น่าจะทำได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรค 3 (2 ก.ย. 2553 โลกวันนี้)
21 ก.ย. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ที่ลงพื้นเกาะติดการบุกรุกที่ดินราชพัสดุ ในอ.สวนผื้ง ได้รับแจ้งจาก กอ.รมน. จ.ราชบุรีว่า สายข่าว กอ.รมน.จ.ราชบุรีได้รับทราบข้อมูลว่าจาการนำเสนอข่าวการบุกรุกที่ดินราชพัสดุ ในอ.สวนผึ่ง ของเดลินิวส์ได้สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มนายทุนหลายกลุ่ม ในพื้นที่เสียผลประโยชน์ จึงมีการลงขันจ้างมือปืนมาเพื่อทำร้าย โดยกลุ่มมือปืนชุดนี้มีความชำนาญในการใช้อาวุธปืนเป็นอย่างมาก ขณะนี้ลงมาฝังตัวอยู่ในพื้นที่แล้ว ขอให้ทีมข่าวเดลินิวส์เพิ่มความระมัดระวังตัวให้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามทางกอ.รมน.จะรายงานเรื่องดังกล่าวไปยังผู้บังคับบัญชาระดับสูง และรัฐบาลให้ทราบ ทั้งนี้เบื้องต้นจะมีมาตราการคุมเข้มพื้นที่ใน จ.ราชบุรี
(21 ก.ย. 2553 เดลินิวส์)
1 ต.ค. ตัวแทนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือให้ตรวจสอบกรณีสื่อมวลชนที่เข้าตรวจสอบการบุกรุกที่ราชพัสดุ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี โดยผู้สื่อข่าว นพส.เดลินิวส์และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยถูกข่มขู่คุกคาม มีการจ้างวานมือปืนจากนอกพื้นที่เข้ามาข่มขู่ โดยตัวแทนสมาคมวิชาชีพสื่อได้ขอให้นายกนเร่งรัดการดำเนินคดีฆ่านางสุชา กลีบบัว และเร่งรัดแก้ปัญหาการบุกรุกทีดิน อ.สวนผึ้ง ซึ่งนายกฯได้สั่งการให้ตำรวจเข้าไปดูแลคดีและให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าไปจัดการปัญหาการบุกรุกที่ดินบริเวณดังกล่าว
(2 ต.ค. 2553 แนวหน้า)
สมาคมนักข่าวฯเยี่ยมให้กำลังใจนักข่าวที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำข่าวการชุมนุม นปช.
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อุปนายกฝ่ายต่างประเทศ สมาคมฯ ได้ไปเยี่ยมและให้กำลังใจนักข่าวที่ได้รับบาดเจ็บ จากการทำข่าวเหตุการณ์ การชุมนุมของกลุ่ม นปช. (กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ) และเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและทหาร
นายเนลสัน แรนด์ ช่างภาพผู้สื่อข่าว France 24 ชาวแคนาดา ได้รับบาดเจ็บเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา เหตุเกิดที่บริเวณสวน ลุมพินี ถูกยิงบริเวณมือและเท้าซ้าย ท้องและต้นขาซ้าย จากเหตุการณ์การปะทะระหว่างทหารและกลุ่มคนเสื้อแดง บริเวณสวนลุมพินี เบื้องต้นรักษาตัวที่ รพ.จุฬา ปัจจุบันรักษาตัวอยู่ที่ รพ. BHN
นายชัยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพเนชั่น ชาวไทย ได้รับบาดเจ็บเมื่อวันที่15 พฤษภาคมที่ผ่านมา เหตุเกิดที่ราชปรารภ ถูกยิงบริเวณต้นขาขวากระดูกแตก ระหว่าง ปฏิบัติหน้าที่ถ่ายภาพการชุมนุมที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดงว่า ขณะยืนถ่ายภาพกลุ่มผู้ชุมนุมลำเลียงยางรถยนต์มาตั้งเป็นแนวยาวบนถนนย่านสาม เหลี่ยมดินแดง มีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด จึงพยายามวิ่งไปหลบใต้ชายคาตึกแถวฝั่งตรงข้าม แต่ไปไม่ถึง เพราะถูกยิงจนล้มลง พร้อมกล้องถ่ายภาพอีก 2 ตัวร่วงหล่นลงพื้น เข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.พญาไท 1
นายแอนดรูว์ บันคอมบ์ นักข่าวThe Independent ชาวอังกฤษ ได้รับบาดเจ็บเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุที่วัดปทุมวนาราม ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ บริเวณต้นขาขวาด้านนอก รักษาตัวอยู่ที่ รพ.รามาธิบดี
นายแชนด์เลอร์ แวนเดอร์กริฟต์ นักเขียนและช่างภาพอิสระชาวแคนาดา ได้รับบาดเจ็บเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมาจากสะเก็ดระเบิดบริเวณหัวและเอว รักษาตัวอยู่ รพ. กรุงเทพคริสเตียน
คดีความ
20 ม.ค. สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากรได้แจ้งความดำเนินคดีกับบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา หนังสือพิมพ์ไทยเรดนิวส์ กรณีตีพิมพ์และวางจำหน่ายโดยไม่ได้มีการยื่นขอจดทะเบียนการพิมพ์ตามมาตรา 11 ของ พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550
(20 ม.ค. 2553 ASTVผู้จัดการรายวัน)
31 มี.ค. ศาลอาญา รับฟ้อง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง บริษัท เอเอสทีวีผู้จัดการ จำกัด ผู้ประกอบการหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน และ นายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.ASTV ผู้จัดการรายวัน เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กรณีระหว่างวันที่ 25 มิ.ย.-21 ก.ค.52 นสพ.ASTV ผู้จัดการรายวัน เสนอข่าวต่อเนื่องกันทำนองว่า พล.ต.อ.พัชรวาท คือ “ บิ๊กคนมีสี” ที่เป็น “ตอ” ขัดขวางการสอบสวนคดีลอบยิงนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 17 เม.ย.52
(31 มี.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
3 มิ.ย. ตำรวจอุดรธานี นำ 2 ดีเจวิทยุชมรมคนรักอุดร คือ นายประสิทธิ หรือ “จอ ใจเดียว” วิชัยรัตน์ อายุ 53 ปี และนายจักรพงษ์ หรือ ก้อง แสนคำ อายุ 23 ปี โดมีประธานชมรมคือนายขวัญชัย ไพรพนา ฟ้องศาลพิพากษาจำคุก 1 ปี 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ในความผิด ฝ่าฝืนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยเสนอข่าวสารชักชวนให้ออกมาร่วมชุมนุม
(3 มิ.ย. 2553 ASTVผู้จัดการรายวัน)
8 มิ.ย. การประชุมครม.นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้แจ้งต่อที่ประชุมครม.ให้รัฐมนตรีทุกคนลงลายเซ็นต์ชื่อ เพื่อขอแต่งตั้งทนาย เพื่อใช้ในการต่อสู้ตามข้อกล่าวหาของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ฟ้องร้องกรณีที่รัฐบาล สั่งปิดสถานีโทรทัศน์พีทีวี และการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งหลังจากการประชุมครม.เสร็จสิ้นครม.ทุกคนได้ลงลายชื่อทั้งหมด
(8 มิ.ย. 2553 มติชนออนไลน์)
5 ก.ค. ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นัดตรวจพยานหลักฐาน กรณี นักรบศรีวิชัย การ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำนวน 85 คนบุกยึดอาคารเอ็นบีที (สำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เมื่อเช้าวันที่ 26 ส.ค. 2551) และได้เลื่อนนัดตรวจหลักฐานอีกครั้งในวันที่ 9 ส.ค.
(5 ก.ค. 2553 www.bangkokbiznews.com)
5 ก.ค. หลังจากอัยการสั่งเลื่อนการเข้ามอบตัวของนายสนธิ เมื่อวันที่ 2 เม.ย.ไปอีก1 เดือน ต่ออัยการฝ่ายคดีอาญายื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล แก่นนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในความผิดฐานดูหมิ่น และหมิ่นประมาท กรณีที่นายสนธิ ได้นำคำพูดของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล หรือดา ตอร์ปิโด แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เป็นการดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2551 ที่กล่าวบนเวทีปราศรัยบริเวณสนามหลวง มาเผยแพร่ซ้ำบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2551 หลังถูกส่งฟ้องนายสนธิให้ทนายยื่นประกันตัว ซึ่งศาลพิจารณาให้ประกันในวงเงิน 5 แสนบาท ส่วนคดีดา ตอร์ปิโด ขึ้นสู่การพิจารณาชั้นศาล และมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2552 ให้จำคุกรวม 3 กระทงเป็นเวลา 18 ปี
(6 ก.ค. 2553 บ้านเมือง, 9 ก.ค. 2553 มติชนสุดสัปดาห์, 2 เม.ย. 2553 สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น)
11 ส.ค. นายแทน เทือกสุบรรณ บุตรชายนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงเป็นโจทก์ นักการเมืองพรรคเพื่อไทย คณะกรรมาธิการ บริษัท ข่าวสด จำกัด และบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ข้อหาหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหาจำนวน 500 ล้านบาท กรณีการนำเสนอข่าวที่ดินเขาแพง เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
(1 ก.ย. 2553 มติชน)
7 ก.ย. ศาลอาญา นัดไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) สรรหา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท เอเอสทีวี ผู้จัดการ จำกัด กับพวกรวม 3 คน ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณากรณีเสนอข่าว โจทก์วางตัวไม่เป็นกลาง โดยเข้าไปเป็นพวก ช่วยเหลือกลุ่มการเมืองที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง
โดยวันนี้ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนาและทนายความโจทก์ เดินทางมาเจรจาข้อพิพาทร่วมกับฝ่ายจำเลย มีนายตุลย์ ศิริกุลพิพัฒน์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นสพ.เอเอสทีวี ผู้จัดการ นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล และนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ภายหลังเจรจาเสร็จสิ้น นายสุวัตร ทนายความ เปิดเผยว่า การเจรจาสามารถตกลงกันได้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายพูดคุยกันในฐานะพี่น้องที่เคยร่วมต่อสู้กันมา ทำให้นายเรืองไกร ไม่ติดใจกับข้อความดังกล่าว และยินดีจะถอนแจ้งความให้ทั้งสองคดี
(7 ก.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
15 ก.ย. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากการตรวจสอบข้อมูลจากหอสมุดแห่งชาติในขณะนี้พบว่า นิตยสารฟ้าเดียวกัน ยังไม่มีการจดแจ้งตามพ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ ปี 2550 และนิตยสารฉบับดังกล่าวได้มีการตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งก่อนปี 2550 ได้ใช้กฎหมายพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2484
นอกจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาเพื่อดูแล ข้อความนิตยสารฉบับดังกล่าวว่า มีการจาบจ้วงต่อสถาบันเบื้องสูงหรือไม่ แต่คณะกรรมการชุดนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกระทรวงวัฒนธรรม โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักคือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แต่จะมีปลัดกระทรวงวัฒนธรรมร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย
ทั้งนี้ทางกระทรวงยืนยันว่าได้มีการตรวจสอบนิตยสารฉบับอื่นด้วย ที่พิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาติ ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวง และไม่ได้เกี่ยวของอะไรกับศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
อนึ่ง ฟ้าเดียวกัน เป็นวารสารราย 3 เดือน ที่นำเสนอการเคลื่อนไหวทางสังคม ในรูปแบบของขบวนการประชาชนและทางความคิด โดยฉบับแรกวางแผงเมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน มี ธนาพล อิ๋วสกุล เป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
(15 ก.ย. 2553 โพสต์ทูเดย์ออนไลน์)
21 ธ.ค. ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก คดี ร.อ.(หญิง) เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ฟ้อง บริษัท ข่าวสด จำกัด และนายฐากูร บุนปาน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวสด จำเลยที่ 1 และ 2 ในความผิดฐาน ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสารหนังสือพิมพ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328, 332
ทั้งนี้ คดีนี้โจทก์ฟ้องสรุปว่า โจทก์เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดเชียงใหม่ และเคยเป็นนายกเทศมนตรีเชียงใหม่ ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ในฐานะนักการเมืองสาว เมื่อวันที่ 1-3 มิ.ย.52 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยการโฆษณาด้วยเอกสารในหนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด โดยนำเอาภาพ หรือคลิปวิดีโอ ซึ่งเป็นภาพของโจทก์นั่งเคียงข้างชายที่นอนเปลือยกายอยู่บนเตียงจำนวน 4 ภาพ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง เหตุเกิดที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม.
อย่างไรก็ตาม ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดจริงตามฟ้อง พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท และจำคุกจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 2 ปี ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง
(21 ธ.ค. 2553 www.astv-tv.com/news1)
30 ธ.ค. ศาลอาญารัชดาฯ อ่านคำพิพากษา คดีอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกลุ่มนักรบศรีวิชัย และการ์ดผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวม 85 คน ซึ่งตกเป็นจำเลยในความผิดฐานสมคบกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เพื่อกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร และข้อหาอื่นอีก รวม 8 ข้อหา จากกรณีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 ผู้ต้องหาทั้งหมดได้ร่วมกันบุกเข้าไปภายในอาคารสำนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ แห่งประเทศไทย (NBT) และทำลายทรัพย์สินของราชการ มูลค่าความเสียหายกว่า 600,000 บาท โดยหลังจากที่ศาลได้พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าจำเลยในคดีทั้งหมดได้ร่วมกันกระทำความผิดตามฟ้องจริง แต่จำเลยแต่ละคนมีรายละเอียดความผิดที่ต่างกันออกไป ประกอบกับจำเลยในคดีได้ให้การรับสารภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี ดังนั้น ศาลจึงมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยโทษสูงสุด 2 ปี 6 เดือน จำนวน 1 คน จำคุก 1 ปี 6 เดือน จำนวน 75 คน จำคุก 1 ปี 12 เดือน จำนวน 1 คน และผู้ที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี รวม 6 คน ที่ศาลตัดสินให้รอลงอาญาเป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากเห็นว่ายังเป็นเยาวชน และต้องการให้โอกาสได้ปรับตัวเป็นพลเมืองดี
(30 ธ.ค. 2553 ASTVผู้จัดการออนไลน์)
พรบ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน
31 ส.ค. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ส่ง พ.ร.บ. คุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชนให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ดูแกกฎหมายเพื่อเสนอต่อ ครม. โดยร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวสภาวิชาชีพสื่อเป็นฝ่ายเสนอมีสาระสำคัญคือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน ทั้งนี้จะพยายามผลักดันกฎหมายให้เข้าสภาได้ในสมัยประชุมนี้
(1 ก.ย. 2553 ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ข่าวสด)
20 ธ.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(21 ธ.ค.) จะพิจารณาร่างกฎหมายคุ้มครองสื่อมวลชนที่จะมีการเสนอเข้าสู่วาระการพิจารณาของ ครม. ซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมคาดหวังว่าสื่อมวลชนจะเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบและไว้วางใจได้ในเรื่องของจริยธรรมในการนำเสนอข้อเท็จจริง
(21 ธ.ค. 2553 เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์)
21 ธ.ค. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่รัฐบาลเตรียมพิจารณาร่างกฎหมายคุ้มครองบุคลากรวิชาชีพสื่อ ที่มีตัวแทนจากภาคสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่างและรับฟังความเห็นของสื่อมวลชน ซึ่งร่างดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรีว่าจะพิจารณาส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอเข้าเป็นวาระการประชุมครม. หากครม.เห็นชอบจะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อตรวจสอบรายละเอียด จากนั้นจึงส่งเรื่อต่อไปยังสภาผู้แทนราษฎรต่อไป (22 ธ.ค. 2553 มติชน)
กทช.ไปสู่กสทช.
5 ก.พ. พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่นั้น นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเปิดเผยว่า ขณะนี้การยื่นเรื่องได้นำเสนอผ่านไปยังสภาผู้แทนราษฎรแล้วและจะเร่งให้แล้วเสร็จภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าจะสามารถรู้ผลที่แน่นอนในปลายปี2553 หลังจากนั้นจะมีการดำเนินการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ(กสทช.) ให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน โดยพ.ร.บ.ฯ นี้จะเห็นผลสมบูรณ์ กลางปี 2554
(5 ก.พ. 2553 ASTVผู้จัดการรายวัน)
24 มีค. ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ 3 ร่างพ.ร.บ. ด้วยเวลาอันรวดเร็วไม่ถึง 2 ชม. หลังจากที่ สส.ฝ่ายค้านส่วนใหญ่ ไม่เข้าร่วมประชุมสภาในครั้งนี้ ก่อนที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม จะสั่งปิดการประชุมในเวลา11.50 น.
