กำพล วัชรพล

จากนักข่าวสู่จอมพลคนหนังสือพิมพ์

 ป๊ะกำพล เคยเป็นกระเป๋าเรือเมล์ และเป็นทหารเรือ ผ่านสนามรบหลายแห่งในสงครามมหาเอเชียบูรพาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนทิ้งเครื่องแบบกระโจนขึ้นฝั่ง ระหกระเหินไปทั่วร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ โดยเริ่มเข้าสู่วงการสูดกลิ่นน้ำหมึกครั้งแรกเมื่อปี 2490 โดยไปสมัครของานทำกับ  เลิศ อัศเวศน์  บรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน หลักไทย  ภายใต้เงื่อนไข ไม่ขอรับค่าตอบแทน  และถูกมอบหมายให้เป็นพนักงานเดินตลาดฝ่ายหาโฆษณาแจ้งความ แม้ไม่มีประสบการณ์ทำหนังสือพิมพ์มาก่อนเลย แต่เมื่อวิญญาณของการเป็นคนหนังสือพิมพ์เข้าสู่สายเลือดเสียแล้ว เขาได้กล่าววาจาต่อหน้าพระบรมรูปทรงม้าเอาไว้ว่า

 ข้าฯจักทำหนังสือพิมพ์ตลอดอายุขัย 

เขาเป็นแบบฉบับของบุคคลผู้ดิ้นรนต่อสู้ชีวิต เป็นผู้ก่อสร้างตัวมาในวงการสื่อมวลชนและอุสาหกรรมสิ่งพิมพ์ จากระดับต่ำต้อยที่สุด ทำมาเองตั้งแต่เป็นผู้เดินหาโฆษณา เป็นนักข่าว เป็นช่างภาพ คุมเครื่องจักรการพิมพ์ รวมทั้งการนำลูกเมียออกเดินเร่ขายหนังสือพิมพ์เอง

โดยเขานำเงินลงทุนก้อนแรก 6,000 บาท บุกเบิกหนังสือพิมพ์  ข่าวภาพ รายสัปดาห์ออกวางจำหน่าย แล้วขยับมาออกเป็นราย 3 วัน และกลายเป็นรายวันในที่สุด

ลุยทำข่าวเฉียดตายก็ผ่านมาแล้ว โดยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2494 ระหว่างเอกอัครรัฐทูตสหรัฐ ส่งมอบเรือขุดแมนฮัตตันให้รัฐบาลไทย ที่ท่าราชวรดิฐ ทหารหมู่น้อยคณะกู้ชาติ เข้าจี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงเรือเร็วไปกักขังไว้ในร.ล.ศรีอยุทธยาที่ลอยลำอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาตรงพระราชวังเดิม รุ่งขึ้นวันใหม่ เขากับ เลิศ  เช่าเรือสำปั้นที่ท่าปากคลองตลาด โดย  กำพล ทำหน้าที่พายเรือnbsp;  เลิศ ทำหน้าที่ช่างภาพ มุ่งตรงไปที่ร.ล.ศรีอยุทธยา หมายจะสัมภาษณ์จอมพล ป.ให้จงได้

พอเรือสำปั้นอยู่ห่างที่หมายราว 300 เมตร เครื่องบินลำหนึ่งก็โฉบลงมาทิ้งระเบิดเข้าใส่ร.ล.ศรีอยุทธยาเกิดไฟใหม่ควันพวยพุ่งเหนือท้องฟ้าnbsp; แล้วทหารฝ่ายรัฐบาลซึ่งอยู่ฟากพระนคร กับฝ่ายกู้ชาติซึ่งอยู่ฟากธนบุรีก็สาดกระสุนปืนกลข้ามแม่น้ำเข้าใส่กันหูดับตับไหม้  กำพล อาศัยความคิดเร็วฉับไวจ้ำฝีพายพาเรือสำปั้นมาฝั่งนคร ขึ้นไปบนเรือยอชต์ขนาดย่อม ที่จอดอยู่ที่ท่าหน้าวังพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ฯ ใกล้ท่าเตียน อาศัยเป็นที่กำบัง ปืนกลฝั่งพระนครร้อยๆกระบอกยิงรัวข้ามหัวทั้งสองคนไปไม่ถึงเมตร ปืนกลฝั่งธนบุรียิงมาเจาะลำเรืวอยอชต์นับรูไม่ถ้วน ทั้งสองมุดจนลงไปซ่อนตัวอยู่ใต้ท้องเรือ  ป๊ะกำพล บ่นว่า  เกิดมายังไม่เคยโดนรุมยิงหนักขนาดนี้เลย  พลางแยกกล้องถ่ายรูปจาก  เลิศ  โผลหัวขึ้นไปกดซัตเตอร์จนฟิล์มหมดม้วน เวลาผ่านไปเกือบชั่วโมงทั้งสองฝ่ายสาดกระสุนใส่กันยังไม่หยุด  กำพล จึงออกความคิดให้  เลิศ  ซึ่งว่ายน้ำไม่เป็น ให้นอกราบกับพื้นเรือ แล้ว  กำพล จะลงน้ำดำผุดดำว่ายฉุกเรือไปเอง การกระทำเช่นนั้นทำให้ทั้งสองราดตายแค่เส้นยาแดงผ่าแปด เสียอย่างเดียว พอเปิดกล้องถ่ายรูปออกมาปรากฏว่าน้ำไหลจ๊อก ฟิล์มเสียหมด

เขาถูกทดสอบธาตุทรหดแห่งการต่อสู้ของคนหนังสือพิมพ์ ครั้งแรก โดย  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์  ใช้อำนาจเผด็จการสั่งปิดตายหนังสือพิมพ์  ข่าวภาพ  เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็นำลูกทีมออกหนังสือพิมพ์รายวัน  เสียงอ่างทอง 

เมื่อเจ้าของได้เอาชื่อหัวหนังสือ  เสียงอ่างทอง  คืนไป ก็ถึงเวลากำเนิดชื่อหนังสือพิมพ์  ไทยรัฐ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2505 ซึ่งดำเนินกิจการเรื่อยมา แม้ไม่ใช่เรื่องโรยด้วยกลีบกุหลาบที่สวยงาม แต่ทุกอย่างต้องต่อสู้

จนปัจจุบันเป็นหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย