ศาสตราจารย์แห่งธรรมะนักเขียน
ศาสตราจารย์เสฐียร พันธรังษี ราชบัณฑิตทางพุทธปรัชญา และวิชาการหนังสือพิมพ์ เป็นอาจารย์ ผู้มีลูกศิษย์มากมายในบ้านเมืองนี้ เพราะเป็นผู้มีความสำคัญต่อการสอนวิชาการหนังสือพิมพ์และจรรยาบรรณแก่นักศึกษา เป็นอาจารย์สอนที่คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนปี 2522 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ทางวิชาการหนังสือพิมพ์ โดยมีความถนัดและเชี่ยวชาญงานเขียน โดยเฉพาะตำรางานวิชาการ ทั้งด้านการศึกษา ประวัติศาสตร์ ศาสนา และเรื่องราวต่างประเทศ
{xtypo_quote}โดยเฉพาะศาสนา ซึ่งเป็นธรรมสากลสำหรับสังคม เป็นเครื่องประคับประคองสังคมให้ตั้งอยู่ได้ ช่วยขัดเกลาสังคมให้พ้นจากความดุร้ายมาสู่ความเห็นอกเห็นใจรักใคร่สามัคคีกัน ศาสนามิได้เป็นสมบัติของชาติหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ทางแห่งการปฏิบัติธรรมในศาสนาเพื่อความเรียบร้อยของสังคมนั้น ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศและสังคม เป็นคำนิยมที่ เสถียร พันธรังษี ร่ายเป็นบทนำในหนังสือ ศาสนาเปรียบเทียบ{/xtypo_quote}สำหรับ เสฐียร พันธรังษี และคู่หูอย่าง เฉลิม วุฒิโฆษิต สมัยเป็นนักหนังสือพิมพ์ทั้งสอง เป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้ง สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในครั้งแรก โดยมีนักหนังสือพิมพ์ประจำการประมาณคน มี เฉลิม วุฒิโฆสิต บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชาวไทย เป็นหัวหน้า ต่อมา เสฐียร พันธรังษี เป็นนายกสมาคมคนถัดมา 50
ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มอบที่ดินของกรมธนารักษ์ที่อยู่ในความดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี เนื้อที่ 1 ไร่เศษ ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน ซึ่งเป็นบ้านพักของผู้แทนราษฎร ใช้เพื่อเป็นที่ก่อสร้างที่ทำการของสมาคมฯ
ในปี 2512 เสฐียร พันธรังษี เป็นนายกสมาคมฯ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการของสมาคม และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2512 นับตั้งแต่ก่อตั้งสมาคมในปี 2508 จนถึงการรวมกับสมาคมนักข่าวฯ สมาคมนักหนังสือพิมพ์
นับได้ว่าสมาคมฯ แห่งนี้เป็นองค์กรเดียวที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จฯ มายังองค์กร ของผู้ประกอบการวิชาชีพหนังสือพิมพ์ หลังจากนั้นพระองค์ทั้ง 2 มิได้เสด็จฯ อีกเลยจะมีเพียงแต่พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้นำขององค์กรเหล่านี้ เข้าเฝ้าพร้อมกับพระราชทานพระบรมราโชวาท หรือพระราชดำรัสเท่านั้น
โดยองค์กรแห่งนี้ นับเป็นของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ทุกระดับประเภท ไม่ว่าจะเป็นช่างเรียง ช่างแท่น คนตรวจปรู๊ฟ นักข่าว ช่างภาพ คนในกองบรรณาธิการ ตลอดจนบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ผู้อำนวยการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ รวบรวมกันเป็นหนึ่งเดียว.