ทั้งนี้ สำหรับ พ.ร.บ.ที่สภามีมติเห็นชอบ ได้แก่ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ มีมติมติ เอกฉันท์ 245 เสียง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และ กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม มีมติเอกฉันท์เห็นชอบ 245 เสียง และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - วงแหวนรอบนอก กทม. ในท้องที่บางเขน เขตสายไหม และเขตคลองสามวา กทม.ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 244 เสียงต่อไม่เห็นด้วย 1 เสียง (24 มี.ค. 2553 โพสต์ทูเดย์ออนไลน์)
5 เม.ย. สมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ นำโดยนางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์ฯ เข้ายื่นหนังสือถึงนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ผ่านนายสิทธิพร สท้านไตรภพ รองเลขาธิการวุฒิสภา โดยขอให้วุฒิสภาได้พิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา
โดยสมาพันธ์เสนอให้ มีคณะกรรมการ กสทช. มาจากผู้ที่มีวิชาชีพ ผู้มีประสบการณ์ด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ เพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ประเภทละ 1 คนเป็น 2 คน เนื่องจากปัจจุบันสื่อมีทั้งจำนวนและความหลากหลายมากขึ้น (5 เม.ย. 2553 ASTVผู้จัดการรายวัน)
30 พ.ค. วุฒิสภาไม่ถึงครึ่งผ่านร่างพ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความ ถี่ฯ เพิ่มกสทช.ฝ่ายความมั่นคง ศาสนา จาก 11 เป็น 15 คน เปิดให้องค์กรรัฐ-เอกชนด้านความมั่นคงและบริหารราชการคัดเลือกกันเอง และต้องจัดคลื่นเพื่อความมั่นคงอย่างพอเพียง (30 พ.ค. 2553 ประชาไท)
23 มิ.ย. กทช.เตรียมเปิดประชาพิจารณ์ร่างประกาศใบอนุญาตชั่วคราว กิจการไม่ใช้คลื่นความถี่ กลุ่มทีวีดาวเทียม ไอพีทีวี โมบายทีวี ก.ค.นี้ นายต่อพงษ์ เสลานนท์ ประธานคณะทำงานด้านกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ คณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่าวันที่ 2 ก.ค.นี้ คณะอนุกรรมการได้เตรียมพิจารณาร่างประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีอนุญาตประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์แบบไม่มีการบอกรับสมาชิก) หรือกลุ่มทีวีทั่วไป เช่น ทีวีดาวเทียม, ทีวีบนอินเทอร์เน็ต (ไอพีทีวี), โมบายทีวี และอื่นๆ หลังจากนั้นจะเสนอร่างฯ ให้ กทช.พิจารณาในวันที่ 14 ก.ค.นี้ หาก กทช.เห็นชอบ จะนำร่างฯ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของ กทช. เป็นเวลา 15 วัน เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็น
25 มิ.ย. กทช.มั่นใจเปิดประมูลไลเซ่น 3.9G ทันตามกำหนด พร้อมเปิดให้บริการได้ภายในปีนี้ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และประธานคณะกรรมการเพื่อการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT หรือ 3G & beyond
กสช กำลังจะเปลี่ยนเป็น กสทช ประชาชนจะได้อะไร กับ Digital TV ทางเลือกสำหรับประชาชน
12 ก.ค. กสช อาคารประชุมชั้น กสช.ร่วมกับ กระทรวง MIC แห่ง ประเทศญี่ปุ่น และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “digital Boradcasting” จัดขึ้นสองวันที่ 12 -13 กรกฎาคม พ.ศ.2553 เริ่มงาน ตั้งแต่ 9.00 -16.00 น. ซึ่งประเด็นความน่าสนใจอยู่ที่แต่ละช่องไม่ว่าจะเป็น ช่อง 3 ,ช่อง 7 และช่องเคเบิ้ลทีวี กำลังจะปรับเปลี่ยนจากอนาล็อกไปเป็น ดิจิตอล อย่างเต็มรูปภายใน 5 ปี ซึ่งบอลโลกที่ผ่านมา ทางทรูวิชั่นได้ทดลองออกอากาศไปแล้ว ซึ่งได้รับผลตอบอย่างดีพอสมควร และทีวีสมัยนี้โดยส่วนใหญ่นั้นสามารถรับชม HDTV ได้แล้ว
ประเด็น ของการสัมมนา คืออยากให้คนทั้งหลายเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาดู HDTV มากขึ้นซึ่งจริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประชาชนที่ชมทีวี โดยร้อยละ 90 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน ประชาชนเริ่มรับทีวีเป็นจอแบนมากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นแล้วการปรับไม่มีปัญหาแน่นอน และประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ทีวีออนโมบาย และอินเตอร์เน็ตทีวีเข้าสู่ทีวี ซึ่งต้องมี Top box ซึ่งราคาที่คาดกันไว้ไม่น่าเกิน 500 บาท โดยเฉพาะการควบรวมอินเตอร์เน็ต+ทีวี ซึ่งจะเปลี่ยน แปลงระบบทีวีไปเลยก็ว่าได้ แต่ด้วยข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็น BIT RATE ที่บ้านเรายังต่ำอยู่มาก คือ 1 MPBS ถ้าจะส่งแบบ HDTV ต้องประมาณ 17 MBPS ต้องรอกันต่อไปว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในบ้านเราจะเพิ่มความเร็วเมื่อ ไหร่ ซึ่งอีกไม่นานก็คงได้เห็นกันอย่างแน่นอน
ส่วนอีกเรืองคือประเด็น ของ กสทช ซึ่งจะมีผลการแต่งตั้งในเดือนกันยายนนี้ ที่จะเข้ามากำกับคลี่นความถี่วิทยุ,อินเตอร์เน็ต,สื่อสาร เรียก ว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จพอสมควรในการจัดการเลยทีเดียว ซึ่งงานนี้ต้องรอดูกันไปต่อว่า อำนาจใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ให้อำนาจกับ กสทช จัดการคลี่นความถี่ทั้งหมดนั้นประชาชนจะได้อะไร และสามารถทำให้ประเทศชาติสงบสุขหรือ หลังจากการ ประท้วงที่ผ่านมานั้น วิทยุชุมชนได้มีบทบาทเข้ามาเป็นอย่างมาก และอินเตอร์เน็ตก็ทำให้การรายงานแบบเดิมๆหมดความหมาย และทำให้บางคนดับและทำให้คนบางคนเกิด และล่าสุดในกรณีของ AF Season 7 ที่ผู้เข้าแข่งขันเขียนด่านายกใน facebook ก็ กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาในทันที ไม่รู้งานนี้เป็นแผนการตลาดหรือเปล่า แต่ด้วยความที่กลายเป็นประเด็นทางการเมืองทำให้หลายๆคน เริ่มจับตามอง กับ หน่วยงาน กสทช ใหม่ว่าจะเป็นแค่เสือกระดาษอย่างที่ผ่านมา หรือว่าเป็นเสือติดดาบอย่างที่ใครๆอยากให้เป็น
(13 ก.ค. 2553 http://www.oknation.net/blog/gtnews/2010/07/13/entry-1)
26 มิ.ย. นางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เดินหน้าหวังที่จะเพิ่มโควต้าการเป็นกรรมการ กสทช. อีกครั้ง เพื่อหวังจะเพิ่มโควตาตัวแทนจากภาคผู้มีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์จากเดิมกำหนดไว้เพียง 2 คนให้เป็น 4 คน ดังนั้นจากเดิมคณะกรรมการทั้งหมดมีการตั้งกันไว้ที่ 11 คน แต่เมื่อได้เพิ่มอีก 4 คน รวมเป็น 15 คน โควตาของกลุ่มวิชาชีพนี้ก็จะเพิ่มขึ้น
(26 มิ.ย. 2553 ผู้จัดการสุดสัปดาห์)
27 ส.ค. นายสุขุม ชื่นมะนา สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า สหภาพการสื่อสารแห่งประเทศไทย และสหภาพบริษัท ทีโอที เตรียมยื่นฟ้อง กทช. กรณีไม่มีอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่ต่อศาลปกครองในสัปดาห์หน้า
(28 ส.ค. 2553 โพสต์ทูเดย์)
26 ก.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี หลังคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ใช้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาทในการเปิดประมูล แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากศาลปกครองมีคำสั่งให้ระงับชั่วคราว ว่า ไม่คิดว่า กทช. เจตนาฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ แต่ต้องยอมรับว่าเป็นความเห็นทางกฎหมายที่ไม่ตรงกัน หวังว่าสิ่งที่กทช.ทำมาไม่สูญเปล่า วันข้างหน้าถ้ามีการประมูล 3 จี คิดว่างานตรงนี้คงไม่เริ่มต้นจากศูนย์ น่าจะใช้งานที่กทช.ได้ทำไว้ อย่างน้อยก็ใช้เป็นฐาน
ผู้สื่อข่าวถาม การผลักดันพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ยังสะดุด เนื่องจากเสียงในสภาของรัฐบาลมีปัญหา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่เป็นปัญหา คงเร่งผลักดันออกมา ส่วนเรื่องเสียงของรัฐบาลช่วงที่ตนอยู่ไม่เป็นปัญหา หลายเรื่องผลักดันได้ ในวันที่ 29 กันายายน น่าจะมีการประชุมร่วม จะทำกันเต็มที่
(26 ก.ย. 2553 มติชนออนไลน์)
27 ก.ย. นายมานิจ สุขสมจิตร ที่ปรึกษาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน (คพส.) กล่าวว่าคพส.มีความห่วงใยต่อร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และ กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ พรบ.กสทช.ที่วุฒิสภาพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีการแก้ไขในสาระสำคัญจากร่างของสภาผู้แทนราษฎร ขณะนี้ สภาผู้แทนฯกำลังพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับร่างที่วุฒิสภาแก้ไขมาหรือไม่
“คณะ กรรมการ คพส.มีความเห็นตรงกันว่า สภาผู้แทนราษฎรต้องเร่งรัดการพิจารณาร่างกฎหมายนี้ ด้วยการไม่รับร่างที่วุฒิสภาแก้ไขและตั้งคณะกรรมาธิการร่วม 2 สภาเพื่อดำเนินการพิจารณาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว พร้อมกันนี้ คพส.ส่งตัวแทนไปยื่นหนังสือต่อประธานวิปรัฐบาลและฝ่ายค้านเพื่อแสดง เจตนารมณ์ดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอให้มีตัวแทนของสื่อมวลชนในคณะกรรมาธิการร่วมด้วย เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ มีความสำคัญต่อการปฏิรูปสื่อมวลชนในอนาคต” ประธาน คพส.กล่าว
(28 ก.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
