ในรอบปี 2554 สื่อมวลชนไทย-ศูนย์ข้อมูลสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ในรอบปี 2554  สื่อมวลชนไทย

ศูนย์ข้อมูลสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

ศูนย์ข้อมูลสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้รวบรวมเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนที่เกิดขึ้นในรอบปี พ.ศ. 2554 ที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อเว็บไซด์ โดยแบ่งหัวข้อออกเป็น สื่อกับรัฐบาล, คดีความ, สวัสดิภาพการทำงานสื่อ, วิทยุชุมชน, กว่าจะได้  11 กรรมการ กสทช.,  กฎหมายสื่อ  เป็นต้น

 

/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สื่อกับการเมือง

 

รัฐบาลยิ่งลักษณ์

22 ก.ย. นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเริ่มส่งสัญญาณแทรกแซงสื่อ โดยล่าสุดพบว่าได้ยกเลิกออกกาศรายการที่มีเนื้อหาโจมตีรัฐบาลคือ รายการ”คลายปม” ของนายเจิมศักดิ์  ปิ่นทอง อดีตส.ว. ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ 21.00-22.00น. ทางสทท.11

“ขณะนี้รายการของคุณเจิมศักดิ์ เหลือเพียงรายการเดียวคือ “ลงเอยอย่างไร” ที่ยังออกอากาศตามปกติ แต่ก็มีแนวโน้มจะไม่ต่อสัญญาเช่าหลังสิ้นเดือน ก.ย.นี้ รวมทั้งอีกหลายรายการที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นปฏิปักษ์” นายสมชายระบุห

ทางด้านน.ส. รัตนา เจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการ สทท. 11 กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการยกเลิกสัญญากับผู้ผลิตรายการคลายปม และเจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก หลังจากทั้ง 2 รายการไม่ได้ออกอากาศในคืนวันอาทิตย์และวันจันทร์ที่ผ่านมา เนื่องจากช่อง 11 จำเป็นต้องใช้เวลาดังกล่าวออกอากาศรายการพิเศษของสถานี ซึ่งเป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับผู้เช่าเวลาทุกราย โดยสัญญาของผู้เช่าทั้ง 2 ราย จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 2554 หลังจากนั้น จะมีการทบทวนการต่อสัญญาเช่า หรือปรับผังรายการใหม่ โดยพิจารณาจากการจ่ายค่าเช่า ปัญหาเรื่องการร้องเรียน การดำเนินรายการที่ส่งผลกระทบต่อสถานี  และมีคดีฟ้องร้องหรือไม่  ซึ่งที่ผ่านมาทั้งรายการคลายปม และรายการเจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก มีข้อร้องเรียนจากผู้ชมว่านำเสนอเนื้อหาที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นเช่นกัน (กรุงเทพธุรกิจ 23 ส.ค. 2554)

26 ส.ค. น.ส. กฤษณา สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการรับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับดูแลงานด้านสื่อของรัฐ ว่า อยากจะเป็นสทท 11 มีข่าวลักษณะสร้างสรรค์ และพัฒนาประเทศ โดยมีการเพิ่มพื้นที่ข่าวของท้องถิ่น ชุมชน และภาคประชาสังคมให้มากขึ้น ส่วนบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อยากเห็นเป็นสถานีข่าวที่มีคุณภาพสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนได้มากตามสมควร (เดลินิวส์  28 ส.ค. 2554)

นายวิม  รุ่งวัฒนา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย นั่งประจำตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกฯ ในส่วนของ น.ส. กฤษณา  สีหลักษณ์ ที่ได้รับมอบหมายให้สั่งการ กรมประชาสัมพันธ์ และดูแลอสมท.  การมาช่วยบริหารจัดการสื่อตรงนี้ เท่ากับว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้แคร์เรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่คิดว่าเหตุการณ์ “อีเมล์วิม” จะสลักสำคัญเป็นผลสะเทือนอะไร มองสื่อในรูปแบบที่บริหารจัดการได้ และยังจำเป็นต้องใช้ วิมในฐานะที่เป็นสื่อมวลชนเก่า รู้ไส้พุง รู้ความคิดของสื่อเป็นอย่างดี (คอลัมน์ ข่าวปนคน คนปนข่าว, นกหวีด ผู้จัดการรายวัน 29 ส.ค. 2554)

27 ก.ย. น.ส.กฤษณา กล่าวถึง รายการ “คลายปม” ว่า เป็นรายการที่พิจารณาไม่ต่อสัญญา เพราะมีเรื่องร้องเรียนเข้ามามาก นอกจากนี้ เมื่อถูกถามว่า จะนำรายการ ความจริงวันนี้ กลับมาอยู่ในผังหรือไม่ น.ส.กฤษณา กล่าวว่า ในผังยังไม่มี แต่ก็จะมีรายการพูดคุยด้านข่าวสารบ้านเมืองเกิดขึ้นในหลายๆ รายการ ส่วนรายการ นายกฯ พบประชาชน ขณะนี้ยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าคงเป็นช่วงเดือนตุลาคมนี้แน่นอน (แนวหน้าออนไลน์ 27 ก.ย. 2554)

5 ต.ค. นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ในฐานะรมต.ประจำสำนักนายกฯเงา พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการติดตามการทำงานของ น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า พบว่ามีการแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของ อสมท.ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ  นอกจากนี้ยังดำเนินการในฐานะสื่อมวลชน โดยมีการส่งจดหมายราชการ ที่ นร.0405 สำนักนายกรัฐมนตรี ไปถึงนายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อส่งต่อถึงประธานบอร์ด อสมท.ให้ระงับการจัดทำโครงสร้างบริษัทใหม่ พร้อมกับแทรกแซงการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งถือเป็นอำนาจหน้าที่ของบอร์ด อสทม.ซึ่งถือว่ามีเนื้อหาแทรกแซงกิจการของบอร์ดอสมท. ดังนั้นครม.เงา จึงมีมติมอบให้ฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ ศึกษาข้อกฎหมายว่าการกระทำ ของน.ส.กฤษณา และนายธีระชัย เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 270 ที่ห้ามรัฐมนตรีกระทำการแทรกแซงสื่อมวลชนหรือไม่ คาดว่าในการประชุมครม.เงาสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุป หากพบว่ามีความผิดก็จะยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งต่อไป (คมชัดลึกออนไลน์ 5 ต.ค. 2554)

1 ต.ค. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยและเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศเป็นครั้งแรก ว่า นโยบายการสร้างความสามัคคี ปรองดอง และสมานฉันท์ของคนในชาติที่ได้มีการทำงานร่วมกัน ถือเป็นพื้นฐานสำคัญ ถ้าประเทศชาติมีความปรองดองบรรยากาศต่างๆ ก็ดีขึ้น...

ส่วนทางด้านน.ส.กฤษณา  สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสื่อของรัฐ กล่าวว่า ที่ผ่านมาดิฉันก็ไม่เคยเห็นว่าจะมีรัฐบาลไหนจะมาจัดสรรเวลาให้ผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชนผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายค้านก็มีช่องทางอื่นๆ ที่จะสื่อสารกับประชาชนอยู่แล้ว...(มติชน 2 ต.ค. 2554)

5 ต.ค. นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ในฐานะรมต.ประจำสำนักนายกฯเงา พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการติดตามการทำงานของ น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า พบว่ามีการแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของ อสมท.ซึ่งเป็นบริษัทมหาชน ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ  นอกจากนี้ยังดำเนินการในฐานะสื่อมวลชน โดยมีการส่งจดหมายราชการ ที่ นร.0405 สำนักนายกรัฐมนตรี ไปถึงนายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อส่งต่อถึงประธานบอร์ด อสมท.ให้ระงับการจัดทำโครงสร้างบริษัทใหม่ พร้อมกับแทรกแซงการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งถือเป็นอำนาจหน้าที่ของบอร์ด อสทม.ซึ่งถือว่ามีเนื้อหาแทรกแซงกิจการของบอร์ดอสมท. ดังนั้นครม.เงา จึงมีมติมอบให้ฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ ศึกษาข้อกฎหมายว่าการกระทำ ของน.ส.กฤษณา และนายธีระชัย เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 270 ที่ห้ามรัฐมนตรีกระทำการแทรกแซงสื่อมวลชนหรือไม่ คาดว่าในการประชุมครม.เงาสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุป หากพบว่ามีความผิดก็จะยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งต่อไป (คมชัดลึกออนไลน์ 5 ต.ค. 2554)

อสมท.

22 ก.ย. ที่หน้ารัฐสภา น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับหนังสือร้องเรียนเลขที่ นร 6100/3133 จากกลุ่มพนักงานและฝ่ายบริหาร บมจ.อสมท นำโดย นางสุนทรีย์ แก้วกรณ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. อสมท เรื่อง "การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ บมจ.อสมท" โดยได้แนบรายชื่อ พร้อมลายมือชื่อคณะผู้บริหารและพนักงาน บมจ.อสมท มาด้วย

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ข้อมูลในหนังสือดังกล่าวแยกประเด็นร้องเรียนออกเป็น 3 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย 1.ปัญหาการจัดทำโครงสร้าง บมจ.อสมท หรือบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 2.ปัญหาการเลื่อนและโยกย้ายแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง และ 3.ปัญหาเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ บมจ.อสมท โดยฝ่ายบริหารและพนักงาน บมจ.อสมท ต้องการให้รัฐมนตรีเห็นถึงปัญหาทั้ง 3 ประการในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือ บอร์ดบมจ.อสมท ที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ข้อ 38 และ พ.ร.บ.บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ.2535 คือ "คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุ ประสงค์ข้อบังคับและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งต้องระมัดระวัง รักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างที่สุด" กระทั่งส่งผลกระทบทำให้บมจ.อสมท เสียหายหลายประการ (ข่าวสดออนไลน์ 23 ก.ย. 2554)

28 ก.ย.  นายสุรพล   เรียกประชุมคณะกรรมการบอร์ดเป็นวาระพิเศษ        บอร์ดมีมติแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างบริหารงาน ใน ตำแหน่ง กก.ผอ.ใหญ่   ของนายธนวัฒน์   วันสม  และมีมติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน นางสุนทรีย์ แก้วกรณ์ รอง กก.ผอ.ใหญ่  กับนายพลชัย  วินิจฉัยกุล  ผช.กก.ผอ.ใหญ่  ฐานไม่รักษาวินัยของบริษัท อสมท   เป็นแกนนำ  พาพนักงานไปร้องเรียนต่อ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

29 ก.ย. คณะกรรมการ บมจ.อสมท ที่มีนายสุรพล นิติไกรพจน์ เป็นประธานมีมติแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา จ้างบริหารงานในตำแหน่งกรรมการผู้อำนายการใหญ่ ของ นายธนวัฒน์ วันสม ให้เสร็จภายใน 15 วันนับจากวันที่ 28 กันยายน 2554 สำหรับผู้ที่มิได้ติดตามเรื่องราวใน อสมท แล้วอาจคิดว่า เป็นปัญหาการบริหารภายในของ อสมท เองแต่ความจริงแล้วเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า คณะกรรมการที่มีนายสุรพล เป็นประธาน ต้องการส่งสัญญาณเตือนฝ่ายการเมืองในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า อย่าใช้อำนาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของ อสมท หรือกดดันให้คณะกรรมการลาออกซึ่งนายสุรพลเองก็ประกาศชัดเจนว่า จะไม่ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการ อสมท แต่จะอยู่จนครบวาระในเดือนเมษายน 2555

“หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง มีแรงกดดันมายังคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ รวมทั้ง อสมท  เพื่อให้กรรมการลาออก แต่ ผมและกรรมการ คนอื่นๆ  อีก 3 คนที่จะครบวาระการทำงานในเดือนเมษายน 2555 ยืนยันว่า จะไม่ลาออกก่อนวาระแน่นอน โดยผมประกาศไว้ในวันรับตำแหน่งประธานบอร์ดแล้วว่า จะทำหน้าที่จนครบวาระ 3 ปี” นายสุรพลกล่าว

นายสุรพลเชื่อมั่นว่า อสมท มีคุณสมบัติแตกต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่น นอกจากเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ยังเป็นกิจการด้านสื่อสารมวลชน ดังนั้น นักการเมืองในรัฐบาลต้องระมัดระวังที่จะไม่เข้ามาแทรกแซงเพราะอาจขัดต่อ กฎหมายและรัฐธรรมนูญได้

3 ต.ค. นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประชุมร่วมกับทีมกฎหมายของกระทรวงการคลัง และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เพื่อรับมือปัญหาที่จะตามมา หลังจากที่ รมว.คลัง และ ผู้อำนวยการได้ลงนามในหนังสือ ส่งไปยัง นายสุรพล นิติไกรพจน์ ประธานกรรมการ บริษัท อสมท เมื่อ 30 ก.ย.ตามหนังสือคำร้องของ น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ

ให้ระงับปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างบริษัทและโยกย้ายพนักงาน หลังจากที่ บอร์ดกลุ่มหนึ่งนำโดยประธาน มีความขัดแย้งกับ นายธนวัฒน์ วันสม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท

สาเหตุที่ นายธีระชัย ต้องประชุมทีมงานกฎหมาย เนื่องจากการลงนามสั่งการดังกล่าว ในส่วนกิจการสื่อสารมวลชน อาจจะเข้าข่ายแทรกแซง อีกทั้ง อสมท เป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อาจจะไม่มีอำนาจสั่งการดังกล่าว ดังนั้นทั้ง น.ส.กฤษณาและนายธีระชัย อาจเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญหลายมาตรา มาตรา 48 มาตรา 266 มาตรา 268 ว่าด้วยข้อห้ามของข้าราชการเมือง ซึ่งอาจจะเข้าข่ายถูกถอดถอนได้ (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 4 ต.ค. 2554)

13 ต.ค. รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในคราวประชุมครั้งที่ 14/2554 วันที่ 13 ตุลาคม 2554 ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารที่ทำการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เลขที่ 63/1 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 มีมติให้บอกเลิกสัญญาจ้างบริหารในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่กับ นายธนวัฒน์ วันสม ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2554 โดยให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2554

นายธนวัฒน์ วันสม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) แถลงข่าวปฏิเสธการถูกตั้ง 4 ข้อกล่าวหา หลังบอร์ดอสมท ตั้งคณะทำงานสอบ พร้อมเดินหน้าต่อสู้ทุกช่องหากบอร์ดมีมตินำสู่การเลิกสัญญา จ้าง โดยยืนยันจะใช้สิทธิ์ตามกฎหมายต่อสู้ทุกช่องทาง หลังจากมติบอร์ดอสมทล่าสุด มีมติเลิกจ้าง และให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ทันที (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  13 ต.ค. 2554)

13 ต.ค. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท อสมท. ออกข่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ นายธนวัฒน์ ที่ผ่านมานั้น สหภาพฯ ได้ชี้แจงมาโดยตลอด ผ่านเวทีต่าง ๆ ภายใน อสมท ว่า มีปัญหาทางการบริหาร แต่ที่ผ่านมาได้รับการเพิกเฉยจาก บอร์ด โดยเฉพาะนายสุรพล นิติไกรพจน์ ประธานบอร์ด กระทั่งสหภาพฯ ต้องขอฉันทามติจากพนักงานส่วนใหญ่ และนำไปสู่การยื่นหนังสือให้กับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาแล้ว

สหภาพฯ ขอย้ำว่า ที่ผ่านมาได้ชี้แจงมาตลอดว่า การบริหารงานของ นายธนวัฒน์ ได้สร้างความเสียหาย กับ อสมท อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งการโยกย้ายรายวัน ความแตกแยกของพนักงาน รวมไปถึงภาพลักษณ์ และค่านิยมของผู้ชมที่มีต่อช่อง 9 อสมท ของเรา (www.ucom.net 13 ต.ค. 2554)

17 ต.ค. บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) หรือ MCOT แจ้งว่า ตามที่บริษัทได้แจ้งการบอกเลิกสัญญาจ้างบริหาร นายธนวัฒน์ วันสม ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ตามมติคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีนายสุรพล นิติไกรพจน์ เป็นประธาน ในการประชุมครั้งที่ 14/2554 วันที่ 13 ตุลาคม 2554 โดยให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไปนั้น

เพื่อให้การดำเนินกิจการของบริษัท เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่อง คณะกรรมการ จึงแต่งตั้งให้ นายสุระ เกนทะนะศิล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท ปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท เป็นการชั่วคราว (ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 17 ตุลาคม 2554)

19 ต.ค. ทางกระทรวงการคลัง ลงนามโดย นายมนัส แจ่มเวหา รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน ได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เรื่อง ขอให้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เนื่องจากทางกระทรวงการคลังได้รับหนังสือร้องเรียนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยของ บริษัท อสมท จำกัด  (มหาชน) และสำเนาหนังสือของผู้ถือหุ้นรายย่อยหลายรายที่ได้ส่งไปยัง อสมท ขอให้คณะกรรมการ อสมท จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น

จากที่มีข้อมูลปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารกิจการของคณะกรรมการ อสมท ที่ไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอันส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของ อสมท อีกทั้งกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ถือหุ้นตลอดจนผู้ลงทุนทั่วไป และยังมีข้อร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ อสมท อีกหลายประการ ซึ่งรวมถึงประเด็นการปรับโครงสร้างองค์กร การโยกย้ายพนักงาน การต่อสัญญาให้กับบริษัท บางกอก เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) รวมถึงกรณีที่คณะกรรมการ อสมท ได้มีมติเลิกสัญญาจ้างบริหาร นายธนวัฒน์ วันสม ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ โดย บมจ.อสมท จะต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่นายธนวัฒน์ แม้ว่านายธนวัฒน์อาจเข้าข่ายเป็นผู้ผิดสัญญา

ประกอบกับกระทรวงการคลังยังได้รับหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล บมจ. อสมท ขอให้กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบมจ. อสมท มีหนังสือขอให้คณะกรรมการบมจ. อสมท จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบมจ. อสมท เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงกรรมการบมจ. อสมท

20 ต.ค. นายสุรพล นิติไกรพจน์ ประธาน คณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้มีการจัดประชุมขึ้น โดยมีวาระสำคัญ คือ การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้กับ อสมท ทั้งนี้ทางที่ประชุมบอร์ดอสมท มีมติเห็นชอบในการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้กับอสมท ในรูปแบบของ 6 สายงาน คือ สายงานโทรทัศน์ สายงานข่าวและวิทยุสายงานวิศวกรรมโครงข่าย สายงานบัญชีและการเงิน สายงานบริหาร และสายงานฝ่ายขาย จากเดิมที่มีอยู่ 4 สายงาน คือ สายงานบริหาร สายงานโทรทัศน์ สายงานวิศวะกรรม และสายงานบัญชีและการเงิน (ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ต.ค.  2554)

24 พ.ย. เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่าสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท ออกจดหมายเปิดผนึกจำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับแรกถึงประธานกรรมการ บมจ.อสมท (สุรพล นิติไกรพจน์) และกรรมการ บมจ.อสมท มีหัวข้อว่า " วอน!!! เสียสละ ละวาง เพื่อ อสมท องค์กรของประชาชน " มีเนื้อหาว่า สืบเนื่องจากกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคณะกรรมการ บมจ.อสมท (บอร์ด) และกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ อสมท อย่างหนัก จากการที่ต่างฝ่ายมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายและมีแนวโน้มว่าจะสามารถหาข้อยุติ ได้ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ (ประชาไท 24 พ.ย. 2554)

8 ธ.ค. ที่ระชุมคณะกรรมการ บมจ.อสมท ครั้งที่ 18/2554 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา มีมติแต่งตั้งบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของ บมจ. อสมท เป็นกรรมการแทนกรรมการที่ออกจากตำแหน่งก่อนวาระ ดังนี้ 1. ศาสตราจารย์ พิเศษ ธงทอง  จันทรางศุ  แทน นายธนวัฒน์  วันสม และ นายเอนก  เพิ่มวงศ์เสนีย์  แทน นายธีรศักดิ์  สุวรรณยศ  มีผลตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป

สำหรับกรรมการทั้ง 2 คนจะดำรงตำแหน่งตามวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน ซึ่งจะดำรงตำแหน่งไปจนถึงการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทประจำปี 2555 (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 8 ธ.ค. 2554)

นายธนวัฒน์ วันสม ได้ยื่นฟ้อง อสมท. กรณีถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมต่อศาลแรงงานและศาลปกครองนั้น ศาลแรงงานจัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 20 ธันวาคม ส่วนศาลปกครองอยู่ระหว่างส่งเอกสารให้ศาลวินิจฉัยเพิ่ม (มติชน 8 ธ.ค. 2554)

นายสุรพล  นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) อสมท และบอร์ด อสมท อิสระอีก 5 คน ได้แก่ นางมัทนา วันธฤทธิ์ นายวิทยาธร ท่อแก้ว นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ นายสุทัศน์ ก้องธรนินทร์ และนายธีรภัทร สงวนกชกร ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นบอร์ด อสมท เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น บมจ.อสมท และให้มีผลวันที่ 13 ธันวาคม 2554 (13 ธ.ค. 2554 มติชนออไลน์)