28 ก.ย. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ รองประธาน คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และอดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. กสทช. กล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ได้เร่งกระบวนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. กสทช. หลังจากผ่านการพิจารณาของวุฒิสภามาแล้ว เชื่อว่าหากไม่เกิดกรณีศาลปกครองมีคำสั่งระงับการประมูล 3 G รัฐบาลอาจจะยังไม่มีความคืบหน้าในการพิจารณากฎหมายดังกล่าว
"วันนี้ภาค ประชาชนจึงต้องการให้สภาฯ รัฐบาล รวมทั้งฝ่ายค้าน ออกมาแสดงจุดยืนในการเดินหน้าการพิจารณากฎหมาย กสทช. เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปสื่อทั้งระบบ หลังจากล่าช้ามากว่า 10 ปี เพราะต้องยอมรับว่ามีหลายกลุ่มผลประโยชน์ไม่ต้องการให้เกิดองค์กรอิสระจัด สรรคลื่น" นางสาวสุภิญญา กล่าว
(29 ก.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
29 ก.ย. ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการพิจารณาและอภิปรายร่างพ.ร.บ.จัดสรรคลื่น ความถี่และกำกับดูแลวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาค (กสทช.) ที่วุฒิสภาพิจารณาแก้ไข ไปเมื่อวันพฤหัสที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา และได้มีการปิดการประชุมไปก่อนจะมีการลงมติ ซึ่งทำให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 29 ก.ย.นี้ เมื่อเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ได้มีการลงมติไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาแก้ไขด้วยเสียง 296 ต่อ 0 งด 2 ไม่ลงคะแนน 18
จากนั้นนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้หารือว่า จะทำอย่างไรจะให้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวตกไป หรือจะให้ตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนราฎรและวุฒิสภา ซึ่งนายธนิพล ไชยนันท์ ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้ตั้งคณะกรรมการร่วมกันจำนวน 22 คน
ต่อมาองค์กรวิชาชีพสื่อนำโดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ตัวแทนองค์กรวิชาชีพ และนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อุปนายกสมาคมฝ่ายต่างประเทศ ได้เข้ายื่นข้อเรียกร้องต่อนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)
โดยนายวิทยา กล่าวว่า องค์กรวิชาชีพสื่อได้เสนอ 3 แนวทางว่าด้วยพ.ร.บ.องค์กรจัดสรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ (กสทช.) คือ 1.จำเป็นต้องผลักดันกฎหมายกสทช. ให้ทันบังคับใช้ในสมัยประชุมนี้ 2.ร่างพ.ร.บ.ที่เหมาะสมที่สุดคือร่างฉบับที่ส.ส.มีความเห็นชอบ และมีความเห็นที่จะให้มีการตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อศึกษาเรื่องดังกล่าว และ 3.ให้นำตัวแทนของสื่อมวลชนเป็นกรรมาธิการร่วมด้วย
และ นายวสันต์ ได้ยื่นหนังสือและเข้าพบนายวิทยา บูรณะศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน โดยประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า วิปฝ่ายค้านให้ความสนใจและให้ความสำคัญในการปฏิรูปสื่อ อย่างไรก็ตามในส่วนของการตั้งกรรมการเพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ที่จะให้องค์กรวิชาชีพสื่อเข้ามามีส่วนร่วม แต่อาจจะเป็นในรูปแบบของที่ปรึกษา หรือคณะอนุกรรมการ ส่วนเรื่องการผ่านร่างกฎหมาย ตนเชื่อว่าจะผ่านให้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ต้องมีความรัดกุม
(29 ก.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
1 ต.ค. ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอทีพีซี) จัดงานจิบน้ำชาสนทนาหัวข้อ “3 G ผลประโยชน์ชาติ ประชาชน หรือผลประโยชน์ใคร?” โดยนายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ อดีตนายกสภาทนาความและเลขาธิการเนติบัณฑิยสภา นายบรรยง เต็งอำนวย อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอานุภาพ ถิรภาภ นักวิชาการอิสระด้านไอที และ น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม(สบท.) เข้าร่วมเสวนา โดยวงเสนาเห็นว่า รัฐบาลควรปลดล็อกอำนาจ กทช.แสดงความจริงใจด้วยการออกร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฉบับ ใหม่ โดยเห็นว่า กทช.ไม่มีอำนาจตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ขณะที่นักวิชาการเห็นว่า สามจีไม่ใช่คำตอบเดียว เสนอแนะให้เลือกไวไฟเป็นทางเลือก ไม่ต้องการจัดสรรคลื่นความถี่ นอกจากนี้ ยังเห็น ว่าการเร่งรัดการจัดสรรคลื่นให้จบภายในเดือนกันยายนเป็นเพราะเอกชนต้องการเร่งรัดให้จบ และเห็นว่า รัฐบาลไม่มีอำนาจแปลงสัญญาสัมปทานเป็นใบอนุญาต
(2 ต.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจ)
2สภาผ่านร่างกสทช.-2รัฐวิสาหกิจ' กสท.-ทีโอที'ฉลุย
สภาผู้แทนเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.กสทช. 228 ต่อ2 มีมติคงกรรมการ 11 คน พร้อมให้ส่งคืนผลกำไรจากค่าสัมปทานของ กสท.-ทีโอที ภายใน 3ปี
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว โดยปรับปรุง 23 ประเด็น ที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเห็นไม่ตรงกัน
ประเด็นสำคัญคือ ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีจำนวน 11 คน ตามร่างที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ ตัดสัดส่วน กสทช. ในส่วนผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการศาสนาออก แต่คงผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสังคมไว้, กำหนดอายุ กสทช. ไม่ต่ำกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี, ให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่สำนักงานเลขาธิการ กสทช. และให้ขยายเวลาให้รัฐวิสาหกิจต้องนำรายได้จากผลประกอบการที่ได้รับจาก สัมปทาน การอนุญาต หรือสัญญา ส่งเงินรายได้ให้แผ่นดิน หลังจากหักค่าใช้จ่าย เมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ.บังคับใช้
รวมถึงบทเฉพาะกาลว่า ภายหลังจัดทำแผนแม่บทเสร็จ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1 ปีหลังมี กสทช. หรือราว 1 ปีครึ่งภายหลัง พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ ให้ กสทช. จัดสรรคลื่นทีวีภาคประชาชนได้เป็นการชั่วคราว ในพื้นที่ที่มีคลื่นอนาล็อกว่างอยู่ แต่ต้องสามารถเรียกกลับมาจัดสรรใหม่ เมื่อปรับการแพร่ภาพเป็นระบบดิจิทัลแล้ว
(10 พ.ย. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
15 พ.ย. ที่ประชุมวุฒิสภามีนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการร่วมกันฯ (กมธ.ร่วม) จากสองสภาพิจารณาเสร็จแล้ว และสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว เมื่อ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา
ร่างกฎหมายตั้ง กสทช.ฉบับนี้เป็นการประนีประนอมระหว่างวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. .... เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ในการนี้ประชุมวุฒิสภาได้เปิดให้มีการอภิปรายราวหนึ่งชั่วโมงก่อนจะมีมติ เห็นชอบตามร่างของ กมธ.ร่วมฯ ด้วยคะแนน 82 ต่อ 4 งดออกเสียง 4 และไม่ลงคะแนน 1 คะแนน ขั้นตอนหลังจากนี้จะส่งร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้ต่อไป
(15 พ.ย. 2553 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ)
19 พ.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาถกฐาเรื่องบทบาทด้านสื่อและโทรคมนาคมของรัฐบาล หลังพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม หรือ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ว่า ขั้นตอนต่อไป รัฐบาลจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้ต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับกฎหมายฉบับนี้อย่างมาก เพราะเป็นการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณะ อีกทั้ง ยังมีการปรับปรุงกฏระเบียบต่างๆ ซึ่งที่ผ่านมาการกระจายเสียงวิทยุ โทรทัศน์ มีปัญหาในการหาองค์กรเข้ามาดูแล จึงเป็นการเริ่มต้นอีกครั้งในการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ประชาชน ทั้งนี้ ไม่เพียงกำหนดเรื่ององค์กรคลื่นความถี่เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมการแก้ปัญหาการดูแล กำกับกิจการในบางเรื่อง รวมทั้งแก้ปัญหาการหลอมรวมเทคโนโลยีในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ต้องเร่งรัดให้ประเทศเข้าสู่ยุคดิจิตอล และการจัดระบบการดูแลสื่อสมัยใหม่
แต่เอ ไอเอส ดีแทค ทรู หวั่นช่วงรอยต่อ กสทช.ไม่กล้าลงทุน ชี้หากเกิด กสทช.กลางปี 54 จริง แต่ กสทช. 11 ราย ต้องนับ 1 ใหม่ มั่นใจไทยไม่เห็นใบอนุญาต 3จี ใน 1-2 ปี ขณะที่ ดีแทค ระบุ แม้ กทช.จะยกร่างแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคมไว้รอ เชื่อว่า กสทช.ชุดใหม่เมิน
(19 พ.ย. 2553 ไทยรัฐออไนไลน์)
17 ธ.ค. นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.เปิดเผยว่า ปัจจุบัน กทช.มีงบประมาณสำหรับดำเนินการโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและ บริการเพื่อสังคม หรือ ยูเอสโอ ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ…. หรือ พ.ร.บ.กสทช. มีผลบังคับใช้ งบประมาณดังกล่าวจะต้องนำไปรวมอยู่ในโครงการวิจัยและพัฒนาของกสทช.
ทั้งนี้ กทช.ได้อนุมัติแผนงานโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการ เพื่อสังคม หรือ ยูเอสโอ ระยะที่ 2 ให้แก่ บริษัท ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นรายแรกตามพระราช บัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และมีหน้าที่ต้องให้กระจายบริการกังเล่าวให้เข้าถึงทั่วประเทศ
(17 ธ.ค. 2553 www.isnhotnews.com)
19 ธ.ค. ปฏิรูปสื่อ (คปส.) กล่าวในเวทีสัมมนา "แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่และแผนแม่บทประกอบกิจการฯ ร่างอย่างไรให้เดินหน้ากันได้" ว่า การจัดตั้งกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) น่าจะเกิดขึ้นในช่วงปี 255-2556 เพราะยังกังวลเรื่องเสถียรภาพทางการเมือง ว่าอาจจะส่งผลกระทบให้กระบวนสรรหาต้องสะดุดลง หลังจากร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ.กสทช.) ผ่านความเห็นจากรัฐสภาแล้ว และอยู่ระหว่างรอประกาศใช้
สอดคล้องกับความเห็นของนายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการอำนวยการ บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือเอ็นบีซี ที่กล่าวว่า กรอบเวลาการประกาศใช้กฎหมายกสทช. และการจัดตั้ง กสทช. ในช่วงกลางปีหน้า ซึ่งใกล้เคียงกับการเลือกตั้งใหม่ อาจจะส่งผลต่อกระบวนการสรรหา กสทช. ให้เข้าสู่ช่วงสุญญากาศ ทำให้ไม่มั่นใจว่า จะเกิด กสทช. ในปีหน้าได้หรือไม่ หรืออาจจะต้องใช้เวลานานขึ้น เพราะไม่มีการกำหนดบทลงโทษไว้หากไม่สามารถจัดตั้งได้
ปัจจุบันในกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ กลุ่มทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ได้มีการขยายกิจการไปล่วงหน้าจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในยุคสื่อใหม่ โดยไม่รอกฎหมาย และ กสทช. ดังนั้น การจัดทำแผนแม่บทกิจการวิทยุ โทรทัศน์ ของ กสทช. จำเป็นต้องศึกษาการเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี และพฤติกรรมการรับชมช่องรายการต่างๆ ของผู้ชมไทยไปพร้อมกัน เพื่อให้แผนแม่บทช่วยสนับสนุนกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ในอนาคต และไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการของภาคเอกชน
นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าในร่างพ.ร.บ.กสทช. ที่กำหนดให้ภาคประชาชน ประกอบกิจการโทรทัศน์ชั่วคราว หรือ ทีวีชุมชน ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอนโยบายการปรับเปลี่ยนโทรทัศน์ในประเทศไทยไปสู่ระบบดิจิ ทัล และรอการจัดตั้ง กสทช. จึงเชื่อว่าจะเกิดสื่อทีวีชุมชนขึ้นจำนวนมาก และอาจจะเป็นปัญหาเช่นเดียวกับวิทยุชุมชน ที่มีปัญหาคลื่นซ้ำซ้อน ดังนั้น การจัดทำแผนแม่บทคลื่นความถี่, โทรคมนาคม และบรอดคาสติ้ง จำเป็นต้องมีการหารือการจัดทำแผนร่วมกับคลื่นความถี่ทุกประเภท
(19 ธ.ค 2553 คมชัดลึกออนไลน์)
20 ธ.ค. "กสทช." หรือสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติก็เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างถูกต้อง ล่าสุด เลขาธิการกทช. (ในฐานะรักษาการเลขาธิการ กสทช.) มีประกาศเรื่องการเปลี่ยนแปลงสำนักงานกสทช. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงานและลูกจ้าง และเงินงบประมาณ ของสำนักงาน กทช. ไปเป็นของสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป
เนื้อความในประกาศ มีดังนี้
"ด้วยพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 127 ตอน 78 ก วันที่ 19 ธันวาคม 2553 โดยมีผลใช้บังคับในวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ซึ่งเป็นวันถัดจากวันประเทศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
โดยความในมาตรา 56 มาตรา 60 และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื้นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้บัญญัติให้มีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) โดยมี เลขาธิการ กสทช.รับผิดชอบงานของสำนักงาน กสทช. และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงานและลูกจ้าง และเงินงบประมาณ ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่มีอยู่ไปเป็นของสำนักงาน กสทช.
ดังนั้นในการติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาตินับ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2553 ขอให้ติดต่อกับสำนักงาน กสทช. เลขที่ 87 ถนนพฤลโยธิน ซอย 8 (ซอยสายลม) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 022710151-60 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งขาติต่อไป"
คณะกรรมการ กทช. 7 คนที่จะถูกโอนย้ายไปเป็น รักษาการกสทช. ได้แก่นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ ประธานกทช. นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ นายสุธรรม อยู่ในธรรม พ.อ.นที ศุกลรัตน์ นายบัณฑูร สุภัควณิช นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร และนายพนา ทองมีอาคม ทั้งหมดเพิ่งโชว์ผลงานภูมิใจ 4 เรื่องประจำปี 2553 ทั้งเรื่องคงสิทธิเลขหมาย ค่าเชื่อมโครงข่าย การกำหนดเพดานค่าบริการมือถือ และการเปิดเสรีอินเทอร์เน็ต เกตเวย์
(20 ธ.ค. 2553 ASTVผู้จัดการออนไลน์)
20 ธ.ค. นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าว่า การสรรหาคณะกรรมการ จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ภายหลังจากพ.ร.บ.กสทช.ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภากำลังยกร่างระเบียบที่เกี่ยวข้องอีก 3 ระเบียบ โดยจะให้เสร็จภายในวันที่ 24 ธ.ค.นี้ พอเสร็จแล้วจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าหลังปีใหม่ประกาศได้
นายประสพสุข กล่าวว่า จากนั้นในเดือนม.ค. 2554 จะมีการประชาสัมพันธ์ ให้ทราบในระเบียบต่างๆ โดยในเดือน มี.ค. 2554 จะเริ่มรับสมัครได้ หลังสมัครเสร็จจะส่งรายชื่อมาทั้งหมด 44 คน ให้วุฒิสภาคัดเลือก คาดว่าจะดำเนินการรับเลือกเสร็จในเดือนพ.ค. ซึ่งจำนวน44 คนทางวุฒิจะตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบคุณสมบัติ คาดว่าจะคัดเลือกจาก 44 คน ให้เหลือ 11 คนได้ภายในเดือนส.ค.ปี 2554 ทั้งนี้มั่นใจว่าการสรรหาจะไม่เกิดอุปสรรคทางกฎหมายอย่างแน่นอนแม้ว่าใน เดือนก.พ.2554 ส.ว.สรรหาจะต้องพ้นจากหน้าที่แต่ส.ว.ที่เหลือทำหน้าที่ไปก่อนได้
(20 ธ.ค. 2553 โพสต์ทูเดย์ออนไลน์)
25 ธ.ค. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเรื่องเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารอย่างชัดเจน ในการผลักดันให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระจายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ด้วยการเร่งสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งองค์กร กสทช. โดยเร็วซึ่งขั้นตอนตามกฎหมายจะเกิดภายในเดือน ส.ค. 2554
(26 ธ.ค. 2553 โพสต์ทูเดย์)
วิทยุชุมชน
25 พค. เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร ได้ร่วมกันเข้าทำการยึดเครื่องส่งและอุปกรณ์สถานีวิทยุชุมชนคนเสื้อแดงที่ เชื่อมเครือข่ายสัญญาณ ทั้งจังหวัดจำนวน 5 สถานี หลังศาลอมุมัติหมายค้น โดยให้เหตุผลว่า สถานีวิทยุดังกล่าวมีการเผยแพร่ข้อความปลุกระดมคนเสื้อแดงให้มาชุมนุมและก่อ ให้เกิดความเสียหาย
(25 พ.ค. 2553 เนชั่นทันข่าว)
29 ก.ค. พล.ต.ต. ศรีวรา รังสิพราหมกุล ผบช.ก.พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ตำรวจกองปราบ เดินทางไปประสานขอกำลังตำรวจ สภ.เมือง นครศรีธรรมราช บุกเข้าตรวจค้นจับกุมสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช 9 ทีวีชุมชน 3 แห่ง โดยเฉพาะที่โรงแรมทวินโลตัสนครศรีธรรมราช นั้นตรวจจับสถานีวิทยุชุมชน 7 สถานี ทีวีชุมชน 1 สถานี
นอกจากนี้ที่ตลาดท่าม้า ต.ในเมือง อ.เมือง จับกุมวิทยุชุมชน 1 แห่ง ทีวีชุมชน 1 แห่ง และที่ อ.ทุ่งสง จับวิทยุชุมชน 1 แห่ง ทีวีชุมชน 1 แห่ง โดยดำเนินคดีในข้อหากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 โดยตั้งข้อหาความผิด 3 ประการ คือ การประกอบกิจการวิทยุชุมชนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต การใช้เครื่องส่งโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และการใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเจ้าหน้าที่เดินทางมาถึงที่โรงแรมทวินโลตัส ก็ได้นำหมายศาลเข้าทำการตรวจสอบพบว่าที่ชั้น 18 หรือชั้นดาดฟ้าของโรงแรมนั้นมีการตั้งเครื่องส่งและเสาอากาศถึง 8 สถานี และได้ทำการตรวจสอบพบว่าบางสถานีนั้นเป็นสถานีเถื่อน ไม่มีการขออนุญาตจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตรวจยึดเครื่องส่งทั้งหมดไว้เป็นของกลาง และนำไปตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป ซึ่งหากสถานีใดดำเนินการตามกฎหมายที่กำหนดอย่างถูกต้องก็สามารถนำเครื่องส่ง มาเปิดได้ตามปกติ แต่ถ้าสถานีใดทำผิดกฏหมายก็จะดำเนินคดีตามกระบวนการของกฎหมายต่อไป
นอกจากนี้จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ กทช.ในครั้งนี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า เป้าหมายที่แท้จริงคือการตรวจสอบคือสถานีวิทยุชุมชนของเครือข่ายกลุ่มคน เสื้อแดง หรือ นปช.ประมาณ 2-3 สถานีที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างกันรัฐบาล แม้เจ้าหน้าที่จะอ้างว่าทำตามหน้าที่ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าวิทยุชุมชนทุกสถานีที่ถูกเจ้าหน้าที่บุกตรวจค้นจับ กุมล้วนเป็นสถานีวิทยุชุมชนที่มีการจัดรายการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล , ศอฉ. และดีเอสไอ.อย่างตรงไปตรงมา ทำให้ประชาชนสงสัยว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ทั้งๆ ที่สถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชในขณะนี้มีกว่า 100 สถานี ทำไมไม่ตรวจสอบทั้งหมด