20 ธ.ค. การประชุมบอร์ด อสมท.ได้มีมติแต่งตั้งกรรมการ  6 คนแทนกรรมการที่ลาออกไป ประกอบด้วย 1.นายสรจักร เกษมสุวรรณ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท  2.นายจักรพันธ์ ยมจินดา พิธีกรในรายการทางช่อง 11 เป็นกรรมการด้านสื่อสารมวลชนและพัฒนาองค์กร  3.นายประเสริฐ เกษมโกเมศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท วี.พี.แอสเซ็ทส์ จำกัด เป็นกรรมการ ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี  4.นายเข็มชัย ชุติวงศ์ รองอธิบดีอัยการฝ่ายปรึกษา สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการด้านกฎหมายและสังคม  5. นายสุธรรม ศิริทิพย์สาคร กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส แอสเสทส์ จำกัด บริษัทในเครือของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการด้านธุรกิจและการตลาด  6. นายเปรมกมลย์ ทินกร ณ อยุธยา เจ้าของสำนักงานทนายความ  เป็นกรรมการด้านกฎหมายและสังคม  ทั้งนี้เป็นการแต่งตั้งกรรมการแทน 6 คนที่ลาออกไปก่อนหน้าที่และเพื่อให้ครบ  13 คนตามจำนวนของบอร์ดซึ่งเมื่อครบตามจำนวนแล้วจะมีการนัดประชุมเพื่อคัดเลือก ตัวประธานบอร์ดที่คาดว่าจะเป็นช่วงต้นเดือนม.ค. 55  หลังจากนั้นจะมีการสรรหา ผอ.อสมท.ต่อไป (เดลินิวส์ออนไลน์ 20 ธ.ค. 2554)

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

คดีความ

คดีฆ่านักข่าวไทยรัฐ

18 ส.ค.  คดีนายก้องภพ สวัสดี ผู้สื่อข่าวนสพ. ไทยรัฐ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นปฐมโพสต์ จ.นครปฐม ถูกคนร้ายยิ่งเสียชีวิต เมื่อ 27 ก.ค. 2553 และตำรวจสามารถจับคนร้ายได้ยกแก้งจำนวน 6 คน คือ1. นายนเรศ แสนเทศ (เอ็กซ์) 2. นายประทีป ยอดแก้ว(แฝด) 3.นายเหวียน นิดเจริญ 4. นายชนินทร์ ลี้ไพบูลย์ 5. นายอภิรักษ์ ทิมพิทักษ์ 6.นายกำพล มีศิลป์ (โก้)   ศาลจังหวัดนครปฐมพิพากษาคนร้ายทั้ง 6 คน มีความผิดฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโทษหนักสุดตาม ปอ.ม.90  โทษประหารชีวิต แต่จำเลยทั้ง 6 ให้การรับสารภาพจึงลดโทษประหารเป็นจำคุกคนละ 50 ปี (ไทยรัฐ  20 ส.ค. 2554)

กรณีภาพข่าว

20 มิ.ย. น.ส.อมรรัตน์  เข็มขาว ผู้สื่อข่าวพิเศษโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ประจำจังหวัดนราธิวาส เข้าแจ้งความกับ ร.ต.อ.สุรศักดิ์ วงศ์ประวิตร ร้อยเวร สภ.เมืองนราธิวาส เพื่อให้นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรชื่อดัง ผู้ดำเนินรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ผู้นำภาพข่าวเด็กทารกวัย 11 เดือน พิการไม่มีแขนและไม่มีขา นำเสนอผ่านรายการเช้าวันที่ 20 มิถุนายน มาตรวจพิสูจน์ เนื่องจากมีส่วนคล้ายกับภาพข่าวที่ตนส่งผ่านทางอินเตอร์เน็ตให้สถานีต้นสังกัดประกอบกับวันที่เดินทางไปบันทึกภาพไม่มีผู้สื่อข่าวของรายการเรื่องเล่าเช้านี้ร่วมเดินทางไปด้วย จีงขอให้ตรวจพิสูจน์ว่าเป็นภาพเดียวกับที่ตนส่งให้ต้นสังกัดหรือไม่  (มติชน 21 มิ.ย. 2554)

กรณีนักข่าวช่อง 7 ฟอร์เวิร์ดเมลล์

25 ส.ค. กลุ่มผู้สื่อข่าวภาคสนาม สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ยื่นหนังสือเปิดผนึกเรื่องขอให้ยุติการคุกคามสื่อมวลชน จากกรณีที่มีการส่งฟอร์เวิร์ดเมลล์ภายในกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง มีข้อความปลุกระดมให้ผู้คนมีความเกลียดชังผู้สื่อข่าวหญิงช่อง 7 รายหนึ่ง  ด้วยการโพสต์ภาพถ่ายชื่อ-นามสกุล และมีข้อความ “ เปิดโฉมหน้านักข่าวที่ทำให้นายกฯปูเดินหนี”  “จำหน้าหล่อนไว้นะครับเห็นที่ไหนก็จัดให้หน่อยแล้วกันครับ” ซึ่งพฤติกรรมกรรมเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพ และการทำหน้าที่สื่อมวลชน จึงขอเรียกร้องนายกรัฐมนตรีให้เร่งดำเนินการกับขบวนการคุกคามสื่อมวลชนดังกล่าว เพราะผู้สื่อข่าวภาคสนามยืนยันว่ามีจุดยืนในการทำหน้าที่อย่างเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวภายหลังรับหนังสือดังกล่าวว่า จะไปติดตามสอบถามรายละเอียดให้ โดยส่วนตัวก็ยินดีให้สื่อทำหน้าที่อย่างอิสระ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าสื่อทุกคนคงทำตามหน้าที่ ตนเองก็มีหน้าที่ชี้แจง

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เบื้องต้นคงจะมีการประสานไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้ช่วยดูเพราะทราบว่าอีเมลล์มีการลงภาพถ่ายของผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวด้วยซึ่งอาจจะเข้าข่ายละเมิดสิทธิ์ รวมถึงยังอาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ด้วย

(เดลินิวส์ออนไลน์  25 ส.ค. 2554, ไทยโพสต์ 26 ส.ค. 2554)

เมื่อสาวลึกไปถึงต้นตอของจดหมายลูกโซ่ในสังคมออนไลน์ ก็พบว่าระบุชื่อผู้ส่งคือ mailto:pt.paksanont@hotmail.comลงวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ชื่อ พรทิพย์  ปักษานนท์ ซึ่งชื่อตรงโดยบังเอิญกับประธานกลุ่มคนเสื้อแดง จ.เพชรบุรี

น.ส.สมจิตต์  นวเครือสุนทร ผู้สื่อข่าวช่อง 7 กล่าวว่า คำถามที่คิดว่าเป็นสาเหตุถูกข่มขู่ ถามถึงแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะเป็นการทำไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรหรือไม่ แต่นายกรัฐมนตรีหลีกเลี่ยงที่จะตอบ พร้อมทั้งเดินหนีไป ทั้งนี้ ยืนยังว่าเป็นคำถามที่สำคัญเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญในอดีตที่ผ่านมาเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งในบ้านเมือง จึงต้องมีความชัดเจน ถึงตนไม่ถาม เชื่อว่านักข่าวคนอี่นต้องถาม ยืนยันว่าไม่มีอคติในการทำหน้าที่ แต่ทำไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม  ไม่หวั่นไหว แต่ครั้งนี้ถูกเผยแพร่ออกอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ ผู้ทำผิดควรได้รับการลงโทษ จะไปแจ้งความต่อตำรวจเพื่อให้ติดตามดำเนินคดีผู้ที่เป็นต้นตอของอีเมล์ดังกล่าว

(คมชัดลึก,ผู้จัดการรายวัน  26 ส.ค. 2554 )

26 ส.ค. แถลงการณ์ร่วมสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ จึงขอเรียกร้องไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน 1.ขอให้ทุกฝ่ายตระหนักว่าสื่อมวลชน ผู้สื่อข่าว  ช่างภาพ ทำหน้าที่รายงานข่าว สัมภาษณ์ ซักถาม เพื่อต้องการข้อเท็จจริงตามหน้าที่ของตน ไม่ใช่เป็นคู่ขัดแย้งกับใคร            2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 28 บัญญัติว่า “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคลอื่น” และ          3.สำหรับประชาชนกลุ่มต่างๆ ซึ่งอาจมีจุดยืนหรือความเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน ก็ควรใช้ความอดกลั้น ความเข้าใจ มีสติยับยั้ง ในการสนับสนุนกลุ่มหรือพรรคการเมืองใด โดยติดตามข่าวสารอย่างมีสติ (แถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพสื่อ 26 ส.ค. 2554)

นอกจากนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงในนาม “สมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิวัติประเทศไทย” ได้นัดหมายกันตามสื่อต่างๆ ทั้งโซเชียลมีเดีย และเว็บบอร์ดประชาทอล์กว่า ในวันอังคารที่ 30 สิงหาคม เวลา 13.00 น. ขอ เรียนเชิญ พี่น้องเสื้อแดงไปพร้อมกันที่ สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เพื่อเดินทางไปโดยพร้อมเพรียงกันไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 7 เพื่อยื่นแถลงการณ์ให้ปลดนักข่าวรายนี้ออกจากหน้าที่ เพราะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความีอคติ ปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนองความต้องการของตัวเอง ไร้จรรยาบรรณของสื่อมวลชนที่ดี และยื่นพวงหรีดเพื่อแสดงการต่อต้านด้วย โดยอ้างว่าช่อง 7 สนับสนุนให้นักข่าวปฏิบัติหน้าที่ทั้งที่ไร้จรรยาบรรณ

(เอเอสทีวีผู้จัดการ 29 ส.ค. 2554)

30 ส.ค. เวลา 11.30 น.  ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 สี ได้เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.อภิชาติ นาคสุข พนักงานสอบสวน ผบ.2 สน.ดุสิต เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่เชิญตัว นางพรทิพย์ ปักษานนท์ ประธานกลุ่มเสื้อแดงเพชรบุรี มาสอบสวนและแจ้งข้อหาข่มขู่ ทำให้เกิดความหวาดกลัว หลังจากนางพรทิพย์ ออกมายอมรับว่า เป็นผู้ส่งข้อความดังกล่าวผ่านอีเมลถึงคนเสื้อแดงด้วยกัน

และกล่าวต่ออีกว่า หลังจากเกิดเรื่องนางพรทิพย์ได้มาขอโทษตนแล้ว แต่ยังมีคนนำประเด็นนี้ไปขยายต่อในอินเทอร์เน็ต หาว่าตนไม่ยอมจบเรื่อง เพราะยังดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีอยู่ ซึ่งตนอยากจะบอกว่า การให้อภัยกับการดำเนินคดี เพื่อให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นคนละเรื่องกัน และตนต้องการให้ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่ต้องการให้เรื่องเช่นนี้กลายเป็นตัวอย่างไม่ดี จนไม่มีใครเกรงกลัวการกระทำผิด และละเมิดสิทธิคนอื่น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก

ด้าน พ.ต.ท.อภิชาติ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า เบื้องต้นยังไม่แน่ใจว่า เรื่องดังกล่าวจะเข้าองค์ประกอบความผิดทางกฎหมายหรือไม่ แต่เตรียมจะออกหมายเรียกนางพรทิพย์มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 8 กันยายนนี้ หลังจากผู้เสียหายยืนยันจะดำเนินคดีต่อ ซึ่งหากนางพรทิพย์รับสารภาพ ทางเจ้าหน้าที่ก็จะสรุปสำนวนส่งไปยังศาลแขวงต่อไป

ด้านนายนพพร นามเชียงใต้ นำกลุ่มเสื้อแดง 20 คนไปชุมนุมที่หน้าสถานีโทรทัศนื กองทัพบกช่อง 7 เพื่อเรียกร้องและยื่นหนังสือต่อผู้บริหารสถานี พิจารณาการทำงานของ น.ส.สมจิตต์  จากเหตุการณ์ตั้งคำถามนายกรัฐมนตรีอย่างกหนักหน่วงจนทำให้กลุ่มเสื้อแดงไม่พอใจ

ทั้งนี้กลุ่มเสื้อแดงนำป้ายข้อความโจมตีการทำงานของนักข่าวช่อง 7 ต่างๆนานา และยังบอกว่าสื่อคุกคามประชาชน พร้อมเรียกร้องให้ นส.สมจิตต์ ถอนแจ้งความดำเนินคดีนางพรทิพย์ ปักษานนท์ ประธานคนเสื้อแดงเพชรบุรี

เวลา 20.57 น. วันเดียวกัน นายสมบัติ บุญงามอนงค์  หรือ บก.ลายจุด หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ได้ทวิตข้อความทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์ ในชื่อ @nuling แสดงความไม่เห็นด้วย ต่อการที่กลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งจะเดินทางไปประท้วงที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 7  โดยระบุว่า "เห็นว่า พรุ่งนี้จะมีเสื้อแดงบางกลุ่มไปที่ช่องเจ็ด เพื่อประท้วงนักข่าวและสถานี ผมประกาศตรงนี้ว่า ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว"

(คมชัดลึกออนไลน์ 30 ส.ค. 2554, คมชัดลึก 1 ก.ย. 2554)

30 ส.ค. สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์ ขอเรียกร้องให้กลุ่มคนเสื้อแดงที่ได้ไปชุมนุมที่สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7  โดยได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ปลดนางสาวสมจิตต์ นวเครือสุนทร ออกจากการเป็นผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 นั้น ยุติการคุกคามสื่อมวลชนไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้หากเห็นว่าสื่อมวลชนรายใด ทำหน้าที่ไม่เหมาะสม หรือรายงานข่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ก็สามารถท้วงติงหรือใช้ช่องทางของกฎหมายให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม

9 ธ.ค. ล่าสุด พ.ต.ท.พิตตินันท์ อุทธสิงห์ รองผู้กำกับการสืบสวนฯ ปฏิบัติราชการแทนผู้กำกับการสถานีตำรวจ นครบาลดุสิต มีความเห็น "สั่งไม่ฟ้อง" น.ส.พรทิพย์ ปักษานนท์แล้ว โดย น.ส.สมจิตต์ กล่าวว่า ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวจาก พ.ต.ท.พิตตินันท์ ลงวันที่ 3 ธันวาคม เมื่อวานนี้ (8 ธ.ค.) เนื่องจากบ้านน้ำท่วมมาเป็นเวลากว่า 1 เดือน และเพิ่งกลับเข้าไปทำความสะอาด จึงทราบว่าตำรวจมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องนางสาวพรทิพย์แล้ว เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ได้เป็นผู้เขียนข้อความและลงรูปภาพดังกล่าว โดยได้คัดลอกมาจากเว็บไซต์ที่มีผู้โพสต์ข้อความอยู่ก่อนแล้ว และไม่ได้มีเจตนาส่งข้อความถึงผู้กล่าวหาอันเป็นการข่มขู่แต่อย่างใด แต่ได้คัดลอกและส่งข้อความไปยังกลุ่มเพื่อนเพื่อสื่อสารถึงกัน"

น.ส.สม จิตต์ กล่าวอีกว่า หลังจากรับทราบดุลพินิจของพนักงานสอบสวนแล้ว ตนได้โทรศัพท์ปรึกษากับ นายเกรียงศักดิ์ วรมงคลชัย อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภาทนายความ โดยได้รับคำแนะนำให้ไปที่สภาทนายความ เพื่อยื่นเรื่องต่อฝ่ายช่วยเหลือสภาทนายความให้สอบข้อเท็จจริง เพื่อตั้งสำนวนให้สภาทนายความช่วยเหลือ โดยถือว่าเป็นการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งในคดีอาญา กฎหมายให้สิทธิผู้เสียหายฟ้องดำเนินคดีเองได้ แม้ว่าพนักงานสอบสวนและอัยการจะสั่งไม่ฟ้องก็ตาม

ที่ต้องร้องทุกข์สภาทนายความ ไม่ใช่เพราะต้องการเป็นคู่กรณีกับคนเสื้อแดง แต่มีเจตนาที่จะให้คดีนี้เป็นตัวอย่างของการรักษาสิทธิตามกฎหมาย แม้จะเป็นคดีเล็กๆ มีความผิดลหุโทษ แต่ต้องการสื่อสารกับสังคมว่า ไม่มีใครมีสิทธิทำผิดกฎหมาย หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น และทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการรักษาสิทธิของตัวเองไม่ให้ถูกละเมิด

อย่างไรก็ตาม น.ส.พรทิพย์ เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบอร์ด บริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา ท่ามกลางเสียงวิจารณ์อย่างหนักว่า น.ส.พรทิพย์ ได้เป็นบอร์ด ทอท. เพราะผลงานไล่ล่าสื่อเข้าตารัฐบาล เนื่องจากไม่เห็นว่ามีคุณสมบัติใดโดดเด่น นอกจากการเป็นประธาน นปช.เพชรบุรี ที่ออกมาปกป้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเท่านั้น

(ไทยรัฐออนไลน์ 9 ธ.ค. 2554)

 

ที-นิวส์กับกรมประชาสัมพันธ์

19 ก.ย นายฉัตรชัย ภู่โคกหวาย กรรมการผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ที-นิวส์ ( T-News) เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบอำนาจจากบริษัท กรีน อินเทลลิเจ้นท์ จำกัด ซึ่งผลิตรายการ “ เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก” โดยสถานีโทรทัศน์ ที-นิวส์ ออกอากาศทางช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ทุกวันจันทร์ เวลา 21.00 - 22.00 น. ได้ยื่นฟ้อง กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นคู่สัญญาการเช่าเวลาออกอากาศ ต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่กระทำการโดยไม่ชอบฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยการสั่งตรวจสอบสคริปต์และเทปบันทึกรายการก่อนออกอากาศ รวมทั้งมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงการออกอากาศ ด้วยการแจ้งจะนำรายการอื่นมาออกอากาศแทน “ เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก” ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยอ้างเหตุว่ารายการที่บริษัทผลิต มีเนื้อหาไม่ส่งเสริมการปรองดองสมานฉันท์ ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 45 บัญญัติให้บุคคล รวมทั้งสื่อ มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ขณะที่การจะห้ามแสดงความคิดเห็นกระทำไม่ได้ รวมทั้งการนำข่าวไปให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจก่อนก็ทำไม่ได้

(คมชัดลึกออนไลด์  19 ก.ย.2554)

21 ก.ย. ศาลปกครองกลาง ที่มี นายประวิตร บุญเทียม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง เป็นตุลาการเจ้าของสำนวนมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำ พิพากษา โดยสั่งห้ามไม่ให้กรมประชาสัมพันธ์ ระงับการออกอากาศรายการ “เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก” ของบริษัท กรีน อินเทลลิเจนท์ จำกัด หรือ ทีนิวส์ ซึ่งออกอากาศทุกวันจันทร์ ช่วงเวลา 21.10 -22.00 น.ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที หรือ ช่อง 11) ตามที่กำหนดในสัญญาไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

(ASTVผู้จัดการออนไลน์  21 ก.ย. 2554)

 

แกนนำแดงออกอากาศวิทยุชุมชนขู่ฆ่ามาร์คมอบตัว

นายเพชรวรรต วัฒนพงค์ศิริกุล เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน สภ.เมืองเชียงใหม่ เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาคดีเป็นแกนนำเสื้อแดงออกอากาศวิทยุชุมชนขู่ฆ่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม

(มติชนออนไลน์ 3 ต.ค. 2554)

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

 

สวัสดิภาพการทำงานสื่อ

3 เม.ย. นายวิชัย สิถิระบุตร ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น อบต.ก้าวหน้า เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สภ.ตระการพืชผล จ.อุบลฯ ว่าได้ถูกคนคุมร้านคาราโอเกะแห่งหนึ่งตามข่มขู่จะทำร้ายร่างกาย จากการเสนอข่าว ร้านคาราโอเกะร้านในพื้นที่เปิดเกินเวลา และมีแรงงานต่างด้าวมาเป็นพนักงานเสิร์ฟ อีกทั้งยังปล่อยให้เยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าไปใช้บริการ

(บ้านเมือง 12 เม.ย. 2554)

นายสรธร  ณสงขลา ผู้ต้องหาคดีค้ายาเสพติด ลูกชายนายประจักษ์ชัย ณ สงขลา อดีตผู้สมัคร สส. ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กระโดดถีบนายฐานิศร์  สมิตานนท์ อายุ 56 ปี ผู้สื่อข่าวและช่างภาพหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้รับบาดเจ็บและกล้องถ่ายรูปเสียหาย ขณะนำตัวขึ้นศาลเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. (คมชัดลึก 7 มิ.ย. 2554)

28 ส.ค. รถทีมข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสประสบอุบัติเหตุ พลิกคว่ำในจังหวัดนครราชสีมา ขณะเดินทางกลับจากทำข่าวที่จังหวัดศรีสะเกษ ทำให้ “น.ส. อิสราวรรณ จำลองเพ็ง” ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส เสียชีวิต ส่วนช่างภาพ และผู้ช่วยช่างภาพบาดเจ็บ  (ไทยพีบีเอสออนไลน์ 28 ส.ค. 2554)

24 ก.ย. นายภมร  ภรณืพานิช อายุ 61 ปี อดีตผช.ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ประจำ อ.สุไหงโก-ลก ปัจจุบันเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สื่อสมุทรอาชญากรรม ถูกระเบิด รักษาตัวอยู่ที่รพ.ศูนย์ จ.ยะลา เสียชีวิตแล้ว (เดลินิวส์,แนวหน้า  25 ก.ย. 2554)

10 พ.ย. นายครรชิต กระโห้แก้ว ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ ประจำ จ.สุพรรณบุรี ถูกชายลึกลับโทรศัพท์เข้ามาข่มขู่ให้งดการนำเสนอข่าวตำรวจ สภ.สองพี่น้อง ระดมกวาดล้างแก๊งยาเสพติด เมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมาโดยหากไม่ทำตามจะส่งมือปืนมายิงให้ตาย จีงได้แจ้งความกับตำรวจไว้แล้ว (เดลินิวส์ 11 พ.ย. 2554)

10 พ.ย. นายอนุชา น้อยจำนงค์ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นเมืองพัทยา ถูกรุกทำร้ายบริเวณเวทีเปิดงานลอยกระทง โดยอ้างว่าขณะบันทึกภาพพิธีเปิดมีเจ้านหน้าที่อาสามาบอกให้ออกไปไม่ให้ถ่ายภาพและเข้ามารุมกระทืบจนกล้องวิดีโอพังเสียหายแถมยังฉกวิทยุสื่อสารไปด้วย (ข่าวสด 12 พ.ย. 2554)

 

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วิทยุชุมชน

พล.ต.ดิฏฐพร ศศะสมิต โฆษกกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รมน.) กล่าวชี้แจงกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการพร้อม และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) บุกตรวจสถานีวิทยุชุมชนคนเสื้อแดงฐานมีและใช้วิทยุโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 13 แห่งในพื้นที่กทม. และปริมณฑลพร้อมปิดสถานีดังกล่าว

เนื่องจากนำเสนอเนื้อหาหมิ่นเหม่ และจาบจ้วงสถาบัน    และต่อมาตรวจเพิ่มเติมอีก 2 สถานี โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงปิดล้อมการตรวจค้นล่าสุด 27 เม.ย. เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจค้นและดำเนินคดีได้คือสถานีวิทยุคนไทยหัวใจเดียวกัน และสถานีวิทยุชมรมเสียงคนไทย (กรุงเทพธุรกิจ, เอเอสทีวีผู้จัดการ  29 เม.ย. 2554)

มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีเสวนาสาธารณะในหัวข้อ ความท้าทายของสื่อดาวเทียม เคเบิล วิทยุชุมชน และวิทยุท้องถิ่น  กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง เพื่อศึกษาบทบาทในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และความคิดเห็นทางการเมืองในหลากหลายมุมมองผ่าน “สื่อใหม่” สรุปได้ว่าปัจจุบันผู้ดูข่าวไม่ต้องรอการายงานข่าวจากฟรีทีวี ที่นำเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกันอีกต่อไป

นอกจากนี้กระแสการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม หรือจานดำ เพื่อรับข่าวสารจากช่องทีวีดาวเทียมและหันมาผลิตสื่อชุมชนของตัวเอง ทำให้คนต่างจังหวัดเปลี่ยนฐานะผู้รับสื่อกลายเป็นผู้ผลิตสื่อมากขึ้น และการเปิดรับสื่อใหม่ทำให้ต่างจังหวัดมีความทันเทียมกับคนเกรุงเทพฯ (ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 มิ.ย. 2554)

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

กว่าจะได้  11 กรรมการ กสทช.

8 มี.ค. การรับสมัครบุคคล เพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยวิธีการสรรหา ซึ่งจัดขึ้นวันนี้ (8 มี.ค.) เป็นวันสุดท้ายหลังจากเปิดรับสมัครมาตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.2554 ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น ปรากฎว่า ตลอดทั้งวันที่ผ่านมา มีผู้สนใจสมัครเข้ารับการสรรหากว่า 49 คน ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่การรับสมัครตลอด 7 วัน โดยก่อนหน้ามีผู้สมัครไปแล้ว 41 คน รวมมีผู้สมัครทั้งสิ้น 90 คน (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 8 มี.ค. 2554)

4 ส.ค. นาย รัฐชทรัพย์ นิธิด้า เข้ายื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางอีกครั้ง ให้พิจารณามีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน กรณีกรรมการสรรหาไม่ครบ 15 คน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยเห็นว่าคณะกรรมการสรรหาแบบบัญชี 2 มีเพียง 14 คน พร้อมกันนี้ยังขอให้ศาลปกครองส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าตำแหน่งที่ มาของคณะกรรมการสรรหาขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทั้งนี้ ในการยื่นฟ้องครั้งก่อน 2 ประเด็น ศาลรับฟ้องประเด็นกรรมการสรรหาไม่ครบ แต่ไม่รับคุ้มครองฉุกเฉิน โดยระบุว่า กระบวนการสรรหายังไม่เริ่มต้น ส่วนประเด็นการฟ้องเรื่องที่มาตำแหน่งของคณะกรรมการสรรจำนวน 6 ใน 14 คน ขัดรัฐธรรมนูญ ศาลรับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอคำวินิจฉัย

ในช่วงบ่ายวันนี้ (4 ส.ค.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ จะพิจาณาสำนวนฟ้องที่มีผู้ร้องเรียนว่ากระบวนการสรรหาไม่เป็นธรรม ก่อนหน้านี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าการส่งเรื่องให้ดีเอสไอสอบสวน อาจจะทำให้กระบวนการสรรหาคณะกรรมการ กสทช. 11 คน ล่าช้าออกไป

19 ส.ค.  นายกฤตยชญ์ ศิริเขต ตุลาการ ผู้แถลงกรณีที่ นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร ยื่นฟ้องว่า การสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในสาขาเศรษฐศาสตร์ ว่า การสรรหาไม่โปร่งใสจริงตามที่มีการยื่นฟ้อง โดยตุลาการชี้แจงเหตุผลว่า การทำหน้าที่ของ นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ซึ่งดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหา จงใจปกปิดข้อมูลอย่างร้ายแรง ทั้งที่รับทราบก่อนหน้าว่า นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิท เป็นกรรมการ บมจ. อสมท มีคุณสมบัติขัดต่อข้อห้ามของการเป็น กสทช. แต่ยังส่งรายชื่อให้เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกในรอบแรก จึงมีความเห็นให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการสรรหา พร้อมระบุให้เสนอชื่อ นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร ไปแทน ให้วุฒิสภาพิจารณาคัดเลือกให้ทันช่วงที่มีกระบวนการสรรหาในขณะนี้ ซึ่งวุฒิสภามีกำหนดลงมติคัดเลือกในวันที่ 5 กันยายน

สำหรับคำแถลงส่วนตัวของตุลาการ จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมองค์คณะตุลาการ และจะนัดฟังคำพิพากษาอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่จะมีคำตัดสินแตกต่างกับความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดี

(เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ 19 สิงหาคม 2554)

21 ส.ค. แถลงการณ์ร่วมองค์กรภาคีเครือข่ายติดตามเฝ้า ระวังการล้มกระวนการสรรหา กสทช. ภาคีองค์กรเครือข่ายขอเรียนว่า กสทช.ที่ได้มาตามขั้นตอนและกระบวนการที่กำหนดไว้ในกฎหมายอย่างถูกต้องครบ ถ้วน ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกอย่างโปร่งใสจากวุฒิสภาเท่านั้น จึงจะเป็น กสทช. ที่สง่างาม สมควรได้รับการยกย่องให้เกียรติในฐานะบุคคลสำคัญที่ได้รับมอบหมายมาอย่างถูก ต้องให้ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติสำคัญของประเทศชาติ และขอเรียกร้อง ดังนี้ 1. ขอให้วุฒิสภาดำเนินการเลือกคณะกรรมการกสทช.ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป และ2. ขอ ให้ประชาชนทำความเข้าใจ ติดตาม ตรวจสอบ กระบวนการคัดเลือกกสทช.ในทุกขั้นตอน

(www.tja.or.th 21 ส.ค. 2554)

22 ส.ค.54  องค์คณะตุลาการศาลปกครอง ได้อ่านคำพิพากษายกคำร้อง คดีหมายเลขดำที่ 1173/2554 คดีที่ นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร หนึ่งในผู้สมัครสรรหาเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับ 5 ในการสรรหาฯ ยื่นฟ้อง นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ประธานคณะกรรมการสรรหาฯ , กรรมการสรรหาฯ ทั้งคณะ และ เลขาธิการวุฒิสภา เป็นผู้ถูกฟ้อง กรณีดำเนินการสรรหา กสทช. โดยไม่โปร่งใส

ด้านนายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร กล่าวว่า จะยื่นอุทธรณ์เรื่องดังกล่าวต่อไป โดยต้องขอนำคำแถลงของตุลาการผู้แถลงคดีมาพิจารณาก่อนว่ามีประเด็นใดเพิ่ม เติมอีกหรือไม่

ขณะเดียวกัน นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงการตรวจสอบกระบวนการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายว่า การสรรหา กสทช.เป็นประเด็นใหญ่  ดีเอสไอไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสรรหาหรือการแต่งตั้ง กสทช. แต่ทำในประเด็นการตรวจสอบ เมื่อตรวจพบความผิดก็แจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีดังกล่าวไม่ใช่เรื่องการให้คุณให้โทษกับใคร แต่เป็นเรื่องการดำเนินคดี  ถูกคือถูก ผิดคือผิด และไม่เห็นว่า การที่ดีเอสไอตรวจสอบเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองตรงไหน เมื่อตรวจสอบพบความไม่ถูกต้อง หน้าที่ของดีเอสไอคือดำเนินคดีกับคนที่ทำผิดกฎหมาย

(คมชัดลึก 22 ส.ค. 2554)

เปิดชื่อ 11 อรหันต์ กสทช.