(29 ก.ค. 2553 โพสต์ทูเดย์ออนไลน์)
กทช.ดีเดย์เดินหน้าเชือดวิทยุชุมชน-เคเบิ้ลทีวีเถื่อนสิงหาคม นี้
30 ก.ค. สืบเนื่องจากการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ (กทช.) เพื่อขอความร่วมมือในการเข้าไปดูแลวิทยุชุมชนและโทรทัศน์ชุมชนที่เป็นการ ปลุกระดมมวลชน และกลายเป็นชนวนเหตุความวุ่นวายทางการเมือง หลังจากที่รัฐบาลจะประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และได้ประกาศยกเลิกไปแล้วในบางพื้นที่ ซึ่งทำให้ กทช. ต้องออกมาประกาศว่าจะเดินหน้าปราบปรามวิทยุชุมชนและทีวีชุมชนที่ผิดกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 อย่างเคร่งครัด
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รองเลขาธิการ กทช. กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมนี้ กทช.จะใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 อย่างเข้มข้นในการดำเนินการจับกุมวิทยุชุมชนและทีวีชุมชนที่ใช้คลื่นความถี่ อย่างผิดกฎหมาย และไม่ยอมให้ความร่วมมือกับการดำเนินต่าง ๆ และใช้สื่อสร้างความเข้าใจผิดต่อประชาชน และกลายเป็นสาเหตุสำคัญของความวุ่นวายทางการเมือง โดยจะประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
ในการเข้าจับกุม โดยมีบทลงโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
ทั้งนี้ ล่าสุดได้จับกุมวิทยุชุมชนและทีวีชุมชนที่ทำผิดกฎหมาย อย่างวิทยุชุมชนที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช 3 สถานี และจังหวัดสุราษฎ์ธานี 1 แห่ง ได้แก่ เอโอ ชาแนล, ซีเอสทีวี, เอ็นทีวี และสุราษฎร์ แชนแนล ใช้เครื่องส่งสัญญาณไม่ได้รับอนุญาต เสาส่งสัญญาณไม่เป็นไปตามกฎหมาย และทีวีชุมชน ที่ใช้คลื่นความถี่ ย่าน UHF400-500 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 8 แห่ง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2 แห่ง ซึ่งการใช้คลื่นความถี่ย่านดังกล่าว ถือว่าผิดกฎหมายทั้งสิ้น เพราะยังไม่เคยอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายใดใช้ นอกจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 5 7 9 11 และไทยพีบีเอสเท่านั้น
“กทช. ได้รับการร้องเรียนจากวิทยุชุมชนที่มาลงทะเบียนกับ กทช.ว่าขอให้ กทช.ใช้กฎหมายดำเนินการกับวิทยุชุมชนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างเด็ดขาด ทำให้ กทช.ต้องออกมาประกาศว่าจะดำเนินการอย่างเข้มข้นโดยใช้อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498” นายฐากร กล่าว
นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขา กทช. กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถานีวิทยุชุมชนที่เข้าสู่ระบบการดำเนินการของ กทช.แล้วเกือบ 8,000 แห่ง มาลงทะเบียนเพื่อออกอากาศชั่วคราว 1 ปี กับ กทช.จำนวน 6,629 แห่ง และได้รับใบอนุญาตชั่วคราว 1 ปี 6 ราย อยู่ระหว่างการพิจารณา 528 ราย ส่วนที่เหลืออีก 1,080 แห่ง ยังไม่ได้รับอนุญาตจาก กทช. โดยในส่วนนี้มีการร้องเรียนว่ามีการปลุกระดมประมาณ 84 สถานี ซึ่ง กทช.กำลังติดตามดูอย่างใกล้ชิด ส่วนเคเบิ้ลทีวี มาลงทะเบียนกับ กทช. เพื่อออกอากาศชั่วคราว 767 ราย และได้รับอนุญาตจาก กทช.แล้ว 44 ราย ขณะที่ทีวีชุมชนที่ใช้คลื่นถี่ย่าน UHF มีประมาณ 10 ราย ซึ่ง กทช. จะดำเนินงานจับกุมตามกฎหมายต่อไป.-สำนักข่าวไทย
( http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/84226.html)
สหพันธ์วิทยุชุมชนจวกศอฉ.2 มาตรฐานยัดเยียดข้อหาหมิ่นสถาบัน
พ.อ.สรรเสริญแก้วกำเนิด โฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ออกมาระบุว่า ที่ประชุมศอฉ.ได้มีการพิจารณาถึงแผนรักษาความปลอดภัยในการประชุมคณะกรรมการ ชายแดนไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ครั้งที่ 7 ที่พัทยา และได้มีการสรุปความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่างๆ รวมทั้งสั่งตรวจสอบวิทยุชุมชน 95 แห่งที่ไม่ได้ยื่นหลักฐานขออนุญาตจัดตั้ง และจำนวนนี้มีสถานีที่เข้าข่ายสร้างความแตกแยกให้สังคมและจาบจ้วงสถาบัน ซึ่งจะให้ตำรวจลงไปจัดการอย่างจริงจังนั้น
ผู้สื่อข่าวเพื่อสำนักข่าวสถาบันอิศรา อ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายวิชาญ อุ่นอก เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติว่า สัปดาห์ที่แล้วมีวิทยุชุมชนโดนจับ 2 แห่งที่ จ.ขอนแก่น และในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมามี 8 แห่งที่ จ.นครศรีธรรมราช ทั้งที่ได้ใบเหลือง (ใบอนุญาตทดลองออกอากาศ 300 วัน) คือผ่านเกณฑ์การพิจารณาจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)แล้ว แต่กลับถูกจับ แสดงถึงความไม่มีมาตรฐานของ กทช.และ ศอฉ.
พร้อม ยกตัวอย่างวิทยุชุมชนแปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ เคยถูกคนร้องเรียนว่า ถ่ายทอดสัญญาณการชุมนุมเสื้อแดง ทั้งๆที่ยังด้อยเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตก็ไม่มีใช้ แต่โดนสั่งปิด ทีหลังจึงรู้ว่า จับผิด แต่ ศอฉ.ก็ทำได้แค่เอาเงินไปมอบให้ชาวบ้านสู้คดีในศาลแสดงว่าที่ผ่านมามีแต่ข้อ กล่าวหา ไม่เคยมีการลงไปพิจารณาในรายละเอียดอย่างไรก็ตามสื่อประเภทอื่นมีจรรยาบรรณ ในวิชาชีพ ขณะนี้สหพันธ์ฯก็กำลังร่างจรรยาบรรณวิทยุชุมชนเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง มีวิทยุชุมชนถูกปิดไปแล้ว 40-50 แห่งในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ปัจจุบันมีวิทยุชุมชนทั้งหมด 6,531 สถานีที่เปิดดำเนินการ จำนวนนี้ที่นักวิชาการและคนทำงานด้านสื่อวิทยุชุมชนระบุว่าเป็นวิทยุชุมชน แท้ๆ คือไม่มีโฆษณา และไม่เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพียงแค่ 200 กว่าแห่งเท่านั้น
(30 ต.ค. 2553 http://community.isranews.org โต๊ะข่าวเพื่อชุมชน สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย)
สื่อออนไลน์
19 มี.ค. เนคเทค โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษย์ ภาษา (HLT) เปิดมิติใหม่ของการรับข่าวสารด้วยระบบบริการอ่านข่าวอัตโนมัติ News Voice Information Service (NVIS) ที่ใช้เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูดจากข้อความ (Text To Speed :TTS) ล่าสุด เวอร์ชั่น 6.0 www.hlt.nectec.or.th/speech/nvis โดยการแปลงข้อความเป็นเสียงพูด เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล (19 มี.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
13 พ.ค. เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) จัดเสวนา เปิดใจพลเมืองเน็ตในภาวะ (พ.ร.ก.) ฉุกเฉิน และความอึดอัดในโลกออนไลน์ ณ ห้องประชุม GM Hall อาคารศศินิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ รวมพลคนอินเทอร์เน็ต มาร่วมกันถอดเสื้อเปิดใจด้วยการบ่น เสียงดังๆ จากความคิด ความรู้สึก ทั้งอึดอัด คับข้องจิต คิดไม่ตก อกหักเพราะการเมือง และความคิดของผู้คนหรืออะไรก็ตามต่อสิ่งที่เป็นไปในโลกไซเบอร์ ภายใต้การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และความขัดแย้งทางการเมือง ที่กระจายความหงุดหงิด บ่มเพาะความเกลียดชัง โดยได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก (13 พ.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
17 พ.ค. ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เปิดเผยว่า หลังจากเกิดสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ ( นปช.) ศอฉ.มีคำสั่งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ปิดเว็บไซต์ที่เข้าข่ายปลุกระดมและปิดแล้ว 770 เว็บไซต์ จากสัปดาห์ที่ผ่านมามีเพียง 612 เว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่เป็นลักษณะการถ่ายทอดสดการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง ที่เข้าข่ายยั่วยุและปลุกระดมให้เกิดความแตกแยกทางการเมือง (17 พ.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
27 พ.ค. ไอซีที รอฟังคำสั่งศอฉ. ปิดทวิตเตอร์ทักษิณ และจับตาเว็บปลุกระดม หลังรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ โพสข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ด้านศอฉ.ระบุ แม้เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่เข้าข่ายปลุกระดมให้เกิดความแตกแยกก็ต้องฟัน (27 พ.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
23 มิ.ย. ที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการเครือข่ายรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ เครือข่ายพลเมืองเน็ต และสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ได้ร่วมกันแถลงข่าวหัวข้อ “สื่อภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”
นายสุ เทพ วิไลเลิศ คณะกรรมการรณรงค์ปฏิรูปสื่อ กล่าวว่า หลังการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เม.ย. ที่ผ่านมา รัฐบาลเข้ามาปิดกั้นการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อใหม่ทั้งอินเทอร์เน็ต วิทยุชุมนุม และทีวี.ดาวเทียม ซึ่งเป็นแหล่งที่จะทำให้ประชาชนได้เข้าถึงข่าวสารที่แตกต่างจากสื่อโดยทั่ว ไป ถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่มีแนวโน้มจะเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้ประชาชนได้รับข่าวสารด้านเดียวจากรัฐบาล