5 ก.ย. วุฒิสภา ประธานการประชุม เพื่อเลือก คัดเลือกเป็นกสทช.ทั้งสิ้น 11 คน ทั้งหมด 8 ด้าน จากทั้งหมด 44 คน ปรากฏว่ามี สมาชิกวุฒิสภาอยู่ในห้อง 136 คน ลงคะแนนลับผลดังนี้ ด้านกิจการกระจายเสียง 1. พล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี ได้ 73 คะแนน เป็นนายทหารรุ่น ตท.6  2. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ได้ 112 คะแนน อดีตกทช. ปัจจุบันเป็นรักษาการ กสทช. อดีตรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  3. พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ได้ 118 คะแนน นายทหารฝ่ายกิจการโทรคมนาคม สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กระทรวงกลาโหม

ด้านกฎหมาย 2 คน คือ 4.นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ 109 คะแนน และ5.พ.ต.อ.ทวีศักดิ์ งามสง่า อดีตผกก.สภ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ได้ 67 คะแนน

ด้านกิจการโทรทัศน์ 6. พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ 62 คะแนน

ด้านเศรษฐศาสตร์ 2 คน คือ 7. นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน(เศรษศาสตร์ ประจำกทช.) ได้ 110 คะแนน และ8. นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ผอ.ศูนย์คอมพิวเตอร์ และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ 58 คะแนน

ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน ในส่วนของด้านกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ คือ 9. น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ได้ 95 คะแนน

ด้านกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม คือ 10.  นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ได้ 78 คะแนน

ด้านการศึกษา วัฒนธรรม หรือการพัฒนาสังคม คือ 11. พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย ได้ 72  คะแนน

(มติชนออนไลน์, ไทยรัฐออนไลน์ 5 ก.ย. 2554)

7 ก.ย. ที่รัฐสภา นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีมติให้การสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไว้ในสารบบเป็นคดีพิเศษว่า ในส่วนของวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหา กสทช. ถือว่ากระบวนการทั้งหมดได้ผ่านพ้นไปแล้ว วุฒิสภาได้ทำหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว ส่วนดีเอสไอจะรับเรื่องไว้พิจารณาและชี้มูลความผิดอย่างไรก็เป็นเรื่องของ กระบวนการยุติธรรม ทุกอย่างต้องเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล

สำนักงานเลขาธิการ วุฒิสภา ได้ส่งหนังสือแจ้งเป็นทางการไปยังว่าที่กสทช. ทั้ง 11 คนแล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการกสทช.ที่จะเรียกประชุมเพื่อเลือก ตำแหน่งประธานและรองประธานต่อไป

เอสไอจะดำเนินการสอบสวนอย่างไรแต่วุฒิสภาก็ทำหน้าที่ อย่างครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว แต่หากพบว่ากระบวนการสรรหากสทช.ไม่โปร่งใสจริง ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคล คงไม่ยุบกสทช.ทั้งหมด ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไปว่าจะนำรายชื่อทั้ง 11 คนขึ้นทูลเกล้าฯ หรือไม่อย่างไร

(ไทยรัฐออนไลน์ 7 ก.ย. 2554)

8 ก.ย. นาย ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ให้สัมภาษณ์ไทยรัฐออนไลน์ ยืนยันการทำงานรับคดีคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไม่ได้เป็นการทำงานมุ่งหวังสนองรัฐบาล เพื่อรักษาเก้าอี้อธิบดีดีเอสไอ เพราะการทำงานดังกล่าว เป็นการทำงานในฐานะข้าราชการที่ต้องปฏิบัติไปตามกฎหมาย และทำตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งการสรรหาคณะกรรมการดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นผลประโยชน์ของรัฐบาล แต่เป็นผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆนี้ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็ได้ออกมายืนยันแล้วว่า จะไม่มีการปรับย้ายตนแต่อย่างใดอีกด้วย

ส่วน หากเลยกำหนดระยะเวลา 15 วัน ที่นายกรัฐมนตรีจะต้องทูลเกล้าฯ คณะกรรมการ กสทช. ทั้ง 11 คน จะมีผลทำให้ต้องยกเลิกกระบวนการสรรหา กสทช.ทั้ง 11 คนหรือไม่นั้น นายธาริต ปฏิเสธที่จะให้ความเห็น โดยยกให้เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ดี เชื่อว่านายกรัฐมนตรีคงจะมีการนำผลการดำเนินงานของดีเอสไอไปใช้ประกอบในการ พิจารณาด้วย

ส่วนกรอบระยะเวลาในการทำงานสำหรับคดีดังกล่าวนั้น เบื้องต้นตามเกณฑ์ปกติของคดีทั่วๆไปก็อยู่ที่ 6 เดือน แต่ก็ต้องแล้วแต่คดี เพราะบางเรื่องก็เสร็จช้า บางเรื่องก็เสร็จเร็ว แล้วแต่ความยากง่ายของคดี.

(ไทยรัฐออนไลน์  8 ก.ย. 2554)

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ว่าที่ประธาน กสทช. ยืนยัน ลงคะแนนเลือก ประธาน-รองประธาน กสทช. เรียบร้อยดี ขณะที่มีผู้ลงสมัครประธานแค่หนึ่งเดียว ส่วนรองเข้าชิงกัน 4 คน...

12 ก.ย. พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ได้รับเลือกเป็นประธาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.  รองประธานกสทช.ได้แก่ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ และ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

นายสุทธิพล ทวีชัยการ ว่าที่ กสทช. ด้านนิติศาสตร์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้เสนอชื่อ พล.อ.อ.ธเรศ เพียงคนเดียว จึงทำให้ที่ประชุมมีมติให้ พล.อ.ธเรศ เป็นประธาน เนื่องจากมีความเหมาะสมมากที่สุด ส่วนการเลือกรองประธาน 2 ท่าน ในด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคม ยังไม่ได้ระบุชัดเจน ว่าจะให้ใครเป็นรองในด้านใด

ด้าน นายประวิทย์  ลี่สถาพรวัฒนา ว่าที่ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า หลังจากนี้ต้องรอการโปรดเกล้าฯ อย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะประชุมเพื่อหาผู้ดำรงตำแหน่งอื่นๆ เช่น ประธานคณะกรรมการ หรือ บอร์ด ฝ่ายกิจการโทรคมนาคมและกิจการกระจายเสียงโทรทัศน์ รวมทั้งโฆษก กสทช. ต่อไป ทั้งนี้ ส่วนของตัวจะเข้าไปไปแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ตลอดจนการขโมยอัตลักษณ์ ซึ่งจะเน้นการร่วมมือกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิด พร้อมยอมรับว่า การเป็น กสทช. ครั้งนี้ ทำให้ดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคได้มากกว่า

สำหรับประเด็นโครงข่าย 3 จี ที่ประชาชนคาดหวังนั้น นายประวิทย์ กล่าวว่า ต้องวางแผนแม่บทก่อน ซึ่งมีความคืบหน้าในการยกร่างราว 80% แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในกำหนด 1 ปี อย่างแน่นอน

(ไทยรัฐออนไลน์   12 ก.ย. 2554)

7 ต.ค. นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำนวน 11 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมวุฒิสภาแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยจะมีผลหลังการประกาศดังกล่าว

สำหรับ กสทช.ชุดนี้มีวาระการทำงาน 6 ปี โดยกำหนดการจะเข้าสักการะพรมบรมรูปรัชกาลที่ 5 ที่สำนักงานกสทช.ซอยสายลม เวลา 09.09 น. วันที่ 10 ต.ค.นี้ จากนั้น จะมีการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) นัดแรกในเวลา 13.00 น.เป็นต้นไป  (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 7 ต.ค. 2554)

กสทช.ประกาศใช้ แผนแม่บทฯไตรมาสแรกปี 55

สุภิญญา กลางณรงค์ โฆษก กสทช.ลั่น พร้อมประกาศใช้แผนแม่บทคลื่นความถี่ฯ ไตรมาสแรกปี 55 ขยายเวลาคุ้มครองชั่วคราววิทยุชุมชน 6,601 สถานี ย้ำต้องลงทะเบียนเพื่อขอรับรองสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค.54-29 ก.พ.55 ขณะที่คาดได้ข้อสรุปคลื่นกรีนเวฟ วันที่ 14 ธ.ค.นี้...

9 ธ.ค. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการโทรทัศน์ กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในฐานะโฆษก กล่าวภายหลังประชุมในการใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 82 และมาตรา 83 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ว่า ขณะนี้แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ ประกอบกิจการโทรคมนาคม และแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ อยู่ระหว่างการดำเนินงาน โดยมีการปรับแก้ไขจากร่างเดิมในส่วนของเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จะนำเข้าการประชุมคณะกรรมการ หรือบอร์ดใหญ่ในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ และถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จะสามารถประกาศใช้แผนแม่บทฯได้ โดยคาดการณ์ว่า ไตรมาสแรก ปี 2555

โฆษก กสทช. กล่าวต่อว่า จากมติบอร์ดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ขยายเวลาคุ้มครองชั่วคราววิทยุชุมชนไปแล้ว 6,601 สถานี ซึ่งทั้งหมดต้องมาลงทะเบียนเพื่อขอรับรองสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค.2554 -29 ก.พ.2555 หรือประมาณ 32 เดือน โดยสามารถยื่นเอกสารได้ที่สำนักงาน กสทช. ทั้งหมด 14 แห่งทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ กสทช. ยังเดินสายให้ความรู้ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย อีกทั้ง ขอยืนยันว่าไม่ได้เปิดรับรายใหม่ (ไทยรัฐออนไลน์ 9 ธ.ค. 2554)

////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

กฎหมายสื่อ

พรบ. คุ้มครองสื่อ ฯ

3 ม.ค. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันอังคารที่ 4 ม.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ?(ครม.) จะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านการพิจารณาขององค์กรผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ รวมตัวกันยกร่าง และมอบให้นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ก่อนจะบรรจุในระเบียบวาระ เพื่อพิจารณาที่รัฐสภาต่อไป โดยหลักการสำคัญที่ให้มีการตรากฎหมายฉบับนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า มาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้ลูกจ้างของเอกชน ที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือ สื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าว และ แสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดของตามรัฐธรรมนูญโดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติ ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการ แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมของการประกอบอาชีพ และ มีสิทธิ์จัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและความเป็นธรรม ร่างกฎหมายฉบับนี้มีอยู่ 7 หมวด สาระสำคัญ 7 ประเด็นคุ้มครองวิชาชีพสื่อ

ร่างกฎหมายนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ รัฐบาลไม่ได้เป็นผู้ยกร่างหรือแทรกแซง การยกร่างกฎหมายแต่อย่างใด รัฐบาลมีภาระหน้าที่เพียงส่งเสริมสนับสนุน ให้มีการนำร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาตามขั้นตอน และกระบวนการของการออกกฎหมายเท่านั้น และเชื่อว่ากฎหมายนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาการของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนโดยทั่วไป (3 ม.ค. 2554 ไทยรัฐออนไลน์)

4 ม.ค. ที่ประชุมครม. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ..... ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฏรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป (6 ม.ค. 2554 ฐานเศรษฐกิจ)

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ว่าครม.เห็นชอบในหลักการกฎหมายคุ้มครองวิชาชีพสื่อ ซึ่งผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นทั้งบุคลากรในวิชาชีพ นักวิชาการและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  หลักการคือจะตั้งองค์กรที่มีความเป็นอิสระขึ้นมาเพื่อคุ้มครองในเรื่องของการปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ รวมทั้งผู้ทีอาจจะถูกละเมิดสิทธิจาการปฏิบัติงานของสื่อ นอกจากนี้จะเร่งรัดกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีก 2 ฉบับคือการจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์และสื่อที่ปลอดภัย และในปี 2554 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็จะเกิดขึ้น ซึ่งรัฐบาลพร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนของ กสทช. ในการจัดสรรคลื่นความถี่ต่างๆ

(10 ม.ค. 2554 มติชน)

14 ม.ค.  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและคณะ พบผู้แทนองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน โดยนายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน (คพส.)และคณะ ให้การต้อนรับโดยนายวิสุทธิ์ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ การพบปะกันครั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน (15 ม.ค. 2554 แนวหน้า)

พรบ. ภาพยนตร์ และกองทุนสื่อสร้างสรรค์

นายนิพิฏฐ์  อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่ากำลังเร่งดำเนินการแก้ไขและผลักดันร่างกฎหมายหลายฉบับร่วมทั้ง พรบ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์แห่งชาติ พศ. 2551 โดยเฉพาะการบรรจุเรตติ้งเกม เพื่อกำหนดอายุของผู้เล่นเกม เช่นเดียวกับเรตติ่งภาพยนตร์ รวมทั้งกำหนดคำนิยามผู้จำหน่ายให้เช่า แลกเปลี่ยนวัสดุเทปโทรทัศน์ให้ชัดเจน

(17 ก.พ. 2554 มติชน)

น.ส. ลัดดา ตั้งสุภาชัย  ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรมเปิดเผยว่า ร่างพรบ. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ ได้ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาทุกมาตราแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นขชอบและประกาศใช้เป็นกฎหมาย ทั้งนี้ในการพิจารณาของกฤษฎีกาได้เชิญ ดร.เจิมศักดิ์  ปิ่นทอง และดร. เสรี  วงษ์มณฑา นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านสื่อมวลชนเข้าให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พรบ.ดังกล่าว   ต้องไม่ใช่เป็นหน่วยงานที่คอยแจกเงินเพียงอย่างเดียว แต่ควรหากระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่สังคม และมีตัวชี้วัดผลการดำเนินการที่ชัดเจน และโปร่งใส

ทั้งนี้จะจัดทำเว็บไซด์ศูนย์ปฏิบัติการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ขึ้น โดยใช้ชื่อว่า www.c-me.go.th (4 ก.พ. 2554 เดลินิวส์)

นายสมชาย  เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ เวทีเสวนา เรตติ้งสื่อ เสรีภาพแห่งการสร้างสรรค์บนจรรยาบรรณและความรับผิดชอบ ว่า การผลิตสื่อต้องมองรอบด้านทั้งสร้างสรรค์และผลกระทบ โดยเฉพาะบทภาพยนตร์มีเทคนิคนำเสนอหลายแบบที่สามารถสื่อให้เห็นเรื่องเพศ ภาษา ความรุนแรง โดยอาจไม่ต้องใช้วิธีกอดจูบ หรือตบตีเท่านั้น วธ.จะเร่งแก้ไขปัญหากรณีที่ประชาชนรับรู้เพียงสัญลักษณ์เรตติ้ง แต่ไม่เข้าใจความหมาย ดังนั้นการเปิดเวทีต้องการให้กลุ่มผู้สร้างสื่อ ผู้บริโภคสื่อ หาข้อสรุปการขับเคลื่อนเรตติ้ง และเรียกร้องทุกภาคส่วนรับรู้ว่าสื่อมีความสำคัญ (ข่าวสด 4 มิ.ย. 2554)

พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์

นางสาวสุภิญญา กลางรณงค์ รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ กล่าวว่า กระแสการเรียกร้องให้แก้ไข พรบ. คอมพิวเตอร์มีอยู่ตลอดเวลา เพราะขาดความชัดเจน บางมาตรายังคลุมเครือ การเอาผิดทำแบบเหวี่ยงแห เช่น มาตรา 14 ที่เน้นการเอาผิดด้านคอนเทนท์ซึ่งกว้างมาก และมาตรา 15 ที่เน้นให้เว็บมาสเตอร์ต้องรับผิดโดยอัตโนมัติ ซึ่งบางครั้งมันเหวี่ยงแหเกินไป  ต้องการให้ลบมาตรา 14,15 ออกไปเลยแล้วให้ใช้กฎหมายคดีหมิ่นประมาท เพื่อให้สอดคล้องมากขึ้นก็เป็นเรื่องที่จะทำได้ในภายหลัง

(กรุงเทพธุรกิจ 16 เม.ย. 2554)

3 พ.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สั่งระงับการแก้ไขเพิ่มเติม พรบ. การกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แล้วโดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านอีกครั้ง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และกลุ่มให้บริการรับฝากเว็บไซด์ เป็นต้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีแสดงความห่วงใยเรื่องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ฟ้องร้องศาลปกครองกันไปมา ทำให้กระบวนการสรรหาล่าช้า

(ข่าวสด  4 พ.ค. 2554)

ฟรีดอมเฮาล์ องค์กรนานาชาติทำงานวิจัยและรณรงค์ด้านเสรีภาพทางการเมืองและสิทธิมนุษยชน ได้เปิดตัวเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมารายงาน “ว่าด้วยเสรีภาพสื่อโลกประจำปี 2554 และจัดให้ไทยเป็นประเทศไม่เสรีโดยลดอันดับลงมาจากกึ่งเสรี และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวผู้ต้องหาชาวไทยอเมรินคดีหมิ่นฯรายล่าสุด พร้อมทั้งยืนยันว่าประชาชนไทยต้องสามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างเสรี สืบเนื่องมาจากกรณีของโจ กอร์ดอนที่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2554 ในข้อหายั่วยุให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน และกระทำผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ และภายหลังถูกปฏิเสธหไม่ให้ประกันตัว  ฟรีดอมเฮาล์แถลงว่ารัฐบาลไทยใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นงานคนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นนักเคลื่อนไหว นักวิชาการ นักศึกษา นักข่าว นักเขียนรวมถึงนักการเมือง ทั้งยังยกตัวอย่างนายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล เว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์ นปช. ยูเอสเอ ที่ถูกตัดสินจำคุก 16ปี ในข้อหาหมิ่นฯและกระทำผิดตามพรบ.คอมพิวเตอร์ด้วย (คอลัมน์ บ้านเลขที่ 112 โลกวันนี้ 2 มิ.ย. 2554)

นายธานีรัตน์  ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ไอซีที เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาภาพรวมคนไทยมีการตื่นตัวที่จะใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นรวมถึงเทคโนโลยี 3 จี ยังมีการใช้คอมพิวเตอร์ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด และใช้อินเตอร์เน็ตเกือบ 20 ล้านคน ดังนั้นกระทรวงฯ จึงได้มีการจัดอบรมโครงการให้ความรู้ความเข้าใจพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พศ.2550 ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการกับ 5 สถาบันการศึกษา ตั้งแต่ปี พศ. 2552  ที่ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อพัฒนาความรู้ในกฎหมายพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2550 (บ้านเมือง 8 มิ.ย. 2554)

พรบ.จดแจ้งการพิมพ์

นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า คณะอนุกรรมการศูนย์ปฎิบัติการสื่อปลอดภัยและสื่อสร้างสรรค์ห่งชาติ เห็นชอบให้ ปรับแก้ พรบ.จดแจ้งการพิมพ์ พศ. 2554 เพื่อจัดระดับความเหมาะสมของสื่อสิ่งพิมพ์ (เรต) ต่อไปเนื่องจากได้ผ่านการจัดทำประชาพิจารณ์แล้วพร้อมทั้งเสนอให้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อพิจารณาการจัดเรตสื่อพิมพ์และพัฒนาคู่มือจัดเรตให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสังคมไทย

นส.ลัดดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม วธ. กล่าวว่า  การจัดเรตสิ่งพิมพ์เป็นสิ่งที่สังคมต้องการเพื่อกระจายความรับผิดชอบทั้งของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ  ซึ่งการจัดการจะคล้ายกับสื่ออื่น คือพิจารณาประเด็นด้านเพศ ภาษา ความรุนแรง (มติชน 3 มิ.ย. 2554)

18 ต.ค. นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ตามที่วธ.เสนอ โดยจะแก้ไขใน 7 ส่วน

7 ธ.ค. 2554    สภาการหนังสือพิมพ์ฯ - สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ยื่นหนังสือรัฐมนตรีวัฒนธรรมยุติเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ ระบุเนื้อหาเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อ ในขณะที่ตัวแทนกระทรวงวัฒนธรรมยืนยันจะไม่เสนอกฎหมายฉบับนี้และขอความเห็น สื่อมวลชนอีก

นายปราโมทย์ ฝ่ายอุประ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงนางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม วันนี้ (7 ธ.ค. 54) คัดค้านและเรียกร้องให้กระทรวงวัฒนธรรมยุตติการเสนอร่างร่างแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่มีเนื้อหาเป็นเผด็จการ ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อและประชาชน (www.tja.or.th 7 ธ.ค. 2554)

 

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ฮ.ตก ภารกิจแก่งกระจาน

15 ก.ค. พ.อ.ดนัย บุญตัน รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจค่ายทัพระยาเสือ กรมทหารราบที่ 19 กองกำลังสุรสีห์ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี นำ เฮลิคอปเตอร์จากกองทัพบกไปอำนวยการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พร้อมสื่อมวลชนและผู้ต้องหาจำนวนหนึ่ง ซึ่งติดอยู่บริเวณป่าช่องห้วยแม่เหล็ก ต.ย่างน้ำกลัดเหนือ จ.เพชรบุรี