นาย พิสิต ศรีประสาททอง เครือข่ายพลเมืองเน็ตกล่าวว่า การปิดเว็บไซต์ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นหลังการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่รัฐบาลมีความพยายามมาตลอด แต่เมื่อใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้วทำให้รัฐบาลมีเครื่องมือปิดเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นเพราะไม่ ต้องขออำนาจจากศาล โดยยกข้ออ้างเรื่องมีเนื้อหากระทบความมั่นคงและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
“มี เว็บไซต์ถูกสั่งปิดโดยผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) 36 เว็บไซต์ ศอฉ. ใช้อำนาจผ่านกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อีก 190 เว็บไซต์ การไล่ปิดเว็บไซต์มากมายสมเหตุสมผลหรือไม่ ต้องการส่งสัญญาณอะไรหรือไม่ เพราะเท่าที่ตรวจสอบดูเว็บไซต์ที่ถูกปิดไม่ใช่เฉพาะเว็บไซต์ที่มีเนื้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเท่านั้น นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจงใจที่จะปิดกั้นเพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าถึง ข่าวสารด้านอื่น” นายพิสิตกล่าว (24 มิ.ย. 2553 โลกวันนี้)
1 ก.ค. น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงการจัดตั้ง "Cyber Scout" หรือลูกเสือในเครือข่ายออนไลน์ป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต ว่า ขอตั้งคำถามว่าการจัดตั้งเครือข่ายออนไลน์แบบนี้เพื่อปกป้องพลเมืองเน็ต หรือไล่ล่าพลเมืองเน็ตกันแน่
หากต้องการจะป้องกันการ หมิ่นสถาบันรัฐบาลก็ปิดได้ตามกฎหมาย ทั้ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ทั้งกฎหมายอาญา การปลุกให้ลูกเสือมานั้นไม่ต่างกับลูกเสือชาวบ้านในยุคก่อน ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อไล่ล่ากลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยรัฐบาล เหมือนการไล่ล่าแม่มด ทำให้บรรยากาศประชาธิปไตยถูกทำลาย (1 ก.ค. 2553 www.suthichaiyoon.com)
8 ก.ค. นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวถึงการประชุมระดมความคิดเห็นต่อ ยุทธศาสตร์ ICT เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ว่า สืบเนื่องจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทย ระยะ พ.ศ. 2544-2553 หรือ IT 2010 จะสิ้นสุดระยะเวลาลงในปี 2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้มีมติเห็นชอบวันที่ 11 ก.ย. 2550 ที่ผ่านมา ให้กระทรวงไอซีทีร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ หรือเนคเทค กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ระยะ พ.ศ. 2554-2563 หรือ ICT 2020 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านการพัฒนา ICT ของประเทศมีความชัดเจนและต่อเนื่อง โดยคาดว่าการจัดทำกรอบนโยบายดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในเดือนส.ค.2553
สำหรับ กระบวนการจัดทำกรอบนโยบาย ICT 2020 นั้น นอกเหนือจากการศึกษาวิเคราะห์ในทางวิชาการแล้ว ยังมุ่งเน้นให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด โดยได้จัดให้มีการประชุมหารือในเวทีต่างๆ มาโดยตลอด อาทิ การประชุมระดมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูงชุดที่ 1 ใน 6 กลุ่มสาขา ได้แก่ กลุ่มเศรษฐกิจ กลุ่มสังคม กลุ่มการเมืองการปกครองการบริหารราชการแผ่นดิน กลุ่มการศึกษา กลุ่มสิ่งแวดล้อมและพลังงาน โดยระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง อนาคตของประเทศไทยในปี 2020 กับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT 2020) และการประชุมระดมความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญระดับสูงชุดที่ 2 ในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี 2020 : นัยต่อการพัฒนาประเทศไทย
(8 ก.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
14 ก.ค. กรรมการบริหารและที่ปรึกษาชมรมผู้ผลิตข่าว ออนไลน์ ได้เข้าพบหารือกับนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ที่ห้องรับรอง 1 สภาผู้แทนราษฎร โดยนายชวรงค์ ลิมปัทมปานี ประธานชมรมฯ ได้แนะนำถึงจุดประสงค์ของชมรม ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2552 เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของสมาชิก พร้อมดูแลด้านจริยธรรมและพัฒนาวิชาชีพ การผลิตข่าวออนไลน์ หลังจากนั้นได้ขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับรัฐมนตรี เกี่ยวกับการพัฒนาข่าวออนไลน์รวมถึงการใช้เครือข่ายสังคมที่กำลัง แพร่หลายใน ขณะนี้
นายจุติกล่าวชี้แจงถึงการดำเนินงานของกระทรวงไอซีที โดยเฉพาะในประเด็นการตั้งลูกเสือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Cyber Scout) ซึ่งไม่ใช่การล้างสมองตามที่มีการเข้าใจผิดจึง ต้องอาศัยสื่อในการสื่อความหมายให้เข้าใจ ส่วนเรื่องของข่าวหรือคอนเทนต์ จะไม่เข้าไปยุ่งมาก ให้มีเสรีภาพในการนำเสนอตามเงื่อนไขของแต่ละเว็บ เชื่อว่าแต่ละสื่อมีจริยธรรมอยู่แล้ว แต่ถ้าหากมีการกระทำผิดกฎหมาย ทางกระทรวงก็ต้องดำเนินการ ไม่เช่นนั้นจะถูกตั้งข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 157
รมว.ไอซีทีกล่าวต่อว่า cyber scout คือ การเปิดช่องสำหรับเด็กให้มีโอกาสเข้าถึงสื่อที่สร้างสรรค์และมี ประโยชน์สำหรับประชาชน ที่ผ่านมามีโครงการไอซีทีชุมชน ซึ่งหากผู้บริหารดูแลดีก็ดีไป ที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นไปแบบสร้างสรรค์ ในอนาคตตามนโยบายของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะให้มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (broad band) ราคาถูกทั่วประเทศจะเป็นดาบสองคม คือมีการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย แต่เด็กจะแยกแยะไม่ออกในประเด็นการ เมือง การมี cyber scout ก็ เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงของเด็กในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการ ศึกษา การเข้าถึงห้องสมุดความรู้ ไม่ใช่แค่เอาคอมพิวเตอร์ไปแจก จะมีการพัฒนาคอนเทนต์โดยให้อาจารย์มหาวิทยาลัยมาทำคอนเทนต์ให้ได้ มาตรฐาน จับมือกับมหาวิทยาลัยนราชภัฎผลิตครูไอซีทีมาสอนเด็กตั้งแต่ ม.1-ม.6 ให้มหาวิทยาลัยผลิตบุคลากรด้านไอที รวมทั้งด้านเทคนิคที่จะพัฒนา ไปพร้อมกัน
(14 ก.ค. 2553 ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์)
เครือข่ายพลเมืองเน็ตได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ ส.ส. พิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 อย่างเร่งด่วน โดยแถลงการณ์ระบุว่า เครือข่ายพลเมืองเน็ตได้แสดงจุดยืนเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้มา เพราะกฎหมายฉบับนี้ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอันเป็นหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ทั้งยังขัดกับคุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต ในหลายแง่มุม ซึ่งสร้างผลกระทบในการบังคับใช้ หากแต่ภาครัฐกลับมิได้กระตือรือร้นและจริงจังในการแก้ไขกฎหมายที่ลิดรอน เสรีภาพของประชาชนฉบับนี้
เครือข่ายพลเมืองเน็ตพบว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ โดยเฉพาะมาตราที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ มาตรา 14 และ 15 ถูกใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานกับผู้ที่คิดต่างทางการเมือง หรือคิดต่างจากรัฐบาล ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนได้แก่ กรณีการจับกุมและตั้งข้อหาร้ายแรงกับ น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท โดยแถลงการณ์เห็นว่าเว็บไซต์เป็นเพียงตัวกลางเท่านั้น และข้อความที่ผิดกฎหมายก็ถูกลบออกจากเว็บไซต์ไปก่อนการถูกจับกุม (19 ต.ค. 2553 มติชนออนไลน์ )
ปชป.เตรียมใช้ พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เอาผิดเพื่อไทยเผยแพร่"คลิปฉาว"
19 ต.ค. น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แถลงว่า จากกรณีคลิปวิดีโอที่พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวหาว่าบันทึกภาพสมาชิกปชป.ล็อบบี้ไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบปชป. แกนนำปชป.ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นการจัดฉากเพื่อทำลายปชป. ดิสเครดิตกระบวนการยุติธรรม และหวังดึงองคมนตรีมาสู่ความขัดแย้งอย่างชัดเจน จึงเห็นว่าควรดำเนินการทางกฎหมาย 3 แนวทาง 1.รัฐบาลจะเสนอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเอาผิดกับผู้กระ ทำคลิปดังกล่าว เพราะถือเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่จำเป็นต้องมีใครไปแจ้งความ 2.ปชป.จะฟ้องพท.ที่นำคลิปดังกล่าวไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของพรรค ในความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 14 และ 15 และ 3.นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนองและทีมกฎหมายปชป.จะดำเนินคดีกับผู้กล่าวหาในลักษณะใส่ร้ายต่อไป (20 ต.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
9 พ.ย. ที่ประชุมสององค์กรวิชาชีพสื่อมีมติรับรองแนวปฏิบัติ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน พ.ศ. 2553 พร้อมประกาศใช้ในวันที่ 9 พฤศจิกายน และมีผลบังคับใช้ทันที นับเป็นแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ฉบับแรกของประเทศไทย