ตามที่เจ้าหน้าที่ตชด. และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรีเข้าปฏิบัติภารกิจเดินเท้าลาดตระเวนค้นหาจับกุมผู้บุกรุกและลักลอบทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยไปพร้อมกับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 11 ก.ค. จับกุมผู้บุกรุกได้ 6 คน ยึดพื้นที่ปาถูกบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยได้กว่า 70 ไร่ ระหว่างทางเดินกลับมีพายุฝนถล่มลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง 2 วันทำให้เจ้าหน้าทีพร้อมสื่อมวลชนและผู้ต้องหาต้องติดอยู่ในป่าดังกล่าว ล่าสุดเวลา 12.35 น. เฮลิคอปเตอร์จากกองทัพบกสามารถลงจอดในพื้นที่ นำเจ้าหน้าที่ทหารและผู้สื่อข่าวรวม 16 คนออกจากป่ามาที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์ได้สำเร็จ ซึ่งแต่ละคนมีสภาพอิดโรย เพราะต้องเดินป่าด้วยความยากลำบากนาน 5 วัน (มติชน 17 ก.ค. 2554)

16 ก.ค. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า เฮลิคอปเตอร์ ของกองทัพบก รุ่น ฮท.1 หน่วยทหารเฉพาะกิจทัพพระยาเสือที่ดูแลพื้นที่บริเวณ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โดยประสานงานทำภารกิจร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อปฏิบัติการในการจับกุมผู้กระทำความผิดเหตุบุกรุกพื้นที่ป่า และผลักดันชนกลุ่มน้อยตามแนวตะเข็บชายแดน เสียหลักตกลงสู่พื้นดิน เนื่องจากฝนตกหนัก สภาพอากาศปิด โดยได้รับแจ้งว่า มีทหารปฏิบัติภารกิจ 5 นาย ซึ่งเป็นภารกิจต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 จากเมื่อวาน (15 กรกฎาคม) ซึ่งสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้แล้ว 4 ราย แต่ไม่สามารถนำตัวออกมาได้ เนื่องจากสภาพอากาศปิด

ในขณะที่เจ้าหน้าที่อุทยาน ระบุว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารจากชุดเฉพาะกิจเข้าปฎิบัติภารกิจ 5 นาย แต่สภาพอากาศปิด ทำให้เครื่องเสียหลักและตกลงบริเวณแนวเขาตะนาวศรี ระหว่างพิกัด 17 และ 18 ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างชายแดนไทย-พม่า โดยในเบื้องต้นอยู่ระหว่างตรวจสอบว่า เฮลิคอปเตอร์ตกบริเวณพิกัดใด ซึ่งหากตกในพิกัด 17 จะให้ความช่วยเหลือไม่ได้ในทันที เพราะเป็นพื้นที่ฝั่งพม่า และจากการติดต่อสื่อสารกับทหารหน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ ที่ประจำการบริเวณฐานปฏิบัติการในป่าลึก ได้รายงานผ่านวิทยุสื่อสารว่า พบศพผู้เสียชีวิต 1 ราย อีก 4 ราย ยังหาไม่พบ

19 ก.ค. เวลา 12.30 น. มีรายงานว่า เฮลิคอปเตอร์ แบบแบล็คฮอว์ก ที่ออกบินในช่วงเช้า เพื่อไปลำเลียงศพทหารที่เสียชีวิตจากเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา  ขาดหายจากการติดต่อ โดยสื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า แบล็กฮอว์กลำดังกล่าวประสบอุบัติเหตุตกซ้ำ โดยมีนักบิน ช่างเครื่อง ผู้สื่อข่าว รวมทั้ง พล.ต.ตะวัน เรืองศรี ผบ.พล.ร.9 รวม 9 ชีวิต

ทั้งนี้ รายงานข่าวระบุว่า แบล็คฮอว์กลำดังกล่าวประสบอุบัติเหตุตกในพื้นที่ป่าฝั่งประเทศพม่า ตรงข้าม บ้านเขาไม้แดง อ.แก่งกระจาน ห่างจากจุดเดิมที่เฮลิคอปเตอร์ตกครั้งก่อนราว 2 กิโลเมตร โดยมีรายงานว่า มีเสียงระเบิดขึ้นก่อนที่เครื่องบินจะขาดการติดต่อ

22 ก.ค. นายสุริยนต์ โพธิบัณฑิต ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เปิดเผยว่า ทีมกู้ภัยชุดแรก ค้นพบซากเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์ก ที่ประสบอุบัติเหตุตกที่พิกัด Q255126 ห่างจากเนิน 1100 ไม่มากนัก ซึ่งเป็นพิกัดใกล้เคียงกับที่คาดไว้ตั้งแต่ต้น โดยเป็นการรายงานจากทีมกู้ภัย จำนวน 36 นาย ที่ล่วงหน้าไป เมื่อ 2 วันก่อน จากวิทยุสื่อสาร

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์ ของสดุดีและไว้อาลัยต่อ "ศรวิชัย คงตันนิกูล" เสียชีวิตจากเหตุแบล็คฮอว์กตก   ในจำนวนผู้เสียชีวิตทั้ง 9 ศพ มีทหาร 8 นาย และพลเรือน 1 คน ก็คือ นายศรวิชัย คงตันนิกูล ช่างภาพสายการเมือง สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งรับอาสาไปทำหน้าที่บันทึกภาพปฏิบัติภารกิจแทนเพื่อนสื่อมวลชนทุกคน อย่างกล้าหาญ จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

24 ก.ค. พลตรีพิทยา กระจ่างวงษ์ ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก เปิดเผยว่า กรณีเฮลิคอปเตอร์ แบบฮิวอี้ ที่ตกเป็นลำแรกมีสาเหตุมาจากสภาพอากาศและภูมิประเทศ เนื่องจากในวันที่ 16 กรกฎาคม มีทั้งเมฆ, หมอก, ฝน และลม ซึ่งสภาพภูมิประเทศที่เป็นป่าและภูเขา ทำให้กระแสลมแปรปรวนมีทั้งลมตีขึ้น ตีลง และลมเฉือน เมื่อนักบินพยายามนำเครื่องลงจอดที่ฐานจอดชั่วคราวบนเนิน 1100 สภาพอากาศมีลักษณะปิด ๆ เปิด ๆ พอเครื่องลงเกือบถึงจุดวางตัว มีกลุ่มเมฆไหลเข้ามาปกคลุมยอดเนิน ทำให้นักบินมองไม่เห็นจุดลง จึงต้องยกตัวขึ้นเพื่อเตรียมลงจอดใหม่ เครื่องจึงไปชนภูเขา

สำหรับกรณีเครื่องแบล็กคฮอว์ก ที่ตกลำที่ 2 วันที่ 19 กรกฎาคมนั้น มีสาเหตุใกล้เคียงกัน คือ นักบินกำลังจะลงจอดแล้วเจอสภาพอากาศปิด ๆ เปิด ๆ แบบเดียวกับ มีเมฆไหลเข้ามาคลุมยอดเนิน ทำให้นักบินมองไม่เห็นจุดลงและเกิดอาการ "หลงสภาพ" เครื่องจึงเป๋ออกจากจุดลงและตกในที่สุด

และสำหรับกรณีเครื่องเบลล์ 212 ที่ตกเป็นลำที่ 3 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมได้สอบถามจากชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ และช่างเครื่องที่รอดชีวิต ทราบว่า อุปกรณ์ควบคุมใบพัดหางเทลเตอร์ขัดข้อง จึงไม่สามารถควบคุมใบพัดหางได้ พร้อมทั้งยืนยันว่าเครื่องไม่ได้ดับอย่างที่เข้าใจกันตอนแรก เพราะเครื่องตกถึงพื้นแล้วยังมีเสียงเครื่องยนต์ทำงานอยู่

(http://hilight.kapook.com/view/60883)

25 ก.ค. พล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก แจ้งเหตุฮ.ตกถึง 3 ครั้ง มีฮิวอี้ แบล็กฮอว์ก และเบลล์ 212  ระหว่างที่ร่วมปฏิบัติภารกิจบริเวณพื้นที่ป่าแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ส่งผลให้กองทัพบกต้องสูญเสียกำลังพลไปถึง 16 นาย บาดเจ็บ 1 นายและช่างภาพจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 อีก 1 คน ถือเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของกองทัพบก (เดลินิวส์  26 ก.ค. 2554)

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

โซเซียลมีเดีย

เฟซบุ๊กสำหรับนักข่าว

5 เม.ย. เฟชบุ๊ก เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่โด่งดังทั่วโลก ประกาศเปิดตัว เจอนัลลิสต์ออนเฟชบุ๊ก  ที่จะช่วยเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้สื่อข่าวให้ได้ใช้เครือข่ายสังคมเป็นหนึ่งในเครื่องมือช่วยในการรายงาน และช่วยให้มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดตามข่าวได้ดีขึ้น โดยนายจัสติน โอชอฟสกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายคู่ค้าสื่อมวลชนเปิดเผยว่าได้จัดทำโครงการ เฟชบุ๊กเจอนัลลิสซึ่ม มีทอัพ เพื่อจัดสัมมนาว่าด้วยเรื่องการใช้เฟชบุ๊กเป็นเครื่องมือในการรายงาน (เอเอฟพี) (มติชน 7 เม.ย. 2554)

การเมืองกับโซเชียลมีเดีย

นายอภิรักษ์  โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าดึงมืออาชีพในเอเจนซี่โฆษณา เข้ามาสร้างแผนการรณรงค์ผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อให้เข้าถึงและโดนใจประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะเจนวายที่อายุ 18 ปี โดยนายอภิสิทธิ์ มีแฟนในเฟซบุ๊คกว่า 6 แสนราย และนายกรณ์  จาติกวณิช มีแฟนกว่า 1.7 แสนราย และตนเองอีกกว่า 1.1 แสนราย รวมแล้วพรรรประชาธิปัตย์มีแฟนในเฟชบุ๊คและทวิตเตอร์กว่า 1 ล้านคน จากยอกผู้ใช้เฟซบุ๊คในเมืองไทยกว่า 8 ล้านคน

ส่วนพรรคเพื่อไทย ประกาศใช้โซเชียลมีเดีย ในการหาเสียงเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป ไปจนถึงสื่อล่าสุดที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรนำมาใช้ในการโฟนอินก็คือ สไกป์ โดยปัจจุบันเฟชบุ๊ก มีผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 650 ล้านคน สไกป์ก็มีผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 600 ล้านคนเหมือนกัน  (ลม เปลี่ยนทิศ ไทยรัฐ 21 พ.ค. 2554)

 

ท้ายสุดนี้ศูนย์ข้อมูลสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณเว็บไซด์จากหน่วยงานด้านสื่อทุกประเภทที่เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้  ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะศูนย์ข้อมูลมติชนที่ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลกฤกตภาคข่าวออนไลน์ ทำให้สามารถค้นข้อมูลหนังสือพิมพ์ได้เป็นอย่างดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า “ในรอบปี 2554 สื่อมวลชนไทย” จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ โอกาสนี้ด้วย

ดาวโหลด แบบpdf