โดยสององค์กรสื่อมวลชน ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีการประชุมคณะกรรมการบริหารซึ่งได้พิจารณาร่างแนวแนวปฏิบัติการใช้สื่อ สังคมออนไลน์ของสื่อมวลชน ที่ยกร่างโดยสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมทั้งเปิดรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. ที่ผ่านมา
สำหรับแนวปฏิบัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้แบ่งรายละเอียดออกเป็น 3 หมวด จำนวนทั้งสิ้น 12 ข้อ ประกอบด้วย หมวดที่ 1 บททั่วไปซึ่งได้ให้ความหมายของ สื่อสังคมออนไลน์ องค์กรสื่อมวลชน และ‘ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน หมวด 2 ว่าด้วยรายละเอียดของแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ขององค์กรสื่อมวลชน และหมวด 3 ว่าด้วยเรื่องแนวปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ มวลชน ส่วนรายละเอียดอื่นๆ สามารถติดตามได้ทาง www.presscouncil.or.th และwww.newsbroadcastingcouncil.or.thn (9 พ.ย. 2553 สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย)
22 ธ.ค. ทางเว็บไซต์ประชาไทได้จัดแถลงข่าวถึงผลกระทบและมูลค่าความเสียหายอันเนื่อง มาจากการถูกปิดกั้นเว็บไซต์มานานกว่า 8 เดือน ณ ห้องประชุม สำนักงานว็บไซต์ประชาไท อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม เขตห้วยขวาง
โดยน.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่า จากการที่เว็บไซต์ประชาไทถูกปิดกั้นการเข้าถึงครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา หากประเมินมูลค่าความเสียหายที่ เกิดขึ้นแล้ว ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท หรือประมาณวันละ 2 หมื่นบาท ซึ่งขณะนี้ประชาไทได้ยื่นฟ้องรัฐบาลและ ศอฉ. ต่อศาลยุติธรรม และขณะนี้คดีกำลังอยู่ในการพิจารณาของศาลอุธรณ์ รวมถึงเกิดความเสียหายทางด้านจิตใจของบุคลากรในองค์ ชื่อเสียงของเว็บไซต์ นอกจากนี้ประชาไทยังสูญเสียโอกาสทางธุรกิจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ การให้บริการข่าวเอสเอ็มเอส ซึ่งผู้ให้บริการทางเอสเอ็มเอสได้แจ้งยุติการให้บริการโดยอ้างเหตุการณ์ที่ เว็บไซต์ประชาไทถูกคำสั่งปิดจาก ศอฉ. และการหารายได้จากการโฆษณา ที่เพียงไม่กี่วันก่อนที่จะมีคำสั่งปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ ประชาไทได้ประชาสัมพันธ์การขายพื้นที่โฆษณาบนเว็บไซต์ไปแล้ว
"ในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเลิกการ บังคับใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ประชาไทเห็นว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องนำเสนอผลกระทบและมูลค่าความเสียหาย อันเนื่องมาจากคำสั่งปิดกั้นสื่อภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อให้รัฐบาลซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายได้ดำเนินไปตามหลัก แห่งความเป็นธรรมทางกฎหมายมากกว่าจะเป็นไปในลักษณะตามอำเภอใจ ดังที่ได้เกิดขึ้นในห้วงเวลากว่า 8 เดือน และเมื่อตรวจสอบข้อมูลอย่างจริงจังแล้วมีเว็บไซต์ที่ถูกปิดกว่า 2,200 เว็บไซต์ รวมถึงช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค ในส่วนประชาไท ได้เปลี่ยนชื่อเว็บทั้งหมด 8 ครั้ง เว็บบอร์ดอีก 3 ครั้ง ก่อนจะตัดสินใจปิดเว็บบอร์ดในวันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา" น.ส.จีรนุช กล่าว
ด้านนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่า สื่อมวลชนจะต้องตระหนัก และร่วมกันเฝ้าตรวจสอบคือ การเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าจาก ศอฉ.มาเป็น ศตส. โดยอาศัยการบังคับใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในแทนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้อำนาจพิเศษตามกฎหมายซึ่งมีลักษณะพิเศษกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและความมั่น คงของพลเมืองยังคงมีอยู่ ทั้งนี้เชื่อว่าขอบเขตอำนาจของพ.ร.บ.ความมั่นคงภายในจะไม่มีอำนาจในการปิด กั้นสื่อ และเมื่อมีการยกเลิกการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑลนั้นย่อมถือว่าการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์หลายหมื่นยูอาร์แอล (URLs) ไม่มีกฎหมายรองรับแต่อย่างใด หากจะนำกฎหมายมาใช้ก็ควรใช้ให้เป็น ท้ายที่สุดแล้วความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็ยังไม่สามารถนำไปสู่การปิดกั้นสื่อได้ (22 ธ.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
สิ่งพิมพ์ปิดตัว ปิดหนังสือพิมพ์
ม.ค. หนังสือพิมพ์ประชาทรรศการหยุดผลิต หยุดจำหน่าย และให้พนักงานลาออกจำนวนมากของหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์รายวัน ซึ่งเป็นนสพ.ที่เกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 รวมแล้วมีการวางจำหน่าย 581 ฉบับ ซึ่งฉบับสุดท้ายคือฉบับวันที่ 15 ม.ค. 2553
26 พ.ค. ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. แจกจ่ายคำสั่ง ศอฉ. ที่ 71/2553 เรื่องห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจน กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนใน ทั่วราชอาณาจักร ได้แก่ นิตยสาร Voice of Taksin เสียงทักษิณ หนังสือพิมพ์ความจริงวันนี้ ไทยเรดนิวส์ , และวิวาทะ เสนอข่าวสารหรือทำให้ปรากฎแพร่หลายซึ่งข่าวสารที่มีข้อความและเนื้อหาที่ กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย (26 พ.ค. 2553 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
27 พ.ค. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลั่นปิดสื่อแดงเพราะเป็นภัยต่อความมั่นคง ประกาศล่าหัวนปช. ย้ำชัดเป็นมหันตภัยของบ้านเมือง เตรียมหารือยืดเคอร์ฟิวต่อ หากจำเป็น เผย 31 พ.ค.นี้พร้อมแจงประเด็นยิง 6 ศพที่วัดปทุมฯ ยอมรับเหตุบึมยะลารู้ล่วงหน้า แต่ป้องกันได้ยาก...(27 พ.ค. 2553 ไทยรัฐออนไลน์)
27 พ.ค. นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้ก่อตั้งนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ กล่าวถึงกรณีที่ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีคำสั่งปิดสื่อสิ่งพิมพ์ของฝ่ายนปช.จำนวน 4 ฉบับ ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นสวนทางกับคำพูดเรื่องสร้างความปรองดองของนายกรัฐมนตรีและ บุคคลในซีกรัฐบาล หากกล่าวอ้างเรื่องความสงบเรียบร้อย
ถามว่าเหตุใดจึงเลือกปิดเฉพาะหนังสือพิมพ์และสื่อสิ่ง สิมพิมพ์ของคนเสื้อแดง และบรรณาธิการยังถูกควบคุมตัวในค่ายทหาร แต่รัฐบาลกลับปล่อยให้สื่อในเครือเอเอสทีวี เผยแพร่โจมตีอยู่ได้ฝ่ายเดียว แต่ทั้งนี้ หลังการยกเลิกเคอร์ฟิวเราคงจะมาหารือเพื่อดำเนินการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อีก ครั้ง อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการเมืองวันนี้มีสภาพเหมือน 6 ตุลา 2519 ที่มีการทำทุกวิถีทาง ใช้กฎหมายทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด (27 พ.ค. 2553 มติชนออนไลน์)
จริยธรรมสื่อ
6 ต.ค. นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร เลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ว่า การประชุมสภาการหนังสือพิมพ์ครั้งล่าสุดมีการหยิบยกเนื้อหาในละคร ระบำดวงดาว ที่ออกอากาศทางช่อง 3 มาอภิปรายเพราะเห็นว่าส่งผลกระทบต่อวิชาชีพสื่อมวลชน เพราะมีบทที่ตัวละครเรียกรับเงินค่าตอบแทนในการเสนอข่าว ข่มขู่แหล่งข่าว นำเสนอข่าวโดยขาดการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่เข้าข่ายละเมิดจริยธรรมทางวิชาชีพ
หากประชาชนพบเห็นกรณีดังกล่าวให้แจ้งได้ที่ www.presscuoucil.or.th หรือ complain@presscoucil.or.th cและ หมายเลข 02-668-9900 นอกจากนี้ สภาการฯยังได้รับการร้องเรียนจากนางอุบลนัดดา สุภาวรรณ กรรมการผู้จัดการ นสพ.ไทยนิวส์ ระบุว่า นสพ.ไทยนิวส์ถูกนำชื่อไปใช้ในละครเรื่องดังกล่าว เกรงว่าจะเกิดการเข้าใจผิดให้ผู้ชม ละคร จึงขอชี้แจงว่า นสพ.ดังกล่าวมีอยู่จริงที่ จ.เชียงใหม่ ดำเนินการ 41 ปี ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัดภาคเหนือ มีผู้อ่านจำนวนมาก จึงขอให้ช่อง 3 ชี้แจงกับผู้ชมเพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิด (6 ต.ค. 2553 ไทยโพสต์)
สภาวิชาชีพสื่อสารมวลชนไทย
11 พ.ย. ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) อภิปรายในหัวข้อ "สถานภาพการกำกับดูแลสื่อในประเทศไทย" เสนอแก้กม.สื่อสิ่งพิมพ์-วิทยุโทรทัศน์ เชื่อมบทลงโทษกับการกำกับกันเอง อนาคตแนะตั้ง"สภาวิชาชีพสื่อสารมวลชนไทย" ปรับ-ถอนจดแจ้งได้
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ได้จัดสัมมนาหัวข้อ "กลไกการกำกับดูแลและควบคุมกันเองของสื่อมวลชนไทย เปรียบเทียบกับมาตรฐานนานาชาติ" เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน (12 พ.ย. 2553 12:38 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)
ท้ายสุดนี้ศูนย์ข้อมูลสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณเว็บไซด์จากหน่วยงานด้านสื่อทุกประเภทที่เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะศูนย์ข้อมูลมติชนที่ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลกฤตภาคข่าวออนไลน์ ทำให้สามารถค้นข้อมูลหนังสือพิมพ์ได้เป็นอย่างดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “ในรอบปี 2553 สื่อมวลชนไทย” จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ โอกาสนี้ด้วย